Description
ข้อมูลว่าด้วยมารยาทบางประการของการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ อาทิ สิ่งที่มุสลิมควรกล่าวเมื่อมีความหวาดกลัวต่อศัตรู บทบาทของผู้นำในการญิฮาด สิ่งจำเป็นต่อบรรดานักรบในหนทางของอัลลอฮฺ หุกุม (ข้อบัญญัติ) เกี่ยวกับการใช้กลลวงในการทำญิฮาด เวลาทำสงคราม เมื่อไหร่อัลลอฮฺจะทรงประทานความช่วยเหลือ? ผลที่ได้รับจากการเชื่อมั่นและการอดทนในการปฏิบัติงาน เป็นต้น จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์
คำแปลภาษาอื่นๆ 2
มารยาทของการญิฮาดในศาสนาอิสลาม
﴿آداب الجهاد في الإسلام﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [
มุหัมมัด อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์
แปลโดย : ยูซุฟ อบู บักรฺ
ผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : มุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์
2009 - 1430
﴿آداب الجهاد في الإسلام﴾
« باللغة التايلاندية »
محمد بن إبراهيم التويجري
ترجمة: يوسف أبوبكر
مراجعة: عصران إبراهيم
مصدر : كتاب مختصر الفقه الإسلامي
2009 - 1430
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
มารยาทของการญิฮาดในศาสนาอิสลาม
มารยาทบางประการของการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ
ห้ามมิให้คดโกงหรือผิดสัญญา ห้ามฆ่าสตรี เด็ก คนชรา นักพรตนักบวช ตราบใดที่พวกเขาไม่มีส่วนในการต่อสู้ หากพวกเขาต่อสู้หรือมีส่วนในการยุยงส่งเสริม หรืออยู่เบื้องหลังการวางแผนในการทำสงคราม
ส่วนหนึ่งจากมารยาทของการญิฮาดให้ห่างไกลจากการลำพองตน หยิ่งยโสโอหัง โอ้อวด ไม่คาดหวังที่จะเผชิญหน้ากับศัตรู และไม่ใช้ไฟทำร้ายมนุษย์และสัตว์
นำเสนออิสลามให้แก่ศัตรูคู่ศึก หากพวกเขาปฏิเสธให้จ่ายส่วย หากพวกเขาปฏิเสธอีกอนุญาตให้ทำการสู้รบกับพวกเขาได้
ให้มีความอดทน มีความบริสุทธิ์ใจ ออกห่างจากการฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺ และขอดุอาอฺให้ได้รับชัยชนะและได้รับการช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ เช่นดุอาอ์ที่ว่า
«اللَّـهُـمَّ مُنْزِلَ الكِتَابِ، وَمُـجْرِيَ السَّحَابِ، وَهَازِمَ الأَحْزَابِ، اهْزِمْهُـمْ وَانْصُرْنَا عَلَيْـهِـمْ». متفق عليه
ความว่า “โอ้ผู้ที่ประทานคัมภีร์ ผู้ที่เคลื่อนย้ายก้อนเมฆ และผู้ที่ทำให้กองทัพต่างๆ พ่ายแพ้ จงทำให้พวกเขาพ่ายแพ้และช่วยเหลือให้พวกเรามีชัยชนะเหนือพวกเขา” (บันทึกโดยบุคอรียหมายเลขหะดีษ 2966 ,มุสลิม หมายเลขหะดีษ 1742)
สิ่งที่มุสลิมควรกล่าวเมื่อมีความหวาดกลัวต่อศัตรู
เมื่อมุสลิมเกิดอาการหวาดกลัวต่อศัตรู ให้กล่าวดุอาอฺดังต่อไปนี้
«اللَّـهُـمَّ إنَّا نَجْعَلُكَ فِي نُحُورِهِـمْ، وَنَعُوذُ بِكَ مِنْ شُرُورِهِـمْ». أخرجه أحمد وأبو داود
ความว่า “โอ้อัลลอฮฺแท้จริงเราขอให้พระองค์ทำลายพวกเขา และเราขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้รอดพ้นจากความชั่วร้ายของพวกเขา” (บันทึกโดยอบูดาวุด หมายเลขหะดีษ 1037, อะหฺมัด หมายเลขหะดีษ 19958)
บทบาทของผู้นำในการญิฮาด
จำเป็นที่ผู้นำหรือผู้ที่ทำหน้าที่แทนผู้นำต้องทำการจัดเตรียมกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ขณะเคลื่อนกำลังพลเข้าหาศัตรู ห้ามไม่ให้ละทิ้งกัน ห้ามทำให้เกิดความหวาดกลัว ห้ามผู้ที่ไม่มีประโยชน์ต่อการทำญิฮาด ไม่ขอความช่วยเหลือต่อบรรดาผู้ปฏิเสธยกเว้นในกรณีที่มีความจำเป็น จัดเตรียมเสบียง เคลื่อนกำลังพลด้วยความสงบและเป็นระเบียบ จัดหาที่พำนักอย่างดีที่สุด ห้ามทหารทำความเสื่อมเสียและฝ่าฝืน และพูดกระตุ้นให้จิตใจพวกเขาเข้มแข็งและมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการให้ได้ตายชะฮีด
กำชับให้พวกเขามีความอดทนและให้ตรวจสอบ จัดแบ่งกำลังพล แต่งตั้งผู้ที่มีความชำนาญเรื่องเส้นทางและยามผู้คอยตรวจการ จัดผู้คอยสอดแนมศัตรู และให้แบ่งทรัพย์เชลยแก่บรรดาทหาร เช่น ให้หนึ่งในสี่หลังจากแบ่งหนึ่งในห้าตอนขาไป และให้หนึ่งในสามหลังจากแบ่งหนึ่งในห้าในตอนขากลับ และให้ปรึกษาหารือในเรื่องการญิฮาดกับนักวิชาการด้านศาสนาและนักคิดนักวิเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญ
สิ่งจำเป็นต่อบรรดานักรบในหนทางของอัลลอฮฺ
จำเป็นที่ทหารต้องเชื่อฟังผู้นำหรือผู้ที่เป็นตัวแทนในสิ่งที่ไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺ ให้มีความอดทนยืนหยัดพร้อมกับผู้นำ ไม่อนุญาตให้ทำการสู้รบนอกจากได้รับการคำสั่งจากผู้นำเสียก่อน ยกเว้นในกรณีที่มีศัตรูจู่โจมฉุกเฉินกลัวว่าจะเกิดอันตรายขึ้นกับพวกเขาดังนั้นเป็นความจำเป็นที่พวกเขาจะต้องป้องกันตัวเอง หากฝ่ายผู้ปฏิเสธเรียกร้องสู่การเผชิญหน้าให้เลือกผู้ที่เขารู้ว่ามีความเข้มแข็ง มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวในด้านการต่อสู้โดยการอนุมัติจากผู้นำ และผู้ที่ออกต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺแล้วเขาได้เสียชีวิตด้วยกับอาวุธของเขาเอง เขาจะได้รับตอบแทนผลบุญถึงสองเท่า
หุกุม (ข้อบัญญัติ) เกี่ยวกับการใช้กลลวงในการทำญิฮาด
เมื่อผู้นำมีความประสงค์จะทำสงคราม ตัวอย่างเช่น เขาต้องการจะทำสงครามกับประเทศหนึ่งหรือเผ่าหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือ เป็นที่อนุญาตให้เขาแสดงว่าต้องการจะเคลื่อนกำลังพลไปทางตอนใต้ในกรณีนี้เป็นต้น เพราะการทำสงครามคือกลลวง
การกระทำลักษณะเช่นนี้มีประโยชน์ 2 ประการ
ประการที่ 1 ความสูญเสียที่เกิดจากชีวิตและทรัพย์สินของทั้งสองฝ่ายจะลดน้อย ดังนั้นความเมตตาปราณีจะเข้ามาแทนที่ความโหดเหี้ยม
ประการที่ 2 เป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่กองทัพมุสลิม ไม่ว่าจะเป็นด้านกำลังพลหรือเสบียงสำหรับทำสงคราม ซึ่งไม่เป็นการเพียงพอในการทำสงครามด้วยกับการใช้กลลวงเพียงอย่างเดียว
عن كعب رضي الله عنه قال: كَانَ رَسُولُ الله ﷺ قَلَّـمَا يُرِيدُ غَزْوَةً يَـغْزُوهَا إلَّا وَرَّى بِغَيْرِهَا. متفق عليه
จากกะอฺบ์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ปรากฏว่าท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เมื่อต้องการที่จะทำสงคราม ท่านจะปิดบังด้วยกับสิ่งอื่นนอกเหนือจากนั้น” (บันทึกโดยบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 2948 ,มุสลิม หมายเลขหะดีษ 2769)
เวลาทำสงคราม
عن النعمان بن مقرِّن رضي الله عنه قال: شَهِدْتُ رَسُولَ الله ﷺ إذَا لَـمْ يُـقَاتِلْ مِنْ أَوَّلِ النَّـهَارِ أَخَّرَ القِتَالَ حَتَّى تَزُولَ الشَّمْسُ، وَتهُبَّ الرِّيَاحُ، وَيَنْزِلَ النَّصَرُ. أخرجه أبو داود والترمذي
จากอันนุอฺมาน บิน มุก็อรริน เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ฉันเห็นท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม หากไม่ทำการต่อสู้ในตอนแรกของกลางวัน ก็จะเลื่อนการต่อสู้ออกไปกระทั่งดวงอาทิตย์คล้อย และมีลมพัด และการช่วยเหลือจากอัลลอฮฺจะถูกประทานลงมา” (บันทึกโดย อบูดาวุด หมายเลขหะดีษ 2655 , อัตติรมิซียฺ หมายเลขหะดีษ 1613)
เมื่อศัตรูเข้าบุกจู่โจมมุสลิมหรือถูกล่วงละเมิด ดังนั้นจำเป็นแก่เขาจะต้องโต้ตอบและจะต้องป้องกันไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใด
เมื่อไหร่อัลลอฮฺจะทรงประทานความช่วยเหลือ?
อัลลอฮฺได้ลิขิตชัยชนะให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงรักด้วยพระองค์เอง แต่ทว่าพระองค์ได้เชื่อมโยงการให้ได้รับชัยชนะด้วยกับปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การศรัทธาอย่างแท้จริงเกิดขึ้นในหัวใจของบรรดามุญาฮิดีนอย่างสมบูรณ์เต็มเปี่ยม
( ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ) [الروم/47]
ความว่า “และหน้าที่ของเราคือการช่วยเหลือบรรดาผู้ศรัทธา” (อัรรูม 47)
2. รักษาองค์ประกอบต่างๆ ของการศรัทธา โดยการปฏิบัติคุณงามความดีในการดำเนินชีวิตของพวกเขา
(ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕﮖ) [الحج/40-41]
ความว่า “และแน่นอนอัลลอฮฺ จะทรงช่วยเหลือผู้ที่สนับสนุนศาสนาของพระองค์ แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงพลัง ผู้ทรงเดชานุภาพอย่างแท้จริง บรรดาผู้ที่เราให้พวกเขามีอำนาจในแผ่นดิน คือบรรดาผู้ที่ดำรงการละหมาด และบริจาคซะกาตและใช้กันให้กระทำความดี และห้ามปรามกันให้ละเว้นความชั่ว และบั้นปลายของกิจการทั้งหลายย่อมกลับไปหาอัลลอฮฺ” (อัลฮัจญ : 40-41)
3. เตรียมพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างเต็มความสามารถ
(ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ) [الأنفال/60].
ความว่า “และพวกเจ้าจงเตรียมไว้สำหรับ (ป้องกัน) พวกเขา สิ่งที่พวกเจ้าสามารถอันได้แก่กำลังอย่างหนึ่งอย่างใดและการผูกม้าไว้ โดยที่พวกเจ้าจะทำให้ศัตรูของอัลลอฮฺ และศัตรูของพวกเจ้าหวั่นเกรงด้วยสิ่งนั้น” (อัลอันฟาล : 60)
4. ใช้ความพยายาม ทุ่มเท อย่างสุดความสามารถ
(ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ) [العنكبوت/69].
ความว่า “และบรรดาผู้ต่อสู้ดิ้นรนในหนทางของเรา แน่นอนเราจะชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องแก่พวกเขาสู่ทางของเรา และแท้จริงอัลลอฮฺทรงอยู่ร่วมกับบรรดาผู้ที่กระทำความดี” (อัลอังกะบูต : 69)
(ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ) [الأنفال/45- 46].
ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายเมื่อพวกเจ้าเผชิญหน้ากับศัตรูกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ก็จงยืนหยัดเถิด และจงรำลึกถึงอัลลอฮฺมากๆ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ และจงเชื่อฟังอัลลอฮฺและรอสูลของพระองค์เถิด และจงอย่าขัดแย้งกันจะทำให้พวกเจ้าย่อท้อและทำให้ความเข้มแข็งของพวกเจ้าหมดไป และจงอดทนเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงอยู่พร้อมกับบรรดาผู้ที่อดทน” (อัลอันฟาล : 45-46)
ด้วยกับปัจจัยต่างๆ ที่ได้กล่าวมาจะทำให้อัลลอฮฺอยู่พร้อมกับพวกเขา และจะประทานการช่วยเหลือให้แก่พวกเขา ดั่งที่พระองค์เคยประทานให้แก่บรรดาศาสนทูตทั้งหลาย และเสมือนที่ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม พร้อมกับบรรดาศอฮาบะฮฺได้รับในสมรภูมิรบต่างๆ
ผลที่ได้รับจากการเชื่อมั่นและการอดทนในการปฏิบัติงาน
เมื่อมุสลิมดำรงตนอยู่บนหนทางแห่งสัจธรรม การดำรงตนของเขาด้วยกับอัลลอฮฺและเพื่ออัลลอฮฺ ไม่มีสิ่งใดมาทำอะไรแก่เขาได้ ไม่ว่าจะในชั้นฟ้า หรือแผ่นดิน แน่นอนอัลลอฮฺเป็นที่เพียงพอสำหรับเขา เพราะบ่าวคนหนึ่งจะถูกทำให้การงานทั้งสามประการหรือไม่ก็ส่วนหนึ่งส่วนใดของการงานบกพร่อง
ดังนั้นผู้ที่ดำรงตนอยู่บนความเท็จเขาจะไม่ได้รับการช่วยเหลือ หากได้รับการช่วยเหลือแต่บั้นปลายของเขาไม่สวยหรูและอยู่ในสภาพที่น่าตำหนิ ถูกทอดทิ้งเพิกเฉย
หากดำรงตนอยู่บนหนทางแห่งสัจธรรมแต่ไม่ได้ทำเพื่ออัลลอฮฺ หากทว่าทำเพื่อการได้รับคำสรรเสริญเยินยอจากผู้คน ลักษณะนี้เขาจะไม่ได้รับการช่วยเหลือ เพราะว่าการช่วยเหลือจะเกิดกับผู้ที่ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺเพื่อเชิดชูคำดำรัสแห่งอัลลอฮฺให้สูงส่ง หากเขาได้รับการช่วยเหลือก็เพราะด้วยกับความอดทนและด้วยกับสัจธรรม
ดังนั้นการอดทนจะได้รับการช่วยเหลือตลอดไป หากเขาเป็นผู้ที่อดทนดำรงตนอยู่บนสัจธรรมแน่นอนบั้นปลายของเขาย่อมสวยงาม และหากเขาดำรงตนอยู่บนความมดเท็จบั้นปลายของเขาก็จะไม่มีความสวยงาม อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ) [السجدة/ 24].
ความว่า “และเราได้จัดให้มีผู้นำจากพวกเขา เพื่อจะได้ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องตามคำบัญชาของเราในเมื่อพวกเขามีความอดทน และพวกเขาเชื่อมั่นต่อสัญญาณต่างๆ ของเรา “ (อัสสัจญดะฮฺ : 24)
หุกุม (ข้อบัญญัติ) ว่าด้วยเรื่องการหนีสงคราม
เมื่อมีการเผชิญหน้ากันระหว่างสองทัพ ดังนั้นเป็นที่ต้องห้ามในการที่จะหนีสงครามยกเว้นสองกรณีเท่านั้น อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ ﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ ﯶ ﯷ ﯸ ﯹ ﯺ) [الأنفال/15-16]
ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย เมื่อพวกเจ้าพบบรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธาเคลื่อนทัพมา พวกเจ้าจงอย่าหันหลังหนีพวกเขา และใครที่หันหลังของเขาหนีในวันนั้น ยกเว้นผู้ที่เปลี่ยนสถานที่เพื่อทำการสู้รบหรือผู้ที่ไปร่วมกับอีกกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แน่นอนเขาย่อมนำความกริ้วโกรธจากอัลลอฮฺกลับไป และที่อยู่ของเขานั้นคือญะฮันนัม และเป็นที่กลับไปที่เลวร้าย” (อัลอันฟาล : 15-16)
ความประเสริฐของการเสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺ
1. อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ) [آل عمران/169].
ความว่า “และเจ้าจงอย่าได้คิดเป็นอันขาดว่าบรรดาผู้ที่ถูกฆ่าในทางของอัลลอฮฺนั้นตาย หาใช่เช่นนั้นไม่พวกเขายังมีชีวิตอยู่ ณ พระเจ้าของพวกเขาในสภาพที่ได้รับปัจจัยยังชีพ“ (อาลาอิมรอน : 169)
عن أنس رضي الله عنه عن النبي ﷺ قال: «مَا أَحَدٌ يَدْخُلُ الجَنَّةَ يُـحِبُّ أَنْ يَرْجِعَ إلَى الدُّنْيَا وَلَـهُ مَا عَلَى الأَرْضِ مِنْ شَيْءٍ إلا الشَّهِيدُ يَتَـمَنَّى أَنْ يَرْجِعَ إلَى الدُّنْيَا فَيُـقْتَلَ عَشْرَ مَرَّاتٍ لِـمَا يَرَى مِنَ الكَرَامَةِ». متفق عليه
2. จากอนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ไม่มีผู้ใดที่ได้เข้าสวนสวรรค์แล้วรักที่จะกลับมามีชีวิตในโลกดุนยาอีก โดยที่ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมีให้แก่เขาอย่างพร้อมเพรียง นอกจากผู้ที่เสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺมีความปรารถนาที่จะกลับมายังโลกดุนยาเพื่อที่จะให้ถูกฆ่าตายอีกสิบครั้ง เนื่องจากเกียรติยศที่เขาได้พบเห็น” (บันทึกโดยบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 2817 ,มุสลิม หมายเลขหะดีษ 1877)
ความพิเศษ (กะรอมาต) ของผู้ที่เสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺ
ดวงวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺจะอยู่ในท้องของนกสีเขียว มีแสงไฟหลายดวงแขวนติดกับบัลลังก์ของอัลลอฮฺ มันจะได้พักผ่อนอยู่ในสวนสวรรค์ตามที่ต้องการ สำหรับผู้ที่เสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺมีคุณลักษณะพิเศษดังต่อไปนี้
عن المقدام رضي الله عنه قال: قال رسول الله ﷺ: «إنّ لِلشَّهِيدِ عِنْدَ الله عزّ وجلّ خِصَالاً: يُـغْفَرُ لَـهُ فِي أَوَّلِ دُفْعَةٍ مِنْ دَمِهِ، وَيُرَى مَقْعَدَهُ مِنَ الجَنَّةِ، ويُـحلَّى عليْـه حُلَّةَ الإيمان، ويُزوَّج اثنتين وسبعين زوجَة من الحورِ العينِ، وَيُـجَارُ مِنْ عَذَابِ القَبْرِ، ، وَيَأْمَنُ يَوْمَ الفَزَعِ الأَكْبَرِ، ويُوضَعُ على رأسِهِ تاجُ الوَقار الياقوتةُ منْـهُ خيرٌ من الدُّنيا وما فيها، وَيُشَفَّعُ فِي سَبْعِينَ إنْسَاناً مِنْ أَقَارِبِـهِ». أخرجه سعيد بن منصور والبيهقي في شعب الإيمان
จากอัลมิกดาม เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “แท้จริงสำหรับผู้ที่เสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺมีคุณลักษณะพิเศษต่างๆ ดังนี้ เขาจะได้รับการอภัยโทษตั้งแต่เลือดหยดแรกหลั่ง เขาจะได้เห็นที่พำนักในสวนสวรรค์ เขาจะถูกประดับประดาด้วยกับเครื่องประดับแห่งอีมาน เขาจะได้แต่งงานกับหญิงสาวชาวสวรรค์ (ฮูรุนอัยน์) 72 คน เขาจะรอดพ้นจากการลงโทษในกุโบร เขาจะได้รับความปลอดภัยในวันที่น่าสะพรึงกลัวยิ่ง ศีรษะของเขาจะได้รับการสวมมงกุฎแห่งความร่มเย็นที่ทำจากอัญมณีซึ่งมีความดีกว่าโลกดุนยาและสิ่งที่มีในโลกดุนยา และเขามีสิทธิ์ที่จะขอผ่อนผันให้พี่น้องของเขาได้ 70 คน” (บันทึกโดยสะอีด บิน มันศูร หมายเลขหะดีษ 2562 และอัลบัยฮะกียฺ ในหนังสือ ชุอะบุลอีมาน หมายเลขหะดีษ 3949 ให้ดูในอัสสิลสิละฮฺ อัศศอฮีฮะฮฺ หมายเลขหะดีษ 3213)
ผู้ที่ถูกทำให้เกิดบาดแผลซึ่งเป็นบาดแผลที่เกิดขึ้นจากการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ แม้เพียงบาดแผลเดียว เขาจะฟื้นคืนชีพในวันกิยามะฮฺโดยที่สีของมันเป็นสีเลือด กลิ่นเป็นกลิ่นน้ำหอม (มิสกฺ) เขาจะถูกประทับตราว่าเป็นผู้ที่เสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺ และผู้ที่เสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺจะถูกลบล้างความผิดทั้งหมดยกเว้นหนี้สิน
หุกุม (ข้อบัญญัติ) ผู้ที่ตกอยู่ในวงล้อมเพียงคนเดียว
มุสลิมผู้ที่เกรงกลัวว่าจะตกเป็นเชลยศึกและไม่มีความสามารถที่จะต่อสู้กับศัตรูคู่ศึก ดังนั้นก็อนุญาตให้เขายอมจำนนได้ หรือเขาอาจต่อสู้จนกระทั่งถูกฆ่าตายหรือไม่ก็จนได้รับชัยชนะก็ได้
หุกุม (ข้อบัญญัติ) เกี่ยวกับผู้ที่บุกจู่โจมศัตรูแต่เพียงผู้เดียว
ผู้ที่บุกถิ่นศัตรูหรือทำการจู่โจมกองทัพของบรรดาผู้ปฏิเสธผู้รุกราน โดยมีเป้าหมายเพื่อขับไล่ศัตรูและสร้างความหวาดกลัวให้เกิดขึ้นในหัวใจของพวกเขาโดยเฉพาะพวกยะฮูดียฺผู้รุกราน ต่อจากนั้นเขาถูกฆ่า เขาจะได้รับการตอบแทนเป็นผู้ที่เสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺที่ยืนหยัดอดทน (อัชชุฮะดาอฺ อัศศอบิรีน) เป็นผู้ที่ต่อสู้ในแนวทางของอัลลอฮฺที่มีความสัจจริง (มุญาฮิดีน อัศศอดิกีน) เป็นวิธีการที่ลงทุนน้อยแต่สามารถทำอันตรายให้เกิดแก่ต่อศัตรูได้อย่างมาก
ประเภทของเชลยศึก
เชลยศึกสงครามแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. ผู้หญิงและเด็ก เมื่อตกเป็นเชลยศึกจะอยู่ในฐานะทาส
2. ผู้ชายที่เป็นนักรบ ให้ผู้นำเป็นคนเลือกระหว่างปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไข ปล่อยตัวแต่มีเงื่อนไขต่อรอง ประหารชีวิต หรือให้เป็นทาส โดยพิจารณาตามผลประโยชน์ที่จะได้รับแก่มุสลิม
ความประเสริฐของการใช้จ่ายในหนทางของอัลลอฮฺ
1. อัลลอฮฺตรัสว่า
: (ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ) [البقرة/ 261].
ความว่า “อุปมาบรรดาผู้ที่บริจาคทรัพย์ของพวกเขาในทางของอัลลอฮฺนั้น ดังอุปมัยเมล็ดพืชเมล็ดหนึ่งที่งอกขึ้นเป็นเจ็ดรวงซึ่งในแต่ละรวงนั้นมีร้อยเมล็ด และอัลลอฮฺนั้นจะทรงเพิ่มพูนแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์อีก และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงกว้างขวาง ผู้ทรงรอบรู้” (อัลบะกอเราะฮฺ : 261 )
عن أبي هريـرة رضي الله عنـه عن النبي ﷺ قال: «مَنْ أَنْفَقَ زَوْجَيْنِ فِي سَبِيـلِ الله دَعَـاهُ خَزَنَـةُ الجَنَّـةِ كُلُّ خَزَنَـةِ بَابٍ: أَيْ فُـلُ هَلُـمَّ.. ». متفق عليه
2. จากอบีฮุรัยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ แท้จริงท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดที่ได้บริจาคแค่เพียงสองอย่างไปในหนทางของอัลลอฮฺ ยามที่เฝ้าประตูสวรรค์ทุกบานต่างก็จะเรียกเขาว่า ขอเชิญเข้ามาทางประตูนี้...” (บันทึกโดยบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 2841 ,มุสลิม หมายเลขหะดีษ 1027)
ความประเสริฐของการที่เท้าเปื้อนฝุ่นและการถือศิลอดในหนทางของอัลลอฮฺ
عن أبي عبس رضي الله عنه أن رسول الله ﷺ قال: «مَنِ اغْبَرَّتْ قَدَمَاهُ فِي سَبِيلِ الله حَرَّمَهُ الله عَلَى النَّارِ». أخرجه البخاري
1. จากอบีอะบัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ แท้จริงท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ที่เท้าทั้งสองเปื้อนฝุ่นในหนทางอัลลอฮฺ อัลลอฮฺจะให้เขาได้รอดพ้นจากไฟนรก” (บันทึกโดยบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 908)
عن أبي سعيد الخدري رضي الله عنه قال: سمعت النبي ﷺ يقول: «مَنْ صَامَ يَوْماً فِي سَبِيلِ الله بَـعَّدَ الله وَجْهَهُ عَنِ النَّارِ سَبْعِينَ خَرِيْفاً». متفق عليه
2. จากอบีสะอีด อัลคุดรียฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดถือศิลอดหนึ่งวันเพื่อหนทางของอัลลอฮฺ อัลลอฮฺจะทำให้ใบหน้าของเขาห่างไกลจากไฟนรกถึง 70 ปี” (บันทึกโดยบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 2840 ,มุสลิม หมายเลขหะดีษ 1153)
ความประเสริฐของบังคับม้าเพื่อใช้ในหนทางของอัลลอฮฺ
عن أبي هريرة رضي الله عنه قال: قال النبي ﷺ: «مَنْ احْتَـبَسَ فَرَساً فِي سَبِيلِ الله إيمَاناً بِالله، وَتَصْدِيقاً بِوَعْدِهِ، فَإنَّ شِبَـعَهُ وَرِيَّـهُ، وَرَوْثَهُ، وَبَوْلَـهُ فِي مِيزَانِـهِ يَوْمَ القِيَامَةِ». أخرجه البخاري
จากอบีฮุรัยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ที่บังคับม้าเพื่อใช้ในหนทางของอัลลอฮฺด้วยความศรัทธาต่ออัลลอฮฺและเชื่อในคำสัญญาของพระองค์ แท้จริงอาหารและน้ำ (ที่ม้ากิน) กลิ่น อุจจาระ และปัสสาวะของมัน ในวันกิยามะฮฺจะอยู่ในตาชั่ง” (บันทึกโดยบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 2853)
ลักษณะของการแบ่งทรัพย์เชลย
ทรัพย์เชลยเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ที่เข้าร่วมสมรภูมิรบ ดังนั้นให้เอาทรัพย์สินจากหนึ่งในห้าแล้วแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง..สำหรับท่านรอสูลเพื่อใช้จ่ายในกิจการที่เป็นสาธารณะประโยชน์ของบรรดามุสลิม ส่วนที่สอง..สำหรับเครือญาติที่ใกล้ชิด ส่วนที่สาม..สำหรับเด็กกำพร้า ส่วนที่สี่..สำหรับบรรดาผู้ยากจนขัดสน และส่วนที่ห้า..สำหรับผู้เดินทาง
ส่วนทรัพย์เชลยส่วนที่เหลืออยู่สี่ในห้าจัดสรรให้แก่บรรดาผู้ที่มีสิทธิ์ โดยให้ทหารเดินเท้าจำนวนหนึ่งส่วน ส่วนที่เหลืออีกสามส่วนให้แก่ทหารม้า และห้ามยักยอกทรัพย์เชลย และให้ผู้นำอบรมตักเตือนแก่ผู้ที่ยักยอกทรัพย์เชลยได้ตามความเหมาะสม ส่วนทรัพย์สินที่ได้จากมุชริกโดยที่ไม่มีการต่อสู้ เช่น ญิซยะฮฺ (ภาษีรัชนูปการ) คอรอจญฺ (ภาษีสรรพากร) และอื่นๆ ในทำนองเดียวกันนี้เรียกว่า “ฟัยอ์” ให้นำไปใช้จ่ายในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บรรดามุสลิม
อัลฟัยอ์ (เครื่องบรรณาการ) คือ ทรัพย์สินของบรรดาผู้ปฏิเสธได้รับมาด้วยวิธีการชอบธรรมโดยไม่มีการสู้รบ
1. อัลลอฮฺตรัสว่า
( ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ) [الأنفال/41]
ความว่า “และพึงรู้เถิดว่าแท้จริงสิ่งใดที่พวกเจ้าได้มาจากการทำศึกนั้น แน่นอนหนึ่งในห้าของมันเป็นของอัลลอฮฺ เป็นของรอสูล เป็นของญาติที่ใกล้ชิด บรรดาเด็กกำพร้า บรรดาผู้ขัดสน และผู้เดินทาง หากพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและสิ่งที่เราได้ประทานลงมาแก่บ่าวของเราในวันแห่งการจำแนกระหว่างการศรัทธาและการปฏิเสธคือวันที่สองฝ่ายเผชิญกัน และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง” (อัลอันฟาล : 41)
2. อัลลอฮฺตรัสว่า
(ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯﮰ) [الحشر/7]
ความว่า “และสิ่งใดที่อัลลอฮฺทรงให้รอสูลของพระองค์ยึดมาได้จากชาวเมือง (พวกกุฟฟาร) เป็นสิทธิของอัลลอฮฺ รอสูล ญาติสนิท บรรดาเด็กกำพร้า บรรดาผู้ขัดสน และผู้เดินทาง เพื่อมันจะมิได้หมุนเวียนอยู่ในระหว่างผู้ร่ำรวยของพวกเจ้าเท่านั้น และอันใดที่ท่านได้ห้ามพวกเจ้าก็จงละเว้นเสียพวกเจ้าจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเข้มงวดในการลงโทษ” (อัลฮัจรฺ : 7)
หุกุม (ข้อบัญญัติ) เกี่ยวกับการตอบแทนทรัพย์เชลยให้แก่ผู้ที่ออกต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺเพียงบางคนเป็นกรณีพิเศษ
อนุญาตให้ผู้นำกองทัพตอบแทนทรัพย์เชลยบางสิ่งบางอย่างแก่ผู้ที่ออกต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺเพียงบางคน หากเห็นว่ามันจะเกิดประโยชน์ขึ้นแก่บรรดามุสลิม และหากเห็นว่ามันไม่เกิดประโยชน์อันใดก็ไม่สมควรที่ตอบแทนให้แต่ประการใด
หุกุม (ข้อบัญญัติ) เกี่ยวกับทรัพย์เชลย
1. ทหารในกองทัพเป็นผู้มีส่วนร่วมในทรัพย์สินที่พิชิตได้ และผู้ที่สามารถฆ่าศัตรูในขณะที่ทำสงคราม สะลับ (ทรัพย์สินที่ติดตัวข้าศึก) จะตกเป็นของเขาทันที
สะลับ คือ ทรัพย์สินทิ่ติดตัวข้าศึก ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า อาวุธ พาหนะ และทรัพย์สมบัติ
2. จะไม่มีส่วนแบ่งในทรัพย์สินของเชลยนอกจากจะต้องมีเงื่อนไข 4 ประการ คือ บรรลุศาสนภาวะ มีสติสัมปชัญญะ เสรีภาพ และเป็นผู้ชาย หากบกพร่องเพียงหนึ่งเงื่อนไขก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับ แต่สามารถให้เป็นของประโลมใจได้
หุกุม (ข้อบัญญัติ) เกี่ยวกับการร่วมประเวณีกับเชลยศึกที่เป็นผู้หญิง
สำหรับผู้หญิงที่ตกเป็นเชลยศึกการแต่งงานที่ผ่านมาของพวกนางจะโมฆะไปโดยปริยาย แต่ยังไม่อนุญาตให้ร่วมประเวณีกับพวกนางนอกจากต้องจัดแบ่งทรัพย์สินเสียก่อน หากนางตั้งครรภ์ก็รอให้คลอด หากไม่ตั้งครรภ์รอให้ประจำเดือนมาหนึ่งครั้ง
หากกองทัพมุสลิมได้รับทรัพย์เชลยโดยการต่อสู้มาจากศัตรูเป็นผืนดิน ให้ผู้นำเป็นผู้เลือกระหว่างการจัดสรรให้แก่บรรดามุสลิม หรือวะกัฟ (อุทิศ) ให้แก่พวกเขา หรือกำหนดให้ผู้ที่ครอบครองผืนดินต้องจ่ายภาษีตลอดไป
เป็นที่อนุญาตให้มอบสิ่งของเป็นการตอบแทนแก่บรรดาผู้ปฏิเสธ เนื่องจากการที่เขาได้ทำความดีต่อบรรดามุสลิมตามแต่จะสะดวก เพื่อเป็นการตอบแทนต่อความดีงามของพวกเขา
ผู้ที่เสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺ
عن أبي هريرة رضي الله عنه أن رسول الله ﷺ قال: «الشُّهَدَاءُ خَـمْسَةٌ: المَطْعُونُ، وَالمَبْطُونُ، وَالغَرِقُ، وَصَاحِبُ الهَدْمِ، وَالشَّهِيدُ فِي سَبِيلِ الله٬». متفق عليه
1. จากอบีฮุรัยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ แท้จริงท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ที่เสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺมีอยู่ 5 ประเภท คือ ผู้เสียชีวิตด้วยกับโรคระบาด (กาฬโรค) ผู้เสียชีวิตเนื่องจากโรคภายในท้อง ผู้เสียชีวิตเนื่องจากการจมน้ำ ผู้เสียชีวิตเนื่องจากถูกสิ่งของล้มทับ และผู้ที่เสียชีวิตเนื่องจากการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ” (บันทึกโดยบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 2829 ,มุสลิม หมายเลขหะดีษ 1914)
عن جابر بن عتيك رضي الله عنه أن رسول الله ﷺ قال: «... الشَّهَادَةُ سَبْعٌ سِوَى القَتْلِ فِي سَبِيلِ الله عَزَّ وَجَلَّ: المَطْعُونُ شَهِيدٌ، وَالمَبْطُونُ شَهِيدٌ، والغَرِيقُ شَهِيدٌ، وَصَاحِبُ الهَدْمِ شَهِيدٌ، وَصَاحِبُ ذَاتِ الجَنْبِ شَهِيدٌ، وَصَاحِبُ الحَرَقِ شَهِيدٌ، وَالمَرْأَةُ تَـمُوْتُ بِجُـمْعٍ شَهِيدَةٌ». أخرجه أبو داود والنسائي
2. จากญาบิร บิน อะตีก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ แท้จริงท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “...การเสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺนอกเหนือจากการเสียชีวิตในสมรภูมิรบมีอยู่ 7 จำพวก ผู้เสียชีวิตด้วยโรคระบาด (กาฬโรค) นับว่าเป็นชะฮีด ผู้เสียชีวิตเนื่องจากโรคภายในท้องนับว่าเป็นชะฮีด ผู้เสียชีวิตเนื่องจากการจมน้ำนับว่าเป็นชะฮีด ผู้เสียชีวิตเนื่องจากถูกกสิ่งของล้มทับนับว่าเป็นชะฮีด ผู้ที่เสียชีวิตโดยการคลอดบุตร ผู้ตายเนื่องจากถูกไฟไหม้นับว่าเป็นชะฮีด และผู้หญิงที่เสียชีวิตหลังจากการคลอดบุตรนับว่าเป็นชะฮีด” (บันทึกโดย อบูดาวุด หมายเลขหะดีษ 3111 , อันนะสาอียฺ หมายเลขหะดีษ 1846)
عن سعيدِ بنِ زَيْد رضي الله عنه قالَ: سَمعْتُ رسُولَ الله ﷺ يَـقُولُ: «مَنْ قُتلَ دُونَ مالِـهِ فَهُوَ شَهيدٌ، وَمنْ قُتِلَ دُونَ دِينِـهِ فَهُوَ شَهيدٌ، وَمَن قُتِلَ دُونَ دَمِهِ فَهُوَ شَهيدٌ، وَمَنْ قُتِل دونَ أهلِـهِ فَهُوَ شَهِيدٌ». أخرجه أبو داود والترمذي
3. จากสะอีด บิน ซัยดฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ที่ถูกฆ่าขณะที่เขาปกป้องทรัพย์สมบัติของเขานับว่าเป็นชะฮีด ผู้ที่ถูกฆ่าขณะที่เขาปกป้องศาสนาของเขานับว่าเป็นชะฮีด ผู้ที่ถูกฆ่าเพื่อปกป้องชีวิตของเขานับว่าเป็นชะฮีด ผู้ที่ถูกฆ่าเพื่อปกป้องสมาชิกในครอบครัวของเขานับว่าเป็นชะฮีด” (บันทึกโดย อบูดาวุด หมายเลขหะดีษ 4772 , อัตติรมิซียฺ หมายเลขหะดีษ 1421)
หุกุม (ข้อบัญญัติ) เกี่ยวกับการเอาอวัยวะบางส่วนไปให้กับผู้อื่น
1. เมื่อนักรบหรือบุคคลอื่นที่ยังมีชีวิตจำเป็นต้องนำเอาอวัยวะบางส่วนมาจากเพื่อนมนุษย์อีกคนที่ยังมีชีวิต หากการนำอวัยวะมานั้นทำให้เกิดอันตรายอย่างใหญ่หลวง หรือทำให้เกิดทุพพลภาพ เช่น การตัดมือ เท้า ไต สิ่งเหล่านี้เป็นที่ต้องห้าม (ฮะรอม) เพราะเป็นการทำลายชีวิตที่มั่นใจว่าจะมีชีวิตอยู่รอด ด้วยการแลกเปลี่ยนกับการคาดคะเนที่ไม่แน่ใจว่าจะมีชีวิตอยู่รอดหรือไม่
หากการเอาอวัยวะบางส่วนแล้วเป็นสาเหตุไปสู่การสูญเสียชวิต เช่น การเอาหัวใจหรือปอด การกระทำลักษณะนี้เท่ากับเป็นการฆ่าชีวิต ยิ่งเป็นสิ่งที่ต้องห้าม (ฮะรอม) มากยิ่งขึ้นไปอีก
2. สำหรับการเอาอวัยวะบางส่วนของผู้เสียชีวิตไปให้แก่ผู้ที่ยังมีชีวิต หากการกระทำเป็นสิ่งจำเป็นและจะยังประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นสามารถมีชีวิตอยู่ต่อได้ เช่น การเปลี่ยนหัวใจ ปอด หรือไต การกระทำในลักษณะนี้ในกรณีที่มีความจำเป็นถือว่าเป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ตายได้อนุญาตเอาไว้ก่อนที่จะเสียชีวิต และมีความพอใจที่จะเปลี่ยนให้แก่ผู้อื่น และกำหนดขอบเขตของการรักษาโดยให้แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเป็นผู้ดูแล