Description
อธิบายสาระเนื้อหาเกี่ยวกับญิฮาด อาทิ ผู้ที่ออกต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ หิกมะฮฺ (เคล็ดลับ) การบัญญัติเรื่องการญิฮาด วัตถุประสงค์การต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ หุกุม (ข้อบัญญัติ) การญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ การญิฮาดจำเป็นแก่บรรดาผู้ที่มีความสามารถในสภาพการณ์ที่แตกต่าง บทบัญญัติต่างๆ เกี่ยวกับบรรดาผู้ที่ออกสู้รบในหนทางของอัลลอฮฺ จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์
คำแปลภาษาอื่นๆ 2
ความหมายของญิฮาด หุกุม (ข้อบัญญัติ) และความประเสริฐ
﴿معنى الجهاد وحكمه وفضله﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [
มุหัมมัด อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์
แปลโดย : ยูซุฟ อบู บักรฺ
ผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : มุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์
2009 - 1430
﴿معنى الجهاد وحكمه وفضله﴾
« باللغة التايلاندية »
محمد بن إبراهيم التويجري
ترجمة: يوسف أبوبكر
مراجعة: عصران إبراهيم
مصدر : كتاب مختصر الفقه الإسلامي
2009 - 1430
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
ความหมายของญิฮาด หุกุม (ข้อบัญญัติ) และความประเสริฐ
การญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ คือ การทุ่มเท เสียสละพลังความสามารถเพื่อทำการต่อสู้กับบรรดากุฟฟาร (ผู้ปฏิเสธศรัทธา) โดยหวังความพอพระทัยจากพระองค์อัลลอฮฺ นี่คือเป้าหมายของการญิฮาดที่เราจะพูดกันในที่นี้
ผู้ที่ออกต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ
عن أبي موسى رضي الله عنه قال: جاء إلى النبي ﷺ رجل فقال: الرَّجُلُ يُـقَاتِلُ لِلْـمَغْنَمِ، وَالرَّجُلُ يُـقَاتِلُ لِلذِّكْرِ، وَالرَّجُلُ يُـقَاتِلُ لِيُرَى مَكَانُـهُ، فَمَنْ فِي سَبِيلِ الله؟ قَالَ: «مَنْ قَاتَلَ لِتَـكُونَ كَلِـمَةُ الله هِيَ العُلْيَا فَهُوَ فِي سَبِيلِ الله ». متفق عليه
จากอบีมูสา เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า มีชายคนหนึ่งได้มาหาท่านรอสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม แล้วถามว่า “การที่ชายคนหนึ่งต่อสู้เพื่อให้ได้ทรัพย์เชลย อีกคนต่อสู้เพื่อให้ผู้คนกล่าวขาน และอีกคนต่อสู้เพื่อให้มีผู้คนได้เห็นตำแหน่งของเขา ดังนั้นคนใดที่ถือว่าต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ? ท่านรอสูลตอบว่า ผู้ใดก็ตามที่ได้ต่อสู้เพื่อเชิดชูคำดำรัสแห่งอัลลอฮฺให้สูงส่ง ก็เท่ากับเขาได้ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 2810 ,มุสลิม หมายเลขหะดีษ 1904)
หิกมะฮฺ (เคล็ดลับ) การบัญญัติเรื่องการญิฮาด
1. อัลลอฮฺได้กำหนดให้การญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ เพื่อเชิดชูคำดำรัสแห่งอัลลอฮฺให้สูงส่ง ให้ศาสนาทั้งหมดกลายเป็นของพระองค์ นำมวลมนุษยชาติออกจากความมืดมนไปสู่แสงสว่าง เผยแผ่ศาสนาอิสลาม ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม หักห้ามความอธรรมและความเสื่อมเสีย ปกป้องพี่น้องมุสลิม และตอบโต้เล่ห์เหลี่ยมและแผนการณ์ของศัตรู
2. อัลลอฮฺได้กำหนดให้การญิฮาดเป็นการทดสอบ ทดลองแก่บรรดาปวงบ่าวของพระองค์ เพื่อที่จะมาแบ่งแยกระหว่างความจริงกับความเท็จ ระหว่างผู้ศรัทธากับมุนาฟิก (ผู้กลับกลอก) เพื่อที่จะรู้ถึงผู้ที่ต่อสู้และผู้ที่อดทน ไม่ใช่ต่อสู้เพื่อบังคับให้บรรดาผู้ปฏิเสธมายอมจำนนต่ออิสลาม แต่ทว่าเพื่อให้พวกเขามาจำนนโดยการนอบน้อมต่อบทบัญญัติอิสลามจนกระทั่งศาสนาทั้งหมดกลายเป็นของพระองค์
3. การต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺเป็นประตูอีกบานที่นำไปสู่สวนสวรรค์ อัลลอฮฺจะทำให้ความเศร้าโศก ความกังวลหมดไปจากเขา และจะทำให้เขาได้รับสวนสวรรค์ชั้นสูงส่ง
วัตถุประสงค์การต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ
วัตถุประสงค์ของการต่อสู้ในศาสนาอิสลาม เพื่อขจัดกุฟรฺ (การปฏิเสธ) และชิรกฺ (การตั้งภาคี) นำมวลมนุษยชาติออกจากความมืดมนของการปฏิเสธ การตั้งภาคี ความโง่เขลาก้าวไปสู่แสงสว่างแห่งการศรัทธาและวิชาความรู้ ปราบปรามผู้ล่วงละเมิดสิทธิ เพื่อขจัดความโกลาหลวุ่นวาย เชิดชูคำดำรัสแห่งอัลลอฮฺให้สูงส่ง เผยแผ่ศาสนาแห่งอัลลอฮฺ และขจัดผู้ที่ขัดขวางการเผยแผ่ ดังนั้นเมื่อสามารถก้าวไปถึงเรื่องดังกล่าวโดยไม่ต้องต่อสู้ก็ไม่มีความจำเป็นอันใดที่ต้องต่อสู้ การต่อสู้จะไม่เกิดขึ้นกับผู้ที่การเผยแผ่ยังไปไม่ถึงเขา จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องหลังจากการเชิญชวนไปสู่อิสลาม หากพวกเขาปฏิเสธผู้นำก็จะใช้ให้พวกเขาจ่ายญิซยะฮฺ (ส่วยหรือภาษีรัชนูปการ) และหากพวกเขาปฏิเสธอีก จงขอความช่วยเหลือต่ออัลลอฮฺแล้วลงมือทำการต่อสู้กับพวกเขา หากการเผยแผ่เชิญชวนไปถึงพวกเขาแล้วเป็นที่อนุญาตให้ทำการต่อสู้กับพวกเขาได้ทันที
พระองค์อัลลอฮฺสร้างมวลมนุษย์เพื่อการเคารพภักดีต่อพระองค์ ดังนั้นไม่เป็นที่อนุญาตในการที่จะต่อสู้กับคนหนึ่งคนใดนอกจากผู้ที่ดื้อรั้น ยืนหยัดอยู่บนการปฏิเสธ หันเหออกจากศาสนา อธรรมข่มเหง ตั้งตนเป็นศัตรู หักห้ามผู้คนไม่ให้เข้ารับนับถืออิสลาม หรือทำร้ายพี่น้องมุสลิม และท่านรอสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไม่ได้ต่อสู้กับชนกลุ่มใดโดยเด็ดขาดนอกจากได้เชิญชวนพวกเขาไปสู่ศาสนาอิสลามเสียก่อน
หุกุม (ข้อบัญญัติ) การญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ
การต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺเป็นฟัรฏูกิฟายะฮฺ (เป็นหน้าที่สำหรับคนเพียงบางส่วน) เมื่อคนส่วนหนึ่งปฏิบัติ หน้าที่ก็จะหมดไปกับบุคคลอื่นที่เหลือ
การญิฮาดจำเป็นแก่บรรดาผู้ที่มีความสามารถในสภาพการณ์ดังต่อไปนี้
1. เมื่อมีการจัดเตรียมกองทัพเพื่อทำการสู้รบ
2. เมื่อผู้นำได้เรียกร้องเชิญชวนให้ออกไปต่อสู้ โดยเรียกร้องอย่างครอบคลุม
3. เมื่อศัตรูคู่ศึกมาปิดล้อมบ้านเมือง
4. เมื่อเขามีความจำเป็นในการทำสงครามสู้รบ เช่น แพทย์ นักบิน หรือผู้ที่มีหน้าที่คล้ายกับพวกเขาทั้งสอง
อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ) [التوبة/41].
ความว่า “และจงสู้รบกับพวกเขา จนกว่าการก่อความวุ่นวาย จะไม่ปรากฏขึ้น และจนกว่าการอิบาดะฮฺ ทั้งหลายจะเป็นสิทธิของอัลลอฮฺเท่านั้น แต่ถ้าพวกเขายุติ ก็ย่อมไม่มีการเป็นปฏิปักษ์ใด ๆ นอกจากแก่บรรดาผู้อธรรมเท่านั้น” (อัตเตาบะฮฺ 41)
บทบัญญัติต่างๆ เกี่ยวกับบรรดาผู้ที่ออกสู้รบในหนทางของอัลลอฮฺ
การญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ บางครั้งนับว่าเป็นความจำเป็นต้องแลกด้วยกับชีวิตและทรัพย์สินในสภาวการณ์ที่เขามีความสามารถทั้งทรัพย์สมบัติและด้านร่างกาย บางครั้งจำเป็นด้วยกับชีวิตโดยไม่จำเป็นในด้านทรัพย์สินในสภาพที่เขาไม่มีทรัพย์สมบัติ และบางครั้งมีความจำเป็นเฉพาะด้านทรัพย์สินโดยไม่มีความจำเป็นต้องต่อสู้ด้วยกับชีวิตในสภาพที่เขาไม่มีความสามารถที่จะออกต่อสู้ด้วยกับร่างกาย
1. อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ) [البقرة/193]
ความว่า “และจงสู้รบกับพวกเขาจนกว่าการก่อความวุ่นวายจะไม่ปรากฏขึ้น และจนกว่าการอิบาดะฮฺทั้งหลายจะเป็นสิทธิของอัลลอฮฺเท่านั้น แต่ถ้าพวกเขายุติ ก็ย่อมไม่มีการเป็นปฏิปักษ์ใด ๆ นอกจากแก่บรรดาผู้อธรรมเท่านั้น” (อัลบะกอเราะฮฺ 193)
عن أنس رضي الله عنه أن النبي ﷺ قال: «جَاهِدُوا المُشْرِكِينَ بِأَمْوَالِكُمْ وَأَنْفُسِكُمْ وَأَلْسِنَتِكُمْ». أخرجه أبو داود والنسائي
2. จากอนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมกล่าวว่า “บรรดามุชริกีนพวกเขาได้ต่อสู้ด้วยกับทรัพย์สมบัติ ชีวิตเลือดเนื้อ และลิ้น (คำพูด) ของพวกเขา” (บันทึกโดยอบูดาวุด หมายเลขหะดีษ 2504 , อัลนะสาอียฺ หมายเลขหะดีษ 3096)
ความประเสริฐของการญิฮาดในหนทางอัลลอฮฺ
1. อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า
(ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ ﯶ ﯷ ﯸ ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ ﰀ ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ) [التوبة/20-22].
ความว่า “บรรดาผู้ที่ศรัทธาและอพยพและต่อสู้ในทางของอัลลอฮฺทั้งด้วยทรัพย์สมบัติและชีวิตของพวกเขานั้น ย่อมเป็นผู้มีระดับชั้นยิ่งใหญ่กว่า ณ ที่อัลลอฮฺ และชนเหล่านี้แหละพวกเขาคือผู้มีชัยชนะ พระเจ้าของพวกเขาทรงแจ้งข่าวดีแก่พวกเขาด้วยความกรุณาเมตตาจากพระองค์ และด้วยความปิติยินดี และบรรดาสวนสวรรค์ซึ่งในสวนสวรรค์เหล่านั้นพวกเขาจะได้รับสิ่งอำนวยความสุขอันจีรังยั่งยืน โดยที่พวกเขาจะพำนักอยู่ในสวนสวรรค์เหล่านั้นตลอดกาล แท้จริงอัลลอฮฺนั้น ณ ที่พระองค์มีรางวัลอันยิ่งใหญ่” (อัตเตาบะฮฺ 20-22)
عن أبي هريرة رضي الله عنه قال: سمعت رسول الله ﷺ يقول: «مَثَلُ المُـجَاهِدِ فِي سَبِيلِ الله - وَالله أَعْلَـمُ بِمَنْ يُـجَاهِدُ فِي سَبِيلِـهِ- كَمَثَلِ الصَّائِمِ القَائِمِ، وَتَوَكَّلَ الله لِلْـمُـجَاهِدِ فِي سَبِيلِـهِ بِأَنْ يَتَوَفَّاهُ أَنْ يُدْخِلَـهُ الجَنَّةَ، أَوْ يَرْجِعَهُ سَالِـماً مَعَ أَجْرٍ أَوْ غَنِيمَةٍ». متفق عليه
2. จากอบีฮุรัยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “อุปมาผู้ที่ออกต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ - อัลลอฮฺเป็นผู้ที่ทรงรู้ยิ่งต่อผู้ที่ออกต่อสู้ในหนทางของพระองค์ - อุปมัยผู้ที่ถือศิลอด หรือผู้ที่ดำรงการละหมาด อัลลอฮฺจะมอบให้แก่ผู้ที่ออกต่อสู้ในหนทางของพระองค์หากเสียชีวิตเขาจะได้เข้าสวนสวรรค์ของพระองค์ หรือเขาจะได้เดินทางกลับอย่างปลอดภัยพร้อมทั้งได้รับภาคผลบุญและทรัพย์สินของข้าศึก” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 2787 , มุสลิม หมายเลขหะดีษ 1876)
عن أبي هريرة رضي الله عنه: أَنَّ رَسُولَ الله ﷺ سُئِلَ: أَيُّ الْعَمَلِ أَفْضَلُ؟ فَقَالَ: «إِيمَانٌ بِالله وَرَسُولِـهِ» قِيلَ: ثُمَّ مَاذَا؟ قَالَ: «الْـجِهَادُ فِي سَبِيلِ الله » قِيلَ: ثُمَّ مَاذَا؟ قَالَ: «حَجٌّ مَبْرُورٌ». متفق عليه
3. จากอบีฮุรัยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุกล่าวว่า แท้จริงท่านรอสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ ะสัลลัม ถูกถามว่า “การงานประเภทใดที่ประเสริฐที่สุด? ท่านตอบว่า การศรัทธามั่นต่ออัลลอฮฺและรอสูลของพระองค์ ถูกถามอีกว่า ต่อจากนั้นมีงานอะไรอีก? ท่านตอบว่า การญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ ถูกถามอีกว่า ต่อจากนั้นมีงานอะไรอีก? ท่านตอบว่า การทำฮัจญ์ที่ถูกตอบรับ” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 26 ,มุสลิม หมายเลขหะดีษ 83)
ความประเสริฐของผู้ที่จัดเตรียมเสบียงให้แก่นักรบหรืออยู่ข้างหลังนักรบด้วยกับความดีงาม
عن زيد بن خالد رضي الله عنه أن رسول الله ﷺ قال: «مَنْ جَهَّزَ غَازِياً فِي سَبِيلِ الله فَقَدْ غَزَا، وَمَنْ خَلَفَ غَازِياً فِي سَبِيلِ الله بِخَيرٍ فَقَدْ غَزَا». متفق عليه
จากซัยดฺ บิน คอลิด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า แท้จริงท่านรอสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดได้จัดเตรียมเสบียงให้แก่นักรบในหนทางของอัลลอฮฺก็เท่ากับเขาได้ออกสงคราม และผู้ใดที่อยู่ข้างหลังนักรบในหนทางของอัลลอฮฺด้วยความดีงามก็เท่ากับเขาได้ออกสงคราม” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 2743 ,มุสลิม หมายเลขหะดีษ 1895)
โทษทัณฑ์ของผู้ที่ละทิ้งการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ
عن أبي أمامة رضي الله عنه أن النبي ﷺ قال: «مَنْ لَـمْ يَـغْزُ، أَوْ يُـجَهِّزْ غَازِياً، أَوْ يَـخْلُفْ غَازِياً فِي أَهْلِـهِ بِخَيْرٍ، أَصَابَـهُ الله بِقَارِعَةٍ قَبْلَ يَوْمِ القِيَامَةِ». أخرجه أبو داود وابن ماجه
จากอบีอุมามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดที่ไม่เคยออกสู้รบ หรือไม่เคยจัดเตรียมเสบียงให้แก่นักรบ หรือไม่เคยช่วยเหลือครอบครัวของนักรบที่อยู่ข้างหลังด้วยความดีงาม อัลลอฮฺจะให้เขาประสบกับความพินาศก่อนถึงวันกิยามะฮฺ” (หะดีษหะซัน บันทึกโดย อบูดาวุด หมายเลขหะดีษ 2503 , อิบนิมาญะฮฺ หมายเลขหะดีษ 2762)
เงื่อนไขที่จำเป็นต่อการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ
อิสลาม มีสติสัมปชัญญะ บรรลุนิติภาวะ เพศชาย ปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ เช่น เป็นไข้อย่างรุนแรง มีเสบียงอย่างเพียงพอ
หุกุม (ข้อบัญญัติ) การขออนุญาติบิดามารดาในการออกญิฮาด
1. มุสลิมจะไม่ออกไปญิฮาดด้วยความสมัครใจ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากบิดามารดาที่เป็นมุสลิม เพราะการญิฮาดเป็นฟัรฏูกิฟายะฮฺ (มีคนเพียงบางส่วนทำก็พอแล้ว) ยกเว้นในบางกรณี ส่วนการทำดีต่อบิดามารดาเป็นฟัรฏูอัยน์ (เป็นหน้าที่ระดับปัจเจกบุคคล) ในทุกสภาวการณ์ ส่วนการญิฮาดเมื่ออยู่ในช่วงเวลาที่มีความจำเป็น เขาจะต้องออกไปต่อสู้โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตต่อท่านทั้งสอง
2. ทุกสิ่งที่เป็นความสมัครใจในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งนั้นไม่สร้างความเดือดร้อนแก่บิดามารดาของเขา ดังนั้นไม่มีความจำเป็นที่เขาจะต้องขออนุญาตต่อท่านทั้งสอง เช่น การละหมาดกิยามุลลัยล์ การถือศิลอดด้วยความสมัครใจ หรืออย่างอื่นในทำนองเดียวกันนี้ แต่ถ้าหากว่าสิ่งนั้นสร้างความเดือดร้อนแก่บิดามารดาหรือต่อคนหนึ่งคนใด เช่น การญิฮาดด้วยความสมัครใจ ก็เป็นสิทธิของเขาทั้งสองที่จะมาหักห้ามเขาและจำเป็นที่เขาต้องเชื่อฟัง เพราะว่าการเชื่อฟังบิดามารดานั้นป็นหน้าที่จำเป็น ส่วนความสมัครใจไม่ใช่หน้าที่จำเป็นแต่ประการใด
อัรริบาฏ คือ การยืนหยัดยังฐานที่มั่นที่ตั้งอยู่ระหว่างบรรดามุสลิมกับกุฟฟาร(บรรดาผู้ปฏิเสธ)
หุกุม (คำชี้ขาด) ของการรักษาดินแดนมาตุภูมิ
จำเป็นต่อบรรดามุสลิมที่จะต้องปกป้องรักษาดินแดนมาตุภูมิของพวกเขาให้รอดพ้นจากการรุกรานของบรรดาผู้ปฏิเสธ บางครั้งด้วยกับการทำสนธิสัญญาและสันติวิธี บางครั้งด้วยกับอาวุธยุทโธปกรณ์และกำลังพล โดยขึ้นอยู่กับสภาวการณ์
ความประเสริฐของการริบาฏในหนทางของอัลลอฮฺ
عن سهل بن سعد رضي الله عنه أن رسول الله ﷺ قال: «رِبَاطُ يَوْمٍ فِي سَبِيلِ الله ٬ خَيْرٌ مِنَ الدُّنْيَا وَمَا عَلَيْـهَا...». أخرجه البخاري
จากสะฮฺลิ บิน สะอฺดิ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า แท้จริงท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ริบาฏ (การยืนหยัด) เพียงวันหนึ่งในหนทางของอัลลอฮฺ ดีกว่าโลกดุนยาและสิ่งที่อยู่ในโลกดุนยา...” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 2892)
ความประเสริฐของการออกต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺในยามเช้าและยามบ่าย
عن أنس بن مالك رضي الله عنه عن النبي ﷺ قال: «لَغَدْوَةٌ فِي سَبِيلِ الله أَوْ رَوْحَةٌ خَيْرٌ مِنَ الدُّنْيَا وَمَا فِيهَا». متفق عليه
จากอนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “แน่แท้การออกต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺยามเช้าหรือยามบ่าย ย่อมดีกว่าโลกดุนยาและสิ่งที่อยู่ในโลกดุนยา” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 2792 ,มุสลิม หมายเลขหะดีษ 1880)