×
جدبد!

تطبيق موسوعة بيان الإسلام

احصل عليه الآن!

التوحيد وأقسامه (تايلندي)

إعداد: มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์

الوصف

مقالة مقتبسة من بداية كتاب مختصر الفقه الإسلامي لفضيلة الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري تتحدث عن توحيد العبادة لله رب العالمين وكذلك أقسامه وفضله وجزاء الموحدين عند الله، وعظمة كلمة التوحيد ( لا إله إلا الله ) وكمال التوحيد ومعنى الطاغوت ورؤوسهم.

تنزيل الكتاب

    เตาฮีดและประเภทของมัน

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์

    แปลโดย : ซุกรีย์ นูร

    ผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา

    ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    2011 - 1432

    ﴿التوحيد وأقسامه﴾

    « باللغة التايلاندية »

    الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري

    ترجمة: شكري نور

    مراجعة: عصران إبراهيم

    المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي

    2011 - 1432

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    เตาฮีดและประเภทของมัน

    อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    قال الله تعالى:

    ( ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ ﯜ ﯝ ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ) [البقرة/21-22]

    ความว่า : “โอ้ปวงมนุษย์เอ๋ย จงเคารพภักดีพระผู้อภิบาลของสูเจ้า ผู้ทรงสร้างสูเจ้าและบรรดาผู้คนก่อนหน้าสูเจ้า เพื่อสูเจ้าจะได้สำรวมตนจากความชั่ว ผู้ทรงทำแผ่นดินให้เป็นพื้นสำหรับสูเจ้า และทำชั้นฟ้าให้เป็นหลังคา และทรงส่งน้ำลงมาจากฟากฟ้าและให้ผลไม้ต่าง ๆ ออกมา เพื่อเป็นเครื่องยังชีพสำหรับสูเจ้าด้วยสาเหตุเพราะมัน ดังนั้นจึงอย่ายกสิ่งใดมาเทียบเคียงกับอัลลอฮฺโดยที่สูเจ้าเองก็รู้ดี (ว่าไม่สมควร)" (อัลบะเกาะเราะฮฺ : 21-22)

    1- เตาฮีด

    เตาฮีด (หรือเขียนว่า เตาหีด มาจากภาษาอาหรับว่า توحيد) คือ การที่มนุษย์ผู้เป็นบ่าวเชื่อมั่นว่าพระเจ้าผู้สมควรกราบไหว้และสักการะมีเพียงหนึ่งเดียว ไม่มีสิ่งใดเทียบเคียงพระองค์ทั้งในด้านการอภิบาล การเป็นที่กราบไหว้ และชื่อและคุณลักษณะต่างๆ ที่หลากหลาย

    หมายความว่า มนุษย์ผู้เป็นบ่าวจะต้องเชื่อมั่นและยอมรับว่ามีเพียงอัลลอฮฺ พระเจ้าผู้ควรแก่การกราบไหว้เท่านั้น ที่เป็นพระผู้อภิบาลและเป็นเจ้าของทุกสรรพสิ่ง พระองค์คือผู้สร้างเพียงผู้เดียว พระองค์คือผู้บริหารจักรวาลทั้งมวลเพียงผู้เดียว พระองค์คือผู้สมควรแก่การกราบไหว้เพียงผู้เดียวโดยไม่มีสิ่งใดเทียบเคียง และทุกสิ่งกราบไหว้นอกจากพระองค์ถือเป็นสิ่งโมฆะ และพระองค์ทรงมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ครบถ้วนปราศจากสิ่งไม่ดีและบกพร่องทุกรูปแบบโดยพระองค์มีชื่อที่งดงามและทรงมีคุณลักษณะที่สูงส่ง

    2- ประเภทของเตาฮีด

    บรรดาเราะสูลและคัมภีร์ต่างๆ ของอัลลอฮฺได้เชิญชวนมนุษย์สู่การยอมรับเตาฮีดใน 2 รูปแบบด้วยกัน คือ

    1- ประการแรก เตาฮีดในการรู้จักและยอมรับ ซึ่งเรียกว่า เตาฮีด อัร-รุบูบิยะฮฺ และเตาฮีด อัล-อัสมาอ์ วัศศิฟาต กล่าวคือ ยอมรับในความเป็นพระเจ้าและความเป็นเอกะที่ไม่มีสิ่งเทียบเคียงของอัลลอฮฺทั้งในด้านชื่อและคุณสรรพ คุณลักษณะ และการกระทำของพระองค์

    หมายถึง มนุษย์ผู้เป็นบ่าวจะต้องเชื่อมั่นและยอมรับว่าอัลลอฮฺเพียงผู้เดียวคือพระผู้อภิบาล ผู้สร้าง ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ผู้ปกครองบริหารจักรวาลนี้ พระองค์คือผู้ที่มีความสมบูรณ์ในตนเอง ในพระนาม ในคุณลักษณะและการกระทำของพระองค์ พระองค์ทรงรอบรู้ในทุกสิ่งอย่างครอบคลุมสมบูรณ์ อำนาจแห่งจักรวาลทั้งหมดอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ พระองค์ทรงมีเดชานุภาพเหนือทุกสรรพสิ่ง พระองค์ทรงมีชื่อต่างๆ ที่ไพเราะและคุณลักษณะที่สูงส่ง ดังที่พระองค์ได้ตรัสว่า

    ( ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ) [الشورى/ 11].

    ความว่า : “ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และพระองค์นั้นคือผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงมองเห็นยิ่ง" (อัช-ชูรอ : 11)

    2- ประการที่สอง เตาฮีดในด้านการตั้งใจและการขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ ซึ่งเรียกว่า เตาฮีด อัล-อุลูฮิยะฮฺ และเตาฮีด อัล-อิบาดะฮฺ นั่นก็คือ การมุ่งเป้าหมายสู่อัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียวในการทำอิบาดะฮฺทุกรูปแบบ เช่น การขอดุอาอ์ การละหมาด การเกรงกลัว การหวัง และอื่นๆ

    หมายถึงว่า มนุษย์ผู้เป็นบ่าวจะต้องยอมรับว่าอัลลอฮฺเท่านั้นทรงเป็นผู้มีความเป็นพระเจ้าที่สมควรได้รับการกราบไหว้จากทุกสรรพสิ่ง และพระองค์คือผู้สมควรแก่การภักดีแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งการทำอิบาดะฮฺเหล่านี้ เช่น การขอดุอาอ์ การละหมาด การขอความช่วยเหลือ การฝากตัวพึ่งพิง การเกรงกลัว การหวัง การเชือดสัตว์พลี การบนบาน และอื่นๆ จะต้องทำเพื่ออัลลอฮฺเท่านั้น และผู้ใดที่ทำสิ่งเหล่านี้กับผู้อื่นหรือเพื่อผู้อื่นนอกจากอัลลอฮฺก็ถือว่าเขาได้เป็นมุชริกผู้ตั้งภาคีที่กลายเป็นกาฟิรซึ่งหมดสถานภาพการเป็นมุสลิม ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﯥ ﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ ﯶ ﯷ ﯸ) [المؤمنون/117].

    ความว่า : “และผู้ใดที่วิงวอนขอความช่วยเหลือจากสิ่งกราบไหว้อื่นๆ พร้อมกับอัลลอฮฺซึ่งไม่มีหลักฐานใดๆ มาตอกย้ำความชอบธรรมของเขาในสิ่งนั้น ผลกรรมของเขาก็ขึ้นอยู่กับพระเจ้าของเขา แท้จริงแล้วบรรดาผู้ปฏิเสธนั้นย่อมไม่ประสพสุขหรอก" (อัล-มุอ์มินีน : 117)

    เตาฮีด อุลูฮิยะฮฺและอิบาดะฮฺจึงเป็นเตาฮีดหลักที่มนุษย์ส่วนใหญ่ละเลยไม่ตอบสนองจนทำให้อัลลอฮฺส่งบรรดาเราะสูล(ศาสนทูต)มาตักเตือนปวงมนุษย์พร้อมกับประทานคัมภีร์มาแก่พวกเขาเพื่อให้พวกเขาทำอิบาดะฮฺเพื่ออัลลอฮฺเพียงผู้เดียวและละทิ้งการทำอิดาบะฮฺต่อผู้อื่นทั้งหมด

    1- อัลลอฮฺตรัสว่า

    (ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ) [الأنبياء/25].

    ความว่า : “และเราะสูลทุกคนที่เราส่งมาก่อนหน้าเจ้า เราจะต้องประทานวะหฺยูแก่เขาเสมอว่ามีเพียงฉันที่เท่านั้นที่เป็นพระเจ้าผู้สมควรแก่การกราบไหว้ ดังนั้นสูเจ้าจงกราบไหว้ฉัน" (อัล-อัมบิยาอ์ : 25)

    2- อัลลอฮฺตรัสว่า

    (ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ) [النحل/36].

    ความว่า : “และแท้จริง เราได้ส่งเราะสูลหนึ่งคนในทุกประชาชาติเพื่อให้บอกว่าจงกราบไหว้อัลลอฮฺและหลีกห่างจากฏอฆูต" (อัลนะหฺลฺ : 36)

    แก่นแท้และหัวใจของเตาฮีด

    แก่นแท้และหัวใจของเตาฮีดคือการที่มนุษย์มองเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมาจากอัลลอฮฺ โดยมองข้ามปัจจัยแห่งสาเหตุและตัวแปรต่างๆ เช่น มองว่าการเกิดสิ่งดี สิ่งร้าย สิ่งมีคุณ สิ่งมีโทษ และอื่นๆ ทุกสิ่งมาจากพระองค์เพียงผู้เดียว และในเวลาเดียวกันเขาจะต้องกราบไหว้อัลลอฮฺเพียงผู้เดียวและไม่กราบไหว้สิ่งอื่นใดพร้อมกับพระองค์

    ผลของการเข้าถึงแก่นแท้ของเตาฮีด

    ทำให้มนุษย์สามารถฝากตัวเองกับอัลลอฮฺเพียงผู้เดียว ทำให้เขาละเว้นการร้องทุกข์ต่อสิ่งถูกสร้างเช่นเดียวกับตัวเอง ตลอดจนทำให้เขาภาคภูมิและพอใจในอัลลอฮฺ เทิดทูนและยอมจำนนต่อกฎเกณฑ์ต่างๆ ของพระองค์

    โดยธรรมชาติของมนุษย์นั้นทุกคนล้วนยอมรับเตาฮีดรุบูบิยะฮฺ แต่การยอมรับในหลักการเพียงอย่างเดียว ยังไม่สมบูรณ์พอที่จะถือว่าเขาเป็นคนศรัทธาต่ออัลลอฮฺและทำให้เขารอดพ้นจากการถูกลงโทษในโลกหน้า เพราะในอดีตที่ผ่านมา มารร้ายอิบลีสและพวกมุชริกีนต่างก็ยอมรับในเตาฮีดนี้ แต่มันก็ไม่สามารถให้คุณใดๆ แก่พวกเขาเพราะพวกเขาไม่ยอมรับเตาฮีดอิบาดะฮฺ ดังนั้น ผู้ใดที่ยอมรับเตาฮีดรุบูบิยะฮฺเพียงอย่างเดียว เขาไม่ถือว่าเป็นผู้มีเตาฮีดและไม่ถือว่าเป็นมุสลิม เลือดและทรัพย์สมบัติของเขาจะไม่ได้รับการคุ้มครองจนกว่าเขาจะยอมรับเตาฮีดอุลูฮิยะฮฺด้วยการยอมรับและกล่าวว่า ลาอิลาฮฺ อิลลัลลอฮฺ (แปลว่า อัลลอฮฺเท่านั้น คือ ผู้สมควรแก่การกราบไหว้) เพียงหนึ่งเดียวโดยไม่มีสิ่งใดเทียบเคียงพระองค์

    เตาฮีดรุบูบิยะฮฺและเตาฮีดอุลูฮิยะฮฺ คือ สองส่วนที่แยกกันไม่ได้และต่างเป็นเงื่อนไขของกันและกัน

    1. เตาฮีดรุบูบิยะฮฺเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับเตาฮีดอุลูฮิยะฮฺ ดังนั้น ผู้ใดที่ยอมรับว่าอัลลอฮฺองค์เดียวคือพระผู้อภิบาล ผู้สร้าง ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ผู้ประทานปัจจัยยังชีพ และอื่นๆ ผู้นั้นก็จะต้องยอมรับว่ามีเพียงอัลลอฮฺเท่านั้นที่สมควรกราบไหว้ เขาจึงต้องไม่วิงวอนขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นใดนอกจากพระองค์ เขาจะต้องไม่ฝากตัวเองและไม่กระทำสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในข่ายของการอิบาดะฮฺ นอกจากเพียงกับพระองค์เท่านั้น และเตาฮีดอุลูฮิยะฮฺก็เป็นเงื่อนไขที่ขาดไม่ได้สำหรับเตาฮีดรุบูบิยะฮฺเช่นเดียวกัน ซึ่งทุกคนที่กราบไหว้อัลลอฮฺเพียงผู้เดียวและไม่เทียบเคียงพระองค์กับสิ่งใดๆ ก็จะศรัทธามั่นว่าอัลลอฮฺคือพระผู้อภิบาล พระผู้สร้าง และพระผู้เป็นเจ้าของทุกสรรพสิ่งในจักรวาล

    2. เตาฮีดรุบูบิยะฮฺและเตาฮีดอุลูฮิยะฮฺบางทีถูกกล่าวพร้อมๆ กันโดยที่ให้ความแตกต่างกันซึ่งคำว่า อัร-ร๊อบบฺ จะให้ความหมายว่าผู้เป็นเจ้าของและผู้บริหาร ในขณะที่คำว่า อัล-อิลาฮฺ จะให้ความหมายว่าผู้ถูกกราบไหว้ด้วยความชอบธรรม ผู้สมควรแก่การเคารพกราบไหว้เพียงผู้เดียว ดังที่พระองค์ได้กล่าวว่า

    (ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄﮅ ﮆ ﮇﮈ ﮉ ﮊ) [الناس/1-3].

    ความว่า “จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด ข้าพระองค์ขอความคุ้มครอง ต่อพระเจ้าแห่งมนุษยชาติ พระราชาแห่งมนุษยชาติ พระเจ้าผู้เป็นที่กราบไหว้แห่งมนุษยชาติ" (อัน-นาส : 1-3)

    และบางครั้ง ทั้งสองคำอาจถูกจะเอ๋ยถึงอย่างโดดเดี่ยวโดยไม่ต้องเอ่ยทั้งสองคำในที่เดียวกัน ซึ่งในทางความหมายแล้วจะให้ความหมายรวมกัน เช่น คำตรัสของพระองค์ว่า

    (ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ) [الأنعام/164].

    ความว่า “จงกล่าวเถิดมุฮัมมัดว่า จะให้ฉันยึดเอานอกเหนืออัลลอฮฺมาเป็นพระเจ้ากระนั้นหรือ ทั้งๆ ที่พระองค์คือพระผู้อภิบาลของทุกสรรพสิ่ง" (อัล-อันอาม : 164)

    ความประเสริฐของเตาฮีด

    1- อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    ( ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ) [الأنعام/82].

    ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาที่การศรัทธาของพวกเขาไม่เจือปนด้วยความอธรรม(การตั้งภาคี)ใดๆ พวกเขาจะได้รับความศานติและพวกเขาคือผู้ได้รับทางนำ" (อัล-อันอาม : 82)

    2- อุบาดะฮฺ บิน อัศ-ศอมิต เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮฺ เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    2- وعن عبادة بن الصامت رضي الله عنه أن النبي صلى الله عليه وسلم قال: «مَنْ شَهِدَ أَنْ لا إلَـهَ إلَّا اللهُ وَحْدَهُ لا شَرِيكَ لَـهُ، وَأَنَّ مُـحَـمّداً عَبْدُهُ وَرَسُولُـهُ، وَأَنَّ عِيْسَى عَبْدُ الله وَرَسُولُـه وَكَلِـمَتُـهُ أَلْقَاهَا إلَـى مَرْيَـمَ وَرُوحٌ مِنْـهُ، وَالجَنَّـةُ حَقٌّ، وَالنَّارُ حَقٌّ، أَدْخَلَـهُ اللهُ الجَنَّةَ عَلَى مَا كَانَ مِنَ العَمَلِ». متفق عليه.

    ความว่า : “ผู้ใดยืนยันว่าไม่มีพระเจ้าผู้ควรกราบไหว้นอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียวโดยไม่มีสิ่งเทียบเคียงใดๆ และยืนยันว่ามุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวและเราะสูลของพระองค์ และนบีอีซาคือบ่าวและเราะสูลของพระองค์ และเป็นสัญญาณความยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่ทรงมอบแด่นางมัรยัมและเป็นดวงวิญญาณจากพระองค์ และยืนยันว่าสวรรค์มีจริง นรกมีจริง แน่แท้อัลลอฮฺย่อมจะให้เขาได้เข้าสวรรค์ด้วยการปฏิบัติที่เขาปฏิบัติมา" (มุตตะฟักอะลัยฮฺ บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 3435 และมุสลิม หมายเลข 28)

    รางวัลสำหรับผู้ยึดมั่นในหลักเตาฮีด

    1.อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ) [البقرة/25].

    ความว่า “และ (โอ้ มุฮัมมัด) จงแจ้งข่าวดี แก่บรรดาผู้ศรัทธา และประกอบการดีทั้งหลายว่า พวกเขาจะได้รับสวนสวรรค์หลากหลาย ที่เบื้องล่างของมันมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน คราวใดที่พวกเขา ได้รับผลไม้จากที่นั่นเป็นปัจจัยยังชีพ พวกเขาจะกล่าวว่า นี่เป็นสิ่งที่เราเคยได้รับมอบมาก่อนแล้ว และพวกเขาจะถูกประทานให้เยี่ยงนั้น อีกทั้งยังจะมีคู่ครองที่บริสุทธิ์สำหรับพวกเขาในนั้น และพวกเขาจะพักอยู่ในนั้นตลอดไป" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 25)

    2. ญาบิร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า

    2- وعن جابر رضي الله عنه قال: أتى النبي صلى الله عليه وسلم رجل فقال: يا رسول الله ما الموجبتان؟ فقال: «مَنْ مَاتَ لا يُشْرِكُ بِالله شَيْئاً دَخَلَ الجَنَّةَ، وَمَنْ مَاتَ يُشْرِكُ بِالله شَيْئاً دَخَلَ النَّار». أخرجه مسلم.

    ความว่า มีชายคนหนึ่งมาหาท่านนบี และถามว่า “โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ อะไรคือความแน่นอนสองประการล่ะ?" ท่านตอบว่า “ผู้ใดสิ้นชีวิตโดยที่ไม่ก่อภาคีใดๆ กับอัลลอฮฺ แน่นอนเขาย่อมจะได้เข้าสวรรค์ และผู้ใดสิ้นชีวิตในสภาพที่ก่อสิ่งใดเป็นภาคีเทียบเคียงกับอัลลอฮฺ แน่นอน เขาย่อมจะต้องเข้านรก" (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 93)

    คุณค่าและความยิ่งใหญ่ของถ้อยคำแห่งเตาฮีด

    อับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ บิน อัล-อาศ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่าท่านเราะสูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    عن عبدالله بن عمرو بن العاص رضي الله عنهما... أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال: «إنَّ نَبِيَّ الله نُوحاً صلى الله عليه وسلم لما حَضَرَتْـهُ الوَفَاةُ قَالَ لابنهِ: «إنِّي قَاصٌّ عَلَيْكَ الوَصِيَّةَ: آمُرُكَ بِاثْنَتَيْنِ، وَأَنْـهَاكَ عَنِ اثْنَتَيْنِ، آمُرُكَ بــ (لا إلَـهَ إلَّا الله) فَإنَّ السَّمَاوَاتِ السَّبْعَ، وَالأَرْضِينَ السَّبْعَ لَوْ وُضِعَتْ فِي كِفَّةٍ، وَوُضِعَتْ لا إلَـهَ إلَّا اللهُ فِي كِفَّةٍ، رَجحَتْ بِـهِنَّ لا إلَـهَ إلا اللهُ، وَلَو أَنَّ السَّمَاوَاتِ السَّبْعَ، وَالأرْضِينَ السَّبْعَ، كُنَّ حَلْقَةً مُبْـهَـمَةً قَصَمَتْـهُنَّ لا إلَـهَ إلا اللهُ، وَسُبْـحَانَ الله وَبِـحَـمْدِهِ، فَإنَّهَا صَلاةُ كُلِّ شَيْءٍ، وَبِـهَا يُرْزَقُ الخَلْقُ، وَأَنْـهَاكَ عَنِ الشِّرْكِ وَالكِبْرِ...». أخرجه أحمد والبخاري في الأدب المفرد.

    ความว่า: “ท่านนบีนูหฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัมนั้น เมื่อตอนใกล้สิ้นใจ ท่านได้กล่าวแก่บุตรชายของท่านว่า “ฉันขอสั่งเสียเจ้าดังนี้ ขอให้เจ้าทำสองอย่าง และขอให้เจ้าละเว้นสองอย่าง นั่นคือ ให้เจ้ายึดมั่นใน “ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ" เพราะฟากฟ้าทั้งเจ็ดชั้นและชั้นแผ่นดินทั้งเจ็ดนี้ หากถูกนำมาวางบนฝ่ามือข้างหนึ่ง และประโยค “ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ" ถูกวางบนฝ่ามืออีกข้างหนึ่ง แน่นอนข้างที่มีประโยค “ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ" ย่อมหนักกว่า และหากว่าฟากฟ้าทั้งเจ็ดชั้นและชั้นแผ่นดินทั้งเจ็ดเป็นก้อนกลมที่แข็งกระด้าง แน่นอนมันย่อมต้องถูกละลายจนเป็นผงละเอียดด้วยประโยค “ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ" และขอสั่งเจ้าให้กล่าว “สุบหานัลลอฮฺ วะบิหัมดิฮฺ" เพราะมันเป็นคำดุอาอ์ของทุกสิ่ง และด้วยคำนี้แหละที่มัคลูกต่างๆ ได้รับปัจจัยยังชีพจากอัลลอฮฺ และขอห้ามเจ้าจากการกระทำชิริกและการหยิ่งผยอง" (บันทึกโดยอะหฺมัด หมายเลข 6583 อัลบุคอรีย์ในหนังสืออัลอะดับอัลมุฟรัด หมายเลข 558 ดูเพิ่มเติมในหนังสืออัลสิลสิละฮฺอัลเศาะฮีหะฮฺของอัลบานีย์ หมายเลข 134)

    สิ่งที่ทำให้เตาฮีดมีความสมบูรณ์

    เตาฮีดจะสมบูรณ์เมื่อมีการทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺเพียงผู้เดียวโดยไม่มีการตั้งภาคีใดมาเทียบเคียงพระองค์ อีกทั้งยังต้องหลีกห่างจากฏอฆูต ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ) [النحل/36].

    ความว่า : และเราได้แต่งตั้งเราะสูลหนึ่งคนในทุกประชาชาติเพื่อให้ประกาศว่าจงกราบไหว้อัลลอฮฺและหลีกห่างจากฏอฆูต (อัล-นะห์ลฺ : 36)

    ฏอฆูต คืออะไร ?

    คือ ทุกสิ่งที่มนุษย์เคารพบูชาเชื่อฟังและติดตามโดยมิชอบ ทั้งในรูปของสิ่งกราบไหว้ เช่น รูปปั้น หรือในคราบของมนุษย์ศักดิ์สิทธิ์ เช่น พ่อมดหมอผี นักศาสนาที่เลว ตลอดจนผู้นำต่างๆ ที่ไม่ภักดีต่ออัลลอฮฺ

    ที่สุดแห่งฏอฆูต

    ฏอฆูตมีมากมายหลายจำพวก แต่สุดยอดหัวหน้าของพวกมันมีห้ากลุ่มด้วยกัน คือ อิบลีส (ขออัลลอฮฺให้เราได้หลีกเลี่ยงจากมัน) ผู้ที่นิยมให้คนอื่นบูชาตัวเอง ผู้ที่เชิญชวนผู้อื่นให้กราบไหว้ตัวเขาเอง ผู้ที่อ้างว่าสามารถล่วงรู้สิ่งเร้นลับ และผู้ที่พิพากษาด้วยกฎหมายที่ไม่ใช่กฎหมายของอัลลอฮฺ

    อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ) [البقرة/257].

    ความว่า : “อัลลอฮฺทรงเป็นผู้คุ้มครองบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย พระองค์ทรงนำพวกเขาออกจากความมืด (แห่งความโง่เขลา) สู่ความสว่าง (แห่งศรัทธา) และบรรดาผู้ปฏิเสธทั้งหลายนั้น ผู้คุ้มครองพวกเขาก็คือฏอฆูต พวกมันนำเขาออกจากความสว่างไปสู่ความมืดมิด พวกเขาเป็นชาวนรกซึ่งจะพำนักอยู่ในนั้นไปตลอดกาล" (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 257)

    معلومات المادة باللغة الأصلية