×

من خصال الإيمان (تايلندي)

إعداد: มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์

الوصف

مقالة تتحدث عن بعض من خصال الإيمان كحب الرسول صلى الله عليه وسلم وحب المؤمنين والأمر بالمعروف والنهي عن المنكر وأيضاً تبين حال أعمال الكافر التي عملها قبل إسلامه من حسنات وسيئات. والمقالة مقتبسة من كتاب مختصر الفقه الإسلامي للشيخ محمد بن إبراهيم التويجري.

تنزيل الكتاب

    บางส่วนของประเภทการศรัทธา

    ﴿من خصال الإيمان﴾

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์

    แปลโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ

    ผู้ตรวจทาน : อัสรัน นิยมเดชา

    ที่มา : หนังสือมุคตะศ็อร อัลฟิกฮิล อิสลามีย์

    2010 - 1431

    ﴿من خصال الإيمان﴾

    « باللغة التايلاندية »

    الشيخ محمد بن إبراهيم التويجري

    ترجمة: يوسف أبوبكر

    مراجعة: عصران إبراهيم

    مصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي

    2010 - 1431

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    บางส่วนของประเภทการศรัทธา

    การมอบความรักต่อท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม

    عن أنس رضي الله عنه قال: قال رسول الله ﷺ: «لا يُؤْمِنُ أَحَدُكُمْ حَتَّى أَكُونَ أَحَبَّ إلَيْـهِ مِنْ وَالِدِهِ وَوَلَدِهِ وَالنَّاسِ أَجْـمَعِينَ». متفق عليه

    จากอนัส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “คนหนึ่งคนใดในกลุ่มพวกท่านการศรัทธาของเขายังไม่สมบูรณ์ จนกว่าฉันจะเป็นที่รักยิ่งแก่เขา มากกว่าบิดาของเขา ลูกของเขา และบรรดามนุษย์ทั้งหมด” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺหมายเลขหะดีษ 15 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 44)

    การมอบความรักให้แก่ชาวอันศอร

    عن أنس رضي الله عنه عن النبي ﷺ قال: «آيَةُ الإيْـمَانِ حُبُّ الأَنْصَارِ وآيَةُ النِّفَاقِ بُـغْضُ الأَنْصَارِ». متفق عليه

    จากอนัส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “เครื่องหมายของการศรัทธาคือการรักชาวอันศอร และเครื่องหมายของการกลับกลอกคือการเกลียดชังชาวอันศอร” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 17 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 74)

    การมอบความรักให้แก่บรรดาผู้ศรัทธา

    عن أبي هريرة رضي الله عنه قال: قال رسول الله ﷺ: «لا تَدْخُلُوا الجَنَّةَ حَتَّى تُؤْمِنُوا، وَلا تُؤْمِنُوا حَتَّى تَـحَابُّوْا، أَوَلا أَدُلُّكُمْ عَلَى شَيْءٍ إذَا فَعَلْتُـمُوهُ تَـحَابَبْتُـمْ أَفْشُوا السَّلامَ بَيْنَكُمْ». أخرجه مسلم

    จากอบีฮุรอยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “พวกท่านทั้งหลายจะไม่ได้เข้าสวนสวรรค์จนกว่าพวกท่านจะเป็นผู้ศรัทธา พวกท่านจะยังไม่เป็นผู้ศรัทธาจนกว่าพวกท่านจะรักใคร่กัน เอาหรือไม่ฉันจะบอกให้กับพวกท่าน สิ่งหนึ่ง เมื่อพวกท่านได้ปฏิบัติมันแล้วจะทำให้พวกท่านเกิดความรักขึ้น จงกล่าวสลามระหว่างพวกท่านด้วยกัน” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 54)

    การมอบความรักให้แก่พี่น้องมุสลิม

    عن أنس بن مالك رضي الله عنه عن النبي ﷺ قال: «لا يُؤْمِنُ أَحَدُكُمْ حَتَّى يُـحِبَّ لأَخِيْـهِ ـ أَوْ قَالَ لِـجَارِهِ ـ مَا يُـحِبُّ لِنَفْسِهِ». متفق عليه

    จากอนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “คนหนึ่งคนใดในกลุ่มพวกท่านการศรัทธาของเขายังไม่สมบูรณ์ จนกว่าเขาจะรักให้ได้แก่พี่น้องของเขา – หรือเพื่อนบ้านของเขา - เสมือนที่เขารักให้ได้แก่ตัวของเขาเอง” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺหมายเลขหะดีษ 13 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 15)

    การให้เกียรติต่อเพื่อนบ้านและแขกผู้มาเยือน และการเงียบเฉยนอกจากสิ่งที่ดีงาม

    عن أبي هريرة رضي الله عنه عن رسول الله ﷺ قال: «مَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِالله٬ وَاليَوْمِ الآخِرِ فَلْيَـقُلْ خَيْراً أَوْ لِيَصْمُتْ، وَمَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِالله٬ وَاليَوْمِ الآخِرِ فَلْيُكْرِمْ جَارَهُ، وَمَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِالله٬ وَاليَوْمِ الآخِرِ فَلْيُكْرِمْ ضَيْفَهُ». متفق عليه

    จากอบีฮุรอยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ จากท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺจงพูดสิ่งที่ดีหรือไม่ก็นิ่งเงียบเสีย ผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺจงให้เกียรติต่อเพื่อนบ้านของเขา และผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺจงให้เกียรติต่อแขกของเขา” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 6018 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน และมุสลิมหมายเลขหะดีษ 47)

    การใช้กันในเรื่องของความดีงามและการห้ามปรามในเรื่องของความชั่วช้า

    عن أبي سعيد الخدري رضي الله عنه قال: سمعت رسول الله ﷺ يقول: «مَنْ رَأَى مِنْكُمْ مُنْكَراً فَلْيُـغَيِّرْهُ بِيَدِهِ، فَإنْ لَـمْ يَسْتَطِعْ فَبِلِسَانِـهِ، فَإنْ لَـمْ يَسْتَطِعْ فَبِقَلْبِـهِ وَذَلِكَ أَضْعَفُ الإيْـمَانِ». أخرجه مسلم

    จากอบีสะอีด เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “บุคลหนึ่งบุคคลใดจากพวกท่านเมื่อเขาพบเห็นสิ่งที่ไม่ดี ดังนั้นเขาจงเปลี่ยนมันด้วยกับมือ หากไม่มีความสามารถก็จงเปลี่ยนด้วยกับลิ้น (คำพูด) หากไม่มีความสามารถก็จงเปลี่ยนด้วยกับหัวใจ ดังกล่าวเป็นการศรัทธาที่อ่อนแอที่สุด” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 49)

    การตักเตือนบอกกล่าวด้วยความจริงใจ

    عن تميم الداري رضي الله عنه أن النبي ﷺ قال: «الدِّينُ النَّصِيحَةُ» قُلْنَا لِـمَنْ؟ قَالَ: لله٬ وَلِكِتَابِـهِ وَلِرَسُولِـهِ وَلَأَئِمَّةِ المسْلِـمِينَ وَعَامَّتِـهِـمْ». أخرجه مسلم

    จากตะมีม อัดดารียฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ศาสนาคือการตักเตือนบอกกล่าว พวกเราถามว่า เพื่อใคร? ท่านรอสูลตอบว่า เพื่ออัลลอฮฺ เพื่อคัมภีร์ของพระองค์ เพื่อรอสูลของพระองค์ เพื่อบรรดาผู้นำของมวลมุสลิม และเพื่อผู้คนโดยทั่วไป” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 55)

    ความศรัทธาเป็นการงานที่มีความประเสริฐที่สุด

    عن أبي هريرة رضي الله عنه أَنَّ رَسُولَ الله ﷺ سُئِلَ: أَيُّ العَمَلِ أَفْضَلُ؟ قَالَ: «إيمَانٌ بِالله٬ وَرَسُولِـهِ» قِيْلَ ثُمَّ مَاذَا؟ قَالَ: «الجِهَادُ فِي سَبِيلِ الله» قِيلَ ثُمَّ مَاذَا؟ قَالَ: «حَجٌّ مَبْرُورٌ». متفق عليه

    จากอบีฮุรอยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ แท้จริงท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ถูกถามว่า “การงานใดที่มีความประเสริฐที่สุด? ท่านตอบว่า “การศรัทธาต่ออัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์” มีผู้ถามต่ออีกว่า หลังจากนั้นการงานอะไรอีก? ท่านตอบว่า “การญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ” มีผู้ถามต่ออีกว่า หลังจากนั้นการงานอะไรอีก? ท่านตอบว่า “การประกอบพิธีฮัจญ์ที่ถูกตอบรับ” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 26 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 83)

    การศรัทธาจะเพิ่มพูนด้วยการเคารพภักดีและจะลดหย่อนด้วยการฝ่าฝืน

    1. อัลลอฮฺตรัสว่า

    (ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ ﭷ ﭸ ﭹ ﭺ ﭻ ﭼ ﭽ ﭾ ﭿ ﮀ ﮁ) [الفتح /4 ].

    ความหมาย “พระองค์คือผู้ทรงประทานความเงียบสงบลงมายังจิตใจของบรรดาผู้ศรัทธา เพื่อพวกเขาจะได้เพิ่มพูนการศรัทธาให้กับการศรัทธาของพวกเขา และเป็นของอัลลอฮฺ คือ ไพร่พลแห่งบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ผู้ทรงปรีชาญาณ” (อัลฟัตฮฺ : 4)

    2. อัลลอฮฺตรัสว่า

    (ﭣ ﭤ ﭥ ﭦ ﭧ ﭨ ﭩ ﭪ ﭫ ﭬ ﭭ ﭮ ﭯ ﭰ ﭱ ﭲ ﭳ ﭴ ﭵ ﭶ) [التوبة /124 ]

    ความหมาย “และเมื่อมีบทหนึ่งบทใดของอัลกุรอานถูกประทานลงมา ดังนั้นในบรรดาของพวกเขากล่าวขึ้นว่ามีใครบ้างในกลุ่มของพวกท่านที่บทนี้ทำให้การศรัทธาเพิ่มขึ้น สำหรับบรรดาผู้ที่มีความศรัทธานั้นบทนี้ได้ทำให้การศรัทธาเพิ่มขึ้นแก่พวกเขา และพวกเขาก็มีความปีติยินดี” (อัตเตาบะฮฺ : 124)

    عن أبي هريرة رضي الله عنه أن رسول الله ﷺ قال: «لا يَزْنِي الزَّانِي حِينَ يَزْنِي وَهُوَ مُؤْمِنٌ، وَلا يَسْرِقُ السَّارِقُ حِينَ يَسْرِقُ وَهُوَ مُؤْمِنٌ، وَلا يَشْرَبُ الخَـمْرَ حِينَ يَشْرَبُـهَا وَهُوَ مُؤْمِنٌ». متفق عليه

    3. จากอบีฮุรอยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ แท้จริงท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ผู้ทำซีนาจะไม่ทำซีนาในขณะที่ทำซีนาโดยที่เขาเป็นมุอฺมิน (มีการศรัทธาที่สมบูรณ์) ผู้ขโมยจะไม่ลักขโมยในขณะที่ขโมยโดยที่เขาเป็นมุอฺมิน (มีการศรัทธาที่สมบูรณ์) และเขาจะไม่ดื่มสุราในขณะที่ดื่มโดยที่เขาเป็นมุอฺมิน (มีการศรัทธาที่สมบูรณ์) (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 2475 และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 57 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน)

    عن أنس رضي الله عنه عن النبي ﷺ قال: «يَـخْرُجُ مِنَ النَّارِ مَنْ قَالَ: لا إلَـهَ إلَّا اللهُ وَفِي قَلْبِـهِ وَزْنُ شَعِيرَةٍ مِنْ خَيْرٍ، وَيَـخْرُجُ مِنَ النَّارِ مَنْ قَالَ: لا إلَـهَ إلَّا اللهُ وَفِي قَلْبِـهِ وَزْنُ بُرَّةٍ مِنْ خَيْرٍ، وَيَـخْرُجُ مِنَ النَّارِ مَنْ قَالَ: لا إلَـهَ إلَّا اللهُ وَفِي قَلْبِـهِ وَزْنُ ذَرَّةٍ مِنْ خَيْرٍ»، وفي رواية: «مِنْ إيمَانٍ» مكان «مِنْ خَيْرٍ». متفق عليه

    4. จากอนัส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “จะได้ออกจากนรกผู้ที่กล่าวว่า –ลาอิลาฮาอิลลัลลอฮฺ- ขณะที่ในหัวใจของเขามีน้ำหนักของความดีงามเท่ากับเมล็ดข้าวบาร์เลย์ จะได้ออกจากนรกผู้ที่กล่าวว่า –ลาอิลาฮาอิลลัลลอฮฺ - ขณะที่ในหัวใจของเขามีน้ำหนักของความดีงามเท่ากับเมล็ดข้าวสาลี และจะได้ออกจากนรกผู้ที่กล่าวว่า –ลาอิลาฮาอิลลัลลอฮฺ - ขณะที่ในหัวใจของเขามีน้ำหนักของความดีงามเท่ากับเมล็ดข้าวโพด” ในอีกสายรายงานท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “น้ำหนักของการศรัทธา” แทนคำว่า “ของความดีงาม” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 44 สำนวนหะดีษเป็นของท่านและมุสลิมหมายเลขหะดีษ 193)

    บทบัญญัติเกี่ยวกับการงานของกาฟิร (ผู้ปฏิเสธ) ที่ได้ปฏิบัติก่อนเข้ารับอิสลาม

    1. เมื่อผู้ปฏิเสธได้เข้ารับอิสลามแล้วได้ปฏิบัติตนอย่างดี ดังนั้นความผิดที่ผ่านมาจะถูกอภัยโทษให้แก่เขา ดั่งที่อัลลอฮฺตรัสว่า

    (ﮣ ﮤ ﮥ ﮦ ﮧ ﮨ ﮩ ﮪ ﮫ ﮬ ﮭ ﮮ ﮯ ﮰ ﮱ ﯓ ﯔ) [الأنفال /38 ]

    ความหมาย “จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) แก่บรรดาผู้ที่ได้ปฏิเสธการศรัทธา หากพวกเขาหยุดยั้ง (การเป็นศัตรูและรีบศรัทธาต่อท่านนบี) สิ่งที่แล้วมาก็จะถูกอภัยให้แก่เขา และหากพวกเขากลับไป (ต่อต้าน) อีก แท้จริงนั้นแนวทางของผู้ที่มาก่อนๆ นั้นได้ผ่านมาแล้ว (คือได้รับโทษอย่างหนัก) (อัลอัมฟาล : 38)

    2. การประกอบคุณงามความดีเขาจะได้รับผลตอบแทน

    لما ثبت أن حكيم بن حزام رضي الله عنه قال لرسول الله ﷺ: أرأيــتَ أموراً كنتُ أَتَـحَنَّثُ بها في الجاهلية هل لي فيها من شيء؟ فقال له رسول الله ﷺ: «أَسْلَمْتَ عَلَـى مَـا أَسْلَفْتَ مِنْ خَيْرٍ». متفق عليه

    มีรายงานว่า หะกีม บิน หิซาม เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ถามท่านรอสูล ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมว่า “ท่านมีความเห็นอย่างไรในสิ่งที่ฉันได้หลีกเลี่ยงจากความผิดในสมัยญาฮิลียะฮฺฉันจะได้รับความดีจากสิ่งนั้นบ้างหรือไม่? ท่านรอสูล ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมว่า “ท่านเข้ารับอิสลามบนความดีงามในสิ่งที่ท่านได้กระทำผ่านมา” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 1437 และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 123 สำนวนหะดีษเป็นของท่าน)

    3. ผู้ที่เข้ารับอิสลามต่อจากนั้นได้ทำความผิด เขาจะถูกลงโทษทั้งครั้งก่อนและครั้งหลัง ดั่งวจนะของท่านรอสูล ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมที่ว่า

    لقوله ﷺ: «مَنْ أَحْسَنَ فِي الإسْلامِ لَـمْ يُؤَاخَذْ بِمَا عَمِلَ فِي الجَاهِلِيَّةِ، وَمَنْ أَسَاءَ فِي الإسْلامِ أُخِذَ بِالأَوَّلِ وَالآخِرِ». متفق عليه

    ความหมาย “ผู้ที่ประกอบคุณงามความดีในอิสลามเขาจะไม่ถูกลงโทษต่อสิ่งที่เขาได้กระทำไว้ในสมัยญาฮิลียะฮฺ และผู้ที่ได้กระทำความผิดในอิสลามเขาจะถูกลงโทษทั้งครั้งก่อน (สมัยญาฮิลียะฮฺ) และครั้งหลัง (ตอนที่อยู่ในอิสลาม) (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 6921 และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 120)

    معلومات المادة باللغة الأصلية