×
New!

Bayan Al Islam Encyclopedia Mobile Application

Get it now!

วิธีการละหมาด (ไทย)

สร้างโดย: มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์

Description

จากหนังสือมุคตะศ็อรฺ อัลฟิกฮิล อิสลามีย์ อธิบายวิธีการละหมาด พร้อมบทดุอาอ์ต่างๆ ในละหมาด ตามขั้นตอนตั้งแต่ เริ่มตักบีรฺ ดุอาอ์อิสติฟตาหฺ อ่านฟาติหะฮฺและสูเราะฮฺ แบบอย่างจากสุนนะฮฺในการอ่านสูเราะฮฺในการละหมาดทั้งห้า การรุกูอฺ บทดุอาอ์ในรุกูอฺ ดุอาอ์ขณะยืนตรงเมื่อเงยขึ้นจากรุกูอฺ การสุญูด ดุอาอ์ในสุญูด เงยขึ้นสุญูด ดุอาอ์ขณะนั่งระหว่างสุญูด การนั่งตะชะฮฺฮุด สำนวนตะชะฮฺฮุด สำนวนการเศาะละวาต ดุอาอ์ก่อนให้สลาม ให้สลาม โดยยึดรูปแบบตามสุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม

Download Book

    วิธีการละหมาด

    ﴿صفة الصلاة﴾

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์

    แปลโดย : ดานียา เจะสนิ

    ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน

    ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    2010 - 1431

    ﴿صفة الصلاة﴾

    « باللغة التايلاندية »

    الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري

    ترجمة: دانيال جيءسنيك

    مراجعة: صافي عثمان

    المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي

    2010 - 1431

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    5. วิธีการละหมาด

    อัลลอฮฺได้บัญญัติห้าเวลาละหมาดในหนึ่งวันและหนึ่งคืนสำหรับมุสลิมและมุสลิมะฮฺทุกคน นั่นคืออัซ-ซุฮรฺ อัล-อัศรฺ อัล-มัฆริบฺ อัล-อิชาอ์ และอัล-ฟัจญ์รฺ

    สำหรับผู้ที่จะละหมาดให้อาบน้ำละหมาดก่อน แล้วยืนหันหน้าไปทางกิบละฮฺ ให้ใกล้กับสุตเราะฮฺ(ที่กั้นด้านหน้าคนละหมาด)ซึ่งให้เว้นระยะห่างระหว่างผู้ละหมาดกับสุตเราะฮฺนั้นประมาณสามศอก และห่างระหว่างจุดสุญูดกับสุตเราะฮฺประมาณพอให้แพะตัวหนึ่งผ่านได้ โดยอย่าปล่อยให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งผ่านช่วงระหว่างผู้ละหมาดกับสุตเราะฮฺเป็นอันขาด หากผู้ใดเดินผ่านระหว่างผู้ละหมาดกับสุตเราะฮฺจะถือว่าเขามีบาป

    มีรายงานจากอบี ญุฮัยมฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) กล่าวว่า

    «لَوْ يَـعْلَـمُ المَارُّ بَيْنَ يَدَيِ المُصَلِّي مَاذَا عَلَيْـهِ، لَكَانَ أَنْ يَـقِفَ أَرْبَـعِينَ خَيْراً لَـهُ مِنْ أَنْ يَـمُرَّ بَيْنَ يَدَيْـهِ»

    ความว่า “หากผู้ที่ชอบเดินผ่านระหว่างผู้ละหมาดกับสุตเราะฮฺรู้ว่ามันมีโทษอย่างไร เขาย่อมตัดสินใจหยุดไม่ยอมเดินผ่านผู้ละหมาด แม้จะต้องรอนานถึงสี่สิบ (อาจเป็นนาที ชั่วโมง วัน เดือน ปี) ดีกว่าการตัดสินใจเดินผ่านผู้ละหมาด” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์เลขที่ : 510 และมุสลิม เลขที่ : 507)

    เริ่มตักบีรฺ

    ให้ผู้ที่จะละหมาดตั้งเจตนาในใจของเขาว่าจะทำการละหมาด แล้วตักบีรฺด้วยการกล่าวว่า อัลลอฮุ อักบัรฺ (الله أكبر) และยกมือทั้งสองข้าง ซึ่งบางครั้งให้ยกพร้อมๆ กับคำกล่าวตักบีรฺ แต่บางครั้งให้ยกหลังจากนั้นหรือก่อนหน้านั้นได้ โดยให้ยกในสภาพที่แบมือ ฝ่ามือหันเข้าหากิบละฮฺและให้ยกทั้งสองจนถึงระดับบ่า หรือบางครั้งให้ยกจนถึงระดับติ่งหูทั้งสอง บางครั้งใช้ลักษณะนี้บ้าง บางครั้งใช้ลักษณะนั้นบ้าง ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งสุนนะฮฺในทุกลักษณะที่ได้บัญญัติมา

    หลังจากนั้นให้เอามือขวาวางบนหลังมือ หรือข้อมือ หรือแขนด้านซ้าย โดยเอามือทั้งสองทาบบนหน้าอก และบางครั้งให้เอามือขวากำมือซ้ายโดยเอามือทั้งสองวางบนหน้าอกเช่นกัน และบางครั้งให้เอามือขวาวางบนแขนซ้ายโดยไม่ได้กำ และให้สายตาจ้องไปที่จุดสุญูด

    ดุอาอ์อิสติฟตาหฺ

    หลังจากนั้นให้อ่านดุอาอ์อิสติฟตาหฺด้วยดุอาอ์และบทซิกิรที่ได้รับรายงานมาจากท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ดังต่อไปนี้

    1. ให้ดุอาอ์ว่า

    «اللَّهُـمَّ بَاعِدْ بَيْنِيْ وَبَيْنَ خَطَايَايَ كَمَا بَاعَدْتَ بَيْنَ المَشْرِقِ وَالمَغْرِبِ، اللَّهُـمَّ نَقِّنِي مِنْ خَطَايَايَ كَمَا يُنَقَّى الثَّوْبُ الأَبْيَضُ من الدَّنَسِ، اللَّهُـمَّ اغْسِلْني مِنْ خَطَايَايَ بِالثَّلْـجِ وَالمَاءِ وَالبَرَدِ»

    คำอ่าน อัลลอฮุมมะ บาอิด บัยนี วะ บัยนะ เคาะฏอยายา กะมา บาอัดตะ บัยนัล มัชริกิ วัล มัฆริบ, อัลลอฮุมมะ นักกินี มินัล เคาะฏอยาpk กะมา ยุนักก็อษ เษาบุล อับยะฎุ มินัดดะนัส, อัลลอฮุมมัฆสิลนี มิน เคาะฏอยายา บิษ ษัลญิ วัลมาอิ วัลบะร็อด

    ความหมาย “โอ้ อัลลอฮฺขอทรงแยกระหว่างข้าพระองค์และบาปของข้าพระองค์ให้ห่าง เหมือนที่ทรงแยกทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ขอทรงชำระข้าพระองค์ให้บริสุทธิ์จากความผิดของข้าพระองค์เหมือนผ้าขาวที่ถูกชำระจนบริสุทธิ์จากความสกปรก ขอพระองค์ทรงล้างข้าพระองค์จากความผิดทั้งหลายของข้าพระองค์ด้วยหิมะ น้ำ และลูกเห็บ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์เลขที่ : 744 และมุสลิม เลขที่ : 598)

    2. ให้ดุอาอ์ว่า

    «سُبْـحَانَكَ اللَّهُـمَّ وَبِـحَـمْدِكَ، وَتَـبَارَكَ اسْمُكَ، وَتعَالَى جَدُّكَ، وَلا إلَـهَ غَيْرُكَ»

    คำอ่าน สุบหานะกัลลอฮุมมะ วะบิหัมดิกา วะตะบาเราะกัสมุกะ วะตะอาลาญัดดุกะ วะลาอิลาฮะฆัยรุก

    ความว่า “มหาบริสุทธ์ยิ่งพระผู้อภิบาลแห่งเรา เราขอสรรเสริญพระองค์ จำเริญยิ่งแล้วพระนามของพระองค์ สูงส่งยิ่งแล้วบารมีของพระองค์ และไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์” (เป็นหะดีษหะสันที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 775 และอัต-ติรมิซีย์หมายเลข 242 ดู อัล-อิรฺวาอ์ 341)

    3. ให้ดุอาอ์ว่า

    «اللَّهُـمَّ رَبَّ جِبْرَائِيلَ وَمِيكَائِيلَ وَإسْرَافِيلَ، فَاطِرَ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ، عَالِـمَ الغَيْبِ وَالشَّهَادَةِ، أَنْتَ تَـحْكُمُ بَيْنَ عِبَادِكَ فِيْـمَا كَانُوا فِيهِ يَـخْتَلِفُونَ، اهْدِنِي لِـمَا اخْتُلِفَ فِيْـهِ مِنَ الحَقِّ بِإذْنِكَ، إنَّكَ تَـهْدِي مَنْ تَشَاءُ إلَى صِرَاطٍ مُسْتَقِيمٍ»

    คำอ่าน อัลลอฮุมมะ ร็อบบะ ญิบรีล วะ มีกาอีล วะ อิสรอฟีล, ฟาฏิร็อส สะมาวาติ วัลอัรฎิ, อาลิมัล ฆ็อยบิ วัช ชะฮาดะฮฺ, อันตะ ตะห์กุมุ บัยนะ อิบาดิกะ ฟีมา กานู ฟีฮิ ยัคตะลิฟูน, อิฮดินี ลิมัคตุลิฟะฟีฮิ มินัลฮักกิ บิอิซนิก, อินนะกะ ตะฮฺดี มัน ตะชาอุ อิลา ศิรอฏิม มุสตะกีม”

    ความหมาย “โอ้ อัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งญิบรีล มิกาอีล และอิสรอฟีล ผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน ผู้ทรงรอบรู้สิ่งที่เร้นลับและเปิดเผย พระองค์คือผู้ตัดสินระหว่างบ่าวทั้งหลายของพระองค์ในเรื่องที่พวกเขาขัดแย้งกัน ขอทรงชี้ทางข้าพระองค์สู่ความถูกต้องในเรื่องที่มีการขัดแย้งนั้นด้วยการอนุญาตแห่งพระองค์ด้วยเถิด แท้จริง พระองค์ทรงชี้ทางผู้ที่ทรงประสงค์สู่ทางอันเที่ยงตรง” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 770)

    4. ให้ดุอาอ์ว่า

    «الله أَكْبَرُ كَبِيراً، وَالحَـمْدُ لله كَثِيراً، وَسُبْـحَانَ الله بُكْرَةً وَأَصِيلاً»

    คำอ่าน อัลลอฮุ อักบะรุ กะบีรอ, วัลหัมดุลิลลาฮิ กะษีรอ, วะ สุบหานัลลอฮิ บุกเราะตัน วะ อะศีลา

    ความหมาย “อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ที่สุด มวลการสรรเสริญอันมากมายเป็นสิทธิแห่งพระองค์ และทรงบริสุทธิ์ยิ่งทั้งในยามเช้าและยามเย็น” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข(601)

    5. ให้ดุอาอ์ว่า

    «الحَـمْدُ لله حَـمْداً كَثِيراً طَيَّباً مُبَارَكاً فِيْـه»

    คำอ่าน อัลหัมดุลิลลาฮิ หัมดัน กะษีร็อน ฏ็อยยิบัน มุบาเราะกัน ฟีฮฺ

    ความหมาย “ขอสรรเสริญอัลลอฮฺ ด้วยการสรรเสริญที่มากมาย ดียิ่ง และประเสริฐยิ่ง” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 600)

    บางครั้งใช้ดุอาอ์นี้บ้าง บางครั้งใช้ดุอาอ์นั้นบ้าง ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งสุนนะฮฺในทุกสำนวนที่ได้บัญญัติมา

    อ่านฟาติหะฮฺและสูเราะฮฺ

    หลังจากนั้น ให้กล่าวค่อยๆ ว่า

    أعوذ بالله من الشيطان الرجيم

    คำอ่าน อะอูซุบิลลาฮิ มินัช ชัยฏอนิร เราะญีม

    ความหมาย “ข้าขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ จากชัยฏอน ผู้ถูกสาปแช่ง”

    หรือกล่าวว่า

    «أَعُوْذُ بِالله السَّمِيْـعِ العَلِيمِ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيمِ مِنْ هَـمْزِهِ، وَنَفْخِهِ وَنَفْثِهِ»

    คำอ่าน อะอูซุบิลลาฮิส สะมีอิล อะลีม, มินัช ชัยฏอนิร เราะญีม, มิน ฮัมซิฮี วะ นัฟคิฮี วะ นัฟษิฮฺ

    ความหมาย “ข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์ผู้ทรงได้ยินและรอบรู้ยิ่ง จากชัยฏอนผู้ถูกสาปแช่ง จากจากกระซิบของมัน การพ่นและเป่ามนตร์ของมัน”

    (เป็นหะดีษหะสันที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 775 และ อัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 242 ดู อัล-อิรวาอ์ 341)

    หลังจากนั้น ให้กล่าวค่อยๆ ว่า

    «بِسْمِ الله الرَّحْـمنِ الرَّحِيْـمِ»

    คำอ่าน บิสมิลลาฮิร เราะห์มานิร เราะหีม

    ความหมาย “ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานียิ่งเสมอ”

    (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์เลขที่ : 743 และมุสลิม เลขที่ : 399)

    หลังจากนั้นให้อ่านสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺ โดยหยุดวะกัฟในทุกๆ การเริ่มต้นของอายะฮฺ และไม่ถือว่าเป็นการละหมาดสำหรับคนที่ไม่อ่านฟาติหะฮฺในละหมาด ฉะนั้นวาญิบให้อ่านฟาติหะฮฺค่อยๆ ในทุกร็อกอะฮฺของการละหมาด นอกจากในกรณีการละหมาดหรือร็อกอะฮฺที่อิมามต้องอ่านเสียงดัง จึงต้องเงียบเพื่อสดับฟังการอ่านของอิมาม

    หลังจากเสร็จสิ้นจากการอ่านฟาติหะฮฺแล้ว ให้กล่าวว่า อามีน (آمين) ทั้งอิมาม มะอ์มูมหรือผู้ที่ละหมาดคนเดียว ทั้งนี้ให้กล่าวโดยลากเสียง และออกเสียงให้ดังพร้อมๆ กันทั้งอิมามและมะอ์มูมสำหรับการละหมาดที่อิมามต้องอ่านเสียงดัง

    มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) ท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้กล่าวว่า

    «إذَا أَمَّنَ الإمَامُ فَأَمِّنُوا فَإنَّهُ مَنْ وَافَقَ تَأْمِيْنُـهُ تَأْمِينَ المَلائِكَةِ غُفِرَ لَـهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِـهِ»

    قال ابن شهاب: وكان رسول الله صلى الله عليه وسلم يقول: «آمِينَ»

    ความว่า “ เมื่ออิมามกล่าวว่า อามีน พวกท่านก็จงกล่าวว่า อามีน เพราะว่าผู้ใดที่กล่าวอามีนพร้อมๆ กับการกล่าวอามีนของมลาอิกะฮฺ เขาจะได้รับอภัยโทษจากความผิดที่ผ่านมา” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์เลขที่ : 780 และมุสลิม เลขที่ : 410)

    ท่านอิบนุ ชิฮาบได้กล่าวว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺได้กล่าวว่า อามีน”

    หลังจากอ่านฟาติหะฮฺแล้วให้อ่านสูเราะฮฺหรือส่วนหนึ่งจากสูเราะฮฺที่ง่ายๆ จากอัลกุรอาน ในทุกๆ สองร็อกอะฮฺแรกของการละหมาดซึ่งบางครั้งให้อ่านยาวและบางครั้งให้อ่านสั้น เช่น ในกรณีที่อยู่ในการเดินทางเป็นหวัด ป่วย หรือเด็กร้องไห้ โดยปกติแล้วในร็อกอะฮฺหนึ่งๆ ให้อ่านสูเราะฮฺให้จบสมบูรณ์ แต่บางครั้งสูเราะฮฺหนึ่งให้แบ่งเป็นสองร็อกอะฮฺ และบางครั้งให้อ่านซ้ำสูเราะฮฺเดียวกันในสูเราะฮฺที่สอง และมีบางครั้งอ่านรวมสองสูเราะฮฺหรือหลายสูเราะฮฺในสูเราะฮฺเดียว ทั้งนี้ให้อ่านแบบช้าๆ ด้วยถ้อยคำที่ชัดเจน(ตัรฺตีล)และด้วยน้ำเสียงที่ไพเราะ

    ให้อ่านเสียงดังในละหมาดศุบหฺ สองร็อกอะฮฺแรกของละหมาดมัฆริบและอิชาอ์ และให้อ่านค่อยในละหมาดซุฮรฺ อัศรฺ ในร็อกอะฮฺที่สามของละหมาดมัฆริบและสองร็อกอะฮฺหลังของละหมาดอิชาอ์ ให้อ่านโดยหยุด(วะกัฟ)ในทุกๆ การเริ่มต้นของอายะฮฺ

    แบบอย่างจากสุนนะฮฺในการอ่านสูเราะฮฺในการละหมาดทั้งห้า

    1. การละหมาดฟัจญ์รฺ(ศุบหฺ) ในร็อกอะฮฺแรกได้อ่านหลังจากอ่านฟาติหะฮฺ ด้วยสูเราะฮฺ ฏิวาล อัล-มุฟัศศ็อล (อัล-มุฟัศศ็อล ขนาดยาว) เช่นสูเราะฮฺ กอฟฺ เป็นต้น แต่บางครั้งก็อ่าน ด้วยสูเราะฮฺปานกลาง (เอาสาฏ อัล-มุฟัศศ็อล) หรือสั้นๆ (กิศอรฺ อัล-มุฟัศศ็อล) เช่น สูเราะฮฺ อัต-ตักวีรฺ และ สูเราะฮฺ อัซ-ซัลซะละฮฺ เป็นต้น และบางครั้งอ่านสูเราะฮฺที่ยาวกว่าที่กล่าวมา ซึ่งให้อ่านยาวในร็อกอะฮฺแรกและให้สั้นลงในร็อกอะฮฺที่สอง หากละหมาดฟัจรฺในวันศุกร์ให้อ่าน สูเราะฮฺ อัส-สัจญ์ดะฮฺ ในร็อกอะฮฺแรก และร็อกอะฮฺที่สองให้อ่านสูเราะฮฺ อัล-อินซาน

    2. การละหมาดซุฮรฺ ในสองร็อกอะฮฺแรกหลังจากฟาติหะฮฺให้อ่านสูเราะฮฺทุกๆ ร็อกอะฮฺ โดยร็อกอะฮฺแรกให้อ่านสูเราะฮฺยาวๆ และร็อกอะฮฺที่สองให้อ่านสูเราะฮฺที่สั้นกว่าร็อกอะฮฺแรก ให้อ่านในทุกๆ ร็อกอะฮฺประมาณ 30 อายะฮฺ บางครั้งให้อ่านสูเราะฮฺยาว และบางครั้งให้อ่านสูเราะฮฺสั้น และให้อ่านฟาติหะฮฺในสองร็อกอะฮฺหลังทุกครั้ง และบางครั้งอิมามก็อาจจะอ่านเสียงดังให้มะอ์มูมได้ยินด้วยก็ได้

    3. การละหมาดอัศรฺ ในสองร็อกอะฮฺแรกหลังจากฟาติหะฮฺให้อ่านสูเราะฮฺทุกๆ ร็อกอะฮฺ โดยร็อกอะฮฺแรกให้อ่านสูเราะฮฺยาวๆ และร็อกอะฮฺที่สองให้อ่านสูเราะฮฺที่สั้นกว่าร็อกอะฮฺแรก ให้อ่านในทุกๆ ร็อกอะฮฺประมาณ 15 อายะฮฺ และให้อ่านฟาติหะฮฺในสองร็อกอะฮฺหลัง และบางครั้งอิมามอาจจะอ่านอายะฮฺเสียงดังให้มะอ์มูมได้ยินด้วยก็ได้

    4. การละหมาดมัฆฺริบ บางครั้งให้อ่านหลังจากอ่านฟาติหะฮฺ ด้วยสูเราะฮฺสั้นๆ (กิศอรฺ อัล-มุฟัศศ็อล) แต่บางครั้งก็ได้อ่านสูเราะฮฺยาวๆ (ฏิวาล อัล-มุฟัศศ็อล) หรือสูเราะฮฺปานกลาง(เอาสาฏ อัล-มุฟัศศ็อล) ซึ่งบางครั้งในสองร็อกอะฮฺแรกให้อ่านสูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ และบางครั้งในสองร็อกอะฮฺแรกให้อ่านสูเราะฮฺอัล-อันฟาล ส่วนร็อกอะฮฺที่สามให้อ่านเพียงสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺเพียงสูเราะฮฺเดียว

    5. การละหมาดอิชาอ์ ในสองร็อกอะฮฺแรกหลังจากฟาติหะฮฺให้อ่านสูเราะฮฺมุฟัศศ็อลที่มีความยาวปานกลาง (เอาสาฏ อัล-มุฟัศศ็อล)

    อัล-มุฟัศศ็อล เริ่มนับตั้งแต่สูเราะฮฺกอฟ จนจบอัลกุรอาน กล่าวคือ อัล-มุฟัศศ็อล ขนาดยาว (ฏิวาล อัล-มุฟัศศ็อล) เริ่มจากสูเราะฮฺกอฟ จนถึงสูเราะฮฺอัมมา และสูเราะฮฺอัล-มุฟัศศ็อล ขนาดปานกลาง (เอาสาฏ อัล-มุฟัศศ็อล) เริ่มจาก สูเราะฮฺอัมมา จนถึงสูเราะฮฺ อัฎ-ฎุหา และสูเราะฮฺ อัล-มุฟัศศ็อลขนาดสั้น(กิศอรฺ อัล-มุฟัศศ็อล)เริ่มจาก สูเราะฮฺ อัฎ-ฎุหา จนถึงสูเราะฮฺ อัน-นาส ซึ่งรวมๆ แล้วมีประมาณสี่ญุซอ์กว่าๆ

    การรุกูอฺ

    หลังเสร็จสิ้นจากการอ่านอัลกุรอานแล้ว ให้หยุดพักชั่วครู่หนึ่งแล้วยกมือทั้งสองจนถึงระดับบ่า หรือระดับติ่งหูทั้งสอง พร้อมๆ กับกล่าวว่า อัลลอฮุ อักบัรฺ แล้วจึงรุกูอฺ โดยวางมือทั้งสองตั้งบนหัวเข่าเสมือนจับกำไว้ กางแต่ละนิ้วออก ให้ข้อศอกแยกห่างจากลำตัว ให้แผ่นหลังราบมีระดับเสมอกัน ศรีษะอยู่ในระดับเดียวกับหลัง ให้สงบนิ่งในรุกูอฺ ให้แสดงถึงความรู้สึกในความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ

    บทดุอาอ์ในรุกูอฺ

    หลังจากนั้นให้กล่าวในขณะรุกูอฺด้วยดุอาอ์และบทซิกิรที่ได้รับรายงานมาจากท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ดังต่อไปนี้

    1. ให้กล่าวว่า

    «سُبْـحَانَ رَبِّيَ العَظِيمِ»

    คำอ่าน สุบหานะ ร็อบบิยัลอะซีม

    ความหมาย “มหาบริสุทธิ์เถิดพระผู้อภิบาลผู้ยิ่งใหญ่แห่งข้าพระองค์” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 772)

    2. หรือให้กล่าวว่า

    «سُبْـحَانَكَ اللَّهُـمَّ رَبَّنَا وَبِـحَـمْدِكَ اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لي»

    คำอ่าน สุบหานะกัลลอฮุมมะ ร็อบบะนา วะบิหัมดิกะ อัลลอฮุมมัฆฟิรฺลี

    ความหมาย “มหาบริสุทธิ์ยิ่ง โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งเรา และด้วยการสรรเสริญพระองค์ ได้โปรดประทานอภัยโทษแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์เลขที่ : 794 และมุสลิม เลขที่ : 484)

    โดยให้กล่าวมากๆ ทั้งในรุกูอฺและในสุญูด

    3. หรือให้กล่าวว่า

    «سُبُّوحٌ قُدُّوسٌ رَبُّ المَلائِكَةِ وَالرُّوحِ»

    คำอ่าน สุบบูหุน กุดดูซุน ร็อบบุล มะลาอิกะติ วัรรูหฺ

    ความหมาย “ผู้ทรงบริสุทธิ์ยิ่ง ผู้ทรงศักด์สิทธิ์ยิ่ง พระผู้อภิบาลแห่งมลาอิกะฮฺทั้งหลายและมลาอิกะฮฺญิบรีล” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 487)

    4. ให้กล่าวว่า

    «اللَّهُـمَّ لَكَ رَكَعْتُ، وَبِكَ آمَنْتُ، وَلَكَ أَسْلَـمْتُ، خَشَعَ لَكَ سَمْعِي، وَبَصَرِي، وَمُـخِّي، وَعَظْمِي، وَعَصَبِي»

    คำอ่าน อัลลอฮุมมะ ละกะ เราะกะอฺตุ, วะบิกะ อามันตุ, วะละกะ อัสลัมตุ, เคาะชะอะ ละกะ ซัมอี, วะ บะเศาะรี, วะมุคคี, วะอัซมี, วะ อะเศาะบี

    ความหมาย “โอ้ อัลลอฮฺ แด่พระองค์ข้าได้รุกูอฺ กับพระองค์ข้าได้ศรัทธา แด่พระองค์ข้าได้ยอมสยบมอบตน หูของข้า ตาของข้า สมองของข้า กระดูกของข้า และเส้นประสาทของข้า ได้สงบต่อพระองค์แล้ว” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 771)

    5. หรือให้กล่าวว่า

    «سُبْـحَانَ ذِي الجَبَرُوتِ، وَالمَلَكُوتِ، وَالكِبْرِيَاءِ، وَالعَظَمَةِ»

    คำอ่าน สุบหานะ ซิล วะบะรูต วัล มะละกูต วัล กิบริยาอ์ วัล อะเซาะมะฮฺ

    ความหมาย “ทรงบริสุทธิ์เถิด พระองค์ผู้ทรงยิ่งด้วยความเกรียงไกร อำนาจ ความทะนง และความยิ่งใหญ่” (เป็นหะดีษเศาะฮีหฺที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 873 และบันทึกโดยอัน-นะสาอีย์ หมายเลข 1049)

    โดยให้กล่าวทั้งในรุกูอฺและในสุญูด

    บางครั้งใช้ตัสบีหฺสำนวนนี้บ้าง บางครั้งใช้ตัสบีหฺสำนวนนั้นบ้าง ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งสุนนะฮฺในทุกสำนวนที่ได้บัญญัติมา

    เงยขึ้นจากรุกูอฺ

    หลังจากนั้นให้เงยขึ้นจากรุกูอฺ จนกระทั่งยืนตรงโดยให้เส้นสาย ข้อ กระดูกต่างๆ ของร่างกายอยู่ในสภาพที่เป็นธรรมชาติเดิมของมัน แล้วยกมือทั้งสองจนถึงระดับบ่า หรือระดับติ่งหูทั้งสองเหมือนกับที่ผ่านมา แล้วปล่อยมือทั้งสองลงหรือวางบนหน้าอกดังที่กล่าวมา หากเป็นอิมามหรือละหมาดคนเดียวให้กล่าวว่า

    «سَمِعَ الله لِـمَنْ حَـمِدَه»

    คำอ่าน สะมิอัลลอฮุ ลิมันหะมิดะฮฺ

    ความหมาย “อัลลอฮฺทรงได้ยินผู้ที่สรรเสริญพระองค์” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกใน อัล-บุคอรีย์เลขที่ : 732 และมุสลิม เลขที่ : 411)

    ดุอาอ์ขณะยืนตรงเมื่อเงยขึ้นจากรุกูอฺ

    ในขณะยืนตรงอิอฺติดาลให้อิมาม มะอ์มูม หรือ ผู้ละหมาดคนเดียวกล่าวดังต่อไปนี้

    1. ให้กล่าวว่า

    «رَبَّنَا وَلَكَ الحَـمْدُ»

    คำอ่าน ร็อบบะนา วะละกัล หัมด์

    ความหมาย “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งเรา และสำหรับพระองค์นั้นคือการสรรเสริญทั้งหลาย” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์เลขที่ : 732 และมุสลิม เลขที่ : 411)

    2. หรือให้กล่าวว่า

    «رَبَّنَا لَكَ الحَـمْدُ»

    คำอ่าน ร็อบบะนา ละกัล หัมด์

    ความหมาย “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งเรา สำหรับพระองค์นั้นคือการสรรเสริญทั้งหลาย” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์หมายเลข 789)

    3. หรือให้กล่าวว่า

    «اللَّهُـمَّ رَبَّنَا لَكَ الحَـمْدُ»

    คำอ่าน อัลลอฮุมมะ ร็อบบะนา ละกัล หัมด์

    ความหมาย “โอ้ อัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งเรา สำหรับพระองค์นั้นคือการสรรเสริญทั้งหลาย” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์เลขที่ : 796 และมุสลิม เลขที่ : 407)

    4. หรือให้กล่าวว่า

    «اللَّهُـمَّ رَبَّنَا وَلَكَ الحَـمْدُ»

    คำอ่าน อัลลอฮุมมะ ร็อบบะนา วะละกัล หัมด์

    ความหมาย “โอ้ อัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งเรา และสำหรับพระองค์นั้นคือการสรรเสริญทั้งหลาย” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์หมายเลข 795)

    บางครั้งใช้สำนวนนี้บ้าง บางครั้งใช้สำนวนนั้นบ้าง ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งสุนนะฮฺในทุกสำนวนที่ได้บัญญัติมา

    บางครั้งอาจเพิ่มขึ้นมาอีกว่า

    «حَـمْدًا كَثِيراً طَيِّباً مُبَارَكاً فِيْـهِ»

    คำอ่าน หัมดัน กะษีร็อน ฏ็อยยิบัน มุบาเราะกัน ฟีฮฺ

    ความหมาย “ด้วยการสรรเสริญที่มากมาย ดียิ่ง และประเสริฐยิ่ง” คำอ่าน (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์หมายเลข 799)

    บางครั้งอาจเพิ่มด้วยอีกว่า

    «مِلْءُ السَّمَاوَاتِ، وَمِلْءُ الأَرْض وَمَا بَيْنَـهُـمَا، وَمِلْءُ مَا شِئْتَ مِنْ شَيْءٍ بَـعْدُ، أَهْلَ الثَّنَاءِ وَالمَـجْدِ، لا مَانِعَ لِـمَا أَعْطَيْتَ، وَلا مُعْطِيَ لِـمَا مَنَعْتَ، وَلا يَنْفَعُ ذَا الجَدِّ مِنْكَ الجَدُّ»

    คำอ่าน มิลอุส สะมาวาต, วะ มิลอุล อัรฎ์, วะ มาบัยนะฮุมา, วะ มิลอุ มา ชิอ์ตะ มินชัยอิน บะอฺดุ, อะฮฺลัษ ษะนาอิ วัล มัจญ์ดฺ, ลา มานิอะ ลิมา อะอฺฏ็อยตะ, วะลา มุอฺฏิยะ ลิมา มะนะอฺตะ, วะลา ยันฟะอุ ซัลญัดดิ มินกัล ญัดดุ

    ความหมาย “การสรรเสริญที่เต็มฟากฟ้าและแผ่นดิน และระหว่างทั้งสองนั้น รวมทั้งทุกสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์นอกจากนั้น โอ้ พระองค์ผู้ควรแก่การสรรเสริญและให้เกียรติ ไม่มีสิ่งใดกั้นขวางสิ่งที่พระองค์ประทานให้ และไม่มีสิ่งใดมอบในสิ่งที่พระองค์กั้นขวางได้ และความมั่งมีมิอาจให้ประโยชน์แก่เจ้าของผู้มั่งมีนั้น ณ พระองค์ได้เลย” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 478)

    บางครั้งอาจเพิ่มด้วยคำกล่าวว่า

    «مِلْءُ السَّماَوَاتِ وَالأَرْضِ، وَمِلْءُ مَا شِئْتَ مِنْ شَيْءٍ بَـعْدُ، أَهْلَ الثَّنَاءِ وَالمَـجْدِ، أَحَقُّ مَا قَالَ العَبْدُ، وَكُلُّنَا لَكَ عَبْدٌ، اللَّهُـمَّ لا مَانِعَ لِـمَا أَعْطَيْتَ، وَلا مُعْطِيَ لِـمَا مَنَعْتَ، وَلا يَنْفَعُ ذَا الجَدِّ مِنْكَ الجَدُّ»

    คำอ่าน มิลอุส สะมาวาต, วะ มิลอุล อัรฎ์, วะ มาบัยนะฮุมา, วะ มิลอุ มา ชิอ์ตะ มินชัยอิน บะอฺดุ, อะฮฺลัษ ษะนาอิ วัล มัจญ์ดฺ, อะหักกุ มา กอลัล อับดุ, วะกุลลุนา ละกะ อับดุน, อัลลอฮุมมะ ลา มานิอะ ลิมา อะอฺฏ็อยตะ, วะลา มุอฺฏิยะ ลิมา มะนะอฺตะ, วะลา ยันฟะอุ ซัลญัดดิ มินกัล ญัดดุ

    ความหมาย “การสรรเสริญที่เต็มฟากฟ้าและแผ่นดิน และระหว่างทั้งสองนั้น รวมทั้งทุกสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์นอกจากนั้น โอ้ พระองค์ผู้ควรแก่การสรรเสริญและให้เกียรติ สิ่งที่บ่าวคู่ควรจะกล่าวมากที่สุด ซึ่งพวกเราทุกคนล้วนเป็นบ่าวของพระองค์ นั่นคือ โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งเรา ไม่มีสิ่งใดกั้นขวางสิ่งที่พระองค์ประทานให้ และไม่มีสิ่งใดมอบในสิ่งที่พระองค์กั้นขวางได้ และความมั่งมีมิอาจให้ประโยชน์แก่เจ้าของผู้มั่งมีนั้น ณ พระองค์ได้เลย” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 477)

    ตามแบบอย่างจากสุนนะฮฺให้ยืนและสงบนิ่งให้นานๆ ในขณะอิอฺติดาล

    การสุญูด

    หลังจากนั้นให้ย่อตัวลงสุญูด พลางกล่าวตักบีรฺ อัลลอฮุอักบัรฺ แล้วสุญูดด้วยอวัยวะทั้งเจ็ด คือ สองมือ สองเข่า สองปลายเท้า และหน้าผากรวมถึงจมูก โดยลงสุญูดด้วยการเอาฝ่ามือทั้งสองวางลงก่อนหัวเข่าทั้งสอง หลังจากนั้นตามด้วยหน้าผากรวมถึงจมูก ยันด้วยฝ่ามือทั้งสองโดยแบมือและให้นิ้วชิดกันและหันไปทางกิบละฮฺ ตั้งมือทั้งสองเสมอบ่าหรือบางครั้งให้เสมอหู

    พยายามให้จมูกและหน้าผากกระทบพื้น ให้ยกแขนให้ห่างจากลำตัว ให้ท้องห่างจากขาและให้ยกแขนรวมทั้งข้อศอกออกจากพื้น

    ให้หัวเข่าทั้งสองและปลายเท้าทั้งสองยันพื้นโดยให้นิ้วเท้าชี้ไปทางกิบละฮฺ ให้เท้าทั้งสองตั้งชันและระหว่างขาทั้งสองข้างให้ห่างกัน เช่นเดียวกันกับระหว่างขากับน่อง และให้สำรวม สงบนิ่งในขณะสุญูด และให้อ่านดุอาอ์ให้มากๆ แต่ห้ามอ่านอัลกุรอานทั้งในรุกูอฺและสุญูด

    ดุอาอ์ในสุญูด

    หลังจากนั้นให้กล่าวในขณะสุญูดด้วยดุอาและอัซการฺที่ได้รับรายงานมาจากท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ดังต่อไปนี้

    1. ให้กล่าวว่า

    «سُبْـحَانَ رَبِّيَ الأَعْلَى»

    คำอ่าน สุบหานะ ร็อบบิยัล อะอฺลา

    ความว่า “มหาบริสุทธิ์ยิ่ง พระผู้อภิบาลแห่งข้าพระองค์ ผู้ทรงสูงส่งยิ่ง” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 772)

    2. หรือให้กล่าวว่า

    «سُبْـحَانَكَ اللَّهُـمَّ رَبَّنَا وَبِـحَـمْدِكَ اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لي»

    คำอ่าน สุบหานะกัลลอฮุมมะ ร็อบบะนา วะบิหัมดิกะ อัลลอฮุมมัฆฟิรฺลี

    ความหมาย “มหาบริสุทธิ์ยิ่ง โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งเรา และด้วยการสรรเสริญพระองค์ ได้โปรดประทานอภัยโทษแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์เลขที่ : 794 และมุสลิม เลขที่ : 484)

    3. หรือให้กล่าวว่า

    «سُبُّوحٌ قُدُّوسٌ رَبُّ المَلائِكَةِ وَالرُّوحِ»

    คำอ่าน สุบบูหุน กุดดูซุน ร็อบบุล มะลาอิกะติ วัรรูหฺ

    ความหมาย “ผู้ทรงบริสุทธิ์ยิ่ง ผู้ทรงศักด์สิทธิ์ยิ่ง พระผู้อภิบาลแห่งมลาอิกะฮฺทั้งหลายและมลาอิกะฮฺญิบรีล” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 487)

    4. ให้กล่าวว่า

    «اللَّهُـمَّ لَكَ سَجَدْتُ، وَبِكَ آمَنْتُ، وَلَكَ أَسْلَـمْتُ، سَجَدَ وَجْهِيَ لِلَّذِي خَلَقَهُ وَصَوَّرَهُ، وَشَقَّ سَمْعَهُ وَبَصَرَهُ، تَـبَارَكَ الله أَحْسَنُ الخَالِقِينَ»

    คำอ่าน อัลลอฮุมมะ ละกะ สะญัดตุ, วะบิกะ อามันตุ, วะละกะ อัสลัมตุ, สะญะดะ วัจญ์ฮิยะ ลิลละซี เคาะละเกาะฮุ วะ เศาวะเราะฮุ, วะ ชั๊กเกาะ สัมอะฮุ วะ บะเศาะเราะฮุ, ตะบาเราะกัลลอฮุ อะห์สะนุล คอลิกีน

    ความหมาย “โอ้ ผู้อภิบาลแห่งข้า ข้าพระองค์ได้กราบสุญูดแด่พระองค์ ได้ศรัทธาต่อพระองค์ และได้จำนนต่อพระองค์ ใบหน้าของข้าได้กราบแด่ผู้ที่สร้างมัน วาดตกแต่งมัน และสร้างให้มีหูและตากับมัน ดังนั้น มหาประเสริฐเถิดองค์อัลลอฮฺผู้ทรงสร้างที่ดียิ่ง” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 771)

    5. หรือให้กล่าวว่า

    «اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لِي ذَنْبِي كُلَّهُ، دِقَّهُ وَجِلَّهُ، وَأَوَّلَـهُ وَ آخِرَهُ، وَعَلانِيَتَـهُ وَسِرَّهُ»

    คำอ่าน อัลลอฮุมมัฆฟิรฺลี ซันบี กุลละฮุ, ดิ๊กเกาะฮู วะ ญิลละฮุ, วะเอาวะละฮู วะ อาคิเราะฮุ, วะ อะลานิยะตะฮู วะ สิรเราะฮุ

    ความหมาย “โอ้ อัลลอฮฺ ขอทรงอภัยแก่ข้าพระองค์ซึ่งบาปทั้งหลายของข้าพระองค์ ทั้งที่เล็กและใหญ่ ทั้งเก่าและใหม่ ทั้งที่เปิดเผยและซ่อนเร้น” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 483)

    6. หรือให้กล่าวว่า

    «اللَّهُـمَّ أَعُوذُ بِرِضَاكَ مِنْ سَخَطِكَ، وَبِمُعَافَاتِكَ مِنْ عُقُوبَتِكَ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنْكَ، لا أُحْصِي ثَنَاءً عَلَيْكَ، أَنْتَ كَمَا أَثْنَيْتَ عَلَى نَفْسِكَ»

    คำอ่าน อัลลอฮุมมะ อะอูซุบิริฎอกะ มิน สะเคาะฏิก, วะ บิมุอาฟาติกะ มิน อุกูบะติก, วะอะอูซุบิกะ มินกะ, ลา อุห์ศี ษะนาอัน อะลัยกะ, อันตะ กะมา อัษนัยตะ อะลา นัฟซิก

    ความหมาย “โอ้ ผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริงข้าพระองค์ขอความคุ้มครองด้วยความโปรดปรานของพระองค์จากความโกรธกริ้วของพระองค์ ขอความคุ้มครองด้วยการให้ความปลอดภัยของพระองค์จากการลงโทษของพระองค์ ขอความคุ้มครองด้วยพระองค์จากพระองค์เอง ข้าพระองค์มิอาจจะนับการสดุดีสรรเสริญพระองค์ได้ พระองค์นั้นเป็นเช่นที่พระองค์ได้สรรเสริญแก่ตัวพระองค์เอง” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 486)

    7. หรือให้กล่าวว่า

    «سُبْـحَانَكَ وَبِـحَـمْدِكَ لا إلَـهَ إلَّا أَنْتَ»

    คำอ่าน สุบหานะกะ วะ บิหัมดิกะ ลาอิลาฮะ อิลลา อันตะ

    ความหมาย “มหาบริสุทธิ์ยิ่งเถิดพระองค์ และด้วยการสรรเสริญพระองค์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 485)

    บางครั้งใช้สำนวนนี้บ้าง บางครั้งใช้สำนวนนั้นบ้าง ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งสุนนะฮฺและขอดุอาอ์ตามสำนวนที่มีรายงานจากท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ให้มากๆ และควรสุญูดให้นานๆ และสำรวม สงบนิ่งในขณะสุญูด

    เงยขึ้นสุญูด

    หลังจากนั้นให้เงยขึ้นจากสุญูด พลางกล่าวตักบีรฺ อัลลอฮุอักบัรฺ แล้วนั่งแบบ อิฟติรอช นั่นคือนั่งบนเท้าซ้าย ปลายเท้าขวายันพื้น นิ้วเท้าชี้ไปยังกิบละฮฺ วางฝ่ามือขวาทาบลงบนหน้าขาอ่อนหรือหัวเข่าขวา ส่วนฝ่ามือซ้ายก็วางทาบทางซ้ายเช่นกัน ซึ่งนิ้วมือทั้งสองแผ่วางบนหน้าขาอ่อนหรือหัวเข่า บางครั้งนั่งในลักษณะนี้บ้าง บางครั้งนั่งในลักษณะนั้นบ้าง ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งสุนนะฮฺ

    และบางครั้งอาจนั่งแบบ อิกอาอ์ คือนั่งโดยเท้าทั้งสองตั้งชันยันพื้นแล้วนั่งบนส้นเท้าและฝ่าเท้าทั้งสองข้าง ให้สำรวม สงบนิ่งในขณะนั่ง จนกระทั่งนั่งสนิทโดยให้เส้นสาย ข้อ กระดูกต่างๆ ของร่างกายอยู่ในสภาพที่เป็นธรรมชาติเดิมของมัน

    ดุอาอ์ขณะนั่งระหว่างสุญูด

    หลังจากนั้นให้กล่าวในขณะสุญูดด้วยดุอาอ์และซิกิรฺที่ได้รับรายงานมาจากท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ดังต่อไปนี้

    1. ให้กล่าวว่าd

    «اللَّهُـمَّ (وفي لفظ: رَبِّ) اغْفِرْ لِي، وَارْحَـمْنِي [وَاجْبُرْنِي] [وَارْفَعْنِي] وَاهْدِنِي، وَعَافَنِي، وَارْزُقْنِي»

    คำอ่าน อัลลอฮุมมัฆฟิรลี (หรือ ร็อบบิฆฟิรฺลี) วัรหัมนี, วัจญ์บุรนี, วัรฟะอฺนี, วะฮฺดีนี, วะอาฟินี, วัรซุกนี

    ความหมาย “โอ้ ผู้อภิบาลแห่งข้า ได้โปรดประทานอภัยแก่ข้าพระองค์ เมตตาข้าพระองค์ ดูแลแก้ไขข้าพระองค์ ยกฐานะข้าพระองค์ ชี้นำข้าพระองค์ ให้ความปลอดภัยแก่ข้าพระองค์ ประทานปัจจัยยังชีพแก่ข้าพระองค์” (เป็นหะดีษหะสัน บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 850 และอิบนุ มาญะฮฺ 898)

    2. หรือให้กล่าวว่า

    «رَبِّ اغْفِرْ لِي، رَبِّ اغْفِرْ لِي»

    คำอ่าน ร็อบบิฆฟิรลี ร็อบบิฆฟิรลี

    ความหมาย “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า ขอทรงอภัยให้ข้าพระองค์ด้วยเถิด โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า ขอทรงอภัยให้ข้าพระองค์ด้วยเถิด” (เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดยอิบนุ มาญะฮฺ 897)

    หลังจากนั้นให้ตักบีรฺ แล้วย่อตัวลงสุญูดครั้งที่สอง พลางกล่าวตักบีรฺ อัลลอฮุอักบัรฺ แล้วปฏิบัติเหมือนกับที่ปฏิบัติในตักบีรฺแรกดังที่กล่าวมาแล้ว หลังจากนั้นให้เงยขึ้นจากสุญูดครั้งที่สอง พลางกล่าวตักบีรฺ อัลลอฮุอักบัรฺ แล้วนั่งให้สนิทโดยให้เส้นสาย ข้อ กระดูกต่างๆ ของร่างกายอยู่ในสภาพที่เป็นธรรมชาติเดิมของมัน การนั่งนี้เรียกว่า(ญัลสะฮฺ อัล-อิสติรอหะฮฺ)ซึ่งไม่มีคำซิกิรฺและดุอาอ์ในขณะการนั่งนี้แต่อย่างใด

    หลังจากให้ลุกขึ้นยืนเพื่อละหมาดในร็อกอะฮฺที่สองโดยใช้มือทั้งสองยันพื้น แล้วปฏิบัติเหมือนกับที่ปฏิบัติในร็อกอะฮฺแรกดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เพียงแต่ใช้เวลาให้สั้นกว่าร็อกอะฮฺแรกและไม่มีการกล่าวดุอาอ์อิสติฟตาหฺอีก

    การนั่งตะชะฮฺฮุด

    หลังจากนั้นให้นั่งเพื่ออ่าน ตะชะฮฺฮุด ครั้งแรก หลังจากเสร็จสิ้นร็อกอะฮฺที่สอง หากเป็นการละหมาดที่มีทั้งหมดสามหรือสี่ร็อกอะฮฺให้นั่งแบบ อิฟติรอช คือนั่งบนเท้าซ้าย ปลายเท้าขวายันพื้น นิ้วเท้าและฝ่ามือให้เหมือนกับที่ปฏิบัติในการนั่งระหว่างสองสุญูด เพียงแต่ให้กำนิ้วมือขวาทุกนิ้วแล้วชี้นิ้วชี้ไปยังกิบละฮฺ ให้ยกและกระดิกนิ้วชี้เพื่อดุอาอ์ หรือ อาจยกนิ้วชี้โดยไม่กระดิก และให้สายตาจ้องไปที่นิ้วชี้ ซึ่งในขณะที่ยกนิ้วชี้อยู่ให้เอานิ้วหัวแม่มือขวาไปแนบนิ้วกลาง บางครั้งก็จรดปลายนิ้วทั้งสองเป็นวงกลม ส่วนฝ่ามือซ้ายให้แผ่วางไว้ดังกล่าวมาข้างต้น

    สำนวนตะชะฮฺฮุด

    หลังจากนั้นให้อ่านตะชะฮฺฮุดตามสำนวนที่ได้รับรายงานมาจากท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ดังต่อไปนี้

    1. ตะชะฮฺฮุดที่รายงานโดยท่านอิบนุ มัสอูด(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) ซึ่งท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้สอนท่านอิบนุมัสอูดด้วยตัวเอง กล่าวคือ

    «التَّحِيَّاتُ لله، وَالصَّلَوَاتُ، وَالطَّيِّبَاتُ، السَّلامُ عَلَيْكَ أَيُّهَا النَّبِيُّ وَرَحْـمَةُ الله وَبَرَكَاتُـهُ، السَّلامُ عَلَيْنَا، وَعَلَى عِبَادِ الله الصَّالِـحِينَ، أَشْهَدُ أَنْ لا إلَـهَ إلَّا الله، وَأَشْهَدُ أَنَّ مُـحَـمَّداً عَبْدُهُ وَرَسُولُـهُ»

    คำอ่าน อัตตะหิยฺยาตุ ลิลลาฮฺ, วัศฺศอละวาตุ วัฏฺฏ็อยยิบาตฺ, อัสลามุอะลัยกะ อัยฺยุฮัน นะบิยฺยุ วะเราะฮฺมะตุลลอฮิ วะบะรอกาตุฮฺ, อัสลามุอะลัยนา วะอะลา อีบาดิลลาฮิศฺ ศอลิหีน, อัชฮะดุ อัลฺลาอิลาฮะ อิลฺลัลลอฮฺ, วะอัชฮะดุ อันนะมุหัมมะดัน อับดุฮู วะรอซูลุฮฺ

    ความหมาย “มวลการสดุดีทั้งหลายมอบแด่อัลลอฮฺ รวมทั้งการสรรเสริญด้วยพรและความดีงามต่างๆ ขอความสันติสุขจงประสบแด่ท่านโอ้ผู้เป็นนบี รวมทั้งเมตตาแห่งอัลลอฮฺและความประเสริฐทั้งหลายของพระองค์ ขอความสันติสุขจงประสบแด่เราและแด่บรรดาบ่าวผู้ทรงคุณธรรมทั้งหลาย ข้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และข้าขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์เลขที่ : 831 และมุสลิม เลขที่ : 402)

    2. หรือตะชะฮฺฮุดที่รายงานโดยท่านอิบนุ อับบาส (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา) ซึ่งท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้สอนท่านอิบนุ อับบาสด้วยตัวเอง กล่าวคือ

    «التَّحِيَّاتُ المُبَارَكَاتُ الصَّلَوَاتُ الطَّيِّبَاتُ لله، السَّلامُ عَلَيْكَ أَيُّهَا النَّبِيُّ وَرَحْـمَةُ الله وَبَرَكَاتُـهُ، السَّلامُ عَلَيْنَا وَعَلَى عِبَادِ الله الصَّالِـحِينَ، أَشْهَدُ أَنْ لا إلَـهَ إلَّا الله، وَأَشْهَدُ أَنَّ مُـحَـمَّداً رَسُولُ الله»

    คำอ่าน อัตตะหิยฺยาตุล มุบาเราะกาตุศ เศาะลาวาตุต ฏ็อยยิบาตุ ลิลลาฮฺ, อัสลามุอะลัยกะ อัยฺยุฮัน นะบิยฺยุ วะเราะฮฺมะตุลลอฮิ วะบะรอกาตุฮฺ, อัสลามุอะลัยนา วะอะลา อีบาดิลลาฮิศฺ ศอลิหีน, อัชฮะดุ อัลฺลาอิลาฮะ อิลฺลัลลอฮฺ, วะอัชฮะดุ อันนะมุหัมมะดัน เราะสูลุลลอฮฺ

    ความหมาย “มวลการสดุดีทั้งหลายที่ประเสริฐ การสรรเสริญด้วยพรและความดีงามต่างๆ ทั้งหลาย ขอมอบแด่อัลลอฮฺ ขอความสันติสุขจงประสบแด่ท่านโอ้ผู้เป็นนบี รวมทั้งเมตตาแห่งอัลลอฮฺและความประเสริฐทั้งหลายของพระองค์ ขอความสันติสุขจงประสบแด่เราและแด่บรรดาบ่าวผู้ทรงคุณธรรมทั้งหลาย ข้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และข้าขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 403)

    บางครั้งอ่านตะชะฮฺฮุดด้วยสำนวนนี้บ้าง ด้วยสำนวนนั้นบ้าง ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งสุนนะฮฺในทุกสำนวนที่ได้บัญญัติมา

    สำนวนการเศาะละวาต

    หลังจากนั้นบางครั้งให้อ่านเศาะละวาตให้กับท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) เบาๆด้วยสำนวนที่ได้รับรายงานมาจากท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ดังต่อไปนี้

    1. สำนวนที่หนึ่ง คือ

    «اللَّهُـمَّ صَلِّ عَلَى مُـحَـمَّدٍ، وَعَلَى آلِ مُـحَـمَّدٍ، كَمَا صَلَّيْتَ عَلَى إبْرَاهِيمَ، وَعَلَى آلِ إبْرَاهِيمَ، إنَّكَ حَـمِيدٌ مَـجِيدٌ، اللَّهُـمَّ بَارِكْ عَلَى مُـحَـمَّدٍ، وَعَلَى آلِ مُـحَـمَّدٍ، كَمَا بَارَكْتَ عَلَى إبْرَاهِيمَ، وَعَلَى آلِ إبْرَاهِيمَ، إنَّكَ حَـمِيدٌ مَـجِيدٌ»

    คำอ่าน อัลลอฮุมมะ ศ็อลลิอะลา มุหัมมัด วะอะลาอาลิ มุหัมมัด, กะมาศ็อลลัยตะ อะลาอิบรอฮีมะ วะอะลา อาลิอิบรอฮีม อินนะกะ หะมีดุมมะญีด, อัลลอฮุมมะบาริกอะลา มุหัมมัด วะอะลาอาลิ มุหัมมัด, กะมาบาร็อกตะ อะลาอิบรอฮีม วะอะลาอาลิอิบรอฮีม อินนะกะ หะมีดดุม มะญีด

    ความหมาย “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งเรา ขอทรงประทานความจำเริญแด่มุหัมมัดและครอบครัวของมุหัมมัด เช่นที่พระองค์ประทานความจำเริญแด่อิบรอฮีมและครอบครัวของอิบรอฮีม แท้จริงพระองค์นั้นทรงยิ่งด้วยการสรรเสริญและบารมีอันสูงส่ง โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งเรา ขอทรงประทานความประเสริฐแด่มุหัมมัดและครอบครัวของมุหัมมัด เช่นที่พระองค์ประทานความประเสริฐแด่อิบรอฮีมและครอบครัวของอิบรอฮีม แท้จริงพระองค์นั้นทรงยิ่งด้วยการสรรเสริญและบารมีอันสูงส่ง” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์เลขที่ : 3370 สำนวนนี้เป็นของอัลบุคอรียฺและมุสลิม เลขที่ : 406)

    2. หรือสำนวนที่สอง คือ

    «اللَّهُـمَّ صَلِّ عَلَى مُـحَـمَّدٍ، وَعَلَى أَزْوَاجِهِ وَذُرِّيَّتِـهِ، كَمَا صَلَّيْتَ عَلَى آلِ إبْرَاهِيمَ، وَبَارِكْ عَلَى مُـحَـمَّدٍ، وَعَلَى أَزْوَاجِهِ وَذُرِّيَّتِـهِ، كَمَا بَارَكْتَ عَلَى آلِ إبْرَاهِيمَ، إنَّكَ حَـمِيدٌ مَـجِيدٌ»

    คำอ่าน อัลลอฮุมมะ ศ็อลลิอะลา มุหัมมัด วะอะลา อัซวาญิฮี วะ ซุรริยะติฮฺ, กะมาศ็อลลัยตะ อะลา อาลิอิบรอฮีม, วะบาริก อะลา มุหัมมัด วะอะลา อัซวาญิฮี วะ ซุรริยะติฮฺ, กะมาบาร็อกตะ อะลา อาลิอิบรอฮีม, อินนะกะ หะมีดดุม มะญีด

    ความหมาย “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งเรา ขอทรงประทานความจำเริญแด่มุหัมมัด บรรดาภริยาและลูกหลานของท่าน เช่นที่พระองค์ประทานความจำเริญแด่ครอบครัวของอิบรอฮีม และขอทรงประทานความประเสริฐแด่มุหัมมัด บรรดาภรรยาและลูกหลานของท่าน เช่นที่พระองค์ประทานความประเสริฐแด่ครอบครัวของอิบรอฮีม แท้จริงพระองค์นั้นทรงยิ่งด้วยการสรรเสริญและบารมีอันสูงส่ง” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์เลขที่ : 6360 และมุสลิม เลขที่ : 407สำนวนนี้เป็นของมุสลิม)

    บางครั้งอ่านเศาะละวาตด้วยสำนวนนี้บ้าง ด้วยสำนวนนั้นบ้าง ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งสุนนะฮฺในทุกสำนวนที่หลากหลาย

    หลังจากนั้น หากเป็นการละหมาด 3 ร็อกอะฮฺเช่นมัฆฺริบ หรือ การละหมาด 4 ร็อกอะฮฺ เช่น ซุฮรฺ อัศรฺ และอิชาอ์ ให้อ่าน ตะชะฮฺฮุด ครั้งที่หนึ่ง หลังเสร็จสิ้นสองร็อกอะฮฺแรก และเศาะละวาตให้กับท่านนบี ดังก่อนหน้านี้ หลังจากนั้นให้ลุกขึ้นละหมาดในร็อกอะฮฺที่สามโดยกล่าวตักบีรฺ อัลลอฮุอักบัรฺ ขณะลุกขึ้นให้ใช้มือทั้งสองยันพื้น หลังจากนั้นให้ยกมือทั้งสองจนถึงระดับบ่า หรือระดับติ่งหูทั้งสอง แล้ววางมือทั้งสองบนหน้าอกดังกล่าวมาข้างต้น แล้วอ่านอัลฟาติหะฮฺ หลังจากนั้นให้รุกูอฺ แล้วสุญูดเช่นที่กระทำมาข้างต้น หลังจากนั้นเมื่อเสร็จสิ้นร็อกอะฮฺที่สามแล้วหากเป็นการละหมาดมัฆริบให้นั่งเพื่ออ่าน ตะชะฮฺฮุด ครั้งสุดท้าย

    แต่ถ้าเป็นการละหมาดสี่ ร็อกอะฮฺ หากต้องการลุกขึ้นละหมาดในร็อกอะฮฺที่สี่ให้กล่าวตักบีรฺ อัลลอฮุอักบัรฺ แล้วนั่งให้สนิทซึ่งเป็นการนั่งอิสติรอหะฮฺ นั่นคือนั่งตรงบนเท้าซ้ายโดยให้เส้นสาย ข้อ กระดูกต่างๆ ของร่างกายอยู่ในสภาพที่เป็นธรรมชาติเดิมของมัน

    หลังจากนั้นให้นั่งอ่าน อัตตะชะฮฺฮุด ครั้งสุดท้าย ทั้งนี้หลังจากร็อกอะฮฺที่สี่ของการละหมาด ซุฮรฺ อัศรฺ และอิชาอ์ หรือหลังจากร็อกอะฮฺที่สามของการละหมาดมัฆฺริบโดยให้นั่งแบบ ตะวัรฺรุก ซึ่งโดยมีวิธีการตามลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้

    1. โดยการตั้งเท้าขวายันพื้น แล้วแผ่เท้าซ้ายราบพื้นยื่นออกมาทางขวา ลอดใต้ขาและน่องขวา แล้วนั่งบนพื้น (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์หมายเลข 828)

    2. โดยการวางสะโพกซ้ายบนพื้น ซึ่งเท้าทั้งสองพับไปในทิศทางเดียวกัน (เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 831)

    3. โดยการนั่งบนเท้าขวา แล้วเอาเท้าซ้ายลอดใต้ขาและน่องขวา (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 579)

    บางครั้งปฏิบัติด้วยลักษณะนี้บ้าง ด้วยลักษณะนั้นบ้าง ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งสุนนะฮฺในทุกลักษณะที่หลากหลาย

    หลังจากนั้นให้อ่าน ตะชะฮฺฮุด ดังที่กล่าวมาข้างต้น แล้วจึงกล่าวว่าเศาะละวาตให้กับท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วใน ตะชะฮฮุด แรก

    ดุอาอ์ก่อนให้สลาม

    หลังจากนั้นให้กล่าวว่า

    «اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنْ عَذَابِ جَهَنَّمَ، وَمِنْ عَذَابِ القَبْرِ، وَمِنْ فِتْنَةِ المَـحْيَا وَالمَـمَاتِ، وَمِنْ شَرِّ فِتْنَةِ المَسِيحِ الدَّجَّالِ»

    คำอ่าน อัลลอฮุมมะ อินนี อะอูซุบิกะ มิน อะซาบิ ญะฮันนัม, วะมิน อะซาบิล ก็อบริ, วะมิน ฟิตนะติล มะห์ยา วัล มะมาติ, วะมิน ชัรริ ฟิตนะติล มะสีหิด ดัจญาล

    ความหมาย “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้าพระองค์ แท้จริงข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากการทรมานในนรกญะฮันนัม จากการทรมานในหลุมฝังศพ จากการทดสอบของชีวิตและความตาย จากความชั่วร้ายที่เป็นบททดสอบของดัจญาล” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 588)

    หลังจากนั้นให้เลือกอ่านดุอาใดดุอาหนึ่งที่ชอบซึ่งได้รับรายงานมาจากท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)

    บางครั้งอาจอ่านดุอาบทนี้ และบางครั้งอาจอ่านดุอาบทนั้นก็ได้ ซึ่งมีดังต่อไปนี้

    1. ให้อ่าน

    «اللَّهُـمَّ إنِّي ظَلَـمْتُ نَفْسِي ظُلْـماً كَثِيراً، وَلا يَـغْفِرُ الذُّنُوبَ إلَّا أَنْتَ، فَاغْفِرْ لِي مَغْفِرَةً مِنْ عِنْدِكَ وَارْحَـمْنِي إنَّكَ أَنْتَ الغَفُورُ الرَّحِيمُ»

    คำอ่าน อัลลอฮุมมะ อินนี เซาะลัมตุ นัฟซี ซุลมัน กะษีรอ, วะลา ยัฆฟิรุซซุนูบะ อิลลา อันตะ, ฟัฆฟิรลี มัฆฟิเราะตัม มิน อินดิกะ, วัรหัมนี อินนะกะ อันตัล เฆาะฟูรุรเราะหีม

    ความหมาย “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้า แท้จริงข้าพระองค์ได้ก่อความอยุติธรรมอย่างมากมายแก่ตัวข้าเอง และไม่มีผู้ใดที่อภัยโทษได้เว้นแต่พระองค์เท่านั้น ได้โปรดอภัยแก่ข้าพระองค์ด้วยการประทานอภัยจากพระองค์ ขอทรงเมตตตาข้าพระองค์ด้วยเถิด แท้จริงพระองค์นั้นทรงเป็นผู้ที่เปี่ยมยิ่งด้วยการอภัยและความเมตตา” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์เลขที่ : 834 สำนวนนี้เป็นของอัลบุคอรียฺและมุสลิม เลขที่ : 2705)

    2. ให้อ่าน

    «اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لِي مَا قَدَّمْتُ وَمَا أَخَّرْتُ، وَمَا أَسْرَرْتُ وَمَا أَعْلَنْتُ، وَمَا أَسْرَفْتُ، وَمَا أَنْتَ أَعْلَـمُ بِـهِ مِنِّي، أَنْتَ المُقَدِّمُ، وَأَنْتَ المُؤَخِّرُ، لا إلَـهَ إلَّا أَنْتَ»

    คำอ่าน อัลลอฮุมมัฆฟิรลี มา ก็อดดัมตุ วะมา อัคค็อรฺตุ, วะมา อัสร็อรฺตุ, วะมา อะอฺลันตุ, วะมา อัสร็อฟตุ, วะมา อันตะ อะอฺละมุ บิฮี มินนี, อันตัล มุก็อดดิมุ, วะอันตัล มุอัคคิรุ, ลาอิลาฮะ อิลลา อันตะ

    ความหมาย “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้าพระองค์ ได้โปรดอภัยในสิ่งที่ข้าพระองค์ทำก่อนหน้านี้และทำหลังจากนี้ สิ่งที่ข้าพระองค์ปิดบังและสิ่งที่ข้าพระองค์เปิดเผย สิ่งที่ข้าพระองค์ทำเกินเลยและสิ่งที่พระองค์รู้ดีกว่าตัวข้าพระองค์ แท้จริงพระองค์เป็นผู้อยู่ก่อนหน้าและเป็นผู้อยู่ภายหลัง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์เท่านั้น” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 771)

    3. ให้อ่าน

    «اللَّهُـمَّ أعِنِّي عَلَى ذِكْرِكَ وَشُكْرِكَ وَحُسْنِ عِبَادَتِكَ»

    คำอ่าน อัลลอฮุมมะ อะอินนี อะลา ซิกริกะ วะ ชุกริกะ วะ หุสนิ อิบาดะติกะ

    ความหมาย “โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้าพระองค์ ขอทรงช่วยข้าพระองค์ในการกล่าวรำลึกถึงพระองค์ การขอบคุณแด่พระองค์ และการปฏิบัติอิบาดะฮฺให้ดีเลิศแด่พระองค์” (เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ ใน อัล-อะดะบุลมุฟร็อด 771 และอบู ดาวูด หมายเลข 1522)

    4. ให้อ่าน

    «اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنْ الجُبْنِ، وَأعُوذُ بِكَ أنْ أُرَدَّ إلَى أرْذَلِ العُمُرِ، وَأعُوذُ بِكَ مِنْ فِتْنَةِ الدُّنْيَا، وَأعُوذُ بِكَ مِنْ عَذَابِ القَبْرِ»

    คำอ่าน อัลลอฮุมมะ อินนี อะอูซุบิกะ มินัล ญุบนิ, วะ อะอูซุบิกะ อัน อุร็อดดะ อิลา อัรซะลิล อุมริ, วะ อะอูซุบิกะ มิน ฟิตนะติด ดุนยา, วะ อะอูซุบิกะ มิน อะซาบิล ก็อบรฺ

    ความหมาย “โอ้ อัลลอฮฺ ข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากความขี้ขลาด และข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากความแก่เฒ่าที่ทำให้อ่อนแอ และข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากการทดสอบในดุนยา และข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากการทรมานในหลุมฝังศพ ” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์หมายเลข 2822)

    ให้สลาม

    หลังจากนั้นให้สลามพร้อมกล่าวด้วยเสียงดังว่า

    «السَّلامُ عَلَيْكُمْ وَرَحْـمَةُ الله»

    อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะห์มะตุลลอฮฺ โดยหันไปทางขวาจนกระทั่งเห็นแก้มด้านขวา แล้วให้สลามทางซ้ายว่า

    «السَّلامُ عَلَيْكُمْ وَرَحْـمَةُ الله»

    อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะห์มะตุลลอฮฺ โดยหันไปทางซ้ายจนกระทั่งเห็นแก้มด้านซ้าย

    (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 582 อบู ดาวูด หมายเลข 996 และอิบนุ มาญะฮฺ 914)

    บางครั้งบางคราว เมื่อกล่าวทางขวาว่า อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะห์มะตุลลอฮฺ จะกล่าวทางซ้ายสั้นๆ ว่า อัสสลามุอะลัยกุม (เป็นหะดีษที่หะสัน เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัน-นะสาอีย์ 1321)

    หากเป็นการละหมาดที่มีทั้งหมดเพียงสองร็อกอะฮฺ ไม่ว่าจะเป็นละหมาดฟัรฎูหรือสุนัต ให้นั่งเพื่ออ่านตะชะฮฺฮุด หลังจากร็อกอะฮฺสุดท้าย ดังในหะดีษว่า

    «جَلَسَ عَلَى رِجْلِـهِ اليُسْرَى، وَنَصَبَ اليُـمْنَى»

    ความว่า “ท่านนั่งบนเท้าซ้ายของท่านแล้วยันด้วยเท้าขวา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์หมายเลข 828)

    หลังจากนั้นให้ปฏิบัติเหมือนที่กล่าวมาแล้ว(อ่านตะชะฮฺฮุด แล้วเศาะละวาตให้กับท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) แล้วขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ แล้วอ่านดุอาอ์ แล้วจึงให้สลาม)

    มีรายงานจากท่านอัล-บัรฺรออ์ อิบนุ อาซิบ(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) ได้กล่าวว่า

    كَانَ رُكُوعُ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم وَسُجُودُهُ، وَبَيْنَ السَّجْدَتَيْنِ، وَإذَا رَفَعَ رَأْسَهُ مِنَ الرُّكُوعِ، مَا خَلا القِيَامَ وَالقُعُودَ، قَرِيباً مِنَ السَّوَاءِ

    ความว่า “ปรากฎว่าการรุกูอฺ การสุญูด การลุกขึ้นจากรุกูอฺ และช่วงห่างระหว่างการยืนกับการนั่งของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้น ใช้เวลาเกือบเท่าๆกัน” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์เลขที่ : 792 สำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม เลขที่ : 471)

    และสำหรับการปฏิบัติของผู้หญิงมุสลิมะฮฺในละหมาดนั้นให้ปฏิบัติเหมือนที่ผู้ชายปฏิบัติ ทั้งนี้เนื่องจากความเข้าใจโดยรวมจากคำกล่าวของท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ว่า

    «صَلُّوْا كَمَا رَأَيْتُـمُوْنِي أُصَلِّي»

    ความว่า “ท่านทั้งหลายจงละหมาด ดังที่พวกท่านเห็นฉันละหมาด” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์หมายเลข 631)

    เมื่ออิมามเสร็จสิ้นจากละหมาดแล้ว จะหันไปหาบรรดามะอ์มูมทางขวา หรือทางซ้ายของเขาก็ได้ เพราะทั้งสองแบบเป็นสุนนะฮฺทั้งสิ้น

    มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮา) ว่า

    كان النبي صلى الله عليه وسلم إذا سلم لم يقعد إلا مقدار ما يقول: «اللَّهُـمَّ أَنْتَ السَّلامُ، وَمِنْكَ السَّلامُ، تَـبَارَكْتَ يَا ذَا الجَلالآِ وَالإكْرَامِ»

    ความว่า “เมื่อท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ให้สลามแล้ว ท่านจะไม่นั่งในที่ละหมาดนอกจากเพียงแค่ช่วงระยะคำกล่าวของท่านว่า อัลลอฮุมมะ อันตัส สะลาม วะ มินกัส สะลาม, ตะบาร็อกตะ ยา ซัลญะลาลิ วัล อิกรอม

    ความหมาย โอ้ พระผู้อภิบาลแห่งข้าพระองค์ พระองค์คืออัส-สลาม(ผู้เปี่ยมด้วยสันติ) จากพระองค์นั้นคือที่มาของสันติ ประเสริฐยิ่งเถิด โอ้ผู้เปี่ยมด้วยความยิ่งใหญ่และบุญคุณอันล้นเหลือ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 592)

    มีรายงานจากท่าน ฮัลบฺ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) กล่าวว่า

    كان رسول الله صلى الله عليه وسلم يؤمنا فينصرف على جانبيه جميعاً: على يمينه وعلى شماله

    ความว่า “ปรากฏว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) เป็นอิมามละหมาดกับพวกเรา เมื่อเสร็จสิ้นการละหมาดแล้ว ท่านหันมาทางพวกเราทั้งสองด้าน ทางขวาของท่านบ้าง ทางซ้ายของท่านบ้าง” (เป็นหะดีษหะสันเศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 301 และอัต-ติรมิซีย์ 1041 สำนวนนี้เป็นของท่าน)

    บางครั้งปฏิบัติด้วยลักษณะนี้บ้าง ด้วยลักษณะนั้นบ้าง ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งสุนนะฮฺในทุกลักษณะที่หลากหลาย

    معلومات المادة باللغة العربية