Description
จากหนังสือมุคตะศ็อรฺ อัลฟิกฮิล อิสลามีย์ ประกอบด้วยเนื้อหาต่างๆ อาทิ ความหมายการออกนอกศาสนา (อัรริดดะฮฺ) บทบัญญัติว่าด้วยที่ผู้ออกนอกศาสนา วิทยปัญญาการบัญญัติโทษประหารชีวิตแก่ผู้ออกนอกศาสนา ประเภทของการออกนอกศาสนา ข้อปฏิบัติต่อผู้ที่ออกนอกศาสนา บทบัญญัติว่าด้วยการออกจากศาสนาของสามี บทบัญญัติว่าด้วยไสยศาสตร์ ข้อชี้ขาดของการเล่นไสยศาสตร์
คำแปลภาษาอื่นๆ 1
การออกนอกศาสนา (อัรริดดะฮฺ)
﴿الردة﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์
แปลโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ
ผู้ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์
2010 - 1431
﴿الردة﴾
« باللغة التايلاندية »
الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري
ترجمة: يوسف أبوبكر
مراجعة: فيصل عبدالهاديي
المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي
2010 - 1431
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
การออกนอกศาสนา (อัรริดดะฮฺ)
อัลมุรตัด คือ ผู้ที่ได้ปฏิเสธโดยสมัครใจหลังจากเข้ารับอิสลาม
บทบัญญัติว่าด้วยที่ผู้ออกนอกศาสนา
ผู้ออกนอกศาสนานับว่าเป็นการปฏิเสธที่ร้ายแรงยิ่งกว่าผู้เป็นกาฟิรดั้งเดิม และการออกนอกศาสนานั้นคือการปฏิเสธ ที่ทำให้หลุดออกจากแนวทาง และต้องพำนักอยู่ในนรกตลอดกาลหากเขาตายไปโดยไม่ได้กลับตัว และเมื่อผู้ออกนอกศาสนาได้เสียชีวิตหรือถูกประหารก่อนที่ได้กลับตัวเขาคือกาฟิร ไม่ต้องอาบน้ำศพ ไม่ต้องละหมาดให้ และจะไม่ถูกฝังในสุสานของบรรดามุสลิม
1. อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า
( ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ) [البقرة/217].
ความหมาย “และผู้ใดในกลุ่มพวกสูเจ้าออกนอกศาสนาของเขา แล้วเขาได้เสียชีวิตลงขณะที่เขาเป็นผู้ปฏิเสธการศรัทธา ชนเหล่านี้แหละที่บรรดาการงานของพวกเขาไร้ผลทั้งในโลกดุนยาและอาคิเราะฮฺ และชนเหล่านี้คือชาวนรกซึ่งพวกเขาจะต้องอยู่ในนั้นตลอดกาล" (อัลบะเกาะเราะฮฺ : 217)
2. จากอิบนิ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ بَدَّلَ دِيْنَـهُ فَاقْتُلُوهُ»
ความหมาย “ผู้ใดที่ได้เปลี่ยนศาสนา ดังนั้นจงประหารชีวิตของเขา" (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 3017)
วิทยปัญญาการบัญญัติโทษประหารชีวิตแก่ผู้ออกนอกศาสนา
อิสลาม คือ ครรลองที่ครบถ้วนสมบรูณ์สำหรับการดำเนินชีวิต และเป็นกฏระเบียบที่คลอบคลุมทุกอย่างที่มีความจำเป็นต่อมนุษย์สอดรับกับธรรมชาติและสติปัญญา ดำรงไว้ซึ่งหลักฐานและข้อเท็จจริง ขณะเดียวกันนับว่าเป็นความโปรดปรานที่ใหญ่หลวงและด้วยกับการดำเนินชีวิตตามครรลองอิสลามจะทำให้บรรลุถึงความสุขทั้งโลกดุนยาและอาคิเราะฮฺ
และผู้ใดที่ได้เข้ารับอิสลามหลังจากนั้นเขาก็ออกนอกศาสนาเท่ากับเขาได้ลดระดับสู่ชั้นที่ต่ำลงและเขาปฏิเสธศาสนาของอัลลอฮฺที่พระองค์ทรงพอพระทัยแก่พวกเรา และเขาได้คดโกงต่ออัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ ดังนั้นจำเป็นต้องประหารชีวิตเนื่องจากเขาได้ปฏิเสธสัจธรรม และด้วยหลักการอิสลามเป็นสิ่งที่มาสร้างดุลยภาพให้แก่โลกดุนยาและอาคิเราะฮฺ
ประเภทของการออกนอกศาสนา
การออกนอกศาสนาสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. การออกนอกศาสนาโดยความเชื่อ เช่น การที่มนุษย์เชื่อว่ามีหุ้นส่วนภาคีร่วมกับอัลลอฮฺในด้านการเป็นพระเจ้า หรือในด้านการทำอิบาดะฮฺ หรือปฏิเสธการเป็นพระเจ้าของพระองค์หรือความเป็นเอกะของพระองค์ หรือปฏิเสธคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์ หรือเชื่อว่าบรรดาศาสนทูตนั้นเป็นเท็จ ปฏิเสธบรรดาคัมภีร์ที่ถูกประทานลงมา ปฏิเสธการฟื้นคืนชีพ ปฏิเสธการมีของสวนสวรรค์และนรก ตำหนิสิ่งหนึ่งสิ่งใดของศาสนาถึงแม้ว่าเขาจะปฏิบัติอยู่ก็ตาม
หรือเชื่อว่าการผิดประเวณี การดื่มสุรา หรืออื่นๆ ที่ศาสนาห้าม (หะรอม) อย่างจัดเชนว่าเป็นสิ่งที่อนุมัติ (หะลาล) หรือปฏิเสธการละหมาด การจ่ายซะกาต และสิ่งที่เป็นวาญิบอื่นๆ โดยที่เขาไม่รู้ หากว่าเขาไม่รู้ก็ถือว่าปฏิเสธ แต่หากเขารู้ถึงบทบัญญัติของมันแต่ยังยืนกรานอีกถือว่าเขาปฏิเสธ หรือเขาสงสัยสิ่งที่วาญิบในศาสนาหรือของในทำนองเดียวกันโดยที่เขารู้ เช่น การละหมาด เป็นต้น
2. การออกนอกศาสนาโดยการพูด เช่น การด่าทออัลลอฮฺ บรรดาเราะสูล บรรดามะลาอิกะฮฺ บรรดาคัมภีร์ หรือการอ้างว่าเป็นนบี หรือการวิงวอนขอต่อสิ่งอื่นพร้อมอัลลอฮฺ หรือการกล่าวว่าอัลลอฮฺทรงมีบุตรหรือมีภรรยา หรือการปฏิเสธสิ่งที่ศาสนาห้ามอย่างชัดเจน เช่น การผิดประเวณี การดื่มสุรา หรืออื่นๆ และการเยาะเย้ยต่อศาสนา เช่น การสัญญาหรือการลงโทษของอัลลอฮฺ หรือการด่าทอต่อบรรดาศอฮาบะฮฺ ฯลฯ
3. การออกนอกศาสนาโดยการกระทำ เช่น การเชือดสัตว์เพื่อสิ่งอื่นจากอัลลลฮฺ หรือการกราบไหว้ (สุญูด) ต่อสิ่งอื่นจากอัลลอฮฺ หรือการละทิ้งละหมาด หรือการหันหลังให้ศาสนาของอัลลอฮฺโดยไม่เรียนรู้และไม่ปฏิบัติ หรือสนับสนุนพวกมุชริกีนต่อสู้กับบรรดามุสลิม ฯลฯ
ข้อปฏิบัติต่อผู้ที่ออกนอกศาสนา
ผู้ใดได้ออกจากศาสนาอิสลามขณะที่เขาบรรลุศาสนภาวะ มีสติสัมปชัญญะ สมัครใจ จะต้องเรียกร้องให้เขากลับคืนสู่ศาสนาอิสลามและเสนอโอกาสให้เขากลับตัว (เตาบะฮฺ) เพื่อว่าเขาจะได้กลับตัวอีกครั้ง หากเขากลับตัวก็ถือว่าเป็นมุสลิม หากไม่กลับตัวพร้อมทั้งยังยืนกรานที่จะปฏิเสธเช่นเดิม ก็ให้ประหารชีวิตด้วยคมดาบอันเนื่องเพราะการปฏิเสธของเขา ไม่ใช่เพราะเป็นบทลงโทษ
จากอบีมูซา เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า :
أنَّ رَجُلاً أسْلَـمَ ثُمَّ تَـهَوَّدَ، فَأتَى مُعَاذُ بْنُ جَبَلٍ وَهُوَ عِنْدَ أبِي مُوسَى، فَقَالَ: مَا لِـهَذَا؟ قَالَ: أسْلَـمَ ثُمَّ تَـهَوَّدَ، قَالَ: لا أجْلِسُ حَتَّى أقْتُلَـهُ، قَضَاءُ الله وَرَسُولِـهِ؟
ความหมาย : แท้จริงมีชายคนหนึ่งรับอิสลามหลังจากนั้นเขาได้กลายเป็นยิว แล้วเขาก็ได้ไปหามุอาซ บิน ญะบัล ขณะที่เขาอยู่กับอบีมูซา เขาได้กล่าวว่า นี่มันคืออะไร? เขากล่าวว่า เขาได้รับอิสลามแล้วต่อมากลายเป็นยิว เขากล่าวว่า ฉันจะไม่นั่งจนกว่าจะได้ประหารเขาเสียก่อน นี่คือการกำหนดของอัลลอฮฺและรอสูลของพระองค์" (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 7157 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1824 ในกิตาบอัลอิมาเราะฮฺ)
ผู้ที่ออกจากศาสนาเพราะการปฏิเสธสิ่งหนึ่งสิ่งใดของศาสนา ดังนั้น การกลับตัว (เตาบะฮฺ) ของเขาก็คือ การยืนยันยอมรับต่อสิ่งที่เขาปฏิเสธนั้นพร้อมกับให้กล่าวปฏิญาณตนใหม่
บทบัญญัติว่าด้วยการออกจากศาสนาของสามี
เมื่อสามีได้ออกจากศาสนา ภรรยาก็ไม่เป็นที่อนุมัติแก่เขาต่อไป และให้เขาคืนดีกับนางหลังจากกลับตัวหากว่ายังอยู่ในช่วงอิดดะฮฺ (ระยะที่รอคอย) หากผ่านช่วงเวลาอิดดะฮฺไปแล้วเขายังไม่ได้คืนดี นางก็จะพ้นจากการเป็นภรรยาของเขา ดังนั้นนางจึงไม่เป็นที่อนุญาตแก่เขา นอกจากนางจะยินยอมด้วยการสมรสใหม่และสิดสอดใหม่อีกครั้งเท่านั้น
ไสยศาสตร์ คือ เงื่อนปมหรือการเสกเป่าที่มีผลต่อร่างกายและสติปัญญา
บทบัญญัติว่าด้วยไสยศาสตร์
การเรียนไสยศาสตร์ การสอน การปฏิบัติ และการแนะนำไสยศาสตร์ เป็นสิ่งต้องห้าม
ข้อชี้ขาด (หุกุม)
1. หากการทำไสยศาสตร์โดยการใช้ชัยฎอนเป็นสื่อ ผู้ทำไสยศาสตร์ถือว่าเป็นการฟิร จะถูกประหารชีวิตหากไม่กลับตัว
2. หากการทำไสยศาสตร์โดยการใช้ยารักษาและเครื่องรางเพียงอย่างเดียว ไม่ถือว่าเป็นกาฟิรแต่เป็นการฝ่าฝืนที่เป็นบาปใหญ่ จะถูกประหารชีวิตแบบผู้ร้ายหากเขาไม่กลับตัวขึ้นอยู่ตามการวินิจฉัยของผู้ปกครอง (หากิม)
1. อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า
( ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ
ﭡ ) [البقرة/102].
ความหมาย “และสุลัยมานหาได้ปฏิเสธการศรัทธาไม่ แต่ทว่าชัยฏอนเหล่านั้นต่างหากที่ปฏิเสธการศรัทธา โดยการสอนผู้คนซึ่งวิชาไสยศาสตร์..." (อัลบะกอเราะฮฺ /102)
2. จากอบีฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«اجْتَنِبُوا السَّبْعَ المُوبِقَاتِ» قَالُوا يَا رَسُولَ الله وَمَا هُنَّ؟ قَالَ: «الشِّرْكُ بِالله وَالسِّحْرُ... الحديث»
ความหมาย : “จงหลีกห่างจาก 7 ประการที่ทำให้เกิดความพินาศ พวกเขากล่าวว่า สิ่งนั้นคืออะไรบ้าง? ท่านตอบว่า การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ การทำไสยศาสตร์..." (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 2766 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 89)