الوصف
من الأمور التي تحفظ سيادة هذه الأمة وكرامتها هي الأمر بالمعروف والنهي عن المنكر، ففيها فلاح الأمة و صلاحها و فيها بعدها عن غضب الله. ومراتب تغيير المنكر هي الإنكار باليد ثم باللسان ثم بالقلب، فيبتعد عن موطن المنكر إن لم يستطع تغييره. وإنكار المنكر له أربع درجات: أن يزول المنكر ويخلفه ضده، أو أن يقل المنكر ولم يزل جملته، فهنا يكون تغيير المنكر مشروع، ثم إنكار المنكر تأتي بمنكر مثله ففيه الاجتهاد، ثم إنكار المنكر يخلف منكرا أكبر فهذا حرام. وهذه مقالة مقتبسة ومترجمة من كتاب: «الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة» للشيخ أمين بن عبد الله الشقاوي - حفظه الله.
ترجمات أخرى 2
การสั่งใช้ในความดีและห้ามปรามความชั่ว
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย : อิสมาน จารง
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ
2011 - 1433
﴿الأمر بالمعروف والنهي عن المنكر﴾
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبدالله الشقاوي
ترجمة: عثمان جارونج
مراجعة: صافي عثمان
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة
2011 - 1433
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
เรื่อง ที่ 56
การสั่งใช้ในความดีและห้ามปรามความชั่ว
มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิของอัลลอฮฺ ขอการเจริญพรและความสันติมีแด่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ข้าขอปฏิญานว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
แท้จริงการงานที่ดีที่สุดและอัลลอฮฺรักที่สุดนั้นคือการสั่งใช้กันในความดีและการห้ามปรามกันในสิ่งที่เป็นความชั่ว
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿ كُنتُمۡ خَيۡرَ أُمَّةٍ أُخۡرِجَتۡ لِلنَّاسِ تَأۡمُرُونَ بِٱلۡمَعۡرُوفِ وَتَنۡهَوۡنَ عَنِ ٱلۡمُنكَرِ وَتُؤۡمِنُونَ بِٱللَّهِۗ وَلَوۡ ءَامَنَ أَهۡلُ ٱلۡكِتَٰبِ لَكَانَ خَيۡرٗا لَّهُمۚ مِّنۡهُمُ ٱلۡمُؤۡمِنُونَ وَأَكۡثَرُهُمُ ٱلۡفَٰسِقُونَ ١١٠ ﴾ [آل عمران: ١١٠]
ความว่า “พวกเจ้านั้น เป็นประชาชาติที่ดียิ่งซึ่งถูกให้อุบัติขึ้นสำหรับมนุษยชาติ โดยที่พวกเจ้าใช้ให้ปฏิบัติสิ่งที่ชอบ และห้ามมิให้ปฏิบัติสิ่งที่มิชอบ และศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และถ้าหากว่าบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์ศรัทธากันแล้ว แน่นอนมันก็เป็นการดีแก่พวกเขา จากพวกเขานั้นมีบรรดาผู้ที่ศรัทธา และส่วนมากของพวกเขานั้นเป็นผู้ละเมิด“ (อาล อิมรอน 110)
ท่านอุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า “ใครที่พอใจอยากจะเป็นประชาชาตินี้เขาจงปฏิบัติตามเงื่อนไขของอัลลอฮฺในการเป็นประชาชาตินี้(ดังที่ปรากฏในอายะฮฺข้างต้น” (ตัฟสีรฺ อิบนิ กะษีรฺ 1/396)
ท่านอิมามอัล-กุรฏุบีย์ได้กล่าวว่า “ในอายะฮฺนี้เป็นการสรรเสริญประชาชาตินี้ตราบที่พวกเขาดำรงไว้ซึ่งการสั่งใช้ในความดีและห้ามปรามในความชั่วไว้และมีคุณสมบัติดังกล่าว ดังนั้นเมื่อใดที่เขาละทิ้งการพยายามเปลี่ยนแปลงแก้ไขและเห็นด้วยกับความชั่วร้าย การสรรเสริญนี้ก็จะหมดไป และความตกต่ำจะตามมา และนั่นคือความหายนะของพวกเขา” (อัล-ญามิอฺ ลิ อะหฺกามิลกุรอาน 4/173)
และอัลลอฮฺได้บอกถึงผู้ที่ปลอดภัยจากประชาชาติต่างๆ ว่าพวกเขาคือผู้ที่สั่งใช้กันในการทำความดีและห้ามปรามกันในความชั่ว
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿ وَمَا كَانَ رَبُّكَ لِيُهۡلِكَ ٱلۡقُرَىٰ بِظُلۡمٖ وَأَهۡلُهَا مُصۡلِحُونَ ١١٧ ﴾ [هود: ١١٧]
ความว่า “และพระเจ้าของเจ้าจะไม่ทรงทำลายหมู่บ้านโดยอยุติธรรม โดยที่ประชากรของหมู่บ้านนั้นเป็นผู้ฟื้นฟูทำความดี“ (ฮูด 117)
และอัลลอฮฺตะอาลาได้ตรัสว่า
﴿وَسَۡٔلۡهُمۡ عَنِ ٱلۡقَرۡيَةِ ٱلَّتِي كَانَتۡ حَاضِرَةَ ٱلۡبَحۡرِ إِذۡ يَعۡدُونَ فِي ٱلسَّبۡتِ إِذۡ تَأۡتِيهِمۡ حِيتَانُهُمۡ يَوۡمَ سَبۡتِهِمۡ شُرَّعٗا وَيَوۡمَ لَا يَسۡبِتُونَ لَا تَأۡتِيهِمۡۚ كَذَٰلِكَ نَبۡلُوهُم بِمَا كَانُواْ يَفۡسُقُونَ ١٦٣ وَإِذۡ قَالَتۡ أُمَّةٞ مِّنۡهُمۡ لِمَ تَعِظُونَ قَوۡمًا ٱللَّهُ مُهۡلِكُهُمۡ أَوۡ مُعَذِّبُهُمۡ عَذَابٗا شَدِيدٗاۖ قَالُواْ مَعۡذِرَةً إِلَىٰ رَبِّكُمۡ وَلَعَلَّهُمۡ يَتَّقُونَ ١٦٤ فَلَمَّا نَسُواْ مَا ذُكِّرُواْ بِهِۦٓ أَنجَيۡنَا ٱلَّذِينَ يَنۡهَوۡنَ عَنِ ٱلسُّوٓءِ وَأَخَذۡنَا ٱلَّذِينَ ظَلَمُواْ بِعَذَابِۢ بَِٔيسِۢ بِمَا كَانُواْ يَفۡسُقُونَ ١٦٥ فَلَمَّا عَتَوۡاْ عَن مَّا نُهُواْ عَنۡهُ قُلۡنَا لَهُمۡ كُونُواْ قِرَدَةً خَٰسِِٔينَ ١٦٦ ﴾ [الأعراف: ١٦٣- ١٦٦]
ความว่า “และเจ้าจงถามพวกเขา ถึงเมืองที่เคยอยู่ใกล้ทะเล ขณะที่พวกเขา ละเมิดในวันสับบะโต ทั้งนี้ขณะที่ฝูงปลาของพวกเขามายังพวกเขาในวันสับบะโตของพวกเขาในสภาพลอยตัวให้เห็นบนผิวน้ำ ในขณะวันที่พวกเขาไม่ถือว่าเป็นวันสับบะโตนั้น ปลาเหล่านั้นกลับไม่ได้มายังพวกเขาแต่อย่างใด ในทำนองนั้นแหละเราจะทดสอบพวกเขา เนื่องด้วยการที่พวกเขาละเมิด และจงรำลึกขณะที่กลุ่มหนึ่งในพวกเขากล่าวว่า เพราะเหตุใดเล่าพวกท่านจึงตักเตือนกลุ่มชนที่อัลลอฮฺจะทรงเป็นผู้ทำลายพวกเขาหรือเป็นผู้ลงโทษพวกเขาอย่างรุนแรง? พวกเขากล่าวว่า (การที่เราตักเตือนนั้น) เพื่อเป็นข้ออ้างต่อพระเจ้าของพวกเจ้า และเพื่อว่าพวกเขาจะได้ยำเกรง ครั้นเมื่อพวกเขาลืม สิ่งที่พวกเขาถูกเตือนในสิ่งนั้น เราก็ช่วยเหลือบรรดาผู้ที่ห้ามปรามการทำชั่วให้รอดพ้น และได้จัดการแก่บรรดาผู้ที่อธรรมเหล่านั้น ด้วยการลงโทษอันรุนแรงเนื่องด้วยการที่พวกเขาละเมิด ครั้นเมื่อพวกเขาละเมิดสิ่งที่พวกเขาถูกห้ามในสิ่งนั้นแล้ว เราก็ประกาศิตแก่พวกเขาว่า พวกเจ้าจงเป็นสิ่งที่ถูกขับไล่ให้ห่างไกล“ (อัล-อะอฺรอฟ 163-166)
และเรื่องราวเกี่ยวกับละเมิดวันสับบะโตนั้นก็คือ พวกเขาถูกห้ามจากการล่า(ปลา)ในวันสับบะโต แต่พวกเขาใช้กลลวงในการกระทำสิ่งต้องห้ามโดยการวางแหในวันสับบะโตแล้วค่อยไปจับเอาในวันอาทิตย์ โดยคิดว่าพวกเขาปลอดภัยจากบาป
ท่านอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวว่า “พวกเขาแบ่งออกเป็นสามส่วน(สามกลุ่ม) ส่วนหนึ่ง ได้ทำการห้ามปราม อีกส่วนหนึ่งกล่าวว่า เพราะเหตุใดเล่าพวกท่านจึงตักเตือนกลุ่มชนที่อัลลอฮฺจะทรงเป็นผู้ทำลายพวกเขา และส่วนที่สามคือกลุ่มที่ทำผิด ไม่มีใครพ้นภัย นอกจากกลุ่มที่ทำการห้ามปรามเท่านั้น ส่วนที่เหลือประสบกับความพินาศทั้งสิ้น” (ตัฟสีรฺ อิบนิ กะษีรฺ 2/259 ด้วยสายรายงานที่ดี)
อัลลอฮฺได้แจกแจงว่าการละทิ้งการสั่งใช้ในสิ่งที่ดีและการห้ามปรามในสิ่งชั่วนั้นเป็นสาเหตุของความพิโรธและการสาปแช่งของอัลลอฮฺ พระองค์ตรัสว่า
﴿ لُعِنَ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ مِنۢ بَنِيٓ إِسۡرَٰٓءِيلَ عَلَىٰ لِسَانِ دَاوُۥدَ وَعِيسَى ٱبۡنِ مَرۡيَمَۚ ذَٰلِكَ بِمَا عَصَواْ وَّكَانُواْ يَعۡتَدُونَ ٧٨ كَانُواْ لَا يَتَنَاهَوۡنَ عَن مُّنكَرٖ فَعَلُوهُۚ لَبِئۡسَ مَا كَانُواْ يَفۡعَلُونَ ٧٩ ﴾ [المائدة: ٧٨، ٧٩]
ความว่า “บรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธาในหมู่วงศ์วานอิสรออีลนั้นได้ถูกสาปโดยถ้อยคำของดาวูด และอีซาบุตรของมัรยัม นั่นก็เนื่องจากการที่พวกเขาฝ่าฝืน และที่พวกเขาเคยละเมิดกัน ปรากฏว่าพวกเขาต่างไม่ห้ามปรามกันในสิ่งชั่วร้ายที่พวกเขาได้กระทำมันขึ้น ช่างเลวร้ายจริงๆ ในสิ่งที่พวกเขากระทำ” (อัล-มาอิดะฮฺ 78-79)
รายงานจากท่านอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าแท้จริงท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
« مَنْ رَأَى مِنْكُمْ مُنْكَرًا فَلْيُغَيِّرْهُ بِيَدِهِ، فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِلِسَانِهِ، فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِقَلْبِهِ، وَذَلِكَ أَضْعَفُ الإِيمَانِ » [مسلم برقم 49]
ความว่า “ใครก็ตามในหมู่พวกท่านที่เห็นความชั่วร้ายเขาจงเปลี่ยนแปลงมันด้วยมือของเขา หากเขาไม่สามารถก็ด้วยลิ้นของเขา และหากไม่สามารถก็ด้วยใจของเขา และนั้นคืออีมานที่อ่อนแอที่สุดแล้ว“ (เศาะฮีหฺ มุสลิม 1/69 หมายเลข 49)
หะดีษนี้ถือเป็นรากฐานในการเปลี่ยนแปลงความชั่ว ด้วยเหตุนี้บรรดานักวิชาการได้ถือมันเป็นหะดีษที่เป็นพื้นฐานหลักของศาสนา จนมีผู้กล่าวว่ามันเป็นกึ่งหนึ่งของศาสนา และมีผู้กล่าวเช่นกันว่ามันคืออิสลามทั้งหมด เพราะอิสลามคือความดีหรือสิ่งดีที่จะต้องสั่งใช้กันหรือสิ่งชั่วที่จะต้องห้ามปรามกัน และในหะดีษนี้เช่นกันได้อธิบายถึงลำดับขั้นในการห้ามปรามสิ่งที่ชั่ว นั้นคือการห้ามปรามด้วยมือและลิ้น และสิ่งนี้ถือว่าเป็นวาญิบหากมีความสามารถและอำนาจ แต่ต้องไม่นำมาซึ่งอันตรายหรือความชั่วที่มากกว่าหรือใหญ่กว่า
และลำดับที่สามคือการห้ามด้วยใจ ซึ่งบ่าวจะต้องทำคู่กับการละทิ้งสถานที่แห่งนั้นซึ่งมีสิ่งชั่วอยู่
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿ وَقَدۡ نَزَّلَ عَلَيۡكُمۡ فِي ٱلۡكِتَٰبِ أَنۡ إِذَا سَمِعۡتُمۡ ءَايَٰتِ ٱللَّهِ يُكۡفَرُ بِهَا وَيُسۡتَهۡزَأُ بِهَا فَلَا تَقۡعُدُواْ مَعَهُمۡ حَتَّىٰ يَخُوضُواْ فِي حَدِيثٍ غَيۡرِهِۦٓ إِنَّكُمۡ إِذٗا مِّثۡلُهُمۡۗ إِنَّ ٱللَّهَ جَامِعُ ٱلۡمُنَٰفِقِينَ وَٱلۡكَٰفِرِينَ فِي جَهَنَّمَ جَمِيعًا ١٤٠﴾ [النساء: ١٤٠]
ความว่า “และแน่นอน อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาแก่พวกเจ้าแล้วในคัมภีร์นั้นว่า เมื่อพวกเจ้าได้ยินบรรดาโองการของอัลลอฮฺโองการเหล่านั้นก็ถูกปฏิเสธศรัทธาและถูกเย้ยหยัน(โดยพวกมุนาฟิก) ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่านั่งร่วมกับพวกเขา จนกว่าพวกเขาจะพูดคุยกันในเรื่องอื่นจากนั้น แท้จริงถ้าพวกเจ้าทำเช่นนั้นแล้ว พวกเจ้าก็จะเหมือนพวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงรวบรวมบรรดามุนาฟิก และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาไว้ในนรกญะฮันนัมทั้งหมด” (อัน-นิสาอ์140)
ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “ใครที่ในหัวใจของเขาไม่มีความเกลียดชังสิ่งที่อัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์เกลียดชัง ในสิ่งที่เป็นความชั่วต่างๆ ที่อัลลอฮฺห้ามจากบรรดาสิ่งที่เป็นการปฏิเสธศรัทธา การฝ่าฝืน และการทรยศต่างๆ ถือว่าในหัวใจของเขาไม่มีอีมานที่อัลลอฮฺได้กำหนดให้เป็นวาญิบเหนือตัวเขา...” และท่านกล่าวอีกว่า “ในเมื่อศูนย์รวมของศาสนาและการปกครองต่างๆ คือการสั่งใช้และการห้าม ดังนั้น การสั่งใช้ที่อัลลอฮฺได้ส่งศาสนฑูตของพระองค์มาก็คือการสั่งใช้ในความดี และการห้ามที่อัลลอฮฺได้ส่งศาสนฑูตของพระองค์มาก็คือการห้ามปรามในความชั่ว และนี่คือคุณลักษณะของนบีและบรรดามุอ์มินีน(ผู้ศรัทธา) อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَٱلۡمُؤۡمِنُونَ وَٱلۡمُؤۡمِنَٰتُ بَعۡضُهُمۡ أَوۡلِيَآءُ بَعۡضٖۚ يَأۡمُرُونَ بِٱلۡمَعۡرُوفِ وَيَنۡهَوۡنَ عَنِ ٱلۡمُنكَرِ﴾ [التوبة: ٧١]
ความว่า “และบรรดามุมินชาย และบรรดามุอ์มินหญิงนั้น บางส่วนของพวกเขาต่างเป็นผู้ช่วยเหลืออีกบางส่วน ซึ่งพวกเขาจะใช้ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ชอบและห้ามปรามในสิ่งที่ชั่ว“ (อัต-เตาบะฮฺ 71)
และนี่คือหน้าของมุสลิมทุกคนที่มีความสามารถ มันเป็นฟัรฎู กิฟายะฮฺ (สำหรับกรณีปกติ) และเป็นฟัรฎู อัยนฺ เหนือบุคคลที่มีความสามารถเมื่อไม่มีผู้อื่นทำได้นอกจากเขา” (อัล-ฟะตาวา 28 และ 65-66)
เมื่อความชั่วแผ่กระจายแล้วไม่มีการห้ามปราม มันคือสัญญาณถึงความชั่วและความหายนะของประชาชาติ
รายงานจากท่านหญิง ซัยนับ บินติ ญะหฺชิน เราะฎิยัลลอฮุอันฮาว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้เข้ามาหานางด้วยความตระหนกและกล่าวว่า
« لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ، وَيْلٌ لِلْعَرَبِ مِنْ شَرٍّ قَدِ اقْتَرَبَ، فُتِحَ الْيَوْمَ مِنْ رَدْمِ يَأْجُوجَ وَمَأْجُوجَ مِثْلُ هَذِهِ ». وَحَلَّقَ بِإِصْبَعِهِ الإِبْهَامِ وَالَّتِى تَلِيهَا. قَالَتْ فَقُلْتُ : يَا رَسُولَ اللَّهِ أَنَهْلِكُ وَفِينَا الصَّالِحُونَ؟ قَالَ : « نَعَمْ، إِذَا كَثُرَ الْخَبَثُ » [البخاري برقم 3346، ومسلم برقم 2880]
ความว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ความหายนะนั้นเกิดแก่ชาวอาหรับ เพราะความชั่วที่ใกล้เข้ามา วันนี้กำแพง ยะอ์ญูด และ มะอ์ญูด ได้ถูกเปิดแล้วขนาดเท่านี้“ แล้วท่านทำเป็นรูปวงกลมระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วที่อยู่ถัดมา ท่านหญิง ซัยนับ บินติ ญะหฺชิน เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้กล่าวว่า “ฉันได้กล่าวว่า โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ เราจะหายนะด้วยหรือ ในขณะที่ในหมู่พวกเรายังมีคนดี(ศอลิฮฺ)อยู่ด้วย? ท่านนบีตอบว่า “ใช่ ถ้าหากความชั่วนั้น มันมีจำนวนมาก“ (เศาะฮีหฺ อัลบุคอรีย์ 2/458 หมายเลข 3346 เศาะฮีหฺ มุสลิม 4/2208 หมายเลข 2880)
รายงานจากท่านอบู บักรฺ อัศ-ศิดดีกเราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า โอ้ผู้คนทั้งหลายเอ๋ย พวกท่านได้อ่านอายะฮฺนี้
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ عَلَيۡكُمۡ أَنفُسَكُمۡۖ لَا يَضُرُّكُم مَّن ضَلَّ إِذَا ٱهۡتَدَيۡتُمۡۚ ﴾ [المائدة: ١٠٥]
ความว่า “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จำเป็นแก่พวกเจ้าในการป้องกันตัวของพวกเจ้าเอง ส่วนผู้ที่หลงผิดไปนั้นจะไม่เป็นอันตรายแก่พวกเจ้าได้ถ้าหากพวกเจ้าได้รับทางนำแล้ว“ (อัล-มาอิดะฮฺ 105)
ในขณะที่แท้จริงแล้ว ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺได้กล่าวว่า
«إِنَّ النَّاسَ إِذَا رَأَوْا الظَّالِمَ فَلَمْ يَأْخُذُوا عَلَى يَدَيْهِ، أَوْشَكَ أَنْ يَعُمَّهُمْ اللَّهُ بِعِقَابٍ» [أبو داود برقم 4338]
ความว่า “แท้จริงเมื่อผู้คนเห็นผู้ที่กระทำการอธรรม แล้วพวกเขาไม่ช่วยกันห้ามปราบหยุดยั้งจากน้ำมือแห่งความชั่วของเขา เกือบแล้วที่อัลลอฮฺจะลงโทษด้วยโทษที่ครอบคลุมพวกเขาทั้งหมด(ทั้งคนดีและคนชั่วจะประสบกับมันทุกคน)” (สุนัน อบีดาวูด 4/122 หมายเลข 4338)
ท่านอิบนุ อัล-ก็อยยิม ได้กล่าวว่า “การห้ามปรามความชั่วนั้นมีสี่ระดับ
ระดับแรก คือทำให้ความชั่วนั้นหมดไปและแทนที่ด้วยความดี
ระดับที่สองคือ ทำให้ความชั่วนั้นลดลง แม้จะไม่ทำให้หมดไปโดยสิ้นเชิง
ระดับที่สามคือ ทำให้ความชั่วอื่นที่เท่ากันมาแทนที่
ระดับที่สี่คือ ทำให้ความชั่วอื่นที่ชั่วกว่ามาแทนที่
ดังนั้นสองระดับแรกคือสิ่งที่ศาสนาสั่งใช้ ส่วนระดับที่สามเป็นสิ่งที่ต้องนำมาวิเคราะห์ก่อน และระดับที่สี่เป็นสิ่งที่ต้องห้าม” (อิอฺลาม อัล-มุวักกิอีน 3/4-5)
และส่วนหนึ่งของตัวอย่างที่น่าสนใจยิ่งของผู้ที่สั่งใช้ในความดีและห้ามปรามในความชั่วนั้น ท่านอิมาม อัซ-ซะฮะบีย์ได้เล่าในหนังสือ อัส-สิยัรฺของท่านว่า ท่านชุญาอฺ บิน อัล-วะลีด ได้กล่าวว่า ฉันได้ทำหัจญ์ร่วมกับท่านสุฟยาน อัษ-เษารีย์ ฉันแทบไม่เห็นลิ้นของท่านสุฟยานหยุดนิ่งจากการห้ามปรามสิ่งที่ชั่วและสั่งใช้ในสิ่งดีเลยทั้งช่วงเดินทางไปและเดินทางกลับ” (อัส-สิยัรฺ 7/259)
และมีรายงายจากท่านสุฟยาน เช่นกันว่า ท่านได้กล่าวว่า “เมื่อฉันเห็นสิ่งใดที่เป็นวาญิบเหนือตัวฉันที่จะต้องพูดแล้วฉันไม่พูด ฉันจะปัสวะออกเป็นเลือด” (อัส-สิยัรฺ 7/259)
และท่านอัซ-ซะฮะบีย์รายงานจากท่านอัล-หาฟิซฺ อับดุลลอฮฺ อัล-มักดิสีย์ ว่า ตัวท่านอัล-หาฟิซฺเองเมื่อพบเห็นสิ่งที่เป็นความชั่วท่านจะต้องเปลี่ยนมันด้วยมือหรือคำพูดของท่านเสมอ ท่านจะไม่กลัวสิ่งใดหากทำเพื่ออัลลอฮฺ และครั้งหนึ่งฉันเห็นท่านเทเหล้าทิ้ง เจ้าของเหล้าได้ชักดาบออกมา แต่ท่านไม่ได้กลัวเขาเลย ท่านยึดเอาดาบจากมือของเขา ซึ่งท่านนั้นเป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรงมาก บ่อยครั้งที่ท่านทำลายกลองเล็กและปี่ต่างๆ ในกรุงดะมัสกัส” (อัส-สิยัรฺ 21/454)
ท่านอิมาม อัน-นะวะวีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า “จงรู้เถิดว่าประเด็นนี้ คือประเด็นเรื่องการสั่งใช้ในการทำความดีและห้ามปรามความชั่วนั้น ส่วนมากจะถูกละเลยมาช้านาน ณ เวลานี้ไม่เหลืออยู่ยกเว้นจำนวนน้อยมาก มันเป็นประเด็นใหญ่ เพราะการงานต่างๆ จะไม่ดำรงและมั่นคงอยู่ได้นอกจากด้วยสิ่งนี้ และหากความชั่วแผ่ขยาย บะลาอ์หรือการลงโทษจากอัลลอฮฺจะประสบกับทั้งคนดีและไม่ดี หากไม่มีการห้ามปรามคนชั่วให้หยุดการทำความชั่ว แล้ว เกรงว่าอัลลอฮฺอาจจะลงโทษกันทั่วหน้า
﴿فَلۡيَحۡذَرِ ٱلَّذِينَ يُخَالِفُونَ عَنۡ أَمۡرِهِۦٓ أَن تُصِيبَهُمۡ فِتۡنَةٌ أَوۡ يُصِيبَهُمۡ عَذَابٌ أَلِيمٌ ٦٣﴾ [النور: ٦٣]
ความว่า “ดังนั้น บรรดาผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของเขา (มุหัมมัด) จงระวังตัวเถิดว่า เคราะห์กรรมจะเกิดขึ้นแก่พวกเขา หรือว่าการลงโทษอันเจ็บปวดจะเกิดขึ้นแก่พวกเขา“ (อัน-นูรฺ 63)
ดังนั้น ผู้หวังในอาคิเราะฮฺและใฝ่หาความโปรดปรานของอัลลอฮฺ จำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะประโยชน์มันใหญ่หลวงนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาที่มีการละเลยอย่างมากเช่นปัจจุบันนี้ แต่ต้องบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺและต้องไม่เกรงกลัวผู้ที่ต่อต้านเพราะเราสูงส่งกว่า อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿وَلَيَنصُرَنَّ ٱللَّهُ مَن يَنصُرُهُۥٓۚ ﴾ [الحج: ٤٠]
ความว่า “และแน่นอนอัลลอฮฺ จะทรงช่วยเหลือผู้ที่สนับสนุนพระองค์” (อัล-หัจญ์ 40)
พึงรู้เถิดว่าผลบุญนั้นจะขึ้นอยู่กับระดับความยากลำบากของงาน และพึงรู้เถิดว่า การสั่งใช้ในความดีและห้ามปรามความชั่วนั้น ต้องไม่ถูกละเว้นเเพียงเพราะความเป็นเพื่อน ความใกล้ชิดสนิดสนม หรือเพราะต้องการเป็นที่ยอมรับ หรือคงไว้ซึ่งการยอมรับ เพราะความเป็นเพื่อนและใกล้ชิดกันนั้นมีหน้าที่และสิทธิอยู่ และหนึ่งในสิทธินั้นก็คือการให้คำตักเตือน และมอบสิ่งที่ดีในอาคิเราะฮฺแก่เขา ปกป้องเขาให้พ้นจากภัยอันตรายในอาคิเราะฮฺ เพื่อนและคนรักที่แท้จริงนั้นคือผู้ที่พยายามมอบความเจริญในอาคิเราะฮฺให้ แม้จะต้องแลกกับทำให้เกิดความบกพร่องในเรื่องดุนยาของเขาก็ตาม” จนจบการอ้างคำพูดของท่านอิมามอัน-นะวะวีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ (จากหนังสือ ชัรหฺ เศาะฮีหฺ อิมาม มุสลิม ของท่านอิมาม อัน-นะวะวีย์ 1/24)
والحمد لله رب العالمين
وصلّى الله وسلم على نبيّنا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.