×
New!

Bayan Al Islam Encyclopedia Mobile Application

Get it now!

ริยาอ์ (การโอ้อวด) ในการทำอิบาดะฮฺ (ไทย)

สร้างโดย: มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน

Description

ถาม : การงานที่ทำไปเพื่อการโอ้อวด แล้วในระหว่างที่ทำอยู่นั้น เกิดเปลี่ยนเจตนากลายเป็นทำเพื่ออัลลอฮฺนั้นถือว่าใช้ได้หรือไม่? ยกตัวอย่างเช่น เมื่อฉันอ่านกุรอานเสร็จแล้วเกิดความรู้สึกริยาอ์ขึ้น ถ้าหากฉันต่อสู้กับความรู้สึกดังกล่าวด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ฉันจะได้รับผลบุญจากการอ่านอัลกุรอานในกรณีเช่นนี้หรือไม่ หรือมันจะสูญเปล่าไปเพราะริยาอ์? แม้ว่าริยาอ์นั้นจะเกิดขึ้นหลังเสร็จสิ้นการงานก็ตาม?

Download Book

คำแปลภาษาอื่นๆ 2

    ริยาอ์ (การโอ้อวด) ในการทำอิบาดะฮฺ

    [ ไทย ]

    الرياء في العبادة

    [ باللغة التايلاندية ]

    เชคมุหัมมัด บิน ศอลิห์ อัล-อุษัยมีน

    الشيخ محمد بن صالح العثيمين

    แปลโดย: อัสรัน นิยมเดชา

    ترجمة: عصران إبراهيم

    ตรวจทาน: ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    مراجعة: فيصل عبدالهادي

    แหล่งอ้างอิง: รวมฟัตวา อิบนุ อุษัยมีน

    مصدر: مجموع فتاوى ابن عثيمين

    สำนักงานความร่วมมือเพื่อการเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด

    المكتب التعاوني للدعوة وتوعية الجاليات بالربوة بمدينة الرياض

    1429 – 2008

    ริยาอ์ (การโอ้อวด) ในการทำอิบาดะฮฺ



    ถาม : การงานที่ทำไปเพื่อการโอ้อวด แล้วในระหว่างที่ทำอยู่นั้น เกิดเปลี่ยนเจตนากลายเป็นทำเพื่ออัลลอฮฺนั้นถือว่าใช้ได้หรือไม่? ยกตัวอย่างเช่น เมื่อฉันอ่านกุรอานเสร็จแล้วเกิดความรู้สึกริยาอ์ขึ้น ถ้าหากฉันต่อสู้กับความรู้สึกดังกล่าวด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ฉันจะได้รับผลบุญจากการอ่านอัลกุรอานในกรณีเช่นนี้หรือไม่ หรือมันจะสูญเปล่าไปเพราะริยาอ์? แม้ว่าริยาอ์นั้นจะเกิดขึ้นหลังเสร็จสิ้นการงานก็ตาม?


    คำตอบโดยเชคอิบนุอุษัยมีน เราะหิมะฮุลลอฮฺ

    ความสัมพันธ์ระหว่างริยาอ์กับอิบาดะฮฺนั้น มี 3 รูปแบบ คือ

    รูปแบบที่หนึ่ง : คือ การที่แรงจูงใจของการทำอิบาดะฮฺตั้งแต่เริ่มแรกนั้นเพื่อการโอ้อวดให้ผู้อื่นเห็น เช่นผู้ที่ยืนละหมาดโดยมีเจตนาเพียงให้ผู้อื่นเห็นและชื่นชมการละหมาดของเขา กรณีเช่นนี้ถือว่าการงานของเขานั้นสูญเปล่า


    รูปแบบที่สอง : คือ เกิดริยาอ์สอดแทรกขึ้นในระหว่างการทำอิบาดะฮฺ กล่าวคือ แรงจูงใจในการทำอิบาดะฮฺในตอนแรกนั้นคือเจตนาที่บริสุทธิ์เพื่ออัลลอฮฺตะอาลา แต่มีริยาอ์เกิดขึ้นในระหว่างการทำอิบาดะฮฺ รูปแบบเช่นนี้อาจจำแนกได้เป็น 2 กรณี คือ

    กรณีที่หนึ่งคือการที่ส่วนแรกของอิบาดะฮฺนั้นไม่มีความเกี่ยวเนื่องกับส่วนที่สอง โดยส่วนแรกนั้นถูกต้องสมบูรณ์ แต่ส่วนที่สองนั้นสูญเปล่า

    ตัวอย่าง : ชายคนหนึ่งต้องการบริจาคเงินจำนวน 100 ริยาล โดยเขาบริจาค 50 ริยาลแรกด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ เมื่อเขาจะบริจาคส่วนที่เหลืออีก 50 ริยาล ก็เกิดมีริยาอ์สอดแทรกเข้ามา ในกรณีเช่นนี้ 50 ริยาลแรกที่เขาบริจาคไปถือว่าใช้ได้และถูกตอบรับ ส่วน 50 ริยาลที่เหลือนั้นถือว่าสูญเปล่าไม่ได้รับผลบุญใดๆ เพราะมันเจือปนด้วยริยาอ์

    กรณีที่สองคือการที่ส่วนแรกและส่วนที่สองของอิบาดะฮฺนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

    1-
    เขาได้พยายามต่อสู้กับความรู้สึกนั้น ไม่ยอมให้มันมาครอบงำ และรู้สึกไม่พอใจที่มีความรู้สึกเช่นนั้นเกิดขึ้น ในลักษณะเช่นนี้ถือว่าริยาอ์ที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้มีผลอะไรต่อเขา เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงถือโทษประชาชาติของฉันกับสิ่งที่จิตใจของพวกเขาใฝ่หา ตราบใดที่ไม่ได้ลงมือทำ หรือพูดออกมา"

    2-
    เขายินดีปรีดากับริยาอ์นั้น และไม่พยายามต่อสู้หรือปฏิเสธมัน ในลักษณะเช่นนี้ การงานดังกล่าวของเขาถือว่าสูญเปล่าทั้งหมด เพราะส่วนแรกกับส่วนที่สองของมันนั้นเกี่ยวเนื่องกัน

    ตัวอย่าง : เริ่มละหมาดด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์เพื่ออัลลอฮตะอาลา แต่เมื่อเข้าสู่ร็อกอัตที่สองก็เกิดริยาอ์ เช่นนี้ละหมาดของเขาตั้งแต่ต้นจนจบถือว่าสูญเปล่า เพราะการละหมาดนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกันตั้งแต่ต้นจนจบ


    รูปแบบที่สาม : เกิดริยาอ์ขึ้นภายหลังเสร็จสิ้นจากอิบาดะฮฺแล้ว เช่นนี้ จะไม่มีผลใดๆต่ออิบาดะฮฺนั้น และไม่ทำให้อิบาดะฮฺเสียเปล่า เพราะอิบาดะฮฺดังกล่าวเสร็จสิ้นไปในสภาพที่สมบูรณ์ การเกิดริยาอ์หลังจากนั้นจึงไม่ส่งผลใดๆต่ออิบาดะฮฺ

    และการที่เรารู้สึกยินดีเมื่อรู้ว่ามีผู้อื่นรับรู้ถึงการทำอิบาดะฮฺของเรา (หลังจากที่ได้ทำเสร็จไปแล้ว) ก็ไม่เข้าข่ายริยาอ์ เพราะสิ่งนั้นเกิดขึ้นหลังจากที่ทำอิบาดะฮฺเสร็จแล้ว

    เช่นเดียวกับการที่เรารู้สึกดีที่ได้ทำอิบาดะฮฺสิ่งดีงาม ก็ไม่ถือว่าเป็นริยาอ์ เพราะนั่นคือสัญญาณของการมีอีหม่าน ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า ผู้ใดที่การงานที่ดีของเขาทำให้เขารู้สึกดี และการงานชั่วของเขาทำให้เขารู้สึกไม่ดี ก็แสดงว่าเขานั้นเป็นผู้ศรัทธา"


    จากหนังสือรวมฟัตวา เชค อิบนุอุษัยมีน (2/29-30)

    معلومات المادة باللغة العربية