×
New!

Bayan Al Islam Encyclopedia Mobile Application

Get it now!

สิ่งต่างๆ ที่ทำให้น้ำละหมาดเสียและใช้ไม่ได้ (ไทย)

สร้างโดย: มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์

Description

สิ่งต่างๆ ที่ทำให้น้ำละหมาดเสียและใช้ไม่ได้ จากหนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

Download Book

    สิ่งที่ทำให้น้ำละหมาดเสีย

    ما ينقض الوضوء

    มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์

    محمد بن إبراهيم بن عبدالله التويجري


    สิ่งที่ทำให้วุฎูอ์(น้ำละหมาด)ใช้ไม่ได้มีดังนี้

    1- เมื่อมีสิ่งใดเคลื่อนออกจากทวารทั้งสอง เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ การผายลม มะนีย์(อสุจิ) มะซีย์(น้ำเหนียวๆ ที่ออกเพราะความกำหนัด) เลือด เป็นต้น

    2- เมื่อมีการสิ้นสติ อาจโดยการนอนหลับสนิท เป็นลม หรือมึนเมา เป็นต้น

    3- เมื่อมีการจับอวัยวะเพศโดยไม่มีสิ่งปกปิด

    4- เมื่อเกิดกรณีที่จำเป็นต้องอาบน้ำ เช่นญะนาบะฮฺ ประจำเดือน และนิฟาส

    5- เมื่อมีการริดดะฮฺ(ปฏิเสธอิสลามหลังจากที่ได้ศรัทธาแล้ว)

    6- เมื่อทานเนื้ออูฐ ดังมีรายงานจากท่านญาบิรฺ อิบนฺ สะมุเราะฮฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮุกล่าวว่า

    أَنَّ رَجُلًا سَأَلَ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهم عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَأَتَوَضَّأُ مِنْ لُحُومِ الْغَنَمِ قَالَ إِنْ شِئْتَ فَتَوَضَّأْ وَإِنْ شِئْتَ فَلَا تَوَضَّأْ قَالَ أَتَوَضَّأُ مِنْ لُحُومِ الْإِبِلِ قَالَ نَعَمْ فَتَوَضَّأْ مِنْ لُحُومِ الْإِبِلِ

    ความว่า “มีชายคนหนึ่งได้มาถามท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า ฉันต้องทำวุฎูอ์หรือไม่เมื่อกินเนื้อแพะ ท่านกล่าวตอบว่า หากท่านต้องการทำวุฎูอ์ ท่านก็ทำ หากท่านไม่ต้องการทำ ท่านก็ไม่ต้องทำ แล้วชายคนนั้นก็ถามอีกว่า ฉันต้องทำวุฎูอ์หรือไม่เมื่อกินเนื้ออูฐ ท่านกล่าวตอบว่า ใช่ ท่านต้องทำวุฎูอ์เมื่อท่านกินเนื้ออูฐ" (รายงานโดยมุสลิม เลขที่: 360)

    · ผู้ใดมีความมั่นใจว่าตัวเองอยู่ในสภาพที่มีน้ำละหมาด แต่มีความลังเลว่ามีหะดัษหรือไม่ ให้ถือว่าตัวเองอยู่ในสภาพที่สะอาดเอาไว้ก่อน และผู้ใดมีความมั่นใจว่าตัวเองอยู่ในสภาพที่มีหะดัษ แต่มีความสงสัย ลังเลว่ายังอยู่ในสภาพที่สะอาด ให้ถือว่าตัวเองอยู่ในสภาพที่มีหะดัษ ต้องชำระทำความสะอาด ดังมีรายงานจากท่านอะบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุกล่าวว่า ท่านเราะสูลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวว่า

    إِذَا وَجَدَ أَحَدُكُمْ فِي بَطْنِهِ شَيْئًا فَأَشْكَلَ عَلَيْهِ أَخَرَجَ مِنْهُ شَيْءٌ أَمْ لَا فَلَا يَخْرُجَنَّ مِنَ الْمَسْجِدِ حَتَّى يَسْمَعَ صَوْتًا أَوْ يَجِدَ رِيحًا

    ความว่า “หากผู้ใดในหมู่พวกท่านรู้สึกว่าท้องเสีย แล้วมีความลังเลว่ามีอะไรออกมาจากท้องหรือไม่นั้น เขาไม่จำเป็นต้องออกจากมัสยิด (เพื่อไปทำวุฎูอ์ใหม่) จนกว่าจะ (มั่นใจโดยการ) ได้ยินเสียงการผายลมอย่างชัดเจนหรือได้กลิ่นอย่างแน่นอน" (รายงานโดยมุสลิม เลขที่: 362)

    · สุนัต(ส่งเสริม) สำหรับผู้ที่กระทบกับเพศตรงข้ามโดยมีความรู้สึกในความใคร่ แต่มิได้มีสิ่งใดเคลื่อนออกจากอวัยวะเพศ หรือผู้ที่สัมผัสกับเอาเราะฮฺของเด็ก หรือ อาเจียน หรือแบกศพ ให้ทำวุฎูอ์(อาบน้ำละหมาด)ในทุกๆ กรณี และทุกๆ เวลาละหมาด ตราบใดที่ยังไม่ถึงขั้นมีหะดัษ ซึ่งในกรณีนั้นถือว่าจำเป็นต้องทำวุฎูอ์

    · การนอนหลับแบบไม่สนิทในท่ายืน ในท่านั่ง ในท่านอนตะแคงนั้น ไม่ถือว่าเสียวุฎูอ์

    · หากผู้ใดจูบหอมภรรยาของเขาแม้จะมีความรู้สึกในความใคร่ ก็ไม่ถือว่าเสียวุฎูอ์นอกจากว่ามีสิ่งใดเคลื่อนออกจากอวัยวะเพศ

    · สุนัต(ส่งเสริม) ให้มีการทำวุฎูอ์ก่อนจะเข้านอนและสุนัตให้ผู้ที่มีญะนาบะฮฺ และปรารถนาจะหลับต่อหรือจะมีเพศสัมพันธ์อีกครั้งโดยที่ยังไม่อาบน้ำญะนาบะฮฺ ให้ทำวุฎูอ์ก่อน

    · ปัสสาวะของสัตว์ที่อนุญาตให้กินเนื้อมันได้ มูลและน้ำเชื้อของมัน รวมทั้งน้ำอสุจิของมนุษย์ล้วนถือว่าเป็นสิ่งที่สะอาด และรอยปากของแมวนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สะอาดเช่นกัน

    · สัตว์ป่าที่ดุร้าย นกนักล่าที่มีกรงเล็บ ลาบ้านและล่อ ล้วนถือว่าเป็นสิ่งที่สะอาดตราบใดที่มันยังมีชีวิตและรอยปากของมันก็ถือว่าเป็นสิ่งที่สะอาดเช่นกัน ไม่มีสิ่งใดจากตัวมันที่เป็นถือเป็นนะญิสนอกจากมูล ปัสสาวะและเลือดของมัน

    · หะรอม(เป็นสิ่งต้องห้าม)สำหรับผู้ที่มีหะดัษ ทำการละหมาดและจับต้องอัลกุรอานจนกว่าเขาจะทำวุฎูอ์

    · สิ่งที่ออกจากร่างกายของมนุษย์นั้นมีอยู่สองชนิด คือ

    1- สิ่งที่สะอาด เช่นน้ำตา น้ำมูก เสลด น้ำลาย เหงื่อ น้ำอสุจิ

    2- สิ่งที่เป็นนะญิส (ไม่สะอาด) เช่นอุจจาระ ปัสสาวะ วะดีย์(น้ำเมือกที่ออกหลังปัสสาวะ) มะซีย์(น้ำเหนียวๆ ที่ออกเพราะความกำหนัด) เลือดที่ออกจากทวารทั้งสอง

    · เลือดที่ออกจากทวารทั้งสองนั้นถือว่าเป็นเหตุที่ทำให้วุฎูอ์ใช้ไม่ได้ แต่สำหรับเลือดที่ออกจากส่วนอื่นของร่างกายเช่น จมูก ฟัน บาดแผลและอื่นๆนั้นจะไม่ถือว่าเป็นเหตุที่ทำให้วุฎูอ์ใช้ไม่ได้ ไม่ว่าเลือดที่ออกจะน้อยหรือมากก็ตาม แต่ทว่าให้ชำระล้างออกจะดีกว่า เพราะถือว่าเป็นการรักษาความสะอาดจากสิ่งโสโครก

    معلومات المادة باللغة العربية