×

บทสนทนาอันสงบ ระหว่างอับดุลลอฮฺและอับดุนนบี (ไทย)

Description

ชายผู้หนึ่งชื่อ อับดุลลอฮฺ ได้พบกับชายอีกคนชื่อ อับดุนนบี เมื่ออับดุลลอฮฺได้ฟังชื่อนี้แล้วเกิดการปฏิเสธขึ้นในใจของเขา แล้วเขาก็คิดขึ้นมาว่า คนๆ หนึ่งจะกระทำอิบาดะฮฺต่อสิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺได้อย่างไรกัน แล้วเขาก็พูดกับอับดุนนบีขึ้นมาว่า : ท่านทำอิบาดฮะต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺหรือ ? ... บทสนทนาว่าด้วยอิบาดะฮฺ, ชิริก, ตะวัสสุล, ตะบัรรุก, การศรัทธาต่ออัลลอฮฺ, การปฏิบัติตามรอซูล ... ฯลฯ และประเด็นอื่นๆ เกี่ยวกับความเชื่อของมุสลิมที่สำคัญและอาจจะไม่เป็นที่เข้าใจของมุสลิมอีกหลายๆ คน (อัพเดทล่าสุด 20/4/2010)

Download Book

 บทสนทนาอันสงบ ระหว่างอับดุลลอฮฺและอับดุนนบี

﴿حوار هادئ بين عبدالله وعبدالنبي﴾

แปลโดย : รุสดี การีสา

ترجمة: رشدي كاريسا


ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

 บทสนทนาอันสงบ ระหว่าง อับดุลลอฮฺและอับดุนนบี

ชายผู้หนึ่งชื่อ อับดุลลอฮฺ ได้พบกับชายอีกคนชื่อ อับดุนนบี เมื่ออับดุลลอฮฺได้ฟังชื่อนี้แล้วเกิดการปฏิเสธขึ้นในใจของเขา แล้วเขาก็คิดขึ้นมาว่า คนผู้หนึ่งจะทำอิบาดะฮฺต่อสิ่งอื่นนอกจาก อัลลอฮฺได้อย่างไรกัน แล้วเขาก็ถามอับดุนนบีว่า : ท่านทำอิบาดะฮฺต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺหรือ?

อับดุนนบีตอบกลับมาว่า : เปล่า ฉันไม่เคยกราบไหว้สิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ฉันเป็นมุสลิม และภักดีต่ออัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น

อับดุลลอฮฺกล่าวว่า: เช่นนี้แล้วทำไมถึงได้ใช้ชื่อที่เสมือนกับชื่อของชาวนะศอรอซึ่งพวกเขาได้ตั้งชื่อพวกเขาว่า อับดุลมะสีหฺ ซึ่งไม่แปลกสำหรับพวกเขาเพราะพวกเขาศรัทธาและบูชานบีอีซา u ทำให้ผู้คนที่ได้ฟังชื่อของท่านเกิดความคิดขึ้นมาว่าท่านนั้นทำอิบาดะฮฺต่อท่านนบี e  ซึ่งแน่นอนว่า นั่นไม่ใช่ความเชื่อที่มุสลิมศรัทธาต่อนบีของพวกเขา ทว่าสิ่งที่วาญิบก็คือเขาจะต้องศรัทธาว่าแท้จริงท่านนบีนั้นเป็นบ่าวและรอซูลของอัลลอฮฺเท่านั้น

อับดุนนบีจึงตอบกลับมาว่า : แต่ท่านนบีมุหัมมัด e  นั้นเป็นบุรุษที่ประเสริฐที่สุดในบรรดามนุษยชาติและเป็นผู้นำของบรรดาศาสนทูตผู้ถูกแต่งตั้งทั้งหลาย แล้วพวกเราตั้งชื่อกันด้วยชื่อนี้เพื่อเป็นสิริมงคลและบะเราะกะฮฺ และเป็นการใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺด้วยความประเสริฐของนบีของพระองค์และด้วยตำแหน่งของท่าน ณ อัลลอฮฺ แล้วเราจะได้ขอจากท่านนบี e ให้ท่านช่วยรับประกันให้ชะฟาอะฮฺแก่เราด้วยการตั้งชื่อดังกล่าว และท่านไม่ต้องแปลกใจไปหรอกเพราะพี่ชายของเราเองก็ชื่อ อับดุลหุเซน และพ่อของเราก็ชื่อ อับดุลรอซูล และการตั้งชื่อด้วยเชื่อเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่มีมานานและแพร่หลายกันในหมู่ผู้คนทั้งหลาย และเราได้พบว่า บรรพบุรุษของเราก็เป็นเช่นเดียวกันนี้แหละ ท่านอย่าได้เคร่งครัดในเรื่องนี้นักเลย เพราะเป็นปัญหาเล็กน้อย และอิสลามก็เป็นอะไรที่ง่ายๆ อยู่แล้วนี่

อับดุลลอฮฺจึงกล่าวว่า : และนี่ก็เป็นเรื่องที่น่าตำหนิยิ่งกว่าอีก นั่นคือ การขอจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺในสิ่งที่ไม่มีใครสามารถให้ได้นอกจากอัลลอฮฺ ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นท่านนบีมุหัมมัด e หรือผู้อื่นจากบรรดาศอลิฮีนผู้มีคุณธรรมทั้งหลายเช่น ท่านหุเซน t เป็นต้น และเป็นสิ่งที่ขัดกับเอกภาพของอัลลอฮฺหรือเตาฮีด และความหมายของ  لا إله إلا الله  ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ (ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรค่าต่อการเคารพภักดีอย่างแท้จริงนอกจากอัลลอฮฺ)

เราจะขอถามท่านในบางเรื่องเพื่อให้ท่านได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้ และผลร้ายของการตั้งชื่อด้วยชื่อเหล่านั้นเป็นต้น การตั้งคำถามนี้ไม่ใช่เพื่อการอื่นใดทั้งสิ้นนอกจากเพื่อหาความถูกต้องแล้วทำตามมัน และเพื่อชี้แจงความเท็จเพื่อจะหลีกเลี่ยง และเพื่อเป็นการเชิญชวนในสิ่งที่ดี และห้ามปรามในสิ่งที่ไม่ดี วัลลอฮุลมุสตะอาน วะอาลัยฮิตตุกลาน วะลาเหาละ วะลากุวะตา อิลลาบิลลาฮฺ (ขออัลลอฮฺเป็นผู้ช่วยเหลือ พระองค์นั้นเป็นที่พึ่ง ไม่มีความสามารถและอำนาจใดๆ เกิดขึ้นได้เว้นแต่ด้วยอัลลอฮฺผู้สูงส่งและยิ่งใหญ่)  หากแต่เราจะขอให้ท่านนึกถึงอายะฮฺหนึ่งที่พระองค์อัลลอฮฺ ﷻ‬ ได้ตรัสว่า

 (  إِنَّمَا كَانَ قَوْلَ الْمُؤْمِنِينَ إِذَا دُعُوا إِلَى اللَّهِ وَرَسُولِهِ لِيَحْكُمَ بَيْنَهُمْ أَن يَقُولُوا سَمِعْنَا وَأَطَعْنَا )

ความว่า “แท้จริงคำกล่าวของ บรรดาผู้ศรัทธา เมื่อพวกเขาถูกเรียกร้องไปสู่อัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์เพื่อให้ตัดสินระหว่างพวกเขา พวกเขาจะกล่าวว่า เราได้ยินแล้วและเราเชื่อฟังปฏิบัติตาม” (อัน-นูร 51)

และพระดำรัสของพระองค์ที่ว่า

(فَإِنْ تَنَازَعْتُمْ فِي شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللَّهِ وَالرَّسُولِ إِنْ كُنْتُمْ تُؤْمِنُونَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ)

ความว่า “แต่ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั่นกลับไปยังอัลลอฮฺและรอซูล หากว่าพวกเจ้าศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺ” (อัน-นิสาอ์ 59)

อับดุลลอฮฺ : ท่านกล่าวว่าท่านเป็นคนที่มีเตาฮีดหรือศรัทธาในเอกภาพของอัลลอฮฺพระองค์เดียว และกล่าวคำปฏิญาณ ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ ดังนั้นขอท่านช่วยอธิบายความหมายของเตาฮีดให้ฉันหน่อยจะได้หรือไม่ ?

อับดุนนบี: เตาฮีด คือ การศรัทธาและเชื่อมั่นว่าแท้จริงอัลลอฮฺนั้นมีอยู่จริง และเป็นผู้สร้างฟากฟ้าและผืนดิน เป็นผู้ให้ชีวิตและความตาย ผู้ควบคุมจักรวาลทั้งมวล ผู้ให้ริซกี....เป็นต้น.

อับดุลลอฮฺ: ถ้าหากความหมายของคำว่า เตาฮีด มีแค่นี้เท่านั้นแล้ว แน่นอนว่า ฟิรเอานฺ และบรรดาพวกพ้องของเขา อบู ญะฮัล และคนอื่นๆ ก็ถือว่าเป็นผู้มีเตาฮีดเช่นกัน เนื่องจากไม่มีใครที่ปฏิเสธในสิ่งที่ท่านได้กล่าวมาเลย เพราะฟิรเอานฺที่อ้างตนว่าเป็นพระเจ้านั้น ก็ให้การยอมรับและเชื่อมั่นอยู่ในใจว่าแท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงมีอยู่จริงและคอยควบคุมจักรวาลทั้งมวล จากหลักฐานที่อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า

 (وَجَحَدُوا بِهَا وَاسْتَيْقَنَتْهَا أَنفُسُهُمْ ظُلْمًا وَعُلُوًّا) 

ความว่า “และพวกเขาได้ปฏิเสธมันอย่างไม่เป็นธรรมและเย่อหยิ่งทั้งๆ ที่จิตใจของพวกเขาเชื่อมั่น” (อัน-นัมลฺ 14)

และการยอมรับนี้ได้ปรากฏขึ้นมาจากปากของเขาขณะที่เขากำลังจมลงในทะเล

ทว่า ที่จริงแล้วเตาฮีดนั้นคือ การอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว และอิบาดะฮฺนั้นเป็นชื่อรวมของทุกๆ สิ่งที่อัลลอฮฺทรงรักและพอใจ ไม่ว่าจะเป็นคำพูดและการกระทำทั้งที่มองเห็นและไม่เห็น และคำว่า อิลาฮฺ ในประโยค ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ นั้นมีหมายความว่า ผู้ถูกเคารพอิบาดะฮฺ ซึ่งไม่มีสิ่งใดที่คู่ควรแก่การอิบาดะฮฺนอกจากพระองค์เท่านั้น

อับดุลลอฮฺ: แล้วท่านรู้หรือไม่ว่า ทำไมจึงได้มีการประทานรอซูลลงมาสู่โลก ซึ่งคนแรกก็คือ นบี นูหฺ  u ?

อับดุนนบี: เพื่อเรียกร้องและเชิญชวนชาวมุชริกีน (บรรดาผู้ตั้งภาคี) ไปสู่การอิบาดะฮฺต่อ อัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว และละทิ้งคู่ภาคีทั้งปวงที่พวกเขาชิริกกับพระองค์อัลลอฮฺ ﷻ‬

อับดุลลอฮฺ: แล้วอะไรที่เป็นสาเหตุทำให้พวกของนบีนูหฺชิริก(ตั้งภาคี)ต่ออัลอฮฺ ?

 อับดุนนบี: ฉันไม่รู้หรอก               

อับดุลลอฮฺ: อัลลอฮฺได้ส่งนบีนูหฺมายังหมู่ชนของเขาหลังจากที่พวกเขายกย่องและบูชาอย่างเลยเถิดต่อบรรดาผู้มีคุณธรรมในยุคนั้น นั่นก็คือ วั๊ด, สุวาอฺ, ยะฆูษ, ยะอู๊ก และ นัสรฺ

อับดุนนบี: ท่านหมายความว่า วั๊ด, สุวาอฺ, ยะฆูษ, ยะอู๊ก และ นัสรฺ  นั้นเป็นชื่อของบรรดาของศอลิฮีน ไม่ใช่ชื่อของเหล่าผู้อหังการที่ปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮฺเช่นนั้นหรือ ?

อับดุลลอฮฺ: ใช่ ชื่อเหล่านี้เป็นชื่อของชนชาวศอลิฮีนซึ่งหมู่ชนของนบีนูหฺได้นำมากราบไหว้และบูชา และชนชาวอาหรับก็ได้ตามพวกเขาในเรื่องดังกล่าว หลักฐานดังกล่าวจากบันทึกของ อัลบุคอรีย์ เล่าจากอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวว่า

(صَارَتِ الأوْثَانُ الَّتِي كَانَتْ فِي قَوْمِ نُوحٍ فِي الْعَرَبِ بَعْدُ، أَمَّا وَدٌّ كَانَتْ لِكَلْبٍ بِدَوْمَةِ الْجَنْدَلِ، وَأَمَّا سُوَاعٌ كَانَتْ لِهُذَيْلٍ، وَأَمَّا يَغُوثُ فَكَانَتْ لِمُرَادٍ ثُمَّ لِبَنِي غُطَيْفٍ بِالْجَوْفِ عِنْدَ سَبَإٍ، وَأَمَّا يَعُوقُ فَكَانَتْ لِهَمْدَانَ وَأَمَّا نَسْرٌ فَكَانَتْ لِحِمْيَرَ لآلِ ذِي الْكَلاعِ أَسْمَاءُ رِجَالٍ صَالِحِينَ مِنْ قَوْمِ نُوحٍ، فَلَمَّا هَلَكُوا أَوْحَى الشَّيْطَانُ إِلَى قَوْمِهِمْ أَنِِ انْصِبُوا إِلَى مَجَالِسِهِمْ الَّتِي كَانُوا يَجْلِسُونَ أَنْصَابًا وَسَمُّوهَا بِأَسْمَائِهِمْ فَفَعَلُوا فَلَمْ تُعْبَدْ، حَتَّى إِذَا هَلَكَ أُولَئِكَ وَتَنَسَّخَ الْعِلْمُ عُبِدَتْ)

ความว่า “รูปเคารพที่เกิดขึ้นมาจากกลุ่มชนนบีนูหฺสมัยก่อนได้กลายเป็นสิ่งเคารพบูชาของหมู่ชนชาวอาหรับหลังจากนั้น วั๊ดนั้นกลายเป็นรูปปั้นที่เคารพบูชาของเผ่ากัลบฺซึ่งอาศัยอยู่แถบเดามะตุลญุนดุล ส่วนสุวาอฺเป็นรูปปั้นของเผ่าฮุซัยลฺ ส่วนยะฆูษเป็นรูปปั้นของพวกมุรอด ต่อมาก็กลายเป็นรูปปั้นของเผ่าฆุฏ็อยฟฺซึ่งอาศัยอยู่แถบเมืองเญาฟฺ ในแคว้นสะบะอ์ ส่วนยะอูกก็กลายเป็นรูปปั้นของพวกฮัมดาน และนัสรฺเป็นรูปปั้นของชนชาวหิมยัรฺซึ่งเป็นของเครือญาติพรรคพวกกับซิลกิลาอฺ ชื่อรูปปั้นเหล่านี้เป็นชื่อของบรรดาศอลิฮีนในหมู่ชนของนบีนูหฺ หลังจากบุคคลเหล่านี้ได้เสียชีวิต ชัยฏอนได้ล่อลวงให้หมู่ชนของพวกเขาทำการสร้างเทวรูปบุคคลเหล่านั้น ณ ที่ที่พวกเขาเคยนั่งชุมนุมกัน และให้ตั้งชื่อเทวรูปเหล่านี้เหมือนกับชื่อพวกเขา แล้วหมู่ชนของพวกเขาก็ได้ทำตามแต่ยังไม่มีการบูชาแต่อย่างใด จนกระทั่งคนรุ่นแรกเหล่านี้ได้เสียชีวิตลง และความรู้สืบทอดเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ในอดีตได้เปลี่ยนไปทีละเล็กละน้อย จากนั้นจึงได้มีการบูชาเทวรูปเหล่านี้ขึ้น” (อัล-บุคอรีย์)

 อับดุนนบี: นี่เป็นคำพูดที่แปลกมาก !

อับดุลลอฮฺ: เอาไหมฉันจะบอกสิ่งที่แปลกยิ่งกว่า? นั่นคือการที่ท่านรู้ว่านบีคนสุดท้ายในบรรดานบีทั้งหลายนั้นคือมุหัมมัด e  อัลลอฮฺได้ส่งท่านลงมาสู่ชนกลุ่มหนึ่งที่มีพฤติกรรมขออภัยโทษ ทำอิบาดะฮฺ เฏาะวาฟรอบกะอฺบะฮฺ สะแอ และทำพิธีหัจญ์ รวมทั้งได้ทำทานบริจาค แต่พวกเขาเหล่านั้นได้นำมัคลูกสิ่งถูกสร้างบางส่วนมาเป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างพวกเขากับอัลลอฮฺ แล้วพวกเขากล่าวว่า สิ่งที่เราต้องการจากพวกเขาคือการที่เราสามารถใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ เราต้องการความช่วยเหลือชะฟาอะฮฺของพวกเขา เช่น จากบรรดามะลาอิกะฮฺ และจากนบีอีซา u และผู้คนอื่นๆ ที่เป็นเหล่าศอลิฮีนทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้อัลลอฮฺจึงได้ส่งนบีมุหัมมัด e เพื่อนำศาสนาบรรพบุรุษของพวกเขา ศาสนาของท่านนบีอิบรอฮีม u มาฟื้นฟูขึ้นใหม่ และชี้แจงต่อพวกเขาให้ได้รับรู้ว่าการที่พวกเขาเคารพบูชาตัวกลางเพื่อเป็นสื่อในการขอความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺและความเชื่อต่างๆ เช่นนั้น อนุญาตให้ทำได้เฉพาะกับอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ไม่สมควรมอบให้ผู้ใดทั้งสิ้นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ  เนื่องจากอัลลอฮฺคือผู้สร้างเพียงพระองค์เดียวโดยไม่มีผู้ใดร่วมสร้างกับพระองค์ และพระองค์เป็นผู้ให้ริซกีซึ่งไม่มีใครสามารถให้ริซกีได้นอกจากพระองค์  ท้องฟ้าทั้งเจ็ดและสิ่งถูกสร้างทั้งหลายบนฟ้า และพื้นดินทั้งเจ็ดและสิ่งถูกสร้างทั้งหลายในแผ่นดิน เหล่านี้ล้วนเป็นบ่าวของพระองค์ทั้งสิ้น ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของพระองค์ แม้กระทั่งบรรดาสิ่งที่ถูกบูชาซึ่งคนพวกนั้นเคารพบูชากัน ต่างก็ยอมรับว่าพวกเขาอยู่ใต้การปกครองและอำนาจของพระองค์เช่นเดียวกัน

 อับดุนนบี: นี่เป็นคำพูดที่อันตรายและแปลกเป็นอย่างยิ่ง ท่านมีหลักฐานในสิ่งที่ท่านพูดหรือไม่?

อับดุลลอฮฺ: หลักฐานนั้นมีอยู่มากมายดังเช่น พระดำรัสของอัลลอฮฺ ﷻ‬ ว่า

 (قُلْ مَن يَرْزُقُكُم مِّنَ السَّمَاءِ وَالْأَرْضِ أَمَّن يَمْلِكُ السَّمْعَ وَالْأَبْصَارَ وَمَن يُخْرِجُ الْحَيَّ مِنَ الْمَيِّتِ وَيُخْرِجُ الْمَيِّتَ مِنَ الْحَيِّ وَمَن يُدَبِّرُ الْأَمْرَ ۚ فَسَيَقُولُونَ اللَّهُ ۚ فَقُلْ أَفَلَا تَتَّقُونَ )

ความว่า “จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ใครเป็นผู้ประทานปัจจัยยังชีพที่มาจากฟากฟ้าและแผ่นดินแด่พวกท่าน หรือใครเป็นเจ้าของการได้ยินและการมอง และใครเป็นผู้ให้มีชีวิตหลังจากการตายและเป็นผู้ให้ตายหลังจากมีชีวิตมา และใครเป็นผู้บริหารกิจการ แล้วพวกเขาจะกล่าวกันว่า “อัลลอฮฺ” ดังนั้นจงกล่าวเถิด(มุหัมมัด) พวกท่านไม่ยำเกรงหรือ?” (ยูนุส 31)

 (قُلْ لِمَنِ الْأَرْضُ وَمَنْ فِيهَا إِنْ كُنْتُمْ تَعْلَمُونَ (84) سَيَقُولُونَ لِلَّهِ قُلْ أَفَلَا تَذَكَّرُونَ (85) قُلْ مَنْ رَبُّ السَّمَاوَاتِ السَّبْعِ وَرَبُّ الْعَرْشِ الْعَظِيمِ (86) سَيَقُولُونَ لِلَّهِ قُلْ أَفَلَا تَتَّقُونَ (87) قُلْ مَنْ بِيَدِهِ مَلَكُوتُ كُلِّ شَيْءٍ وَهُوَ يُجِيرُ وَلَا يُجَارُ عَلَيْهِ إِنْ كُنْتُمْ تَعْلَمُونَ (88) سَيَقُولُونَ لِلَّهِ قُلْ فَأَنَّى تُسْحَرُونَ)

ความว่า “จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) แผ่นดินนี้และผู้ที่อยู่ในนั้นเป็นของใครหากพวกท่านรู้ พวกเขาจะกล่าวว่า มันเป็นของอัลลอฮฺ จงกล่าวเถิดมุหัมมัด ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจะไม่พิจารณาใคร่ครวญหรือ ?   จงกล่าวเถิดมุหัมมัด  ใครเป็นเจ้าของชั้นฟ้าทั้งเจ็ด และเป็นผู้สร้างบัลลังก์อันยิ่งใหญ่ ? พวกเขาจะกล่าวว่า  มันเป็นของอัลลอฮฺ  จงกล่าวเถิดมุหัมมัด  ถ้าเช่นนั้นพวกท่านจะไม่ยำเกรงพระองค์หรือ ?  จงกล่าวเถิดมุหัมมัด  อำนาจอันกว้างใหญ่ไพศาลทุกสิ่งอย่างนี้อยู่ในพระหัตถ์ของผู้ใด ? และพระองค์เป็นผู้ทรงปกป้องคุ้มครอง และจะไม่มีใครปกป้องคุ้มครองพระองค์ หากพวกท่านรู้ พวกเขาจะกล่าวว่า มันเป็นของอัลลอฮฺ  จงกล่าวเถิดมุหัมมัด  ดังนั้นพวกท่านถูกหลอกลวงได้อย่างไร ?” (อัล-มุอ์มินูน 84-89)

และบรรดามุชริกีนนั้นจะกล่าวตัลบียะฮฺในระหว่างการทำหัจญ์ของพวกเขาว่า

(لبيك اللهم لبيك، لبيك لا شريك لك، إلا شريكاً هو لك، تملكه وما ملك)

ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ ฉันตอบสนองคำเรียกร้องของพระองค์แล้ว ฉันตอบสนองพระองค์ ฉันตอบสนองพระองค์โดยไม่มีสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์ นอกเสียจากภาคีที่เป็นของพระองค์ พระองค์ทรงครอบครองมันและสิ่งที่เป็นกรรมสิทธิของมัน”

ดังนั้นการยอมรับของบรรดามุชริกีนต่ออัลลอฮฺว่าพระองค์เป็นผู้ที่ควบคุมดูแลจักรวาล หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า (เตาฮีด อัร-รุบูบียะฮฺ) มิได้ทำให้พวกเขาเป็นอิสลามแต่อย่างใดไม่ และการที่พวกเขามุ่งหมายต่อเหล่ามะลาอิกะฮฺ หรือ บรรดานบี หรือ บรรดาวะลี เพื่อขอชะฟาอะฮฺและใช้เป็นสื่อกลางเพื่อใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺนั้น สิ่งเหล่านี้แหละที่เป็นมูลเหตุให้อนุมัติต่อสู้ญิฮาดกับพวกเขาได้ ดังนั้นจึงจำเป็นและวาญิบที่จะต้องขอดุอาอ์หรือพรใดๆ ต่ออัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ทุกๆ การบนบานก็เพื่อพระองค์ การเชือดสัตว์ใดๆ ก็ต้องทำเพื่อพระองค์ และการขอความช่วยเหลือใดๆ ก็ต้องขอต่อพระองค์ และทุกๆ อิบาดะฮฺนั้นเพื่อพระองค์เพียงองค์เดียวเท่านั้น

อับดุนนบี: หากเตาฮีดที่ท่านนบี e ได้เชิญชวนนั้นไม่ใช่การยอมรับว่าอัลลอฮฺมีอยู่จริงและการที่พระองค์เป็นผู้ปกครองจักรวาลดังที่ท่านได้กล่าวมานั้น แล้วเตาฮีดที่ว่ามันคืออะไร?

อับดุลลอฮฺ: เตาฮีดที่เหล่าศาสนทูตทั้งหลายได้ถูกแต่งตั้งมาเพื่อให้ทำการเชิญชวน และพวกมุชริกีนไม่ยอมรับนั้น คือ การทำทุกๆ อิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺและเพื่ออัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยไม่มีการมอบอิบาดะฮฺใดๆ ให้กับสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ เช่นการขอดุอาอ์ การบนบาน การเชือด การขอความช่วยเหลือ เป็นต้น และเตาฮีดนี่เองคือความหมายของการที่ท่านกล่าว ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ  ซึ่งคำว่า (อิลาฮฺ) ในทัศนะของพวกมุชริกีน คือสิ่งต่างๆ ที่พวกเขามุ่งหมายเพื่อทำการอิบาดะฮฺดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น มะลาอิกะฮฺ บรรดานบี วะลีย์ ต้นไม้ สุสาน หรือญิน ซึ่งคำว่า อิลาฮฺ สำหรับพวกเขานั้นไม่ได้หมายถึง ผู้สร้าง ผู้ให้ และครอบครอง ซึ่งพวกเขารู้ดีอยู่แล้วว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิทธิของอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียวดังที่ได้กล่าวมาให้ท่านฟัง ดังนั้นท่านนบี e จึงมาเพื่อเชิญชวนพวกเขาไปสู่ กะลิมะฮฺ อัต-เตาฮีด (ถ้อยคำแห่งเอกภาพ) คือ  ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ และให้ประพฤติปฏิบัติตามความหมายของมัน ไม่ใช่เพียงแค่การกล่าวด้วยวาจาเท่านั้น

อับดุนนบี: เหมือนกับท่านจะบอกว่า ชาวมุชริกีนสมัยก่อนนั้นเข้าใจความหมายของ ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ มากกว่ามุสลิมีนในสมัยนี้ ?

อับดุลลอฮฺ: นี่คือความเป็นจริง – และเป็นที่น่าเสียดาย – เพราะแท้จริง แม้แต่บรรดากาฟิรที่โง่เขลาต่างก็รู้ดีว่าสิ่งท่านนบีหมายถึงไว้ในกะลีมะฮฺนี้คือการปฏิบัติอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียวและปฏิเสธในทุกๆ สิ่งที่ได้บูชานอกเหนือจากพระองค์ รวมทั้งปลีกตัวออกห่างจากสิ่งเหล่านั้น เนื่องจากเมื่อท่านนบี e  ได้กล่าวแก่พวกเขาว่า “พวกท่านจงกล่าว ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ พวกเขาตอบกลับมาว่า

 (أَجَعَلَ الْآلِهَةَ إِلَٰهًا وَاحِدًا ۖ إِنَّ هَٰذَا لَشَيْءٌ عُجَابٌ)

ความว่า “เขาได้ทำให้พระเจ้าหลายองค์เป็นพระเจ้าองค์เดียวกระนั้นหรือ ? แท้จริงนี่เป็นเรื่องประหลาดจริง ๆ”(ศอด 5)

พร้อมๆ กับที่พวกเขาเชื่อว่าแท้จริงอัลลอฮฺคือผู้ปกครองจักรวาลนี้ และหากว่าแม้แต่บรรดากาฟิรที่โง่เขลาต่างก็รู้ในเรื่องเหล่านี้ ดังนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่น่าแปลกสำหรับผู้ที่อ้างตนว่าเป็นมุสลิมแต่ไม่รู้การอธิบายความหมายของการกล่าวปฏิญาณตนนี้เหมือนที่บรรดากาฟิรต่างรู้ดี หากแต่เขายังคิดว่ามันคือการกล่าวตามตัวอักษรโดยไม่ต้องมากับความเชื่อที่ต้องยึดมั่นศรัทธาในหัวใจแต่อย่างใด แม้แต่คนฉลาดในบรรดาพวกเขาเองก็ยังคิดว่าความหมายของ ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ นั้นมีเพียงแค่ความหมายว่า ไม่มีผู้ใดที่สร้างนอกจากอัลลอฮฺ ไม่มีผู้ใดที่ให้ริซกีนอกจากอัลลอฮฺ และไม่มีผู้ใดที่คอยควบคุมทุกสิ่งนอกจากอัลลอฮฺ ดังนั้น จะมีความดีงามใดๆ อีกเล่า สำหรับคนที่อ้างตัวเองว่าเป็นมุสลิม แต่กลับไม่เข้าใจความหมายของ ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ ในขณะที่กาฟิรกุร็อยชฺผู้โง่เขลากลับมีความรู้ความเข้าใจในความหมายของมันมากกว่าเขาเสียอีก

อับดุนนบี: แต่ฉันไม่เคยตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ ทว่าฉันยังปฏิญาณและศรัทธาว่า ไม่มีผู้ใดที่สร้างและให้ริซกีและไม่สามารถให้คุณหรือให้โทษนอกเสียจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว และเชื่อว่ามุหัมมัด ﷺ‬ นั้นไม่มีความสามารถในการให้คุณหรือให้โทษกับตัวเอง นับประสาอะไรกับท่าน อะลี และหุเซ็น และอับดุลกอดิร และคนอื่น หากแต่ฉันเป็นผู้ที่มีบาป ส่วนบรรดาศอลิฮีนนั้น พวกเขาเป็นคนมีเกียรติ ณ อัลลอฮฺ และฉันก็เพียงแค่ขอให้พวกเขาให้ความช่วยเหลือชะฟาอะฮฺแก่ฉันด้วยเกียรติที่พวกเขามี ณ อัลลอฮฺเท่านั้น

อับดุลลอฮฺ: คำตอบของฉันก็เหมือนกับที่ได้กล่าวแล้ว นั่นคือ บรรดากาฟิรที่เหล่านบีได้ต่อสู้ด้วยนั้นต่างก็ยอมรับในสิ่งที่ท่านได้กล่าวและยังเชื่อว่าบรรดารูปปั้นทั้งหลายของพวกเขานั้นไม่ได้มีส่วนในการควบคุมบริหารจัดการแต่อย่างใด หากแต่พวกเขาต้องการแค่เกียรติและความช่วยเหลือชะฟาอะฮฺ และเราก็ได้แสดงหลักฐานจากอัลกุรอานเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว

อับดุนนบี: แต่ทว่าอายะฮฺที่ท่านกล่าวมานี้ได้ประทานลงมาเกี่ยวกับผู้ที่บูชารูปปั้น แล้วท่านนำเอาบรรดาศอลิฮีนและบรรดานบีมาเปรียบเช่นดังเจว็ดรูปปั้นได้อย่างไรกัน ?

อับดุลลอฮฺ: ก่อนหน้านี้เรามีความเห็นตรงกันว่ารูปปั้นบางรูปนั้นได้ตั้งชื่อด้วยชื่อของบรรดา ศอลิฮีนบางคน ดังเช่นในสมัยของท่านนบีนูหฺ u และบรรดากาฟิรไม่ได้ต้องการจากรูปปั้นเหล่านี้นอกเสียจากการให้ความช่วยเหลือชะฟาอะฮฺของพวกเขาต่อหน้าอัลลอฮฺ เพราะเชื่อว่ารูปปั้นดังกล่าวนั้นมีสถานะ ณ อัลลอฮฺ หลักฐานก็คืออัลกุรอานที่อัลลอฮฺ ﷻ‬ ได้ตรัสไว้ว่า

 (وَالَّذِينَ اتَّخَذُوا مِنْ دُونِهِ أَوْلِيَاءَ مَا نَعْبُدُهُمْ إِلا لِيُقَرِّبُونَا إِلَى اللَّهِ زُلْفَى )

ความว่า “ส่วนบรรดาผู้ที่ยึดถือเอาบรรดาผู้คุ้มครองอื่นจากอัลลอฮฺ โดยกล่าวว่าเรามิได้เคารพภักดีพวกเขา เว้นแต่เพื่อทำให้เราเข้าใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺเท่านั้น” (อัซ-ซุมัร 3)

ส่วนคำพูดของท่านที่ว่า ท่านนำเอาบรรดาศอลิฮีนเปรียบดังเช่นรูปปั้นได้อย่างไร ? เราขอบอกท่านว่า แท้จริงบรรดากาฟิรที่อัลลอฮฺได้ส่งท่านนบี ﷺ‬ ให้พวกเขานั้นบางคนก็ขอพรจากบรรดาวะลีย์ซึ่งคนเหล่านี้อัลลอฮฺได้กล่าวว่า

 (أُولَٰئِكَ الَّذِينَ يَدْعُونَ يَبْتَغُونَ إِلَىٰ رَبِّهِمُ الْوَسِيلَةَ أَيُّهُمْ أَقْرَبُ وَيَرْجُونَ رَحْمَتَهُ وَيَخَافُونَ عَذَابَهُ ۚ إِنَّ عَذَابَ رَبِّكَ كَانَ مَحْذُورًا.)

ความว่า “บรรดาสิ่งที่พวกตั้งภาคีวิงวอนนั้น พวกมันเองก็ยังหวังที่จะหาทางเข้าสู่พระเจ้าของพวกมันว่า ผู้ใดในหมู่พวกมันจะเข้าใกล้ที่สุดและยังหวังในความเมตตาของพระองค์ และกลัวการลงโทษของพระองค์ แท้จริงการลงโทษของพระเจ้าของเจ้านั้นควรน่าระวัง” (อัล-อิสรออ์ 57)

และบางคนก็ขอจากนบีอีซา u และมารดาของท่าน ซึ่งอัลลอฮฺ ﷻ‬ ได้ตรัสว่า

 (وَإِذْ قَالَ اللَّهُ يَا عِيسَى ابْنَ مَرْيَمَ ءأَنتَ قُلْتَ لِلنَّاسِ اتَّخِذُونِي وَأُمِّيَ إِلَٰهَيْنِ مِن دُونِ اللَّهِ)

ความว่า “และจงรำลึกถึงขณะที่ อัลลอฮฺ ตรัสว่า อีซาบุตรของมัรยัมเอ๋ย! เจ้าพูดแก่ผู้คนกระนั้นหรือว่า จงยึดถือฉันและมารดาของฉันเป็นที่เคารพสักการะอื่นจากอัลลอฮฺ” (อัล-มาอิดะฮฺ 116)

และบางคนก็ขอจากมะลาอิกะฮฺ ซึ่งอัลลอฮฺ ﷻ‬ ได้ตรัสว่า

 (وَيَوْمَ يَحْشُرُهُمْ جَمِيعًا ثُمَّ يَقُولُ لِلْمَلَائِكَةِ أَهَٰؤُلَاءِ إِيَّاكُمْ كَانُوا يَعْبُدُونَ )

ความว่า “และวันที่พระองค์จะทรงรวบรวมพวกเขาทั้งหมด แล้วพระองค์จะตรัสแก่มะลาอิกะฮฺว่า “พวกเขาเหล่านั้นนะหรือที่เคารพภักดีต่อพวกเจ้า?” (สะบะอ์ 40)

ดังนั้น ท่านลองไตร่ตรองอายะฮฺเหล่านี้ให้ดีจะพบว่าอัลลอฮฺได้ถือว่าผู้ที่ขอจากรูปปั้นนั้นเป็นกาฟิร และถือว่าผู้ที่ขอจากบรรดาศอลิฮีนไม่ว่าจะเป็นบรรดานบี มะลาอิกะฮฺ และบรรดาวะลีย์ ก็มีความเท่าเทียมกันว่าเป็นกาฟิร และท่านรอซูลุลลอฮฺ ﷺ‬  ก็ได้ต่อสู้กับผู้คนเหล่านี้โดยไม่ได้แบ่งแยกพวกเขาแต่อย่างใด

อับดุนนบี: แต่บรรดากาฟิรต้องการประโยชน์จากรูปปั้นเหล่านั้น ส่วนฉันไม่ใช่ ฉันเชื่อว่าแท้จริงอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียวเท่านั้นเป็นผู้ให้คุณ ให้โทษและผู้ควบคุมทุกสิ่ง ฉันไม่ต้องการสิ่งเหล่านี้จากใครนอกจากพระองค์เท่านั้น และแน่นอนว่าบรรดาศอลิฮีนเหล่านั้นก็ไม่มีความสามารถใดๆ แต่ที่ฉันมุ่งหมายต่อพวกเขาก็คือเพื่อหวังการให้ชะฟาอะฮฺของพวกเขา ณ องค์อัลลอฮฺ

อับดุลลอฮฺ: คำพูดของท่านนี้ไม่ได้แตกต่างไปจากคำพูดของบรรดากาฟิรเลย หลักฐานก็คือพระดำรัสของอัลลอฮฺ ﷻ‬ ที่ว่า

 (وَيَعْبُدُونَ مِن دُونِ اللَّهِ مَا لَا يَضُرُّهُمْ وَلَا يَنفَعُهُمْ وَيَقُولُونَ هَٰؤُلَاءِ شُفَعَاؤُنَا عِندَ اللَّهِ)

ความว่า “และพวกเขาเคารพภักดีสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ที่มิได้ให้โทษแก่พวกเขาและมิได้ให้ประโยชน์แก่พวกเขา และพวกเขาจะกล่าวว่า เหล่านี้คือผู้ช่วยเหลือเรา ณ ที่อัลลอฮฺ” (ยูนุส 18)

อับดุนนบี: แต่ฉันไม่ได้สักการะบูชาสิ่งใดๆ นอกจากอัลลอฮฺ ส่วนการมุ่งหมายต่อพวกเขาเหล่านี้และการขอต่อพวกเขาไม่ได้ถือว่าเป็นอิบาดะฮฺ !

อับดุลลอฮฺ: ฉันขอถามท่านว่า: ท่านยอมรับหรือไม่ว่าอัลลอฮฺทรงกำหนดให้ต้องมีการบริสุทธิ์ใจในการทำอิบาดะฮฺต่อพระองค์ และมันเป็นสิทธิของพระองค์ที่ท่านต้องปฏิบัติ ดังที่พระองค์ได้ตรัสว่า

 (وَمَا أُمِرُوا إِلَّا لِيَعْبُدُوا اللَّهَ مُخْلِصِينَ لَهُ الدِّينَ حُنَفَاءَ)

ความว่า “และพวกเขามิได้ถูกบัญชาให้กระทำอื่นใดนอกจากเพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ เป็นผู้มีเจตนาบริสุทธิ์ในการภักดีต่อพระองค์ เป็นผู้อยู่ในแนวทางที่เที่ยงตรง” (อัล-บัยยินะฮฺ 5)

อับดุนนบี: แน่นอน พระองค์ได้กำหนดไว้เช่นนั้น

อับดุลลอฮฺ: ถ้าเช่นนั้น ฉันขอให้ท่านช่วยให้ความกระจ่างเกี่ยวบทบัญญัติให้เรื่องนี้ที่พระองค์ได้ทรงกำหนดเหนือท่าน นั่นคือการอิคลาศ(บริสุทธิ์ใจ)ในการทำอิบาดะฮฺ ?

อับดุนนบี: ฉันไม่เข้าใจสิ่งที่ท่านหมายถึงในคำถามนี้ ขอให้ท่านชี้แจงด้วย

อับดุลลอฮฺ: ขอให้ท่านฟังฉัน ฉันจะอธิบายให้ท่านได้เข้าใจ อัลลอฮฺ ﷻ‬ ได้ตรัสว่า

 (ادْعُوا رَبَّكُمْ تَضَرُّعًا وَخُفْيَةً إِنَّهُ لا يُحِبُّ الْمُعْتَدِينَ)

ความว่า “พวกเจ้าจงวิงวอนต่อพระเจ้าของพวกเจ้าในสภาพถ่อมตนและปกปิด แท้จริงพระองค์ไม่ทรงชอบบรรดาผู้ที่ละเมิด” (อัล-อะอฺรอฟ 55)

จากโองการนี้ ถือว่าการขอดุอาอ์เป็นอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺหรือไม่ ?

อับดุนนบี: แน่นอน และมันเปรียบเสมือนรากฐานหลักของอิบาดะฮฺเลยทีเดียว ดังหะดีษที่ว่า

 « الدُّعَاءُ هُوَ الْعِبَادَةُ ».

ความว่า ”การขอดุอาอ์นั้นคืออิบาดะฮฺ“ (รายงานโดย อบู ดาวูด)

อับดุลลอฮฺ: ในเมื่อท่านให้การยอมรรับแล้วว่ามันเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ และท่านก็ได้ทำการขอ ดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺทั้งเวลาค่ำและยามเช้าด้วยใจที่เปี่ยมไปด้วยความกลัวและความหวังในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หลังจากนั้นท่านก็ไปขอสิ่งนั้นจากนบีหรือมะลาอิกะฮฺหรือคนศอลิหฺ ณ สุสานของเขา เช่นนี้ถือว่าท่านได้ชิริกหรือตั้งภาคีในอิบาดะฮฺนี้กับพระองค์อัลลอฮฺหรือไม่?

อับดุนนบี: ใช่ ฉันได้ชิริกแล้ว และนี่เป็นคำพูดที่ถูกต้องและชัดเจน

อับดุลลอฮฺ: มีอีกตัวอย่างหนึ่ง คือ เมื่อท่านทราบถึงพระดำรัสของอัลลอฮฺ ﷻ‬ ที่ว่า

(فَصَلِّ لِرَبِّكَ وَانْحَرْ)

ความว่า “ดังนั้น เจ้าจงละหมาดเพื่อพระเจ้าของเจ้าและจงเชือดสัตว์พลี” (อัล-เกาษัร 2)    

และท่านก็ได้ทำตามที่พระองค์ได้สั่งไว้และได้ทำการเชือดเพื่อพระองค์ สิ่งนี้ได้ถือว่าเป็น อิบาดะฮฺต่อพระองค์หรือไม่ ?

อับดุนนบี: ใช่ เป็นอิบาดะฮฺแน่นอน

อับดุลลอฮฺ: แล้วหากท่านไปทำการเชือดให้กับมัคลูกอื่น เช่น นบี หรือ ญิน หรือสิ่งอื่นใดนอกจากสองกลุ่มนี้ เช่นนี้ถือว่าท่านได้ทำการชิริกในอิบาดะฮฺนี้กับสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺหรือไม่ ?

อับดุนนบี: แน่นอนว่าเป็นชิริกโดยมิต้องสงสัย          

อับดุลลอฮฺ: และฉันก็ได้ยกตัวอย่างมาให้ท่านด้วยตัวอย่างของการขอดุอาอ์และการเชือด เนื่องจากการขอดุอาอ์นั้นเป็นอิบาดะฮฺ เกาลิยะฮฺ (อิบาดะฮฺประเภทที่กล่าวด้วยวาจา)ที่ยืนยันชัดเจนที่สุด และการเชือดนั้นเป็นอิบาดะฮฺ ฟิอฺลียะฮฺ(อิบาดะฮฺประเภทที่ทำด้วยการลงมือปฏิบัติ)ที่ยืนยันชัดเจนที่สุดในประเภทนี้ และอิบาดะฮฺนั้นไม่ได้เจาะจงแค่สองสิ่งนี้เท่านั้น หากแต่มีความครอบคลุมมากกว่านี้ ซึ่งรวมไปถึงการบนบาน การขอความคุ้มครอง การขอความช่วยเหลือ และอื่นๆ  ขอถามว่าบรรดามุชริกีนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาในสมัยพวกเขานั้นได้ทำการอิบาดะฮฺต่อมะลาอิกะฮฺ เหล่าศอลิฮีน รูปปั้น และสิ่งอื่นๆ หรือเปล่า ?

อับดุนนบี: แน่นอน พวกเขาได้กระทำเช่นนั้น

อับดุลลอฮฺ: แล้วการอิบาดะฮฺของพวกเขาต่อสิ่งเหล่านั้นมีอะไรอื่นอีกเล่านอกจากในรูปแบบของการขอดุอาอ์ การเชือด การขอความคุ้มครอง การขอความช่วยเหลือ และการอ้อนวอน ในขณะที่พวกเขาเองต่างก็ยอมรับว่าพวกเขานั้นเป็นบ่าวและอยู่ใต้การควบคุมของพระองค์ และอัลลอฮฺคือผู้ที่ควบคุมทุกสิ่ง หากแต่การขอดุอาอ์ของพวกเขาต่อสิ่งเหล่านั้นก็เพียงเพื่อพึ่งเกียรติของพวกเขาและการชะฟาอะฮฺของพวกเขา ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ชัดเจนยิ่ง

อับดุนนบี: ท่านจะปฏิเสธหรือ อับดุลลอฮฺ เกี่ยวกับการให้ชะฟาอะฮฺของท่านรอซูลุลลอฮฺ e และท่านจะหลีกเลี่ยงไม่สนใจมันอย่างนั้นหรือ ?

อับดุลลอฮฺ: ไม่ ฉันไม่ปฏิเสธและก็ไม่ได้ขอหลีกพ้นจากมัน หากแต่ท่านนบี e  –ซึ่งฉันยินยอมไถ่ตัวท่านด้วยบุพการีทั้งสองของฉัน- คือผู้ที่จะให้ชะฟาอะฮฺและได้รับอนุมัติเพื่อให้ชะฟาอะฮฺ และฉันก็หวังว่าจะได้รับชะฟาอะฮฺของท่านเช่นเดียวกัน หากแต่การให้ชะฟาอะฮฺทั้งหมดนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ดังที่พระองค์ได้ตรัสว่า

 (قُل لِّلَّهِ الشَّفَاعَةُ جَمِيعًا)

ความว่า “จงกล่าวเถิดมุหัมมัด สำหรับอัลลอฮฺนั้นคือสิทธิแห่งการให้ชะฟาอะฮฺทั้งปวง” (อัซ-ซุมัร 44)

 และจะไม่มีวันเกิดขึ้นได้นอกจากพระองค์จะทรงอนุญาต ดังพระดำรัสของอัลลอฮฺ ﷻ‬ ที่ว่า

  (مَنْ ذَا الَّذِي يَشْفَعُ عِنْدَهُ إِلَّا بِإِذْنِهِ)

ความว่า “ใครเล่าคือผู้ที่จะคอยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่น ณ ที่พระองค์ได้ นอกจากด้วยอนุมัติของพระองค์เท่านั้น ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 255)

และจะไม่สามารถให้ชะฟาอะฮฺแก่ผู้ใดได้เว้นแต่หลังจากที่พระองค์ทรงอนุญาต ดังพระดำรัสของอัลลอฮฺ ﷻ‬ ที่ว่า

 (وَلَا يَشْفَعُونَ إِلَّا لِمَنِ ارْتَضَىٰ)

ความว่า “และพวกเขาจะไม่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใดได้ นอกจากแก่ผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย” (อัล-อันบิยาอ์ 21)

และพระองค์จะทรงไม่ยินยอมให้กับผู้ใดนอกเสียจากคนผู้นั้นมีศรัทธาและเชื่อมั่นต่อเอกภาพของอัลลอฮฺ ดังที่พระองค์ได้กล่าวว่า

(وَمَنْ يَبْتَغِ غَيْرَ الإِسْلامِ دِينًا فَلَنْ يُقْبَلَ مِنْهُ وَهُوَ فِي الآخِرَةِ مِنَ الْخَاسِرِينَ)

ความว่า “และผู้ใดแสวงหาศาสนาหนึ่งศาสนาใดอื่นจากอิสลามแล้ว ศาสนานั้นก็จะไม่ถูกรับจากเขาเป็นอันขาด และในปรโลกเขาจะอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน” (อาล อิมรอน 85)

ดังนั้น หากการให้ชะฟาอะฮฺทั้งหมดนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ และจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เว้นแต่หลังจากที่พระองค์ทรงอนุมัติ และท่านนบี e หรือผู้อื่นก็ไม่อาจจะให้ชะฟาอะฮฺกับผู้ใดได้จนกว่าพระองค์จะทรงอนุญาต และพระองค์จะไม่ทรงอนุญาตนอกจากให้กับผู้ที่ศรัทธาในเอกภาพของพระองค์เท่านั้น เมื่อเป็นที่ชัดเจนว่าการให้ชะฟาอะฮฺทั้งหมดนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์แล้ว ฉันก็จะขอจากพระองค์ โดยฉันจะกล่าวด้วยถ้อยคำเช่น

  (اللهم لا تحرمني شفاعته، اللهم شفع رسولك في).

คำอ่าน อัลลอฮุมมะ ลา ตะหฺริมนี ชะฟาอะตะฮฺ, อัลลอฮุมมะ ชัฟฟิอฺ เราะสูละกะ ฟิยยะ

ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์อย่าได้ทรงห้ามฉันจากการได้รับชะฟาอะฮฺของท่านนบี โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงอนุมัติชะฟาอะฮฺของรอซูลของท่านแก่ข้าพระองค์ด้วยเทอญ” เป็นต้น

 อับดุนนบี:

 เรามีความเห็นที่เหมือนกันว่าไม่อนุญาตให้ขอต่อผู้ใดก็ตามในสิ่งที่ไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของเขา แต่ท่านนบี e นั้น อัลลอฮฺได้ทรงประทานสิทธิการให้ชะฟาอะฮฺแก่ท่าน และเมื่อพระองค์ได้มอบสิทธินั้นให้กับท่านแล้ว แน่นอนว่ามันย่อมเป็นกรรมสิทธิของท่าน ด้วยเหตุนี้ ย่อมเป็นการอนุญาตถ้าหากฉันจะขอจากท่านในสิ่งที่ท่านถือครอง และดังกล่าวนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นการชิริก

อับดุลลอฮฺ: แน่นอนว่าที่ท่านกล่าวมานี้ถูกต้องหากอัลลอฮฺ ﷻ‬ ไม่ทรงห้ามเช่นนั้น ซึ่งอัลลอฮฺได้ตรัสว่า

 ( فَلَا تَدْعُوا مَعَ اللَّهِ أَحَدًا)

ความว่า “ดังนั้น พวกเจ้าอย่าได้วิงวอนขอผู้ใดเคียงคู่กับอัลลอฮฺ” (อัล-ญิน 18)

และการขอชะฟาอะฮฺนั้นเป็นดุอาอ์ และผู้ที่มอบชะฟาอะฮฺให้ต่อท่านนบีนั้นคืออัลลอฮฺ และพระองค์ทรงเป็นผู้ที่ห้ามท่านไม่ให้ขอสิ่งนั้นจากผู้อื่นนอกจากพระองค์ไม่ว่าคนที่ท่านขอนั้นจะเป็นใครก็ตาม และการชะฟาอะฮฺนั้นอัลลอฮฺยังได้ประทานให้แก่ผู้อื่นนอกจากท่านนบี e ด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่มีรายงานยืนยันว่าแม้แต่บรรดามะลาอิกะฮฺก็สามารถให้ชะฟาอะฮฺได้ บรรดาเด็กเล็กที่เสียชีวิตขณะที่ยังไม่บรรลุอายุขัยตามศาสนภาวะก็ให้ชะฟาอะฮฺได้ และบรรดาวะลีย์ทั้งหลายก็สามารถให้ชะฟาอะฮฺได้ แล้วท่านยังจะบอกว่า แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงมอบการสิทธิการชะฟาอะฮฺแก่พวกเขา แล้วฉันก็จะขอจากพวกเขา เช่นนั้นหรือ ? ถ้าท่านกล่าวเช่นนั้น แสดงว่าท่านได้กลับมาทำการอิบาดะฮฺต่อบรรดาศอลิฮีนตามที่อัลลอฮฺได้กล่าวในอัลกุรอานของพระองค์ และหากท่านกล่าวว่า ไม่ใช่ ก็แสดงว่าคำพูดของท่านที่ว่า “อัลลอฮฺทรงมอบชะฟาอะฮฺให้เขาแล้วฉันก็จะขอจากเขานั้น” ย่อมเป็นโมฆะ

อับดุนนบี: แต่ว่า ฉันไม่เคยตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ และการพึ่งหวังต่อบรรดาศอลิฮีนนั้นไม่ถือว่าเป็นชิริก

อับดุลลอฮฺ: ท่านยอมรับและเชื่อหรือไม่ว่าการห้ามชิริกนั้นหนักยิ่งกว่าการห้ามซินา และแท้จริง พระองค์จะไม่ทรงให้อภัยบาปของการทำชิริก ?

อับดุนนบี: แน่นอน ฉันเชื่อและยอมรับเช่นนั้น ซึ่งอัลลอฮฺได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนในพระดำรัสของพระองค์

อับดุลลอฮฺ: ตอนนี้ท่านได้ปฏิเสธว่าตัวเองมิได้ทำชิริกตามที่อัลลอฮฺได้ทรงห้าม ดังนั้นขอท่านช่วยให้ความกระจ่างแก่ฉันว่าอะไรคือชิริกต่ออัลลอฮฺที่ท่านบอกว่าท่านมิได้ทำ และท่านได้ปฏิเสธว่าตัวเองไม่ได้ก่อไว้ ?

อับดุนนบี: ชิริกคือการบูชาและอิบาดะฮฺต่อรูปปั้น และการมุ่งไปสู่มัน และขอจากมัน และกลัวต่อมัน

อับดุลลอฮฺ: อะไรคือความหมายของการอิบาดะฮฺต่อรูปปั้น ? ท่านคิดหรือว่าบรรดากาฟิรกุร็อยช์นั้นศรัทธาว่า บรรดาไม้และหินต่างๆ นั้นเป็นผู้สร้าง เป็นผู้ให้และผู้คอยจัดการสิ่งต่างๆ ให้กับผู้ที่ได้ขอจากมันกระนั้นหรือ ? ซึ่งพวกเขามิได้มีความเชื่อเช่นนั้นเลยแต่อย่างใด ดังที่ฉันเคยชี้แจงแก่ท่านแล้วก่อนหน้านี้

อับดุนนบี: ฉันเองก็ไม่ได้เชื่อเยี่ยงนั้น หากแต่ผู้ที่มุ่งไปยังขอนไม้ หรือหิน หรือสุสาน หรือสิ่งอื่นๆ ที่กล่าวมานี้ เขาจะวอนขอต่อมันและทำการเชือดให้สิ่งนั้น โดยที่พวกเขากล่าวว่า แท้จริงเราหวังว่าพวกเขาจะทำให้เราสามารถใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ และอัลลอฮฺจะทรงปกป้องเราด้วยความประเสริฐของพวกเขาเหล่านั้น และนี่คือสิ่งที่ฉันหมายถึงในการทำอิบาดะฮฺต่อรูปปั้น

อับดุลลอฮฺ: ท่านกล่าวถูกต้องแล้ว และพฤติกรรมเหล่านี้ก็คือสิ่งเดียวกันกับที่พวกท่านได้กระทำอยู่ ณ ก้อนหิน อาคาร และศาลาที่ก่อสร้างบนสุสานและอื่นๆ และคำพูดของท่านที่กล่าวว่า ชิริกคือการอิบาดะฮฺต่อบรรดารูปปั้น ท่านหมายถึงว่าชิริกนั้นเจาะจงเฉพาะกับผู้ที่กระทำเช่นนั้น ส่วนการยึดมั่นพึ่งพิงต่อบรรดาซอลิฮีนและการขอดุอาอ์จากพวกเขานั้นไม่ถือว่าเป็นชิริก ใช่หรือไม่ ?

อับดุนนบี: ใช่แล้ว นี่คือความหมายที่ฉันต้องการ

อับดุลลอฮฺ: ถ้าเช่นนั้นท่านจะว่าอย่างไรกับโองการต่างๆ ที่อัลลอฮฺได้ทรงห้ามไม่ให้ยึดมั่นพึ่งพิงบรรดาซอลิฮีน และบรรดามะลาอิกะฮฺและสิ่งอื่นๆ และได้ถือว่าผู้ที่กระทำเช่นนั้นเป็นกาฟิร ดังที่ฉันเคยบอกท่านก่อนหน้านี้ ?

 อับดุนนบี:

แต่ว่าบรรดาผู้ที่ขอดุอาอ์จากมะลาอิกะฮฺและบรรดานบีนั้นไม่ได้เป็นกาฟิรด้วยเหตุดังกล่าว หากแต่พวกเขาเป็นกาฟิรหลังจากที่พวกเขากล่าวว่า แท้จริงบรรดามะลาอิกะฮฺนั้นเป็นบุตรสาวของอัลลอฮฺ และนบีอีซานั้นเป็นบุตรของอัลลอฮฺ แต่พวกเรามิได้กล่าวว่า อับดุลกอดิรเป็นบุตรของอัลลอฮฺ หรือ ซัยนับเป็นบุตรสาวของอัลลอฮฺ

อับดุลลอฮฺ:

เกี่ยวกับการพาดพิงลูกต่ออัลลอฮฺนั้นเป็นชิริกอีกประเภทหนึ่งต่างหาก อัลลอฮฺ ﷻ‬ ได้ตรัสว่า

 (قُلْ هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ (1) اللَّهُ الصَّمَدُ (2) لَمْ يَلِدْ وَلَمْ يُولَدْ)

ความว่า “จงกล่าวเถิด มุหัมมัด พระองค์คืออัลลอฮฺผู้ทรงเอกะ อัลลอฮฺนั้นทรงเป็นที่พึ่ง” (อัล-อิคลาศ 1-2)

(อัล-อะหัด : คือผู้ที่ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์ และ อัศ-เศาะมัด คือ ผู้ที่เรามุ่งหมายในการขอสิ่งต่างๆ) ดังนั้น ผู้ใดที่ปฏิเสธสิ่งนี้ถือว่าเป็นกาฟิรแม้ว่าเขาจะไม่ปฏิเสธข้อเท็จจริงในท้ายสูเราะฮฺก็ตาม และอัลลอฮฺก็ยังได้ตรัสว่า

 (مَا اتَّخَذَ اللَّهُ مِن وَلَدٍ وَمَا كَانَ مَعَهُ مِنْ إِلَٰهٍ ۚ إِذًا لَّذَهَبَ كُلُّ إِلَٰهٍ بِمَا خَلَقَ وَلَعَلَا بَعْضُهُمْ عَلَىٰ بَعْضٍ ۚ)

ความว่า “อัลลอฮฺมิได้ทรงตั้งผู้ใดเป็นบุตรและไม่มีพระเจ้าอื่นใดคู่เคียงกับพระองค์ ถ้าเช่นนั้นพระเจ้าแต่ละองค์ก็จะเอาสิ่งที่ตนสร้างไปเสียหมด และแน่นอนพระเจ้าบางพระองค์ในหมู่พวกเขาก็จะมีอำนาจเหนือกว่าอีกบางองค์” (อัล-มุอ์มินูน 91)

ดังนั้น เห็นได้ว่าพระองค์ได้ทรงแยกระหว่างการเป็นกาฟิรสองประเภทนี้ และหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมอีกเช่นกันคือ แท้จริงบรรดากาฟิรที่ได้ทำการขอดุอาอ์ต่อ อัล-ลาต ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาชนชาวศอลิหฺนั้นพวกเขาก็มิได้คิดว่า อัล-ลาต เป็นบุตรของอัลลอฮฺแต่อย่างใดไม่ และกาฟิรที่บูชาญินก็มิได้คิดว่าญินนั้นเป็นบุตรของอัลลอฮฺ และบรรดาอุละมาอ์ในมัซฮับทั้งสี่ต่างก็ได้อธิบายในเรื่อง (บัญญัติว่าด้วยการเป็นมุรตัด) ว่า แท้จริงมุสลิมนั้นหากเขาได้อ้างว่าอัลลอฮฺนั้นมีบุตรแล้วไซร้ ก็ถือว่าเขาได้เป็นมุรตัดแล้ว และหากเขาทำการชิริกต่ออัลลอฮฺ แน่นอนเขาก็เป็นมุรตัดเช่นกัน โดยที่พวกเขาได้แยกระหว่างกุฟรฺสองประเภทนี้

 อับดุนนบี: แต่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

 (أَلا إِنَّ أَوْلِيَاءَ اللَّهِ لاَ خَوْفٌ عَلَيْهِمْ وَلاَ هُمْ يَحْزَنُونَ)

ความว่า “พึงทราบเถิด แท้จริง บรรดาคนที่อัลลอฮฺรักนั้น ไม่มีความหวาดกลัวใดๆ แก่พวกเขา และพวกเขาจะไม่เศร้าโศกเสียใจ” (ยูนุส 62)

อับดุลลอฮฺ:

เราก็เชื่อว่านั่นเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเราก็กล่าวเช่นนั้นเหมือนกัน หากแต่พวกเขาจะต้องไม่ถูกอิบาดะฮฺ และเราไม่ได้ปฏิเสธในเรื่องเหล่านี้เลยนอกจากในประเด็นการทำ อิบาดะฮฺต่อพวกเขาพร้อมกับอัลลอฮฺ  และการให้สิทธิแก่พวกเขาจนเทียบเคียงเป็นภาคีกับอัลลอฮฺ หาไม่แล้ว ย่อมเป็นสิ่งวาญิบ(จำเป็น)ที่ท่านจะต้องรักพวกเขาและทำตามพวกเขาและยอมรับในกะรอมาตของพวกเขา และไม่มีผู้ใดปฏิเสธกะรอมาตของพวกเขานอกจากบรรดาพวกบิดอะฮฺที่อุตริเท่านั้น และศาสนาของอัลลอฮฺนั้นเป็นศาสนาแห่งสายกลางระหว่างสองกลุ่ม และเป็นทางนำระหว่างสองทางที่หลงผิด และเป็นสิ่งเที่ยงแท้ที่กั้นระหว่างสองสิ่งที่จอมปลอม

อับดุนนบี: บรรดากาฟิรที่อัลกุรอานได้ประทานลงมายังพวกเขานั้น พวกเขาไม่ได้กล่าวปฏิญานว่า ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ (ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรแก่การบูชานอกจากอัลลอฮฺ) และพวกเขายังปฏิเสธท่านรอซูล e และพวกเขายังปฏิเสธการฟื้นคืนในวันกิยามะฮฺ และกล่าวเท็จต่ออัลกุรอาน และพวกเขายังกล่าวหาอัลกุรอานว่าเป็นไสยศาสตร์ ขณะที่เรานั้นเชื่อและปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺและมุหัมมัดนั้นเป็นรอซูลของอัลลอฮฺ และเรายังเชื่อในอัลกุรอาน และเราศรัทธาต่อวันกิยามะฮฺ และเราทำการละหมาด และเราถือศีลอดเช่นนี้แล้ว ท่านยังเปรียบเราเหมือนกับพวกเขาได้อย่างไรกัน ?

อับดุลลอฮฺ: แต่ทว่าบรรดาไม่มีการเห็นขัดแย้งระหว่างอุลามาอ์ว่า ชายผู้หนึ่งหากเขาเชื่อในท่านรอซูล e ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งและไม่เชื่อท่านในอีกบางสิ่งบางอย่าง แน่นอนว่าชายผู้นี้ตกเป็นกาฟิรและเขายังคงไม่ได้เข้ารับอิสลาม เช่นเดียวกันกับผู้ที่ศรัทธาต่ออัลกุรอานเพียงบางส่วนและปฏิเสธอีกบางส่วน ดังเช่นผู้ที่ยอมรับในเตาฮีดแต่ปฏิเสธการละหมาด หรือมีความศรัทธาในหลักเตาฮีดและทำการละหมาดแต่ปฏิเสธในเรื่องของซะกาต หรือยอมรับในสิ่งที่กล่าวมานี้ทั้งหมดแต่ปฏิเสธในเรื่องการถือศีลอด หรือยอมรับทั้งหมดแต่ปฏิเสธในเรื่องของการทำหัจญ์ เป็นต้น ในสมัยท่านรอซูล e นั้นได้มีคนบางส่วนที่ไม่ยอมรับการทำหัจญ์ อัลลอฮฺจึงได้ประทานอายะฮฺแก่พวกเขาว่า

 (وَلِلَّهِ عَلَى النَّاسِ حِجُّ الْبَيْتِ مَنِ اسْتَطَاعَ إِلَيْهِ سَبِيلًا وَمَنْ كَفَرَ فَإِنَّ اللَّهَ غَنِيٌّ عَنِ الْعَالَمِينَ)

ความว่า “และสิทธิของอัลลอฮฺที่มีเหนือมนุษย์นั้น คือการที่พวกเขาต้องมุ่งสู่พิธีการหัจญ์ ณ กะอฺบะฮฺ สำหรับผู้ที่สามารถหาหนทางไปได้ และผู้ใดปฏิเสธแท้จริงอัลลอฮฺนั้นมั่งมีพระองค์ไม่ทรงพึ่งพิงสรรพสิ่งทั้งหลาย” (อาล อิมรอน 97)

และหากเขาปฏิเสธวันกิยามะฮฺเขาก็ตกเป็นกาฟิรตามทัศนะของอุลามาอ์ทั้งหมดอย่างเป็นเอกฉันท์ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ อัลลอฮฺจึงได้กำชับอย่างชัดเจนในอัลกุรอานว่า แท้จริงผู้ใดที่มีความศรัทธาในบางส่วนและปฏิเสธอีกบางส่วนแน่นอนว่าเขาเป็นกาฟิรอย่างไม่ต้องสงสัย และทรงได้สั่งให้รับอิสลามทั้งหมด และผู้ใดที่นำเอาส่วนหนึ่งและปฏิเสธอีกส่วนหนึ่งเช่นนี้แล้วเขาก็ยังเป็นกาฟิร แล้วท่านเองยอมรับหรือไม่ว่าใครที่รับเอาอิสลามไปส่วนหนึ่งและปฏิเสธอีกส่วนหนึ่งเขาก็เป็นกาฟิร ?

 อับดุนนบี:แน่นอน ฉันยอมรับในเรื่องนี้ดี เพราะมันเห็นอย่างแจ่มชัดในอัลกุรอาน

อับดุลลอฮ:

 ดังนั้น หากท่านยืนยันว่าผู้ใดที่เชื่อท่านนบีเฉพาะบางเรื่องขณะเดียวกันเขาปฏิเสธว่าการละหมาดนั้นเป็นวาญิบ หรือหากเขามีความศรัทธาในทุกเรื่องยกเว้นในเรื่องวันกิยามะฮฺ เขาย่อมเป็นกาฟิรตามความเห็นพ้องต้องกันของบรรดาอุลามาอ์ และอัลกุรอานก็ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ตามที่เราได้เคยกล่าวมาแล้ว เพราะฉะนั้นท่านจงทราบเถิดว่า เตาฮีดหรือการยึดมั่นในเอกภาพของอัลลอฮฺนั้นเป็นบัญญัติหลักที่ยิ่งใหญ่สำคัญที่สุดซึ่งท่านนบี e ได้นำมา และเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าการละหมาด ซะกาตและหัจญ์ เหตุไฉนเล่าที่คนผู้หนึ่งซึ่งปฏิเสธบทบัญญัติอันหนึ่งอันใดจากที่กล่าวมานี้ได้ตกเป็นกาฟิร แม้ว่าเขาจะทำทุกอย่างตามที่ท่านรอซูล e ได้นำมา แต่คนที่ปฏิเสธเตาฮีดซึ่งเป็นบัญญัติหลักของศาสนาแห่งบรรดารอซูลทั้งมวลกลับไม่เป็นกาฟิร! สุบฮานัลลอฮฺ! เป็นเรื่องโง่เขลาที่น่าประหลาดยิ่งนัก!

และจงสังเกตดูบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านรอซูล e เมื่อครั้งที่พวกเขาได้สู้รบกับชนเผ่า บะนี หะนีฟะฮฺ ซึ่งได้เข้ารับอิสลามกับท่านนบี e  และพวกเขายังกล่าวปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺและมุหัมมัดนั้นเป็นรอซูลของอัลลอฮฺ พร้อมทั้งยังได้ทำการละหมาดและทำการอะซานด้วย

อับดุนนบี: แต่พวกเขาปฏิญาณและเชื่อว่า มุสัยละมะฮฺ นั้นเป็นนบี แต่เราเชื่อว่าไม่มีนบีหลังจากท่านนบีมุหัมมัด e  อีกแล้ว

อับดุลลอฮฺ: แต่พวกท่านกลับยกระดับเหล่าศอลิฮีนบางคน ไม่ว่าจะเป็นนบี หรือมะลาอิกะฮฺ หรือเศาะหาบะฮฺ หรือคนอื่นๆ เทียบเท่ากับระดับของอัลลอฮฺผู้ทรงครอบครองชั้นฟ้าและแผ่นดิน แล้วถ้าหากว่าผู้ที่ยกระดับชายคนหนึ่งให้เทียบเท่าท่านนบียังถือว่าเป็นกาฟิร และยังถือว่าเลือดและทรัพย์สินของเขาเป็นที่อนุญาตแล้ว  แน่นอนว่า ผู้ที่ยกระดับให้เขาเท่าเทียมกับอัลลอฮฺย่อมสมควรยิ่งกว่าอีกที่จะถือว่าเป็นกาฟิร และเช่นเดียวกันกับผู้คนที่ท่านอะลี t ได้ทำการเผาพวกเขาด้วยไฟ ทุกคนต่างก็อ้างว่าตัวเองเป็นมุสลิมทั้งสิ้น และพวกเขาต่างก็เป็นสหายของท่านอะลี t และได้ศึกษาความรู้จากบรรดาเศาะหาบะฮฺ หากแต่พวกเขาศรัทธาต่อท่านอะลีเหมือนที่พวกท่านศรัทธาต่ออับดุลกอดิรและคนอื่นๆ เช่นนี้แล้ว ทำไมบรรดาเศาะหาบะฮฺต่างเห็นพ้องกันว่าให้ทำการต่อสู้กับพวกเขาและถือว่าพวกเขาเป็นกาฟิร ? ท่านคิดหรือว่า บรรดาเศาะหาบะฮฺจะกล่าวอ้างหาว่าคนมุสลิมนั้นเป็นกาฟิร ? หรือท่านคิดว่า การศรัทธาต่อสัยยิดที่ท่านเคารพบูชาและบุคคลที่เสมือนกับเขานั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่เสียหายอะไร แต่คนที่ศรัทธาต่ออะลี t เยี่ยงนั้นกลับเป็นกาฟิร ?

และอาจจะตอบได้อีกว่า ถ้าหากเราพูดว่า คนรุ่นก่อนนั้นไม่ได้เป็นกาฟิรเว้นแต่เพราะพวกเขาได้นำการชิริกไปรวมกับการปฏิเสธท่านรอซูล e และอัลกุรอาน และปฏิเสธวันกิยามะฮฺ และอื่นๆ ถ้าเป็นเช่นที่กล่าวมานี้จริงๆ แล้วอะไรคือความหมายในหัวข้อที่บรรดาอุลามาอ์ในทุกๆ มัซฮับได้กำหนดขึ้นว่า “บัญญัติว่าด้วยการเป็นมุรตัด” ซึ่งก็คือมุสลิมคนหนึ่งที่ได้เป็นกาฟิรหลังจากที่รับอิสลาม หลังจากนั้นบรรดาอุลามาอ์ก็ได้ยกกรณีต่างๆ หลายเรื่อง ซึ่งทุกๆ อย่างนั้นถ้าใครประพฤติปฏิบัติก็จะทำให้เขาเป็นกาฟิรออกไปจากอิสลาม อุละมาอ์เหล่านี้ได้ยกแม้กระทั่งเรื่องเล็กน้อยซึ่งหากผู้ใดไปกระทำก็จะกลายเป็นกาฟิร เช่น ประโยคหนึ่งที่ทำให้อัลลอฮฺพิโรธซึ่งได้กล่าวด้วยลิ้นโดยไม่ได้คิดในใจตามที่พูด หรือกล่าวประโยคที่ว่าออกมาในลักษณะของการล้อเลียนหรือหยอกล้อ และเช่นเดียวกันกับบรรดาผู้ที่อัลลอฮฺได้กล่าวถึงพวกเขาว่า

 (قُلْ أَبِاللَّهِ وَآيَاتِهِ وَرَسُولِهِ كُنتُمْ تَسْتَهْزِئُونَ (65) لَا تَعْتَذِرُوا قَدْ كَفَرْتُم بَعْدَ إِيمَانِكُمْ)

ความว่า “จงกล่าวเถิด(มุหัมมัด)ว่า ต่ออัลลอฮฺและบรรดาโองการของพระองค์และรอซูลของพระองค์กระนั้นหรือที่พวกท่านเย้ยหยันกัน” (อัต-เตาบะฮฺ 65-66)

ดังนั้น ผู้คนเหล่านี้ อัลลอฮฺได้ประกาศอย่างชัดเจนว่าเป็นกาฟิรหลังจากที่พวกเขาได้ศรัทธา ทั้งๆ ที่พวกเขาอยู่พร้อมกับท่านนบี e ในสมรภูมิตะบูก ซึ่งพวกเขาได้กล่าวประโยคบางประโยคด้วยความล้อเล่นเท่านั้น

และอาจจะกล่าวอธิบายตอบได้อีกเช่นกัน โดยอาศัยเรื่องราวบอกเล่าเกี่ยวกับบนีอิสรออีลในขณะที่พวกเขามีศาสนาความรู้และความเข้าใจอย่างชัดเจน แล้วพวกเขาก็ได้กล่าวต่อนบีมูซาว่า

 (جْعَلْ لَنا إِلهاً )

ความว่า “โอ้มูซา !จงให้มีขึ้น แก่พวกเราด้วยเถิด สิ่งซึ่งเป็นที่เคารพสักการะสักองค์หนึ่ง” (อัล-อะอฺรอฟ 138)

และการกล่าวของผู้คนกลุ่มหนึ่งในบรรดาเศาะหาบะฮฺว่า “โอ้ท่านนบี ได้โปรดกำหนดสิ่งที่เราจะใช้ขอความจำเริญ เหมือนกับต้นไม้ ซาตุ อันวาฏ ด้วยเถิด” ท่านนบีจึงได้กล่าวสาบานว่า นี่เป็นคำพูดเหมือนกับบนีอิสรออีลที่พวกเขาได้กล่าวว่า

 (اجْعَلْ لَنا إِلهاً كَما لَهُمْ آلِهَةٌ)

ความว่า “โอ้มูซา !จงให้มีขึ้น แก่พวกเราด้วยเถิด สิ่งซึ่งเป็นที่เคารพสักการะสักองค์หนึ่ง เช่นเดียวกับที่พวกเขามีสิ่งที่เป็นที่เคารพสักการะ” (อัล-อะอฺรอฟ 138)

 อับดุนนบี: แต่เหล่าบนีอิสรออีลและผู้คนที่ขอจากท่านนบี e ให้กำหนดซาตุ อันวาฏ ดังกล่าวนั้น ไม่ได้ตกเป็นกาฟิรด้วยเหตุนั้น

อับดุลลอฮฺ: คำตอบก็คือ เพราะบนีอิสรออีลและผู้คนที่ขอจากนบี e นั้น พวกเขามิได้กระทำอย่างที่ขอ ซึ่งถ้าหากพวกเขากระทำเช่นนั้นแน่นอนว่าพวกเขาจะต้องตกเป็นกาฟิร และผู้คนที่ท่านนบี e ได้ห้ามปรามพวกเขานั้น หากพวกไม่เชื่อฟังและยังทำตามที่ใจพวกเขาต้องการ ด้วยการสักการะ ซาตุ อันวาฏ แน่นอนว่าพวกเขาย่อมต้องตกเป็นกาฟิร

อับดุนนบี: แต่ฉันยังมีปัญหาอีกอย่าง นั่นคือเรื่องราวของอุสามะฮฺ บิน ซัยดฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ในช่วงที่เขาได้ทำการฆ่าชายผู้หนึ่งที่ได้กล่าว ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ แล้วท่านนบี e ก็ปฏิเสธการกระทำของเขา พร้อมกับกล่าวว่า

 «يَا أُسَامَةُ أَقَتَلْتَهُ بَعْدَ مَا قَالَ لا إِلَهَ إِلا الله؟»

ความว่า “โอ้ อุสามะฮฺ เจ้าได้ฆ่าเขาหลังจากที่เขากล่าว ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ กระนั้นหรือ?” (อัล-บุคอรีย์)

และเช่นเดียวกับคำกล่าวของท่านนบี e ที่ว่า

«أُمِرْتُ أَنْ أُقَاتِلَ النَّاسَ حَتَّى يَقُولُوا لا إِلَهَ إِلا الله»  

ความว่า “ฉันได้ถูกสั่งให้ต่อสู้กับผู้คนจนกระทั่งพวกเขายอมกล่าว ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ” (มุสลิม)

เช่นนี้แล้ว ฉันจะรวมระหว่างที่ท่านพูดกับหะดีษสองหะดีษนี้อย่างไรกัน? ขอท่านช่วยชี้แนะฉันด้วยเถิด แล้วขออัลลอฮฺทรงชี้แนะท่านเป็นการตอบแทน

 อับดุลลอฮฺ:

 เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า แท้จริงท่านนบี e ได้ต่อสู้กับชาวยะฮูดและจับพวกเขาเป็นเชลยทั้งที่พวกเขากล่าว ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ และเศาะหาบะฮฺของท่านได้เข้าต่อสู้กับ บนี หะนีฟะฮฺ ซึ่งพวกเขาก็ได้ปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺและท่านนบีเป็นรอซูลของพระองค์ พร้อมกันนี้พวกเขายังทำการละหมาดและได้ทำการเชิญชวนสู่อิสลาม  เช่นเดียวกันกับบรรดาคนที่ท่านอะลี t ได้ทำการเผาพวกเขา และท่านเองก็ยอมรับว่าผู้ที่ปฏิเสธวันกิยามะฮฺก็ถือว่าเป็นกาฟิรและอนุญาตให้ประหารพวกเขาแม้ว่าเขาจะกล่าว ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ และผู้ที่ปฏิเสธส่วนหนึ่งของหลักการอิสลามก็ถือว่าเป็นกาฟิรและต้องถูกประหารแม้ว่าเขาจะกล่าวคำปฏิญานนั้นก็ตามที เช่นนี้แล้วจะเป็นไปได้หรือ ในขณะที่เขาปฏิเสธบางอย่างในเรื่องที่เล็กน้อยเขาจะตกเป็นกาฟิรและคำปฏิญานไม่ได้มีประโยชน์ใดๆ ต่อเขา แต่เมื่อเขาปฏิเสธเตาฮีดอันเป็นรากฐานและคำสอนหลักในศาสนาของบรรดารอซูลแล้วเขากลับไม่เป็นอะไร !? บางทีท่านอาจจะไม่เข้าใจถึงความหมายของหะดีษเหล่านี้

ในส่วนของหะดีษอุสามะฮฺนั้น แท้จริง ที่เขาได้ทำการฆ่าชายผู้หนึ่งที่อ้างว่าตนเป็นอิสลามนั้น เพราะเขาคิดว่าชายผู้นั้นไม่ได้กล่าวเช่นนั้นเว้นแต่เพราะกลัวจะเกิดอันตรายในชีวิตและทรัพย์สินของเขา ซึ่งสำหรับคนที่แสดงตนว่าเป็นอิสลามนั้นจำเป็นที่จะต้องละเว้นจากการทำร้ายเขา จนกว่าจะมีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนที่บ่งชี้ว่าขัดกับสิ่งที่เขากล่าวออกมา อัลลอฮฺ ﷻ‬ ได้ตรัสว่า

 (يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِذَا ضَرَبْتُمْ فِي سَبِيلِ اللَّهِ فَتَبَيَّنُوا)

ความว่า “ผู้ที่ศรัทธาทั้งหลาย ! เมื่อพวกเจ้าตีทัพต่อสู้ในทางของอัลลอฮฺ ก็จงตรวจสอบให้ประจักษ์ชัดเสียก่อน” (อัน-นิสาอ์ 94)

หมายความว่า จงไตร่ตรองและตรวจสอบให้แน่ชัด ดังนั้นอายะฮฺนี้ชี้ให้เห็นว่าจำเป็นละเว้นจากเขาก่อนและต้องตรวจสอบให้แน่ใจ เมื่อผลออกมาอย่างชัดเจนเมื่อใดว่าเขามีความขัดแย้งกับอิสลามแล้วจึงลงมือประหารชีวิตเขาได้ เนื่องจากอัลลอฮฺได้กล่าวว่า   ﴿فَتَبَيَّنُواْ﴾และหากว่าไม่ได้กระทำการประหาร ด้วยเหตุที่เขาผู้นั้นได้กล่าวคำนั้นเพียงเหตุเดียว แน่นอนว่าคำสั่งที่ใช้ให้ตรวจสอบก็ไม่มีความหมายหรือประโยชน์ใดๆ ที่ต้องระบุไว้ด้วย

และอีกหะดีษหนึ่งก็เช่นเดียวกัน ความหมายของมันก็อธิบายตามความหมายที่เราได้กล่าวไว้แล้ว  แท้จริง ผู้ใดก็ตามที่แสดงตนเองว่าเป็นผู้ศรัทธาในอิสลามจำเป็นจะต้องละเว้นจากเขา นอกเสียจากว่ามีหลักฐานที่ชี้ชัดถึงการขัดของเขาต่ออิสลาม หลักฐานในเรื่องนี้ก็คือ ท่านรอซูล e ผู้ซึ่งที่ได้กล่าวว่า

 «يَا أُسَامَةُ أَقَتَلْتَهُ بَعْدَ مَا قَالَ لا إِلَهَ إِلا الله؟»

ความว่า “โอ้ อุสามะฮฺ เจ้าได้ฆ่าเขาหลังจากที่เขากล่าว ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ กระนั้นหรือ?” (อัล-บุคอรีย์)

และ

 «أُمِرْتُ أَنْ أُقَاتِلَ النَّاسَ حَتَّى يَقُولُوا لا إِلَهَ إِلا الله»  

ความว่า “ฉันได้ถูกสั่งให้ต่อสู้กับผู้คนจนกระทั่งพวกเขายอมกล่าว ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ” (มุสลิม)

คือรอซูลคนเดียวกันที่ได้กล่าวเกี่ยวกับพวก เคาะวาริจญ์ว่า

  «أينما لقيتموهم فاقتلوهم»

ความว่า “ไม่ว่าพวกท่านพบเจอพวกเขาที่ไหน ขอให้พวกท่านทำการประหัตประหารพวกเขาเสีย” (อัล-บุคอรีย์)

ทั้งๆ ที่พวกเคาะวาริจญ์เหล่านั้นเป็นกลุ่มคนที่ทำการอิบาดะฮฺและกล่าวตะฮฺลีล ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ มากที่สุดแม้กระทั่งบรรดาเศาะหาบะฮฺก็ยังได้ดูถูกตัวเองเมื่อเห็นและเทียบกับการทำอิบาดะฮฺของคนเหล่านั้น ซึ่งพวกเขาเองก็ได้ร่ำเรียนมาจากบรรดาเศาะหาบะฮฺอีกด้วย ถึงกระนั้นประโยค ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ ก็ไม่อาจให้ประโยชน์แก่พวกเขา หรือการขยันทำอิบาดะฮฺ หรือแม้แต้การอ้างว่าตัวเองเป็นมุสลิมก็ไม่มีประโยชน์ที่สามารถระงับการประหารพวกเขาได้ เนื่องจากการแสดงตนที่ปรากฏว่าขัดแย้งต่อหลักบัญญัติอิสลามนั่นเอง

 อับดุนนบี:

 แล้วท่านจะตอบว่าอย่างไรเกี่ยวกับหะดีษท่านนบี e ที่ว่า แท้จริงบรรดาผู้คนในวันกิยามะฮฺต่างได้ขอความช่วยเหลือจากนบีอาดัม หลังจากนั้นก็นบีนูหฺ หลังจากนั้นก็นบีอิบรอฮีม หลังจากนั้นก็นบีมูซา หลังจากนั้นก็นบีอีซา แล้วทุกท่านต่างปฏิเสธทั้งสิ้น จนกระทั่งมาถึงท่าน รอซูล e ? หะดีษนี้ชี้ให้เห็นว่าการขอความช่วยเหลือต่อสิ่งอื่นจากอัลลอฮฺนั้นไม่ถือว่าเป็นชิริก

อับดุลลอฮฺ: นี่เป็นความสับสนของท่านเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ เพราะในความเป็นจริงนั้น การขอความช่วยเหลือจากมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในเรื่องที่เขาสามารถช่วยได้นั้น เราไม่เคยปฏิเสธ ดังที่อัลลอฮฺ ﷻ‬ ได้กล่าวว่า

  (فَاسْتَغَاثَهُ الَّذِي مِنْ شِيعَتِهِ عَلَى الَّذِي مِنْ عَدُوِّهِ )

ความว่า “แล้วคนที่มาจากพวกพ้องของเขาก็ได้ร้องขอความช่วยเหลือมูซา เพื่อให้ปราบฝ่ายที่เป็นศัตรูของเขา” (อัล-เกาะศ็อศ 15)

เช่นเดียวกับที่ผู้คนจะขอความช่วยเหลือจากพวกพ้องในเรื่องการรบและเรื่องอื่นๆ ที่มนุษย์สามารถทำให้ได้ หากแต่เราต่อต้านและปฏิเสธการขอความช่วยเหลือในรูปของการทำอิบาดะฮฺที่พวกเขากระทำกันอยู่ ณ สุสานของบรรดาวะลีย์ หรือในขณะที่พวกเขาไม่ได้อยู่ต่อหน้า และในเรื่องต่างๆ ที่พวกเขามิอาจกระทำได้นอกจากกับอัลลอฮฺ ﷻ‬ เท่านั้น การที่ผู้คนต่างขอความช่วยเหลือจากบรรดานบีในวันกิยามะฮฺนั้น ก็เพื่อต้องการให้พวกท่านวอนขอจากอัลลอฮฺเพื่อให้พระองค์ทรงดำเนินการสอบสวนมวลมนุษย์ เพื่อที่บรรดาชนชาวสวรรค์จะได้คลายจากความโกลาหลของการรอคอยต่อหน้าพระองค์ นี่เป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ทั้งในโลกนี้และอาคิเราะฮฺ ด้วยการที่ท่านเข้าไปหาผู้ที่ศอลิหฺ ซึ่งนั่งอยู่กับท่านและสามารถรับฟังความทุกข์ของท่านได้ แล้วท่านก็บอกกับเขาว่า “ขอท่านจงขอพรต่ออัลลอฮฺให้กับฉันด้วยเถิด” เหมือนที่เศาะหาบะฮฺของท่านรอซูล e ได้ขอจากท่านขณะที่ท่านยังมีชีวิต ส่วนการขอหลังจากท่านเสียชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่ห้ามอย่างเด็ดขาด เศาะหาบะฮฺไม่เคยขอจากท่าน ณ สุสานของท่านเลย บรรดสะลัฟต่างก็ปฏิเสธและต่อต้านผู้ใดก็ตามที่ตั้งใจไปขอพรจากอัลลอฮฺ ณ สุสานของท่าน !

 อับดุนนบี:

 แล้วท่านคิดยังไงกับเรื่องราวของนบีอิบรอฮีม u ขณะที่ท่านถูกโยนลงไปในกองไฟ ซึ่งมะลาอิกะฮฺญิบรีล u ก็ได้ปรากฏขึ้นกลางอากาศแล้วกล่าวว่า “ท่านประสงค์สิ่งใดหรือไม่?” แล้วนบีอิบรอฮีม u ก็กล่าวว่า “ถ้าหากจากท่านแล้ว แน่นอนว่าไม่” ซึ่งหากการขอความช่วยเหลือจากท่านญิบรีลเป็นชิริก แน่นอนว่าญิบรีลคงไม่เสนอให้ท่านนบีอิบรอฮีม ?

 อับดุลลอฮฺ:

 ความคลุมเครือนี้เป็นชนิดเดียวกันกับความคลุมเครืออันแรก รายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ถูกเล่าผ่านสายสืบที่ไม่ถูกต้อง และถ้าหากเราอนุมานว่าสายสืบของมันถูกต้องแล้วละก็ เราสามารถอธิบายว่า แท้จริงญิบรีล u  ได้เสนอแก่ท่านนบีอิบรอฮีมในสิ่งที่ท่านญิบรีลมีความสามารถกระทำให้ได้ เนื่องจากญิบรีลนั้นเป็นบุคคลที่อัลลอฮฺ ﷻ‬ ได้ตรัสไว้ว่า

(عَلَّمَهُ شَدِيدُ الْقُوَى)

ความว่า “ได้สอนแก่เขาโดยผู้ที่ทรงพลังอันแข็งแกร่ง” (อัน-นัจมฺ 5)

ซึ่งหากอัลลอฮฺได้ทรงอนุญาตให้ท่านรับเอาไฟจากนบีอิบรอฮีมและสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นดิน ภูเขารอบๆ ท่าน แล้วให้ขว้างไปยังทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก แน่นอนมันย่อมเป็นสิ่งที่ง่ายนักสำหรับท่าน นี่เป็นเสมือนกับมหาเศรษฐีพบเจอชายผู้ยากไร้แล้วเสนอความช่วยเหลือให้เขา เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของชายผู้นั้น แล้วชายผู้นั้นก็ปฏิเสธความช่วยเหลือจากชายดังกล่าวและอดทนกระทั่งอัลลอฮฺได้มอบริซกีให้โดยที่เขาไม่ต้องไปพึ่งพาใคร แล้วไหนล่ะที่ว่าเป็นการขอความช่วยเหลือแบบอิบาดะฮฺและเป็นชิริกเหมือนกับที่ท่านกำลังกระทำอยู่นี้ !

และขอจงรู้ไว้เถิดว่า แท้จริงบรรดาชนรุ่นแรกที่อัลลอฮฺได้ส่งท่านนบี e นั้นได้กระทำการชิริกซึ่งเบากว่าชิริกที่ชนรุ่นเรากระทำอยู่เสียอีก นั่นก็เพราะเหตุสามข้อ :

 1.ชนรุ่นแรกนั้นพวกเขาจะไม่ทำการชิริกต่ออัลลอฮฺนอกเสียจากช่วงที่สุขสบาย ส่วนเวลาที่ทุกข์ยากลำบากพวกเขาจะภักดีและศรัทธาอย่างบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ดังหลักฐานจากอัลกุรอานที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

 (فَإِذَا رَكِبُوا فِي الْفُلْكِ دَعَوُا اللَّهَ مُخْلِصِينَ لَهُ الدِّينَ فَلَمَّا نَجَّاهُمْ إِلَى الْبَرِّ إِذَا هُمْ يُشْرِكُونَ)

ความว่า “ดังนั้นเมื่อพวกเขาขึ้นขี่เรือ พวกเขาวิงวอนต่ออัลลอฮฺโดยเป็นผู้บริสุทธิ์ใจในการขอพรต่อพระองค์ ครั้นเมื่อพระองค์ทรงช่วยพวกเขาให้ขึ้นบก แล้วพวกเขาก็ตั้งภาคีต่อพระองค์” (อัล-อันกะบูต 65)

 (وَإِذَا غَشِيَهُم مَّوْجٌ كَالظُّلَلِ دَعَوُا اللَّهَ مُخْلِصِينَ لَهُ الدِّينَ فَلَمَّا نَجَّاهُمْ إِلَى الْبَرِّ فَمِنْهُم مُّقْتَصِدٌ ۚ وَمَا يَجْحَدُ بِآيَاتِنَا إِلَّا كُلُّ خَتَّارٍ كَفُورٍ)

ความว่า “และเมื่อลูกคลื่นซัด มาท่วมมิดตัวพวกเขาคล้ายฝาที่ครอบคลุม พวกเขาก็วิงวอนขอต่ออัลลอฮฺด้วยความบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ ครั้นเมื่อพระองค์ได้ช่วยให้พวกเขาได้ขึ้นบก ในหมู่พวกเขาก็มีผู้ที่บกพร่อง และไม่มีใครที่ปฏิเสธสัญญาณต่างๆ ของเรานอกเสียจากทุกผู้ทรยศผู้เนรคุณ” (ลุกมาน 32)

ดังนั้นบรรดามุชริกีนที่ต่อต้านท่านนบี e พวกเขาได้ขอจากอัลลอฮฺและขอจากสิ่งอื่นในเวลาที่สงบสุขส่วนในเวลาที่ทุกข์ยากพวกเขาจะไม่ขอจากสิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น พร้อมกันนี้พวกเขาก็จะลืมบรรดาผู้นำหรือหัวหน้าของพวกเขาโดยสิ้นเชิง ส่วนบรรดามุชริกีนในสมัยเรานั้น พวกเขาต่างก็จากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺในทุกๆ เวลาไม่ว่าจะเป็นเวลาทุกข์หรือสุขก็ตาม เมื่อใดที่เขาเกิดความคับขันก็จะกล่าวว่า โอ้ รอซูลุลลอฮฺ โอ้ หุเซน อย่างนี้เป็นต้น หากแต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจในสิ่งนี้อย่างถ่องแท้เล่า ?

 2. ชนรุ่นแรกนั้น พวกเขาได้ขอจากบรรดาผู้ที่ใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ ไม่ว่าจะเป็นบรรดานบี หรือบรรดาวะลีย์ หรือมะลาอิกะฮฺ หรืออย่างน้อยที่สุดก็จากก้อนหินหรือต้นไม้ที่มีแต่ความภักดีและไม่ฝ่าฝืนต่อพระองค์ แต่ทว่าในสมัยของพวกเรานั้นพวกเขาได้ทำชิริกกับอัลลอฮฺโดยขอจากคนที่ชั่วที่สุดในหมู่ผู้คน ดังนั้นผู้ที่เชื่อในบรรดาศอลิฮีนและสิ่งอื่นที่ไม่เคยทำบาปเช่นหินและต้นไม้นั้น ยังเบากว่าผู้ที่เชื่อต่อคนที่ประจักษ์ชัดถึงความไม่ดีและความหายนะของเขา

 3. บรรดาผู้ที่ชิริกในสมัยของท่านนบี e นั้น โดยรวมแล้วเป็นการชิริกเฉพาะในส่วนของเตาฮีด อัล-อุลูฮียะฮฺเท่านั้น ต่างจากชิริกในยุคหลัง ซึ่งการชิริกนั้นเกิดขึ้นกับเตาฮีด อัร-รุบูบียะห์ อย่างมากมาย และรวมไปถึงเตาฮีด อัล-อุลูฮียะฮฺ อีกด้วย โดยพวกเขาอ้างว่าธรรมชาติเป็นตัวกำหนดและควบคุมจักรวาลไม่ว่าจะเป็นการให้เกิดหรือการให้ตาย เป็นต้น

ฉันหวังที่จะปิดท้ายคำพูดของฉันด้วยประเด็นปัญหาที่ใหญ่ยิ่งนัก ซึ่งเข้าใจมาจากสิ่งที่ผ่านมาว่า ไม่มีการขัดแย้งกันว่าแท้จริงการศรัทธาในเตาฮีดจำเป็นจะต้องมาจากการเชื่อด้วยใจ การกล่าวด้วยคำพูด และกระทำมูลเหตุที่จำเป็นด้วยร่างกาย และหากขาดไปอย่างใดอย่างหนึ่งเขาผู้นั้นก็ไม่อาจจะเป็นมุสลิมได้ ซึ่งหากเขารู้จักเตาฮีดแต่ไม่ได้กระทำอย่างที่รู้ แน่นอนว่าเขากลายเป็นกาฟิรที่ทรยศ ดังเช่น ฟิรเอาน์ และอิบลีส

และนี่เป็นสิ่งที่ผู้คนส่วนมากเข้าใจผิด ซึ่งพวกเขาชอบที่จะกล่าวว่า “นี่เป็นสิ่งที่ถูกต้อง หากแต่เราไม่อาจที่จะกระทำได้ และเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาตในเมืองของเราและผู้คนจากเผ่าเรา และจำเป็นจะต้องยินยอมและตามใจพวกเขา เพราะเรากลัวภัยคุกคามจากพวกเขา” ซึ่งผู้พูดที่น่าสงสารเยี่ยงนี้หารู้ไม่ว่า แท้จริงบรรดาผู้นำแห่งกุฟรฺทั้งหลายนั้นล้วนรู้ดีถึงข้อเท็จจริงของสัจธรรม และพวกเขาไม่ได้ละทิ้งมันเว้นแต่มีข้ออ้างด้วยกันทั้งนั้น ดังที่อัลลอฮฺ ﷻ‬ ได้ตรัสว่า

 (اشْتَرَوْا بِآيَاتِ اللَّهِ ثَمَنًا قَلِيلا فَصَدُّوا عَنْ سَبِيلِهِ إِنَّهُمْ سَاءَ مَا كَانُوا يَعْمَلُونَ)

ความว่า “พวกเขาได้เอาบรรดาโองการของอัลลอฮฺแลกเปลี่ยนกับราคาอันเล็กน้อย แล้วก็ขัดขวางผู้คนให้ออกจากทางของอัลลอฮฺ แท้จริงพวกเขานั้น สิ่งที่พวกเขาทำอยู่ช่างชั่วช้ายิ่งนัก” (อัต-เตาบะฮฺ 9)

และผู้ใดที่ปฏิบัติตามหลักการของเตาฮีดด้วยการกระทำของเขา โดยที่เขาไม่เข้าใจและไม่ได้ศรัทธาด้วยใจแล้ว เช่นนี้เขาก็เป็นมุนาฟิก (ผู้กลับกลอก) ซึ่งถือว่าร้ายแรงกว่ากาฟิรจริงๆ เสียอีก เพราะอัลลอฮฺ ได้ตรัสว่า

 (إِنَّ الْمُنَافِقِينَ فِي الدَّرْكِ الأَسْفَلِ مِنَ النَّارِ)

ความว่า “แท้จริงบรรดามุนาฟิกนั้นอยู่ในชั้นต่ำสุดของนรก” (อัน-นิสาอ์ 145)

และปัญหานี้ท่านจะเข้าใจได้ดี หากท่านสังเกตพฤติกรรมและคำพูดของผู้คน ซึ่งท่านจะเห็นคนที่เข้าใจถึงสัจธรรมและยอมละทิ้งไม่ปฏิบัติตามมันเพราะกลัวความมั่งมีบนโลกนี้จะบกพร่อง ดังเช่น กอรูน หรือ เพราะกลัวว่ายศและตำแหน่งจะตกต่ำ เช่น ฮามาน หรือเพราะกลัวว่าอำนาจบารมีจะสูญสลาย เช่น ฟิรเอาน์ และท่านจะเห็นผู้คนที่กระทำด้วยกายให้เห็นแต่ไร้ซึ่งความบริสุทธิ์ในจิตใจ ดังเช่นคนมุนาฟิก ซึ่งหากท่านถามเขาในสิ่งที่เขาเชื่อด้วยใจของเขา เขาก็จะไม่รู้เรื่องอะไรเลย

 แต่ทว่า ขอให้ท่านจงเข้าใจสองอายะฮฺจากอัลกุรอานดังนี้ :

อายะฮฺที่หนึ่ง ดังที่เคยกล่าวไว้แล้ว คือ พระดำรัสของอัลลอฮฺ ﷻ‬ ที่ว่า

 (لَا تَعْتَذِرُوا قَدْ كَفَرْتُم بَعْدَ إِيمَانِكُمْ)

ความว่า “พวกท่านอย่าแก้ตัวเลย แท้จริงพวกท่านได้ปฏิเสธศรัทธาแล้ว หลังจากการมีศรัทธาของพวกท่าน” (อัต-เตาบะฮฺ 66)

และเมื่อท่านได้ทราบว่า ผู้คนที่ได้ต่อสู้กับพวกโรมพร้อมกับท่านรอซูล e ได้กลายเป็นกาฟิรด้วยเหตุที่พวกเขาได้กล่าวประโยคคำพูดแค่ประโยคเดียวด้วยความสนุกสนานและหยอกล้อกัน ท่านก็สามารถที่จะเข้าใจได้ว่า ผู้ที่กล่าวคำพูดที่ทำให้ตกเป็นกาฟิรหรือกระทำพฤติกรรมกุฟรฺออกมา ด้วยเหตุที่กลัวจะสูญเสียทรัพย์สิน หรือยศหรือตำแหน่ง หรือต้องการเอาใจผู้อื่นนั้น ย่อมหนักยิ่งกว่าผู้ที่พูดด้วยการหยอกล้อ เพราะปกติแล้วผู้ที่หยอกล้อนั้นเขาไม่ได้มีเจตนาในใจกับสิ่งที่เขากล่าวมากกว่าเพื่อที่จะให้ผู้อื่นขบขันเท่านั้น หากแต่ผู้ที่พูดในสิ่งที่ทำให้เป็นกาฟิรหรือกระทำมูลเหตุแห่งกุฟรฺเพราะความกลัวหรือต้องการสิ่งที่อยู่กับมัคลูกแล้ว แท้จริงเขาย่อมได้เชื่อกับคำมั่นสัญญาที่ชัยฏอนได้พูดไว้นั่นคือ

 ( الشَّيْطَانُ يَعِدُكُمُ الْفَقْرَ وَيَأْمُرُكُمْ بِالْفَحْشَاءِ )

ความว่า “ชัยฎอนนั้น มันจะขู่พวกเจ้าให้กลัวความยากจนและจะใช้พวกเจ้าให้กระทำความชั่ว” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 288)

และแสดงว่าเขาได้กลัวการข่มขู่ของชัยฏอนแล้ว

(إِنَّمَا ذَلِكُمُ الشَّيْطَانُ يُخَوِّفُ أَوْلِيَاءَهُ)

ความว่า “แท้จริงชัยฏอนนั้นได้แต่ข่มขู่เฉพาะบรรดาผู้ที่ปฏิบัติตามมันเท่านั้น” (อาล  อิมรอน 175)

และเขากลับไม่เชื่อถึงคำมั่นสัญญาของอัลลอฮที่ว่า

 (وَاللَّهُ يَعِدُكُم مَّغْفِرَةً مِّنْهُ وَفَضْلًا)

ความว่า “และอัลลอฮฺนั้น ทรงสัญญาแก่พวกเจ้าไว้ซึ่งการอภัยโทษ และความกรุณาจากพระองค์” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 268)

และเขาก็ไม่ได้กลัวการเตือนของอัลลอฮฺผู้เกรียงไกรที่ว่า

 (فَلَا تَخَافُوهُمْ وَخَافُونِ إِن كُنتُم مُّؤْمِنِينَ)

ความว่า “ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่ากลัวพวกเขา และจงกลัวข้าเถิด” (อาล อิมรอน 175)

เช่นนี้แล้ว เขาสมควรที่จะเป็นวะลีย์ของอัลลอฮฺหรือเป็นหนึ่งในวะลีย์ของชัยฏอนกันแน่ ?

ส่วนอายะฮฺที่สองนั้น ก็คือพระดำรัสของอัลลอฮฺ ﷻ‬ ว่า

 (مَن كَفَرَ بِاللَّهِ مِن بَعْدِ إِيمَانِهِ إِلَّا مَنْ أُكْرِهَ وَقَلْبُهُ مُطْمَئِنٌّ بِالْإِيمَانِ وَلَٰكِن مَّن شَرَحَ بِالْكُفْرِ صَدْرًا فَعَلَيْهِمْ غَضَبٌ مِّنَ اللَّهِ وَلَهُمْ عَذَابٌ عَظِيمٌ)

ความว่า “ ผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮฺหลังจากที่เขาได้รับศรัทธาแล้ว(เขาจะได้รับความกริ้วจากอัลลอฮฺ) เว้นแต่ผู้ที่ถูกบังคับทั้งๆ ที่หัวใจของเขาเปี่ยมไปด้วยศรัทธา แต่ผู้ใดเปิดหัวอกของเขาด้วยการปฏิเสธศรัทธา พวกเขาก็จะได้รับความกริ้วจากอัลลอฮฺและสำหรับพวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่างมหันต์” (อัน-นะหฺลฺ 106)

อัลลอฮฺไม่ได้ทรงอนุโลมให้กับพวกเขาเหล่านี้ นอกเสียจากผู้ที่กล่าวออกไปด้วยความไม่เต็มใจในขณะที่จิตใจของเขายังคงยึดมั่นอยู่กับการศรัทธา ส่วนคนอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ แท้จริงแล้วพวกเขาเหล่านั้นได้กลายเป็นคนกาฟิรหลังจากที่มีการศรัทธา แม้ว่าเขาจะทำเช่นนั้นเพราะความกลัว หรือความละโมบ หรือเพื่อเอาใจคนอื่น หรือเพราะปกป้องบ้านเมืองของตน หรือครอบครัว หรือทรัพย์สิน หรือกระทำเพื่อความสนุกและหยอกล้อก็ตาม หรือเพื่อจุดประสงค์อื่นๆ จากที่กล่าวมานี้ โดยยกเว้นเฉพาะผู้ที่ถูกบังคับให้กระทำเท่านั้น เนื่องจากอายะฮฺได้บ่งชี้ว่าแท้จริงมนุษย์จะถูกบังคับได้เฉพาะในการกระทำและคำพูดเท่านั้น ส่วนจิตใจนั้นไม่มีใครที่สามารถจะบังคับใจของเขาได้ และอัลลอฮฺได้ตรัสว่า

(ذَٰلِكَ بِأَنَّهُمُ اسْتَحَبُّوا الْحَيَاةَ الدُّنْيَا عَلَى الْآخِرَةِ وَأَنَّ اللَّهَ لَا يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ )

ความว่า “ทั้งนี้เพราะว่าพวกเขาพอใจเลือกเอาชีวิตในโลกนี้เหนือปรโลก และแท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงชี้แนะทางแก่กลุ่มชนผู้ปฏิเสธศรัทธา” (อัน-นะห์ลฺ 107)

ซึ่งอัลลอฮฺได้ทรงชี้ชัดให้เห็นว่า แท้จริงการลงโทษที่ถูกกล่าวถึงนั้นไม่ใช่เพราะมาจากความเชื่อหรือศรัทธา หรือความโง่เขลาหรือการเกลียดชังต่อศาสนา หรือเพราะชอบที่จะเป็นกุฟรฺ หากแต่สาเหตุนั้นก็เพราะการที่เขามีโชคลาภส่วนหนึ่งที่ได้จากโลกดุนยานี้ แล้วเขาก็ให้ความสำคัญกับมันมากกว่าศาสนาของเขานั่นเอง วัลลอฮุอะอฺลัม

และหลังจากที่เราสนทนากันทั้งหมดนี้ ท่านไม่รู้สึกตระหนักที่จะกลับใจเตาบัตต่ออัลลอฮฺ และละทิ้งในสิ่งที่ท่านเป็นอยู่บ้างหรือ เนื่องจากประเด็นนี้ก็อย่างที่ท่านได้ทราบมาแล้วว่ามันอันตรายมาก และไม่ใช่เป็นเรื่องเล็กๆและเล่นๆ แต่อย่างใดเลย

 อับดุนนบี:

 อัสตัฆฟิรุลลอฮัลอะซีม วะอะตูบุอิลัยฮฺ (ฉันขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺและสำนึกผิดต่อพระองค์) และฉันขอปฏิญานตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่สมควรแก่การทำอิบาดะฮฺนอกจากพระองค์ และแท้จริงมุหัมมัดนั้นเป็นรอซูลของอัลลอฮฺ และแท้จริงฉันขอปฏิเสธจากทุกสิ่งที่ฉันเคยอิบาดะฮฺนอกจากพระองค์ และฉันขอพรจากอัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงอนุโลมให้แก่ฉันในสิ่งที่ได้ผ่านไปแล้ว และขอพระองค์ทรงลบล้างมันออกไปจากตัวฉัน และให้ฉันอยู่ในความเอ็นดูและความเมตตาของพระองค์ และขอพระองค์ทรงให้ฉันยืนหยัดบนเตาฮีดที่เที่ยงแท้ กระทั่งวันที่ฉันจะได้พบกับพระองค์ และขอพระองค์ทรงตอบแทนความดีงามของท่าน โอ้ อับดุลลอฮฺ ในนะศีหะฮฺของท่านครั้งนี้ เพราะแท้จริงศาสนาคือการตักเตือน และขอพระองค์ทรงตอบแทนในสิ่งที่ท่านได้หักห้ามสิ่งไม่ดีที่ฉันเป็นอยู่ นั่นคือการที่ฉันตั้งชื่อว่า อับดุนนบี และฉันขอบอกให้ท่านทราบตอนนี้เลยว่าฉันขอเปลี่ยนชื่อของฉันแล้วให้เป็น อับดุรเราะห์มาน และขอพระองค์ทรงตอบแทนท่านที่ได้หักห้ามฉันจากมุงกัรที่ซ่อนเร้นในส่วนลึกของฉัน นั่นคือความเชื่อที่หลงผิด ที่หากฉันไปพบกับอัลลอฮฺในสภาพที่เป็นอยู่นี้แน่นอนว่าฉันคงจะไม่ประสบความสำเร็จตลอดไป แต่ว่าฉันอยากจะขอจากท่านเป็นการขอครั้งสุดท้ายโดยอยากให้ท่านบอกฉันถึงสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ยังคงเข้าใจผิดๆ ว่ามีอะไรบ้าง

 อับดุลลอฮฺ: ไม่มีปัญหา ขอท่านจงฟังให้ดี :

­ ในประเด็นที่มีความเห็นแย้งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจากอัลกุรอานหรือซุนนะฮฺนั้น ขอท่านจงระวังอย่าให้จุดยืนของท่านในเรื่องดังกล่าวคือการปฏิบัติตามสิ่งที่ขัดแย้ง เพื่อต้องการสร้างฟิตนะฮฺหรือต้องการตะอ์วีล ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีใครที่รู้การตะอ์วีลที่ถูกต้องอย่างแท้จริงนอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น และขอให้จุดยืนของท่านเป็นเหมือนดั่งจุดยืนของผู้คนที่มีความรู้มั่นคง คือผู้คนที่กล่าวในเรื่องที่เป็นมุตะชาบิฮฺหรือสิ่งคลุมเครือว่า แท้จริง เราศรัทธาในทุกๆ สิ่งที่มาจากพระเจ้าของเรา และจุดยืนในเรื่องของการขัดแย้งนั้น ให้ทำตามคำกล่าวของท่านรอซูล e  ที่ว่า

 «دَعْ مَا يَرِيبُكَ إِلَى مَا لا يَرِيبُكَ»  

ความว่า “จงละทิ้งสิ่งที่ท่านสงสัยไปสู่สิ่งที่ชัดเจนสำหรับท่าน“ (บันทึกโดยอะหมัด และอัตติรมิซีย์)

«فَمَنِ اتَّقَى الشُّبُهَاتِ اسْتَبْرَأَ لِدِينِهِ وَعِرْضِهِ، وَمَنْ وَقَعَ فِي الشُّبُهَاتِ وَقَعَ فِي الْحَرَامِ»  

ความว่า “และผู้ใดที่ป้องกันตัวเองจากสิ่งที่คลุมเครือ แท้จริงเขาได้ทำให้ศาสนาและเกียรติเขานั้นปลอดภัย และผู้ใดที่ตกลงไปสู่หลุมของความคลุมเครือ แท้จริงเขาได้เข้าไปสู่สิ่งที่หะรอมแล้ว” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)

«وَالإثْمُ مَا حَاكَ فِي صَدْرِكَ وَكَرِهْتَ أَنْ يَطَّلِعَ عَلَيْهِ النَّاسُ»  

ความว่า “และบาปนั้นคือสิ่งที่ท่านรู้สึกคับอยู่ในอกของท่าน และไม่ชอบให้ผู้คนได้เห็นมัน” (บันทึกโดยมุสลิม)

«اسْتَفْتِ  قَلْبَكَ وَاسْتَفْتِ  نَفْسَكَ  ـ ثَلاثَ مَرَّاتٍ ـ  الْبِرُّ مَا اطْمَأَنَّتْ إِلَيْهِ النَّفْسُ وَالإثْمُ مَا حَاكَ فِي النَّفْسِ وَتَرَدَّدَ فِي الصَّدْرِ وَإِنْ أَفْتَاكَ النَّاسُ وَأَفْتَوْكَ»

ความว่า “ท่านจงปรึกษากับใจของท่านและตัวของท่าน (กล่าวเช่นนี้สามครั้ง) แท้จริง ความดีนั้นคือสิ่งที่ทำให้จิตใจและตัวของท่านรู้สึกสงบนิ่งกับมัน และความชั่วนั้นคือสิ่งที่คอยรบกวนจิตใจและเกิดลังเลใจอยู่ในอก แม้ว่าจะมีผู้คนวินิจฉัยให้ท่านเช่นนั้นและให้การปรึกษากับท่านด้วยสิ่งนั้น” (อะหมัด)

­ ขอท่านจงอย่าได้ทำตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ เพราะแท้จริงอัลลอฮฺ ﷻ‬ ได้ตักเตือนในสิ่งนี้ด้วยพระดำรัสของพระองค์ว่า

 (أَرَءَيْتَ مَنِ ٱتَّخَذَ إِلَٰهَهُۥ هَوَىٰهُ)

ความว่า “เจ้าไม่เห็นดอกหรือ ผู้ที่ยึดเอาอารมณ์ใฝ่ต่ำของเขาเป็นพระเจ้าของเขา” (อัล-ฟุรกอน 43)

­ ขอท่านจงอย่าได้ยึดติดกับบุคคล หรือทัศนะ หรือธรรมเนียมที่คนสมัยก่อนเป็นอยู่ เพราะมันจะปิดกั้นระหว่างคนคนหนึ่งกับสัจธรรมที่แท้จริง และแท้จริงสัจธรรมที่เที่ยงแท้นั้น สำหรับมุอ์มินแล้วมันเป็นเหมือนดังของหายซึ่งเขาค้นหามันอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าเขาจะพบมัน ณ ที่ใดเขาก็มีสิทธิในสิ่งนั้นๆ ยิ่งกว่าใครๆ อัลลอฮฺ ﷻ‬ ได้ตรัสว่า  

 (وَإِذَا قِيلَ لَهُمُ اتَّبِعُوا مَا أَنزَلَ اللَّهُ قَالُوا بَلْ نَتَّبِعُ مَا أَلْفَيْنَا عَلَيْهِ آبَاءَنَا ۗ أَوَلَوْ كَانَ آبَاؤُهُمْ لَا يَعْقِلُونَ شَيْئًا وَلَا يَهْتَدُونَ)

ความว่า “และเมื่อได้ถูกกล่าวแก่พวกเขาว่า จงปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาเถิด พวกเขาก็กล่าวว่า หามิได้ เราจะปฏิบัติสิ่งที่เราได้พบในบรรดาบรรพบุรุษของเราเคยปฏิบัติมาเท่านั้น ทั้งที่ได้ปรากฏว่าบรรพบุรุษของพวกเขาไม่เข้าใจสิ่งใดเลยและไม่ได้รับแนวทางอันถูกต้องก็ตามกระนั้นหรือ? ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 170)

­ ขอท่านจงระวังอย่าได้ทำการเลียนแบบชาวกาฟิรเป็นอันขาด เพราะมันคือตัวหลักในการพาท่านไปสู่โชคร้ายหายนะ ท่านนบี e ได้กล่าวว่า

 « مَنْ تَشَبَّهَ بِقَوْمٍ فَهُوَ مِنْهُمْ ».

ความว่า “ผู้ใดที่เลียนแบบชนกลุ่มหนึ่ง แท้จริงแล้วเขาเป็นหนึ่งในชนกลุ่มนั้นๆ” (อบู ดาวูด)

­ ขอท่านจงอย่าได้มอบหมายพึ่งพิงต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺ ﷻ‬ ได้กล่าวว่า

(وَمَنْ يَتَوَكَّلْ عَلَى اللَّهِ فَهُوَ حَسْبُهُ)

ความว่า “และผู้ใดมอบหมายแด่อัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงเป็นผู้พอเพียงแก่เขา” (อัฎ-เฎาะล๊าก 3)

­ ท่านจงอย่าได้เชื่อฟังมัคลูกใดก็ตามในสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺ  ท่านนบี e ได้กล่าวว่า

 «لاَ طَاعَةَ لِمَخْلُوقٍ فِي مَعْصِيَةِ الخَالِقْ »  

ความว่า “ห้ามมีการเชื่อฟังต่อมัคลูกผู้ถูกสร้าง ในสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืนต่อผู้สร้าง” (อัต-ติรมิซีย์)

­ ขอท่านอย่าได้คาดคิดในแง่ที่ไม่ดีต่ออัลลอฮฺ เพราะอัลลอฮฺ ﷻ‬ ได้กล่าวไว้ในหะดีษกุดสีย์ว่า

 «أَنَا عِنْدَ ظَنِّ عَبْدِي بِي».

ความว่า “ข้าจะอยู่กับการคาดคิดของบ่าวของข้าต่อข้า” (อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)

­ ขอท่านจงอย่าได้สวมใส่กำไล หรือเส้นด้าย หรือสิ่งที่เสมือนกับทั้งสองอย่างนี้ เพื่อหวังให้ห่างไกลจากโชคร้ายก่อนที่มันจะเกิด หรือเพื่อต้องการให้มันหายไปเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว

­ ขอท่านจงอย่าได้ทำการแขวนเครื่องรางเพื่อต้องการให้หลุดพ้นจากอัยน์(การอิจฉาริษยา) แท้จริง สิ่งนั้นเป็นชิริก ท่านนบี e ได้กล่าวว่า

 «مَنْ تَعَلَّقَ شَيْئًا وُكِلَ إِلَيْهِ».

ความว่า “ผู้ใดที่ทำการแขวนสิ่งใดๆ แล้ว  แท้จริง เขาก็จะถูกมอบให้เป็นภาระของสิ่งนั้น” (อะหมัดและอัต-ติรมีซีย์)

­ขอท่านจงอย่าได้ทำการขอความบะเราะกัตโชคลาภความประเสริฐจากก้อนหิน ต้นไม้ โบราณสถานหรือโบราณวัตถุต่างๆ หรือสิ่งก่อสร้างทั้งหลาย เพราะแท้จริงการกระทำเช่นนั้นเป็นชิริก

­ ขอท่านจงอย่าได้เชื่อโชคลางหรือลางร้าย ไม่ว่าจะในรูปแบบไหนก็ตาม  เพราะแท้จริงมันเป็นชิริก ท่านนบี e ได้กล่าวว่า

 «الطِّيَرَةُ شِرْكٌ، الطِّيَرَةُ شِرْكٌ ثَلاثًا».

ความว่า “แท้จริงการเชื่อโชคลางนั้นเป็นชิริก การการเชื่อโชคลางนั้นเป็นชิริก ท่านกล่าวอย่างนี้สามครั้ง” (อะหมัดและอบู ดาวูด)

­ ขอท่านจงอย่าได้เชื่อบรรดานักไสยศาตร์และหมอดูหรือนักโหราศาสตร์ที่อ้างว่ารู้ในสิ่งเร้นลับ และแสดงดวงชะตาราศีในหนังสือของพวกเขา และทำนายความสุขหรือความทุกข์ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับดวงชะตานั้น  แท้จริง การเชื่อพวกเขาในสิ่งเหล่านี้เป็นชิริก เพราะแท้จริงแล้วไม่มีผู้ใดที่รู้ในสิ่งเร้นลับนอกจากอัลลอฮฺ

­ ขอท่านจงอย่าได้พาดพิงการตกของฝนด้วยการพูดว่ามาจากดวงดาวหรือฤดูกาล เพราะมันเป็นสิ่งชิริกหากแต่ควรต้องพาดพิงไปยังอัลลอฮฺ I

­ ขอท่านจงอย่าได้สาบานต่อสิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ไม่ว่าการสาบานนั้นจะเป็นในรูปแบบใดก็ตาม เพราะมันเป็นการกระทำที่ชิริก ดังหะดีษที่ว่า

 «مَنْ حَلَفَ بِغَيْرِ اللهِ فَقَدْ كَفَرَ أَوْ أَشْرَكَ»  

ความว่า “ผู้ใดที่ได้ทำการสาบานด้วยสิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ แท้จริงเขาได้ตกเป็นกาฟิรหรือทำชิริก” (อะหมัด)

เช่น การสาบานด้วยท่านนบี หรือด้วยอะมานะฮฺ หรือด้วยเกียรติ หรือด้วยพันธะสัญญา หรือด้วยชีวิต เป็นต้น

­ ขอท่านจงอย่าได้สาปแช่งวันเวลา และสาปแช่งลม หรือดวงอาทิตย์ หรืออากาศที่หนาวหรือร้อน เพราะแท้จริงจะเป็นการสาปแช่งต่ออัลลอฮฺผู้ที่สร้างสิ่งเหล่านี้มา

­ ขอท่านจงระวังอย่าได้กล่าวว่า “ถ้าหาก” เมื่อท่านได้เจอกับสิ่งที่ท่านไม่ชอบ เพราะมันเป็นการเปิดโอกาสให้กับการงานของชัยฏอน และในขณะเดียวกันเป็นการปฏิเสธต่อสิ่งที่อัลลอฮฺได้กำหนด แต่จงกล่าวว่า

(قدر الله وما شاء فعل)

คำอ่าน ก็อดดะร็อลลอฮุ วะมาชาอะ ฟะอัล

ความว่า “อัลลอฮฺได้ทรงกำหนดให้เป็นเช่นนี้แล้ว สิ่งใดที่ทรงประสงค์พระองค์ก็จะทรงทำเช่นนั้น”

­ ขอท่านจงอย่าได้นำเอาสถานที่ที่เป็นสุสานมาทำเป็นมัสยิด เพราะแท้จริงห้ามทำการละหมาดในมัสยิดที่มีสุสานอยู่ ดังหะดีษจากท่านหญิงอาอิชะฮฺได้กล่าวว่า แท้จริงท่านรอซูล e ได้กล่าวขณะที่ท่านใกล้หมดลมหายใจว่า

«لَعْنَةُ اللهِ عَلَى الْيَهُودِ وَالنَّصَارَى اتَّخَذُوا قُبُورَ أَنْبِيَائِهِمْ مَسَاجِدَ»  

ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงสาปแช่งชนชาวยะฮูดและนะศอรอ พวกเขาได้นำเอาสุสานของบรรดานบีของพวกเขามาทำเป็นมัสยิด”  

ท่านกล่าวเช่นนั้นเพื่อตักเตือนให้เห็นในสิ่งที่คนเหล่านั้นกระทำ ท่านหญิงอาอิชะฮฺกล่าวว่า หากมิเพราะคำเตือนนี้แล้ว แน่นอนว่าบรรดาเศาะหาบะฮฺย่อมต้องยกสุสานของท่านนบีให้เด่นชัดเป็นแน่แท้ (มุสลิม)

ท่านนบี e ยังได้กล่าวว่า

«إن من كان قبلكم كانوا يتخذون قبور أنبيائهم وصالحيهم مساجد، فلا تتخذوا القبور مساجد فإني أنهاكم عن ذلك»

ความว่า “แท้จริงคนรุ่นก่อนพวกท่านได้นำเอาสุสานของบรรดานบีและเหล่าคนที่ศอลิหฺของพวกเขามาทำเป็นมัสยิด ดังนั้นพวกท่านจงอย่าได้นำเอาสุสานมาทำเป็นมัสยิดอย่างเด็ดขาด ฉันขอห้ามพวกท่านในสิ่งนี้” (อบู อุวานะฮฺ)

­ ขอท่านจงอย่าได้เชื่อในหะดีษที่รายงานโดยผู้คนที่พูดปดมดเท็จแล้วอ้างว่าเป็นหะดีษของท่านรอซูล e  ที่เกี่ยวกับการเชิญชวนให้ขอพรจากท่านหรือจากบรรดาศอลิฮีนในหมู่ประชาชาติของท่าน เพราะมันเป็นหะดีษที่โกหกมดเท็จ กุพาดพิงอย่างโกหกถึงท่านรอซูล เช่น

«توسلوا بجاهي، فإن جاهي عند الله عظيم»

ความว่า “พวกท่านจงขอจากอัลลอฮฺผ่านตำแหน่งของฉัน เพราะแท้จริงมันมีเกียรติยิ่ง ณ อัลลอฮฺ”

«إذا أعيتكم الأمور فعليكم بأهل القبور»  

ความว่า “หากพวกท่านติดขัดปัญหาใดๆ พวกท่านจงไปขอกับชาวสุสาน”

 «إن الله يوكل ملكاً على قبر كل ولي يقضي حوائج الناس»

ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺได้ส่งบรรดามะลาอิกะฮฺไปยังทุกๆ สุสานของบรรดาวะลีย์เพื่อคอยแก้ปัญหาให้กับผู้คน”

«لو أحسن أحدكم ظنه بحجر نفعه»

ความว่า “หากพวกท่านมองก้อนหินในแง่ดีแล้ว แน่นอนว่าจะหินนั้นจะสร้างประโยชน์ให้กับเขา” และหะดีษในทำนองนี้อีกมากมาย

­ ขอท่านจงอย่าได้ฉลองรื่นเริงกับงานที่เรียกกันว่าเป็นเทศกาลต่างๆ ของศาสนา ดังเช่น เมาลิดนบี และ อิสรออ์-มิอฺรอญจ์ คืนนิศฟูชะอฺบาน และอื่นๆ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่อุตริขึ้น และไม่มีหลักฐานแสดงจากท่านนบี e หรือจากบรรดาเศาะหาบะฮฺที่มีความรักต่อท่านนบีมากกว่าพวกเรา และทุ่มเทจริงจังตั้งใจในการทำความดีมากกว่าพวกเรา ซึ่งหากสิ่งที่กล่าวมานี้เป็นสิ่งที่ดีงาม แน่นอนว่าพวกเขาต้องกระทำก่อนเราเสียอีก

معلومات المادة باللغة العربية