Description
คำถามต่างๆ ที่สำคัญในชีวิตมุสลิม รวบรวมคำถามบางข้อที่เกี่ยวข้องกับหลักศรัทธา และความเชื่อที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตของมุสลิม อาทิ คำถามเกี่ยวกับหลักการศรัทธาทั้งหกประการ ชิริกหรือการตั้งภาีคี สิ่งต่างๆ ที่มุสลิมต้องหลีกเลี่ยง และอื่นๆ คัดจากหนังสือตัฟซีร อัลอุชริล อะีคีร ของเว็บไซต์ www.tafseer.info
คำแปลภาษาอื่นๆ 2
คำถามต่างๆ ที่สำคัญในชีวิตของมุสลิม
﴿أسئلة مهمة في حياة المسلم﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [
สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลามเมืองอุตสาหกรรมเก่า กรุงริยาด
แปลโดย : อับดุลวาฮิด (อำนวย) แอนิ่ม
ผู้ตรวจทาน : ทีมงานภาษาไทยเว็บอิสลามเฮ้าส์
ที่มา : หนังสือตัฟซีร อัล-อุชริล อะคีรฺ
2010 - 1431
﴿أسئلة مهمة في حياة المسلم﴾
« باللغة التايلاندية »
المكتب التعاوني للدعوة وتوعية الجاليات بالصناعية القديمة في مدينة الرياض
ترجمة: عبدالواحد بن رقيب (أمنوي إينيم)
مراجعة: فريق اللغة التايلاندية بموقع دار الإسلام
المصدر: كتاب تفسير العشر الأخير
2010 - 1431
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
คำถามต่างๆ ที่สำคัญในชีวิตของมุสลิม
1. มุสลิมจะนำเอาอะกีดะฮฺของเขามาจากไหน ? เขาจะต้องเอาอะกีดะฮฺนั้นมาจากคัมภีร์ของพระองค์อัลลอฮฺ และจากรายงานที่ถูกต้องของท่านนบีของพระองค์ e ซึ่งท่านไม่เคยพูดมาจากอารมณ์ของท่าน ดังที่พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า:
ﭽﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤﭼ
ความว่า: “สิ่ง(ที่ท่านนบีพูด)นั้น มิใช่อื่นใดนอกจากเป็นวะฮียฺที่ถูกประทานลงมา" (อัน-นัจญ์มฺ 4)
โดยการใช้ดังกล่าวนั้นจะต้องสอดคล้องกับความเข้าใจของเศาะหาบะฮฺและชาวสะลัฟผู้ทรงคุณธรรมทั้งหลาย y
2. เมื่อเราขัดแย้งกัน เราจะกลับไปหาสิ่งใดเพื่อใช้ตัดสิน ? เราต้องกลับไปหาบทบัญญัติอันบริสุทธิ์ และตัดสินกันด้วยการกลับไปสู่คัมภีร์ของพระองค์อัลลอฮฺ และสุนนะฮฺหรือแนวทางของรอซูลของพระองค์ e โดยที่พระองค์อัลลอฮฺ ﷻ ได้ตรัสไว้ว่า:
ﭽ ﰀ ﰁ ﰂ ﰃ ﰄ ﰅ ﰆ ﰇﭼ
ความว่า: “หากว่าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั้นกลับไปยังอัลลอฮฺและรอซูล" (อัน-นิสาอ์ 59)
และท่านนบีได้กล่าวไว้ว่า:
«تَرَكْتُ فِيكُمْ أَمْرَيْنِ لَنْ تَضِلُّوا مَا تَمَسَّكْتُمْ بِهِمَا كِتَابَ اللَّـهِ وَسُنَّةَ نَبِيِّهِ»
ความว่า: “ฉันได้ทิ้งไว้ให้แก่พวกเจ้าสองอย่าง ซึ่งพวกเจ้าจะไม่หลงผิดหากพวกเจ้ายึดมันไว้ ทั้งสองนั้นก็คือ คัมภีร์ของอัลลอฮฺ และแนวทางของนบีของพระองค์" (อัล-มุวัฎเฏาะอ์ ของอิมามมาลิก)
3. ใครคือกลุ่มที่ปลอดภัยในวันกิยามะฮฺ ? ท่านรอซูล e ได้กล่าวว่า:
« وَتَفْتَرِقُ أُمَّتِي عَلىَ ثَلاَثٍ وَسَبْعِيْنَ مِلَّةً كُلُّـهُمْ فِي النَّارِ إِلاَّ مِلَّةً وَاحِدَةً، قَالُوا: وَمَنْ هِيَ يَا رَسُولَ اللَّـهِ؟ قاَلَ: مَا أَنَا عَلَيْهِ وَأَصْحَابِي»
ความว่า: “ประชาชาติของฉันนั้นแตกออกเป็น 73 จำพวก ทุกจำพวกนั้นอยู่ในไฟนรก ยกเว้นแต่จำพวกเดียวเท่านั้น พวกเขา (บรรดาสาวก)ได้กล่าวว่า จำพวกไหนเล่า โอ้ท่านรอซูล e ? ท่านรอซูลกล่าวว่า ผู้ที่ดำเนินบนแนวทางของฉันและบรรดาสาวกของฉัน" (อะหมัด)
ดังนั้น สัจธรรมความจริงคือสิ่งที่ท่านนบี e และบรรดาสาวกของท่านเคยปฏิบัติ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ท่านต้องปฏิบัติตามสุนนะฮฺ และท่านจงระวังการอุตริกรรม ถ้าหากท่านต้องการความรอดพ้นและเพื่อให้กิจการงานทั้งหลายถูกตอบรับ
4. อะไรคือเงื่อนไขต่างๆ ของการตอบรับการงานที่ดี ? เงื่อนไขต่างๆ ของมันก็คือ 1) การศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และการให้เอกภาพต่อพระองค์ ดังนั้นการงานจะไม่ถูกตอบรับจากผู้ที่ตั้งภาคี 2) ความอิคลาศบริสุทธิ์ใจ คือการทำเพราะปรารถนาความพอพระทัยของพระองค์ 3) การปฏิบัติตามท่านนบี e คือต้องทำให้สอดคล้องกับสิ่งที่ท่านนบีนำมา ดังนั้นเขาอย่าได้เคารพภักดีต่ออัลลอฮฺเว้นแต่ด้วยกับสิ่งที่ท่านนบีบัญญัติไว้ หากเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดขาดไปการงานนั้นจะถูกปฏิเสธ ดังที่พระองค์อัลลอฮฺ ﷻ ได้ตรัสว่า:
ﭽﭲ ﭳﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺﭼ
ความว่า: “และเรามุ่งสู่ส่วนหนึ่งของการงานที่พวกเขา(พวกที่ไม่ศรัทธา)ได้ปฏิบัติไป แล้วเราจะทำให้มันไร้คุณค่ากลายเป็นละอองฝุ่นที่ปลิวว่อน" (อัล-ฟุรกอน 23)
5. ลำดับต่างๆ ของการยึดมั่นในศาสนามีกี่ลำดับ ? มีสามลำดับ 1) อัล-อิสลาม (การยอมจำนน) 2) อัล-อีมาน (การศรัทธา) 3) อัล-อิหฺสาน (การทำอย่างดีเลิศ)
6. อัล-อิสลามคืออะไร ? และรุก่นหรือหลักการอิสลามมีเท่าใด ? อิสลามคือ การยอมจำนนต่อพระองค์อัลลอฮฺด้วยการเชื่อมั่นศรัทธาต่อเอกภาพของพระองค์ และการปฏิบัติตามพระองค์ด้วยการเชื่อฟัง และการปลีกตัวให้พ้นจากการตั้งภาคีและผู้ตั้งภาคี รุก่นหรือหลักการต่างๆ ของอิสลามนั้นมีห้าประการ ดังที่ท่านนบี e ได้กล่าวไว้ในวจนะของท่านที่ว่า:
« بُنِيَ الْإِسْلَامُ عَلَى خَمْسٍ شَهَادَةِ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّـهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا وَرَسُولُ اللَّـهِ وَإِقَامِ الصَّلَاةِ وَإِيتَاءِ الزَّكَاةِ وَحَجِّ الْبَيْتِ وَصَوْمِ رَمَضَانَ»
ความว่า: "อิสลามนั้นถูกสร้างมาบนหลักห้าประการคือ การปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และแท้จริงมุหัมมัดคือรอซูลของอัลลอฮฺ การดำรงไว้ซึ่งการละหมาด, การจ่ายซะกาต, การประกอบพิธีหัจญ์ และการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน" (มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ)
7. อัลอีมาน(หลักการศรัทธา) คืออะไร? อีมานคือ การยึดมั่นด้วยหัวใจ การกล่าวด้วยลิ้น และการกระทำด้วยอวัยวะทางกาย อีมานเพิ่มด้วยการเชื่อฟังอัลลอฮฺและลดลงได้ด้วยการฝ่าฝืนพระองค์ ดังที่พระองค์อัลลอฮฺ ﷻ ได้ตรัสไว้ว่า:
ﭽﭳ ﭴ ﭵ ﭶﭼ
ความว่า: "เพื่อพวกเขาจะได้เพิ่มพูนการศรัทธาพร้อมๆ กับการศรัทธาที่มีอยู่แล้วของพวกเขา " (อัล-ฟัตหฺ 4)
และท่านรอซูล e ได้กล่าวว่า:
« الإِيمَانُ بِضْعٌ سَبْعُونَ شُعْبَةً فَأَفْضَلُهَا قَوْلُ لا إِلَهَ إِلاّ اللَّـهُ أَدْنَاهَا إِمَاطَةُ الأَذَى عَنْ الطَّرِيقِ وَالـْحَيَاءُ شُعْبَةٌ مِنْ الإِيمَانِ»
ความว่า "อีมานหรือการศรัทธานั้น มีเจ็ดสิบกว่าแขนง ที่ประเสริฐที่สุดคือการกล่าว ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ และขั้นต่ำสุดของมันก็คือการขจัดสิ่งที่เป็นอันตรายออกจากถนนหนทาง และความละอายคือส่วนหนึ่งของการศรัทธาเช่นเดียวกัน" (มุสลิม)
และมันถูกย้ำให้ชัดยิ่งขึ้นด้วยสิ่งที่มุสลิมได้สังเกตดูตัวของเขาเองจากความกระฉับกระเฉงในการทำความดีต่างๆ เมื่อถึงช่วงเวลาต่างๆ ที่ดี และการเพิกเฉยต่อการทำความดีขณะที่เขากระทำการฝ่าฝืนด้วยมะอฺศิยัตต่างๆ ต่ออัลลอฮฺ อัลลอฮฺ ﷻ ได้ตรัสว่า:
ﭽ ﮱ ﯓﯔ ﯕﭼ
ความว่า:"แท้จริงความดีทั้งหลายย่อมลบล้างความชั่วทั้งหลาย" (ฮูด 114)
รุก่นหรือหลักการของอีมานนั้นมีหกประการ ดังที่ท่านนบี e ได้บอกเอาไว้ในคำพูดของท่านที่ว่า:
«أَنْ تُؤْمِنَ بِاللَّـهِ، وَمَلَائِكَتِهِ، وَكُتُبِهِ، وَرُسُلِهِ، وَالْيَوْمِ الْآخِرِ، وَالْقَدَرِ خَيْرِهِ وَشَرِّه »
ความว่า: "ท่านจะต้องศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ศรัทธาต่อมะลาอิกะฮฺ ศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์ของพระองค์ ศรัทธาต่อวันอาคิเราะฮฺ และศรัทธาต่อกฎสภาวการณ์ทั้งดีและชั่ว" (อัล-บุคอรีย์)
8. อะไรคือความหมายของ ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ ? คือการปฏิเสธสิทธิอันคู่ควรในการเคารพภักดีอื่นจากพระองค์อัลลอฮฺ และการยืนยันสิทธิการเคารพอิบาดะฮฺดังกล่าวสำหรับอัลลอฮฺพระองค์เดียวเท่านั้น
9. อัลลอฮฺอยู่กับเราหรือไม่ ? ใช่ อัลลอฮฺ ﷻ อยู่กับเราด้วยกับความรอบรู้ของพระองค์ ด้วยกับการได้ยินของพระองค์ การมองเห็นของพระองค์ และการห้อมล้อมของพระองค์ และความสามารถของพระองค์ และด้วยกับพระประสงค์ของพระองค์ และส่วนซาตของพระองค์นั้น จะไม่ปะปนหลอมรวมกับซาตของมัคลูกที่ถูกสร้างทั้งหลาย และไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากสิ่งถูกสร้างที่อาจจะห้อมล้อมพระองค์ไว้
10. สามารถที่จะมองเห็นพระองค์อัลลอฮฺ ﷻ ด้วยตาได้หรือไม่ ? บรรดามุสลิมได้มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺจะไม่ถูกมองเห็นในโลกดุนยา และแท้จริงบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายจะมองเห็นพระองค์อัลลอฮฺในวันอาคิเราะฮฺในทุ่งมะห์ชัรและในสวรรค์ ดังคำดำรัสของพระองค์ ﷻ ว่า:
ﭽ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟﭼ
ความว่า: "ในวันนั้น หลายๆ ใบหน้าจะเบิกบาน และได้จ้องมองไปยังพระเจ้าของมัน " (อัล-กิยามะฮฺ 22-23)
11. อะไรคือประโยชน์ของการรู้จักพระนามต่างๆ ของพระองค์อัลลอฮฺ และคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์ ? แท้จริง สิ่งแรกของบทบัญญัติที่อัลลอฮฺทรงบัญญัติเหนือบ่าวของพระองค์นั้นก็คือการต้องรู้จักพระองค์ ดังนั้นในเมื่อมนุษย์รู้จักพระองค์แล้วพวกเขาก็จะเคารพภักดีต่อพระองค์ด้วยการเคารพภักดีที่ถูกต้องอย่างแท้จริง ดังคำดำรัสของพระองค์ I ว่า:
ﭽﰊ ﰋ ﰌ ﰍ ﰎ ﰏ ﰐ ﰑﭼ
ความว่า: "ดังนั้น พึงรู้เถิดว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด (ที่ถูกกราบไหว้โดยเที่ยงแท้) นอกจากอัลลอฮฺ และจงขออภัยโทษต่อความผิดของตัวเจ้า" (มุหัมมัด 19)
ดังนั้น การรำลึกถึงอัลลอฮฺต่อความเมตตาอันกว้างขวางของพระองค์นั้นจะนำไปสู่การหวังต่อพระองค์ และการรำลึกถึงอัลลอฮฺต่อการลงโทษอันรุนแรงของพระองค์นั้นนำไปสู่ภาวะการ
ยำเกรงต่อพระองค์ และการรำลึกถึงอัลลอฮฺต่อความเป็นเอกะหนึ่งเดียวในการประทานให้ของพระองค์จะนำไปสู่การขอบคุณของพระองค์
และความหมายที่ว่าต้องเคารพอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺด้วยกับพระนามและคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์นั้นก็คือ: การค้นหาความรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับมัน และมีความเข้าใจในความหมายต่างๆ ของมัน และปฏิบัติตามนัยต่างๆ ของมันอย่างถูกต้อง ดังนั้น ในจำนวนพระนามและคุณลักษณะต่างๆ ของอัลลอฮฺนั้น มีบางประเภทที่บ่าวจะได้รับการยกย่องถ้าหากเขามีคุณลักษณะเช่นเดียวกับมัน เช่น คุณลักษณะของความรู้ ความเมตตา และความยุติธรรม
และอีกส่วนหนึ่งของพระนามและคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์นั้น ถ้าบ่าวอาจเอื้อมจะเลียนแบบพระองค์เขาก็จะได้รับการตำหนิและถูกพิโรธ เช่น ลักษณะความเป็นพระเจ้าที่ถูกเคารพสักการะ ความทรนง และความโอ้อวด และสำหรับบ่าวนั้นเมีคุณลักษณะต่างๆ ที่ถูกสรรเสริญและถูกสั่งใช้ให้เขามีคุณลักษณะเช่นนั้นในตัวเขา เช่น ลักษณะการเป็นบ่าว การพึ่งพิง การนอบน้อมด้วยความต่ำต้อย การวอนขอ และอื่นๆ เป็นต้น แต่ห้ามใช้ประการต่างๆ เหล่านี้อธิบายถึงคุณลักษณะของพระผู้อภิบาล ﷻ
และผู้ที่เป็นที่รักยิ่ง ณ ที่พระองค์อัลลอฮฺนั้น คือผู้ที่มีคุณลักษณะต่างๆ ซึ่งพระองค์ทรงรักมัน และบ่าวที่ถูกกริ้วที่สุด ณ ที่พระองค์อัลลอฮฺ คือผู้มีคุณลักษณะต่างๆ ซึ่งพระองค์ทรงรังเกียจมัน
12. พระนามต่างๆ ที่งดงามของอัลลอฮฺคืออะไร ? พระองค์อัลลอฮฺ Y ได้ตรัสไว้ว่า:
ﭽ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷﭼ
ความว่า: "และอัลลอฮฺนั้นมีบรรดาพระนามอันสวยงาม ดังนั้นพวกเจ้าจงเรียกหา(วิงวอนขอความช่วยเหลือ)พระองค์ด้วยพระนามเหล่านั้นเถิด" (อัล-อะอฺรอฟ 180)
และโดยแน่แท้ ได้รับการยืนยันจากท่านรอซูลุลลอฮฺ e ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า:
«إِنَّ لِلَّـهَ تِسْعَةً وَتِسْعِينَ اسْمًا مِائَةً إِلَّا وَاحِدًا، مَنْ أَحْصَاهَا، دَخَلَ الـْجَنَّةَ»
ความว่า: "แท้จริงอัลลอฮฺนั้นมีเก้าสิบเก้าพระนาม คือหนึ่งร้อยเว้นแต่หนึ่งเท่านั้น ใครก็ตามนับมันครบเขาจะได้เข้าสวรรค์" (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ)
และการนับมันก็คือ
1) การนับถ้อยคำต่างๆ ของมันและจำนวนของมัน
2) เข้าใจความหมายของมัน รวมถึงข้อบ่งชี้ของมัน และศรัทธาต่อมัน ดังนั้น เมื่อบ่าวกล่าวเอ่ยถึงพระนาม อัล-หะกีม (الحكيم) ซึ่งมีความหมายว่าพระองค์นั้นทรงปรีชาญาณ เขาก็ต้องยอมจำนนต่อคำสั่งใช้ทั้งหมดของอัลลอฮฺ เพราะแท้จริงคำสั่งใช้ทั้งหมดของพระองค์นั้นเป็นไปตามเหตุผลอันปรีชาของพระองค์ และเมื่อเขาเอ่ยพระนาม อัล-กุดดูส (القدوس) ซึ่งมีความหมายว่าพระองค์นั้นทรงบริสุทธิ์ เขาจะระลึกได้ว่าพระองค์อัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ที่บริสุทธิ์จากความบกพร่องและความไม่สมบูรณ์ทั้งปวง
3) การวิงวอนขอต่อพระองค์อัลลอฮฺด้วยพระนามต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งมีสองชนิด: ก) ดุอาอ์ในรูปของการสรรเสริญและอิบาดะฮฺ ข) ดุอาอ์ในรูปของการวิงวอนและร้องขอ และใครก็ตามที่ได้ติดตามโองการต่างๆ ในอัลกุรอาน และติดตามจากสุนนะฮฺที่ถูกต้อง เขาก็จะสามารถที่จะรวมรวมพระนามต่างๆ ได้ดังนี้:
พระนาม | ความหมาย |
الله (อัลลอฮฺ) | คือ ผู้ทรงครอบครองสิทธิแห่งการเป็นพระเจ้าที่คู่ควรแก่การกราบไหว้และการมอบตนเป็นบ่าวแด่พระองค์ เหนือสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งมวล พระองค์คือพระผู้เป็นเจ้าที่ต้องให้ความจงรักภักดี เทิดทูนสรรเสริญ นอบน้อมถ่อมตน และก้มกราบ การอิบาดะฮฺทุกชนิดต้องทำเพื่อมอบหมายแด่พระองค์เท่านั้น |
الرحمن (อัรเราะหฺมาน) | คือ พระนามที่ชี้ถึงพระองค์ผู้ทรงมีความกรุณาเมตตาอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมสิ่งถูกสร้างทุกอย่างทั้งมวล และเป็นพระนามที่เจาะจงเฉพาะอัลลอฮฺตะอาลา และไม่อนุญาตให้ใช้กับสิ่งอื่นนอกจากพระองค์ |
الرحيم (อัรเราะหีม) | คือ พระองค์เป็นผู้ที่มีความกรุณาปรานี ผู้อภัยโทษต่อบรรดามุอ์มินทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ ซึ่งโดยแน่แท้ พระองค์ได้ทรงชี้นำพวกเขาสู่การเคารพภักดีต่อพระองค์ และจะทรงยกย่องพวกเขาให้เกียรติพวกเขาในวันอาคิเราะฮฺด้วยสรวงสวรรค์ของพระองค์ |
العفو (อัลอะฟุวว์) | คือ พระองค์เป็นผู้ที่ลบความผิดบาปและยกโทษให้ และไม่ทรงลงโทษบ่าวแม้ว่าการลงโทษนั้นคู่ควรแก่บ่าวแล้วก็ตาม |
الغفور (อัลเฆาะฟูรฺ) | คือ พระองค์เป็นผู้ที่ปกปิดความผิดบาปของผู้กระทำบาป และพระองค์ไม่ประจานเขา และไม่ลงโทษเขา |
الغفار (อัลฆอฟฟารฺ) | คือ พระนามที่ชี้ถึงความมากมายซึ่งการอภัยโทษของอัลลอฮฺที่มีต่อบ่าวของพระองค์ที่กระทำผิดและขอการอภัยโทษ |
الرؤوف (อัรเราะอูฟ) | คือ มาจากคำว่า الرأفة (อัรเราะอ์ฟะฮฺ) หมายถึง ความเมตตากรุณาอย่างล้นหลาม และความเมตากรุณาอย่างถึงที่สุด และมันครอบคลุมสิ่งที่ถูกสร้างทุกอย่างในดุนยา และเฉพาะกับบางคนในหมู่พวกเขาในอาคิเราะฮฺ นั่นคือบรรดาผู้ศรัทธาอันเป็นที่รักของพระองค์ |
الحليم (อัลหะลีม) | คือ พระองค์เป็นผู้ที่ไม่รีบเร่งในการลงโทษต่อบ่าว ทั้งๆที่พระองค์นั้นมีความสามารถที่จะลงโทษพวกเขา แต่ทว่าพระองค์ทรงยกโทษให้แก่พวกเขา และอภัยโทษให้แก่พวกเขาเมื่อพวกเขาขอการอภัยโทษต่อพระองค์ |
التواب (อัตเตาวาบ) | คือ พระองค์เป็นผู้ทรงชี้ทางการกลับเนื้อกลับตัวให้แก่บุคคลที่พระองค์ทรงประสงค์จากหมู่บ่าวของพระองค์ และทรงตอบรับการกลับเนื้อกลับตัวจากพวกเขา |
السِّـتِّـير (อัสสิตตีร) | คือ พระองค์เป็นผู้ที่ปกปิดบ่าวของพระองค์ ดังนั้นพระองค์จะไม่ประจานความผิดของเขาต่อหน้ามัคลูกทั้งหลายของพระองค์ และพระองค์คือผู้ที่ชอบให้บ่าวปกปิดความผิดของตัวของเขาเองและความผิดของคนอื่นๆ และปกปิดอวัยวะพึงสงวนของเขาเช่นเดียวกันด้วย |
الغني (อัลเฆาะนีย์) | คือพระองค์เป็นผู้ที่ไม่ต้องพึ่งใครจากสิ่งถูกสร้างทั้งหลายโดยเด็ดขาด เพราะความสมบูรณ์แบบของพระองค์อันเป็นที่สุดแล้วและด้วยคุณลักษณะที่สมบูรณ์ทั้งหลายของพระองค์ และสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหลายต่างก็ต้องการพึ่งพระองค์ และมีความต้องการที่จะพึ่งต่อความโปรดปรานของพระองค์และความช่วยเหลือของพระองค์ |
الكريم (อัลกะรีม) | คือ ผู้ที่ทรงมีความดีและการประทานให้อย่างมากมายมหาศาล พระองค์ทรงให้สิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์แก่บุคคลที่พระองค์ทรงประสงค์ และด้วยวิธีการตามที่พระองค์ทรงประสงค์ ไม่ว่ากับบุคคลที่วอนขอหรือบุคคลที่ไม่วอนขอ และทรงอภัยโทษต่อความผิดบาปทั้งหลาย และปกปิดข้อตำหนิทั้งหลาย |
الأكرم (อัลอักร็อม) | คือพระองค์เป็นผู้ที่บรรลุสุดยอดแห่งความกรุณา ไม่มีผู้ใดที่เสมอเหมือนพระองค์ในเรื่องดังกล่าวนั้นโดยเด็ดขาด ดังนั้นความดีทั้งหลายมาจากพระองค์ และพระองค์ให้รางวัลต่อบรรดามุอ์มินีนผู้ศรัทธาด้วยกับความประเสริฐของพระองค์ และพระองค์ประวิงเวลาให้กับบรรดาผู้ที่ฝ่าฝืนและคิดบัญชีพวกเขาด้วยความเป็นธรรมของพระองค์ |
الوهاب (อัลวะฮฺฮาบ) | คือพระองค์เป็นผู้ที่มากด้วยการให้ปัจจัยและคุณค่าต่างๆ โดยไม่หวังการตอบแทนชดเชย และทรงให้โดยไม่ได้มุ่งหวังเป้าหมายใดๆ และทรงให้ความโปรดปรานโดยไม่ต้องขอ |
الجواد (อัลญะวาด) | คือพระองค์เป็นผู้ที่มากด้วยการให้ของขวัญและความโปรดปรานต่อมัคลูกสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย และต่อบรรดามุอ์มินีนผู้ศรัทธาต่อพระองค์ด้วยความเอื้ออารีและความประเสริฐของพระองค์ด้วยการให้ในส่วนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด |
الودود (อัลวะดูด) | คือพระองค์เป็นผู้ที่รักบรรดาวะลีย์ผู้ใกล้ชิดอันเป็นที่รักของพระองค์ และแสดงความรักต่อพวกเขาด้วยการอภัยโทษให้และด้วยการให้ความโปรดปราน ดังนั้นพระองค์จะทรงพอใจต่อพวกเขา และตอบรับการงานทั้งหลายของพวกเขา และทรงทำให้มีการยอมรับพวกเขาในแผ่นดินนี้ |
المعطي (อัลมุอฺฏีย์) | คือพระองค์เป็นผู้ที่ให้แก่บุคคลที่พระองค์ประสงค์จากสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหลายของพระองค์ ซึ่งสิ่งที่พระองค์ต้องการจากบรรดาคลังของพระองค์ และสำหรับบรรดาวะลีย์ผู้ใกล้ชิดพระองค์นั้นจะได้รับส่วนที่เต็มเปี่ยมจากการประทานของพระองค์ และพระองค์เป็นผู้ทรงมอบการสร้างสรรค์และรูปร่างแก่มัคลูกสิ่งถูกสร้างทั้งหมดของพระองค์ |
الواسع (อัลวาสิอฺ) | คือพระองค์เป็นผู้ที่มีคุณลัษณะต่างๆ ที่กว้างขวาง ดังนั้นไม่มีคนหนึ่งคนใดสามารถจะนับการสรรเสริญต่อพระองค์ให้ครบได้ และเป็นผู้ที่กว้างขวางในการปกครองและอำนาจ และกว้างขวางในการอภัยโทษและเมตตา และมีความประเสริฐและมีความดีงามอันกว้างขวาง |
المحسن (อัลมุหฺสิน) | คือพระองค์เป็นผู้ที่มีความดีงามที่สมบูรณ์ในตัวของพระองค์เอง และในพระนามต่างๆ ของพระองค์ และในคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์ และในการกระทำต่างๆ ของพระองค์ และพระองค์คือผู้ที่ทรงสร้างทุกๆ สิ่ง อย่างดียิ่ง และพระองค์เป็นผู้ทรงทำดีต่อมัคลูกสิ่งถูกสร้างทั้งหมดของพระองค์ |
الرازق (อัรฺรอซิก) | คือพระองค์เป็นผู้ที่ให้ปัจจัยยังชีพแก่สิ่งถูกสร้างทั้งหลาย และกำหนดปัจจัยยังชีพต่างๆ ของพวกเขาก่อนการสร้างจักรวาล และรับประกันจะทรงให้อย่างครบสมบูรณ์ตามจำนวนของมัน แม้ว่าเวลาจะยาวนานแค่ไหนก็ตาม |
الرزاق (อัรฺรอซซากฺ) | คือ พระนามที่ชี้ถึงพระองค์ผู้ทรงให้ปัจจัยยังชีพอย่างมากมายแก่สรรพสิ่งทั้งหลาย ดังนั้นพระองค์คือผู้ซึ่งให้ปัจจัยยังชีพแก่พวกเขาก่อนที่พวกเขาจะวิงวอนขอต่อพระองค์ ถึงแม้ว่าพวกเขากระทำสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืนต่อพระองค์ พระองค์ก็ยังประทานปัจจัยยังชีพให้แก่พวกเขา |
اللطيف (อัลละฏีฟ) | คือพระองค์เป็นผู้ที่รอบรู้ยิ่งต่อทุกๆ ความละเอียดอ่อนของกิจการงานทั้งหลาย ดังนั้นไม่มีสิ่งใดที่ซ่อนเร้นต่อพระองค์ได้ และพระองค์ทรงนำพาสิ่งที่ดีและคุณประโยชน์แก่บ่าวของพระองค์แบบลับๆ โดยที่พวกเขาไม่เคยคาดคิดมาก่อนเลย |
الخبير (อัลเคาะบีร) | คือพระองค์เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ครอบคลุมและห้อมล้อมทุกสิ่งที่เป็นความลับปกปิดและสิ่งที่ซ่อนเร้นทั้งหลาย เช่นเดียวกับที่ได้ครอบคลุมทุกสิ่งที่เปิดเผยทั้งหลาย |
الفتاح (อัลฟัตตาหฺ) | คือพระองค์เป็นผู้ที่เปิดขุมคลังแห่งการครองครอง ความเมตตา ริซกี และปัจจัยยังชีพต่างๆ ของพระองค์ ตามที่ทรงประสงค์ บนพื้นฐานของวิทยปรีชาญาณและความรอบรู้ของพระองค์ |
العليم (อัลอะลีม) | คือพระองค์เป็นผู้ทรงมีความรอบรู้ที่ครอบคลุมสิ่งที่เปิดเผยและสิ่งที่ซ่อนเร้นทั้งหลาย สิ่งที่ปกปิดและสิ่งที่ชัดแจ้ง อดีตที่ผ่านมา ปัจจุบัน และอนาคต ดังนั้น ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากสิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะซ่อนเร้นจากพระองค์ได้ |
البَرُّ (อัลบัรฺ) | คือพระองค์เป็นผู้ที่กว้างขวางในการทำดีของพระองค์ที่มีต่อมัคลูกสิ่งถูกสร้างทั้งปวงของพระองค์ พระองค์ให้โดยที่ไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดสามารถคิดคำนวนความโปรดปรานของพระองค์หรือนับมันให้ครบถ้วนได้ และพระองค์คือผู้สัจจริงในสัญญาของพระองค์ซึ่งพระองค์จะอภัยโทษให้แก่บ่าวของพระองค์ ช่วยเหลือเขา และดูแลปกป้องเขา และพระองค์จะทรงตอบรับการงานที่น้อยนิดจากเขา แล้วพระองค์จะทรงทำให้มันเพิ่มพูนอย่างมากมายแก่เขา |
الحكيم (อัลหะกีม) | คือพระองค์เป็นผู้ที่ทรงจัดวางทุกสิ่งทุกอย่างในที่ที่สมควรอยู่และเหมาะสมที่สุดสำหรับมัน และการจัดการบริหารของพระองค์นั้นไม่มีข้อบกพร่องและข้อผิดพลาดใดๆ ทั้งสิ้น |
الحكم (อัลหะกัม) | คือพระองค์เป็นผู้ที่ตัดสินชี้ขาดระหว่างสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหลายด้วยความเป็นธรรม ดังนั้นพระองค์ไม่อธรรมต่อผู้หนึ่งผู้ใดจากหมู่พวกเขา และพระองค์ได้ประทานคัมภีร์อันทรงเกียรติของพระองค์มาเพื่อเป็นข้อชี้ขาดตัดสินระหว่างมนุษย์ทั้งปวง |
الشاكر (อัชชากิรฺ) | คือพระองค์เป็นผู้ทรงยกย่องผู้ที่เคารพภักดีต่อพระองค์และให้การสรรเสริญแก่เขา และเป็นผู้ตอบแทนความดีต่อการงานหนึ่งถึงแม้ว่าเป็นงานที่น้อยนิดก็ตาม และตอบรับการขอบคุณของบ่าวต่อความโปรดปรานทั้งหลายของพระองค์ด้วยการเพิ่มพูนมันในโลกดุนยา และให้รางวัลตอบแทนในอาคิเราะฮฺ |
الشكور (อัชชะกูรฺ) | คืองานที่น้อยนิดของบ่าวจะเพิ่มขึ้น ณ ที่พระองค์ และจะทรงทวีคูณผลตอบแทนให้สำหรับพวกเขา ดังนั้นการขอบคุณของพระองค์ต่อบ่าวนั้น ก็คือการที่ทรงทำให้เขายืนหยัดอย่างมั่นคงด้วยการขอบคุณต่อพระองค์สม่ำเสมอ และการตอบรับการทำความดีของเขา |
الجميل (อัลญะมีล) | คือพระองค์เป็นผู้ที่มีความงดงามในตัวของพระองค์เอง และในพระนามต่างๆ ของพระองค์ และคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์ และการกระทำต่างๆ ของพระองค์ เป็นความงดงามอย่างแท้จริงโดยสัมบูรณ์ และความงดงามทุกอย่างในสิ่งถูกสร้างทั้งปวงของพระองค์นั้นล้วนมาจากพระองค์ |
المجيد (อัลมะญีด) | คือพระองค์เป็นผู้ที่ทรงไว้ซึ่งความสูงศักดิ์ ความใจบุญ ความเกรียงไกร และความสูงส่ง ในชั้นฟ้าทั้งหลายและผืนแผ่นดิน |
الولي (อัลวะลีย์) | คือพระองค์เป็นผู้ที่ดำเนินการบริหารการงานของมัคลูกสิ่งถูกสร้างทั้งหลายของพระองค์ และทรงจัดการบริหารอำนาจของพระองค์ และพระองค์คือผู้ให้การสนับสนุน ให้การช่วยเหลือต่อบรรดาผู้ใกล้ชิดของพระองค์ |
الحميد (อัลหะมีด) | คือพระองค์เป็นผู้ที่ได้รับการสรรเสริญต่อพระนามต่างๆ ของพระองค์ และคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์ และการกระทำต่างๆ ของพระองค์ และพระองค์คือผู้ที่ถูกสรรเสริญทั้งในยามสุขสบายและในยามเดือดร้อน และทั้งในยามเคราะห์ร้ายและในยามผาสุก และพระองค์เป็นผู้ที่ควรแก่การสรรเสริญและการยกย่องอย่างแท้จริง เพราะแท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงยิ่งด้วยคุณลักษณะที่สมบูรณ์ทุกประการ |
المولى (อัลเมาลา) | คือพระองค์เป็นผู้อภิบาล เป็นผู้ครอบครอง เป็นผู้ปกครอง และเป็นผู้คอยให้การสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือต่อบรรดาวะลีย์ผู้ใกล้ชิดของพระองค์ |
النصير (อันนะศีรฺ) | คือพระองค์เป็นผู้คอยให้การสนับสนุนด้วยการช่วยเหลือของพระองค์แก่บุคคลที่พระองค์ประสงค์ ดังนั้นสำหรับผู้ที่พระองค์ให้ความช่วยเหลือเขาจะไม่ได้รับความพ่ายแพ้ และสำหรับผู้ที่พระองค์ทอดทิ้งเขาก็จะไม่ได้รับชัยชนะ |
السميع (อัสสะมีอฺ) | คือพระองค์คือผู้ที่การได้ยินของพระองค์นั้นห้อมล้อมครอบคลุมความเร้นลับและความลับทุกๆ อย่าง และต่อสิ่งที่เปิดเผยและชัดเจนทั้งปวง ทว่าทรงครอบคลุมต่อทุกเสียงทั้งปวงแม้ว่ามันจะละเอียดหรือยิ่งใหญ่ขนาดไหนก็ตาม และพระองค์ทรงเป็นผู้ที่ตอบรับบุคคลที่วิงวอนขอต่อพระองค์ |
البصير (อัลบะศีรฺ) | คือพระองค์เป็นผู้ที่การมองเห็นของพระองค์นั้นห้อมล้อมครอบคลุมต่อสิ่งที่มีอยู่ทั้งปวงในโลกแห่งความเร้นลับและโลกแห่งความเปิดเผย แม้ว่ามันจะซ่อนเร้นหรือเปิดเผยเพียงใดก็ตาม และแม้ว่าจะละเอียดอ่อนหรือยิ่งใหญ่ขนาดไหนก็ตาม |
الشهيد (อัชชะฮีด) | คือพระองค์เป็นผู้ที่คอยสอดส่องดูแลสิ่งถูกสร้างทั้งหลายของพระองค์ และทรงเป็นสักขีเหนือพระองค์เองว่าทรงมีคุณลักษณะแห่งความเป็นเอกะและธำรงอยู่ด้วยความยุติธรรม และทรงเป็นพยานแก่บรรดามุอ์มินีน บรรดาศรัทธาชนทั้งหลาย เมื่อพวกเขาให้ความเป็นเอกภาพต่อพระองค์ และทรงเป็นพยานแก่บรรดาศาสนทูตของพระองค์และบรรดามะลาอิกะฮฺของพระองค์ |
الرقيب (อัรเราะกีบ) | คือพระองค์เป็นผู้ที่ทรงสอดส่องสิ่งถูกสร้างทั้งหลายของพระองค์ และเป็นผู้คำนวนการงานทั้งหลายของพวกเขา ดังนั้น แม้การกระพริบตาเดียวหรือการคาดคิดเพียงเสี้ยววินาทีเดียวก็จะไม่เล็ดลอดไปจากพระองค์ได้ |
الرفيق (อัรเราะฟีก) | คือพระองค์เป็นผู้ที่มากด้วยการอ่อนโยนในการกระทำต่างๆ ของพระองค์ ดังนั้น พระองค์คือผู้ทรงประณีตและทรงทำเป็นลำดับขั้นตอนในการสรรค์สร้างและการออกคำสั่งบัญชาใช้ของพระองค์ และทรงจัดการกับบ่าวของพระองค์ด้วยความอ่อนโยนและความนิ่มนวล และไม่บังคับพวกเขาในสิ่งที่พวกเขาไม่มีความสามารถ และทรงรักบ่าวของพระองค์ที่มีความอ่อนโยน |
القريب (อัลเกาะรีบ) | คือพระองค์เป็นผู้ที่ใกล้ชิดด้วยกับความรอบรู้และความสามารถของพระองค์ต่อสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหลายของพระองค์ และด้วยกับความอ่อนโยนและความช่วยเหลือของพระองค์ที่มีต่อบ่าวผู้ศรัทธาทั้งหลาย ในขณะที่พระองค์นั้นทรงอยู่เหนือบัลลังก์ของพระองค์ ซึ่งซาตของพระองค์จะไม่ปะปนกับสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย |
المجيب (อัลมุญีบ) | คือพระองค์เป็นผู้ที่ตอบรับการเรียกร้องของบรรดาผู้วิงวอนทั้งหลาย และการขอร้องของบรรดาผู้วอนขอทั้งหลาย ตามความรอบรู้และวิทยความปรีชาญาณของพระองค์ |
المقيت (อัลมุกีต) | คือพระองค์เป็นผู้ที่สร้างอาหารหลักทั้งปวง และสร้างปัจจัยยังชีพทั้งหลาย และพระองค์อนุเคราะห์ให้สิ่งเหล่านั้นทั่วถึงไปยังสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย และพระองค์เป็นผู้รักษามันและรักษาการงานต่างๆ ของบ่าวโดยไม่ให้บกพร่องอันใดเลย |
الحسـيب (อัลหะสีบ) | คือพระองค์เป็นผู้ที่ให้ความพอเพียงสำหรับบ่าวของพระองค์ซึ่งสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่สำคัญยิ่งสำหรับพวกเขา จากเรื่องศาสนาของพวกเขาและดุนยาของพวกเขา และสำหรับบรรดามุอ์มินีนผู้ศรัทธา พวกเขาจะได้รับส่วนที่ยิ่งใหญ่กว่าจากค่าตอบแทนของพระองค์ และพระองค์คือผู้คิดคำนวนให้แก่พวกเขาซึ่งสิ่งที่พวกเขาปฏิบัติต่อพระองค์ในโลกดุนยา |
المؤمن (อัลมุอ์มิน) | คือพระองค์เป็นผู้ที่ทรงเป็นสักขีแห่งความถูกต้องแก่บรรดาศาสนทูตและผู้ปฏิบัติตามพวกเขาด้วยการเป็นพยานของพระองค์ว่าพวกเขาเป็นผู้สัจจริง และด้วยกับสิ่งที่พระองค์ทรงยืนยันจากหลักฐานต่างๆ ถึงความสัจจริงของพวกเขา และความปลอดภัยทุกอย่างทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺนั้นมาจากการประทานให้ของพระองค์ และพระองค์เป็นผู้รับประกันความปลอดภัยแก่บรรดามุอ์มินีนผู้ศรัทธาทั้งหลายว่าจะไม่ทรงอธรรม ทรมาน หรือทดสอบพวกเขาด้วยความหวาดกลัวของวันกิยามะฮฺ |
المنان (อัลมันนาน) | คือพระองค์เป็นผู้ที่มากมายด้วยการให้ ผู้ที่มีความการุญอย่างมหาศาล ผู้ที่มั่งคั่งด้วยความดีที่มีต่อสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย |
الطيب (อัฏฏ็อยยิบ) | คือพระองค์เป็นผู้ที่บริสุทธิ์และปลอดจากทุกๆ สิ่งที่น่าตำหนิและบกพร่องทั้งหลาย และพระองค์นั้นทรงไว้ซึ่งความงดงามและความสมบูรณ์อย่างแท้จริง และพระองค์คือผู้ทรงมหาศาลด้วยความดีที่มีต่อสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย และพระองค์จะไม่ตอบรับการงานทั้งหลายและการบริจาคทั้งหลาย เว้นแต่สิ่งที่ดีๆ และที่หะลาล(เป็นที่อนุมัติ) และมีความบริสุทธิ์ใจเพื่อพระองค์เท่านั้น |
الشافي (อัชชาฟีย์) | คือพระองค์เป็นผู้ที่ให้การรักษาเยียวยาหัวใจและร่างกายทั้งหลายจากโรคร้ายทั้งปวงของมัน และมันไม่ได้อยู่ในอำนาจของบ่าว เว้นแต่ด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺกำหนดให้มีความสะดวกง่ายดายจากโอสถและยาต่างๆ สำหรับพวกเขา ส่วนการให้หายจากโรคนั้นอยู่ในอำนาจของพระองค์เพียงผู้เดียว |
الحفيظ (อัลหะฟีซ) | คือพระองค์เป็นผู้ที่รักษาดูแลบ่าวผู้ศรัทธาทั้งหลายของพระองค์ และการงานต่างๆ ของพวกเขาด้วยความเอื้ออาทรของพระองค์ และเป็นผู้ดูแลเอาใจใส่และพิทักษ์สิ่งถูกสร้างทั้งหลายด้วยพระเดชานุภาพของพระองค์ |
الوكيل (อัลวะกีล) | คือพระองค์เป็นผู้ที่รับภาระและหน้าที่ดูแลจักรวาลทั้งมวล ทั้งด้วยการสรรค์สร้างและการจัดการ ทรงเป็นผู้รับภาระในการบันดาลและเอื้ออำนวย เป็นผู้ทรงดูแลบรรดาผู้ศรัทธาที่มอบหมายการงานต่างๆ ไปยังพระองค์ก่อนที่พวกเขาจะปฏิบัติ และได้ขอความช่วยเหลือต่อพระองค์ในขณะที่พวกเขาลงมือ และได้สรรเสริญขอบคุณพระองค์เมื่อพระองค์ให้พวกเขาทำสำเร็จอย่างลุล่วง และพวกเขาได้พอใจกับสิ่งที่พระองค์แบ่งให้หลังจากที่ทรงทดสอบพวกเขา |
الخلاق (อัลคอลลากฺ) | เป็นพระนามที่ชี้ถึงความมหาศาลของสิ่งที่พระองค์สร้าง ดังนั้นพระองค์ยังคงดำเนินต่อไปซึ่งการเนรมิตและเสกสรรค์ และยังคงไว้ซึ่งคุณลักษณะอันยิ่งใหญ่นี้ |
الخالق (อัลคอลิกฺ) | คือพระองค์เป็นผู้ที่เนรมิตสิ่งถูกสร้างทั้งปวงโดยปราศจากแบบอย่างมาก่อนเลย |
البارئ (อัลบาริอ์) | คือพระองค์เป็นผู้สร้างสิ่งที่พระองค์กำหนดและตัดสินพระทัยในหมู่สิ่งถูกสร้างทั้งปวง และได้นำมันออกไปสู่การมีอยู่ของมันจริงๆ |
المصور (อัลมุเศาวิรฺ) | คือพระองค์เป็นผู้ที่สรรค์สร้างสิ่งถูกสร้างทั้งหลายของพระองค์ตามรูปแบบที่พระองค์ทรงเลือกมันสำหรับพวกเขาด้วยเหตุผลของพระองค์ และด้วยความรอบรู้ของพระองค์ และด้วยความเมตตาของพระองค์ |
الرب (อัรร็อบ) | คือพระองค์เป็นผู้ที่บำรุงดูแลสิ่งถูกสร้างทั้งหลายของพระองค์ ด้วยความเมตตาของพระองค์ และทำให้พวกเขาเติบโตขึ้นทีละน้อย และดูแลรักษาบรรดาวะลีย์ผู้ใกล้ชิดของพระองค์ด้วยสิ่งที่ดีต่อหัวใจทั้งหลายของพวกเขา และพระองค์เป็นผู้สร้าง เป็นผู้มีอำนาจครอบครอง เป็นผู้ปกครอง |
العظيم (อัลอะซีม) | คือพระองค์เป็นผู้ที่ซึ่งสำหรับพระองค์นั้นคือความยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง ในซาตของพระองค์เอง และพระนามต่างๆ ของพระองค์ และคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์ ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับปวงบ่าวและสิ่งถูกสร้างทั้งหลายจะต้องให้ความยิ่งใหญ่ต่อพระองค์ และให้การยกย่องต่อพระองค์ และให้ความสำคัญต่อคำสั่งใช้และคำสั่งห้ามของพระองค์ |
القاهر (อัลกอฮิรฺ) القهار (อัลเกาะฮฺฮารฺ) | คือพระองค์เป็นผู้ที่ทำให้ปวงบ่าวทั้งหลายยอมนอบน้อมถ่อมตนต่อพระองค์ และทำให้ปวงบ่าวและสิ่งถูกสร้างทั้งหลายเคารพภักดีต่อพระองค์ พระองค์เป็นผู้ทรงเกียรติอันสูงศักดิ์เหนือพวกเขาทั้งหลาย และเป็นผู้ทรงเกรียงไกร ที่ซึ่งลำคอทั้งหลายต้องน้อมให้ และใบหน้าทั้งหลายต้องก้มให้ อัลเกาะฮฺฮารฺ คือ สำนวนที่แสดงถึงคุณลักษณะ อัลกอฮิรฺ ดังกล่าวอย่างถึงที่สุด |
المهيمن (อัลมุฮัยมิน) | คือพระองค์เป็นผู้ที่ดำเนินการต่อสิ่งหนึ่ง และเป็นผู้ดูแลรักษามัน และเป็นพยานให้กับมัน และทรงห้อมล้อมมัน |
العزيز (อัลอะซีซ) | คือพระองค์เป็นผู้ที่ทรงไว้ซึ่งความหมายทั้งหลายของความเกรียงไกรยิ่งใหญ่ที่มีแด่พระองค์เท่านั้น ทรงเกรียงไกรในด้านพระเดชานุภาพซึ่งไม่มีผู้ใดจะมีชัยชนะเหนือพระองค์ได้ ทรงเกรียงไกรในด้านความเข้มแข็งโดยไม่ต้องการความช่วยเหลือจากสิ่งใดเลย และทรงเกรียงไกรในด้านอานุภาพและชัยชนะ ดังนั้นจึงไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดสามารถเคลื่อนไหวได้ เว้นแต่ด้วยการอนุมัติของพระองค์เท่านั้น |
الجبار (อัลญับบารฺ) | คือพระองค์เป็นผู้ซึ่งทรงไว้ด้วยพระประสงค์ที่ทรงประสิทธิภาพ และสิ่งถูกสร้างทั้งปวงต่างก็พ่ายแพ้ต่อพระองค์ และเกรงกลัวต่อความยิ่งใหญ่ของพระองค์ และสยบต่อเหตุผลของพระองค์ และพระองค์คือผู้ที่ดูแลรักษาคนที่มีความระส่ำระสาย และผู้ที่ให้ความร่ำรวยแก่คนยากจน และให้ความสะดวกแก่คนที่ลำบาก |
المتكبر (อัลมุตะกับบิรฺ) | พระองค์คือผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ทรงทรนงจากสิ่งที่เลวและบกพร่องทุกประการ ผู้ทรงสูงส่งบริสุทธิ์เหนือการอธรรมต่อปวงบ่าว ผู้ทรงกำราบเหล่าผู้อหังการ ผู้ทรงลักษณะแห่งความทะนง ผู้ใดที่ยื้อแย้งกับพระองค์ในเรื่องดังกล่าวก็จะทรงปราบและลงโทษเขา |
الكبير (อัลกะบีรฺ) | คือผู้ทรงยิ่งใหญ่ในซาต(อัตตา, อาตมัน) ศิฟาต(คุณลักษณะ) และอัฟอาล(กิริยา)ของพระองค์ ไม่มีสิ่งใดที่ยิ่งใหญ่กว่าพระองค์ ทว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเล็กกระจิดริดเมื่อเทียบกับความไพศาลและยิ่งใหญ่ของพระองค์ |
الحيي (อัลหะยีย์) | ผู้ทรงเปี่ยมด้วยความละอายที่คู่ควรกับความยิ่งใหญ่แห่งพระพักตร์และอำนาจของพระองค์ ความละอายของอัลลอฮฺคือละอายในรูปของความการุณย์ เผื่อแผ่ เอื้อเฟื้อ และไพศาล |
الحي (อัลหัยยุย์) | ผู้ทรงชีวินที่สถาพรและสมบูรณ์ ผู้ทรงอยู่อย่างนิรันดรไม่มีจุดเริ่มและจุดจบ ทุกๆ ชีวิตที่มีอยู่ล้วนมาจากพระองค์ I |
القيوم (อัลก็อยยูม) | ผู้ทรงยืนหยัดด้วยพระองค์เอง ผู้ทรงไม่ต้องพึ่งสิ่งใดทั้งสิ้นในหมู่สรรพสิ่งที่ถูกสร้าง เป็นผู้ทรงค้ำจุนทุกสิ่งทุกอย่างในชั้นฟ้าและแผ่นดิน ทุกอย่างล้วนมีความจำเป็นต้องพึ่งพระองค์ |
الوارث (อัลวาริษ) | ผู้ที่คงอยู่หลังการสูญสลายของทุกสรรพสิ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างจะกลับคืนสู่พระองค์เมื่อเจ้าของมันสูญสลายแล้ว และทุกอย่างที่อยู่ในมือเราล้วนเป็นของฝากที่วันหนึ่งก็จะกลับไปสู่อัลลอฮฺ ﷻ ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง |
الديان (อัดดัยยาน) | ผู้ที่ทุกสรรพสิ่งนอบน้อมต่อพระองค์และยอมสยบ ผู้ทรงตอบแทนบ่าวทั้งหลายในสิ่งที่พวกเขาปฏิบัติ ถ้าเป็นความดีก็จะทรงเพิ่มพูนให้ ถ้าเป็นความชั่วก็จะทรงลงโทษหรือไม่ก็ทรงอภัยให้ |
الملك (อัลมะลิก) | ผู้ทรงครอบครองคำสั่งใช้ คำสั่งห้าม และชัยชนะ ผู้ทรงบริหารจัดการสรรพสิ่งทั้งปวงของพระองค์ด้วยคำสั่งและการกระทำของพระองค์ และไม่มีผู้ใดที่มีส่วนในการยืนหยัดอยู่ของการครอบครองและการดูแลของพระองค์ |
المالك (อัลมาลิก) | ผู้ทรงครอบครองแต่เดิมและโดยสิทธิของพระองค์ การครอบครองนั้นเป็นสิทธิของพระองค์ตั้งแต่วินาทีที่ทรงสร้างสรรพสิ่ง มันไม่ใช่ของผู้อื่นผู้ใดนอกจากพระองค์ และการครอบครองนั้นก็ยังเป็นสิทธิของพระองค์เมื่อถึงจุดจบที่ทุกสรรพสิ่งสูญสลาย |
المليك (อัลมะลีก) | เป็นพระนามที่บ่งบอกถึงการครอบครองโดยสัมบูรณ์ ซึ่งมีความหมายที่ลึกซึ้งกว่า อัลมะลิก |
السبوح (อัสสุบบูหฺ) | ผู้ทรงบริสุทธิ์จากทุกๆ ข้อตำหนิและความบกพร่อง เพราะพระองค์นั้นมีคุณลักษณะแห่งความสมบูรณ์พร้อมมูลและความงดงามโดยสัมบูรณ์ |
القدوس (อัลกุดดูส) | ผู้ทรงบริสุทธิ์และปราศจากความบกพร่องและตำหนิทุกประการ ไม่ว่าจะในแง่มุมใดก็ตาม เนื่องเพราะพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงเอกะด้วยคุณลักษณะแห่งความสมบูรณ์โดยแท้ พระองค์จึงไม่คู่ควรแก่การเปรียบเทียบใดๆ |
السلام (อัสสะลาม) | ผู้ทรงปลอดจากจากความบกพร่องและตำหนิใดๆ ทุกอย่าง ในซาต หรือคุณลักษณะและพระนามต่างๆ และกิริยาต่างๆ ของพระองค์ ทุกๆ ความสันติที่เกิดขึ้นในดุนยาและอาคิเราะฮฺล้วนมาจากพระองค์ I |
الحق (อัลหักฺ) | คือผู้ทรงสัจจริงโดยไม่มีข้อสงสัยและคลางแคลงใดๆ ทั้งในพระนามและคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์ การเป็นพระเจ้าที่คู่ควรต่อการเคารพภักดีเพียงพระองค์เดียว ดังนั้นพระองค์จึงเป็นผู้ที่ไม่มีสิ่งใดควรแก่การเคารพอิบาดะฮฺโดยสัจจริงนอกจากพระองค์เท่านั้น |
المبين (อัลมุบีน) | ผู้ทรงชัดเจนในเรื่องต่างๆ ของพระองค์ ทั้งในความเป็นเอกภาพ วิทยปัญญา และความเมตตาของพระองค์ ผู้ทรงชี้แจงแก่บ่าวให้พบกับทางแห่งความถูกต้องเพื่อพวกเขาจะได้ตามมัน และให้พวกเขาเห็นทางที่หันเหเพื่อจะได้หลีกเลี่ยงมัน |
القوي (อัลเกาะวียยุ) | ผู้ทรงอำนาจบารมีโดยสัมบูรณ์พร้อมกับความประสงค์ที่เปี่ยมพร้อม |
المتين (อัลมะตีน) | ผู้ทรงแน่นหนักด้วยอำนาจและความสามารถ ทุกสิ่งที่ทรงทำไม่มีความยากลำบาก ไม่ต้องใช้แรง และไม่มีความเหน็ดเหนื่อยใดๆ |
القادر (อัลกอดิรฺ) | ผู้ทรงสามารถในทุกๆ สิ่ง ไม่มีสิ่งใดในแผ่นดินและชั้นฟ้าที่ทำให้พระองค์อ่อนแรงได้ พระองค์ทรงเป็นผู้กำหนดทุกสิ่งทุกอย่าง |
القدير (อัลเกาะดีรฺ) | ความหมายเดียวกันกับ อัลกอดิรฺ แต่ว่ามีความลุ่มลึกกว่าในการสรรเสริญอัลลอฮฺ |
المقتدر (อัลมุกตะดิรฺ) | เป็นพระนามที่บ่งบอกถึงความสามารถแห่งพระองค์อัลลอฮฺที่บรรลุความสุดยอดในการบริหารจัดการกำหนดต่างๆ และการบันดาลทุกสิ่งตามที่มีอยู่ในความรอบรู้แต่แรกของพระองค์ |
العليُ الأعلى (อัลอะลีย์ยุอัลอะอฺลา) | ผู้ทรงสูงส่งในพระเกียรติ พระอำนาจ และซาตของพระองค์เอง ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ภายใต้อำนาจและบารมีของพระองค์ ไม่มีสิ่งใดที่อยู่เหนือพระองค์ทั้งสิ้น |
المتعال (อัลมุตะอาล) | ผู้ซึ่งสิ่งต่างๆ นั้นต่ำต้อยต่อหน้าความสูงส่งของพระองค์ ไม่มีสิ่งใดที่อยู่เหนือพระองค์โดยเด็ดขาด ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ใต้พระองค์ อยู่ใต้อำนาจและบารมีของพระองค์ |
المقدم (อัลมุก็อดดิม) | ผู้ทรงนำเสนอทุกๆ สิ่งและวางมันในที่ของมันตามที่ทรงประสงค์และตามวิทยปัญญาของพระองค์ ผู้ทรงให้สรรพสิ่งส่วนหนึ่งประเสริฐกว่าอีกส่วนหนึ่งตามความรอบรู้และพระคุณของพระองค์ |
المؤخر (อัลมุอัคคิรฺ) | ผู้ทรงวางทุกสิ่งทุกอย่างในที่ของมัน ทรงให้มันอยู่ข้างหน้าและข้างหลังตามที่ทรงประสงค์ด้วยวิทยปัญญาของพระองค์ ทรงประวิงการลงโทษจากปวงบ่าวเพื่อให้พวกเขาได้กลับตัวและสำนึกต่อพระองค์ |
المسعر (อัลมุสะอฺอิร) | ผู้ทรงเพิ่มคุณค่า สถานะ และผลของทุกๆ สิ่ง และทรงลดมัน สิ่งต่างๆ จะแพงหรือถูกย่อมเกิดขึ้นภายใต้การกำหนดแห่งวิทยปัญญาและความรอบรู้ของพระองค์ |
القابض (อัลกอบิฎ) | ผู้ทรงเก็บเอาวิญญาณ ผู้ทรงกักริซกีหรือโชคลาภจากผู้ที่ทรงประสงค์ ด้วยวิทยปัญญาและความสามารถของพระองค์ เพื่อเป็นการทดสอบพวกเขา |
الباسط (อัลบาสิฏ) | ผู้ทรงแผ่ริซกีของพระองค์ให้กับปวงบ่าวด้วยความการุญและความเมตตาของพระองค์ และทรงทดสอบพวกเขาด้วยสิ่งนั้นตามวิทยปัญญาแห่งพระองค์ และทรงแผ่พระหัตถ์ของพระองค์เพื่อรับการสำนึกกลับตัวของบ่าวที่ทำผิด |
الأولُ (อัลเอาวัล) | ผู้ซึ่งไม่มีสิ่งใดมาก่อนพระองค์ ทว่าทุกสรรพสิ่งนั้นแท้จริงแล้วล้วนบังเกิดขึ้นด้วยการสร้างสรรค์ของพระองค์ ในขณะที่พระองค์นั้นไม่มีจุดเริ่มต้นของการมีอยู่ |
الآخرُ (อัลอาคีรฺ) | ผู้ซึ่งไม่มีสิ่งใดอยู่หลังจากพระองค์อีก พระองค์คือผู้ทรงมีอยู่ ทุกๆ คนที่อยู่ในโลกล้วนต้องสูญสลาย แล้วก็จะกลับไปหาพระองค์ การมีอยู่ของพระองค์นั้นไม่มีจุดสิ้นสุด |
الظاهر (อัซซอฮิรฺ) | คือผู้ทรงสูงส่งเหนือทุกสิ่ง ไม่มีสิ่งใดที่สูงส่งกว่าพระองค์ พระองค์คือผู้ทรงอำนาจชัยชนะเหนือทุกสิ่งและทรงห้อมล้อมครอบคลุมทุกๆ อย่าง |
الباطن (อัลบาฏิน) | ผู้ซึ่งไม่มีสิ่งใดอยู่เบื้องล่างถัดไปจากพระองค์อีก และพระองค์คือผู้ทรงใกล้ชิด ห้อมล้อมครอบคลุม และปกปิดเร้นลับจากการมองเห็นของสรรพสิ่งในดุนยา |
الوتر (อัลวิตรฺ) | ผู้ทรงเอกะหนึ่งเดียว ไม่มีคู่ภาคีใดๆ ผู้ทรงเป็นหนึ่งเดียวไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน |
السيد (อัสสัยยิด) | ผู้ทรงไว้ซึ่งการดูแลรับผิดชอบที่สัมบูรณ์เหนือสรรพสิ่งถูกสร้างของพระองค์ พระองค์คือผู้ครอบครองและผู้เลี้ยงดูพวกเขา และพวกเขานั้นเป็นสิ่งถูกสร้างและเป็นบ่าวของพระองค์ |
الصمد (อัลเศาะมัด) | คือผู้ปกครองที่สมบูรณ์ที่สุดในการดูแลจัดการ ผู้ซึ่งทุกๆ สรรพสิ่งต้องมุ่งหมายไปหาในการขอให้พระองค์จัดการความจำเป็นต่างๆ ของพวกเขาทุกอย่าง เนื่องด้วยการพึ่งพิงที่จำเป็นอย่างใหญ่หลวงของพวกเขาต่อพระองค์ พระองค์คือผู้ทรงให้อาหารและไม่ใช่ผู้ที่ถูกถวายอาหารให้ |
الواحد الأحد (อัลวาหิดุ อัลอะหัด) | คือผู้ทรงเป็นหนึ่งเดียวและเป็นเอกะในทุกๆ ความสมบูรณ์อย่างเบ็ดเสร็จ ไม่มีสิ่งใดเป็นภาคีต่อพระองค์ทั้งสิ้น และไม่มีสิ่งใดเหมือนพระองค์ และนี่ย่อมนำเราไปสู่การต้องเคารพอิบาดะฮฺต่อพระองค์เพียงผู้เดียวโดยไม่มีการเทียบเคียงใดๆ ต่อพระองค์ |
الإله (อัลอิลาฮฺ) | คือผู้ที่ถูกเคารพภักดีอย่างแท้จริง ผู้ที่คู่ควรแก่การอิบาดะฮฺเพียงพระองค์เดียวโดยปราศจากสิ่งอื่นๆ |
13: อะไรคือความแตกต่างระหว่างพระนามต่างๆ ของอัลลอฮฺ กับคุณลักษณะต่างๆของพระองค์? พระนามต่างๆ ของอัลลอฮฺกับคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์มีส่วนร่วมกันในด้านการอนุญาตเพื่อใช้ขอความคุ้มครอง(อิสติอาซะฮฺ)และการสาบาน(หิลฟฺ)ด้วยกับมัน แต่ทว่าในระหว่างมันทั้งสองนั้นมีข้อแตกต่างมากมายที่สำคัญๆ เช่น
ประการแรกก็คือ: อนุญาติให้ใช้พระนามของอัลลอฮฺ ในเรื่องของการตั้งชื่อว่าเป็นบ่าวของพระองค์อัลลอฮฺ(ตะอฺบีด) และในเรื่องของการวอนขอ(ดุอาอ์) โดยไม่อนุญาตให้ใช้คุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์ในด้านนี้ ดังนั้นการตั้งชื่อด้วยกับพระนามอัลกะรีม ว่า (عبدالكريم) อับดุลกะรีม ซึ่งหมายถึงบ่าวของพระองค์ผู้ทรงล้นด้วยพระคุณและพระผู้ทรงกรุณาเมตตานั้นย่อมเป็นที่อนุญาต ส่วนชื่อที่ตั้งกับคุณลักษณะ อัลกะร็อม ว่า (عبدالكرم ) อับดุลกะร็อม ซึ่งหมายถึงบ่าวของความใจบุญและความกรุณาเมตตาอันนี้ย่อมไม่ถูกอนุญาต ส่วนการขอดุอาอ์ก็มีตัวอย่างเช่น (يا كريم ) ยา กะรีม ซึ่งแปลว่าโอ้พระองค์ผู้ทรงใจบุญ พระองค์ผู้ทรงกรุณาเมตตา ดังนี้ย่อมอนุญาตให้ทำได้ และไม่อนุญาตให้วิงวอนขอด้วยการกล่าวว่า (يا كرم اللـه) ยา กะเราะมัลลอฮฺ โอ้ความใจบุญและความกรุณาเมตตาของพระองค์อัลลอฮฺ
ประการที่สองคือ: แท้จริงพระนามต่างๆ ของพระองค์อัลลอฮฺนั้น จะมีการแตกออกของคุณลักษณะต่างๆ จากมัน เช่นพระนาม (الرحمن) อัร-เราะห์มาน (ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงกรุณาปรานี) จะมีคุณลักษณะ (الرحمة) อัร-เราะห์มะฮฺ (ความเมตตา ความกรุณาปราณี) แตกออกมาจากมัน ซึ่งในทางกลับกันแล้ว คุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์นั้นไม่มีการแตกออกของพระนามใดๆ ที่ไม่มีการระบุจากหลักฐานของอัลกุรอานหรือหะดีษ เช่น คุณลักษณะ (الاستواء) อัล-อิสติวาอ์ (การประทับหรือสถิต) ซึ่งจะไม่มีชื่อ (المستوي) อัลมุสตะวี (ผู้สถิต) แตกออกมาจากคุณลักษณะนี้เพราะไม่มีระบุในหลักฐานนั่นเอง
ประการที่สามคือ: แท้จริงการกระทำหรือพระกิริยาต่างๆ ของพระองค์อัลลอฮฺนั้น ไม่มีการแตกออกของพระนามใดๆ ที่ไม่มีการระบุจากหลักฐานของอัลกุรอานหรือหะดีษ เช่นกิริยา (الغضب) อัล-เฆาะฎ็อบ (ความกริ้วโกรธ) ของพระองค์อัลลอฮฺ เราจะไม่พูดกล่าวว่าพระองค์อัลลอฮฺนั้นมีพระนามว่า (الغاضب) อัล-ฆอฎิบ (ผู้กริ้วโกรธหรือ ผู้พิโรธ หรือ ผู้เกรี้ยวกราด) เพราะไม่มีหลักฐานระบุในเรื่องดังกล่าว แต่ทว่า คุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์นั้นจะมีการแตกออกมาจากการพาดพิงถึงพระกิริยาของพระองค์ เช่นคุณลักษณะ (الغضب) อัล-เฆาะฎ็อบ(ความกริ้วโกรธ) เราจะต้องยืนยันคุณลักษณะนี้ต่อพระองค์ เพราะแท้จริงความกริ้วโกรธนั้นเป็นส่วนหนึ่งของพระกิริยาของพระองค์นั่นเอง
14. อะไรคือความหมายของการศรัทธาต่อมะลาอิกะฮฺ ? คือการยอมรับอย่างหนักแน่นถึงการมีอยู่ของพวกเขา และแท้จริงพระองค์อัลลอฮฺ ﷻ ทรงสร้างพวกเขามาเพื่อการเคารพ
อิบาดะฮฺต่อพระองค์และปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์ ดังที่พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า:
ﭽ ﭩ ﭪﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱﭼ
ความว่า: “พวกเขา (มะลาอิกะฮฺ) เป็นบ่าวผู้มีเกียรติ พวกเขาจะไม่ชิงกล่าวคำพูดก่อนพระองค์และพวกเขาจะปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์“ (อัล-อันบิยาอ์ 26-27)
และการศรัทธาต่อมะลาอิกะฮฺนั้นรวมไปถึงประการต่างๆ ดังนี้: 1) การศรัทธาต่อการมีอยู่ของพวกเขา 2) การศรัทธาต่อผู้ที่เรารู้จักชื่อของเขาในหมู่พวกเขา เช่น ญิบรีล เป็นต้น 3) การศรัทธาต่อคุณลักษณะต่างๆ ของพวกเขาที่เรารู้ เช่น รูปร่างที่ยิ่งใหญ่ของพวกเขา 4) การศรัทธาต่อหน้าที่ต่างๆ ของพวกเขาที่เราได้รับรู้มา ซึ่งได้ถูกกำหนดเฉพาะเจาะจงสำหรับพวกเขาด้วยกับหน้าที่นั้น เช่น มะลาอิกะฮฺ มะละกุลเมาต์ ที่มีหน้าที่ในการรับวิญญาณ
15. อัลกุรอานคืออะไร ? อัลกุรอานคือ พระดำรัสของพระองค์อัลลอฮฺ ﷻ ซึ่งการอ่านมันนับว่าเป็นการเคารพอิบาดะฮฺต่อพระองค์ด้วยเช่นกัน เป็นพระดำรัสที่เริ่มมาจากพระองค์และจะกลับไปยังพระองค์ พระองค์ทรงมีดำรัสด้วยความสัจจริงด้วยกับอักษรและเสียง มะลาอิกะฮฺ
ญิบรีล u ได้ยินมันจากพระองค์ แล้วท่านก็ได้บอกต่อท่านนบีมุหัมมัด e และคัมภีร์ที่ถูกประทานมาจากฟากฟ้าทั้งหมดล้วนเป็นพระดำรัสของอัลลอฮฺ
16. เราจะมีความพอเพียงด้วยกับอัลกุรอานโดยปราศจากการใช้สุนนะฮฺของท่านนบี e ได้หรือไม่ ? ไม่อนุญาต เพราะอัลลอฮฺได้บัญชาใช้ให้ยึดเอาสุนนะฮฺหรือแบบอย่างของท่านนบี ซึ่งได้ตรัสไว้ในดำรัสของพระองค์ I ว่า:
ﭽﮠﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧﮨﭼ
ความว่า: "และอันใดทีรอซูลได้นำมายังพวกเจ้าก็จงยึดเอาไว้ และอันใดที่ท่านได้ห้ามพวกเจ้าก็จงละเว้นเสีย" (อัล-หัชรฺ 7)
และสุนนะฮฺนั้นมาเพื่ออธิบายอัลกุรอาน และรายละเอียดปลีกย่อยของศาสนาจะไม่เป็นที่ทราบอย่างชัดเจนเว้นแต่ด้วยกับมันเช่น การละหมาด เป็นต้น ท่านรอซูล e ได้กล่าวว่า:
« أَلا إِنـِّي أُوتِيتُ الْكِتَابَ، وَمِثْلَهُ مَعَهُ، أَلا يُوشِكُ رَجُلٌ شَبْعَانُ عَلَى أَرِيكَتِهِ، يَقُولُ: عَلَيْكُمْ بِهَذَا الْقُرْآنِ، فَمَا وَجَدْتُمْ فِيهِ مِنْ حَلالٍ فَأَحِلُّوهُ، وَمَا وَجَدْتُمْ فِيهِ مِنْ حَرَامٍ فَحَرِّمُوهُ »
ความว่า: “พึงรู้เถิดว่า แท้จริงฉันนั้นเป็นผู้ที่ได้รับคัมภีร์นี้มา และสิ่งที่หมือนกับมัน(หมายถึงสุนนะฮฺของท่าน)มาพร้อมกับมัน พึงรู้เถิด ว่าเกือบแล้วที่จะมีผู้ชายคนหนึ่งที่อิ่มเอมอยู่บนเตียงนอนของเขา แล้วก็กล่าวว่าแก่ผู้คนว่า: พวกเจ้าต้องยึดเอาอัลกุรอานนี้ ดังนั้นเมื่อพวกเจ้าพบในสิ่งนั้นที่เป็นสิ่งหะลาล พวกเจ้าก็จงทำให้มันเป็นหะลาลตามนั้น และสิ่งใดที่พวกเจ้าพบมันในอัลกุรอานว่าเป็นสิ่งที่หะรอม พวกเจ้าก็จงทำให้มันเป็นที่ต้องห้ามตามนั้น" (อบู ดาวูด)
17. อะไรคือความหมายของการศรัทธาต่อบรรดารอซูล ? คือการเชื่อมั่นอย่างมั่นคงว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงส่งรอซูล(ศาสนทูต)มายังทุกๆ ประชาชาติซึ่งได้มาจากหมู่พวกเขาเอง เพื่อจะเรียกร้องพวกเขาไปสู่การเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว และปฏิเสธต่อสิ่งที่ถูกเคารพอื่นจากพระองค์ และแท้จริงพวกเขาทั้งหมดนั้นเป็นผู้สัจจริง เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับ เป็นผู้ชี้ทางที่ถูกต้อง เป็นผู้ที่มีเกียรติ เป็นผู้ที่มีคุณธรรม เป็นผู้ที่ยำเกรง เป็นผู้ที่ซื่อสัตย์ เป็นผู้ที่ให้การชี้นำ เป็นผู้ที่ได้รับทางนำ และแท้จริงพวกเขานั้นได้เผยแพร่ริสาละฮฺ(สาร)ของพวกเขาอย่างสมบูรณ์ และแท้จริงพวกเขาเป็นมัคลูกที่ประเสริฐยิ่งที่สุด และแท้จริงพวกเขานั้น เป็นผู้ที่บริสุทธิ์จากการตั้งภาคีต่อพระองค์อัลลอฮฺตั้งแต่พวกเขากำถูกเนิดมาจนกระทั่งพวกเขาได้เสียชีวิต
18. อะไรคือชนิดต่างๆของชะฟาอะฮฺ(การให้ความช่วยเหลือและการรับประกัน)ในวัน
กิยามะฮฺ ? ชนิดต่างๆ ของมันคือ 1) ชะฟาอะฮฺที่ใหญ่ที่สุดคือ อัชชะฟาอะตุลอุซฺมา นั่นคือหลังจากที่มนุษย์ได้เฝ้ารออยู่ ณ ที่หยุดยืนเพื่อการสอบสวนในวันกิยามะฮฺเป็นระยะเวลาห้าพันปีเพื่อรอการถูกพิพากษาในระหว่างพวกเขา แล้วท่านนบีมุหัมมัด e ก็ได้ขอร้องชะฟาอะฮฺต่อพระผู้อภิบาล และได้ขอให้พระองค์ทรงเริ่มสอบสวนตัดสินแยกแยะระหว่างมวลมนุษย์ และชะฟาอะฮฺนี้เป็นสิ่งที่จำกัดเฉพาะสำหรับผู้นำของเราคือท่านนบี มุหัมมัด e และมันเป็นตำแหน่งที่ได้รับการยกย่องซึ่งได้ถูกสัญญาไว้สำหรับท่าน 2) ชะฟาอะฮฺเพื่อขอให้เปิดประตูสวรรค์ และบุคคลที่จะเปิดประตูนี้เป็นคนแรกก็คือ ท่านนบีของเรา มุหัมมัด e และประชาชาติแรกที่จะได้เข้าไปในสวรรค์นั้นก็คือประชาชาติของท่าน 3) อัชชะฟาอะฮฺ หรือการขอความช่วยเหลือรับประกันให้กับกลุ่มชนต่างๆ ที่ถูกคิดบัญชีให้เข้านรก เพื่อไม่ให้พวกเขาต้องเข้าไปทรมานในนรก 4) อัชชะฟาอะฮฺหรือการขอความช่วยเหลือรับประกันให้กับผู้ที่ได้เข้านรกจากบรรดาผู้ที่ฝ่าฝืนในหมู่ผู้ศรัทธาที่ยึดมั่นในเตาฮีดต่อพระองค์อัลลอฮฺ ด้วยการให้พวกเขาได้ออกมาจากนรก 5) อัชชะฟาอะฮฺหรือการขอความช่วยเหลือรับประกันให้ยกลำดับขั้นแก่กลุ่มชนต่างๆ ในหมู่ชาวสวรรค์ 6) อัชชะฟาอะฮฺให้กลุ่มชนต่างๆ ได้เข้าสวรรค์โดยไม่มีการคิดบัญชี 7) อัชชะฟาอะฮฺให้ลงโทษเพียงเบาบางต่อผู้ปฏิเสธบางคน ซึ่งมันเป็นข้อจำกัดเฉพาะสำหรับนบีของเรา e ที่มีต่อลุงของท่าน (อบู ฏอลิบ) ด้วยการขอให้อัลลอฮฺทำให้การลงโทษของเขาเบาลง 8) การที่พระองค์อัลลอฮฺจะให้กลุ่มชนต่างๆ ที่เสียชีวิตในสภาพมีที่เตาฮีด(ศรัทธาและให้ความเป็นเอกะต่อพระองค์) ได้ออกจากนรกด้วยกับความเมตตาของพระองค์ โดยปราศจากการชะฟาอะฮฺของคนหนึ่งคนใด ซึ่งมีจำนวนมากมายไม่สามารถคณานับพวกเขาได้เว้นแต่พระองค์อัลลอฮฺ แล้วพระองค์ก็จะให้พวกเขาเข้าสวรรค์ด้วยกับความเมตตาของพระองค์
19 การขอความช่วยเหลือหรือการร้องขอชะฟาอะฮฺจากบรรดาผู้ที่มีชีวิตอยู่อนุญาตหรือไม่ ? อนุญาตให้ทำเช่นนั้นได้ และแน่นอนว่า ในทางบทบัญญัตินั้นได้มีการสนับสนุนในเรื่องของการให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลอื่น ดังที่พระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า:
ﭽﯭﯮﯯﯰﭼ
ความว่า: "และพวกเจ้าจงช่วยเหลือกันในสิ่งที่เป็นคุณธรรมและความยำเกรงเถิด " (อัล-มาอิดะฮฺ 2)
และท่านนบี e ได้กล่าวไว้ว่า:
«واللهُ فيْ عَوْنِ العَبْدِ مَا كَانَ العَبْدُ فِي عَوْنِ أَخِيْهِ»
ความว่า "อัลลอฮฺนั้นจะอยู่ในการให้ความช่วยเหลือต่อบ่าวตราบใดที่บ่าวนั้นยังคงให้ความช่วยเหลือแก่พี่น้องของเขา" (บันทึกโดยมุสลิม)
การให้ชะฟาอะฮฺนั้น ความประเสริฐของมันใหญ่หลวงมาก ซึ่งมันหมายถึงการเป็นตัวกลางในการรับประกันหรือการขอความช่วยเหลือ ดังที่พระองค์อัลลอฮฺ ﷻ ได้ตรัสไว้ว่า:
ﭽﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭﭼ
ความว่า: “ผู้ใดที่ให้การชะฟาอะฮฺหรือรับประกันให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่ดี เขาจะก็ได้ส่วนหนึ่งจากความดีนั้น" (อัน-นิสาอ์ 85)
และท่านรอซูล e ได้กล่าวไว้ว่า:
« اشْفَعُوا تُؤْجَرُوا»
ความว่า: "พวกท่านทั้งหลายจงให้ชะฟาอะฮฺเถิด แล้วพวกท่านจะได้รับผลบุญตอบแทน"(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์)
ดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขเหล่านี้: 1) การขอความช่วยเหลือหรือการขอ
ชะฟาอะฮฺนั้นต้องขอจากผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นการขอชะฟาอะฮฺจากผู้ที่ตายไปแล้วจะถูกเรียกว่า
ดุอาอ์ ซึ่งผู้ที่ตายไปแล้วย่อมไม่ได้ยินเสียงของผู้ที่วิงวอนขอต่อเขา พระองค์อัลลลอฮฺ ﷻ ได้ตรัสไว้ว่า:
ﭽﮏﮐﮑﮒﮓﮔﮕﮖﮗﮘﭼ
ความว่า: "หากพวกเจ้าวิงวอนขอพวกมัน พวกมันจะไม่ได้ยินการวิงวอนของพวกเจ้า ถึงแม้พวกมันได้ยินพวกมันก็จะไม่ตอบรับพวกเจ้า" (ฟาฏิรฺ 14)
ผู้ที่ตายนั้นจะถูกวอนขอได้อย่างไรเล่า? ทั้งๆ ที่เขาเองนั้นยังมีความต้องการต้องพึ่งดุอาอ์จากผู้ที่มีชีวิตอยู่ และแน่นอนว่าการงานของเขานั้นถูกตัดขาดไปแล้วด้วยกับการตายของเขา เว้นแต่ผลบุญที่ส่งถึงเขาด้วยกับการกล่าวขอดุอาอ์ให้และอื่นๆ ดังที่ท่านนบี e ได้กล่าวไว้ว่า:
«إِذَا مَاتَ ابْنُ آدَمُ انْقَطَعَ عَمَلُهُ إِلَّا مِنْ ثَلَاثٍ صَدَقَةٌ جَارِيَةٌ أَوْعِلْمٌ يُنْتَفَعُ بِهِ أَوْ وَلَدٌ صَالِحٌ يَدْعُو لَهُ »
ความว่า: "เมื่อลูกหลานของอาดัมคนหนึ่งคนใดได้ตายลง การงานของเขาก็จะถูกตัดขาด เว้นแต่สามประการด้วยกัน คือการบริจาคที่ยั่งยืน ความรู้ที่ยังประโยชน์ และลูกที่ดีที่พร่ำขอดุอาอ์ให้แก่เขา" (บันทึกโดยมุสลิม)
2) เขาจะต้องเข้าใจต่อถ้อยคำที่เขากล่าว 3) ผู้ที่ถูกวอนขอให้ช่วยนั้นจะต้องอยู่ต่อหน้าด้วย 4) จะต้องขอในสิ่งที่เขามีความสามารถจะทำให้ได้ 5) จะต้องขอในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับดุนยาเท่านั้น 6) จะต้องขอในเรื่องที่เป็นที่อนุมัติและไม่เกิดโทษในสิ่งนั้น
20. ประเภทต่างๆ ของการตะวัสสุล(การใช้สื่อกลาง)มีกี่ประเภท ? มีสองประเภท
ประเภทที่หนึ่ง คือ ประเภทที่อนุญาต และมันก็มีสามชนิดด้วยกันคือ
1) ตะวัสสุลหรือการใช้สื่อกลางไปยังพระองค์อัลลอฮฺ Y ด้วยพระนามต่างๆ ของพระองค์และด้วยคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์
2) การใช้สื่อกลางไปยังพระองค์อัลลอฮฺด้วยการงานที่ดีต่างๆ บางประการ ดังเช่นตัวอย่างเรื่องราวของชาวถ้ำทั้งสามคน
3) การใช้สื่อกลางไปยังพระองค์อัลลอฮฺด้วยดุอาอ์ของมุสลิมที่ศอลิหฺซึ่งเขายังมีชีวิตอยู่ ณ ปัจจุบัน ซึ่งเราคาดหวังว่าดุอาอ์ของเขาจะเป็นที่ตอบรับ ณ อัลลอฮฺ
ประเภทที่สอง คือ เป็นที่ต้องห้าม และมันก็มีสองชนิดด้วยกันคือ
1) การที่เขาวิงวอนขอต่อพระองค์อัลลอฮฺ ﷻ ด้วยตำแหน่งของท่านนบี e หรือด้วยตำแหน่งของวะลีย์ เช่นการที่เขากล่าวว่า:"ข้าแต่พระองค์อัลลอฮฺ แท้จริงฉันวิงวอนขอต่อพระองค์ด้วยตำแหน่งของท่านนบี หรือด้วยตำแหน่งของท่านหุเซ็น" เป็นต้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่ว่าตำแหน่งหรือเกียรติยศของท่านนบี e นั้นยิ่งใหญ่ ณ ที่อัลลอฮฺ เช่นเดียวกับตำแหน่งของบรรดาศอลิฮีนหรือเหล่าคนดีมีคุณธรรมทั้งหลาย กระนั้น บรรดาเศาะหาบะฮฺเอง - ทั้งๆ ที่พวกเขาเป็นผู้ที่เอาใจใส่ในเรื่องของความดีงามเหนือคนอื่นๆทั้งหมด - ท่ามกลางความแห้งแล้งของแผ่นดินพวกเขาก็ไม่ได้ตะวัสสุลหรือใช้สื่อกลางด้วยกับตำแหน่งของท่านนบีเลย ทั้งๆ ที่กุบูรฺของท่านก็อยู่ต่อหน้าพวกเขา และแท้จริงพวกเขาได้ตะวัสสุลด้วยกับดุอาอ์ของลุงของท่าน นั่นคือท่านอับบาส t ต่างหากเล่า
2) การที่บ่าวได้วิงวอนขอต่อพระเจ้าของเขาในสิ่งที่เขาต้องการ โดยการสาบานด้วยท่านนบี e หรือสาบานด้วยวะลีย์ผู้ใกล้ชิดอัลลอฮฺ เช่นการที่เขากล่าวว่า “ข้าแต่พระองค์อัลลอฮฺ แท้จริงฉันวิงวอนขอต่อพระองค์ในเรื่องนี้ ด้วยวะลีย์ของพระองค์คนนั้น หรือด้วยสิทธิของนบีผู้นั้นของพระองค์" เพราะแท้จริงแล้ว การสาบานด้วยสิ่งที่ถูกสร้างเพื่อเรียกร้องวอนขอต่อสิ่งที่ถูกสร้างด้วยกันนั้นเป็นที่ต้องห้ามอยู่แล้ว และถือว่ามันเป็นที่ต้องห้ามหนักยิ่งกว่าในการสาบานกับสิ่งถูกสร้างเพื่อขอจากพระองค์อัลลอฮฺ นอกจากนั้น แท้ที่จริงแล้ว แค่การที่บ่าวได้เชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์อัลลอฮฺนั้น ก็มิใช่หมายความว่าเขามีสิทธิใดๆ ที่จะทวงหรือเรียกร้องสิทธิเหนือพระองค์อัลลอฮฺได้
21. อะไรคือความหมายของการศรัทธาต่อวันอาคิเราะฮฺ ? คือการเชื่อมั่นอย่างมั่นคงกับการเกิดขึ้นของมัน ซึ่งรวมถึงการศรัทธาต่อความตายและสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนั้น ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบในกุบูรฺ และการลงโทษและความผาสุกในกุบูรฺ และการศรัทธาต่อการเป่าแตรสังข์ในรูปแบบต่างๆ การฟื้นขึ้นของมวลมนุษยชาติต่อหน้าพระพักตร์ของพระผู้อภิบาลของพวกเขา การเปิดเผยสมุดบันทึกต่างๆ การวางตาชั่งเพื่อสอบสวน การมีขึ้นของสะพานศิรอฎ การมีบ่อน้ำของท่านนบี การให้ชะฟาอะฮฺ และการได้เข้าสวรรค์หรือตกนรก
22. อะไรคือสัญญาณใหญ่ๆ ของวันกิยามะฮฺ ? ท่านนบี e ได้กล่าวว่า:
« إِنَّهَا لَنْ تَقُومَ حَتَّى تَرَوْنَ قَبْلَهَا عَشْرَ آيَاتٍ، فَذَكَرَ: الدُّخَانَ وَالدَّجَّالَ وَالدَّابَّةَ وَطُلُوعَ الشَّمْسِ مِنْ مَغْرِبِهَا، وَنُزُولَ عِيسَى ابْنِ مَرْيَمَ - - u وَيَأَجُوجَ وَمَأْجُوجَ وَثَلاثَةَ خُسُوفٍ خَسْفٌ بِالْـمَشْرِقِ وَخَسْفٌ بِالْـمَغْرِبِ وَخَسْفٌ بِجَزِيرَةِ الْعَرَبِ وَآخِرُ ذَلِكَ نَارٌ تَـخْرُجُ مِنْ الْيَمَنِ تَطْرُدُ النَّاسَ إِلَى مَـحْشَرِهِمْ »
ความว่า: แท้จริงมัน(วันกิยามะฮฺ)นั้นจะยังไม่เกิดขึ้น จนกว่าพวกท่านจะได้เห็นสิบสัญญาณก่อน แล้วท่านนบีได้กล่าวถึง หมอกควัน ดัจญาล สัตว์เลื้อยคลาน การขึ้นของดวงอาทิตย์จากทิศตะวันตก การลงมาของท่านนบีอีซา บิน มัรยัม กล่าวถึงยะอ์ญูจญ์และมะอ์ญูจญ์ และเกิดธรณีสูบสามแห่งด้วยกันคือ ทางทิศตะวันออก ทางทิศตะวันตก และที่คาบสมุทรอาหรับ และสิ่งที่มาท้ายสุดก็คือ ไฟที่ออกมาจากประเทศเยเมน มันต้อนมนุษยชาติไปสู่ทุ่งมะหฺชัรของพวกเขา" (บันทึกโดย มุสลิม)
23. อะไรคือการทดสอบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่จะเกิดขึ้นต่อมวลมนุษยชาติ ? ท่านนบี e ได้กล่าวว่า:
« مَا بَيْنَ خَلْقِ آدَمَ إِلَى قِيَامِ السَّاعَةِ أَمْرٌ أَكْبَرُ مِنْ الدَّجَّالِ »
ความว่า: “ไม่มีสิ่งใดที่อยู่ในระหว่างการสร้างอาดัมไปจนกระทั่งการเกิดขึ้นของวันกิยามะฮฺ ที่จะเป็นบททดสอบใหญ่หลวงไปกว่าบททดสอบของดัจญาล" (บันทึกโดยมุสลิม).
ดัจญาลคือชายคนหนึ่งที่มาจากลูกหลานของอาดัม มันจะมาในช่วงวาระสุดท้ายของโลกดุนยา ถูกเขียนไว้ระหว่างตาทั้งสองของมันว่า ( ك ف ر ) คือ เป็นกาฟิรฺ ผู้ศรัทธาทุกคนจะอ่านมันได้ ตาข้างขวาของมันจะบอดเหมือนองุ่นที่ปูดโปนขึ้นมา และสิ่งแรกที่มันจะกล่าวอ้างก็คือความเที่ยงธรรม หลังจากนั้นมันอ้างการเป็นนบีของมัน หลังจากนั้นมันอ้างการเป็นพระเจ้าของมัน และได้มีกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งได้ผ่านมา ดังนั้นมันก็เรียกร้องเชิญชวนพวกเขาเหล่านั้น แต่ทว่าพวกเขาเหล่านั้นได้ปฏิเสธมันและโต้ตอบคำพูดของมัน ดังนั้นมันก็ได้ออกห่างไปจากพวกเขา แล้วทรัพย์สินทั้งหมดของคนเหล่านั้นก็ตามมันไป เมื่อพวกเขาตื่นเช้าขึ้นมาก็ไม่พบสิ่งใดอยู่ในมือพวกเขาอีกเลย ต่อมาได้มีหลุ่มชนกลุ่มหนึ่งได้ผ่านมา ดังนั้นมันก็เรียกร้องเชิญชวนพวกเขาเหล่านั้น แล้วพวกเขาเหล่านั้นก็ได้ตอบรับการเรียกร้องเชิญชวนของมัน และพวกเขาก็เชื่อมัน ดังนั้นมันก็ได้สั่งใช้ให้ชั้นฟ้าหลั่งน้ำฝน และแล้วน้ำฝนก็ได้โปรยลงมา และมันก็ได้สั่งให้แผ่นดินเจริญงอกงาม และแล้วมันก็ได้เจริญงอกงามด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และมันก็ได้มาหาผู้คนทั้งหลาย พร้อมๆ กับมันนั้นมีน้ำและไฟ ไฟของมันนั้นที่จริงแล้วคือน้ำเย็น และน้ำของมันนั้นที่จริงแล้วเป็นไฟที่ร้อนระอุ ดังนั้น เป็นเรื่องที่สมควรอย่างยิ่งสำหรับมุอ์มินผู้ศรัทธาที่จะต้องขอความคุ้มครองต่อพระองค์อัลลอฮฺให้ปลอดภัยจากบททดสอบของมันด้วยการขอดุอาอ์ในช่วงท้ายของการละหมาดทุกเวลา และเขาจะต้องอ่านอายะฮฺแรกๆ ของซูเราะฮฺอัลกะฮฺฟฺไล่ดัจญาลหากเขาทันได้พบมัน และเขาจะต้องหลีกห่างจากการที่จะพบกับมัน เนื่องเพราะกลัวว่าจะถูกทดสอบ ท่านนบี e ได้กล่าวว่า:
« مَنْ سَمِعَ بِالدَّجَّالِ فَلْيَنْأَ عَنْهُ فَوَاللَّـهِ إِنَّ الرَّجُلَ لَيَأْتِيهِ وَهُوَ يَحْسِبُ أَنَّهُ مُؤْمِنٌ فَيَتَّبِعُهُ مِمَّا يَبْعَثُ بِهِ مِنْ الشُّبُهَات »
ความว่า: "ผู้ใดที่ได้ยินดัจญาล เขาจะต้องออกห่างจากมัน แล้วฉันขอสาบานต่อพระองค์อัลลอฮฺ แท้จริงแล้ว มีคนที่ได้ไปหามันโดยที่เขาคิดว่าเขาเป็นมุอ์มินผู้ศรัทธา(ที่สามารถต้านทานดัจญาลได้) สุดท้ายเขาก็ได้ปฏิบัติตามดัจญาล เพราะบททดสอบของมันจากสิ่งที่เป็นความคลุมเครือทั้งหลาย" (บันทึกโดยอบูดาวูด)
และมันจะอาศัยอยู่บนแผ่นดินเป็นระยะเวลาสี่สิบวันด้วยกัน พักอยู่วันหนึ่งเสมือนว่าเป็นหนึ่งปี อีกวันหนึ่งเสมือนว่าเป็นหนึ่งเดือน อีกวันหนึ่งเสมือนเป็นหนึ่งญุมอะฮฺ(หนึ่งสัปดาห์) และวันอื่นๆ ของมันจะเหมือนวันปกติของเราอย่างทุกวันนี้ และมันจะไม่ละทิ้งประเทศหนึ่งประเทศใด หรือแผ่นดินหนึ่งแผ่นดินใด นอกจากว่ามันจะเข้าไปในเมืองเหล่านั้น ยกเว้นมักกะฮฺกับมะดีนะฮฺ หลังจากนั้นท่านนบีอีซา u ก็จะลงมายังโลกดุนยาแล้วท่านก็จะฆ่ามัน
24. นรกกับสวรรค์ทั้งสองมีอยู่จริงหรือไม่ ? ใช่ แน่แท้พระองค์อัลลอฮฺทรงสร้างมันทั้งสองก่อนที่จะสร้างมนุษย์เสียอีก และมันทั้งสองจะไม่พินาศเป็นอันขาดและมันจะไม่สูญสลาย และพระองค์อัลลอฮฺทรงกำหนดให้มีชาวสวรรค์ด้วยกับความประเสริฐของพระองค์ และทรงสร้างให้นรกมีผู้ที่จะต้องถูกทรมานในมันด้วยความเป็นธรรมของพระองค์ และทุกสิ่งทุกอย่างนั้นถูกทำให้สะดวกในสิ่งที่เขาถูกสร้างมาเพื่อการนั้น
25. อะไรคือความหมายของการศรัทธาต่อเกาะดัรฺหรือกฎสภาวการณ์ของอัลลอฮฺ ? คือการเชื่อมั่นอย่างมั่นคงว่า แท้จริง ความดีทุกๆ อย่างหรือความชั่วทุกๆ อย่างนั้น ล้วนอยู่ในการกำหนดของพระองค์อัลลอฮฺ และอยู่ในกรอบของกฎสภาวการณ์ของพระองค์ และแท้จริงพระองค์เป็นผู้กระทำด้วยสิ่งที่พระองค์ต้องการ ท่านรอซูล e ได้กล่าวว่า:
« لَوْ أَنَّ اللَّـهَ عَذَّبَ أَهْلَ سَمَاوَاتِهِ وَأَهْلَ أَرْضِهِ عَذَّبَهُمْ وَهُوَ غَيْرُ ظَالِمٍ لَهُمْ وَلَوْ رَحِمَهُمْ كَانَتْ رَحْمَتُهُ خَيْرًا لَهُمْ مِنْ أَعْمَالِهِمْ وَلَوْ أَنْفَقْتَ مِثْلَ أُحُدٍ ذَهَبًا فِي سَبِيلِ اللَّـهِ مَا قَبِلَهُ اللَّـهُ مِنْكَ حَتَّى تُؤْمِنَ بِالْقَدَرِ، وَتَعْلَمَ أَنَّ مَا أَصَابَكَ لَمْ يَكُنْ لِيُخْطِئَكَ وَأَنَّ مَا أَخْطَأَكَ لَمْ يَكُنْ لِيُصِيبَكَ وَلَوْ مُتَّ عَلَى غَيْرِ هَذَا لَدَخَلْتَ النَّارَ»
ความว่า: "หากแม้นว่าพระองค์อัลลอฮฺจะทรงลงโทษชาวฟ้าทั้งหลายของพระองค์ และชาวพิภพทั้งหลายของพระองค์ พระองค์ก็จะทรงลงโทษพวกเขา โดยที่พระองค์นั้นไม่ทรงเป็นผู้ที่อธรรมต่อพวกเขาแม้แต่นิด หากแม้นว่าพระองค์จะทรงเอ็นดูเมตตาพวกเขา ความเอ็นดูเมตตาของพระองค์นั้นย่อมเป็นสิ่งที่ดียิ่งสำหรับพวกเขามากกว่าการงานต่างๆ ของพวกเขาเสียอีก และหากแม้นว่าเจ้าบริจาคทองมากมายประดุจดังภูเขาอุหุดในหนทางอัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงยังไม่รับมันจากเจ้า จนกว่าเจ้าจะศรัทธาต่อเกาะดัรฺ(กฎสภาวการณ์) และจนกว่าเจ้าจะรู้ว่า แท้จริงสิ่งที่จะประสบกับเจ้านั้นมันก็จะไม่พลาดไปจากเจ้า และแท้จริง สิ่งที่มันจะผิดพลาดไปจากเจ้านั้นมันก็ย่อมจะไม่ประสบกับเจ้า และหากแม้นว่าเจ้าได้ตายลงในสภาพอื่นจากนี้ แน่แท้เจ้านั้นจะได้เข้านรก“ (อะหมัด และ อบู ดาวูด)
และการศรัทธาต่อเกาะดัรฺ(กฎสภาวการณ์)จะรวมถึงการประการต่างๆ สี่ข้อด้วยกันคือ:
1) การศรัทธาว่าแท้จริงพระองค์อัลลอฮฺทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่างโดยรวมและโดยรายละเอียดปลีกย่อยอย่างถี่ถ้วน
2) การศรัทธาว่าแท้จริงพระองค์นั้นได้บันทึกทุกสิ่งทุกอย่างดังกล่าวนั้นไว้แล้วใน อัล-เลาหฺ อัล-มะหฺฟูซฺ (แผ่นจารึกที่ถูกรักษาเอาไว้อย่างดี) ดังที่ท่านรอซูล e ได้กล่าวว่า:
«كَتَبَ اللَّـهُ مَقَادِيرَ الْـخَلائِقِ قَبْلَ أَنْ يَـخْلُقَ السَّمـَاوَاتِ وَالأَرْضَ؛ بِخَمْسِينَ أَلْفَ سَنَةٍ»
ความว่า: "อัลลอฮฺได้ทรงบันทึกกำหนดการต่างๆ ของสรรพสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหลายไว้แล้ว ก่อนที่พระองค์จะสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน ด้วยระยะเวลาถึงห้าพันปี" (มุสลิม)
3) การศรัทธาต่อพระประสงค์ของพระองค์อัลลอฮฺที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดจะมาปฏิเสธต้านทานได้ และศรัทธาต่อความสามารถของพระองค์ที่ซึ่งไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดจะมาทำให้พระองค์อ่อนแอได้ สิ่งใดที่พระองค์ทรงประสงค์สิ่งนั้นก็จะเป็น และสิ่งใดที่พระองค์ทรงไม่ประสงค์สิ่งนั้นก็จะไม่เป็น
4) การศรัทธาว่าแท้จริง พระองค์อัลลอฮฺนั้นคือผู้ทรงสร้างผู้ทรงเนรมิตทุกสิ่งทุกอย่าง และแท้จริง ทุกสิ่งทุกอย่างนอกจากพระองค์ล้วนเป็นสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหมดของพระองค์
26. สำหรับมนุษย์นั้นมีความสามารถ มีความประสงค์ และมีความต้องการอย่างแท้จริงหรือไม่ ? ใช่ สำหรับมนุษย์นั้นมีความประสงค์ มีความต้องการ และมีสิทธิในการเลือก แต่ทว่ามันจะไม่เล็ดรอดออกไปจากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ดังที่พระองค์ ﷻ ได้ตรัสไว้ว่า:
ﭽﭸﭹﭺﭻﭼﭽﭼ
ความว่า: "แต่พวกเจ้าจะไม่สมความปรารถนาได้ เว้นแต่ด้วยการที่อัลลอฮฺทรงประสงค์" (อัล-อินซาน 30)
และท่านรอซูล e ได้กล่าวว่า:
« اعْمَلُوا فَكُلٌّ مُيَسَّرٌ لِمَا خُلِقَ لَهُ »
ความว่า: "ท่านทั้งหลายจงทำไปเถิด เพราะทุกสิ่งทุกอย่างย่อมถูกทำให้ง่ายดายในสิ่งที่เขาถูกสร้างไว้สำหรับมัน" (อัล-บุคอรีย์)
แล้วอัลลอฮฺนั้นได้ให้สติปัญญา ได้ให้หู และได้ให้ตาแก่เรา เพื่อที่จะให้เราได้แยกแยะในระหว่างสิ่งที่ดีกับสิ่งที่ไม่ดี ดังนั้น มีไหมคนที่มีสติปัญญาซึ่งไปขโมยของผู้อื่น แล้วเขาก็กล่าวว่า แน่แท้อัลลอฮฺได้ทรงบันทึกการขโมยนั้นไว้ให้แก่ฉันแล้ว ! และหากว่าเขากล่าวเช่นนั้นจริง คนอื่นๆ คงไม่มีใครที่จะยอมรับหรือยกโทษให้เขาเป็นแน่ ทว่าเขาต้องถูกลงโทษ และเราจะก็จะกล่าวแก่เขาว่า แน่นอน พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงบันทึกการลงโทษนี้ไว้ให้แก่เจ้าเช่นเดียวกัน ดังนั้น การยกหลักฐานและการแก้ตัวด้วยการอ้างกฎสภาวการณ์นั้นไม่เป็นที่อนุญาติ ซึ่งถือว่ามันเป็นการปฏิเสธด้วย พระองค์อัลลอฮฺ ﷻ ได้ตรัสไว้ว่า:
ﭽﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭼ
ความว่า:"บรรดาผู้ที่ให้มีภาคีขึ้นนั้นจะกล่าวว่า หากว่าอัลลอฮฺทรงประสงค์แล้วไซร้ พวกเราก็ย่อมไม่ให้มีภาคีขึ้น รวมทั้งบรรพบุรุษของพวกเราอีกด้วย และพวกเราก็ย่อมไม่กำหนดให้มีสิ่งใดเป็นที่ต้องห้าม ในทำนองนั้นแหละ บรรดาผู้คนก่อนหน้าพวกเขาได้อ้างเท็จเช่นเดียวกันนี้มาแล้ว " (อัล-อันอาม 148)
27. อัล-อิหฺสาน คืออะไร ? ท่านนบี e ได้ถูกถามถึงอิหฺสาน แล้วท่านก็ได้ตอบว่า:
«أَنْ تَعْبُدَ اللَّـهَ كَأَنَّكَ تَرَاهُ، فَإِنَّكَ إِنْ لا تَرَاهُ، فَإِنَّهُ يَرَاك »
ความว่า: "คือการที่ท่านเคารพอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺเสมือนว่าท่านนั้นเห็นพระองค์ ดังนั้นแท้จริง หากแม้นว่าท่านไม่เห็นพระองค์ ทว่าแท้จริงแล้ว พระองค์นั้นทรงเห็นท่าน" (อัล-บุคอรีย์)
และมันคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในลำดับทั้งสามของศาสนา
28. เตาฮีดมีกี่ประเภท ? ประเภทของเตาฮีดมีสามประการด้วยกัน
1) เตาฮีด อัร-รุบูบียะฮฺ คือ การศรัทธาเชื่อมั่นในความเป็นเอกะของพระองค์อัลลอฮฺในด้านพระกิริยาหรือกระทำต่างๆ ของพระองค์ ดังเช่น การสร้าง การให้ริซกีปัจจัยยังชีพ การให้มีชีวิต และอื่นๆ เป็นต้น และแน่นอนบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลายก็ได้ยืนยันต่อเตาฮีดในประเภทนี้ก่อนการแต่งตั้งท่านนบี e เสียอีก
2) เตาฮีด อัล-อุลูฮียะฮฺ คือ การมอบเอกภาพหรือให้ความเป็นหนึ่งเดียวต่อพระองค์อัลลอฮฺในการทำการอิบาดะฮฺต่อพระองค์ เช่น การละหมาด การบนบาน การบริจาคทาน และอื่นๆ และเนื่องด้วยเตาฮีดประเภทนี้เองที่บรรดารอซูลได้ถูกส่งมาและบรรดาคัมภีร์ได้ถูกประทานลงมาเพื่อเชิญชวนมนุษยชาติ
3) เตาฮีด อัล-อัสมาอ์ วัศศิฟาต คือ การยืนยันต่อสิ่งที่พระองค์อัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ได้ยืนยันมันเอาไว้ในบรรดาพระนามต่างๆ ที่งดงาม และคุณลักษณะต่างๆ ที่สูงส่ง ว่ามันเป็นของพระองค์อัลลอฮฺ โดยปราศจากการบิดเบือน หรือการปฏิเสธต่อตัวบทต่างๆ หรือการอธิบายวิธีการ หรือการเปรียบเทียบกับคุณลักษณะของสิ่งอื่น
29. คำว่า วะลีย์ (ผู้ใกล้ชิดที่อัลลอฮฺรัก) นั้นหมายถึงผู้ใด ? คือผู้ศรัทธาที่มีคุณธรรมความยำเกรง ดังที่พระองค์อัลลอฮฺ ﷻ ได้ตรัสไว้ว่า:
ﭽﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟﭼ
ความว่า: “พึงทราบเถิด แท้จริงบรรดาวะลีย์ผู้ที่อัลลอฮฺรักนั้น ไม่มีความหวาดกลัวใดๆ แก่พวกเขา และพวกเขาจะไม่เศร้าโศกเสียใจ คือบรรดาผู้ศรัทธาและพวกเขามีความยำเกรง" (ยูนุส 62-63)
และท่านรอซูล e ได้กล่าวว่า:
« إِنَّمـَا وَلِيِّيَ اللَّـهُ وَصَالِحُ الْـمُؤْمِنِين »
ความว่า: “แท้จริง วะลีย์ของฉันคืออัลลอฮฺ และมุอ์มินที่มีคุณธรรมทั้งหลาย" (มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ)
30. อะไรเป็นหน้าที่จำเป็นของเราต่อบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบี e ? สิ่งที่วาญิบก็คือ การมีความรักต่อพวกเขา กล่าวขอดุอาอ์ให้อัลลอฮฺพึงพอใจต่อพวกเขา(คือกล่าวว่า เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ) ต้องให้หัวใจของเราและลิ้นของเราปราศจากการพูดว่าร้ายเกลียดชังพวกเขา การแพร่กระจายความประเสริฐของพวกเขา การยับยั้งไม่พูดถึงสิ่งที่ถกเถียงกันในระหว่างพวกเขา ซึ่งพวกเขานั้นไม่ใช่บรรดาผู้ที่ได้รับการคุ้มครองจากข้อผิดพลาด(คือไม่ใช่มะอฺศูม) แต่ทว่าพวกเขานั้นคือบรรดามุจญ์ตะฮิด(บรรดาผู้อุตสาหะวินิจฉัย) สำหรับผู้ที่พบความถูกต้องจากพวกเขาจะได้รับผลบุญสองเท่า และสำหรับผู้ที่ผิดพลาดจากพวกเขาจะได้รับผลบุญเพียงหนึ่งเท่าต่อความอุตสาหะของเขาและความผิดพลาดของเขานั้นจะได้รับการอภัยโทษ สำหรับพวกเขานั้นมีความประเสริฐมากมายซึ่งสามารถลบล้างความผิดที่เกิดขึ้นกับพวกเขาให้หมดไปได้ และพวกเขานั้นมีความประเสริฐที่แตกต่างกัน บรรดาผู้ที่ประเสริฐยิ่งในหมู่พวกเขาคือสิบคนดังต่อไปนี้ นั่นคือ อบู บักรฺ อัศ-ศิดดีก ต่อมาก็คือ อุมัรฺ บิน อัล-ค็อฏฏอบ ต่อมาก็คือ อุษมาน บิน อัฟฟาน ต่อมาก็คือ อะลี บิน อบี ฏอลิบ ต่อมาก็เป็น ฏ็อลหะฮฺ, ซุเบร, อับดุรเราะมาน บิน เอาฟฺ, สะอัดบิน อบี วักกอศ, สะอีด บิน ซัยดฺ และอบู อุบัยดะฮฺ บิน อัล-ญัรรอหฺ ต่อมาก็คือบรรดามุญาฮิรีนผู้อพยพทั้งหลาย ต่อมาก็คือผู้ที่ร่วมสงครามบะดัรในหมู่ชาวมุญาฮิรีนและชาวอันศอร จากนั้นก็เป็นบรรดาชาวอันศอรที่เหลือทั้งหลาย แล้วจึงเป็นเศาะหาบะฮฺคนอื่นๆ ท่านนบี e ได้กล่าวว่า:
« لا تَسُبُّوا أَصْحَابِي، فَوَالَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ، لَوْ أَنَّ أَحَدَكُمْ أَنْفَقَ مِثْلَ أُحُدٍ ذَهَبًا، مَا أَدْرَكَ مُدَّ أَحَدِهِمْ، وَلَا نَصِيفَهُ »
ความว่า: "พวกท่านทั้งหลายอย่าได้ด่าทอบรรดาศอหาบะฮฺของฉัน ดังนั้นฉันขอสาบานด้วยอัลลอฮฺผู้ซึ่งชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ หากแม้นว่าคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเจ้าบริจาคอย่างมากมายเท่ากับภูเขาอุหุด มันก็ยังไม่เท่ากับหนึ่งกำมือของพวกเขาคนหนึ่งคนใดเลย และไม่อาจจะเทียบเท่าได้แม้เพียงครึ่งกำมือของเขาเลยด้วย" (มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ)
และท่านรอซูล e ได้กล่าวอีกว่า:
« مَنْ سَبَّ أَصْحَابِي، فَعَلَيْهِ لَعْنَةُ اللَّـهِ وَالْـمَلائِكَةِ وَالنَّاسِ أَجْمَعِينَ »
ความว่า: " ใครที่ด่าทอบรรดาเศาะหาบะฮฺของฉัน ดังนั้นสำหรับเขาแล้วคือการสาปแช่งของอัลลอฮฺ และบรรดามะลาอิกะฮฺ และมนุษย์ทั้งมวล" (อัต-เฏาะบะรอนีย์)
31. เราจะเกินเลยในการชมเชยท่านรอซูล e มากไปกว่าที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานให้แก่ท่านได้หรือไม่ ? ไม่ต้องสงสัยเลยว่า แท้จริง ผู้นำของเราท่านนบีมุหัมมัด e นั้นคือมัคลูกสิ่งที่ถูกสร้างของพระองค์อัลลอฮฺที่มีเกียรติยิ่งและเป็นผู้ที่ประเสริฐที่สุดในหมู่สรรพสิ่งทั้งหลายทั้งมวล แต่ทว่าไม่อนุญาตให้เรานั้นเพิ่มเติมเลยเถิดในการชมเชยต่อท่าน เหมือนที่พวกนะศอรอหรือพวกคริสต์ได้เพิ่มในการชมเชยต่อท่านนบีอีซา บิน มัรยัม อะลัยฮิมัสสลาม เพราะแท้จริงท่านนบี e ได้ห้ามพวกเราเอาไว้ในเรื่องดังกล่าว ด้วยคำพูดของท่านที่ว่า:
« لا تُطْرُونِي كَمَا أَطْرَتْ النَّصَارَى ابْنَ مَرْيَمَ، فَإِنَّمَا أَنَا عَبْدُهُ، فَقُولُوا: عَبْدُ اللَّـهِ وَرَسُولُهُ »
ความว่า: "พวกท่านทั้งหลายอย่าได้เกินเลยต่อฉัน เสมือนดังที่พวกนะศอรอได้เกินเลยต่อบุตรของมัรยัม แท้จริงฉันคือบ่าวของพระองค์อัลลอฮฺ ดังนั้นพวกท่านทั้งหลายจงกล่าวต่อฉันว่า: เป็นบ่าวของอัลลอฮฺและเป็นรอซูลของพระองค์" (อัล-บุคอรีย์)
คำว่า (الإطراء) อัล-อิฏรออ์ คือ การเกินเลย และการเพิ่มเติมในการชมเชย
32. อะฮฺลุลกิตาบ(ชาวคัมภีร์)เป็นผู้ศรัทธาหรือไม่ ? ชาวยะฮูดี(ยิว) นะศอรอ(คริสต์) และบรรดาผู้ปฏิบัติตามศาสนาต่างๆ นั้นคือกุฟฟาร(เป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา) แม้ว่าพวกเขาเคยปฏิบัติตามศาสนาหนึ่งซึ่งเดิมๆ ของมันนั้นถือว่าถูกต้อง และผู้ที่ไม่ละทิ้งศาสนาของเขาภายหลังที่ได้มีการแต่งตั้งนบีมุหัมมัดแล้ว และไม่ได้เข้ารับอิสลาม เขาก็เป็นเหมือนกับที่อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า:
ﭽ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻﭼ
ความว่า: "ศาสนานั้นก็จะไม่ถูกรับจากเขาเป็นอันขาด และในปรโลกเขาจะอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน" (อาล อิมรอน 85)
และหากมุสลิมไม่เชื่อในการเป็นกาฟิรของพวกเขา หรือสงสัยในความเป็นโมฆะของศาสนาของพวกเขาเหล่านั้นแล้วละก็ เขาก็จะกลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาไปด้วย เพราะเขาได้ขัดแย้งกับการตัดสินของอัลลอฮฺและนบีของพระองค์ที่ได้ยืนยันถึงการปฏิเสธศรัทธาของพวกเขา ดังที่พระองค์อัลลอฮฺ ﷻ ได้ตรัสไว้ว่า:
ﭽﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓﭼ
ความว่า: "และผู้ใดในหมู่พลพรรคทั้งหลาย(หมายถึงคนในศาสนาต่างๆ)ที่ได้ปฏิเสธศรัทธาต่อมัน ไฟนรกก็คือสัญญาของเขา " (ฮูด 17)
และท่านรอซูล e ได้กล่าวว่า:
« وَالَّذِي نَفْسُ مُحَمَّدٍ بِيَدِهِ لا يَسْمَعُ بِي أَحَدٌ مِنْ هَذِهِ الأُمَّةِ وَلاَ يَـهُودِيٌّ وَلا نَصْرَانِيٌّ ثُمَّ يَمُوتُ وَلـَمْ يُؤْمِنْ بِيْ إِلا كَانَ مِنْ أَصْحَابِ النَّارِ »
ความว่า: "ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺผู้ซึ่งชีวิตของมุหัมมัดอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ ไม่มีใครจากประชาชาตินี้ไม่ว่าจะเป็นยิวหรือคริสต์ ที่ได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับฉัน ต่อมาเขาก็ได้ตายไปทั้งๆ ที่เขานั้นยังไม่ได้ศรัทธาต่อฉัน เว้นแต่เขาย่อมจะเป็นคนหนึ่งจากชาวนรก " (มุสลิม)
33. การอธรรมต่อคนกาฟิรอนุญาตหรือไม่ ? ความยุติธรรมนั้นเป็นสิ่งที่วาญิบ(จำเป็น) ดังที่พระองค์อัลลอฮฺ ﷻ ได้ตรัสไว้ว่า:
ﭽﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿﭼ
ความว่า: "แท้จริง อัลลอฮฺทรงใช้ให้รักษาความยุติธรรมและการทำดี " (อัน-นะห์ลฺ 90)
และการอธรรมเป็นสิ่งที่หะรอม(เป็นที่ต้องห้าม) ด้วยพระดำรัสของพระองค์อัลลอฮฺในหะดีษกุดสีย์ที่ว่า:
« إِنِّي حَرَّمْتُ الظُّلْمَ عَلَى نَفْسِي وَجَعَلْتُهُ بَيْنَكُمْ مُحَرَّمًا فَلا تَظَالَمُوا »
ความว่า: "แท้จริงข้าได้ห้ามตัวของข้าเองจากการอธรรม และข้าได้ทำให้มันเป็นที่ต้องห้ามในระหว่างพวกเจ้า ดังนั้นพวกเจ้าอย่าได้อธรรมซึ่งกันและกัน" (บันทึกโดยมุสลิม ในหะดีษ อัลกุดสีย์)
และในวันกิยามะฮฺนั้นผู้ที่ถูกอธรรมจะได้แก้แค้นต่อผู้ที่อธรรมเขา ดังที่ท่านรอซูล e ได้กล่าวว่า:
« أَتَدْرُونَ مَنِ الـْمُفْلِسُ؟ قَالُوا: الـْمُفْلِسُ فِينَا مَنْ لا دِرْهَمَ لَهُ وَلَا مَتَاعَ، فَقَالَ: إِنَّ الْـمُفْلِسَ مِنْ أُمَّتِي يَأْتِي يَوْمَ الْقِيَامَةِ بِصَلاةٍ وَصِيَامٍ وَزَكَاةٍ، وَيَأْتِي قَدْ شَتَمَ هَذَا وَقَذَفَ هَذَا وَأَكَلَ مَالَ هَذَا وَسَفَكَ دَمَ هَذَا وَضَرَبَ هَذَا، فَيُعْطَى هَذَا مِنْ حَسَنَاتِهِ وَهَذَا مِنْ حَسَنَاتِهِ، فَإِنْ فَنِيَتْ حَسَنَاتُهُ قَبْلَ أَنْ يُقْضَى مَا عَلَيْهِ أُخِذَ مِنْ خَطَايَاهُمْ، فَطُرِحَتْ عَلَيْهِ ثُمَّ طُرِحَ فِي النَّارِ »
ความว่า: “พวกท่านทั้งหลายรู้หรือไม่ว่าใครเป็นผู้ล้มละลาย ? พวกเขากล่าวว่า ผู้ล้มละลายในหมู่พวกเราคือผู้ที่ไม่มีทรัพย์สินแม้แต่ดิรฮัมเดียว และไม่มีแม้แต่ของสักชิ้นเดียวเลย ท่านนบีได้กล่าวตอบว่า แท้จริงผู้ที่ล้มละลายจากประชาชาติของฉัน เขาจะมาในวันกิยามะฮฺด้วยกับการละหมาด การถือศีลอด และการบริจาคซะกาต เขามาในสภาพที่เขาเคยด่าทอคนนั้นคนนี้ และเคยกล่าวหาผู้นั้นผู้นี้ และเคยกินทรัพย์สมบัติของคนนั้นคนนี้ และได้หลั่งเลือดของคนผู้นั้นผู้นี้ และได้เคยตบตีทำร้ายคนนั้นคนนี้ ดังนั้น ความดีต่างๆ ของเขาก็จะถูกมอบให้กับคนนั้น ความดีอีกอันของเขาก็จะถูกมอบให้กับคนนี้ เมื่อความดีต่างๆ ของเขาได้ถูกมอบจนหมดแล้วก่อนที่เขาจะถูกตัดสิน เขาก็ต้องรับเอาความผิดต่างๆ ของคนเหล่านั้นมา มันถูกโยนให้เขาแบกรับไว้ ต่อมาเขาก็ถูกโยนลงไปในไฟนรก" (มุสลิม)
และแม้กระทั่งระหว่างสัตว์เดรัจฉานก็ยังมีการแก้แค้นชดเชยอีกด้วย
34. บิดอะฮฺ (อุตริกรรม) คืออะไร ? อิบนุ เราะญับ ได้กล่าวว่า ความหมายของคำว่าบิดอะฮฺคือ สิ่งที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่จากสิ่งที่ไม่มีฐานเดิมในบทบัญญัติศาสนาที่บ่งชี้ถึงมัน ส่วนสิ่งที่มีรากฐานเดิมจากบทบัญญัติที่บ่งชี้ถึงมันเอาไว้นั้น ไม่ใช่บิดอะฮฺตามหลักวิชาการ แม้ว่ามันจะเป็นบิดอะฮฺในด้านภาษาก็ตาม
35. ในศาสนามีบิดอะฮฺหะสานะฮฺ(บิดอะฮฺที่ดี) และบิดอะฮฺสัยยิอะฮฺ(บิดอะฮฺที่เลว) หรือไม่ ? ได้มีโองการต่างๆ และหะดีษต่างๆ ที่ตำหนิสิ่งที่เป็นบิดอะฮฺ(อุตริกรรม)ตามความหมายในหลักวิชาการ ซึ่งหมายถึง สิ่งที่ถูกกระทำขึ้นมาใหม่โดยไม่มีฐานเดิมในบทบัญญัติศาสนา ท่านรอซูล e ได้กล่าวว่า:
« مَنْ عَمِلَ عَمَلا لَيْسَ عَلَيْهِ أَمْرُنَا فَهُوَ رَدٌّ »
ความว่า: "ผู้ใดที่กระทำงานหนึ่งงานใด โดยที่งานนั้นไม่ใช่คำสั่งใช้ของเรา ดังนั้นมันก็ถูกปฏิเสธ" (มุตตะฟะกุนอะลัย)
และท่านรอซูล e ได้กล่าวอีกว่า:
« فَإِنَّ كُلَّ مُـحْدَثَةٍ بِدْعَةٌ، وَكُلَّ بِدْعَةٍ ضَلالَةٌ »
ความว่า: "แท้จริง ทุกๆ สิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่คือบิดอะฮฺ(อุตริกรรม) และทุกๆ บิดอะฮฺนั้นเป็นการหลงผิด" (อบู ดาวูด)
และท่านอิมาม มาลิก ได้กล่าวเอาไว้ในความหมายของบิดอะฮฺด้านบทบัญญัติคือ ใครก็ตามที่ประดิษฐ์บิดอะฮฺขึ้นมาในศาสนาโดยเขาเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ดี แน่นอนเหลือเกิน เขาย่อมได้อ้างว่าแท้จริงมุหัมมัด e ได้บิดพริ้วการเผยแพร่สารของอัลลอฮฺ เพราะอัลลอฮฺ ﷻ ได้ได้ตรัสไว้ว่า:
ﭽ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁﭼ
ความว่า: "วันนี้ ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งศาสนาของพวกเจ้า และข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า" (อัล-มาอิดะฮฺ 3)
และแน่นอนเช่นเดียวกัน ได้มีหะดีษบางหะดีษที่ชมเชยบิดอะฮฺตามความหมายของมันในด้านภาษา คือ สิ่งที่มีมาในบทบัญญัติแต่ทว่ามันได้ถูกลืมไป ดังนั้นท่านนบี e จึงได้ส่งเสริมให้มีการเตือนระหว่างมนุษย์ด้วยกันเพื่อให้ระลึกถึงมัน ดังเช่นคำพูดของท่าน e ที่ว่า:
« مَنْ سَنَّ فِي الإِسْلامِ سُنَّةً حَسَنَةً فَلَهُ أَجْرُهَا، وَأَجْرُ مَنْ عَمِلَ بِهَا بَعْدَهُ مِنْ غَيْرِ أَنْ يَنْقُصَ مِنْ أُجُورِهِمْ شَيْءٌ »
ความว่า:"ใครก็ตามที่กำหนดแนวทางที่ดีขึ้นมาในศาสนา ดังนั้นสำหรับเขาแล้วจะได้รับผลตอบแทนของมันและผลตอบแทนของผู้ปฏิบัติตามหลังจากเขา โดยที่ผลบุญของพวกเขาจะไม่บกพร่องไปพวกเขาเลยแม้แต่น้อย" (มุสลิม)
และด้วยความหมายนี้เอง ที่ได้มีคำพูดของท่านอุมัรฺ t ว่า: (نِعْمَتُ الْبِدْعَةُ هَذِهِ) ความว่า: "บิดอะฮฺที่ดีที่สุด คือสิ่งนี้แหละ" ซึ่งท่านหมายถึงการละหมาดตะรอวีหฺ เพราะแท้จริงมันนั้นเคยเป็นบทบัญญัติมาก่อน ท่านนบี e ได้ส่งเสริมมันด้วย และท่านนบียังได้ละหมาดเป็นเวลาสามคืน ต่อมาท่านก็ได้ละทิ้งมันเพราะกลัวว่ามันจะถูกบัญญัติให้เป็นฟัรฎูขึ้นมา ดังนั้นท่านอุมัรฺ t จึงได้ละหมาดมันและได้รวบรวมผู้คนเพื่อทำการละหมาดมันร่วมกัน
36. นิฟาก (การกลับกลอกหรือการบิดพริ้ว) มีกี่ชนิด ? นิฟากมีสองชนิด
1) นิฟากอิอฺติกอดีย์ หรือ นิฟาก อักบัรฺ คือการที่เขาเปิดเผยอีมานความศรัทธาของเขาและซ่อนเร้นการปฏิเสธศรัทธาเอาไว้ ซึ่งเป็นชนิดที่ทำให้สิ้นสภาพจากการนับถือศาสนาอิสลาม และเมื่อเจ้าตัวของมันได้ตายลงในขณะที่เขาดำรงอยู่กับนิฟากชนิดนี้เขาก็ตายในสภาพที่เป็นกาฟิรผู้ปฏิเสธศรัทธา ดังที่พระองค์อัลลอฮฺ ﷻ ได้ตรัสไว้ว่า:
ﭽﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﭼ
ความว่า: "แท้จริง บรรดามุนาฟิกนั้นอยู่ในชั้นต่ำสุดของนรก" (อัน-นิสาอ์ 145)
และส่วนหนึ่งจากคุณลักษณะต่างๆ ของพวกเขาก็คือ แท้จริงพวกเขาได้หลอกลวงต่อพระองค์อัลลอฮฺและบรรดาผู้ศรัทธา พวกเขาได้เยาะเย้ยต่อบรรดาผู้ศรัทธาและให้การช่วยเหลือบรรดากุฟฟาร(บรรดาผู้ปฏิเสธ)เหนือบรรดามุสลิม และพวกเขาวางเป้าหมายในการปฏิบัติอะมัลศอลิหฺต่างๆ นั้นเพื่อแค่หวังผลในโลกดุนยานี้เท่านั้น
2) นิฟาก อะมะลีย์ หรือ นิฟาก อัศฆ็อรฺ คือเจ้าตัวที่มีนิฟากนี้จะไม่สิ้นสภาพจากการเป็นอิสลาม แต่ทว่าเขานั้นตกอยู่ในสภาพที่อันตรายซึ่งมันจะนำเขาไปสู่การเป็นนิฟากอักบัรฺถ้าหากว่าเขาไม่กลับตัว และสำหรับเจ้าตัวของมันนั้นจะมีคุณลักษณะต่างๆ ที่แสดงให้เห็น นั่นคือ เมื่อเขาพูดเขาก็โกหก เมื่อเขาสัญญาเขาก็ผิดสัญญา เมื่อเขาโต้เถียงเขาก็ฝ่าฝืน เมื่อเขาทำสัญญาเขาก็หลอกลวงต่อพันธะสัญญานนั้น และเมื่อเขาได้รับความไว้วางใจเขาก็ทรยศ ด้วยเหตุนี้เองจึงปรากฏว่าบรรดาเศาะหาบะฮฺ y นั้นกลัวต่อการเป็นนิฟากอะมะลีย์นี้อย่างยิ่ง
ท่าน อิบนุ อะบี มุลัยกะฮฺ ได้กล่าวว่า ฉันได้พบกับเศาะหาบะฮฺสามสิบท่านจากบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านนบี e พวกเขาทั้งหมดต่างกลัวต่อตัวของพวกเขาว่าจะเป็นนิฟาก
และท่านอิบรอฮีม อัต-ตัยมีย์ ได้กล่าวว่า ไม่มีครั้งใดที่ฉันเสนอคำพูดของฉันต่อการกระทำของฉัน นอกจากว่าทุกครั้งนั้นฉันรู้สึกกลัวว่าจะเป็นผู้ที่พูดโกหก
และท่านอัล-หะซัน อัล-บัศรีย์ ได้กล่าวว่า ไม่มีผู้ใดที่กลัวการเป็นนิฟาก เว้นแต่เขาต้องเป็นผู้ศรัทธาอย่างแน่แท้ และไม่มีใครที่รู้สึกว่าปลอดภัยจากนิฟาก เว้นแต่เขาต้องเป็นมุนาฟิกตัวจริง
และท่านอุมัร ได้กล่าวแก่ หุซัยฟะฮฺ y ว่า ฉันขอเรียกร้องต่อท่านด้วยอัลลอฮฺ ให้ท่านบอกมาว่าท่านรอซูล e ได้เคยพูดกับท่านถึงฉันว่าเป็นหนึ่งในหมู่พวกเขา (หมายถึง บรรดามุนาฟิกีน) หรือไม่ ? หุซัยฟะฮฺ กล่าวตอบว่า ไม่ และฉันไม่ขอรับรองความบริสุทธิ์ให้แก่คนอื่นใดอีกหลังจากท่าน
37. อะไรคือความผิดที่ใหญ่หลวงที่สุด ณ ที่อัลลอฮฺ ? ความผิดที่ใหญ่หลวงที่สุด ณ ที่อัลลอฮฺ คือ การตั้งภาคี(ชิริก)ต่อพระองค์ ดังที่พระองค์อัลลอฮฺ ﷻ ได้ตรัสไว้ว่า:
ﭽﭱﭲﭳﭴﭼ
ความว่า: "แท้จริง การตั้งภาคี(ชิริก)นั้นถือเป็นความอธรรมที่ใหญ่หลวง" (ลุกมาน 13)
และท่านรอซูล e ได้ถูกถามว่า อะไรคือบาปที่ใหญ่หลวงที่สุด ? ท่านได้กล่าวว่า:
« أَنْ تَـجْعَلَ لِلَّـهِ نِدًّا، وَهُوَ خَلَقَكَ »
ความว่า: "บาปที่ใหญ่หลวงคือ การที่ท่านทำให้มีหุ้นส่วนกับอัลลอฮฺ ทั้งๆ ที่พระองค์ทรงสร้างท่านมา" (มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ)
38. การตั้งภาคี(ชิริก)มีกี่ชนิด ? การตั้งภาคี (การทำชิริก) มีสองชนิด
1) ชิริกใหญ่ (ชิริก อักบัรฺ) ผู้ที่กระทำชิริกใหญ่นั้นต้องสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม(ออกจากศาสนาอิสลาม) และพระองค์อัลลอฮฺไม่ทรงอภัยโทษให้กับผู้ที่กระทำชิริกใหญ่ ดังพระดำรัสของพระองค์ที่ว่า:
ﭽﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮﭼ
ความว่า: "แท้จริง พระองค์อัลลอฮฺจะไม่ทรงอภัยโทษให้แก่การที่สิ่งหนึ่งจะถูกให้มีภาคีขึ้นแก่พระองค์ และพระองค์ทรงอภัยให้แก่สิ่งอื่นจากนั้น สำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์" (อัน-นิสาอ์ 48)
และประเภทของชิริกอักบัรฺนั้นมี 4 ประเภท คือ
ก) การตั้งภาคีในเรื่องของการขอดุอาอ์และการวอนขอ
ข) การตั้งภาคีในเรื่องของการตั้งเจตนา ความต้องการ และความมุ่งหมาย ด้วยการกระทำความดีต่างๆ เพื่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ
ค) การตั้งภาคีในเรื่องของการฏออัตหรือการเชื่อฟังปฏิบัติตาม ด้วยการปฏิบัติตามผู้รู้ในการห้ามสิ่งที่อัลลอฮฺอนุมัติให้กระทำ และกลับอนุมัติในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงห้าม
ง) การตั้งภาคีในเรื่องของความรัก ด้วยการรักคนหนึ่งคนใดเหมือนกับที่เขารักอัลลอฮฺ
2) ชิริกเล็ก (ชิริก อัศฆ็อรฺ) ผู้กระทำชิริกชนิดนี้ยังไม่สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม(ยังไม่ออกจากศาสนาอิสลาม) ซึ่งมันแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ :
ก) ซอฮิรฺ หรือเห็นได้ชัดเจน คือไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับคำพูด เช่น การสาบานด้วยกับสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ หรือ คำพูดที่ว่า (ماشاء الله وشئتَ) มาชาอัลลอฮฺ วะ ชิอ์ตะ ความว่า (เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺต้องการและที่ท่านต้องการ) หรือ (لولا الله وفلان) เลาลัลลอฮฺ วะ ฟุลาน ความว่า (หากว่าไม่มีอัลลอฮฺและไม่มีคนคนนั้นก็ย่อมจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้) หรือเกี่ยวกับการกระทำต่างๆ เช่นการสวมใส่เชือกและด้าย เพื่อปัดเป่าโรคภัยหรือเพื่อป้องกันจากมัน เช่นเดียวกับการสวมใส่ตะกุดเครื่องรางของขลังเพราะกลัวว่าจะมีคนอิจฉาริษยาและให้โทษ หรือการเชื่อในลางร้าย คือการมองโลกในแง่ร้ายจากพฤติกรรมของนก ชื่อ คำต่างๆ สถานที่หรืออื่นๆ ที่กล่าวมานี้
ข) เคาะฟีย์ หรือชิริกที่ซ่อนเร้น คือการชิริกในเรื่องของการตั้งเจตนา การวางเป้าหมาย และความต้องการต่างๆ เช่น การทำอะมัลด้วยความโอ้อวด และการหวังชื่อเสียงเกียรติยศ เป็นต้น
39. ชิริกใหญ่และชิริกเล็กแตกต่างกันอย่างไร ? ส่วนหนึ่งของความแตกต่างระหว่างชิริกทั้งสองชนิดนี้ก็คือ การทำชิริกใหญ่นั้นผู้กระทำถูกตัดสินให้สิ้นสภาพจากมุสลิม(ออกจากศาสนาอิสลาม)ในโลกดุนยา และจะตกนรกตลอดกาลในวันอาคิเราะฮฺ ส่วนการทำชิริกเล็กนั้นไม่ได้ถูกชี้ขาดว่าเป็นกาฟิรฺในโลกดุนยา และไม่ได้ตกนรกตลอดกาลในวันอาคิเราะฮฺ และการทำชิริกใหญ่นั้นจะทำลายทุกการงานของมนุษย์ ในขณะที่การทำชิริกเล็กนั้นจะทำความเสียหายเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น และยังมีประเด็นปัญหาที่ขัดแย้งกันอยู่ว่า การทำชิริกเล็กนั้นจะไม่ได้รับการอภัยโทษนอกจากด้วยการกลับเนื้อกลับตัวเช่นเดียวกับชิริกใหญ่หรือไม่ ? หรือว่าการทำชิริกเล็กนั้นเปรียบเหมือนเช่นเดียวกับบาปใหญ่ ที่อยู่ภายใต้ความประสงค์ของอัลลอฮฺว่าจะทรงอภัยให้หรือไม่ทรงอภัยให้ ? อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าความเห็นใดระหว่างสองความเห็นนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง มันก็แสดงให้เห็นว่าชิริกเล็กนี้ย่อมเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างยิ่งในทุกกรณี
40. ชิริกเล็กสามารถที่จะป้องกันก่อนที่มันจะเกิดได้หรือไม่ ? หรือสามารถแก้ตัวในเมื่อมันเกิดขึ้นแล้วได้หรือไม่ ? ใช่ ทำได้ การป้องกันจากการโอ้อวดนั้นทำได้ด้วยการทำอะมัลโดยมุ่งหวังและปรารถนาความพอพระทัยของอัลลอฮฺ และส่วนการโอ้อวดที่เล็กน้อยนั้นสามารถป้องกันด้วยการขอดุอาอ์ ดังที่ท่านรอซูล e ได้กล่าวว่า:
«أَيُّهـَا النَّاسُ اتَّقُوا الشِّرْكَ، فَإِنَّهُ أَخْفَى مِنْ دَبِيبِ النَّمْلِ، فَقَيلَ لَهُ: وَكَيْفَ نَتَّقِيهِ وَهُوَ أَخْفَى مِنْ دَبِيبِ النَّمْلِ يَا رَسُولَ اللَّـهِ؟ قَالَ: قُولُوا: اللَّهُمَّ إِنَّا نَعُوذُ بِكَ مِنْ أَنْ نُشْرِكَ بِكَ شَيْئًا نَعْلَمُهُ، وَنَسْتَغْفِرُكَ لِـمَا لا نَعْلَمُ »
ความว่า: "โอ้ผู้คนทั้งหลาย พวกท่านพึงเกรงกลัวชิริก(ชิริก อัศฆ็อรฺ)นี้เถิด เพราะแท้จริง มันแฝงเร้นยิ่งกว่ามดดำที่คลานอยู่บนหินดำเสียอีก แล้วได้มีผู้ถามท่านขึ้นมาว่า: โอ้ รอซูลุลลอฮฺ ! แล้วเราจะป้องกันมันอย่างไรเล่า ในเมื่อมันเร้นลับยิ่งกว่ามดดำที่คลานอยู่บนหินดำเสียอีก ? ท่านนบีก็กล่าวตอบว่า: ท่านทั้งหลายจงกล่าวว่า:
อัลลอฮุมมะ อินนา นะอูซุบิกะ มิน อัน นุชริกะ บิกะ ชัยอัน นะอฺละมุฮฺ, วะนัสตัฆฟิรุกะ ลิมา ลา นะอฺละมุฮฺ
ข้าแต่อัลลอฮฺ แท้จริง เราขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากการที่เราตั้งภาคีใดๆ ต่อพระองค์ซึ่งเราได้รู้ตัวดี และเราขออภัยโทษต่อพระองค์ในสิ่งที่เราตั้งภาคีโดยที่เราไม่รู้" (อะหมัด)
การแก้ตัวเมื่อได้สาบานกับสิ่งอื่นจากอัลลอฮฺนั้น ท่านรอซูล e ได้กล่าวว่า:
« مَنْ حَلَفَ بِاللَّاتِ وَالْعُزَّى فَلْيَقُلْ: لا إِلَهَ إِلا اللَّـهُ »
ความว่า: "ผู้ใดได้สาบานกับลาตและอุซซา ดังนั้น เขาก็จงกล่าวว่า ลาอิลาฮะฮฺ อิลลัลลอฮฺ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ" (มุตตะฟะกุนฮะลัยฮฺ)
ส่วนการแก้ตัวจากการเชื่อลางร้ายนั้น ท่านรอซูล e ได้กล่าวว่า:
« مَنْ رَدَّتْهُ الطِّيَرَةُ مِنْ حَاجَةٍ فَقَدْ أَشْرَكَ قَالُوا: فَمَـا كَفَّارَةُ ذَلِكَ؟ قَالَ: أَنْ تَقُولَ: اللَّهُمَّ لا خَيْرَ إِلا خَيْرُكَ وَلا طَيْرَ إِلا طَيْرُكَ وَلا إِلَهَ غَيْرُكَ »
ความว่า: "ผู้ใดที่ละเลิกจากการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพราะเชื่อในโชคลางแสดงว่าเขาได้ตั้งภาคีแล้ว พวกเขาถามว่า: แล้วอะไรเล่าคือการแก้ตัวจากสิ่งนั้น ? ท่านนบีตอบว่า: การที่ท่านกล่าวว่า:
อัลลอฮุมมะ ลา ค็อยรอ อิลลา ค็อยรุกะ, วะลา ฏ็อยรอ อิลลา ฏ็อยรุกะ, วะลา อิลาฮะ ฆ็อยรุกะ
ข้าแต่อัลลอฮฺ ไม่มีความดีใดๆ นอกจากความดีของพระองค์ ไม่มีการเชื่อโชคลางใดๆ นอกจากโชคลางของพระองค์ และไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์" (อะหมัด)
41. การปฏิเสธศรัทธา (กุฟรฺ) มีกี่ประเภท ? มีสองประเภท
1) การปฏิเสธศรัทธาแบบใหญ่ (กุฟรฺ อักบัรฺ) คือผู้ที่กระทำต้องพ้นจากการเป็นมุสลิม ถูกแบ่งออกเป็น 5 ชนิดดังนี้
ก) กุฟรฺ ตักซีบ คือการไม่เชื่อ ไม่ศรัทธา
ข) การหยิ่งยโสพร้อมกับการศรัทธา
ค) การสงสัย
ง) การผินหลังต่อสัจรรม
จ) นิฟาก หรือการกลับกลอก
2) การปฏิเสธแบบเล็ก (กุฟรฺ อัศฆ็อรฺ) คือ กุฟรฺในเชิงมะอฺศิยะฮฺ หรือการทำบาป ซึ่งไม่ทำให้ผู้กระทำสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม เช่น การฆ่ามุสลิม เป็นต้น
42. หุก่มข้อชี้ขาดของการนะซัร หรือการบนบาน มีว่าอย่างไร ? ท่านนบี e ไม่ชอบการบนบานและท่านได้กล่าวว่า:
« إِنَّهُ لاَ يَأْتِيْ بِخَيْرٍ »
ความว่า: “แท้จริงการบนบานนั้นไม่ได้นำสิ่งที่ดีมา" (อัลบุคอรีย์)
นี่เป็นในกรณีที่การบนบานนั้นทำไปด้วยความบริสุทธิ์เพื่ออัลลอฮฺ แต่หากเป็นการบนบานต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ เช่น บนบานต่อหลุมศพ หรือบนบานต่อวะลีย์ ก็ถือเป็นการบนบานที่ต้องห้าม ไม่อนุญาตให้กระทำและไม่อนุญาตให้ทำตามที่บนบานไว้
43. การไปหาหมอดูหรือนักทำนาย มีข้อชี้ขาดอย่างไร ? เป็นการกระทำที่ต้องห้าม และหากคนผู้หนึ่งได้เข้าไปหาหมอดูเพื่อหวังประโยชน์จากพวกเขาแต่ไม่ได้เชื่อในสิ่งที่พวกเขากล่าวอ้างว่ารู้สิ่งที่เร้นลับ กรณีเช่นนี้การละหมาดสี่สิบวันจะไม่ถูกตอบรับจากคนผู้นั้น ดังที่ท่านรอซูล e ได้กล่าวว่า
« مَنْ أَتَى عَرَّافًا فَسَأَلَهُ عَنْ شَيْءٍ لَمْ تُقْبَلْ لَهُ صَلاةٌ أَرْبَعِينَ لَيْلَةً »
ความว่า: "ผู้ใดที่ไปหาหมอดู แล้วเขาก็ได้ถามถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การละหมาดจะไม่ถูกตอบรับจากเขาเป็นเวลาสี่สิบคืน" (มุสลิม)
และหากว่าเขาได้ไปหาพวกเขา แล้วก็เชื่อในสิ่งที่พวกเขากล่าวอ้างว่ารู้สิ่งที่เร้นลับ แน่นอนว่า เขาย่อมต้องตกในกุฟรฺกลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา ดังที่ท่านรอซูล e ได้กล่าวไว้ว่า:
« مَنْ أَتَى عَرَّافًا أَوْ كَاهِنًا فَصَدَّقَهُ بِمَـا يَقُولُ فَقَدْ كَفَرَ بِمَـا أُ نْزِلَ عَلَى مُـحَمَّدٍ »
ความว่า: "ผู้ใดที่ไปหาหมอดูหรือนักทำนาย แล้วเขาก็เชื่อในสิ่งที่เขาบอก แน่นอน เขาคนนั้นได้ปฏิเสธต่อสิ่งที่ถูกประทานลงมายังมุหัมมัดแล้ว" (อบู ดาวูด)
44. เมื่อใดที่ถือว่าการขอน้ำฝนจากบรรดาดวงดาวเป็นชิริกใหญ่หรือชิริกเล็ก ? ผู้ใดที่เชื่อมั่นว่าแท้จริงดวงดาวนั้นส่งผลให้ฝนตกโดยปราศจากความประสงค์ของอัลลอฮฺ ดังนั้น การอ้างของเขาเช่นนั้นต่อดวงดาวว่าทำให้ฝนตกถือว่าเป็นการอ้างในเชิงการสร้างและการบันดาล ซึ่งกรณีนี้ถือว่าเป็นชิริกใหญ่ ส่วนผู้ใดที่เชื่อว่าดวงดาวนั้นมีผลให้ฝนตกด้วยความประสงค์ของอัลลอฮฺ และเชื่อว่าอัลลอฮฺนั้นทำให้ดาวเป็นเหตุให้ฝนตกและพระองค์ทรงกำหนดธรรมชาติให้มีฝนเมื่อดาวดวงนั้นปรากฏขึ้น กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นชิริกเล็ก เพราะว่าเขาได้กล่าวอ้างว่าดาวเป็นสาเหตุแห่งฝนโดยไม่มีหลักฐานจากบทบัญญัติศาสนา หรือจากประสาทสัมผัส หรือจากสติปัญญาที่ถูกต้อง ส่วนการใช้ดวงดาวเป็นเครื่องบ่งชี้กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของฤดูกาลต่างๆ ในแต่ละปีและเป็นเครื่องหมายเวลาที่ใช้รอคอยการตกของฝนนั้น ถือว่าเป็นที่อนุญาต
45. อะไรคือหน้าที่ของเราซึ่งจำเป็นต้องมีต่อบรรดาผู้ปกครองมุสลิม ? สิ่งที่จำเป็นก็คือต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามพวกเขาไม่ว่าในยามที่ชอบหรือไม่ชอบ ไม่อนุญาตให้ก่อกบฎต่อพวกเขาแม้ว่าพวกเขาจะข่มเหงเพียงใด และเราไม่ต้องขอดุอาอ์ให้พวกเขาประสบสิ่งชั่วร้ายหรือหายนะ ต้องไม่ปลดมือของเราจากสัญญาที่มั่นหมายว่าจะปฏิบัติตามพวกเขา ในทางกลับกันเราต้องขอดุอาอ์ให้พวกเขาได้รับการปรับปรุงแก้ไขในสิ่งที่ดี ให้รอดพ้นจากสิ่งชั่วร้าย ให้พวกเขาได้รับทางนำ และให้พวกเขาบรรลุการทำงานอย่างเที่ยงตรงถูกต้อง และเราเห็นว่าแท้จริงการเชื่อฟังต่อพวกเขานั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์อัลลอฮฺ ตราบใดที่พวกเขานั้นไม่ใช้ให้ทำในสิ่งที่เป็นมะอฺศิยะฮฺหรือฝ่าฝืนอัลลอฮฺ ซึ่งถ้าหากว่าพวกเขาใช้ในสิ่งที่เป็นมะอฺศิยะฮฺต่ออัลลอฮฺ การเชื่อฟังพวกเขาในสิ่งนั้นก็เป็นที่ต้องห้าม และจำเป็นต้องเชื่อฟังในเรื่องอื่นๆ นอกเหนือไปจากเรื่องมะอฺศิยะฮฺที่ว่านี้ ในจำนวนสิ่งที่ดีทั้งหลายที่ยังเหลืออยู่กับพวกเขา ดังที่ท่านรอซูล e ได้กล่าวไว้ว่า:
« تَسْمَعُ وَتُطِيعُ لِلأَمِيرِ وَإِنْ ضُرِبَ ظَهْرُكَ وَأُخِذَ مَالُكَ فَاسْمَعْ وَأَطِعْ »
ความว่า: "ท่านต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามต่อผู้นำ และแม้ว่าหลังของท่านจะโดนเฆี่ยน หรือทรัพย์สมบัติของท่านจะถูกริบไป ท่านจงเชื่อฟังและปฏิบัติตามเขาเถิด" (มุสลิม)
46. อนุญาตให้ถามถึงหิกมะฮฺหรือเหตุผลของอัลลอฮฺในคำสั่งใช้และข้อห้ามต่างๆ ได้หรือไม่? ได้ เป็นที่อนุญาต แต่ด้วยเงื่อนไขว่าจะต้องไม่นำเอาการศรัทธาหรือการปฏิบัติอะมัลไปเกี่ยวแขวนไว้กับการรู้ถึงเหตุผลและความพึงพอใจในเหตุผลเหล่านั้น แท้จริงแล้วการรู้ถึงเหตุผลนั้นเป็นเพียงมูลเหตุเพื่อทำให้ผู้ศรัทธาเพิ่มความหนักแน่นต่อสัจธรรมเท่านั้น ทว่าการยอมจำนนโดยสิ้นเชิงและการไม่ถามคือหลักฐานแห่งความสมบูรณ์ของอุบูดิยะฮฺ(การเป็นบ่าวผู้ภักดี)และการศรัทธาต่ออัลลอฮฺและต่อวิทยความปรีชาที่เต็มเปี่ยมของพระองค์ เช่นสภาพของเศาะหาบะฮฺ y
47. อะไรคือความหมายของพระดำรัสของพระองค์อัลลอฮฺ ﷻ ที่ว่า
ﭽﰅ ﰆ ﰇ ﰈ ﰉ ﰊﰋ ﰌ ﰍ ﰎ ﰏ ﰐ ﰑﭼ
ความว่า “สิ่งใดที่ประสบกับเจ้าในเรื่องที่ดี มันย่อมมาจากอัลลอฮฺ และสิ่งใดที่ประสบกับเจ้าในเรื่องที่ชั่วร้าย มันย่อมมาจากตัวของเจ้าเอง" (อัน- นิสาอ์ 79)
ความหมายของสิ่งที่ดีตรงนี้คือนิอฺมัตความโปรดปรานของอัลลอฮฺ และความหมายของคำว่า สิ่งที่ชั่วร้ายตรงนี้คือภาวะทุกข์ยากที่เป็นการทดสอบ ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างนั้นถูกกำหนดโดยอัลลอฮฺ ﷻ สิ่งที่ดีนั้นจะถูกพาดพิงไปยังอัลลอฮฺ เพราะแท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้ทำสิ่งนั้นให้เป็นสิ่งที่ดี ส่วนความชั่วร้ายนั้นพระองค์ทรงสร้างมันมาด้วยเหตุผลใดเหตุหนึ่งตามวิทยความปรีชาญาณของพระองค์ ถ้ามองในแง่ของเหตุผลดังกล่าวนี้มันก็ถือว่าเป็นหนึ่งในความดีงามของพระองค์ด้วย ดังนั้นการกระทำต่างๆ ของพระองค์ทุกๆ อย่างนั้นย่อมเป็นสิ่งที่ดีงาม ดังที่ท่าน รอซูล e ได้กล่าวไว้ว่า:
« وَالْـخَيْرُ كُـلُّهُ فـِي يَدَيْكَ وَالشَّرُّ لَيْسَ إِلَيْكَ »
ความว่า: "และความดีทุกอย่างนั้นอยู่ในพระหัตถ์ทั้งสองของพระองค์ แต่ความชั่วนั้นจะไม่ถูกพาดพิงถึงพระองค์" (มุสลิม)
การกระทำต่างๆ ของบ่าวนั้นคือการสร้างหรือการบันดาลของอัลลอฮฺ แต่ในขณะเดียวกันมันก็เป็นการขวนขวายหรือเป็นความพยายามของบ่าวด้วย ดังที่พระองค์อัลลอฮฺ ﷻ ได้ตรัสไว้ว่า:
ﭽﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰﭼ
ความว่า:"ส่วนผู้ที่บริจาคและยำเกรงอัลลอฮฺ และเชื่อมั่นในสิ่งที่ดี เราก็จะให้เขาได้รับความสะดวกอย่างง่ายดาย" (อัล-ลัยลฺ 5-7)
48. อนุญาตหรือไม่ที่ฉันจะพูดว่าคนคนนั้นตายชะฮีด(เสียชีวิตในหนทางของอัลลอฮฺ)? การหุก่มชี้ขาดว่าคนหนึ่งคนใดอย่างชัดเจนว่าเขาตายชะฮีดนั้นก็คือการหุก่มว่าเขาผู้นั้นได้เข้าสวรรค์ และตามมัซฮับของอะฮฺลุส สุนนะฮฺ เราจะไม่พูดถึงคนหนึ่งคนใดอย่างชัดเจนจากบรรดามุสลิมว่าแท้จริงเขาเป็นชาวสวรรค์หรือเขาเป็นชาวนรก เว้นแต่บุคคลที่ท่านนบี e ได้บอกเอาไว้ว่าใครคือชาวสวรรค์หรือชาวนรก เพราะแท้จริง ความเป็นจริงนั้นเป็นสิ่งลี้ลับที่ซ่อนเร้น และเราก็ไม่ได้รอบรู้ถึงสภาพการตายที่แท้จริงของมนุษย์ และการงานทุกอย่างนั้นจะขึ้นอยู่กับบั้นปลายในชีวิตของเขา และเจตนาในใจนั้นมีแต่อัลลอฮฺเท่านั้นที่รู้ดียิ่ง เพียงแต่ว่า เราหวังว่าผู้ที่ทำความดีนั้นจะได้รับผลตอบแทน และเราหวั่นกลัวว่าผู้ที่ทำความชั่วนั้นจะได้รับการลงโทษ
49. อนุญาตหรือไม่ในการหุก่มชี้ขาดมุสลิมคนหนึ่งคนใดอย่างชัดเจนด้วยการเป็นกุฟรฺ (การปฏิเสธศรัทธา) ของเขา ? ไม่อนุญาตให้เราตัดสินมุสลิมคนหนึ่งคนใดว่าเป็นกาฟิร(ผู้ปฏิเสธศรัทธา) และเป็นมุชริก(ผู้ตั้งภาคี) และเป็นนิฟาก(ผู้กลับกลอก) ในเมื่อไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเผยให้เห็นอย่างชัดเจนจากเขาซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงสภาพดังกล่าวที่ว่านั้น พร้อมๆ กับการมีอยู่ของมูลเหตุที่กีดกั้นการเป็นกุฟรฺของพวกเขา และเราต้องปล่อยให้ความลับในใจของเขานั้นเป็นภาระการสอบสวนของอัลลอฮฺ Y
50. อนุญาตให้เฏาะวาฟสิ่งอื่นนอกจากกะฮฺบะฮฺได้หรือไม่ ? ไม่มีสถานใดในแผ่นดินนี้ที่อนุญาตให้เฏาะวาฟได้ เว้นแต่ ณ ที่กะอฺบะฮฺอันทรงเกียรติเท่านั้น และไม่อนุญาตให้เลียนแบบสถานที่หนึ่งที่ใดเหมือนกะอฺบะฮฺถึงแม้ว่าสถานที่นั้นจะเป็นที่ทรงเกียรติยิ่งใหญ่แค่ไหนก็ตาม และผู้ใดทำการเฏาะวาฟอื่นจากกะฮฺบะฮฺเพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ต่อมัน แน่นอนเหลือเกินว่าเขานั้นได้ฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺแล้ว