فضائل الصلاة
มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์
محمد بن إبراهيم بن عبدالله التويجري
http://islamhouse.com/145008
จากหนังสือ: มุคตะศ็อร อัล-ฟิกฮฺ อัล-อิสลามีย์
المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي
ความประเสริฐของการละหมาด
ความประเสริฐของการละหมาด. 1
ความประเสริฐของการเดินไปละหมาด และการละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสญิด. 5
ความประเสริฐของผู้ที่เดินทางไปกลับมัสยิด. 8
ความประเสริฐของการไปละหมาดด้วยความสำรวม ความสงบเสงี่ยมและไม่เร่งรีบ.. 9
ความประเสริฐของการกล่าวคำว่า “อามีน”.. 11
ความประเสริฐของการละหมาดในเวลา. 12
ความประเสริฐของการละหมาดฟัจญ์รฺ(ศุบหฺ)และละหมาดอัศรฺ. 13
ความประเสริฐของการละหมาดอิชาอ์และละหมาดศุบหฺ.. 15
ความประเสริฐของการรอละหมาดหลังจากได้ละหมาดมาแล้ว. 16
ความประเสริฐของการนั่งในสถานที่ละหมาดหลังจากละหมาดศุบหฺแล้ว. 18
ความประเสริฐของวันศุกร์. 19
ความประเสริฐของการอาบน้ำ(ซุนนะฮฺ)วันศุกร์ การฟังคุฏบะฮฺ และการละหมาดวันศุกร์. 20
ความประเสริฐของช่วงเวลาหนึ่งในวันศุกร์คือช่วงเวลาหลังอัศรฺ. 22
ความประเสริฐของละหมาดสุนัตก่อนและหลังละหมาดฟัรฎู. 23
ความประเสริฐของละหมาดกิยามุ้ลลัยลฺ (ละหมาดกลางคืน) 25
ความประเสริฐของละหมาดวิตรฺช่วงหลังเที่ยงคืน.. 27
ความประเสริฐของการละหมาดและการขอพรในช่วงหลังเที่ยงคืน.. 28
ความประเสริฐของการขอพรในช่วงกลางคืน.. 29
ความประเสริฐของการละหมาดฎุหาและความประเสริฐของช่วงเวลาดังกล่าว. 31
ความประเสริฐของการก้มกราบที่ยาวนานและบ่อย. 33
ความประเสริฐของการละหมาดสุนัตที่บ้าน.. 35
ความประเสริฐของการละหมาดฟัรฎูและการละหมาดสุนัต. 36
ความประเสริฐของการอ่านวิริด(บทขอพร)หลังจากการให้สลามหลังละหมาดฟัรฺฎู. 39
ความประเสริฐของการละหมาดแก่ผู้ตายและการติดตามศพ.. 41
ความประเสริฐของผู้ที่ถูกละหมาดโดยมุสลิม. 43
ความประเสริฐของผู้สูญเสียคนที่รัก และผลตอบแทนสำหรับเขาจะอยู่ ณ อัลลอฮฺ. 45
ความประเสริฐของการละหมาดที่มัสญิดมักกะฮฺ(มัสยิดหะรอม)และมัสยิดที่มะดีนะฮฺ(มัสยิดอัลนะบะวีย์) 46
ความประเสริฐของการละหมาดที่มัสยิดบัยตุลมักฺดิส.. 48
ความประเสริฐของการละหมาดที่มัสยิดกุบาอ์. 49
ความประเสริฐของการเดินไปละหมาด และการละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสญิด
1. จากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«صَلاةُ الجَـمِيعِ تَزِيدُ عَلَى صَلاتِـهِ فِي بَيْتِـهِ وَصَلاتِـهِ فِي سُوقِهِ خَـمْساً وَعِشْرِينَ دَرَجَةً، فَإنَّ أَحَدَكُمْ إذَا تَوَضَّأَ فَأَحْسَنَ وَأَتَى المَسْجِدَ لا يُرِيدُ إلَّا الصَّلاةَ لَـمْ يَـخْطُ خُطْوَةً إلَّا رَفَعَهُ الله بِـهَا دَرَجَةً، وَحَطَّ عَنْـهُ خَطِيئَةً حَتَّى يَدْخُلَ المَسْجِدَ، وَإذَا دَخَلَ المَسْجِدَ كَانَ فِي صَلاةٍ مَا كَانَتْ تَـحْبِسُهُ، وَتُصَلِّي عَلَيْـهِ الملائِكَةُ مَا دَامَ فِي مَـجْلِسِهِ الَّذِي يُصَلِّي فِيْـهِ: اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لَـهُ اللَّهُـمَّ ارْحَـمْهُ مَا لَـمْ يُـحْدِثْ فِيهِ».
ความว่า “การละหมาดญะมาอะฮฺมีผลบุญเพิ่มทวีคูณเป็นยี่สิบห้าเท่าจากการละหมาดคนเดียวที่บ้านหรือที่ร้าน เมื่อผู้ใดอาบน้ำละหมาดอย่างสมบูรณ์ที่สุดและได้เดินไปยังมัสญิด ซึ่งเขาผู้นั้นไม่มีเป้าหมายอื่นใดนอกจากเพื่อการละหมาด เขาจะไม่ย่างก้าวไปหนึ่งก้าวนอกจากอัลลอฮฺจะยกระดับให้เขาหนึ่งระดับชั้น และจะลบบาปของเขาหนึ่งบาปจนกว่าเขาจะเข้ามัสยิด และเมื่อได้เข้าอยู่มัสยิดเขาจะได้รับความดีเสมือนว่าเขาอยู่ในการละหมาดจนกว่าเขาจะออกจากมัสยิด และมลาอิกะฮฺจะขอพรแก่เขาตราบเท่าที่เขานั่งอยู่ ณ สถานที่ที่เขาทำการละหมาดด้วยการกล่าว
«اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لَـهُ اللَّهُـمَّ ارْحَـمْهُ مَا لَـمْ يُـحْدِثْ فِيهِ».
ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ ได้โปรดให้การอภัยโทษแก่เขาผู้นี้ด้วยเถิด โอ้อัลลอฮฺได้โปรดให้ความเมตตาแก่เขาด้วยเถิด ตราบที่เขาไม่มีหะดัษ (เสียน้ำละหมาด) ณ สถานที่ดังกล่าว” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 477 และมุสลิม หะดีษที่ 649)
2. จากอิบนุอุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุมา ได้กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«صَلاةُ الجَـمَاعَةِ تَفْضُلُ صَلاةَ الفَذِّ بِسَبْعٍ وَعِشْرِينَ دَرَجَةً».
ความว่า “การละหมาดญะมาอะฮฺ(ร่วมกัน)ประเสริฐกว่าการละหมาดคนเดียวถึง 27 เท่า” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 645 และมุสลิม หะดีษที่ 650)
ความประเสริฐของผู้ที่เดินทางไปกลับมัสยิด
จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«مَنْ غَدَا إلَى المَسْجِدِ وَرَاحَ أَعَدَّ الله لَـهُ نُزُلَـهُ مِنَ الجَنَّةِ كُلَّمَا غَدَا أَوْ رَاحَ».
ความว่า “ผู้ใดที่ไปมัสยิดและกลับ อัลลอฮฺจะทรงตระเตรียมที่อยู่ในสวนสวรรค์ไว้สำหรับเขา ทุกครั้งที่เขาเดินทางไปกลับจากมัสยิด” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 662 และมุสลิม หะดีษที่ 669 สำนวนหะดีษเป็นของอัลบุคอรีย์)
ความประเสริฐของการไปละหมาดด้วยความสำรวม ความสงบเสงี่ยมและไม่เร่งรีบ
จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ (ได้กล่าวว่า) ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«إذَا ثُوِّبَ لِلصَّلاةِ فَلا تَأْتُوهَا وَأَنْتُـمْ تَسْعَونَ، وَأْتُوهَا وَعَلَيْكُمُ السَّكِيْنَةَ، فَمَا أَدْرَكْتُـمْ فَصَلُّوا، وَمَا فَاتَـكُمْ فَأَتِـمُّوا، فَإنَّ أَحَدَكُمْ إذَا كَانَ يَـعْمِدُ إلَى الصَّلاةِ فَهُوَ فِي صَلاةٍ».
ความว่า “เมื่อใดมีการเชิญชวนไปสู่การละหมาด(กล่าวอิกอมะฮฺ) พวกท่านอย่าได้ไปสู่การละหมาดด้วยความเร่งรีบ แต่พวกท่านจงเดินไปด้วยความสงบไม่รีบร้อน หากว่าพวกท่านทันการละหมาด(พร้อมกับอิหม่าม)พวกท่านก็จงละหมาด และสำหรับสิ่งที่ท่านพลาดไป (คือร็อกอะฮฺของการละหมาดยังไม่สมบูรณ์ในขณะที่อิมามละหมาดเสร็จแล้ว) ท่านก็จงเพิ่มเติมให้ครบสมบูรณ์ แท้ที่จริงแล้ว ผู้ใดมีความตั้งใจที่จะทำการละหมาด(ญะมาอะฮฺ) เขาผู้นั้นเสมือนอยู่ได้ในการทำละหมาด(ญะมาอะฮฺ)แล้ว” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 636 และมุสลิม หะดีษที่ 602)
ความประเสริฐของการกล่าวคำว่า “อามีน”
จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«إذَا قَالَ أَحَدُكُمْ آمِينَ، وَقَالَتِ الملائِكَةُ فِي السَّمَاءِ: آمينَ، فَوَافَقَتْ إحْدَاهُـمَا الأُخْرَى، غُفِرَ لَـهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِـهِ».
ความว่า “เมื่อผู้หนึ่งในหมู่พวกท่านได้กล่าวว่า อามีน บรรดามลาอิกะฮฺบนฟากฟ้าก็พากันกล่าวว่า อามีนด้วย ดังนั้นหากการกล่าวดังกล่าวตรงพ้องกัน เขาผู้นั้นจะได้รับการอภัยโทษในบาปต่างๆที่ผ่านมา” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 781 และมุสลิม หะดีษ 410)
ความประเสริฐของการละหมาดในเวลา
จากอับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ฉันได้เอ่ยถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมว่า
أَيُّ العَمَلِ أَحَبُّ إلَى الله٬؟ قَالَ: «الصَّلاةُ عَلَى وَقْتِـهَا» قَالَ ثُمَّ أَيُّ؟ قَالَ: «بِرُّ الوَالِدَينِ» قَالَ ثُمَّ أَيُّ؟ قَالَ: «الجِهَادُ فِي سَبِيْلِ ا٬» قَالَ: حَدَّثَنِي بِـهِنَّ رَسُولُ الله ﷺ ولَوِ اسْتَزَدْتُـهُ لَزَادَنِي.
ความว่า “การงานใดที่เป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺ? ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมตอบว่า การละหมาดตรงเวลา เขาได้ถามอีกว่า แล้วการงานอะไรอีก? ท่านนบีตอบว่า การทำดีต่อพ่อแม่ แล้วเขาก็ได้ถามอีก ท่านนบีก็ตอบว่า การต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ แล้วเขาก็ได้กล่าวอีกว่า ท่านนบี ได้กล่าวกับฉันเช่นนี้ และถ้าหากฉันได้เอ่ยถามเพิ่มอีก แน่นอนท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็จะเพิ่มแก่ฉันอีก” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 527 และมุสลิม หะดีษที่ 85)
ความประเสริฐของการละหมาดฟัจญ์รฺ(ศุบหฺ)และละหมาดอัศรฺ
1.จากอะบูมูซา อัลอัชอารีย์ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ (ได้กล่าวว่า) ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«مَنْ صَلَّى البَرْدَيْنِ دَخَلَ الجَنَّةَ».
ความว่า “บุคคลใดที่ละหมาดในเวลาที่เยือกเย็นทั้งสอง (ละมาดฟัจญ์รฺและละหมาดอัศรฺ) เขาผู้นั้นจะได้เข้าสวนสวรรค์” (บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดีษที่ 574 และมุสลิม หะดีษที่ 635)
2. จากอะบูบัศเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า
صلى بنا رسول الله ﷺ العصر بالمخمَّص فقال: «إنَّ هَذِهِ الصَّلاةَ عُرِضَتْ عَلَى مَنْ كَانَ قَبْلَكُمْ فَضَيَّعُوها، فَمَنْ حَافَظَ عَلَيهَا كَانَ لَـهُ أَجْرُهُ مَرَّتَيْنِ..».
ความว่า “ท่านรอซูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้ละหมาดอัศรฺพร้อมกับพวกเราที่มุค็อมมัศ (สถานที่แห่งหนึ่ง) และท่านได้กล่าวว่า “แท้จริงแล้ว ละหมาดอัศรฺนี้เป็นละหมาดที่ได้ประทานให้แก่ผู้ที่มาก่อนหน้าพวกท่าน แต่พวกเขาได้ละเลยมัน หากใครผู้ใดที่รักษามันไว้ เขาผู้นั้นจะได้รับผลบุญถึงสองครั้ง” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 830)
ความประเสริฐของการละหมาดอิชาอ์และละหมาดศุบหฺ
จากอุสมาน บิน อัฟฟาน เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอซูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«مَنْ صَلَّى العِشَاءَ فِي جَـمَاعَةٍ فَكَأَنَّمَا قَامَ نِصْفَ اللَّيْلِ، وَمَنْ صَلَّى الصُّبْـحَ فِي جَـمَاعَةٍ فَـكَـأَنَّـمَـا صَلَّى الَّليلَ كُلَّهُ».
ความว่า “ผู้ใดที่ละหมาดอิชาอ์ร่วมกัน(ญะมาอะฮฺ)เสมือนหนึ่งว่าเขาผู้นั้นได้ทำการละหมาดครึ่งหนึ่งของคืน และผู้ใดที่ละหมาดศุบหฺร่วมกันก็เสมือนหนึ่งเขาผู้นั้นได้ละหมาดตลอดทั้งคืน” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 656)
ความประเสริฐของการรอละหมาดหลังจากได้ละหมาดมาแล้ว
จากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ (ได้กล่าวว่า) ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«أَلا أَدُلُّكُمْ عَلَى مَا يَـمْـحُو اللهَ بِـهِ الخَطَايَا، وَيَرْفَعُ بِـهِ الدَّرَجَاتِ؟» قَالُوا بَلَى يَا رَسُولَ الله، قَالَ: «إسْبَاغُ الوُضُوءِ عَلَى المكَارِهِ، وَكَثْرَةُ الخُطَا إلَى المسَاجِدِ وَانْتِظَارُ الصَّلاةِ بَـعْدَ الصَّلاةِ فَذَلِكُمُ الرِّبَاطُ».
ความว่า “พวกท่านทุกคนต้องการหรือไม่ หากว่าฉันจะชี้แนวทางสำหรับพวกท่านถึงสิ่งที่เป็นสาเหตุให้อัลลอฮฺจะลบล้างบาป และสิ่งที่เป็นสาเหตุให้อัลลอฮฺจะยกระดับชั้นของพวกท่าน” พวกเขาพากันตอบว่า “แน่นอน ท่านรอซูลลุลลอฮฺ” ท่านรอซูล ได้กล่าวว่า “การอาบน้ำละหมาดที่สมบูรณ์ในภาวะที่ลำบากใจ(เช่นช่วงอากาศหนาวหรือร้อนจัด เป็นต้น) การก้าวเดินไปยังมัสยิดมากๆ และรอคอยเวลาละหมาดหลังจากที่ได้ละหมาดแล้ว นั่นก็คือ อัรฺริบาฏ” (คือสิ่งที่กระตุ้นให้กระทำหรือบังคับตนเองให้อยู่กับการภักดี หรือหมายถึงส่วนหนึ่งของการต่อสู้เพื่อเอาชนะตนเอง) (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 251 )
ความประเสริฐของการนั่งในสถานที่ละหมาดหลังจากละหมาดศุบหฺแล้ว
จากสิมาก บิน หัรฺบ์ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า
قلت لجابر بن سمرة أَكُنْتَ تُـجَالِسُ رَسُولَ الله ﷺ؟ قَالَ: نَعَمْ كَثِيراً، كَانَ لا يَـقُومُ مِنْ مُصَلَّاهُ الَّذِي يُصَلِّي فِيهِ الصُّبْـحَ أَوِ الغَدَاةَ حَتَّى تَطْلُعَ الشَّمْسُ، فَإذَا طَلَعَتِ الشَّمْسُ قَامَ.
ความว่า “ฉันได้กล่าวแก่ญาบิร บิน สะมุเราะฮฺว่า ท่านได้เคยนั่งร่วมกับรอซูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมเป็นประจำมิใช่หรือ? เขาก็ตอบว่า “ใช่ (ฉันได้นั่งร่วมกับท่าน) หลายครั้ง ท่านไม่เคยลุกออกจากสถานที่ละหมาดศุบหฺหรือลุกออกจากสถานที่ละหมาดในช่วงเช้าเลย จนกว่าดวงอาทิตย์จะโผล่ขึ้นมา เมื่อดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นแล้ว ท่านก็จะลุกขึ้น" (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 670)
ความประเสริฐของวันศุกร์
จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«خَيْرُ يَومٍ طَلَعَتْ عَلَيْـهِ الشَّمْسُ يَومُ الجُـمُعَةِ، فِيهِ خُلِقَ آدَمُ، وَفِيهِ أُدْخِلَ الجَنَّةَ، وَفِيهِ أُخْرِجَ مِنْـهَا، وَلا تَقُومُ السَّاعَةُ إلَّا فِي يَومِ الجُـمُعَةِ».
ความว่า “วันที่ดีที่สุดสำหรับวันที่มีดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นมาคือวันศุกร์ วันนี้เป็นวันที่อาดัมถูกสร้างขึ้นมา และเป็นวันที่อาดัมถูกนำเข้าสวรรค์ อีกทั้งเป็นวันที่อาดัมถูกนำออกจากสวรรค์เช่นกัน และวันกิยามะฮฺจะไม่บังเกิดขึ้นนอกจากในวันศุกร์เท่านั้น” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 854)
ความประเสริฐของการอาบน้ำ(ซุนนะฮฺ)วันศุกร์ การฟังคุฏบะฮฺ และการละหมาดวันศุกร์
จากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«مَنْ اغْتَسَلَ، ثُمَّ أَتَى الجُـمُعَةَ، فَصَلَّى مَا قُدِّرَ لَـهُ، ثُمَّ أَنْصَتَ حَتَّى يَفْرُغَ مِنْ خُطْبَتِـهِ، ثُمَّ يُصَلِّي مَعَهُ، غُفِرَ لَـهُ مـَا بَيْنَـهُ وَبَيْـنَ الجُـمُعَـةِ الأُخْـرَى وَفَضْـلُ ثَلاثَةِ أَيَّامٍ».
ความว่า “ผู้ใดที่ได้อาบน้ำ แล้วไปร่วมละหมาดวันศุกร์ จากนั้นเขาได้ละหมาด(ซุนนะฮฺ)มากเท่าที่สามารถ เสร็จแล้วเขาก็สงบนิ่งฟังคุฏบะฮฺจนกระทั้งจบคุฏบะฮฺ แล้วเขาได้ละหมาด(วันศุกร์)พร้อมกับอิหม่าม เช่นนี้บาปของเขาผู้นั้นที่ได้กระทำระหว่างวันศุกร์นั้นกับอีกวันศุกร์หนึ่งและเกินไปอีกสามวันจะได้รับการอภัยโทษ” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 857)
ความประเสริฐของช่วงเวลาหนึ่งในวันศุกร์คือช่วงเวลาหลังอัศรฺ
จากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวถึงวันศุกร์ โดยท่านได้กล่าวว่า
«فِيْـهِ سَاعَةٌ لا يُوَافِقُهَا عَبْدٌ مُسْلِـمٌ وَهُوَ يُصَلِّي، يَسْأَلُ الله شَيْئاً إلَّا أَعْطَاهُ إيَّاهُ» زاد قتيبة في روايته: وأشار بيده يقللها.
ความว่า “ในวันศุกร์นั้นมีอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งไม่มีมุสลิมคนใดที่ได้ละหมาด แล้วได้ขอพรสิ่งใดจากอัลลอฮฺตรงกับช่วงเวลาดังกล่าวนั้น นอกจากอัลลอฮฺจะประทานการขอนั้นให้แก่เขา” และท่านกุตัยบะฮฺได้เพิ่มสำนวนหะดีษในสายรายงานของเขาว่า (ความว่า) “ ท่านนบีได้ทำสัญลักษณ์กับมือของท่าน แสดงถึงเวลาเพียงสั้นๆ” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 935 และมุสลิม หะดีษที่ 852 สำนวนหะดีษเป็นของมุสลิม)
ความประเสริฐของละหมาดสุนัตก่อนและหลังละหมาดฟัรฎู
จากอุมมุ หะบีบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮา ได้กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«مَا مِنْ عَبْدٍ مُسْلِـمٍ يُصَلِّي ٬ كُلَّ يَومٍ ثِنْتَيْ عَشْرَةَ رَكْعَةً تَطَوُّعاً غَيْرَ فَرِيضَةٍ إلَّا بَنَى الله لَـه بَيْتاً فِي الجَنَّةِ، أَوْ إلَّا بُنِيَ لَـهُ بَيْتٌ فِي الجَنَّةِ» قالت أم حبيبة: فما بَرِحْتُ أُصَلِّيهنَّ بَـعْدُ.
ความว่า “ไม่มีบ่าวมุสลิมคนใดที่ทำการละหมาดสุนัตทุกๆวันๆละสิบสองร็อกอะฮฺที่นอกเหนือจากละหมาดฟัรฎู นอกจากอัลลอฮฺจะทรงสร้างวิมานสำหรับเขาในสวนสวรรค์ หรือนอกจากเขาจะถูกสร้างวิมานให้ในสวนสวรรค์” อุมมุหะบีบะฮฺได้กล่าวว่า และฉันก็ไม่ละเลยที่จะทำการละหมาดซุนนะฮฺดังกล่าวนี้นับจากวันนั้นเป็นต้นมา” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 728)
ความประเสริฐของละหมาดกิยามุ้ลลัยลฺ (ละหมาดกลางคืน)
1. อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ได้กล่าวเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้ศรัทธาว่า
تَتَجَافَىٰ جُنُوبُهُمْ عَنِ الْمَضَاجِعِ يَدْعُونَ رَبَّهُمْ خَوْفًا وَطَمَعًا وَمِمَّا رَزَقْنَاهُمْ يُنفِقُونَ
ความว่า “สีข้างของพวกเขาเคลื่อนห่างจากที่นอน พลางวิงวอนต่อพระเจ้าของพวกเขาด้วยความกลัวและความหวัง และพวกเขาบริจาคสิ่งที่เราได้ให้เป็นเครื่องยังชีพแก่พวกเขา ดังนั้น จึงไม่มีชีวิตใดรู้สิ่งที่ถูกซ่อนไว้สำหรับพวกเขา ให้เป็นที่รื่นรมย์แก่สายตาเป็นการตอบแทนในสิ่งที่พวกเขาได้กระทำ” (อัสสัจญ์ดะฮฺ : 16-17)
2. จากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«أَفْضَلُ الصِّيَامِ بَـعْدَ رَمَضَانَ شَهْرُ الله الـمُـحَرَّمُ، وَأَفْضَلُ الصَّلاةِ بَـعْدَ الفَرِيضَةِ صَلاةُ اللَّيْلِ».
ความว่า “การถือศีลอดที่ประเสริฐที่สุดหลังจากเดือนเราะมะฎอนคือ การถือศีลอดในเดือนของอัลลอฮฺ อัลมุหัรร๊อม และละหมาดที่ประเสริฐที่สุดหลังจากละหมาดฟัรฎูคือ ละหมาดช่วงกลางคืน(กิยามุ้ลลัยลฺ)” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 1163)
ความประเสริฐของละหมาดวิตรฺช่วงหลังเที่ยงคืน
จากญาบิรฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านรอซูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«مَنْ خَافَ أَنْ لا يَـقُومَ مِنْ آخِرِ اللَّيْلِ فَلْيُوْتِرْ أَوَّلَـهُ، وَمَنْ طَمِعَ أَنْ يَـقُومَ آخِرَهُ فَلْيُوْتِرْ آخِرَ اللَّيْلِ؛ فَإنَّ صَلاةَ آخِرِ اللَّيْلِ مَشْهُودَةٌ وَذَلِكَ أَفْضَلُ».
ความว่า “ผู้ใดที่เกรงว่า เขาจะไม่ตื่นขึ้นมาในช่วงท้ายของคืน ก็ให้เขาละหมาดวิตรฺในช่วงแรกของคืน และใครที่ต้องการตื่นขึ้นละหมาดในช่วงท้ายของคืนก็จงละหมาดวิตรฺในช่วงท้ายคืนนั้น เพราะการละหมาดในช่วงท้ายของคืนนั้นถูกถือเป็นพยานและเป็นการละหมาดที่ประเสริฐที่สุด” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 755)
ความประเสริฐของการละหมาดและการขอพรในช่วงหลังเที่ยงคืน
จากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านรอซูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«يَنْزِلُ رَبُّنَا تَـبَارَكَ وَتَعـَالَى كُلَّ لَيْلَةٍ إلَى سَمـَاءِ الدُّنْيَـا حِينَ يَبْقَى ثُلُــثُ اللَّيْلِ الآخِرُ يَـقُــولُ: مَنْ يَدْعُونِي فَأَسْتَـجِيبَ لَـهُ؟ مَنْ يَسْأَلُنِي فَأُعْطِيَـهُ؟ مَنْ يَسْتَغْفِرُنِي فَأَغْفِرَ لَـهُ».
ความว่า “พระผู้เป็นเจ้าของเราได้ลงมายังฟากฟ้าโลกดุนยาในทุกๆคืนในช่วงเวลาหนึ่งในสามของช่วงสุดท้ายของคืน และพระองค์ได้กล่าวว่า ผู้ใดที่วอนขอต่อข้า ข้าก็จะตอบรับการวอนขอนั้น ผู้ใดขอต่อข้า ข้าก็จะมอบให้กับเขา และผู้ใดที่ขออภัยโทษจากข้า ข้าจะยกโทษให้แก่เขา” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 1145 และมุสลิม หะดีษที่ 758 สำนวนหะดีษเป็นของอัลบุคอรีย์)
ความประเสริฐของการขอพรในช่วงกลางคืน
จากญาบิรฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«إنَّ فِي اللَّيلِ لَسَاعَةً، لا يُوَافِقُهَا رَجُلٌ مُسْلِـمٌ يَسْأَلُ الله خَيراً مِنْ أَمْرِ الدُّنْيَا وَالآخِرَةِ، إلَّا أَعْطَاهُ إيَّاهُ، وَذَلِكَ كُلَّ لَيْلَةٍ».
ความว่า “แท้จริงแล้ว ในช่วงกลางคืนมีช่วงหนึ่ง ที่ไม่มีมุสลิมคนใดที่ได้ขอสิ่งที่ดีจากอัลลอฮฺทั้งในสิ่งที่เกี่ยวกับโลกดุนยาหรือสิ่งที่เกี่ยวกับอาคิเราะฮฺแล้วตรงกับช่วงเวลาดังกล่าว นอกจากอัลลอฮฺจะประทานแก่เขาในสิ่งที่เขาขอ ดังกล่าวนั้นจะมีในทุกคืน” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 757)
ความประเสริฐของการละหมาดฎุหาและความประเสริฐของช่วงเวลาดังกล่าว
1. จากอะบีซัรฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«يُصْبِـحُ عَلَى كُلِّ سُلامَى مِنْ أَحَدِكُمْ صَدَقَةٌ، فَكُلُّ تَسْبِيحَةٍ صَدَقَةٌ، وَكُلُّ تَـحْـمِيدَةٍ صَدَقَةٌ، وَكُلُّ تَـهْلِيلَةٍ صَدَقَةٌ، وَكُلُّ تَـكْبِيرَةٍ صَدَقَةٌ، وَأَمْرٌ بِالمعْرُوفِ صَدَقَةٌ، وَنَـهْيٌ عَنِ المُنْكَرِ صَدَقَةٌ، وَيُـجْزِئُ مِنْ ذَلِكَ رَكْعَتَانِ يَرْكَعُهُـمَا مِنَ الضُّحَى».
ความว่า “เมื่อยามเช้ามาถึง กระดูกทุกๆส่วนของมนุษย์ล้วนมีหน้าที่ต้องทำเศาะดะเกาะฮฺ (ทำทาน) ทุกการกล่าวตะห์มีด(กล่าว อัลหัมดุลิลละฮฺ)ก็เป็นทาน ทุกการกล่าวตะฮฺลีล(กล่าว ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ) ก็เป็นทาน ทุกการกล่าวตักบีรฺ(กล่าว อัลลอฮุอักบัรฺ)ก็เป็นทาน การส่งเสริมในเรื่องความดีก็เป็นทาน และการห้ามปรามสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายก็เป็นทาน และถือเป็นการเพียงพอเรื่องดังกล่าวด้วยการละหมาดสุนัตฎุหาสองร็อกอะฮฺ” (บันทึกโดยมุสลิมหะดีษที่ 720)
2. จากซัยดฺ บิน อัรฺก๊อม เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«صَلاةُ الأَوَّابِينَ حِيْنَ تَرْمَضُ الفِصَالُ».
ความว่า “การละหมาดของอัลเอาวาบีน(ผู้กลับตัว)คือช่วงที่ลูกอูฐรู้สึกร้อนเท้า(ช่วงสายๆ)” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 748)
ความประเสริฐของการก้มกราบที่ยาวนานและบ่อย
1. จากเราะบีอะฮฺ บิน กะอฺบ์ อัลอัสละมีย์ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า
كُنْتُ أَبِيتُ مَعَ رَسُولِ الله ﷺ فَأَتَيْتُـهُ بِوَضُوئِهِ وَحَاجَتِـهِ فَقَالَ لِي: «سَلْ» فَقُلْتُ أَسْأَلُكَ مُرَافَقَتَـكَ فِي الجَنَّةِ قَالَ: «أَوْ غَيْرَ ذَلِكَ» قُلْتُ: هُوَ ذَاكَ. قَالَ: «فَأَعِنِّي عَلَى نَفْسِكَ بِكَثْرَةِ السُّجُودِ».
ความว่า “ครั้งหนึ่งฉันได้นอนพักแรมกับท่านรอซูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมฉันได้เตรียมน้ำเพื่อให้ท่านรอซูลลุลอฮฺได้อาบน้ำละหมาดและใช้เรื่องการถ่ายทุกข์ ท่านรอซูลได้ กล่าวแก่ฉันว่า จงขอมาซิ ฉันก็ได้กล่าวว่า ฉันขอได้อยู่เคียงข้างท่านในสวนสวรรค์ ท่านรอซูลได้กล่าวว่า นอกจากนั้นท่านต้องการอะไรอีก? ฉันตอบว่า มีเพียงแค่นี้แหละ ท่านรอซูลจึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงช่วยฉันเพื่อ(แก้ไข)ตัวของท่านเองด้วยการสุญูดให้มากๆ”(บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 489)
2. จากเษาบาน เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«عَلَيْكَ بِكَثْرَةِ السُّجُودِ ٬، فَإنَّكَ لا تَسْجُدُ ، سَجْدَةً إلا رَفَعَكَ الله بِـهَا دَرَجَةً، وَحَطَّ عَنْكَ بِـهَا خَطِيئَةً».
ความว่า “ท่านจงสุญูด (ก้มกราบต่ออัลลอฮฺ) ให้มากๆ แท้ที่จริงแล้ว ท่านจะไม่สุญูดเพื่ออัลลอฮฺหนึ่งครั้งเว้นแต่พระองค์จะทรงยกระดับของท่านด้วยการสุญูดดังกล่าวให้สูงขึ้นหนึ่งระดับ และพระองค์จะทรงอภัยความผิดด้วยการสุญูดดังกล่าวหนึ่งความผิด” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 488)
ความประเสริฐของการละหมาดสุนัตที่บ้าน
จากซัยดฺ บิน ษาบิต เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«... فَعَلَيْكُمْ بِالصَّلاةِ فِي بُيُوتِكُمْ فَإنَّ خَيْرَ صَلاةِ المرءِ فِي بَيْتِـهِ إلَّا الصَّلاةَ المكْتُوبَةَ»
ความว่า “...ดังนั้นขอให้พวกท่านทำการละหมาด(สุนัต)ในบ้านของพวกท่าน แท้ที่จริงแล้วเป็นการดีที่สุดที่คนหนึ่งละหมาดสุนัตที่บ้านของเขานอกจากละหมาดฟัรฎู” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 731 และมุสลิม หะดีษที่ 781 สำนวนหะดีษของมุสลิม)
ความประเสริฐของการละหมาดฟัรฎูและการละหมาดสุนัต
จากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«إنَّ الله تَعَالَى قَالَ: مَنْ عَادَى لِي وَلِيّاً فَقَدْ آذَنْتُـهُ بِالحَرْبِ، وَمَا تَقَرَّبَ إلَيَّ عَبْدِي بِشَيْءٍ أَحَبَّ إلَيَّ مِـمَّا افْتَرَضْتُـهُ عَلَيهِ.
وَمَا زَالَ عَبْدِي يَتَقَّرَبُ إلَيَّ بِالنَّوَافِلِ حَتَّى أَحْبَبْتُـهُ، فَكُنْتُ سَمْعَهُ الَّذِي يَسْمَعُ بِـهِ، وَبَصَرهُ الَّذِي يُبْصِرُ بِـهِ، وَيَدَهُ الَّتِي يَبْطِشُ بِـهَا، وَرِجْلَـهُ الَّتِي يَـمْشِي بِـهَا، وَإنْ سَأَلَنِي لأُعْطِيَنَّهُ، وَلَئِنْ اسْتَعَاذَنِي لأُعِيذَنَّهُ، وَمَا تَرَدَّدتُ عَنْ شَيْءٍ أَنَا فَاعِلُـهُ تَرَدُّدِي عَنْ نَفْسِ المؤمِنِ يَكْرَهُ الموتَ وَأَنَا أَكْرَهُ مَسَاءَتَـهُ».
“แท้จริงแล้วอัลลอฮฺ ตะอาลาทรงตรัสว่า : ผู้ใดที่ป็นศัตรูกับวะลีย์(ผู้ที่เป็นรัก) ของฉัน แน่นอนฉันประกาศสงครามกับเขาผู้นั้น และไม่มีสิ่งใดที่บ่าวของฉันได้(ปฏิบัติตน)เข้าใกล้กับฉันด้วยการงานหนึ่งที่ฉันโปรดปรานยิ่ง กว่าการปฏิบัติในสิ่งที่ฉันกำหนดเป็นฟัรฎู
และบ่าวของฉันก็ยังคงปฏิบัติตนเข้าใกล้ข้าตลอดเวลาด้วยการปฏิบัติสิ่งที่เป็นสุนัตต่างๆจนกระทั่งฉันรักเขา ครั้นเมื่อฉันรักเขาแล้ว ฉันก็จะเป็นดั่งผู้ระวังรักษาหูของเขาที่เขาใช้ฟัง เป็นผู้รักษาตาของเขาที่เขาใช้มอง เป็นผู้รักษามือของเขาที่ใช้ฟาดฟัน และเป็นผู้รักษาเท้าของเขาที่เขาใช้เดิน แน่นอนหากเขาขอสิ่งใดจากข้าข้าย่อมให้เขา และหากเขาได้ขอความคุ้มครองจากฉัน ฉันก็จะให้ความคุ้มครองเขาอย่างแน่นอน ไม่มีสิ่งใดที่ทำฉันลังเลมากกว่าการเอาชีวิตของผู้ศรัทธา พวกเขากลัวการตายและฉันก็ไม่อยากให้เขาได้รับทุกข์เช่นกัน” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 6502)
ความประเสริฐของการอ่านวิริด(บทขอพร)หลังจากการให้สลามหลังละหมาดฟัรฺฎู
จากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า จากท่านรอซูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า
«مَنْ سَبَّحَ الله فِي دُبُرِ كُلِّ صَلاةٍ ثَلاثاً وَثَلاثِينَ، وَحَـمِدَ الله ثَلاثاً وَثَلاثِينَ، وَكَبَّرَ الله ثَلاثاً وَثَلاثِينَ، فَتِلْكَ تِسْعَةٌ وَتِسْعُونَ، وَقَالَ تَـمَامَ المِائَةِ: لا إلَـهَ إلَّا الله وَحْدَهُ لا شَرِيكَ لَـهُ، لَـهُ الملْكُ وَلَـهُ الحَـمْدُ وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَديرٌ غُفِرَتْ خَطَايَاهُ وَإنْ كَانَتْ مِثْلَ زَبَدِ البَـحْرِ».
ความว่า “ผู้ใดก็ตามที่ได้กล่าวตัสบีหฺแก่อัลลอฮฺ(สุบหานัลลอฮฺ)ทุกครั้งหลังละหมาดสามสิบสามครั้ง กล่าวตะหฺมีดแก่อัลลอฮฺ(อัลหัมดุลิลละฮฺ)สามสิบสามครั้ง และกล่าวตักบีรฺแก่อัลลอฮฺ(อัลลอฮุ อักบัร) สามสิบสามครั้ง ทั้งหมดเป็นจำนวนเก้าสิบเก้าครั้ง และกล่าวเพิ่มอีกให้ครบหนึ่งร้อยครั้งด้วยคำกล่าวที่ว่า
لا إلَـهَ إلَّا الله وَحْدَهُ لا شَرِيكَ لَـهُ، لَـهُ الملْكُ وَلَـهُ الحَـمْدُ وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَديرٌ
ความว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรเคารพภักดีนอกจากอัลลอฮฺแต่เพียงองค์เดียว หามีผู้ใดที่เป็นภาคีกับพระองค์ไม่ สำหรับพระองค์คือการปกครองทั้งหมด และสำหรับพระองค์คือมวลสรรเสริญทั้งหมด และพระองค์คือผู้ที่ทรงพลานุภาพในทุกสิ่งทุกอย่าง”
ความผิดของเขาผู้นั้นจะได้รับการอภัยแม้จะมีมากเสมือนฟองน้ำในมหาสมุทรก็ตาม” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 597)
ความประเสริฐของการละหมาดแก่ผู้ตายและการติดตามศพ
จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«مَنِ اتَّبَـعَ جَنَازَةَ مُسْلِـمٍ إيمَاناً وَاحْتِسَاباً، وَكَانَ مَعَهُ حَتَّى يُصَلَّى عَلَيْـهَا وَيُفْرَغَ مِنْ دَفْنِـهَا، فَإنَّهُ يَرْجِعُ مِنَ الأَجْرِ بِقِيرَاطَينِ، كُلُّ قِيرَاطٍ مِثلُ أُحُدٍ، وَمَنْ صَلَّى عَلَيْـهَا ثُمَّ رَجَعَ قَبْلَ أَنْ تُدْفَنَ فَإنَّهُ يَرْجِعُ بِقِيرَاطٍ».
ความว่า “ผู้ใดที่ติดตามญะนาซะฮฺ(ศพผู้ตาย)ของมุสลิมด้วยจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยศรัทธาและหวังผลตอบแทนจากอัลลอฮฺ โดยที่เขาร่วมอยู่กับญะนาซะฮฺนั้นจนกระทั่งได้ละหมาดให้เขาแล้ว แล้วอยู่จนกระทั่งฝังศพของเขาเสร็จ แท้จริงแล้วเขาผู้นี้จะกลับพร้อมผลบุญสองกีรอฏ ทุกๆหนึ่งกีรอฏดุจดังภูเขาอุหุด ส่วนผู้ที่ละหมาดญะนาซะฮฺและกลับมาก่อนที่จะมีการฝังศพผู้ตาย แท้จริงแล้วเขาผู้นี้ได้กลับพร้อมกับผลบุญหนึ่งกีรอฎ(เท่านั้น)” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 47 และมุสลิม หะดีษที่ 945 สำนวนหะดีษเป็นของอัลบุคอรีย์)
ความประเสริฐของผู้ที่ถูกละหมาดโดยมุสลิม
1. จากอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«مَا مِنْ مَيِّتٍ يُصَلِّي عَلَيْـهِ أُمَّةٌ مِنَ المسْلِـمينَ يَبْلُغُونَ مِائَةً كُلُّهُـمْ يَشْفَعُونَ لَـه إلا شُفِّعُوا فِيهِ».
ความว่า “ไม่มีผู้ตายคนใดที่มีประชาชาติมุสลิมกลุ่มหนึ่งละหมาดให้เขาจำนวนหนึ่งร้อยคน ทุกคนต่างขอความช่วยเหลือ(ชะฟาอะฮฺ)ให้แก่เขา ถ้าเช่นนี้แล้วอัลลอฮฺจะทรงรับคำขอช่วยเหลือของพวกเขา” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 947)
2. จากอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ฉันได้ยินว่าท่านรอซูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«مَا مِنْ رَجُلٍ مُسْلِـمٍ يَـمُوتُ فَيَـقُومُ عَلَى جَنَازَتِـهِ أَرْبَـعُونَ رَجُلاً، لا يُشْركُونَ بِالله شَيئاً إلَّا شَفَّعَهُـمُ الله فِيهِ».
ความว่า “ไม่มีมุสลิมคนใดที่เสียชีวิตไปแล้ว แล้วมีผู้ละหมาดญะนาซะฮฺให้เขาถึงสี่สิบคนโดยที่ผู้คนเหล่านั้นไม่ตั้งภาคีให้แก่อัลลอฮฺกับสิ่งใดๆ นอกจากอัลลอฮฺจะทรงให้พวกเขาช่วยเหลือ(ชะฟาอะฮฺ)ผู้ตาย” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 948)
ความประเสริฐของผู้สูญเสียคนที่รัก และผลตอบแทนสำหรับเขาจะอยู่ ณ อัลลอฮฺ
จากอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุมา ได้กล่าวว่า ฉันได้ยินว่าท่านรอซูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«يَـقُولُ الله تَعَالَى: مَا لِعَبْدِي المُؤْمِنِ عِنْدِي جَزَاءٌ إذَا قَبَضْتُ صَفِيَّهُ مِنْ أَهْلِ الدُّنْيَا ثُمَّ احْتَسَبَـهُ إلَّا الجَنَّةَ».
ความว่า “อัลลอฮฺ สุบหานะฮุ วะตะอาลา ได้ตรัสว่า : ไม่มีผลตอบแทนใดจากฉันสำหรับบ่าวผู้ศรัทธาของฉันคนใด เมื่อเขาได้สูญเสียคนที่เขารักจากโลกนี้ไป(เช่นบุพการี หรือบุตรธิดา) แล้วเขาอดทน(ยอมรับในการกำหนดของอัลลอฮฺ)ไม่มีผลตอบแทนใดสำหรับเขานอกจากสวนสวรรค์” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 6424)
ความประเสริฐของการละหมาดที่มัสญิดมักกะฮฺ(มัสยิดหะรอม)และมัสยิดที่มะดีนะฮฺ(มัสยิดอัลนะบะวีย์)
1. จากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«صَلاةٌ فِي مَسْجِدِي هَذَا خَيْرٌ مِنْ أَلْفِ صَلاةٍ فِيمَا سِوَاهُ إلَّا المَسْجِدَ الحَرَامَ».
ความว่า “การละหมาดที่มัสญิดของฉันมีความประเสริฐกว่าการละหมาดที่มัสยิดอื่นๆถึงหนึ่งพันครั้งยกเว้นละหมาดที่มัสยิดอัลหะรอม(มักกะฮฺ)” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษที่ 1190 และมุสลิม หะดีษที่ 1394 สำนวนหะดีษเป็นของอัลบุคอรีย์ )
2. จากญาบิรฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«صَلاةٌ فِي مَسْجِدِي أَفْضَلُ مِنْ أَلْفِ صَلاةٍ فِيمَا سِوَاهُ إلَّا المَسْجِدَ الحَرَامَ، وَصَلاةٌ فِي المَسْجِدِ الحَرَامِ أَفْضَلُ مِنْ مِائَةِ أَلْفِ صَلاةٍ فِيمَا سِوَاهُ».
ความว่า “การละหมาดที่มัสญิดของฉันประเสริฐยิ่งกว่าการละหมาดในมัสยิดอื่นๆถึงหนึ่งพันครั้งยกเว้นละหมาดที่มัสยิดอัลหะรอม เพราะการละหมาดที่มัสยิดอัลหะรอมนั้นประเสริฐยิ่งกว่าการละหมาดที่มัสยิดอื่นถึงหนึ่งแสนครั้ง” (หะดีษเศาะหีหฺ บันทึกโดยอะหฺมัด หะดีษที่ 14750 โปรดดูหนังสืออิรฺวาอ์ อัลเฆาะลีล หะดีษที่ 1129 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หะดีษที่ 1406 สำนวนหะดีษเป็นของอิบนุมาญะฮฺ )
ความประเสริฐของการละหมาดที่มัสยิดบัยตุลมักฺดิส
จากอะบีซัรฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า
تَذاكَرْنا ونحن عند رسول الله ﷺ أيُّهما أفضل مسجد رسول الله ﷺ أم مسجد بيت المقدس. فقال رسول اللهﷺ: «صَلاةٌ فِي مَسْجِدِي هَذا أفْضَلُ مِنْ أرْبَـعِ صَلَواتٍ فِيهِ وَلَنِعْمَ المُصَلَّى..».
ความว่า “เราได้นั่งคุยในขณะที่อยู่กับท่านรอซูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม และถามกันว่า : มัสยิดใดที่ประเสริฐกว่ากันระหว่างมัสยิดของรอซูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม (ที่มะดีนะฮฺ) กับมัสยิดบัยตุลมักดิส(ที่ปาเลสไตน์)? ท่านรอซูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้ตอบว่า การละหมาดในมัสยิดของฉันนี้ประเสริฐกว่าการละหมาดในมัสยิดบัยตุลมักดิสถึงสี่ครั้ง และ(มัสยิดมะดีนะฮฺ) ช่างเป็นมัสยิดที่แสนประเสริฐ” (หะดีษเศาะหีหฺ บันทึกโดยอัลหากิม หะดีษที่ 8553 โปรดดูหนังสืออัลสิลสิละตุ อัศเศาะหีหะฮฺ หะดีษที่ 2902)
ความประเสริฐของการละหมาดที่มัสยิดกุบาอ์
จากสะฮฺลฺ บิน หะนีฟ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«مَنْ تَطَهَّرَ فِي بَيْتِـهِ، ثُمَّ أَتَى مَسْجِدَ قُبَاءٍ، فَصَلَّى فِيهِ صَلاةً، كَانَ لَـهُ كَأَجْرِ عُمْرَةٍ».
ความว่า “ผู้ใดที่อาบน้ำละหมาดที่บ้านของเขา แล้วเดินไปยังมัสยิดกุบาอ์ แล้วได้ละหมาดที่นั้นหนึ่งครั้ง เขาผู้นั้นจะได้รับผลบุญเสมือนได้กระทำอุมเราะฮฺหนึ่งครั้ง” (หะดีษเศาะหีหฺ บันทึกโดยอันนะสาอีย์ หะดีษที่ 669 และอิบนุมาญะฮฺ หะดีษที่ 1412 สำนวนหะดีษเป็นของอิบนุมาญะฮฺ)