الوصف
بيان فضائل الأخلاق مثل : فضل الصبر، والصدق، والتوبة، والتقوى، والتوكل، والرجاء، والرحمة، والرفق، والحياء .. إلخ من كتاب مختصر الفقه الإسلامي للشيخ محمد التويجري
ترجمات أخرى 3
ความประเสริฐของกิริยามารยาทที่ดี
[ ไทย ]
فضائل الأخلاق
[ باللغة التايلاندية ]
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์
محمد بن إبراهيم بن عبدالله التويجري
แปลโดย: อันวา สะอุ
ترجمة: أنور إسماعيل
ตรวจทาน: ซุฟอัม อุษมาน
مراجعة: صافي عثمان
จากหนังสือ: มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์
المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي
สำนักงานความร่วมมือเพื่อการเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
المكتب التعاوني للدعوة وتوعية الجاليات بالربوة بمدينة الرياض
1430 – 2009
ความประเสริฐของกิริยามารยาท
ความประเสริฐของการมีกิริยามารยาทที่งดงาม
1.อัลลอฮฺทรงมีดำรัสชื่นชมศาสนทูตของพระองค์ว่า
(ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ) [القلم/4]
ความว่า “และแท้จริง เจ้านั้นอยู่บนจริยธรรมอันยิ่งใหญ่” (อัลเกาะลัม: 4)
2. จากอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ใช่ผู้ที่หยาบคายและไม่ใช่ผู้ที่ชอบความหยาบคาย ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยกล่าวว่า
«إنَّ مِنْ خِيَارِكُمْ أَحْسَنُكُمْ أَخْلاقاً»
ความว่า “ส่วนหนึ่งจากผู้ที่ประเสริฐที่สุดในหมู่พวกท่าน คือ ผู้ที่มีมารยาทดีในหมู่พวกท่าน” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 3559 , มุสลิม : 2321 )
ความประเสริฐของความรู้
1.อัลลอฮฺ ตะอาลาได้ตรัสว่า
(ﰈ ﰉ ﰊ ﰋ ﰌ ﰍ ﰎ ﰏ ﰐ ﰑ ﰒ ﰓ ﰔ ﰕ ﰖ) [المجادلة/11].
ความว่า “ อัลลอฮฺจะทรงยกย่องเทอดเกียรติแก่บรรดาผู้ศรัทธาในหมู่พวกเจ้า และบรรดาผู้ได้รับความรู้หลายชั้น และอัลลอฮฺทรงรอบรู้ยิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ” (อัลมุญาดะละฮฺ: 11)
2.จากท่านมุอาวิยะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ يُرِدِ الله بِـهِ خَيْراً يُفَقِّهْهُ فِي الدِّينِ، وَإنَّمَا أَنَا قَاسِمٌ، وَالله يُـعْطِي، وَلَنْ تَزَالَ هَذِهِ الأُمَّةُ قَائِمَةً عَلَى أَمْرِ الله لا يَضُرُّهُـمْ مَنْ خَالَفَهُـمْ حَتَّى يَأْتِيَ أَمْرُ الله»
ความว่า “บุคคลใดที่อัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะให้เกิดความดีแก่เขา อัลลอฮฺจะทรงให้เขาเข้าใจในศาสนา แท้จริงฉันนี่เป็นผู้จัดแบ่งส่วน โดยที่อัลลอฮฺทรงประทานมา และประชาชาตินี้จะยังคงยืนหยัดบนแนวทางของอัลลอฮฺ ไม่มีผู้ใดที่ขัดแย้งกับพวกเขาจะทำอันตรายแก่พวกเขาเหล่านั้นได้จนกระทั่งวันกิยามะฮฺได้มาถึง” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 71 , มุสลิม : 1037 )
ความประเสริฐของการอดกลั้น อดทน
ศาสนาอิสลามได้กำชับให้บรรดามุสลิมนั้นมีความอดทน ซึ่งสามารถแบ่งชนิดของการอดทนออกเป็น 3 ชนิด คือ
1. อดทนต่อการภักดีต่ออัลลอฮฺด้วยการปฏิบัติตามบัญชาอย่างเคร่งครัด
2. อดทนอดกลั้นจากการฝ่าฝืนอัลลอฮฺด้วยการไม่ปฏิบัติสิ่งนั้น
3. อดทนต่อการกำหนดของอัลลอฮฺที่อยู่ในรูปของการทดสอบที่ลำบากและเจ็บปวด
1. อัลลอฮฺทรงมีดำรัสว่า
(ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ) [البقرة/ 155-157].
ความว่า “และแน่นอน เราจะทดสอบสูเจ้าโดยการให้สูเจ้าอยู่ในความกลัวและความหิว และโดยการให้สูญเสียทรัพย์สิน ชีวิตและพืชผล และจงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ที่อดทน [155] คือบรรดาผู้ที่เมื่อมีเคราะห์ร้ายมาประสบแก่พวกเขา พวกเขาก็กล่าวว่า แท้จริงพวกเรา เป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ และแท้จริงพวกเราจะกลับไปยังพระองค์ [156] ชนเหล่านี้แหละพวกเขาจะได้รับคำชมเชย และการเอ็นดูเมตตาจากพระเจ้าของพวกเขา และชนเหล่านี้แหละคือผุ้ที่ได้รับข้อแนะนำอันถูกต้อง [157] “ (อัลบะเกาะเราะฮฺ : 155-157 )
2. จากท่านอบีสะอีด อัลคุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ แท้จริงท่านเราสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าว่า
«... وَمَنْ يَتَصَبَّرْ يُصَبِّرْهُ الله، وَمَا أُعْطِيَ أَحَدٌ عَطَاءً خَيراً وَأَوْسَعَ مِنَ الصَّبْرِ»
ความว่า ”... และบุคคลใดอดกลั้น อัลลอฮฺจะทรงเพิ่มพูนความพอเพียงแก่เขา และไม่มีใครสักคนที่จะได้รับสิ่งหนึ่งดียิ่งกว่าความอดกลั้น” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 1469 , มุสลิม : 1053 )
3. จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ แท้จริงท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«لَيْسَ الشَّدِيدُ بِالصُّرَعَةِ إنَّمَا الشَّدِيدُ الَّذِي يَـمْلِكُ نَفْسَهُ عِنْدَ الغَضَبِ»
ความว่า “ใช่ว่าผู้ที่ปล้ำคนอื่น(ชนะ)จะเป็นคนที่เข้มแข็ง แต่ผู้ที่เข้มแข็งคือผู้ที่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธของตัวเองขณะที่โกรธได้” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 6114 , มุสลิม : 2609 )
4. จากอะนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إنَّ الله قَالَ: إذَا ابْتَلَيْتُ عَبْدِي بِـحَبِيْبَتَيْـهِ فَصَبَرَ عَوَّضْتُـهُ مِنْـهُـمَا الجَنَّةَ»
ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺตรัสว่า เมื่อข้าได้ทดสอบบ่าวของข้า โดยให้เขาสูญเสียสองสิ่งที่เขารักยิ่ง แต่แล้วบ่าวผู้นั้นอดทน(ต่อการทดสอบนั้น) ข้าจะตอบแทนแก่เขาจากการสูญเสียสองสิ่งนั้นด้วยสวนสวรรค์ สองสิ่งที่เขารักยิ่ง คือ ดวงตาทั้งสองของเขา" (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 5653 )
ความประเสริฐของการมีสัจจะ
1. อัลลอฮฺทรงมีดำรัสว่า
(ﯾ ﯿ ﰀ ﰁ ﰂ ﰃ ﰄ ﰅ ﰆ ﰇ ﰈ ﰉ ﰊ ﰋ ﰌ ﰍ ﰎ ﰏ ﰐ ﰑ ﰒ ﰓ ﰔ ﰕ ﰖ ﰗ) [المائدة/119].
ความว่า “(อัลลอฮฺตรัสว่า) นี่แหละคือวันที่การพูดความจริงของพวกเขาจะอำนวยประโยชน์แก่บรรดาผู้ที่พูดจริง พวกเขาจะได้รับบรรดาสวนสวรรค์เหล่านั้น โดยที่พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล ในสภาพที่อัลลอฮฺทรงพอพระทัยในพวกเขา และพวกเขาก็พึงพอใจในพระองค์นั่นแหละคือชัยชนะอันยิ่งใหญ่” (อัลมาอิดะฮฺ : 119 )
2. จากอับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«عَلَيْكُمْ بِالصِّدْقِ، فَإنَّ الصِّدْقَ يَـهْدِي إلَى البِرِّ، وَإنَّ البِرَّ يَـهْدِي إلَى الجَنَّةِ، وَمَا يَزَالُ الرَّجُلُ يَصْدُقُ وَيَتَـحَرَّى الصِّدْقَ حَتَّى يُكْتَـبَ عِنْدَ الله صِدِّيقاً، وَإيَّاكُمْ وَالكَذِبَ، فَإنَّ الكَذِبَ يَـهْدِي إلَى الفُجُورِ، وَإنَّ الفُجُورَ يَـهْدِي إلَى النَّارِ، وَمَا يَزَالُ الرَّجُلُ يَكْذِبُ وَيَتَـحَرَّى الكَذِبَ حَتَّى يُكْتَـبَ عِنْدَ الله كَذَّاباً»
ความว่า “พวกท่านต้องมีสัจจะ เพราะสัจจะนั้นจะนำพาไปสู่ความดี และความดีจะนำพาไปสู่สวรรค์ บุคคลที่ยังคงรักษาสัจจะอีกทั้งเคยชินกับสัจจะ จนขนาดจะถูกบันทึก ณ อัลลอฮฺว่าเป็นผู้มีสัจจะ และพวกท่านพึงระวังการโกหก เพราะการโกหกจะนำพาไปสู่ความชั่ว และความชั่วจะนำพาไปสู่นรก บุคคลที่คงอยู่กับการโกหกอีกทั้งเคยชินกับการโกหก จนขนาดถูกบันทึก ณ อัลลอฮฺว่าเป็นจอมโกหก” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 6094 , มุสลิม : 2607 )
ความประเสริฐของการอิสติฆฟารฺ(ขออภัยโทษ)และการเตาบะฮฺ(กลับตัว)
1.อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
(ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ ﯶ ﯷ ﯸ ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ ﰀ ﰁ ﰂ) [هود/52].
ความว่า “และโอ้กลุ่มชนของฉันเอ๋ย! จงขออภัยโทษต่อพระเจ้าของพวกท่าน แล้วจงกลับเนื้อกลับตัวต่อพระองค์ พระองค์จะส่งเมฆ (น้ำฝน) มาเหนือพวกท่าน ให้หลั่งน้ำฝนลงมาอย่างหนักและจะทรงเพิ่มพลังเป็นทวีคุณให้แก่พวกท่าน และพวกท่าน และพวกท่านอย่าผินหลังโดยเป็นผู้กระทำผิด” (ฮูด : 52 )
2. จากอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«الله أَفْرَحُ بِتَوبَةِ عَبْدِهِ مِنْ أَحَدِكُمْ سَقَطَ عَلَى بَـعِيرِهِ وَقَدْ أَضَلَّهُ فِي أَرْضِ فَلاةٍ»
ความว่า “อัลลอฮฺทรงพึงพอพระทัยต่อการสารภาพผิดของบ่าวของเขาคนหนึ่ง ยิ่งกว่าการที่คนคนหนึ่งที่อูฐของเขาพลัดหลงในทุ่งโล่งที่ไม่มีต้นไม้สักต้น(แล้วต่อมาเขาพบมัน)” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 6309 , มุสลิม : 2747 )
ความประเสริฐของความยำเกรง
1. อัลลอฮฺ ทรงมีดำรัสว่า
(ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ) [الأنفال/29]
ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! หากพวกเจ้ายำเกรงอัลลอฮฺ พระองค์ก็จงทรงให้มีแก่พวกเจ้าซึ่งสิ่งที่จำแนกความจริงและความเท็จและจะทรงลบล้างบรรดาความผิดของพวกเจ้าออกจากพวกเจ้าและจะทรงอภัยโทษให้แก่พวกเจ้าด้วยและอัลลอฮฺนั้นคือผู้ทรงมีบุญคุณอันใหญ่หลวง” (อัลอันฟาล : 29 )
2. อัลลอฮฺ ตะอาลาได้ตรัสว่า
(ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ) [الحجرات/13]
ความว่า “โอ้มนุษยชาติทั้งหลาย แท้จริงเราได้สร้างพวกเจ้าจากเพศชายและเพศหญิง และเราได้ให้พวกเจ้าแยกเป็นเผ่าและตระกูลเพื่อจะได้รู้จักกัน แท้จริงผู้ที่มีเกียรติยิ่งในหมู่พวกเจ้า ณ ที่อัลลอฮฺนั้น คือผู้ที่มีความยำเกรงยิ่งในหมู่พวกเจ้า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้อย่างละเอียดถี่ถ้วน” (อัลหุญุรอต : 13 )
ความประเสริฐของความเชื่อมั่นและการมอบมายการงานแด่อัลลอฮฺ
1.อัลลอฮฺทรงมีดำรัสว่า
(ﯶ ﯷ ﯸ ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ ﰀ ﰁ ﰂ ﰃ ﰄ ﰅ ﰆ ﰇ ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ) [آل عمران/173-174]
ความว่า “บรรดาที่ ผู้คนได้กล่าวแก่พวกเขาว่า แท้จริงมีผู้คน ได้ชุมนุมสำหรับพวกท่าน ดังนั้นพวกท่านจงกลัวพวกเขาเถิด แล้วมัน ได้เพิ่มการอีมานแก่พวกเขา และพวกเขากล่าวว่าอัลลอฮฺ นั้นเป็นผู้ที่พอเพียงแก่เราแล้ว และเป็นผู้รับมอบหมายที่ดีเยี่ยม [173] แล้วพวกเขาได้กลับมา พร้อมด้วยความ กรุณาจากอัลลอฮฺ และความโปรดปราน (จากพระองค์) โดยมิได้มีอันตรายใดๆ ประสบแก่พวกเขา และพวกเขาได้ปฏิบัติตามความพอพระทัยของอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺคือผู้ทรงโปรดปรานที่ยิ่งใหญ่ [174] ” (อาลิ อิมรอน : 173-174 )
2. อัลลอฮฺ ตะอาลาได้ตรัสว่า
( ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙﯚ) [الطلاق/2-3]
ความว่า “และผู้ใดยำเกรงอัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงหาทางออกให้แก่เขา [2] และจะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่เขาจากที่ที่เขามิได้คาดคิด และผู้ใดมอบหมายแด่อัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงเป็นผู้พอเพียงแก่เขา แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงบรรลุในกิจการของพระองค์ โดยแน่นอนสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างนั้น อัลลอฮฺทรงกำหนดกฎสภาวะไว้แล้ว [3] ” (อัฏเฏาะลาก : 2-3 )
ความประเสริฐของการเสียสละ
1. อัลลอฮฺทรงมีดำรัสว่า
(ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ) [العنكبوت/69].
ความว่า “และบรรดาผู้ต่อสู้ดิ้นรนในทางของเราแน่นอนเราจะชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องแก่พวกเขาสู่ทางของเรา และแท้จริงอัลลอฮฺทรงอยู่ร่วมกับผู้กระทำความดีทั้งหลาย” (อัลอังกะบูต : 69 )
2. จากซิยาด กล่าวว่า ฉันได้ยินอัลมุฆิเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ยืนละหมาดจนกระทั้งขา หรือ น่องของท่านบวม แล้วมีคนทักท่าน ท่านกล่าวว่า
«أَفَلا أَكُونُ عَبْداً شَكُوراً»
ความว่า “ไม่ดีหรอกหรือในการที่ฉันจะเป็นบ่าวที่สำนึกบุญคุณ” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 1130 , มุสลิม : 2819 )
ความประเสริฐของการเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺ
1. อัลลอฮฺทรงมีดำรัสว่า
(ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬﭭ) [آل عمران/175]
ความว่า “แท้จริงชัยฏอนนั้น เพียงขู่ได้ เฉพาะบรรดาผู้ที่ปฏิบัติตามมันเท่านั้น ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่ากลัวพวกเขา และจงกลัวข้าเถิด หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธา” (อาลิ อิมรอน : 175 )
2. อัลลอฮฺตะอาลาได้ตรัสว่า
(ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ) [الرحمن/46]
ความว่า “และสำหรับผู้ที่ยำเกรงต่อการยืนหน้าพระพักตร์แห่งพระเจ้าของเขา (เขาจะได้) สวนสวรรค์สองแห่ง” (อัรเราะหฺมาน : 46 )
ความประเสริฐของความหวังในเมตตาของอัลลอฮฺ
1. อัลลอฮฺทรงมีดำรัสว่า
( ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ ﯗ ﯘ ﯙ ﯚ ﯛ) [الزمر/53]
ความว่า “จงกล่าวเถิด ปวงบ่าวของข้าเอ๋ย! บรรดาผู้ละเมิดต่อตัวของพวกเขาเอง พวกท่านอย่าได้หมดหวังต่อพระเมตตาของอัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงอภัยความผิดทั้งหลายทั้งมวล แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อัลซุมัรฺ : 53)
2. จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่าท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«وَالَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ لَوْ لَـمْ تُذْنِبُوا لَذَهَبَ الله بِكُمْ، وَلجَاءَ بَقَومٍ يُذْنِبُونَ فَيَسْتَغْفِرُونَ الله فَيَـغْفِرُ لَـهُـمْ».
ความว่า“ข้อสาบานด้วย(อัลลอฮฺ)ผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ หากแม้นว่าพวกท่านไม่มีบาปใดๆเลยแน่นอน อัลลอฮฺก็จะทรงนำพวกท่านไป และพระองค์ก็จะทรงให้มีประชาชาติใหม่มาแทนซึ่งพวกเขาจะทำบาปแล้วพวกเขาได้ขออภัยโทษ พระองค์ก็จะทรงอภัยโทษให้กับพวกเขา”(บันทึกโดย มุสลิม : 2749 )
ความประเสริฐของความเมตตา
1. อัลลอฮฺทรงมีดำรัสว่า
(ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ) [الفتح/29]
ความว่า “มุฮัมมัดเป็นร่อซู้ลของอัลลอฮฺ และบรรดาผู้ที่อยู่ร่วมกับเขา เป็นผู้เข้มแข็งกล้าหาญต่อพวกปฏิเสธศรัทธา เป็นผู้เมตตาสงสารระหว่างพวกเขาเอง เจ้าจะเห็นพวกเขาเป็นผู้รุกูอฺ(ก้มเคารพ) ผู้สุญูด(กราบแนบพื้น) โดยแสวงหาคุณความดีจากอัลลอฮฺและความโปรดปราน (ของพระองค์)” (อัลฟัตหฺ : 29 )
2. จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ لا يَرْحَـمْ لا يُرْحَـمْ»
ความว่า“บุคคลใดที่ไม่มีความเมตตา เขาผู้นั้นก็จะไม่ได้รับความเมตตาเช่นกัน” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 5597 , มุสลิม : 2318 )
ความประเสริฐของความเมตตาของอัลลอฮฺที่กว้างไพศาล
1. จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«لَـمَّا قَضَى الله الخَلْقَ، كَتَـبَ فِي كِتَابِـهِ فَهُوَ عِنْدَهُ فَوقَ العَرْشِ، إنَّ رَحْـمَتِي غَلَبَتْ غَضَبِي»
ความว่า “เมื่ออัลลอฮฺทรงบันดาลสรรพสิ่งทั้งหลายแล้ว พระองค์ได้ทรงบันทึกลงในบันทึกของพระองค์ซึ่งอยู่กับพระองค์เหนือบัลลังค์ว่า ความเมตตาของข้านั้นจะชนะความพิโรธของข้า” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 3194 , มุสลิม : 2751 )
2. จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إنَّ لِلَّهِ مِائَةَ رَحْـمَةٍ، أَنْزَلَ مِنْـهَا رَحْـمَةً وَاحِدَةً بَيْنَ الجِنِّ وَالإنْسِ وَالبَـهَائِمِ وَالهَوَامِّ، فَبِـهَا يَتَعَاطَفُونَ، وَبِـهَا يَتَرَاحَـمُونَ، وَبِـهَا تَعْطِفُ الوَحْشُ عَلَى وَلَدِهَا، وَأَخَّرَ الله تِسْعاً وَتِسْعِينَ رَحْـمَةً يَرْحَـمُ بِـهَا عِبَادَهُ يَوْمَ القِيَامَةِ»
ความว่า “สำหรับอัลลอฮฺแล้วมีถึงหนึ่งร้อยความเมตตา พระองค์ได้ประทานความเมตตาเพียงส่วนเดียวลงมาแก่ญิน มนุษย์ และสรรพสัตว์ ด้วยความเมตตาส่วนนั้นพวกเขาเอื้ออาทรต่อกัน ด้วยส่วนนั้นพวกเขาต่างมีเมตตาต่อกัน ด้วยความเมตตาส่วนนั้นจะพบว่าสัตว์ที่ดุร้ายมีความเมตตาต่อลูกของเขา และอัลลอฮฺได้เก็บความเมตตาอีกเก้าสิบเก้า ณ พระองค์ เพื่อแสดงออกต่อปวงบ่าวของพระองค์ในวันกิยามะฮฺ” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 6000 , มุสลิม : 2752 )
ความประเสริฐของการให้อภัย ยกโทษ และอ่อนน้อมต่อกัน
1. อัลลอฮฺทรงมีดำรัสว่า
( ﮈ ﮉ ﮊ ﮋ ﮌ ﮍ ﮎ ﮏ ﮐ ﮑ ﮒ ﮓ ﮔﮕ) [النور/22].
ความว่า "และพวกเขาจงอภัยและยกโทษ (ให้แก่พวกเขาเถิด) พวกเจ้าจะไม่ชอบหรือที่อัลลอฮฺจะทรงอภัยให้แก่พวกเจ้า และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อันนูร : 22 )
2. อัลลอฮฺทรงมีดำรัสว่า
(ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ) [الأعراف/ 199].
ความว่า “เจ้า (มุฮัมมัด) จงยึดถือไว้ซึ่งการอภัย และจงใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ และจงผินหลัง ให้แก่ผู้โฉดเขลาทั้งหลายเถิด”
3. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
( ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ ﯕ ﯖ) [الحجر/ 85].
ความว่า “และแท้จริงวันกิยามะฮฺจะมีมาอย่างแน่นอน ดังนั้นเจ้าจงอภัยด้วยการอภัยที่ดี” (อัลหิจญรฺ : 85 )
4. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
( ﮔ ﮕ ﮖ ﮗ ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ) [التغابن/14].
ความว่า “แต่ถ้าพวกเจ้าอภัยและยกโทษ (แก่พวกเขา) แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อัตตะฆอบุน : 14 )
ความประเสริฐของความอ่อนโยน
1. จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า
«يَا عَائِشَةُ إنَّ الله رَفِيقٌ يُـحِبُّ الرِّفْقَ، وَيُـعْطِي عَلَى الرِّفْقِ مَا لا يُـعْطِي عَلَى العُنْفِ، وَمَا لا يُـعْطِي عَلَى مَا سِوَاهُ»
ความว่า “ อาอิชะฮฺเอ๋ย อัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอ่อนโยน ทรงรักความอ่อนโยน และพระองค์ประทานให้บนความอ่อนโยน ด้วยสิ่งที่ไม่สามารถเทียบกับการประทานให้บนความกระด้างและการประทานให้บนสิ่งอื่นจากนี้(ความอ่อนโยน)” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 6927 , มุสลิม : 2593 )
2. จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า
« إنَّ الرِّفْقَ لا يَكُونُ فِي شَيْءٍ إلَّا زَانَـهُ، وَلا يُنْزَعُ مِنْ شَيْءٍ إلَّا شَانَـهُ »
ความว่า “แท้จริงความอ่อนโยนนั้นจะไม่มีในสิ่งใดเลยนอกจากจะทำให้สิ่งนั้นได้รับการประดับประดา อีกทั้งมันจะไม่ถูกถอดออกจากสิ่งใดๆ เว้นแต่ตัวมันจะทำให้สิ่งนั้นน่าขยะแขยง” (บันทึกโดย มุสลิม: 2594)
ความประเสริฐของความละอาย
1. จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
«الإيمَانُ بِضْعٌ وَسِتُّونَ شُعْبَةً، وَالحَيَاءُ شُعْبَةٌ مِنَ الإيمَانِ»
ความว่า “การศรัทธามั่นมีมากกว่าหกสิบแขนง และความละอายเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธามั่น” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 9 , มุสลิม : 35 )
2. จากท่านอิบนุมัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
«إنَّ مِـمَّا أَدْرَكَ النَّاسُ مِنْ كَلامِ النُّبُوَّةِ إذَا لَـمْ تَسْتَـحِ فَاصْنَعْ مَا شِئْتَ»
ความว่า “แท้จริงส่วนหนึ่งจากคำพูดของบรรดานบีที่มนุษย์สามารถรับรู้คือ หากว่าเจ้าไม่มีความละอายก็จงกระทำตามที่เจ้าต้องการ” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 3484 )
ความประเสริฐของความสุขุมและรักษาคำพูดยกเว้นในเรื่องที่ดี
1. จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
«مَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِالله وَاليَومِ الآخِرِ فَلْيَـقُلْ خَيْراً أَوْ لِيَصْمُتْ»
ความว่า “บุคคลใดที่ศรัทธามั่นต่ออัลลอฮฺและวันกิยามะฮฺนั้น จงให้เขาพูดแต่ในสิ่งที่ดีหรือไม่ก็จงเงียบเสีย” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 6475 , มุสลิม : 47 )
2. จากท่านอบูมุซา เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า (บรรดาเศาหาบะฮฺได้ถาม)ว่า “โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ อิสลามแบบไหนซึ่งประเสริฐที่สุด ท่านนบีตอบว่า
«مَنْ سَلِـمَ المُسْلِـمُونَ مِنْ لِسَانِـهِ وَيَدِهِ»
ความว่า “ผู้ที่ปกป้องมุสลิมอื่นให้รอดพ้นจากความชั่วของลิ้นและการกระทำของเขา” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 11 , มุสลิม : 42 )
ความประเสริฐของการยืนหยัดบนแนวทางของอัลลอฮฺ
1.อัลลอฮฺ ทรงมีดำรัสว่า
(ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ) [فصلت/30-32].
ความว่า “แท้จริงบรรดาผู้กล่าวว่า อัลลอฮฺคือพระเจ้าของพวกเรา แล้วพวกเขาก็ยืนหยัดตามคำกล่าวนั้น มะลากิกะฮฺจะลงมาหาพวกเขา (โดยกล่าวกับพวกเขาว่า) พวกท่านอย่าหวาดกลัวและอย่าเศร้าสลดใจแต่จงต้อนรับข่าวดี คือสวนสวรรค์ซึ่งพวกเจ้าได้ถูกสัญญาไว้ [30] พวกเราเป็นผู้อารักขาพวกท่านทั้งในการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้และปรโลก และสำหรับพวกท่านในสวนสวรรค์นั้น จะได้สิ่งที่จิตใจของพวกท่านปรารถนา และสำหรับพวกท่านในสวนสวรรค์นั้นจะได้ในสิ่งที่พวกท่านเรียกร้อง [31] เป็นการต้อนรับด้วยความเมตตาจากพระผู้ทรงอภัยผู้ทรงเมตตาเสมอ [32]”(ฟุศศิลัต : 30-32 )
2. จากสุฟยาน บิน อับดุลลอฮฺ อัลษะเกาะฟีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ฉันได้กล่าวกับท่านเราะสูลว่า โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ได้โปรดบอกแก่ฉันในเรื่องอิสลามซึ่งคำพูดหนึ่งที่ฉันจะไม่ต้องถามคนอื่นอีกต่อไปหลังจากท่าน ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
«قُلْ آمَنْتُ بِالله فَاسْتَقِمْ»
ความว่า “จงกล่าวว่าฉันศรัทธามั่นต่ออัลลอฮฺแล้วจงดำรงมั่นในจุดยืนของท่าน” (บันทึกโดย มุสลิม : 38 )
ความประเสริฐของการระวังตัวเองจากบาป
จากอันนุอฺมาน บิน บะชีร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า
«إنَّ الحَلالَ بَيِّنٌ، وَإنَّ الحَرَامَ بَيِّنٌ، وَبَيْنَـهُـمَا مُشْتَبِـهَاتٌ لا يَـعْلَـمُهُنَّ كَثِيرٌ مِنَ النَّاسِ، فَمَنِ اتَّقَى الشُّبُـهَاتِ اسْتَبْرَأَ لِدِينِـهِ وَعِرْضِهِ، وَمَنْ وَقَعَ فِي الشُّبُـهَاتِ وَقَعَ فِي الحَرَامِ، كَالرَّاعِي يَرْعَى حَوْلَ الحِـمَى يُوْشِكُ أَنْ يَرْتَعَ فِيهِ، أَلا وَإنَّ لِكُلِّ مَلِكٍ حِـمَىً، أَلا وَإنَّ حِـمَى الله مَـحَارِمُهُ، أَلا وَإنَّ فِي الجَسَدِ مُضْغَةً، إذَا صَلَـحَتْ صَلَـحَ الجَسَدُ كُلُّهُ، وَإذَا فَسَدَتْ فَسَدَ الجَسَدُ كُلُّهُ، أَلا وَهِيَ القَلْبُ»
ความว่า “แท้จริงสิ่งที่หะลาล(อนุมัติ)ชัดแจ้งแล้วและสิ่งที่หะรอม(ต้องห้าม)ชัดแจ้งแล้วระหว่างทั้งสองนั้นมีสิ่งที่คลางแคลงใจซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่รู้ ดังนั้นบุคคลใดที่ระวังตัวไม่ปฏิบัติในสิ่งที่คลางแคลงใจ ศาสนาและจริยวัตรของเขาก็ปลอดภัย และหากบุคคลใดที่ถลำตัวในสิ่งที่คลางแคลงหมายความว่าเขาได้ตกลงสู่ภาวะหะรอม ไม่แตกต่างจากคนเลี้ยงสัตว์ที่เลี้ยงสัตว์ใกล้ๆ ที่ดินต้องห้าม จงทราบเถิดว่าทุกๆ รัฐนั้นมีเขตหวงห้าม และเขตหวงห้ามของอัลลอฮฺนั้นคือ ทุกอย่างที่หะรอม จงทราบเถิดว่าในร่างกายของมนุษย์นั้นมีเลือดก้อนหนึ่งหากก้อนเลือดดังกล่าวดี ร่างกายทั้งหมดก็จะดีตามไปด้วย แต่หากก้อนเลือดดังกล่าววิบัติร่างกายทั้งหมดก็จะวิบัติตามไปด้วย จงทราบเถิดว่าก้อนเลือดดังกล่าวว่าคือ จิตใจ” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 52 , มุสลิม : 1599 )
ความประเสริฐของอัลอิหฺสาน ( การกระทำความดี )
1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
(ﯞ ﯟ ﯠ ﯡ ﯢ ﯣ ﯤ ﯥ ﯦ ﯧ ﯨ ﯩ ﯪ ﯫ ﯬ ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ ﯳ) [المرسلات/41- 44]
ความว่า “แท้จริงบรรดาผู้ยำเกรงจะอยู่ท่ามกลางร่มเงาและน้ำพุ [41] และผลไม้ตามที่พวกเขาต้องการ [42] พวกเจ้าจงกินจงดื่มอย่างสบายใจตามที่พวกเจ้าได้กระทำไว้ [43] แท้จริงเช่นนั้นแหละเราจะตอบแทนผู้กระทำความดีทั้งหลาย [44]” (อัลมุรสะลาต : 41 – 44)
2. อัลลอฮฺทรงมีดำรัสว่า
(ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ ﰀ ﰁ ﰂ ﰃ ﰄ ﰅ ﰆ ﰇ ﰈ ﰉ ﰊ ﰋ ﰌ ﰍ) [البقرة/112].
ความว่า “ความจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ใครก็ตามที่ยอมมอบตนต่ออัลลอฮฺ และเป็นผู้กระทำการดี เขาก็จะได้รับการตอบแทนจากพระผู้อภิบาลของเขา และจะไม่มีความกลัวและความระทมสำหรับพวกเขา” (อัลบะเกาะเราะฮฺ : 112)
3. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
(ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ) [البقرة/ 195].
ความว่า “... จงทำทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นเรื่องดี เพราะอัลลอฮฺทรงรักบรรดาผู้ทำสิ่งดี” (อัลบะเกาะเราะฮฺ : 195)
ความประเสริฐของความรักเพื่ออัลลอฮฺ
1. จากท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« ثَلاثٌ مَنْ كُنَّ فِيهِ وَجَدَ حَلاوَةَ الإيمَانِ: أَنْ يَكُونَ الله وَرَسُولُـهُ أَحَبَّ إلَيهِ مِـمَّا سِوَاهُـمَا، وَأَنْ يُـحِبَّ المرْءَ لا يُـحِبُّـهُ إلَّا ٬، وَأَنْ يَكْرَهَ أَنْ يَـعُودَ فِي الكُفْرِ كَمَا يَكْرَهُ أَنْ يُـقْذَفَ فِي النَّارِ»
ความว่า “มีสามสิ่งซึ่งหากมนุษย์ได้ลิ้มรสแล้วเขาจะรู้สึกถึงความหวานแห่งการศรัทธามั่น คือ การรักอัลลอฮฺและเราะสูลยิ่งกว่าสิ่งใดๆ การให้ความรักแก่คนอื่นเพียงเพื่ออัลลอฮฺ รังเกียจต่อการกลับไปเป็นกาฟิรฺ หลังจากที่อัลลอฮฺทรงทำให้รอดพ้นจากการเป็นกาฟิรฺ ประหนึ่งรังเกียจการถูกโยนลงสู่ไฟนรก” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 16 , มุสลิม : 43 )
2. จากท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«لا يُؤْمِنُ أَحَدُكُمْ حَتَّى يُـحِبَّ لأَخِيهِ مَا يُـحِبُّ لِنَفْسِهِ»
ความว่า “คนหนึ่งในหมู่พวกท่านจะยังไม่ถือว่าศรัทธามั่นจนกว่าเขาจะรักพี่น้องร่วมศาสนาของเขาเท่าที่เขารักตัวเขาเอง” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 13 , มุสลิม : 45 )
3. จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إنَّ الله يَـقُولُ يَومَ القِيَامَةِ: أَيْنَ المُتَـحَابُّونَ بِـجَلالِي، اليَومَ أُظِلُّهُـمْ فِي ظِلِّي، يَومَ لا ظِلَّ إلَّا ظِلِّي»
ความว่า “อัลลอฮฺทรงดำรัสในวันกียามะฮฺว่า บรรดาผู้ที่รักกันด้วยความยิ่งใหญ่ของข้านั้นอยู่ที่ไหนในวันนี้ ข้าจะให้ร่มเงาแก่พวกเขาได้อยู่ในร่มเงาของข้า ในวันที่ไม่มีร่มเงาอื่นใดแล้ว นอกจากร่มเงาของข้า” (บันทึกโดย มุสลิม: 2566)
ความประเสริฐของการร้องไห้ด้วยความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ
1.อัลลอฮฺ ตรัสว่า
(ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ ﮂ ﮃ ﮄ ﮅ ﮆ ﮇ ﮈ) [المائدة 83-85]
ความว่า “และเมื่อพวกเขาได้ยินสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เราะสูลแล้ว เจ้าก็จะเห็นตาของพวกเขาหลั่งออกมาซึ่งน้ำตา เนื่องจากความจริงที่พวกเขารู้ โดยที่พวกเขาจะกล่าวว่า โอ้พระเจ้าของพวกข้าพระองค์โปรดได้ทรงจารึกพวกข้าพระองค์ไว้ร่วมกับบรรดาผู้กล่าวปฏิญาณยืนยันด้วยเถิด [83] และไม่มีเหตุผลใด ๆ แก่เราที่เราจะไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และความจริงที่มายังเรา และเราปรารถนาอย่างแรงกล้าที่พระเจ้าของเราจะทรงให้เราเข้าร่วมอยู่กับพวกที่ดี ๆ ทั้งหลาย [84] แล้วอัลลอฮฺก็ได้ทรงตอบแทนแก่พวกเขาเนื่องด้วยสิ่งที่พวกเขากล่าวซึ่งบรรดาสวนสวรรค์ที่มีแม่น้ำหลายสายไหลอยู่ภายใต้สวนเหล่านั้น โดยที่พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล และนั่นแหละคือ การตอบแทนแก่บรรดาผู้กระทำดี[85]” (อัลมาอิดะฮฺ : 83-85)
2. จากท่านอะนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้รับการรายงานจากบรรดาเศาะหาบะฮฺในบางเรื่อง ท่านนบี จึงลุกขึ้นแสดงธรรมว่า
«عُرِضَتْ عَلَيَّ الجَنَّةُ وَالنَّارُ، فَلَـمْ أَرَ كَاليَوْمِ فِي الخَيْرِ وَالشَّرِّ، وَلَو تَعْلَـمُونَ مَا أَعْلَـمُ لَضَحِكْتُـمْ قَلِيلاً وَلَبَكَيْتُـمْ كَثِيراً». قَالَ: فَمَا أَتَى عَلَى أَصْحَابِ رَسُولِ الله صلى الله عليه وسلم يَومٌ أَشَدُّ مِنْـهُ، قَالَ: غَطَّوا رُؤُوسَهُـمْ وَلَـهُـمْ خَنِينٌ. متفق عليه
ความว่า “ได้ปรากฏให้ฉันเห็นทั้งสวรรค์และนรกแล้ว ฉันไม่เคยเห็นความดีและความชั่วใดๆเหมือนเช่นวันนี้เลย และหากพวกท่านรู้ดังที่ฉันรู้แล้วแน่นอนพวกท่านต้องหัวเราะน้อยแต่จะร้องไห้มาก (ท่านอะนัส)กล่าวว่า ไม่มีวันใดที่หนักหน่วงสำหรับเศาะหาบะฮฺมากไปกว่าวันนั้น (ท่านอะนัส)กล่าวอีกว่า พวกเขาปิดบังศีรษะและมีเสียงสะอื้นไห้” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 4621 , มุสลิม : 2359 )
3. จากอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«عَيْنَانِ لا تَـمَسُّهُـمَا النَّارُ، عَيْنٌ بَكَتْ مِنْ خَشْيَةِ الله، وَعَيْنٌ بَاتَتْ تَـحْرُسُ فِي سَبِيلِ الله٬». أخرجه الترمذي
ความว่า”ดวงตาสองดวงที่ไฟนรกไม่สามารถสัมผัสได้ คือดวงตาที่ร้องไห้เนื่องจากความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ และดวงตาที่ไม่หลับเนื่องจากคอยเฝ้าระวังภัยในหนทางของอัลลอฮฺ” (บันทึกโดย อัตติรมิซีย์ : 1639 )
ความประเสริฐของคำพูดที่ดีงาม และใบหน้าที่ยิ้มแย้ม
1. อัลลอฮฺทรงมีดำรัสว่า
(ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ) [آل عمران/159].
ความว่า “เนื่องด้วยความเมตตาจากอัลลอฮฺนั่นเอง เจ้า (มุฮัมมัด) จึงได้สุภาพอ่อนโยนแก่พวกเขา และถ้าหากเจ้าเป็นผู้ประพฤติหยาบช้า และมีใจแข็งกระด้างแล้วไซร้ แน่นอนพวกเขาก็ย่อมแยกตัวออกไปจากรอบๆ เจ้ากันแล้ว” (อาลิ อิมรอน : 159 )
2. จากอบู ซัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวกับฉันว่า
«لا تَـحْقِرَنَّ مِنَ المَعْرُوفِ شَيْئاً وَلَو أَنْ تَلْقَى أَخَاكَ بِوَجْهٍ طَلْقٍ». أخرجه مسلم
ความว่า “ ท่านอย่าได้ดูถูกต่อการกระทำดีใดๆเป็นอันขาด แม้การที่ท่านพบกับพี่น้องของท่านด้วยสีหน้าที่แจ่มใส” (บันทึกโดย มุสลิม : 2626 )
ความประเสริฐของการใช้ชีวิตอย่างสมถะในโลกนี้
1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
(ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘ ﭙ ﭚ ﭛ ﭜ ﭝ ﭞ ﭟ ﭠ ﭡ ﭢ) [العنكبوت/64].
ความว่า “และการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้มิใช่อื่นใด เว้นแต่เป็นการละเล่นและการสนุกสนานร่าเริงและแท้จริงสถานที่ในปรโลกนั้น แน่นอนมันคือชีวิตที่แท้จริงหากพวกเขาได้รู้” (อัลอันกะบูต : 64)
2. จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าว
«اللَّهُـمَّ اجْعَلْ رِزْقَ آلِ مُـحَـمَّدٍ قُوتاً» متفق عليه
ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ ขอได้โปรดประทานปัจจัยยังชีพแก่วงศ์วานของมุหัมหมัดให้เป็น(เพียงแค่)อาหารหลัก(เท่านั้น)” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 6460 , มุสลิม : 1055 )
3. จากท่าหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า
«مَا شَبِـعَ آلُ مُـحَـمَّدٍ صلى الله عليه وسلم مُنْذُ قَدِمَ المَدِينَةَ مِنْ طَعَامِ البُرِّ ثَلاثَ لَيَالٍ تِبَاعاً حَتَّى قُبِضَ». متفق عليه
ความว่า “ครอบครัวของมุหัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่มีความอิ่มจากขนมปังข้าวบาร์เลย์เป็นเวลาสามคืนติดต่อกัน จนกระทั่งท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จากโลกนี้ไป” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 5416 , มุสลิม : 2970 )
ความประเสริฐของการบริจาคทรัพย์สินในทางที่ดี
1. อัลลอฮฺ ทรงมีดำรัสว่า
(ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ ﮡ ﮢ ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ) [البقرة/ 262].
ความว่า “บรรดาผู้บริจาคทรัพย์สินของพวกเขาในหนทางของอัลลอฮฺและไม่ได้ติดตามการบริจาคของพวกเขาด้วยการลำเลิกและระรานความรู้สึกของผู้ที่ได้รับนั้น พวกเขาจะได้รับรางวัลจากพระผู้อภิบาลของพวกเขา พวกเขาจะไม่มีความกลัว และความระทมแต่อย่างใด” (อัลบะเกาะเราะฮฺ : 262)
2. จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَا مِنْ يَوْمٍ يُصْبِـحُ العِبَادُ فِيهِ إلَّا مَلَكَانِ يَنْزِلانِ فَيَـقُولُ أَحَدُهُـمَا: اللَّهُـمَّ أعْطِ مُنْفِقاً خَلَفاً، وَيَـقُولُ الآخَرُ: اللَّهُـمَّ أعْطِ مُـمْسِكاً تَلَفاً». متفق عليه
ความว่า “ ในทุกเช้ามีมลาอิกะฮฺสองท่านจะลงมาหาบ่าวมุสลิม ท่านหนึ่งกล่าวขอดุอาอฺให้เขาว่า โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้โปรดตอบแทนแก่ผู้ที่ใช้จ่ายบริจาคในหนทางของอัลลอฮฺด้วยเถิด อีกท่านหนึ่งจะกล่าวว่า โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้โปรดประทานความหายนะแก่ผู้ที่ไม่ใช้จ่าย(บริจาค)ในหนทางของอัลลอฮฺด้วยเถิด” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 1442 , มุสลิม :1010 )
ความประเสริฐของการอดทนต่อสิ่งที่อัลลอฮฺทดสอบ
จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَا يَزَالُ البَلاءُ بِالمؤْمِنِ وَالمؤْمِنَةِ فِي نَفْسِهِ، وَوَلَدِهِ، وَمَالِـهِ، حَتَّى يَلْقَى الله وَمَا عَلَيْـهِ خَطِيئَةٌ». أخرجه الترمذي
ความว่า “ผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิงที่ถูกทดสอบเสมอในตัวเขา บุตรหลาน และทรัพย์สินของเขา จนกระทั่งเข้าได้ไปพบกับอัลลอฮฺในสภาพที่ไม่มีบาปใดๆ (เนื่องจากถูกลบล้างด้วยการทดสอบเหล่านั้นแล้ว)” (บันทึกโดย อัตติรมิซีย์ : 2399 )
ความประเสริฐของการประกอบคุณงามความดีให้มาก
1. จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« مَنْ أَصْبَحَ مِنْكُمْ الْيَوْمَ صَائِمًا قَالَ أَبُو بَكْرٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ أَنَا قَالَ فَمَنْ تَبِعَ مِنْكُمْ الْيَوْمَ جَنَازَةً قَالَ أَبُو بَكْرٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ أَنَا قَالَ فَمَنْ أَطْعَمَ مِنْكُمْ الْيَوْمَ مِسْكِينًا قَالَ أَبُو بَكْرٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ أَنَا قَالَ فَمَنْ عَادَ مِنْكُمْ الْيَوْمَ مَرِيضًا قَالَ أَبُو بَكْرٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ أَنَا فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مَا اجْتَمَعْنَ فِي امْرِئٍ إِلَّا دَخَلَ الْجَنَّةَ ». أخرجه مسلم
ความว่า “มีใครบ้างในหมู่พวกท่านที่รุ่งเช้ามาก็อยู่ในสภาพถือศีลอด อบูบักรฺ ตอบว่า ฉันเอง ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถามอีกว่า มีใครบ้างในหมู่พวกท่านในวันนี้ที่ได้เดินตามส่งญะนาซะฮฺ(คนตาย) อบูบักรฺจึงกล่าวว่า ฉันนี่แหละ ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ถามอีกว่าวันนี้มีใครบ้างในหมู่พวกท่านที่ได้ทำทานอาหารให้กับคนยากจนบ้าง อบูบักรฺตอบว่า ฉันเอง ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ถามอีกว่า มีใครในหมู่พวกท่านที่วันนี้ได้ไปเยี่ยมผู้ป่วยบ้าง อบูบักรฺตอบว่า ฉันนี่แหละ ดังนั้นท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า บุคคลประเภทนี้ย่อมได้รับสวรรค์อย่างแน่นอน” (บันทึกโดย มุสลิม : 1028 )
2. จากอุษมาน บิน อัฟฟาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ بَنَى مَسْجِداً ٬ بَنَى الله لَـهُ فِي الجَنَّةِ مِثْلَـهُ». متفق عليه
ความว่า “บุคคลใดสร้างมัสยิดแล้ว อัลลอฮฺ จะทรงสร้างให้เขาในสวนสวรรค์ดุจเดียวกัน” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ : 450 , มุสลิม :533 )