Description
ข้อมูลว่าด้วยการเชิญชวนผู้คนไปสู่อัลลอฮฺ หรือการดะอฺวะฮฺ ประกอบด้วย เหตุผลของอัลลอฮฺที่ได้ส่งบรรดาเราะสูลมายังมนุษยชาติ ภาระหน้าที่ของบรรดานบีและเราะสูล สาเหตุที่ทำให้มนุษย์ได้รับทางนำ การเชิญชวนมนุษย์สู่อิสลามเป็นสิ่งจำเป็นเหนือประชาชาติมุสลิม การรู้แจ้งและรู้จริงในสามสิ่ง การให้ความสำคัญในการทำงานเพื่อศาสนามากกว่าการทำงานเพื่อวัตถุแห่งโลกดุนยา ศาสนาอิสลามจะยืนหยัดมั่นคงไม่มีวันสูญสลายจนถึงวันกิยามะฮฺ ประโยชน์ของการเชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺ การจำแนกกลุ่มของมนุษย์ตามการงานที่พวกเขาได้ปฏิบัติ
คำแปลภาษาอื่นๆ 2
การเชิญชวนสู่อัลลอฮฺ
﴿الدعوة إلى الله﴾
الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري
ترجمة: إبراهيم حسين
مراجعة: فيصل عبدالهادي
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์
แปลโดย : อิบรอฮีม หุเซน
ผู้ตรวจทาน : ฟัยซอล อับดุลฮาดี
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
การเชิญชวนผู้คนไปสู่อัลลอฮฺ ตะอาลา
มนุษยชาติต้องการศาสนาอย่างยิ่งยวดเสมือนร่างกายที่ต้องการวิญญาณ หากร่างกายใครคนหนึ่งปราศจากวิญญาณเมื่อไหร่ความเสียหายก็จะเกิดขึ้นแก่ร่างกายของเขา เฉกเช่นเดียวกันหากมนุษย์คนใดไม่มีศาสนาความสูญเสียก็จะเกิดขึ้นกับตัวเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
เหตุผลของอัลลอฮฺที่ได้ส่งบรรดาเราะสูลมายังมนุษยชาติ
1. ด้วยความเมตตาและความโปรดปรานของอัลลอฮฺ วะตะอาลา ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง และความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ตะอาลา อย่างหนึ่งที่มีต่อปวงบ่าวของพระองค์ นั่นก็คือ การที่พระองค์ได้ส่งเราะสูลมายังมวลมนุษย์และยังได้ประทานคัมภีร์ต่างๆมายังพวกเขาอีกด้วย เพื่อที่บรรดาเราะสูลเหล่านั้นจะได้แนะนำและให้รู้จักพระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา ผู้เป็นผู้สร้าง ผู้ให้ริซกีและปัจจัยยังชีพต่างๆ และบรรดาเราะสูลยังได้อธิบายถึงสิ่งที่พระองค์ทรงรัก และได้เชิญชวนพวกเขาไปสู่การภักดีต่อพระองค์ และเคารพกราบไหว้พระองค์แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่มีการตั้งภาคีกับสิ่งใดๆทั้งปวง และบรรดาเราะสูลยังได้บอกถึงผลตอบแทนที่อัลลอฮฺได้สัญญาไว้แก่ผู้ที่จงรักภักดีต่อพระองค์ และบทลงโทษสำหรับผู้ที่เนรคุณ อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า
( ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ) [ النحل /٣٦ ]
ความว่า : “ดังนั้น ในหมู่พวกเขามีผู้ที่อัลลอฮฺทรงชี้แนะทางให้และในหมู่พวกเขามีผู้ที่การหลงผิดคู่ควรแก่เขา” (อันนะหฺล์ : 36)
2. ทุกครั้งที่มนุษย์มีความศรัทธาที่อ่อนแอพวกเขาจะตกอยู่ในหุบเหวแห่งการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา พระองค์จึงได้ส่งบรรดาเราะสูลมายังพวกเขาเพื่อเชิญชวนพวกเขากลับไปสู่เตาหีดหรือการเคารพภักดีพระองค์และการปฏิบัติอิบาดะฮฺแก่พระองค์แต่เพียงผู้เดียว เราะสูลได้ถูกส่งมาอย่างต่อเนื่อง และเราะสูลแต่ละคนถูกส่งมายังกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ จนถึงวาระที่อัลลอฮฺได้เลือกผู้ที่ทำหน้าที่นบีและเราะสูลคนสุดท้ายซึ่งเป็นผู้นำของบรรดานบีและเราะสูลทั้งหลายทั้งปวง นั่นก็คือ นบีมุฮัมมัด ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม
อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ทรงเลือกมุฮัมมัด ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม เป็นเราะสูลของพระองค์ และได้ประทานทางนำและศาสนาที่ถูกต้องมายังมนุษยชาติทั้งมวล ท่านเราะสูลได้เผยแผ่สัจธรรม ได้ดำเนินภาระหน้าที่อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ท่านได้ชี้แนะแนวทางแก่ปวงประชาชาติ ท่านเราะสูลได้ทุ่มเทชีวิตทั้งหมดไปในหนทางของอัลลอฮฺ ท่านได้เสียชีวิตไปและได้สั่งสอนและชี้แนะแนวทางทุกอย่างแก่มวลมนุษยชาติอย่างเจิดจรัสชัดเจน เสมือนหนึ่งกลางคืนที่เป็นเสมือนกลางวัน ไม่มีการบิดพลิ้วใดๆและออกจากแนวทางดังกล่าวนี้เว้นแต่ผู้ที่ประสบความหายนะอย่างชัดเจน
ภาระหน้าที่ของบรรดานบีและเราะสูล
เมื่อท่านนบีมูฮัมมัด ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม เป็นนบีและเราะสูลที่ประเสริฐสุดในบรรดานบีและเราะสูลทั้งหลาย และท่านคือนบีและเราะสูลคนสุดท้าย และประชาชาติของท่านคือประชาชาติที่ดีเลิศที่สุดในบรรดาประชาชาติทั้งหลาย และยังเป็นประชาชาติสุดท้าย อัลลอฮฺได้มอบให้แก่ประชาชาตินี้ซึ่งภาระหน้าที่ของบรรดานบีและเราะสูล
ท่านเราะสูลได้ยืนหยัดในการเชิญชวนผู้คนไปสู่อัลลอฮฺในดินแดนอาหรับเป็นระยะเวลาทั้งหมด 23 ปี การเชิญชวนของท่านเราะสูลครอบคลุมผู้คนในสมัยของท่านที่ท่านสามารถนำเสนออิสลาม(ให้แก่คนเหล่านั้นได้) การดะอฺวะฮฺของท่านนบีได้เริ่มต้นในครอบครัวของท่านก่อนเป็นลำดับแรก และญาติมิตรใกล้ชิด และต่อมาก็จะเป็นชนเผ่าของท่าน และหลังจากนั้นก็ชาวมักกะฮฺและชนชาวอาหรับที่อยู่รอบๆมักกะฮฺ และต่อมาก็เป็นชาวอาหรับทั้งหมด และสุดท้ายก็เป็นมนุษย์ทุกคนที่ท่านสามารถนำเสนออิสลามแก่พวกเขาเหล่านั้นได้ ซึ่งเป็นการแสดงว่าท่านเป็นเราะสูลถูกส่งมาสำหรับมวลมนุษย์ทุกคน ท่านเราะสูลเป็นความเมตตาสำหรับประชาชาติทั้งหลาย ด้วยเหตุดังกล่าวผู้คนจึงเข้ารับศาสนาของอัลลอฮฺกันเป็นกลุ่มๆ
1. อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า
(ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ) [ سبأ / 28 ]
ความว่า : “และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใด เว้นแต่เป็นผู้แจ้งข่าวดีและเป็นผู้ตักเตือนแก่มนุษย์ทั้งหลาย” (สะบะอฺ : 28)
2.อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสอีกว่า
(ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ) [الأنبياء /107 ].
ความว่า : “และเรามิได้ส่งเจ้าเพื่ออื่นใดนอกเสียจากเพื่อเป็นความเมตตาแก่ประชาชาติทั้งหลาย ” (อัลอันบิยาอฺ :107)
สาเหตุที่ทำให้มนุษย์ได้รับทางนำ
ผู้คนเข้ารับศาสนาอิสลามในสมัยท่านนบี ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม อันด้วยสาเหตุต่างๆ ที่หลากหลาย ส่วนสาเหตุที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
1.การเชิญชวนด้วยคำพูด ดั่งที่ท่านนบี ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เชิญชวนอะบูบักรฺ ท่านหญิงเคาะดีญะฮฺ อะลีและเศาะหะบะฮฺท่านอื่นๆ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม
2. การสั่นสอน ดั่งเช่น ท่านอุมัรฺ อิบนุ อัลค็อบฏอบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ที่ซึมซับอัลกุรอานหลังจากทีท่านได้รับฟังการอ่านอัลกุรอานจากฟาฏิมะฮฺน้องสาวของท่านพร้อมกับสะอีด อิบนิ ซัยดฺ สามีของน้องสาว และค็อบบาบ อิบนุ อัล-อัรตฺ ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นทั้งหมดจับวงกันอ่านและเรียนรู้อัลกุรอาน และเช่นกันอุสัยดฺ อิบนุ หุฎอยรฺและสะอฺด์ อิบนิ มุอาซฺ เข้ารับอิสลามหลังจากได้รับฟังการสอนอัลกุรอานในวงหะละเกาะฮฺอัลกุรอานจากท่านมุศอับ อิบนุ อุมัยรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ในเมืองมะดีนะฮฺ
3.ด้วยอิบาดะฮฺ ดั่งเช่น การเข้ารับศาสนาอิสลามของฮินดฺ บินติ อุตบะฮฺ หลังจากที่เธอได้เห็นบรรดามุสลิมีนร่วมละหมาดในปีแห่งการเปิดเมืองมักกะฮฺในมัสยิดอัลหะรอม และการเข้ารับศาสนาอิสลามของท่านษุมามะฮฺ บิน อุษาล อัล-หะนะฟีย์ ในมัสยิดอัลหะรอมอันเนื่องด้วยการเห็นการทำอิบาดะฮฺและอื่นๆ
4.การบริจาคทานและความมีใจบุญศุลทาน ดั่งที่ท่านนบี ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ให้ทรัพย์สินแก่ศ็อฟวาน อิบนุ อุมัยยะฮฺ มุอาวิยะฮฺและท่านอื่นๆ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ในปีแห่งการเปิดเมืองมักกะฮฺ พวกเขาเหล่านั้นจึงเข้ารับศาสนาอิสลาม และเช่นกันท่านนบี ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ให้แพะจำนวนหนึ่งที่อยู่ระหว่างภูเขาสองลูกแก่ผู้ชายท่านหนึ่ง (ด้วยเหตุนี้)เขาจึงเข้ารับศาสนาอิสลาม ด้วยสาเหตุที่ชายผู้นี้เข้ารับศาสนาอิสลามได้ทำให้พรรคพวกในเผ่าของเขาพากันเข้ารับศาสนาอิสลาม
5.จรรยามารยาทที่ดีงาม การทำดี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จิตใจที่เมตตา ความซื่อสัตย์สุจริตของท่านนบี ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม อัลลอฮฺ ตาอาลา ได้ตรัสว่า
(ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ) [القلم /4 ].
ความว่า : “ และแท้จริงแล้วเจ้ามีมารยาทดีงามยิ่ง ” (อัล-เกาะลัม : 4)
การเชิญชวนมนุษย์สู่อิสลามเป็นสิ่งจำเป็นเหนือประชาชาติมุสลิม
หลังจากที่อัลลอฮฺได้ประทานภาระหน้าที่ของบรรดานบีและเราะสูลแก่ประชาชาติมุสลิมด้วยความเมตตาและกรุณาของพระองค์ ก็คือ การดะอฺวะฮฺไปสู่อัลลอฮฺ ตะอาลา ที่อัลลอฮฺยังคงไว้ซึ่งสถานที่ต่างๆและผู้คนอีกมากมายซึ่งเป็นสนามสำหรับการดะอฺวะฮฺที่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลกทั้งทิศตะวันออกและตะวันตก ทั้งภาคเหนือและตอนใต้ของโลกจนถึงวันสิ้นโลกจะมาถึง
ท่านเราะสุลลุลลอฮฺ ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้สั่งสอนและอบรมบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านอย่างหนักจนพวกเขาได้ซึมซับในสองสิ่ง สิ่งหนึ่ง คือ การยืนหยัดในศาสนาให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในชีวิตจริง และสอง การให้ศาสนาได้ยืนหยัดในชีวิตจริงของคนอื่นๆ และพวกเขารู้ว่า สถานที่ต่างๆและผู้คนอีกมากมายซึ่งเป็นหน้าที่ของประชาชาติมุสลิมที่จะต้องเชิญชวนพวกเขาเหล่านั้นไปสู่ทางนำแห่งอิสลามจนถึงวันกิยามะฮฺ มุสลิมแต่ละคนมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อการละเลยในหน้าที่ของตนเอง นั่นก็คือ การทำอิบาดะฮฺ และมุสลิมจะต้องรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ที่มีต่อสังคม นั่นก็คือ การดะอฺวะฮฺ (การตรากตรำและสั่งสอนในสิ่งเหล่านี้)จนวาระสุดท้ายที่อัลลอฮฺจะเอาชีวิตของเขาไป
1.อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า
(ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ) [آل عمران / 110 ].
ความว่า : “ พวกเจ้านั้นเป็นประชาชาติที่ดียิ่งซึ่งถูกให้อุบัติขึ้นสำหรับมนุษยชาติ โดยที่พวกเจาใช้ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ชอบ และห้ามมิให้ปฏิบัติสิ่งที่มิชอบ และศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และหากว่าบรรดาผู้ได้รับคัมภีร์ศรัทธากันแล้ว แน่นอนมันก็เป็นการดีแก่พวกเขา ส่วนหนึ่งจากพวกเขานั้นมีบรรดาผู้ที่ศรัทธา และส่วนมากของพวกเขานั้นเป็นผู้ละเมิด ” (อาละอิมรอน : 110)
2.และอัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ได้ตรัสอีกว่า
(ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ) [آل عمران / 104 ].
ความว่า : “และจงให้มีขึ้นจากพวกเจ้า ซึ่งคณะหนึ่งที่จะเชิญชวนไปสู่ความดี และใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ และห้ามมิให้กระทำสิ่งที่มิชอบ และชนเหล่านี้แหละพวกเขาคือผู้ได้รับความสำเร็จ ” (อาละอิมรอน : 104)
3.และอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสอีกว่า
(ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ) [يوسف /108 ].
ความว่า : “จงกล่าวเถิดมูหัมมัด นี่คือแนวทางของฉัน ฉันเรียกร้องไปสู่อัลลอฮฺอย่างประจักษ์แจ้งทั้งตัวฉันและผู้ปฏิบัติตามฉัน และมหาบริสุทธิ์แห่งอัลลอฮฺ ฉันมิได้อยู่ในหมู่ผู้ตั้งภาคี” (ยูซุฟ : 108)
การรู้แจ้งและรู้จริงในสามสิ่ง
1.การมีความรู้ก่อนการดะอฺวะฮฺ
2.ความนอบน้อมถ่อมตนและอ่อนโยนในการดะอฺวะฮฺ
3.ความอดทนหลังจากที่ได้ปฏิบัติการดะอฺวะฮฺ
บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบี เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุม ได้ใช้วิธีการและแนวทางที่หลากหลายรูปแบบในการดะอฺวะฮฺ พวกเขาได้แบกรับภาระหน้าที่หลังจากท่านเราะสูลลุลลอฮฺ ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้จากไป พวกเขาได้ละทิ้งความสุขความต้องการส่วนตัว พวกเขาได้จากบ้านจากเมืองของตนเอง และทุ่มเททั้งกายและใจ รวมทั้งทรัพย์สินเงินทองและวันเวลาที่พวกเขามีอยู่เพื่อการเผยแผ่ศาสนาบนผืนแผ่นดิน
พวกเขาได้กลายเป็นผู้เผยแพร่ศาสนาของอัลลอฮฺอย่างเต็มตัว พวกเขาได้แบก لا إله إلا الله อย่างมีความรับผิดชอบเพื่อนำส่งถึงทุกบ้านทุกครัวเรือนทั่วทุกที่บนผืนแผ่นดิน ทางทิศเหนือจนถึงทิศใต้ และทิศตะวันออกจรดถึงตะวันตก คำปฏิญาณเอกภาพแห่งพระเจ้าดังกล่าวนี้ได้แผ่ขยายไปทั่วทุกสารทิศทั้งเหนือใต้ ตะวันออกและตะวันตก ทั้งในประเทศซีเรีย อีรัก อียิปต์ประเทศทางตอนเหนือของทวีปแอฟรีกา ประเทศรัสเซีย และประเทศใกล้เคียง และอื่นๆ
พวกเขาได้เปิดประเทศเหล่านี้ประเทศแล้วประเทศเล่า จนศาสนาอิสลามได้แผ่ขยายในประเทศดังกล่าว การศรัทธาหนึ่งเดียวในพระเจ้าได้เข้าไปแทนที่ในความเชื่อที่เป็นการตั้งภาคีต่อพระเจ้า การศรัทธาในอิสลามได้แทนที่การปฏิเสธศรัทธา จนต่อมาประเทศเหล่านี้มีอุละมาอ์และนักเผยแผ่เกิดขึ้นมากมาย มีผู้บำเพ็ญตนในการปฏิบัติศาสนกิจและผู้พึงประสงค์ในความเมตตาแห่งพระเจ้า มีบรรดาศอลิหีนและมุญาฮิดีน พวกเขาเหล่านี้ได้เกิดขึ้นมากมายในดินแดนเหล่านี้ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของมุสลิมทุกคน
พวกเขาเป็นอนุชนที่ประเสริฐยิ่ง เป็นกลุ่มชนที่เป็นรักของอัลลอฮฺ และพวกเขาก็รักในพระองค์ พวกเขาเหล่านี้เป็นกลุ่มชนที่สัตย์จริงในสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงให้สัญญากับพวกเขาไว้
อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า
(ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ) [التوبة / 100 ].
ความว่า : “บรรดาบรรพชนรุ่นแรกในหมู่อพยพ(ชาวมุฮาญิรีนจากมักกะฮฺ) และในหมู่ผู้ให้ความช่วยเหลือ (ชาวอันศอรฺจากมะดีนะฮฺ) และบรรดาผู้ดำเนินรอยตามพวกเขาด้วยการทำดีนั้นอัลลอฮฺทรงพอพระทัยในพวกเขา และพวกเขาก็พอใจในพระองค์ด้วย และพระองค์ทรงเตรียมไว้ให้พวกเขาแล้ว ซึ่งบรรดาสวนสวรรค์ที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอยู่เบื้องล่างพวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล นั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง ” (อัต-เตาบะฮฺ : 100)
การให้ความสำคัญในการทำงานเพื่อศาสนามากกว่าการทำงานเพื่อวัตถุแห่งโลกดุนยา
นบี ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม และบรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุม หลังจากที่ได้ทุ่มเทความอุตสาหะทั้งหลายทั้งปวงเพื่อการดะอฺวะฮฺมากกว่าการหาเลี้ยงชีพและความสุขความสบายในชีวิต ทำให้ทรัพย์สมบัติและสิ่งของต่างๆที่ใช้ในชีวิตส่วนตัวลดน้อยลง แต่ตรงกันข้ามสิ่งที่พวกเขาได้ทุ่มเททำให้พวกเขามีอิมานและการปฏิบัติในความดีได้เพิ่มขึ้น จรรยามารยาทที่ดีงามได้ปรากฏขึ้นเป็นรูปธรรมในชีวิตจริง และผลตามมาอีกเช่นกัน นั่นก็คือ ประเทศต่างๆได้ถูกเปิดขึ้นประเทศแล้วประเทศเล่า
มุสลิมส่วนใหญ่ในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการหาเลี้ยงชีพมากกว่าการทุ่มเทเพื่อการเชิญชวนหรือการดะอฺวะฮฺไปสู่อัลลอฮฺ จึงทำให้พวกเขามีทรัพย์สินเงินทองและปัจจัยมากมายก่ายกอง ตรงกันข้ามในส่วนของอิมานและการปฏิบัติความดีต่างๆได้ลดลงไปมาก จึงทำให้มุสลิมในยุคหลังมีสองสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาใหม่ หนึ่ง คือการใส่ใจในเรื่องของการสะสมทรัพย์สินเงินทอง ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติของบรรดาชาวยิว และ สอง การให้ความสำคัญในสิ่งที่ให้ความสุขแก่ชีวิตซึ่งเป็นเสมือนชาวคริสเตี้ยน
ศาสนาอิสลามจะยืนหยัดมั่นคงไม่มีวันสูญสลายจนถึงวันกิยามะฮฺ
ศาสนาอิสลามจะคงมีอยู่ต่อไปโดยไม่มีวันสูญสลายจนวันกิยามะฮฺ ซึ่งจะมีคนกลุ่มหนึ่งที่เป็นประชาชาติของท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่เสียสละและทุ่มเทเพื่อศาสนาของอัลลอฮฺจนกว่ากำหนดการของอัลลอฮฺจะมาถึง บุคคลกลุ่มนี้จะทำงานอย่างโจ่งแจ้งเปิดเผย พวกเขาคือ กลุ่มบุคคลที่ประสบความสำเร็จ ท่านมุอาวิยะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า
سمعت رسول الله يقول: «لا تَزَالُ طَائِفَةٌ مِنْ أُمَّتِي قَائِمَةً بأَمْرِ الله، لا يَضُرُّهُـمْ مَنْ خَذلَـهُـمْ أَوْ خَالَفَهُـمْ، حَتَّى يأْتِيَ أَمْرُ الله وَهُـمْ ظَاهِرُونَ عَلَى النَّاسِ».
ความว่า : “ฉันได้ยินท่านเราะสูลของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “ยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่เป็นประชาชาติของฉัน พวกเขาจะยืนหยัดในคำสั่งของอัลลอฮฺ ไม่มีผลกระทบใดๆแก่พวกเขาจากผู้ที่ดูหมิ่นดูแคลนและผู้ที่ต่อต้านพวกเขา จนกว่าบัญชาของอัลลอฮฺจะมาถึงในขณะที่พวกจะคงยืนหยัดเปิดเผย(ในหลักการของพวกเขา)แก่สายตาของผู้คนต่อไป (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 70 และมุสลิม หะดีษที่ 1037 สำนวนหะดีษเป็นของมุสลิม)
ประโยชน์ของการเชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺ
ใครที่ศรัทธาอย่างแน่วแน่มั่นคง ปฏิบัติศาสนกิจอยู่เป็นนิจ และเชิญชวนผู้คนไปสู่อัลลอฮฺ ผู้ที่ปฏิบัติอยู่เช่นนี้ อัลลอฮฺจะเทิดเกียรติพวกเขาด้วยสิ่งต่างๆ ที่สำคัญเช่น อัลลอฮฺจะให้อำนาจ แม้ว่าเขาก่อนหน้านี้ไม่มีสาเหตุใดๆที่ทำให้เขาได้รับอำนาจและเกียรติเช่นนี้ อาทิเช่น บิลาลและสัลมาน เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุมา และอัลลอฮฺจะทำให้การงานต่างๆในศาสนาที่เขาได้ปฏิบัติและได้เชิญชวนผู้คนไปสู่อัลลอฮฺเป็นที่รักของพระองค์
- อัลลอฮฺ ตะอาลา จะทำให้เขาเป็นที่รักในใจของผู้คน
- อัลลอฮฺ ตะอาลา จะขจัดความไม่ดีต่างๆที่อยู่รอบๆตัวเขา
- อัลลอฮฺ ตะอาลา จะช่วยเหลือด้วยอำนาจที่มองไม่เห็นจากพระองค์
- ดูอาของเขาจะถูกตอบรับ
- อัลลอฮฺ ตะอาลา จะให้ความเกรงขามแก่เขา
- อัลลอฮฺ ตะอาลา จะให้ผลบุญเท่ากับผลบุญของผู้ที่ดูอาแก่เขาและได้รับทางนำอันด้วยสาเหตุเพราะเขา
- อัลลอฮฺ ตะอาลา จะให้ขามีจุดยืนที่มั่นคงและชี้ทางนำหรือทางที่ถูกต้องงแก่เขา
1. อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า
(ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ) [فصلت / 33 ].
ความว่า : “และผู้ใดเล่าจะมีคำพูดที่ดีเลิศยิ่งไปกว่าผู้เชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺ และเขาปฏิบัติงานที่ดี และกล่าวว่า แท้จริงฉันเป็นคนหนึ่งในบรรดาผู้นอบน้อม” (ฟุศศิลัต : 33)
2.จากท่านอบีหุร็อยรอฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุได้กล่าวว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«مَنْ دَعَا إلَى هُدَىً، كَانَ لَـهُ مِنَ الأَجْرِ مِثْلُ أُجُورِ مَنْ تَبعَهُ، لا يَنْقُصُ ذلِكَ مِنْ أُجُورِهِـمْ شَيْئاً، وَمَنْ دَعَا إلَى ضَلالَةٍ، كَانَ عَلَيْـهِ مِنَ الإثمِ مِثْلُ آثَامِ مَنْ تَبعَهُ، لا يَنْقُصُ ذلِكَ مِنْ آثامِهِـمْ شَيْئاً».
ความว่า : “ผู้ใดเชิญชวนผู้อื่นไปสู่แนวทางที่ถูกต้อง เขาก็จะได้รับผลบุญเท่ากับผลบุญของผู้ปฏิบัติตามคำเชิญชวนของเขา โดยที่ผลบุญของเขาเหล่านั้นไม่ได้ขาดหายไปแต่ประการใด และผู้ใดที่เชิญชวนผู้อื่นสู่ทางหลงผิด เขาก็จะได้รับผลบาปเท่ากับผลบาปของผู้ปฏิบัติตามคำเชิญชวนของเขา โดยที่ผลบาปของเขาเหล่านั้นไม่ได้ขาดหายไปแต่ประการใด” บันทึกโดยมุสลิม [บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2674]
3. จากสะฮฺลฺ บิน สะอฺดฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวแก่อะลี บิน อะบีฏอลิบ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ในช่วงสงครามค็อยบัรฺว่า
«..انْفُذْ عَلَى رِسْلِكَ، حَتَّى تَنْزِلَ بسَاحَتِـهِـمْ، ثمَّ ادْعُهُـمْ إلَى الإسْلامِ، وَأَخْبرْهُـمْ بمَا يَـجبُ عَلَيْـهِـمْ مِنْ حَقِّ الله فِيهِ، فَوَالله لأَنْ يَـهْدِيَ الله بكَ رَجُلاً وَاحِداً خَيْرٌ لَكَ مِنْ أَنْ يَكُونَ لَكَ حُـمْرُ النَّعَمِ».
ความว่า : “ท่านจงเดินไปอย่างช้าๆ จนกว่าจะถึงหมู่บ้านของพวกเขา หลังจากนั้นเจ้าจงเชิญชวนพวกเขาสู่อิสลาม และจงอธิบายแก่พวกเขาถึงสิ่งที่เป็นวาญิบ(จำเป็น)เหนือพวกเขาในสิ่งที่เป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ฉันขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ หากอัลลอฮฺทรงประทานฮิดายะฮฺ(การชี้ทางนำ)แก่คนหนึ่งเนื่องจากการเชิญชวนของท่าน แน่นอนมันเป็นสิ่งประเสริฐยิ่งกว่า(การที่ท่านได้รับ)อูฐแดงเสียอีก” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 4210 และมุสลิม หะดีษที่ 2406 สำนวนหะดีษเป็นของมุสลิม)
การจำแนกกลุ่มของมนุษย์ตามการงานที่พวกเขาได้ปฏิบัติ
มนุษย์ตามการงานที่ตนเองปฏิบัติแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่หนึ่ง ผู้ที่ได้ทุ่มเทชีวิตทั้งหมดในการไขว่คว้าหาปัจจัยแห่งโลกดุนยาเพียงอย่างเดียว แล้วเมื่อได้ตายจากไปก็จะทิ้งทรัพย์สมบัติที่ได้สะสมมาอยู่เบื้องหลัง
กลุ่มที่สอง คือผู้คนที่ได้ทุ่มเทชีวิตในโลกนี้เพื่อชีวิตในโลกอะคีเราะฮฺ และเมื่อเขาได้เสียชีวิตไป เขาก็จะได้ในสิ่งที่เขาได้เคยไขว่คว้าหามาในโลกดุนยา เขาเหล่านั้นคือบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย
สำหรับผู้ที่ทุ่มเทชีวิตเพื่อโลกอะคีเราะฮฺสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน ดังนี้
1. ผู้ที่ทุ่มเทชีวิตเพื่อการปฏิบัติอิบาดะฮฺเพียงอย่างเดียว แล้วอิบาดะฮฺทุกอย่างจะสิ้นสุดลงเมื่อชีวิตของเขาได้ตายจากไป นอกจากสามประการ คือ หนึ่ง เศาะดาเกาะฮฺญาริยะฮฺ (ทานที่คุณาประโยชน์ของมันคงภาวร) สอง ความรู้ที่มีประโยชน์ และสาม บุตรที่ดีที่คอยดุอาให้แก่เขา(ในเมื่อยามที่เขาได้ตายจากไป)
2. ผู้ที่ทุ่มเทชีวิตเพื่อการอิบาดะฮฺและยังได้เชิญชวนผู้คนไปสู่อัลลอฮฺ พร้อมกับได้ทุ่มเทชีวิตทั้งหมดในการยกระดับศาสนาของอัลลอฮฺให้เจิดจรัส เขาได้ปฏิบัติเช่นนี้อยู่เรื่อยไป เหตุผลก็เพราะผู้ใดผู้หนึ่งที่ได้รับทางนำอันด้วยเหตุเพราะเขา เขาก็จะได้รับผลบุญเสมือนผลบุญของผู้ที่ได้ปฏิบัติตามคำเชิญชวนของเขาจนถึงวันที่โลกจะสูญสิ้นไป
อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า
( ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ ﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ ﯶ ﯷ ﯸ ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ ﰀ ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ) [التوبة / 19-22 ].
ความว่า : “พวกเจ้าได้ถือเอาการให้น้ำดื่ม แก่ผู้ประกอบการพิธีหัจญฺ และการบูรณะมัสยิดหะรอม ดั่งที่ผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันกิยามะฮฺ และต่อสู้ในทางของอัลลอฮฺงั้นหรือ เขาเหล่านั้นย่อมไม่เท่าเทียมกัน ณ อัลลอฮฺ และอัลลอฮนั้นจะไม่ทรงแนะนำกลุ่มชนที่เป็นผู้อธรรม(19) บรรดาผู้ที่ศรัทธาและอพยพและต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺทั้งด้วยทรัพย์สมบัติของพวกเขาและชีวิตของพวกเขานั้นย่อมเป็นผู้มีระดับชั้นยิ่งใหญ่กว่า ณ ที่อัลลอฮฺ และชนเหล่านี้พวกเขาคือผู้ที่มีชัยชนะ(20) พระเจ้าของพวกเขาทรงแจ้งข่าวดีแก่พวกเขาด้วยความกรุณาเมตตาจากพระองค์ และด้วยความปิติยินดี และบรรดาสวนสวรรค์ด้วย ซึ่งในสวนสวรรค์เหล่านั้น พวกเขาจะได้รับสิ่งอำนวยความสุขอันจีรังยั่งยืน(21) โดยที่พวกเขาจะพำนักอยู่ในสวนสวรรค์เหล่านั้นตลอดกาล แท้จริงอัลลอฮฺนั้น ณ ที่พระองค์มีรางวัลอันยิ่งใหญ่(22)” (อัต-เตาบะฮฺ : 19 - 22)