×
جدبد!

تطبيق موسوعة بيان الإسلام

احصل عليه الآن!

العبادة (تايلندي)

إعداد: มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์

الوصف

مقالة تتحدث عن معنى العبادة لله - عز وجل -، والحكمة من خلق الجن والإنس، وطرق العبودية لله رب العالمين، وأكمل الناس عبادة، وحق الله على العباد، وكيفية تحقيق كمال العبودية لله تعالى. والمقالة مقتبسة من مبحث (العبادة) من كتاب مختصر الفقه الإسلامي للشيخ محمد بن إبراهيم التويجري.

تنزيل الكتاب

    อิบาดะฮฺ

    ﴿العبادة﴾

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์

    แปลโดย : ซุกรีย์ นูร จงรักศักดิ์

    ผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา

    ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    2010 - 1431

    ﴿العبادة﴾

    « باللغة التايلاندية »

    الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري

    ترجمة: شكري نور

    مراجعة: عصران إبراهيم

    المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي

    2010 - 1431

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    3. อิบาดะฮฺ

    ความหมายของอิบาดะฮฺ

    ผู้สมควรได้รับการอิบาดะฮฺ คือ อัลลอฮฺแต่เพียงพระองค์เดียว โดยอิบาดะฮฺจะหมายถึงสองความหมายด้วยกัน คือ

    ความหมายแรก คือ การภักดี กล่าวคือ การแสดงความนอบน้อมถ่อมตนต่ออัลลอฮฺด้วยการปฏิบัติคำสั่งใช้และละเว้นคำสั่งห้ามของพระองค์ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยความรักและเทิดทูนต่อพระองค์

    ความหมายที่สอง ประเภทของความจงรักภักดีที่สมควรปฏิบัติต่อพระองค์ ซึ่งครอบคลุมทุกสิ่งที่อัลลอฮฺทรงโปรดปรานไม่ว่าจะเป็นคำพูด การกระทำทางกายและใจ เช่น การขอดุอา การรำลึกถึงอัลลอฮฺ การละหมาด การรักพระองค์ ถือเป็นอิบาดะฮฺหนึ่ง การปฏิบัติสิ่งนี้ถือเป็นการแสดงความนอบน้อมต่ออัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียว เป็นการแสดงถึงความรักในพระองค์และความเทิดทูนต่อพระองค์ โดยเราต้องแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ด้วยวิธีที่พระองค์ทรงกำหนดเท่านั้น

    เป้าหมายแห่งการสร้างญินและมนุษย์

    พระองค์อัลลอฮฺมิได้สร้างญินและมนุษย์อย่างไร้เป้าหมายหรือเปล่าประโยชน์ พระองค์มิได้สร้างพวกเขาเพื่อให้มากิน ดื่ม หลงละเริง ละเล่น หรือหัวเราะร่า หากแต่ทรงสร้างพวกเขาด้วยจุดหมายอันยิ่งใหญ่นั้นคือเพื่อให้พวกเขาทำอิบาดะฮฺต่อพระองค์ ทำการเตาฮีดต่อพระองค์ เทิดทูนสรรเสริญเยินยอพระองค์ด้วยการกระทำสิ่งที่ทรงใช้และละเว้นสิ่งที่ทรงห้าม ตลอดจนวางตัวอยู่ในกรอบขอบเขตที่พระองค์ทรงกำหนด ไม่ทำอิบาดะฮฺต่อสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากพระองค์ ดังที่พระองค์ทรงกล่าวว่า

    (ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸﭹ) [الذاريات/56].

    ความว่า : และที่ข้าไม่ได้สร้างญินและมนุษย์ขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด เว้นแต่เพื่อให้พวกเขาทำอิบาดะฮฺต่อข้าเท่านั้น (อัซซาริยาต : 56)

    กรอบของการทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ

    การทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺผู้สูงส่ง ตั้งอยู่บนฐานสองประการ คือ ความรักอย่างบริสุทธิ์ใจและการนอบน้อมอย่างสูงสุดต่อพระองค์

    ทั้งนี้ ฐานสองประการนี้ตั้งอยู่บนสองฐานอันยิ่งใหญ่ คือ การประจักษ์ถึงความโปรดปราน ความปรานีเมตตา และความมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่สมควรต้องให้ความรักต่อพระองค์ ต้องพิจารณาความบกพร่องของตัวเองและปฏิบัติสิ่งที่แสดงออกถึงความนอบน้อมถ่อมตนอย่างสุดใจต่อพระองค์ โดยวิธีการเข้าถึงพระเจ้าที่ง่ายที่สุดสำหรับปวงบ่าวก็คือการเกิดความสำนึกว่าจะต้องพึ่งพาพระองค์ จะต้องเห็นตัวเองไร้ค่าและปราศจากเกียรติยศฐานันดรใดๆ ต้องรู้สึกว่าไม่มีที่ยึดเหนี่ยวกับบุคคลใดเพื่อเข้าหาพระองค์ ต้องสำนึกจากใจจริงว่าจำเป็นจะต้องพึ่งพาพระองค์ และมีเพียงพระองค์เท่านั้นที่สามารถปกป้องความสูญเสียและหายนะของตัวเอง

    อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﯺ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ ﰀ ﰁ ﰂ ﰃ ﰄ ﰅ ﰆ ﰇ ﰈ ﰉ ﰊ ﰋ ﰌ ﰍ ﰎ ﰏ ﰐ ﰑﰒ ﭑ ﭒ ﭓﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ) [النحل/53-55].

    ความว่า : และทุกความโปรดปรานที่พวกเจ้าได้รับล้วนแต่มาจากอัลลอฮฺ ครั้นเมื่อความทุกข์ร้ายประสบกับพวกเจ้า พวกเจ้าก็จะคร่ำครวญขอความคุ้มครองจากพระองค์ และเมื่อพระองค์ทรงปลดเปลื้องความทุกข์ยากนั้นออกจากพวกเจ้า อยู่ๆ พวกเจ้ากลุ่มหนึ่งก็ตั้งภาคีต่อพระเจ้าของพวกเขา ก็ให้พวกเขาจงเนรคุณในสิ่งที่เราได้ให้แก่พวกเขาไปเถอะ จงร่าเริงไปเถอะ แล้วอีกไม่นานพวกเจ้าก็จะได้รู้กัน (อันนะห์ลุ : 53-55)

    ผู้ที่ทำอิบาดะฮฺสมบูรณ์ที่สุด

    บุคคลที่ทำอิบาดะฮฺสมบูรณ์ที่สุด คือ บรรดานบีและเราะสูล เพราะพวกเขาคือผู้ที่รู้เรื่องเกี่ยวกับอัลลอฮฺมากที่สุด พวกเขาเป็นผู้นอบน้อมพระองค์มากกว่าผู้อื่นใด พระองค์จึงเพิ่มความโปรดปรานแก่พวกเขาด้วยการคัดเลือกพวกเขาให้เป็นตัวแทนของเผ่าพันธุ์ พวกเขาจึงได้รับความประเสริฐในฐานะเราะสูล และได้ความประเสริฐในฐานะนักอิบาดะฮฺเป็นการเฉพาะ

    ต่อจากนั้น ผู้ที่ทำอิบาดะฮฺอย่างสมบูรณ์ คือ คณะกลุ่มที่เรียกว่า “อัศศิดดีก” (ผู้ศรัทธาโดยสัจจริงอย่างเต็มเปี่ยม) และประพฤติปฏิบัติตามคำสอนอิสลามอย่างเสมอต้นเสมอปลาย

    จากนั้นจะเป็นกลุ่มชุฮะดาอ์ (ผู้เสียชีวิตเพื่อพิทักษ์ศาสนา)

    จากนั้นคือบรรดาคนดีมีศีลธรรมทั่วไป ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ) [النساء/69].

    ความว่า : และผู้ใดที่ปฏิบัติตามอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์แล้วไซร้ ชนเหล่านี้จะอยู่ร่วมกับบรรดาผู้ที่อัลลอฮฺทรงกรุณาเมตตาแก่พวกเขา อันได้แก่บรรดานบี บรรดาผู้ที่ศรัทธาอย่างสัจจริง บรรดาผู้ที่เสียชีวิตในสงคราม และบรรดาผู้ที่ประพฤติดี และชนเหล่านี้แหละเป็นมิตรสนิทแห่งสรวงสวรรค์ที่ดียิ่ง (อัลนิสาอ์ : 69)

    หน้าที่ของปวงบ่าวที่พึงกระทำต่อพระองค์อัลลอฮฺ

    หน้าที่ของผู้ที่อาศัยทั้งในชั้นฟ้าและแผ่นดินที่พึงกระทำต่อพระองค์อัลลอฮฺคือจะต้องกราบไหว้พระองค์และไม่ยึดสิ่งใดเป็นภาคีเทียบเคียงพระองค์ ต้องนอบน้อมไม่ฝ่าฟืน รำลึกไม่ลืมหลง รู้กตัญญูไม่ทรยศ และไม่มีผู้ใดปฏิบัตินอกกรอบที่กำหนดนี้ยกเว้นบุคคลสองสภาพเท่านั้น คือ ผู้อ่อนแอหรือผู้ไม่รู้ และผู้ละเลยหรือบกพร่องหย่อนยาน

    ด้วยเหตุนี้ หากอัลลอฮฺจะทรงลงโทษผู้อาศัยทั้งบนฟ้าและแผ่นดินของพระองค์ พระองค์ก็ย่อมทำได้โดยไม่ถือเป็นการทารุณต่อพวกเขา และหากจะทรงกรุณา ความกรุณาของพระองค์ก็ย่อมประเสริฐและมีค่ามากกว่าการกระทำของพวกเขา

    มุอาซ บิน ญะบัล เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮฺ เล่าว่า

    كنت ردف النبي صلى الله عليه وسلم على حمار يقال له عفير قال: فقال: «يَا مُعَاذُ تَدْرِي مَا حَقُّ الله عَلَى العِبَادِ، وَمَا حَقُّ العِبَادِ عَلَى الله٬؟» قال: قلت: اللهُ ورسولُـهُ أعلمُ، قال: «فَإنَّ حَقَّ الله٬ عَلَى العِبَادِ أَنْ يَـعْبُدُوا اللهَ وَلا يُشْرِكُوا بِـهِ شَيْئاً، وَحَقُّ العِبَادِ عَلَى الله٬ عَزّ وَجَلّ أَنْ لا يُـعَذِّبَ مَنْ لا يُشْرِكُ بِـهِ شَيْئاً» قال: قلتُ يَا رَسُولَ الله٬ أَفَلا أبشرُ النَّاسَ؟ قال: «لا تُبَشِّرْهُـمْ فَيَتَّكِلُوْا». متفق عليه

    ความว่า : ฉันได้นั่งข้างหลังท่านนบีบนลาตัวหนึ่งที่ชื่อว่า “อุฟัยรฺ” แล้วท่านก็ถามว่า “โอ้ มุอาซ ท่านรู้หรือเปล่าว่าอะไรคือสิทธิของอัลลอฮฺที่พึงได้รับจากปวงบ่าวของพระองค์ และอะไรคือสิทธิของปวงบ่าวที่พึงได้รับจากอัลลอฮฺ?” ฉันตอบไปว่า ”อัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ย่อมรู้ดีกว่า” ท่านกล่าวว่า “สิทธิของอัลลอฮฺที่พึงได้รับจากปวงบ่าวก็คือพวกเขาจะต้องกราบไหว้อัลลอฮฺและจะต้องไม่ต้องไม่ยึดสิ่งใดเป็นภาคีเทียบเคียงพระองค์ ส่วนสิทธิของปวงบ่าวที่พึงได้รับจากอัลลอฮฺผู้สูงส่งก็คือพระองค์จะไม่ทรงลงโทษผู้ที่ไม่ยึดสิ่งใดเป็นภาคีเทียบเคียงพระองค์” ฉันถามว่า “โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ จะไม่ให้ฉันบอกคนอื่นด้วยหรือ?” ท่านตอบว่า “อย่าบอกพวกเขา เดี๋ยวพวกเขาจะละเลยโดยไม่เป็นอันทำการงานใดๆ” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 2856 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 30 )

    การแสดงการนอบน้อมอย่างสมบูรณ์

    1. มนุษย์ทุกคนมักตกอยู่ในสามสภาวะ คือ

    หนึ่ง ได้รับนิอฺมัตจากอัลลอฮฺอันมากมายก่ายกอง ซึ่งจำต้องขอบคุณและสำนึกในความมหากรุณาของพระองค์

    สอง ปนเปื้อนกับความผิดบาป ซึ่งจำต้องขอประทานอภัยโทษและถอนตัวจากสิ่งนั้น

    สาม ประสบกับภยันตรายหรือสิ่งไม่พึงปรารถนาที่เป็นการทดสอบจากอัลลอฮฺ ซึ่งจำต้องอดทนฝ่าฟันถึงที่สุด

    ดังนั้นหากผู้ใดสามารถกระทำสามบทบาทนี้ได้ เขาก็จะมีความสุขในโลกดุนยาและอาคิเราะฮฺ

    2. อัลลอฮฺทรงทดสอบปวงบ่าวของพระองค์เพื่อทดสอบความอดทนและการนอบน้อมของพวกเขา ไม่ใช่เพื่อทำลายและลงโทษพวกเขาแต่อย่างใด ดังนั้น มนุษย์จึงจำต้องแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ในภาวะวิกฤติ ดังเช่นที่แสดงความสวามิภักดิ์ในยามสุขสันต์ เขาจะต้องนอบน้อมปฏิบัติตามในสิ่งที่พวกเขาไม่ชอบเหมือนกับการนอบน้อมปฏิบัติในสิ่งที่พวกเขาพอใจ แต่มนุษย์ส่วนใหญ่มักจะปฏิบัติตามศาสนาในสิ่งที่พวกเขาพอใจ ส่วนในเรื่องที่ขัดกับความรู้สึก พวกเขามักปฏิบัติตามมากน้อยไม่เหมือนกัน เช่น การเอาน้ำละหมาดด้วยน้ำที่เย็นๆ ในสภาพอากาศที่ร้อนระอุ คือ อิบาดะฮฺ การแต่งงานมีภรรยาสวยๆ ก็ อิบาดะฮฺ การเอาน้ำละหมาดด้วยน้ำเย็นซ่าในสภาพอากาศที่หนาวเหน็บก็เป็นอิบาดะฮฺ การงดกระทำข้อห้ามของศาสนาที่อารมณ์อยากจะทำแต่กลัวอัลลอฮฺก็คืออิบาดะฮฺ การอดทนต่อความหิวโหยและสิ่งไม่ดีต่างๆ ก็เป็นอิบาดะฮฺ แต่ก็มีความแตกต่างในสองสภาพนี้ โดยผู้ใดสามารถกระทำสิ่งเหล่านี้ทั้งในยามสุขและยามทุกข์ ทั้งในสิ่งที่ตัวเองไม่พอใจและสิ่งที่ตัวเองชอบ พวกเขาก็จะเป็นกลุ่มบ่าวของอัลลอฮฺที่มีแต่ความสุข ไร้ความกังวลและไม่มีความทุกข์โศกใดๆ ศัตรูของเขาไม่สามารถเอาชนะเขาแม้ด้วยวิธีการใดๆ เพราะอัลลอฮฺทรงปกป้องคุ้มครองเขา หากชัยฏอนสามารถล่อลวงลอบกัดเขาได้บางครั้งบางคราว ก็เป็นธรรมดาที่บ่าวมักจะถูกทดสอบด้วยความหลงใหลในบางสิ่งบางอย่าง ทดสอบด้วยอารมณ์ตัณหา หรือความโกรธเคือง ซึ่งสามประตูนี้คือทางผ่านที่ชัยฏอนสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ ทั้งนี้ อัลลอฮฺได้กำหนดให้แต่ละคนมีจิตใจ มีอารมณ์ และมีชัยฏอน แล้วพระองค์ก็ทดสอบว่าเขาจะเป็นทาสของมันหรือเป็นทาสของพระผู้สร้างเขา

    โดยแต่ละคนนั้นอัลลอฮฺจะมีคำสั่งการให้กระทำ แต่จิตใจก็มีคำสั่งการของมัน อัลลอฮฺต้องการให้มนุษย์เพิ่มพูนอีมานและการกระทำความดี แต่จิตใจก็ต้องการให้เพิ่มพูนทรัพย์สินและอารมณ์ตัณหา อัลลอฮฺปรารถนาให้ทำเพื่ออาคิเราะฮฺ แต่จิตใจปรารถนาให้ทำเพื่อดุนยา อีมานจึงเป็นทางรอดและเป็นคบไฟส่องทางธรรมให้สามารถแยกแยะสิ่งเหล่านี้และเอาชนะมันได้ในที่สุด ซึ่งนี่เองคือจุดทดสอบของมนุษย์

    1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ) [العنكبوت 2-3].

    ความว่า : มนุษย์คิดหรือว่าพวกเขาจะถูกยกเว้นไม่ถูกทดสอบเพียงเพราะพวกเขากล่าวว่าพวกเราศรัทธาแล้ว แท้จริงเราได้ทดสอบบุคคลก่อนหน้าพวกเขาเพื่ออัลลอฮฺจะได้ประจักษ์ว่าใครคือผู้สัจจริงและได้ประจักษ์ถึงผู้โกหก (อัลอันกะบูต : 2-3)

    2. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ) [يوسف/53].

    ความว่า : และฉันไม่ขอแก้ตัวให้กับตัวเองหรอก เพราะจิตใจมนุษย์มักจะสั่งการให้ทำสิ่งไม่ดียกเว้นผู้ที่พระเจ้าของฉันทรงปรานี แท้จริงพระเจ้าของฉันเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงปรานียิ่ง (ยูสุฟ : 53)

    3. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    (ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ ﯶ ﯷ ﯸ ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ ﰀ) [القصص/ 50].

    ความว่า : ซึ่งหากพวกเขาไม่สนองตอบเจ้า ก็จงทราบเถิดว่าเป็นเพราะพวกเขาปฏิบัติตามอารมณ์ตัณหาของพวกเขา และผู้ใดเล่าที่หลงทางยิ่งไปกว่าผู้ที่ปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำของตัวเองโดยปราศจากทางนำจากอัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺนั้นไม่ทรงนำทางแก่ปวงชนผู้อธรรม (อัลเกาะศ็อศ : 50)

    معلومات المادة باللغة الأصلية