الوصف
كتاب الصلاة 1- معنى الصلاة وحكمها وفضلها : مقالة مقتبسة ومترجمة من كتاب مختصر الفقه الإسلامي للشيخ محمد بن إبراهيم التويجري - حفظه الله - تحتوي على العناصر الآتية: • حكم الصلوات الخمس. • حكمة مشروعية الصلاة. • حكم الصلاة. • أهمية الصلاة. • عدد الصلوات المفروضة. • حكم من جحد وجوب الصلاة أو تركها. • الآثار المترتبة على جاحد الصلاة أو تاركها. • فضل انتظار الصلاة. • فضل المشي إلى الصلاة في المسجد على طهارة. • بم يحصل الخشوع في الصلاة. • صفة البكاء المشروع. • أوقات عرض الأعمال على الله - عز وجل -
ความหมาย หุก่ม และความประเสริฐของการละหมาด
﴿معنى الصلاة وحكمها وفضلها﴾
] ไทย – Thai – تايلاندي [
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์
แปลโดย : ดานียา เจะสนิ
ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์
2010 - 1431
﴿معنى الصلاة وحكمها وفضلها﴾
« باللغة التايلاندية »
الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري
ترجمة: دانيال جيء سنيك
مراجعة: صافي عثمان
المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي
2010 - 1431
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
1. ความหมายและหุก่มของการละหมาด
การละหมาดเป็นองค์ประกอบของอิสลามที่สำคัญที่สุดรองจากการกล่าวชะฮาดะฮฺ และเป็นข้อบังคับสำหรับบรรดามุสลิมละมุสลิมะฮฺทุกคน ในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะอยู่ในภาวะที่ปลอดภัยหรือหวาดกลัว จะอยู่ในภาวะที่ร่างกายสมบูรณ์หรือเจ็บป่วย จะอยู่ในภาวะที่อยู่กับบ้านหรือเดินทางไกล ซึ่งในแต่ละสถานการณ์ดังกล่าวนั้นการละหมาดจะมีรูปแบบที่แตกต่างออกไป ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ทั้งในด้านอิริยาบทและจำนวนร็อกอะฮฺ
การละหมาด หมายถึง อิบาดะฮฺที่มีคำกล่าวและการปฏิบัติลักษณะเฉพาะซึ่งขึ้นต้นด้วยการตักบีรฺและสิ้นสุดลงด้วยการให้สลาม
หิกมะฮฺ(เคล็ดลับ)ที่ได้บัญญัติการละหมาด
1. การละหมาดเป็นเสมือนแสงสว่าง ดังนั้นฉันใดที่แสงสว่างทำหน้าที่นำพาซึ่งทางสว่างแก่มนุษย์ ก็เช่นเดียวกันกับการละหมาดที่ทำหน้าที่นำพามนุษย์ไปสู่ทางนำที่ถูกต้อง ป้องกันอบายมุข ห้ามปรามความชั่วร้ายและสิ่งไม่พึงปรารถนาต่างๆ
2. การละหมาดเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างบ่าวคนหนึ่งกับพระเจ้าของเขา เป็นเสาหลักของศาสนา ซึ่งมุสลิมคนหนึ่งจะได้สัมผัสกับรสชาติที่แท้จริงในการเข้าหาพระเจ้าของเขาในขณะที่เขาละหมาด ดังนั้นสายตาของเขาจะไม่หลุกหลิก หัวใจสงบนิ่ง จิตใจผ่องแผ้ว เขาจึงบรรลุถึงสิ่งปรารถนาที่แท้จริง และด้วยการละหมาดอีกเช่นกันที่เขาสามารถผ่อนคลายจากความเหนื่อยล้าและความลำบากจากทางโลก
3. การละหมาดมีทั้งลักษณะภายนอกที่เป็นรูปธรรม กล่าวคือทุกอิริยาบทที่เกี่ยวข้องกับร่างกาย เช่น การยืน การนั่ง การรุกูอฺ การสุญูด ตลอดจนคำกล่าวและการกระทำต่างๆ และมีลักษณะภายในที่เป็นนามธรรมกล่าวคือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ ซึ่งเกิดความรู้สึกยอมรับและยกย่องความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ ความรู้สึกเกรงกลัว ความรู้สึกรักและภักดี ความรู้สึกสรรเสริญและซึ้งในความกรุณาของอัลลอฮฺ ความอ่อนน้อมถ่อมตนของบ่าวต่อพระเจ้าของเขา ซึ่งลักษณะภายนอกนั้นจะเพิ่มพูนได้ด้วยการตามแนวปฏิบัติที่มาจากท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ในการละหมาด ส่วนลักษณะภายในจะเพิ่มพูนได้ด้วยการเพิ่มเตาฮีด เพิ่มอีหม่าน เพิ่มการอิคลาศและการคุชูอฺ
4. การละหมาดมีทั้งส่วนที่มาจากร่างกายและส่วนที่มาจากจิตใจ สำหรับส่วนที่มาจากร่างกายนั้น เช่นการยืน การรุกูอฺ การสุญูดและการอ่านอัลกุรอาน ส่วนที่มาจากจิตใจ เช่นการรู้สึกยอมรับความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ การรู้สึกเกรงกลัว การรู้สึกสรรเสริญ การร้องขอ การขออภัยโทษจากอัลลอฮฺ การยกย่องอัลลอฮฺและการกล่าวเศาะละวาตและสลามต่อท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) รวมถึงบรรดาครอบครัวของท่านและบรรดาบ่าวของอัลลอฮฺที่เป็นกัลยาณชนทั้งหลาย
5. อัลลอฮฺได้บัญญัติให้แก่มุสลิมทุกคนหลังจากกล่าวสองชะฮาดะฮฺแล้ว ให้ใช้ชีวิตข้องเกี่ยวอยู่กับสี่ประการ(การละหมาด การจ่ายซะกาต การถือศีลอด การทำหัจญ์) ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นองค์ประกอบของอิสลาม และองค์ประกอบในแต่ละประการนั้นมีการฝึกฝนมนุษย์เพื่อให้คุ้นเคยกับการปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ ซึ่งอาจเป็นด้วยชีวิต ด้วยทรัพย์สิน ด้วยอารมณ์ชอบ ด้วยจิตใต้สำนึก และเพื่อการใช้ชีวิตทั้งชีวิตให้สอดคล้องกับคำสั่งของอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ และให้สอดคล้องกับสิ่งที่อัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์รักและพอใจ มิใช่ตามอารมณ์ใฝ่ต่ำของตัวเอง
6. เมื่อมุสลิมคนหนึ่งอยู่ในการละหมาด อวัยวะทุกส่วนของร่างกายของของเขาต้องน้อมปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ ทั้งนี้เพื่อฝึกฝนตัวเขาให้อยู่ในความภักดี และน้อมปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺในการใช้ชีวิตของเขาทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านจริยธรรม ด้านการคบค้าสมาคม ด้านอาหารการกิน ด้านเครื่องนุ่มห่ม และเขายังคงปฏิบัติอย่างนี้ จนในที่สุดเขาก็จะเป็นผู้ที่ภักดีต่อพระเจ้าของเขาอยู่ตลอดทั้งในและนอกการละหมาด
7. การละหมาดเป็นสิ่งยับยั้งจากการกระทำที่ไม่ดีทั้งหลาย และยังเป็นเหตุในการลบล้างความผิดทั้งปวง
มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ)ว่าท่านได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) กล่าวว่า
«أَرَأيْتُـمْ لَو أَنَّ نَـهراً بِبَابِ أَحَدِكُمْ يَـغْتَسِلُ مِنْـهُ كُلَّ يَومٍ خَـمْسَ مَرّاتٍ هَلْ يَبْقَى مِنْ دَرَنِـهِ شَيْءٌ؟» قَالُوا: لا يَبْقَى مِنْ دَرَنِـهِ شَيْءٌ. قَالَ: «فَذَلِكَ مِثْلُ الصَّلَوَاتِ الخَـمْسِ، يَـمْـحُو الله بِـهِنَّ الخَطَايَا».
ความว่า “พวกท่านจะเห็นว่าอย่างไร หากมีลำธารไหลผ่านประตูหน้าบ้านคนใดคนหนึ่งในหมู่พวกท่าน ซึ่งเขาได้ลงอาบน้ำในลำธารดังกล่าวทุกๆ วัน วันละห้าครั้ง แล้วจะเหลือขี้ไคลติดอยู่บนร่างกายเขาอีกหรือ?” บรรดาเศาะหาบะฮฺได้กล่าวว่า ไม่แน่นอนย่อมไม่เหลือขี้ไคลติดอยู่บนร่างกายเขาแน่นอน แล้วท่าน (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ก็กล่าวต่อไปว่า “เฉกเช่นลำธารนั้นแหละ คือการเปรียบละหมาดห้าเวลา ที่อัลลอฮฺได้ใช้มันลบล้างความผิดทั้งปวง” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัลบุคอรียฺ เลขที่ : 528 และมุสลิม เลขที่: 667 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)
ความมั่งคงของจิตใจ
เมื่อมีความมั่งคงเกิดขึ้นในจิตใจของคนคนหนึ่งแล้ว ก็จะทำให้อวัยวะทุกส่วนของร่างกายเขามีความมั่งคงไปด้วย ซึ่งการสร้างความมั่งคงให้กับจิตใจนั้น มีอยู่สองทางด้วยกันคือ
1. การให้ความสำคัญและทำในสิ่งที่อัลลอฮฺชอบเป็นอันดับแรก และทำก่อนสิ่งที่ตัวเองชอบ
2. การมีความรู้สึกเชิดชูในคำสั่งและข้อห้าม นั่นก็คือชะรีอะฮฺ ทั้งนี้ความรู้สึกดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้น หลังจากที่มีความรู้สึกเชิดชูต่อผู้ให้คำสั่ง อีกทั้งผู้กำหนดข้อห้าม นั่นก็คืออัลลอฮฺ อัซซะวะญัลละ ดังนั้นหากมนุษย์คนหนึ่งทำตามคำสั่งอย่างหนึ่ง เพื่อให้มนุษย์ด้วยกันดูและชื่นชม เพียงเพราะต้องการให้พวกเขายกย่องและให้เกียรติ และบางคนอาจหลีกเลี่ยงจากข้อห้ามอย่างหนึ่ง เพียงเพราะกลัวมนุษย์ไม่ยกย่องหรือกลัวโทษทัณฑ์บนโลกนี้ที่อัลลอฮฺกำหนดไว้สำหรับผู้กระทำในข้อห้าม เช่นโทษอัลหุดูด ถือว่าการกระทำและการงดเว้นของเขามิได้ออกมาจากความรู้สึกเชิดชูในคำสั่งและข้อห้าม และมิได้มาจากความรู้สึกเชิดชูต่อผู้สั่ง อีกทั้งผู้กำหนดข้อห้ามอีกด้วย
สิ่งบ่งบอกถึงการเชิดชูในข้อคำสั่งทุกอย่างของอัลลอฮฺ
การที่บ่าวคนหนึ่งรักษาไว้ซึ่งเวลาและขอบเขตของการทำตามข้อคำสั่งหนึ่งๆ ด้วยการทำให้องค์ประกอบ ข้อบังคับและข้อส่งเสริมต่างๆ ของข้อคำสั่งนั้นๆ ครบสมบูรณ์ รีบปฏิบัติตามและทำด้วยความอุ่นใจเมื่อข้อคำสั่งนั้นเป็นสิ่งวาญิบ และรู้สึกเสียใจหากละเลยข้อคำสั่งนั้นไป เช่นผู้ที่ละเลยการละหมาดญะมาอะฮฺและอื่นๆ ร่วมทั้งรู้สึกโกรธหากมีการละเมิดข้อห้ามของอัลลอฮฺและรู้สึกเสียใจเมื่อมีการทรยศต่อพระองค์ รู้สึกดีใจเมื่อมีการภักดีต่อพระองค์ ไม่สบายใจเมื่อมีการปฏิบัติในข้อผ่อนปรน ไม่มีนิสัยที่ชอบหาเหตุผลต่างๆ ของหุก่มทั้งหลาย ซึ่งหากหุก่มใดปรากฏให้เขารู้ถึงเหตุผล ก็ให้ถือเป็นสิ่งที่ทำให้เพิ่มความรู้สึกภักดีและเพิ่มความมุ่งมั่นที่จะทำมัน
ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อคำสั่งตามบทบัญญัติ
ข้อคำสั่งของอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลละ นั่นมีอยู่สองประเภท
1. ข้อคำสั่งซึ่งเป็นที่ชอบแห่งอารมณ์ เช่น ข้อคำสั่งให้กินในสิ่งที่ดี ให้แต่งงานกับผู้หญิงที่ชอบได้ถึงสี่คน และข้อคำสั่งให้ล่าสัตว์ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ และอื่นๆ
2. ข้อคำสั่งซึ่งเป็นที่มิชอบแห่งอารมณ์ ซึ่งแบ่งออกเป็นสองประเภทด้วยกันคือ
1- ข้อคำสั่งที่ถือว่าเป็นภาระเบาไม่ต้องใช้ความพยายามมากเช่น ข้อคำสั่งให้ขอดุอาอ์ ให้ซิกิร ให้มีมารยาท ให้ทำในสิ่งที่น่าส่งเสริม ให้ละหมาด ให้อ่าน
อัลกุรอาน และอื่นๆ
2- ข้อคำสั่งที่ถือว่าเป็นภาระหนัก ต้องใช้ความพยายามมากเช่น ข้อคำสั่งให้ดะอฺวะฮฺ(เชิญชวน)มนุษย์ไปสู่อัลลอฮฺ ให้รณรงค์ในการทำความดี ให้ห้ามปรามต่อการทำความชั่ว และให้ทำการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ
ระดับของอีหม่าน(ความศรัทธา)นั้นจะเพิ่มขึ้นด้วยการปฏิบัติตามข้อคำสั่ง ทั้งที่เป็นภาระเบาและหนัก เมื่อมีอีหม่านเพิ่มก็จะทำให้สิ่งที่มิชอบแห่งอารมณ์กลายเป็นสิ่งที่ชอบ และจะทำให้สิ่งที่ภาระหนักกลายเป็นสิ่งที่เป็นภาระเบาได้ เป็นการย้ำถึงเป้าประสงค์ของอัลลอฮฺที่ต้องการให้บ่าวของพระองค์แสดงการภักดีด้วยการดะอฺวะฮฺและทำอิบาดะฮฺ และขับเคลื่อนอวัยวะทุกส่วนของเขาด้วยสิ่งดังกล่าว
ลักษณะของอารมณ์
อัลลอฮฺสร้างให้มนุษย์ทุกคนประกอบด้วยอารมณ์สองส่วนด้วยกันคือ อารมณ์ใฝ่ต่ำและอารมณ์ที่ดีหรือสงบ ซึ่งอารมณ์ทั้งสองส่วนนี้ตรงกันข้ามกันเสมอ ทุกครั้งที่ส่วนหนึ่งรู้สึกเบา โล่ง ก็จะทำให้อีกส่วนหนึ่งรู้สึกหนัก กระวนกระวาย และทุกครั้งที่ส่วนหนึ่งรู้สึกดีมีความสุข ก็จะทำให้อีกส่วนหนึ่งเจ็บ มีความทุกข์ เมื่อส่วนหนึ่งอยู่ฝ่ายเดียวกับมลาอิกะฮฺ อีกส่วนหนึ่งก็จะอยู่ฝ่ายเดียวกับชัยฏอน ซึ่งความถูกต้องทั้งหลายนั้นจะอยู่ฝ่ายเดียวกับมลาอิกะฮฺและอารมณ์ที่สงบ และความไม่ถูกต้องทั้งหลายนั้นจะอยู่ฝ่ายเดียวกับชัยฏอนและอารมณ์ใฝ่ต่ำ ซึ่งความขัดแย้งนี้ถูกบันทึกไว้แล้ว
หุก่มของการละหมาด
การละหมาดห้าเวลาของทุกวันคืนนั้นเป็นสิ่งที่วาญิบ(สิ่งจำเป็นต้องทำ)สำหรับมุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะ ทุกคน ทั้งชายและหญิง เว้นแต่หญิงที่มีประจำเดือนและมีน้ำคาวปลาจนกว่าเธอทั้งสองจะสะอาดจากเลือดดังกล่าว อีกทั้งการละหมาดยังเป็นองค์ประกอบหลักของอิสลามที่สำคัญยิ่งรองจากคำปฏิญาณทั้งสองอีกด้วย
1. อัลลอฮฺตะอาลาได้กล่าวว่า
( ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ) [النساء/ 103]
ความว่า “แท้จริงการละหมาดนั้น เป็นบัญญัติที่ถูกกำหนดเวลาไว้แก่บรรดาผู้ศรัทธา” (อันนิสาอ์ 103)
2. อัลลอฮฺตะอาลาได้กล่าวว่า
(ﭑ ﭒ ﭓ ﭔ ﭕ ﭖ ﭗ ﭘﭙ) [البقرة/238]
ความว่า “ท่านทั้งหลายจงรักษาไว้ซึ่งบรรดาการละหมาดและการละหมาดที่อยู่กึ่งกลาง(หมายถึงละหมาดอัศร์) และจงยืนละหมาดเพื่ออัลลอฮฺโดยนอบน้อม” (อัลบะเกาะเราะฮฺ 238)
3. มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัรฺ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา)ว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) กล่าวว่า
«بُنِيَ الإسْلامُ عَلَى خَـمْسٍ: شَهَادَةِ أَنْ لا إلَـهَ إلَّا الله، وَأَنَّ مُـحَـمَّداً عَبْدُهُ وَرَسُولُـهُ، وَإقَامِ الصَّلاةِ، وَإيْتَاءِ الزَّكَاةِ، وَحَجِّ البَيْتِ، وَصَوْمِ رَمَضَانَ».
ความว่า “อิสลามนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบหลักห้าองค์ประกอบคือการให้คำปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ การให้คำปฏิญาณว่า
มุหัมหมัดนั้นเป็นบ่าวและเราะสูลของพระองค์ การดำรงไว้ซึ่งการละหมาด การจ่ายซะกาต การทำหัญจ์ที่บัยตุลลอฮฺ และการถือศีลอดเดือนเราะมะฎอน” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัลบุคอรียฺ เลขที่ : 8 และมุสลิม เลขที่: 16 ซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)
4. มีรายงานจากท่านอิบนุ อับบาส (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา) ว่า ท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้ส่งท่านมุอาซ(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ)ไปยังเมืองยะมัน ซึ่งก่อนไปท่าน(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ได้กล่าวแก่ท่านมุอาซฺว่า
«ادْعُهُـمْ إلَى شَهَادَةِ أَنْ لا إلَـهَ إلا الله، وَأَنِّي رَسُولُ الله، فَإنْ هُـمْ أَطَاعُوا لِذَلِكَ فَأَعْلِـمْهُـمْ أَنَّ الله افْتَرَضَ عَلَيْـهِـمْ خَـمْسَ صَلَوَاتٍ فِي كَلِّ يَوْمٍ وَلَيْلَةٍ...»
ความว่า “ท่านจงเชิญชวนพวกเขามาสู่การคำปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และแท้จริงฉันนี้เป็นเราะสูลของพระองค์ หากพวกเขายอมรับในคำเชิญชวนดังกล่าวแล้ว จงสอนพวกเขาว่าอัลลอฮฺได้บัญญัติไว้สำหรับพวกเขาให้ดำรงไว้ซึ่งบรรดาการละหมาด ในทุกๆ วันและคืน” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัลบุคอรียฺ เลขที่ : 1395 สำนวนนี้เป็นของอัลบุคอรียฺและมุสลิม เลขที่: 19)
สิ่งบ่งบอกว่าเข้าสู่สภาพบุลูฆฺ(บรรลุศาสนภาวะ)
สำหรับมุสลิมที่ถือว่าเป็นผู้ที่ถูกใช้ให้ปฏิบัติตามบทบัญญัตินั้นคือ(ผู้ที่บรรลุศาสนภาวะและมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์)และสิ่งที่บ่งบอกได้ว่าคนๆ หนึ่งบรรลุศาสนภาวะนั้น ส่วนหนึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกร่วมทั้งเพศชายและหญิง เช่น มีอายุครบสิบห้าปีบริบูรณ์ มีขนอวัยวะเพศงอกขึ้นมา มีน้ำกำหนัดเคลื่อนออกจากอวัยวะเพศ
ส่วนหนึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกเฉพาะเพศชายเท่านั้น เช่น การมีเคราและหนวดงอกออกมา
และมีอีกส่วนหนึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกเฉพาะเพศหญิงเท่านั้น เช่น การตั้งครรภ์ การมีประจำเดือน
ดังนั้น ควรสอนสั่งให้เด็กปฏิบัติการละหมาดตั้งแต่ตอนอายุเจ็ดขวบ และควรตีเด็ก(เพียงแค่เบาๆ เป็นการอบรมสั่งสอน)หากเด็กไม่ยอมปฏิบัติการละหมาดเมื่ออายุสิบขวบแล้ว
ความสำคัญของการละหมาด
มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) ว่าท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ได้กล่าวว่า
«إنَّ أَوَّلَ مَا يُـحَاسَبُ بِـهِ العَبْدُ يَوْمَ القِيَامَةِ صَلاتُـهُ، فَإنْ وُجِدَتْ تَامَّةً كُتِبَتْ تَامَّةً، وَإنْ كَانَ انْتَقَصَ مِنْـهَا شَيْءٌ، قَالَ: انْظُرُوا هَلْ تَـجِدُوْنَ لَـهُ مِنْ تَطَوُّعٍ يُكَمِّلُ لَـهُ مَا ضَيَّعَ مِنْ فَرِيضَةٍ مِنْ تَطَوُّعِهِ، ثُمَّ سَائِرُ الأَعْمَالِ تَـجْرِي عَلَى حَسَبِ ذَلِكَ»
ความว่า “แท้จริงสิ่งแรกที่มนุษย์จะถูกสอบถามในวันกิยามะฮฺจากการงานของพวกเขา ก็คือ การละหมาด หากพบว่าการละหมาดของเขาสมบูรณ์ เขาก็จะถูกประทับตรารับรองว่าสมบูรณ์ แต่หากการละหมาดของเขาบกพร่องส่วนหนึ่งส่วนใด อัลลอฮฺจะตรัสแก่มลาอิกะฮฺ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ทรงรอบรู้ดียิ่งว่า พวกเจ้าจงดูซิว่า บ่าวของข้าคนนี้มีละหมาดสุนนะฮฺบ้างไหม? หากว่าเขามีละหมาดสุนนะฮฺ ก็จงทำให้การละหมาดฟัรฎูของของบ่าวผู้นี้สมบูรณ์ด้วยการละหมาดสุนนะฮฺของเขา แล้วกิจการงานอื่น ๆ ก็จะถูกสอบสวนในทำนองนี้" (เป็นหะดีษที่เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอันนะสาอียฺ เลขที่:564 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ เลขที่: 1425)
จำนวนเวลาละหมาดที่เป็นวาญิบ(บังคับ)
อัลลอฮฺได้บัญญัติการละหมาดแก่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)เมื่อคืนอัลอิสรออ์และอัลมิอฺรอจโดยไม่มีสื่อกลาง ก่อนที่จะอพยพไปนครมะดีนะฮฺประมาณหนึ่งปี ซึ่งทีแรกอัลลอฮฺได้บัญญัติให้มุสลิมทุกคนละหมาดถึงห้าสิบเวลาในหนึ่งวันและหนึ่งคืน ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงความสำคัญของการละหมาดและเป็นการยืนยันถึงการโปรดของอัลลอฮฺต่อการละหมาดเป็นอย่างยิ่ง แต่ต่อมาอัลลอฮฺได้ลดให้จนกระทั่งถึงห้าเวลาที่ต้องปฏิบัติ และยังคงผลบุญไว้ถึงห้าสิบผลบุญเนื่องด้วยความใจกว้างและความปรานีจากพระองค์
การละหมาดถูกบัญญัติให้มุสลิมและมุสลิมะฮฺทุกคนปฏิบัติทุกวันๆ ละ 5 เวลาคือ ละหมาดอัซ-ซุฮรฺ (บ่าย) ละหมาดอัล-อัศรฺ (เย็น) ละหมาดอัล-มัฆฺริบฺ (หลังตะวันตก) ละหมาดอัล-อิชาอฺ (ดึก) ละหมาดอัศ-ศุบหฺ(รุ่งอรุณ)
และละหมาดญุมุอะฮฺในวันศุกร์ สัปดาห์ละครั้ง
หุก่มสำหรับผู้ที่ปฏิเสธการเป็นวาญิบของการละหมาดหรือผู้ที่ละทิ้งการละหมาด
สำหรับผู้ที่ปฏิเสธการเป็นวาญิบของการละหมาดนั้นถือว่าเป็นการปฏิเสธ และมีหุก่มเดียวกันสำหรับผู้ที่ละทิ้งการละหมาดโดยไม่แยแสหรือเกียจคร้าน หากมีการละทิ้งไปเพราะความไม่รู้ถึงการเป็นวาญิบของการละหมาด จำต้องมีการสอนให้รู้และหากมีการละทิ้งไปทั้งๆ ที่รู้ จำต้องขอให้เตาบะฮฺ(สารภาพผิดและกลับตัว)ภายในสามวัน หากเขายอมเตาบะฮฺ มิเช่นนั้นแล้วต้องประหารเนื่องจากเป็นผู้ปฏิเสธ
1. อัลลอฮฺตะอาลาได้กล่าวว่า
(ﮘ ﮙ ﮚ ﮛ ﮜ ﮝ ﮞ ﮟ ﮠ) [التوبة/11].
ความว่า “แล้วหากพวกเขาสำนึกผิดกลับตัว และดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และชำระซะกาตแล้วไซร้ พวกเขาก็เป็นพี่น้องของพวกเจ้าในศาสนา และเราจะแจกแจงบรรดาโองการไว้แก่กลุ่มชนที่รู้” (อัตเตาบะฮฺ 11)
2. มีรายงานจากท่านญาบิรฺ(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) กล่าวว่าแนได้ยินท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) กล่าวว่า
«إنَّ بَيْنَ الرَّجُلِ، وَبَيْنَ الشِّرْكِ وَالكُفْرِ تَرْكَ الصَّلاةِ»
ความว่า “แท้จริงสิ่งแยกแยะระหว่างชายคนหนึ่งกับการตั้งภาคีและการปฏิเสธต่ออัลลอฮฺนั้นคือการขาดละหมาด” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 82)
3. และมีรายงานจากท่านอิบนุอับบาส(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา)กล่าวว่าท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ได้กล่าวว่า
«مَنْ بَدَّلَ دِيْنَـهُ فَاقْتُلُوهُ»
ความว่า “ผู้ใดเปลี่ยนจากศาสนาของเขา พวกท่านจงดำเนินการประหารเขา” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลข 3017)
ผลที่เกิดขึ้นกับคนที่ปฏิเสธการละหมาดหรือผู้ที่ละทิ้งการละหมาด
1. ตอนที่เขายังมีชีวิตอยู่ คนผู้นี้ไม่อนุญาตสมรสกับหญิงมุสลิม ไม่มีสิทธิดูแลปกครองหญิงมุสลิม และไม่มีสิทธิในการเลี้ยงดูบุตร ไม่มีสิทธิรับมรดก ไม่เป็นที่อนุมัติสำหรับสัตว์เชือดของเขา และไม่อนุญาตให้เขาเข้ามักกะฮฺและเขตหวงห้ามของมักกะฮฺ เพราะเขาเป็นผู้ปฏิเสธ
2. เมื่อเขาตายไป ไม่จำเป็นต้องอาบน้ำศพให้เขา ไม่จำเป็นต้องห่อศพให้เขา ไม่จำเป็นต้องละหมาดศพให้เขา และไม่จำเป็นต้องฝังศพของเขาในกุโบรฺ(สถานที่ฝังศพ)ของชาวมุสลิม เพราะว่าตัวเขาไม่จัดอยู่ในกลุ่มชาวมุสลิม และไม่จำเป็นต้องดุอาอ์ให้เขาได้รับความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ ไม่มีการสืบทอดมรดกจากเขา และเขาจะอยู่ในนรกอย่างถาวร เพราะเขาคือผู้ปฏิเสธ
สำหรับผู้ที่ละทิ้งการละหมาดอย่างสิ้นเชิง โดยไม่เคยละหมาดเลยในชีวิต จัดว่าเป็นผู้ปฏิเสธ ผู้ละทิ้งจากศาสนาอิสลาม(มุรตัด) ส่วนผู้ที่ละหมาดบางเวลาและละทิ้งการละหมาดบางเวลา จะไม่จัดว่าเป็นผู้ปฏิเสธ แต่เป็นผู้มีความผิด(ฟาสิก) มีบาปอันใหญ่หลวง ถือว่าทำร้ายตัวเองอย่างฉกรรจ์ เป็นผู้ทรยศต่ออัลลอฮฺและเราะสูลุลลอฮฺ
ความประเสริฐของการรอคอยที่จะละหมาด
มีรายงานจากอท่านบู ฮุร็อยเราะฮฺ(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) เคยกล่าวว่า
«لا يَزَالُ العَبْدُ فِي صَلاةٍ مَا كَانَ فِي مُصَلَّاهُ يَنْتَظِرُ الصَّلاةَ، وَتَقُولُ المَلائِكَةُ: اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لَـهُ، اللهم ارْحَـمْهُ، حَتَّى يَنْصَرِفَ أَوْ يُـحْدِثَ»
ความว่า “ถือว่าบ่าวคนหนึ่งยังคงละหมาดอยู่ ตราบใดที่เขายังอยู่ในที่ละหมาดของเขาเพื่อคอยที่จะละหมาดเวลาต่อไป และมลาอิกะฮฺจะกล่าวว่า โอ้อัลลอฮฺ ได้โปรดให้อภัยแก่เขา โอ้อัลลอฮฺได้โปรดให้ความปรานีต่อเขา จนกว่าเขาจะลุกขึ้นไปหรือจนกว่าเขาจะมีหะดัษ” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัลบุคอรียฺ เลขที่ : 176 และมุสลิม เลขที่: 649 ในบทว่ามัสญิดต่างๆซึ่งสำนวนนี้เป็นของมุสลิม)
ความประเสริฐของการเดินมุ่งสู่การละหมาดที่มัสญิดในสภาพที่มีวุฎูอ์
1. มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) กล่าวว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) เคยกล่าวว่า
«مَنْ تَطَهَّرَ فِي بِيْتِـهِ، ثُمَّ مَشَى إلَى بَيْتٍ مِنْ بُيُوتِ الله، لِيَـقْضِي فَرِيضَةً مِنْ فَرَائِضِ الله، كَانَتْ خَطْوَتاهُ إحْدَاهُـمَا تَـحُطُّ خَطِيْئَةً، وَالأُخْرَى تَرْفَعُ دَرَجَةً».
ความว่า “ผู้ใดที่ทำวุฎูอฺที่บ้านของเขาหลังจากนั้น เดินออกจากบ้านเพื่อไปมัสญิด เพื่อไปละหมาดห้าเวลาที่อัลลอฮฺได้บัญญัติไว้ ในทุกๆย่างก้าวของสองเท้าเขานั้น ก้าวหนึ่งเขาจะได้รับการลดความผิดหนึ่งความผิด และอีกก้าวหนึ่งเขาจะได้รับการเพิ่มชั้นในสวรรค์” (บันทึกโดยมุสลิม : 666)
2. มีรายงานจากท่านอบู อุมามะฮฺ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) กล่าวว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) เคยกล่าวว่า
«مَنْ خَرَجَ مِنْ بَيْتِـهِ مُتَطَهِّراً إلَى صَلاةٍ مَكْتُوبَةٍ فَأَجْرُهُ كَأَجْرِ الحَاجِّ المُـحْرِم، وَمَنْ خَرَجَ إلَى تَسْبِيحِ الضُحَى لا يَنْصِبُـهُ إلا إيَّاهُ فَأَجْرُهُ كَأَجْرِ المعْتَـمِرِ، وَصَلاةٌ عَلَى أَثَرِ صَلاةٍ لا لَغْوَ بَيْنَـهُـمَا كِتَابٌ في عِلِّيِّينَ»
ความว่า “ผู้ใดที่ออกจากบ้านของเขาในสภาพที่มีวุฎูอ์เพื่อไปละหมาดห้าเวลา เขาจะได้ผลบุญเสมือนผลบุญของผู้ที่ทำหัจญ์ซึ่งอยู่ในชุดอิหฺรอม และผู้ใดที่ออกจากบ้านของเขาเพื่อละหมาดฎุหาโดยมุ่งมั่นจะทำจริงๆ เขาจะได้ผลบุญเสมือนผลบุญของผู้ที่ทำอุมเราะฮฺ และสำหรับการคอยละหมาดหลังจากการละหมาดที่ไม่มีสิ่งที่เปล่าประโยชน์ในระหว่างนั้น จะถูกจารึกไว้ในสวรรค์” (เป็นหะดีษหะสันที่บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 558)
สิ่งที่ทำให้เกิดการคุชูอฺ(นอบน้อมสงบเสงี่ยม)ในละหมาด
การคุชูอฺในละหมาดจะเกิดขึ้นได้ด้วยประการต่างๆ เหล่านี้ เช่น
1. ความเอาใส่ใจอยู่ตลอดเวลาการละหมาด
2. ความเข้าใจความหมายและรู้สึกได้กับสิ่งที่ได้อ่าน ได้ฟัง
3. ความรู้สึก สำนึกถึงความยิ่งใหญ่ต่ออัลลอฮฺ ซึ่งมักเกิดขึ้นหลังจากมีสองสิ่งก่อน นั่นคือ ความรู้ ความเข้าใจถึงความสูงส่งและความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ ความรู้ ความเข้าใจถึงความอ่อนแอของตัวเอง จึงจะเกิดการยอมรับ และคุชูอฺต่ออัลลอฮฺ
4. ความรู้สึกเกรงถึงความยิ่งใหญ่ต่ออัลลอฮฺ ซึ่งจะมีระดับสูงกว่าการสำนึกถึงความยิ่งใหญ่ ซึ่งมักเกิดขึ้นจากความรู้ ความเข้าใจในอำนาจและความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ และเกิดจากความรู้สึกไม่ค่อยจริงจังและไม่เน้นหนักเท่าที่ควรจากบ่าวในการทำหน้าที่ต่ออัลลอฮฺ
5. ความหวัง คือความหวังที่อยากจะให้การละหมาด ที่กำลังละหมาดอยู่ได้รับผลบุญจากอัลลอฮฺ
6. ความละอาย ซึ่งมักเกิดขึ้นจากความรู้ ความเข้าใจในความโปรดปรานของอัลลอฮฺ และเกิดจากความรู้สึกไม่ค่อยจริงจังไม่เน้นหนักเท่าที่ควรจากบ่าวในการทำหน้าที่ต่ออัลลอฮฺ
ลักษณะการร้องไห้ที่สอดคล้องกับบทบัญญัติ
การร้องไห้ของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ไม่มีเสียงโหยหวน ไม่เสียงดัง แต่เป็นเพียงแค่มีน้ำตาไหลรินและมีเสียงสะอื้นจากทรวงอกคล้ายเสียงเดือดจากหม้อต้มน้ำ
การร้องไห้ของท่านนบีบางครั้งเกิดจากความรู้สึกเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺ บางครั้งเกิดจากความตระหนกในชะตากรรมและความส่งสารต่อประชาชาติของท่าน บางครั้งเกิดจากความสงสารต่อศพ และบางครั้งเกิดจากการได้ฟังเสียงอ่านอัลกุรอาน เมื่อได้ฟังอายะฮฺที่เกี่ยวกับสัญญาดีและสัญญาร้ายต่างๆ
การระวังรักษาความประเสริฐที่เกี่ยวข้องกันในตัวอิบาดะฮฺเดียวกัน ตัวอย่างเช่น การคุชูอฺในละหมาดสำคัญกว่าการระวังรักษาความประเสริฐที่เกี่ยวข้องสถานที่ละหมาด ฉะนั้นจึงไม่ควรละหมาดในสถานที่ที่ทำให้การการคุชูอฺหายไปเช่น สถานที่แออัด วุ่นวาย เป็นต้น
ช่วงเวลาที่มีการเสนอผลการทำดีต่ออัลลอฮฺ
1. รายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้กล่าวว่า
«تُفْتَحُ أَبْوَابُ الْجَنَّةِ يَوْمَ الْاثْنَيْنِ وَيَوْمَ الْخَمِيسِ، فَيُغْفَرُ لِكُلِّ عَبْدٍ مُسْلِمٍ لَا يُشْرِكُ بِالله شَيْئًا إِلَّا رَجُلًا كَانَتْ بَيْنَهُ وَبَيْنَ أَخِيهِ شَحْنَاءُ، فَيُقَالُ: أَنْظِرُوا هَذَيْنِ حَتَّى يَصْطَلِحَا أَنْظِرُوا هَذَيْنِ حَتَّى يَصْطَلِحَا»
ความว่า “บรรดาประตูสวรรค์จะถูกเปิดในวันจันทร์และวันพฤหัสบดี ดังนั้นจึงมีการให้อภัยต่อบ่าวมุสลิมทุกคนที่ไม่ได้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺกับสิ่งอื่นใด นอกจากชายคนหนึ่งซึ่งมีข้อพิพาทบางอย่างระหว่างเขาและพี่น้องของเขา ก็จะถูกกล่าวว่า ให้ดูทั้งสองก่อน จนกว่าจะปรองดองกัน” (บันทึกโดยมุสลิม : 2565)
2. รายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ได้กล่าวว่า
«يَتَعَاقَبُونَ فِيكُمْ مَلَائِكَةٌ بِاللَّيْلِ وَمَلَائِكَةٌ بِالنَّهَارِ وَيَجْتَمِعُونَ فِي صَلَاةِ الْعَصْرِ وَصَلَاةِ الْفَجْرِ ثُمَّ يَعْرُجُ الَّذِينَ بَاتُوا فِيكُمْ فَيَسْأَلُـهُمْ وَهُوَ أَعْلَمُ بِهِمْ، كَيْفَ تَرَكْتُمْ عِبَادِي؟ فَيَقُولُونَ: تَرَكْنَاهُمْ وَهُمْ يُصَلُّونَ وَأَتَيْنَاهُمْ وَهُمْ يُصَلُّونَ»
ความว่า “ในหมู่พวกท่านนั้น จะมีบรรดามลาอิกะฮฺผลัดกันมาดูแลทั้งในเวลากลางคืนและในเวลากลางวัน โดยจะรวมตัวกันในเวลาละหมาดอัศรฺและละหมาดฟัจญ์รฺ ซึ่งมลาอิกะฮฺผู้ที่อยู่ในเวลากลางคืนกับพวกท่านก็จะขึ้นไปหาอัลลอฮฺ แล้วพระองค์ก็จะทรงถามพวกเขาทั้งๆ ที่พระองค์ทรงรู้ดีในสิ่งที่พวกเขาทำไป ว่า พวกท่านทิ้งบ่าวของฉันมาโดยที่พวกเขาอยู่ในสภาพใด ? พวกเขาจะตอบว่า พวกเราจากมาโดยที่พวกเขากำลังละหมาดและตอนที่พวกเราไปหาพวกเขาพวกเขาก็กำลังละหมาดอยู่เช่นกัน” (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัลบุคอรียฺ เลขที่ : 555 และมุสลิม เลขที่: 632 สำนวนนี้เป็นของมุสลิม)