×
New!

Bayan Al Islam Encyclopedia Mobile Application

Get it now!

ชิริก การตั้งภาคีกับพระเจ้า (ไทย)

สร้างโดย: มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์

Description

บทความที่อธิบายความหมายของชิริก (การตั้งภาคีกับอัลลอฮฺ) โทษต่างๆ ของชิริก ผลเสียต่างๆ ของการทำชิริก รวมถึงโทษของผู้กระทำชิริก และฐานอันเป็นสาเหตุและที่มาของชิริก จากหนังสือมุคตะศ็อรฺ อัลฟิกฮิล อิสลามีย์ โดยเชคมุหัมมัด อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์

Download Book

    ชิริก (การตั้งภาคีกับอัลลอฮฺ)

    ﴿الشرك﴾

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์

    แปลโดย : ซุกรีย์ นูร จงรักศักดิ์

    ผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา

    ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    2010 - 1431

    ﴿الشرك﴾

    « باللغة التايلاندية »

    الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري

    ترجمة: شكري نور

    مراجعة: عصران إبراهيم

    المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي

    2010 - 1431

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    4.ชิริก (การตั้งภาคีกับอัลลอฮฺ)

    ชิริก (ชิรฺกฺ) คือ การยกสิ่งใดๆ เป็นภาคีกับอัลลอฮฺผู้สูงส่งทั้งในด้านการสร้างสรรค์ การกราบไหว้ หรือในพระนามและคุณลักษณะของพระองค์ โดยเมื่อมนุษย์เชื่อว่ามีผู้สร้างอื่นร่วมกันอัลลอฮฺ หรือคิดว่าพระองค์มีผู้ช่วย เขาก็เป็นผู้ตั้งภาคีกับอัลลอฮฺ และผู้ใดเชื่อว่ามีผู้ใดสมควรแก่การกราบไหว้เช่นเดียวกับอัลลอฮฺเขาก็เป็นคนตั้งภาคี และผู้ใดเชื่อว่ามีผู้ใดมีลักษณะเหมือนกับพระองค์ไม่ว่าในด้านสรรพนามหรือคุณลักษณะเขาก็คือคนมุชริก

    โทษของชิริก

    1. การชิริกกับอัลลอฮฺเป็นการอธรรมอย่างใหญ่หลวง เพราะเป็นการล่วงละเมิดสิทธิที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะของอัลลอฮฺ นั่นก็คือการละเมิดเตาฮีดของพระองค์ เพราะเตาฮีดคือสิ่งยุติธรรมที่ยุติธรรมที่สุด ในขณะที่การชิริกคือการอธรรมที่โหดร้ายที่สุดและเป็นสิ่งชั่วช้าที่น่าเกลียดที่สุด เพราะเป็นการลบหลู่เกียรติศักดิ์ของผู้สร้างโลก เป็นการแสดงความโอหังในการให้ความเคารพภักดีต่อพระองค์ เป็นการเบี่ยงสิ่งที่สมควรมอบแด่พระองค์ให้ผู้อื่น เป็นการแทนพระองค์ด้วยผู้อื่น และด้วยภยันตรายอย่างใหญ่หลวงของมันนี่เอง ผู้ที่ตายไปหาอัลลอฮฺในสภาพเป็นมุชริก อัลลอฮฺจะไม่ทรงอภัยโทษให้เขา ดังที่พระองค์ได้ตรัสว่า

    ﴿ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ﴾ [النساء/48].

    ความว่า : แท้จริง อัลลอฮฺนั้นจะไม่ทรงอภัยโทษสำหรับการกระทำชิริกกับพระองค์และจะทรงอภัยโทษในสิ่งนอกเหนือสิ่งดังกล่าวสำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ (อันนิสาอ์ : 48)

    2. การชิริกกับอัลลอฮฺคือบาปที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่กราบไหว้นอกเหนือจากอัลลอฮฺก็หมายถึงว่าเขาได้ให้การอิบาดะฮฺผิดที่ เป็นการเบนผู้สมควรจะได้รับการอิบาดะฮฺสู่ผู้ที่ไม่สมควร นั่นคือการอธรรมอันใหญ่หลวงดังที่พระองค์ได้ตรัสว่า

    (ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ) [لقمان/13].

    ความว่า : แท้จริง การชิริกนั้นช่างเป็นอธรรมที่ใหญ่หลวง (ลุกมาน : 13)

    3. ชิริกใหญ่จะครอบคลุมการงานทุกชนิด มันเป็นสาเหตุแห่งความหายนะและความสูญเสีย และเป็นบาปที่ใหญ่ที่สุด

    1- อัลลอฮฺตรัสว่า

    (ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ) [الزمر/65].

    ความว่า : แท้จริงแล้ว เจ้าและผู้ก่อนหน้าเจ้าได้รับคำสั่งว่าหากเจ้าทำชิริกแน่นอนการงานของเจ้าก็ย่อมตกเป็นโมฆะและตัวเจ้าย่อมอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน (อัซซุมัรฺ : 65)

    2- อบู บักเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮฺ เล่าว่า

    قال النبي صلى الله عليه وسلم : «أَلا أُنَبِّئُكُمْ بِأَكْبَرِ الكَبَائِرِ؟» ثَلاثاً، قاَلوُا: بلَىَ ياَ رَسُولَ الله قَالَ: «الإشْرَاكُ بِالله، وَعُقُوقُ الوَالِدَيْنِ»، وَجَلَسَ وَكَانَ مُتّكِئاً «أَلا وَقُولُ الزُّوْرِ» قَال: فَمَا زَالَ يُكَرِّرُهَا حَتَّى قُلْنَا: لَيْتَـهُ سَكَتَ. متفق عليه.

    ความว่า : ท่านนบี –ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้กล่าวว่า จะเอาไหม ฉันจะบอกบาปที่ใหญ่ที่สุดแก่พวกท่าน? (สามครั้ง) พวกเขาตอบว่า “ เอาครับท่านเราะสูลุลลอฮฺ" ท่านกล่าวว่า “คือการทำชิริกกับอัลลอฮฺและการเนรคุณต่อพ่อแม่" แล้วท่านก็นั่งตรงลงหลังที่ได้ตะแคงพร้อมกับกล่าวว่า “และคำพูดเท็จอีกประการหนึ่งล่ะ" ท่านพร่ำทวนมันจนพวกเรานึกอยากให้ท่านหยุดพูด (มุตตะฟักอะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ ตามสำนวนนี้ หมายเลข 3654 และมุสลิม หมายเลข 87)

    ผลเสียของชิริก

    อัลลอฮฺได้กล่าวผลเสียสี่ประการของชิริกในสี่อายัตด้วยกัน คือ

    1- อัลลอฮฺตรัสว่า

    (ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ) [النساء/48].

    ความว่า : แท้จริง อัลลอฮฺนั้นจะไม่ทรงอภัยโทษสำหรับการกระทำชิริกกับพระองค์และจะทรงอภัยโทษในสิ่งนอกเหนือสิ่งดังกล่าวสำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และผู้ใดทำชิริกกับอัลลอฮฺก็หมายความว่าเขาได้สร้างบาปที่ใหญ่หลวง (อันนิสาอ์ : 48)

    2- อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    ( ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ) [النساء /116].

    ความว่า : และผู้ใดที่ทำชิริก เขาผู้นั้นก็ได้หลงทางอย่างห่างไกลยิ่ง (อันนิสาอ์ : 116)

    3- อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    ( ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ) [المائدة /72].

    ความว่า : แท้จริง ผู้ใดที่ทำชิริกกับอัลลอฮฺ อัลลอฮฺก็ได้ห้ามเขาไม่ให้เข้าสรวงสวรรค์และที่พำนักของเขาคือไฟนรก และบรรดาผู้อธรรมนั้นจะไม่มีผู้ช่วยเหลือใดๆ เลย (อัลมาอิดะฮฺ : 72)

    4- อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ) [الحج/31].

    ความว่า : ผู้ใดทำชิริกกับอัลลอฮฺก็เปรียบเสมือนว่าเขาได้ร่วงหล่นลงจากท้องฟ้าแล้วถูกนกตะครุบตัวไว้หรือถูกลมพัดพาไปที่ห่างไกล (อัลหัจญ์ : 31)

    โทษของผู้กระทำชิริก

    1- อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ) [البينة/6].

    ความว่า : แท้จริง ผู้ปฏิเสธจากชาวคัมภีร์และพวกมุชริกีนนั้นจะต้องอยู่ในไฟนรกอย่างถาวรตลอดไป พวกเขาคือสัตว์โลกที่เลวทรามที่สุด (อัลบัยยินะฮฺ : 6)

    2- อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ) [النساء/150-151].

    ความว่า : แท้จริงบรรดาผู้ที่ปฏิเสธการศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และบรรดารอซูลของพระองค์และต้องการที่จะแบ่งแยกระหว่างอัลลอฮฺและบรรดารอซูลของพระองค์ และกล่าวว่า เราศรัทธาในบางคน และปฏิเสธในบางคน อีกทั้งยังต้องการที่จะสร้างทางเชื่อมั่น (ใหม่) ในระหว่างสิ่งนั้น ชนเหล่านี้แหละคือผู้ปฏิเสธศรัทธาอย่างแท้จริง และเราได้เตรียมไว้แล้ว ซึ่งการลงโทษที่ยังความอัปยศแก่ผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย (อัลนิสาอฺ : 150-151)

    3- อับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี –ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้กล่าวว่า

    «مَنْ مَاتَ وَهُوَ يَدْعُو مِنْ دُونِ الله نِدَّاً دَخَلَ النَّارَ». متفق عليه، أخرجه البخاري برقم (4497)، واللفظ له، ومسلم برقم (92)

    ความว่า : “ผู้ใดเสียชีวิตในสภาพที่วิงวอนสิ่งเทิดทูนอื่นนอกจากอัลลอฮฺ เขาย่อมจะต้องเข้านรก" (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 4497 และมุสลิม หมายเลข 92)

    ฐานของชิริก

    ชิริกตั้งอยู่บนฐานแห่งการยึดเหนี่ยวกับผู้อื่นนอกจากอัลลอฮฺ โดยผู้ใดที่ยึดเหนี่ยวผู้อื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงปล่อยเขาให้อยู่กับสิ่งที่เขายึดเหนี่ยวนั้น จะทรงลงโทษและปล่อยให้เขาตกต่ำเพราะสาเหตุจากสิ่งยึดเหนี่ยวที่ผิดๆ ดังกล่าว เขาจะเป็นผู้ถูกสาปแช่งที่ไม่มีผู้ยกย่อง เป็นผู้ต่ำต้อยที่ไม่มีผู้ช่วยเหลือคนใดอีกเลย ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ) [الإسراء /22].

    ความว่า : สูเจ้าจงอย่ายึดถือสิ่งกราบไหว้อื่นๆ ร่วมกับอัลลอฮฺ เพราะจะทำให้สูเจ้าต้องเป็นผู้สาปแช่งที่ต่ำต้อย (อัลอิสรออ์ : 22)

    معلومات المادة باللغة العربية