×
جدبد!

تطبيق موسوعة بيان الإسلام

احصل عليه الآن!

حكمة خلق الإنسان (تايلندي)

إعداد: มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์

الوصف

مقالة عن حكمة خلق الإنسان وفيها بيان المراحل والدور التي يمرّ بها الإنسان، كمال نعيم القلب، فقه الدنيا والآخرة، قيمة الدنيا بالنسبة للآخرة، أصل السعادة والشقاوة .. إلخ، من كتاب مختصر الفقه الإسلامي للشيخ محمد التويجري

تنزيل الكتاب

    เหตุผลในการสร้างมนุษย์

    [ ไทย ]

    حكمة خلق الإنسان

    [ باللغة التايلاندية ]

    มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์

    محمد بن إبراهيم بن عبدالله التويجري

    แปลโดย: ยูซุฟ อบูบักรฺ

    ترجمة: يوسف أبوبكر

    ตรวจทาน: อุษมาน อิดรีส

    مراجعة: عثمان إدريس

    จากหนังสือ: มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์

    المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي

    สำนักงานความร่วมมือเพื่อการเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด

    المكتب التعاوني للدعوة وتوعية الجاليات بالربوة بمدينة الرياض

    1429 – 2008

    เหตุผลในการสร้างมนุษย์

    1. การที่อัลลอฮฺสร้างโลกใบนี้ เป็นหลักฐานที่ชี้ถึงความสามารถเเละความรอบรู้อันสมบรูณ์เพียบพร้อมของพระองค์ ทุกสรรพสิ่งในโลกต่างเเซ่ซ้องสดุดีต่อพระองค์ ดังนั้นเมื่อมนุษย์รู้ในเรื่องดังกล่าวเเล้วเขาจงหันหน้าสู่การเคารพภักดีต่อพระผู้อภิบาลของเขา เเละจงทำให้เป้าหมายของอัลลอฮฺในการสร้างเขามาบรรลุผลสำเร็จ

    อัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า

    (ﰃ ﰄ ﰅ ﰆ ﰇ ﰈ ﰉ ﰊ ﰋ ﰌ ﰍ ﰎ ﰏ ﰐ ﰑ ﰒ ﰓ ﰔ ﰕ ﰖ ﰗ ﰘ ﰙ ﰚ ﰛ ﰜ) [الطلاق/12].

    ความว่า “อัลลอฮฺเป็นผู้สร้างชั้นฟ้าทั้งเจ็ดและสร้างแผ่นดินก็เยี่ยงนั้น พระบัญชาจะลงมาท่ามกลางมันทั้งหลาย (ชั้นฟ้าและแผ่นดิน) เมื่อพวกเจ้าจะได้รู้ว่า แท้จริงอัลลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอนุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่างและแท้จริงอัลลอฮฺนั้นห้อมล้อมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ด้วยความรู้ (ของพระองค์) ( อัฏฏอลาค 65 : 12 )

    2. อัลลอฮฺสร้างญินเเละมนุษย์มาเพื่อเคารพภัคดีต่อพระองค์เพียงผู้เดียวโดยไม่มีภาคีหุ้นส่วนใดๆ ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า

    (ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ) [الذاريات/56-57].

    ความว่า “และข้ามิได้สร้างญินและมนุษย์มาเพื่ออื่นใดเว้นแต่เพื่อเคารพภัคดีต่อข้า ข้าไม่ต้องการปัจจัยยังชีพจากพวกเขาและข้าก็ไม่ต้องการให้พวกเขาให้อาหารแก่ข้า” (อัซซาซิยาต 51 : 56 – 57)

    ขั้นตอนเเละบทบาทที่มนุษย์ต้องก้าวผ่าน

    อัลลอฮฺได้สร้างมนุษย์โดยให้เขาได้ก้าวผ่านขั้นตอน กาลเวลาสถานที่ สภาพการณ์ต่างๆ เเละสุดท้ายไปบรรจบอยู่ยังสถานที่อันนิรันด์ไม่สวนสรรค์ชั้นบรมสุขหรือไม่ก็หุบเหวเเห่งไฟนรก เเละต่อไปนี้คือขั้นตอนที่มนุษย์ทุกชีวิตต้องก้าวผ่าน

    1. โลกในท้องเเม่...นับเป็นโลกใบเเรกหลังจากมนุษย์เริ่มปฏิสนธิเเละเป็นบ้านหลังเเรกที่เขาอาศัย ใช้ชีวิตในนั้นเป็นระยะเวลา 9 เดือนอาจจะมากหรืออาจจะน้อยก็ขึ้นอยู่เเต่ละคนอัลลอฮฺได้ประทานปัจจัยต่างๆ ในโลกของความมืดมนนี้ให้แก่เขา ด้วยกับความสามารถความรอบรู้ ด้วยวิทยปัญญาของพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือเครื่องดื่มเเละสิ่งที่เหมาะสมในการพักพิงอาศัยเเก่เขา ในขั้นตอนนี้เขาไม่มีกฏเกณฑ์ที่ถูกบังคับ เหตุผลในการให้เขาปรากฏขั้นมี 2 ประการ คือ เพื่อให้อวัยวะในร่างกายที่สมบรูณ์แก่เขา ต่อจากนั้นเขาได้ลืมตาออกมาสู่โลกดุนยา หลังจากที่การสรรค์สร้างของพระองค์ทั้งในที่ลับเเละที่เปิดเผยสมบูรณ์เพียบพร้อม

    2. โลกดุนยา...เป็นโลกที่กว้างกว่าโลกในท้องของมารดามากนักเเละการใช้ชีวิตในโลกใบนี้เป็นช่วงเวลาที่ยาวนานกว่าในท้องของมารดา อัลลอฮฺได้ประทานทุกสรรพสิ่งที่เขาต้องการให้เเก่เขาในโลกนี้ เเละได้เพิ่มสติปัญญา โสตประสาทในการได้ยิน จักษุในการได้มองเห็น ส่งรอซูลมาให้เเก่พวกเขา ประทานคัมภีร์ สั่งใช้ให้เคารพภัคดี ห้ามปรามมิให้ฝ่าฝืน สัญญากับผู้ที่ปฏิบัติตามเชื่อฟังด้วยกับสวนสวรรค์เเละตอบเเทนผู้ที่ดื้อดึงด้วยกับไฟนรก เเละเหตุผลที่ให้เขาปรากฏขึ้นในโลกนี้มี 2 ประการ คือ เพื่อให้การศรัทธาของเขาที่มีต่ออัลลอฮฺสมบรูณ์เเละให้การประกอบคุณงามความดี ซึ่งอัลลอฮฺวางไว้เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เขาได้รับสวนสวรรค์ต่อจากนั้นเขาก้าวออกจากโลกใบนี้พร้อมกับเสบียงของเขาที่ได้สะสมไว้ก้าวไปสู่โลกอีกใบถัดจากนั้น

    3. โลกบัรซัคในกุโบร์...นับเป็นจุดเเรกที่ก้าวสู่โลกอาคิเราะฮฺมวลมนุษย์อยู่ที่นี่จนกระทั่งทุกสรรพสิ่งที่ถูกสรรค์สร้างบุบสลายกลายเป็นกาลสิ้นโลก โดยส่วนมากเเล้วเขาจะอยู่ในโลกนี้นานกว่าการที่เขาใช้ชีวิตอยู่ในโลกดุนยา จะได้รับความสุขความอบอุ่นหรือความน่าสะพรึงกลัวในที่นี้มีความล้ำลึกเเละมีความสมบรูณ์มากยิ่งกว่า ขึ้นอยู่กับปริมาณการงานที่เขากระทำไว้ บ้างที่เขาอาจได้รับสวนสวรรค์อันสถาพรหรือไม่ก็อาจจะเป็นหุบเหวเเห่งไฟนรก การตอบเเทนจะเริ่มจากตรงนี้ต่อจากนั้นก็จะไปพำนักอยู่ในสถานที่อันนิจนิรันดร์ ไม่เป็นสวนสวรรค์ก็เป็นหุบเหวของไฟนรก

    4. โลกอาคิเราะฮ...ในโลกใบนี้จะดำเนินชีวิตอยู่อย่างอมตะนิรันดร์ ไม่มีวันบุบสลายการตอบเเทนด้วยสวรรค์ชั้นบรมสุขจะเป็นของกำนัลแด่ผู้ศรัทธาเขาจะได้รับทุกอย่างที่อารมณ์ของเขาปรารถนา ดังนั้นผู้ใดได้กระทำในสิ่งที่อัลลอฮฺรักใคร่ในโลกดุนยาอย่างสมบรูณ์ด้วยความอีมาน มีจรรยามารยาทอันดีงามเเละประกอบการงานต่างๆ อัลลอฮฺจะประทานความสมบรูณ์ เพียบพร้อมให้เเก่เขาในวันกิยามะฮฺ ในสิ่งที่เขารักซึ่งเป็นสิ่งที่จักษุของเขาไม่เคยเห็นหรือสัมผัสมาก่อน โสตประสาทไม่เคยได้ยิน เเละหัวใจของมนุษย์ไม่เคยจินตนาการหรือมโนภาพไปถึง เเต่ในมุมกลับกันหากเขากลับมาหาอัลลอฮฺในสภาพที่ไม่มีอีมานหรือไม่ได้ประกอบคุณงามความดีผลตอบเเทนของเขาคือ การถูกจองจำพันธนาการด้วยไฟนรกตลอดกาล และทุกครั้งที่ผู้ศรัทธาออกจากบ้านเขาจะพอใจกับบ้านหลังใหม่มากกว่าบ้านหลังเเรก ในที่สุดผู้ศรัทธาจะได้รับความพอใจอย่างเต็มเปี่ยมเมื่อเขาได้รับสวนสวรรค์

    หัวใจที่เปี่ยมสุขอย่างเเท้จริง

    อัลลอฮฺได้สร้างมนุษย์มาด้วยกับสรีระเรือนร่างที่สวยงามยิ่ง เเละให้มีความประเสริฐเหนือทุกสิ่งที่ถูกสร้าง เเละได้ทำให้อวัยวะทุกส่วนในร่างกายของมนุษย์มีความสมบูรณ์ลงตัว หากส่วนหนึ่งส่วนใดขาดหายไปเเน่นอนเขาจะต้องทุกข์ระทม ปั่นป่วน เเละต้องมีความเจ็บปวดทรมานพระองค์ได้ทำให้ดวงตามีความสมบรูณ์ด้วยการมองเห็น หูสมบูรณ์ด้วยกับการให้ได้ยิน ลิ้นสมบูรณ์ด้วยกับการได้พูด หากอวัยวะต่างๆ เหล่านี้ไม่มีพลังซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเกิดความสมบูรณ์มันก็จะทำให้เกิดความเจ็บปวดเเละเป็นอุปสรรค

    เเละเช่นเดียวกันอัลลอฮฺได้ทำหัวใจมีความสมบรูณ์ โดยให้มีความเปี่ยมสุขมีความเบิกบานใจ มีความเอร็ดอร่อย มีความสงบนิ่งเยือกเย็นด้วยกับการได้รู้จักพระผู้เป็นเจ้า มีความรักใคร่ต่อพระองค์ มีความรู้สึกอบอุ่นด้วยกับพระองค์ คิดถึงคะนึงหาต่อพระองค์เเละจะปฏิบัติในสิ่งที่พระองค์พอพระทัย หากหัวใจดวงใดไม่มีคุณลักษณะดังที่กล่าวมา นับว่าเป็นความเลวร้ายอย่างรุนเเรงมากยิ่งกว่าการมีดวงตาที่ไม่สามารถมองเห็นเเสงสว่างหรือการมีหูที่ไม่สามารถได้ยินเสียง เเละการมีหัวใจที่บริสุทธิ์คือการที่ได้มองเห็นสัจธรรมเสมือนที่ดวงตาได้มองเห็นเเสงสว่างของดวงอาทิตย์

    การเข้าใจดุนยาเเละอาคิเราะห์

    อัลลอฮฺได้สร้างทุกสรรพสิ่งให้เป็นเครื่องประดับเเละมีเป้าหมาย ดังนั้นพืชพรรณธัญญาหารมีกิ่งก้าน ใบเเละดอกเป็นของประดับ เเต่ทว่าเป้าหมายของมันคือเมล็ดเเละผล เสื้อผ้าอาภรณ์ก็เป็นเครื่องประดับเเต่เป้าหมายคือการปกปิด โลกดุนยาก็เช่นกันเป็นเครื่องประดับทุกสรรพสิ่งที่อยู่ในโลกนี้ล้วนแล้วเป็นเครื่องประดับส่วนเป้าหมายในโลกนี้คือ การศรัทธาเเละการประกอบคุณงามความดี โลกดุนยาเป็นเครื่องประดับส่วนเป้าหมายคือ โลกอาคิเราะฮฺ เเละผู้ที่หลงลืมเป้าหมายโดยได้ไปยึดติดอยู่กับการประดับประดา ขณะที่บรรดานบีเเละผู้ที่ปฏิบัติตามเเนวทางของท่านพวกเขาหมกมุ่นอยู่กับเป้าหมาย ส่วนผู้ที่ยึดติดอยู่กับโลกดุนยาพวกเขาหมกมุ่นอยู่กับการประดับดาตกแต่งการเพลิกเพลินอยู่กับสิ่งที่ไร้สาระ ในขณะที่อัลลลอฮใช้พวกเราให้เอาจากดุนยาเพียงเท่าที่มีความจำเป็นและให้กระทำเพื่อโลกอาคิเราะฮฺเท่าที่ความสามารถจะกระทำได้

    ดังนั้นในชีวิตของเราเมื่อมีความขัดแย้งกันระหว่างสิ่งต่างๆ และเครื่องประดับกับเป้าหมายก็คือ การอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺเพียงผู้เดียวอย่างสิโรราบ การปฏิบัติตามพระองค์ ปฏิบัติตามท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จำเป็นแก่พวกเราต้องแสดงออกถึงการรักใคร่ต่ออัลลอฮฺด้วยการทำอิบาดะฮฺและปฏิบัติตามพระองค์ ปฏิบัติตามท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม การญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺและการเผยแผ่ศาสนาของพระองค์ต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด

    1. อัลลอฮฺตรัสว่า

    (ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺﭻ) [الكهف/7].

    ความว่า “แท้จริงเราได้ทำให้สิ่งที่อยู่บนผืนดินเป็นที่ประดับสำหรับมัน” ( อัลกะฮฺฟี 18 : 7 )

    2. อัลลอฮฺตรัสว่า

    (ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ) [الحديد/20-21].

    ความว่า “พึงทราบเถิดว่า แท้จริงการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้มิใช่อื่นใด เว้นแต่เป็นการละเล่นและการสนุกสนานร่างเริง และเครื่องประดับ และความโอ้อวดระหว่างพวกเจ้า และการแข่งขันกันสะสมในทรัพย์สินและลูกหลาน เปรียบเสมือนเช่นน้ำฝนที่การงอกเงยพืชผลยังความพอใจให้แก่กสิกร แล้วมันก็เหี่ยวแห้ง เจ้าจะเห็นมันเป็นสีเหลืองแล้วมันก็กลายเป็นเศษเป็นชิ้นแห้ง ส่วนในวันปรโลกนั้นมีการลงโทษอย่างสาหัส และมีการอภัยโทษและความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ และการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้มิใช่อื่นใดนอกจากการแสวงหาผลประโยชน์แห่งการหลอกลวงเท่านั้น จงเร่งรีบไปสู่การขออภัยโทษจากพระเจ้าของพวกเจ้าและสวนสวรรค์ซึ่งความกว้างของมันประหนึ่งความกว้างของชั้นฟ้าและแผ่นดิน (ซึ่งสวรรค์นั้น) ถูกเตรียมไว้สำหรับบรรดาผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและบรรดารอซูลของพระองค์ นั้นคือความโปรดปรานของอัลลลอฮฺซึ่งพระองค์จะประทานมันให้แก่ผู้ที่พระองค์ประสงค์และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้โปรดปรานอันใหญ่หลวง” (อัลหะดีด 20 – 21)

    3. อัลลอฮฺตรัสว่า

    (ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ) [التوبة/24].

    ความว่า “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่าหากบรรดาบิดาของพวกเจ้าและบรรดาลูกๆของพวกเจ้าและบรรดาพี่น้องของพวกเจ้าและบรรดาคู่ครองของพวกเจ้าและบรรดาเครือญาติของพวกเจ้าและบรรดาทรัพย์สมบัติที่พวกเจ้าแสวงหาไว้และสินค้าที่พวกเจ้ากลัวว่าจะจำหน่ายมันไม่ออกและบรรดาที่อยู่อาศัยที่พวกเจ้าพึงพอใจมันนั้นเป็นที่รักใคร่แก่พวกเจ้ายิ่งกว่าอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์และการต่อสู้ในหนทางของพระองค์แล้วไซร้ ก็จงรอคอยกันเถิดจนกว่าอัลลอฮฺจะทรงนำมาซึ่งกำลังของพระองค์และอัลลอฮฺนั้นจะไม่ทรงนำทางแก่กลุ่มชนที่ละเมิด” ( อัตเตาบะฮฺ 9 : 24 )

    คุณค่าของดุนยาเมื่อเปรียบเทียบกับอาคิเราะฮ

    อัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ได้อธิบายแจกแจงคุณค่าของดุนยาเมื่อเทียบกับอาคิเราะฮฺ เป็นการอธิบายเปรียบเทียบได้อย่างละเอียดครอบคลุมไว้ดังต่อไปนี้

    1. ค่าของดุนยาโดยตัวของมัน อัลลอฮฺได้อธิบายโดยกล่าวว่า

    (ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ) [العنكبوت/ 64].

    ความว่า “และการมีชีวิตในโลกนี้มิใช่อื่นใดเว้นแต่เป็นการละเล่นและการสนุกรื่นเริง และแท้จริงสถานที่ในปรโลกนั้น แน่นอนมันคือชีวิตที่แท้จริงหากพวกเขาได้รู้” (อัลอังกะบูต 29 : 64 )

    2. ค่าของดุนยาเมื่อเทียบกับเวลา อัลลอฮฺได้อธิบายโดยกล่าวว่า

    (ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ) [التوبة/ 38].

    ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย มีอะไรเกิดขึ้นแก่พวกเจ้ากระนั้นหรือ? เมื่อได้ถูกกล่าวแก่พวกเจ้าว่า จงออกไปต่อสู้ในทางของอัลลอฮฺเถิด พวกเจ้าก็แนบหนักอยู่กับพื้นดิน พวกเจ้าพึงพอใจต่อการมีชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้ แทนโลกอาคิเราะฮฺกระนั้นหรือสิ่งอำนวยความสุขแห่งชีวิตความเป็นอยู่ในโลกนี้นั้น เมื่อเทียบในโลกอาคิเราะฮฺแล้วไม่มีอะไรนอกจากเป็นสิ่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น” (อัตเตาบะฮ 9 : 38)

    3. ค่าของดุนยาเมื่อเทียบกับน้ำหนัก ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้อธิบายไว้ความว่า

    «لَوْ كَانَتِ الدُّنْيَا تَعْدِلُ عِنْدَ الله جَنَاحَ بَـعُوضَةٍ مَا سَقَى كَافِراً مِنْـهَا شَرْبَةَ ماءٍ». أخرجه الترمذي

    ความว่า “หากดุนยามีค่า ณ ที่อัลลอฮฺเท่าปีกยุง พระองค์ไม่ให้สิ่งใดแก่กาฟิรแม้กระทั่งการได้ดื่มน้ำ“ (บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ หมายเลขที่ 2320)

    4. ค่าของดุนยาเมื่อเทียบกับการชั่งหรือการตวง ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้อธิบายว่า

    «وَالله ما الدُّنْيا فِي الآخِرَةِ إلَّا مِثْلُ مَا يَـجْعَلُ أَحَدُكُمْ إصْبَـعَهُ هَذِهِ (وأشارَ يَـحْيَى بالسَّبَّابَةِ) فِي اليَـمِّ فَلْيَنْظُرْ بمَ تَرْجِعْ؟». أخرجه مسلم

    ความว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ดุนยาเมื่อเทียบกับอาคิเราะฮฺไม่มีค่าอะไรนอกจากอุปมาคนหนึ่งใดในกลุ่มพวกท่านเอานิ้วมือ(ท่านยะห์ยา ผู้รายงานหะดีษชี้ไปที่นิ้วชี้)จุ่มลงในแม่น้ำแล้วจงดูว่ามีอะไรติดอยู่บ้าง ? (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2858)

    5. ค่าของดุนยาเมื่อเทียบกับพื้นที่ ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

    «مَوْضِعُ سَوْطٍ فِي الجَنَّةِ خَيْرٌ مِنَ الدُّنْيَا وَمَا فِيهَا». أخرجه البخاري

    ความว่า “ที่สำหรับวางแส้ในสวนสวรรค์ประเสริฐกว่าโลกดุนยาและสิ่งที่อยู่ในโลกดุนยา” (บันทึกโดย อัลบุคอรี หมายเลข 3250)

    6. ค่าของดุนยาเมื่อเทียบเป็นราคากับเงินทอง มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เดินผ่านซากลูกแพะหูแหว่ง จากนั้นท่านได้เอาหูของมันมาแล้วกล่าวว่า : ใครต้องการบ้างราคาเพียง 1 ดิรฮัม? พวกเขาตอบว่า : พวกเราไม่ต้องการไม่รู้จะเอาไปทำอะไร ท่านนบีกล่าวว่า : พวกท่านต้องการหรือไม่โดยไม่คิดค่าอันใด ? พวกเขาตอบว่า : ขอสาบานต่ออัลลอฮฺหากว่ามันมีชีวิตอยู่มันเป็นแพะที่มีตำหนิเพราะหูของมันแหว่งและยิ่งมันตายแล้วมันจะเป็นอย่างไร? ท่านนบีกล่าวว่า : ขอสาบานต่ออัลลอฮฺโลกดุนยา ณ ที่อัลลอฮฺมันต่ำต้อยไร้ค่ายิ่งกว่าสิ่งนี้อีก (บันทึกโดย มุสลิม หมายเลข 2957 )

    พื้นฐานของความสุขและความทุกข์

    อัลลอฮฺได้ประทานความสุขและความทุกข์ให้แก่มนุษย์โดยขึ้นอยู่กับระดับของอีมานและการประกอบคุณงามความดี หรือในทางตรงกันข้ามขึ้นอยู่กับการปฏิเสธและการประกอบความชั่ว ดังนั้นผู้ที่ศรัทธาและดำรงตนอยู่ในการประกอบความดีตามที่อัลลอฮฺและรอซูลใช้ เขาจะมีความสุขในโลกดุนยาและจะมีความสุขเพิ่มขึ้นขณะที่เขาเสียชีวิต โดยที่มาลาอิกะฮฺจะแจ้งข่าวดี ในสิ่งที่เขาพึงปรารถนา ต่อจากนั้นความสุขของเขาจะเพิ่มมากยิ่งขึ้นเมื่อเขาเข้าไปอยู่ในกุโบร์และจะเพิ่มทวีมากขึ้นอีกขณะที่ไปรวมตัวกัน ( ฮัชรฺ) และจะมีความสุขอย่างเติมเปี่ยมเพิ่มทวีคูณมากยิ่งขึ้นเมื่อเขาได้เข้าไปพำนักอยู่ในสวนสวรรค์

    และทำนองเดียวกันหากมนุษย์เป็นผู้ปฏิเสธและทำความชั่วเขาจะเศร้าหมองทุกข์ระทม สภาพชีวิตในโลกดุนยามีสภาพเลวร้ายมากยิ่งขึ้นเมื่อเขาตาย ยิ่งเพิ่มหนักขึ้นเมื่อเขาอยู่ในกุโบร์ และจะเพิ่มทวีคูณเมื่อเขาอยู่ ณ สถานที่ที่รวมตัวกัน และความทรมานโหดร้ายนานาชนิดจะรุนแรงเมื่อเขาถูกจองจำในนรก

    การงานที่อัลลอฮฺพอพระทัยมีอยู่หลากหลาย การงานในดุนยาที่เป็นที่รักใคร่ของพระองค์มีอยู่หลายชนิดซึ่งเป็นที่อร่อยเพลิดเพลินในสวนสวรรค์โดยที่ขึ้นอยู่กับจำนวนหรือปริมาณที่เขาได้กระทำ และการกระทำที่อัลลอฮฺกริ้วโกรธ ไม่พอพระทัยในโลกนี้มีอยู่หลากหลายชนิดซึ่งมันจะสร้างความเจ็บปวดทรมานในนรก และจะเพิ่มมากขึ้นโดยพิจารณาปริมาณการงานที่เขาได้กระทำเอาไว้

    1. อัลลอฮฺตรัสว่า

    (ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ) [النحل/97].

    ความว่า “ผู้ใดปฏิบัติตามความดีไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิง โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธาดังนั้นเราจะให้เขาดำรงชีวิตที่ดี และแน่นอนเราจะตอบแทนพวกเขาซึ่งรางวัลของพวกเขาที่ดียิ่งกว่าที่พวกเขาได้เคยกระทำไว้ “ (อัลนะหฺลุ 16 : 97)

    2. อัลลอฮฺตรัสว่า

    (ﯳ ﯴ ﯵ ﯶ ﯷ ﯸ ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ ﰀ ﰁ ﰂ ﰃ ﰄ ﰅ ﰆ ﰇ ﰈ ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ) [طه/124-127].

    ความว่า “และผู้ใดผินหลังจากการรำรึกถึงข้าแท้จริงสำหรับเขาคือ การมีชีวิตอยู่อย่างคับแค้นและเราจะให้เขาฟื้นคืนชีพในวันกิยามะฮฺในสภาพของคนตาบอด เขากล่าวว่าข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ทำไมพระองค์จึงได้ให้ข้าพระองค์ฟื้นคืนชีพขึ้นมาในสภาพของคนตาบอดเล่า ทั้งๆ ที่ข้าพระองค์เคยเป็นคนตาดีมองเห็น พระองค์ตรัสว่าเช่นนั้นแหละเมื่อโองการทั้งหลายของเราได้มีมายังเจ้าเจ้าก็ทำเป็นลืมมัน และในทำนองเดียวกันวันนี้เจ้าก็จะถูกลืม และเช่นเดียวกันเราจะตอบแทนผู้ที่ล่วงละเมิดขอบเขตและไม่ศรัทธาต่อโองการทั้งหลายของพระเจ้าของเขาและแน่นอนการลงโทษในปรโลกนั้นสาหัสยิ่งและสถาพรยิ่ง” (ฏอฮา 20 : 124-127)

    ผู้ที่ละทิ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์เขาจะถูกทดสอบด้วยกับสิ่งที่เป็นอันตราย

    กฎเกณฑ์ธรรมชาติแห่งอัลลอฮฺอย่างหนึ่ง ผู้ที่จะทิ้งจากสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งที่เขามีความสามมารถทำได้เขาจะถูกทดสอบให้หมกมุ่นพันธนาการอยู่กับสิ่งฮารอมและเป็นสิ่งที่อันตรายต่อเขาดังนั้นบรรดาพวกมุชริกีนเมื่อพวกเขามักน้อยต่อการเคารพภักดีอัลลอฮฺพวกเขาจะถูกทดสอบด้วยการเคารพภักดีรูปเจว็ดรูปปั้น เมื่อพวกเขายิ่งยะโสต่อการปฏิบัติตามท่านรอซูลพวกเขาจะถูกทดสอบโดยการปฏิบัติตามสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสติปัญญาและศาสนา เมื่อพวกเขาละทิ้งจากการปฏิบัติตามคัมภีร์ที่ถูกประทานลงมาเพื่อเป็นทางนำแก่มวลมนุษยชาติจะถูกทดสอบด้วยการปฏิบัติตามบรรดาหนังสือที่ต่ำต้อยและเป็นอันตรายต่อสติปัญญา และเมื่อเขางดจากการใช้ทรัพย์สมบัติไปในการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ เขาจะถูกทดสอบให้ใช้จ่ายทรัพย์สมบัติไปในหนทางสนองตอบอารมณ์แห่งตนเองและชัยฎอน ดังนั้นผู้ใดที่ปฏิบัติตามเชื่อฟังอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์และละทิ้งจากการปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำของตนเองแล้ว อัลลอฮฺจะทดแทนเนื่องจากความรัก การทำอิบาดะฮฺ ความใกล้ชิด การกลับเนื้อกลับตัวของเขาต่อพระองค์ในสิ่งที่เหนือกว่าความเอร็ดอร่อยเพลิดเพลินที่เขาเคยได้รับมาในโลกดุนยาทั้งหมด

    معلومات المادة باللغة الأصلية