الوصف
عذاب القبر ونعيمه : مقالة مقتبسة ومترجمة من كتاب: «الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة» للشيخ أمين بن عبد الله الشقاوي - حفظه الله. ذكر فيها أن عذاب القبر حق يجب الإيمان به، كما دلَّت على ذلك أدلة الكتاب والسنة، كما ذكر ذلك في سورة الواقعة وغافر، وقد صحَّ عن النبي - صلى الله عليه وسلم - أن للقبر ضغطة لا يسلم منها أحد، والإنسان في قبره معه عمله، وأما أهله وماله تبقى في الدنيا يفارقه يوم كان في أشد الحاجة إليه، والقبر أول منازل الآخرة فمن نجا منها فما بعده أيسر له، ومن لم ينجُ منه فما بعده أشد وأفظع، فعلى هذا ينبغي للإنسان المبادرة بالاستغفار والتوبة النصوح، والدعاء للميت بالتثبيت.
ترجمات أخرى 2
โทษทัณฑ์และความสุขสบายในหลุมศพ
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย :อิสมาน จารง
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-
มุลกอฮฺ
2012 - 1433
﴿عذاب القبر ونعيمه﴾
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبدالله الشقاوي
ترجمة: عثمان جارونج
مراجعة: صافي عثمان
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة
2012 - 1433
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
เรื่อง ที่ 61
โทษทัณฑ์และความสุขสบายในหลุมศพ
มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิของอัลลอฮฺ ขอการเจริญพรและความสันติมีแด่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ข้าขอปฏิญานว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุฮัมหมัดนั้นเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
รายงานจากท่านอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่าท่าน นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إِنَّ أَحَدَكُمْ إِذَا مَاتَ عُرِضَ عَلَيْهِ مَقْعَدُهُ بِالْغَدَاةِ وَالْعَشِىِّ، إِنْ كَانَ مِنْ أَهْلِ الْجَنَّةِ فَمِنْ أَهْلِ الْجَنَّةِ، وَإِنْ كَانَ مِنْ أَهْلِ النَّارِ فَمِنْ أَهْلِ النَّارِ، فَيُقَالُ هَذَا مَقْعَدُكَ حَتَّى يَبْعَثَكَ اللَّهُ إِلَيْهِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ» [البخاري برقم 1379، ومسلم برقم 2866]
ความว่า “เมื่อคนหนึ่งคนใดจากพวกท่านเสียชีวิต เขาจะถูกนำมาเสนอให้เห็นที่อยู่ของเขาในอนาคตทุกเช้าเย็น หากเขาถูกนำเสนอที่อยู่ในสวรรค์เขาก็เป็นชาวสวรรค์ และ หากเขาถูกนำเสนอที่อยู่ในนรกเขาก็เป็นชาวนรก เขาจะถูกกล่าวว่า นี่คือที่อยู่ของท่าน เมื่ออัลลอฮฺให้ท่านพื้นขึ้นในวันกิยามะฮฺ” (อัล-บุคอรีย์ เล่มที่ 1 หน้าที่ 423 หะดีษหมายเลข1379 และมุสลิม เล่มที่ 4 หน้าที่ 2199 หะดีษหมายเลข 2866)
หะดีษนี้เป็นหนึ่งในหลักฐานที่มีอยู่อย่างมากมายจากทั้งอัลกุรอานและซุนนะฮฺที่ยืนยันการมีอยู่ของโทษทัณฑ์และความสุขสบายที่มีอยู่ในสุสาน(กุโบร์) และถือเป็นสิ่งที่ต้องศรัทธาอีมาน และเตรียมพร้อมสำหรับมันด้วย
อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ فَأَمَّآ إِن كَانَ مِنَ ٱلۡمُقَرَّبِينَ ٨٨ فَرَوۡحٞ وَرَيۡحَانٞ وَجَنَّتُ نَعِيمٖ ٨٩ وَأَمَّآ إِن كَانَ مِنۡ أَصۡحَٰبِ ٱلۡيَمِينِ ٩٠ فَسَلَٰمٞ لَّكَ مِنۡ أَصۡحَٰبِ ٱلۡيَمِينِ ٩١ وَأَمَّآ إِن كَانَ مِنَ ٱلۡمُكَذِّبِينَ ٱلضَّآلِّينَ ٩٢ فَنُزُلٞ مِّنۡ حَمِيمٖ ٩٣ وَتَصۡلِيَةُ جَحِيمٍ ٩٤ إِنَّ هَٰذَا لَهُوَ حَقُّ ٱلۡيَقِينِ ٩٥ ﴾ [الواقعة: ٨٨-٩٥]
ความว่า “สำหรับผู้ที่หากว่าเขา (ผู้ตาย) เป็นผู้ใกล้ชิดกับอัลลอฮ ดังนั้นความอิ่มเอิบสดชื่นและสวรรค์อันเป็นที่โปรดปรานจะได้แก่เขา และหากว่าเขาอยู่ในกลุ่มทางขวา (ผู้ได้รับบันทึกด้วยมือขวา) ดังนั้นความปลอดภัยก็เป็นของเจ้าในฐานะเป็นผู้อยู่ในกลุ่มทางขวา (ผู้ได้รับบันทึกด้วยมือขวา) และหากว่าเขาอยู่ในหมู่ผู้ปฏิเสธที่หลงทาง ดังนั้นสิ่งที่เตรียมไว้สำหรับเขาก็คือน้ำร้อนที่กำลังเดือด และเปลวไฟที่ลุกไหม้ แท้จริงนี้แหละคือความจริงที่แน่นอน (อัล-วากิอะฮฺ 88-95)
ท่านอิมามอิบนุ กะษีรฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวอธิบายอายะฮฺนี้ว่า “สภาพทั้งสามลักษณะนี้คือสภาพของผู้ที่ใกล้ตาย เขาอาจเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ หรืออาจอยู่ในกลุ่มทางขวาซึ่งด้อยกว่ากลุ่มแรก หรือไม่ก็อาจจะอยู่ในหมู่ผู้ปฏิเสธสัจจธรรม ที่หลงห่างจากทางนำและฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺ ดังนั้นคำดำรัสที่ว่า “นั้นคือการที่พวกเขาจะได้รับความอิ่มเอิบสดชื่น และสวรรค์อันเป็นที่โปรดปราน” มะลาอิกะฮฺจะนำข่าวดีนี้มาบอกแก่พวกเขาขณะที่พวกเขากำลังจะตาย” (ตัฟซีร อิบนุกะษีรฺ 4/300)
นักปราชญ์หลายๆ ท่านได้ใช้เป็นหลักฐานว่าโทษทัณฑ์ในสุสานนั้นเป็นจริงและเป็นสิ่งที่จะต้องศรัทธาด้วยโองการของอัลลอฮฺที่ว่า
﴿ ٱلنَّارُ يُعۡرَضُونَ عَلَيۡهَا غُدُوّٗا وَعَشِيّٗاۚ وَيَوۡمَ تَقُومُ ٱلسَّاعَةُ أَدۡخِلُوٓاْ ءَالَ فِرۡعَوۡنَ أَشَدَّ ٱلۡعَذَابِ ٤٦ ﴾ [غافر: ٤٦]
ความว่า “ไฟนรกนั้น พวกเขาจะถูกนำมาให้เห็นทั้งในยามเช้าและยามเย็น และวันกิยามะฮฺนั้น จะมีเสียงกล่าวว่า จงให้บริวารของฟิรเอานฺเข้าไปรับการลงโทษอันสาหัสยิ่ง” (ฆอฟิรฺ 46)
ท่านอิมามอิบนุ กะษีรฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวอธิบายอายะฮฺนี้ว่า “วิญญาณของพวกเขาจะถูกนำเสนอให้เห็นโทษทัณฑ์ในนรก ทุกเช้าเย็นเรื่อยไปจนถึงวันกิยามะฮฺ เมื่อวันกิยามะฮฺมาถึงร่างกายและวิญญานของพวกเขาก็จะถูกรวมเข้าด้วยกันให้รับโทษในนรก” (ตัฟซีร อิบนุ กะษีรฺ 4/81)
รายงานจากท่านหญิงอัสมาอ์ บินติ อบีบักรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่าท่าน นบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«وَلَقَدْ أُوحِيَ إِلَيَّ أَنَّكُمْ تُفْتَنُونَ فِي الْقُبُورِ مِثْلَ أَوْ قَرِيبَ مِنْ فِتْنَةِ الدَّجَّالِ، يُؤْتَى أَحَدُكُمْ فَيُقَالُ لَهُ : مَا عِلْمُكَ بِهَذَا الرَّجُلِ؟ فَأَمَّا الْمُؤْمِنُ فَيَقُولُ : هُوَ مُحَمَّدٌ رَسُولُ اللَّهِ صلّى الله عليه وسلّم، جَاءَنَا بِالْبَيِّنَاتِ وَالْهُدَى فَأَجَبْنَا وَآمَنَّا وَاتَّبَعْنَا، فَيُقَالُ لَهُ : نَمْ صَالِحًا فَقَدْ عَلِمْنَا إِنْ كُنْتَ لَمُوقِنًا، وَأَمَّا الْمُنَافِقُ أَوْ الْمُرْتَابُ (لَا أَدْرِي أَيَّتَهُمَا قَالَتْ أَسْمَاءُ) فَيَقُولُ لَا أَدْرِي، سَمِعْتُ النَّاسَ يَقُولُونَ شَيْئًا فَقُلْتُهُ» [البخاري برقم 1053، ومسلم برقم 905]
ความว่า “แท้จริงได้มีวะหฺยูมายังฉันว่า พวกท่านจะถูกทดสอบ(ด้วยความทุกข์ยาก)เหมือนหรือใกล้เคียงกับการทดสอบด้วยดัจญาล คนหนึ่งๆ จะถูกนำมาและกล่าวถามว่า ท่านคิดอย่างไรกับชายคนนี้(หมายถึงท่านนบีมุหัมมัด)? ดังนั้น คนที่ศรัทธาก็จะตอบว่า มุหัมมัดนั้นคือศานทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านได้นำความประจักษ์แจ้งและทางนำมาสู่เรา แล้วเราก็ตอบรับคำเชิญชวน เราศรัทธา และเราปฏิบัติตามท่าน แล้วคนๆนั้นก็จะถูกกล่าวว่า ท่านจงนอนอยู่ด้วยดีเถิด แท้จริงเรารู้ว่าท่านนั้นมีศรัทธามั่น ส่วนคนกลับกลอก หรือคนที่มีความเคลือบแคลงนั้น (ไม่แน่ใจว่าท่านหญิงอัสมาอ์กล่าวคำไหน) พวกเขาจะตอบว่า ฉันไม่รู้ ฉันได้ยินคนอื่นเขาพูดฉันก็พูดตามเขา” (อัล-บุคอรีย์ เล่มที่ 1 หน้าที่ 332 หะดีษหมายเลข 1053 และมุสลิม เล่มที่ 2 หน้าที่ 624 หะดีษหมายเลข 905)
ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า
أَنَّ يَهُودِيَّةً دَخَلَتْ عَلَيْهَا فَذَكَرَتْ عَذَابَ الْقَبْرِ، فَقَالَتْ لَهَا: أَعَاذَكِ اللَّهُ مِنْ عَذَابِ الْقَبْرِ، فَسَأَلَتْ عَائِشَةُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَنْ عَذَابِ الْقَبْرِ، فَقَالَ : «نَعَمْ، عَذَابُ الْقَبْرِ حَقٌّ»، قَالَتْ عَائِشَةُ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهَا : فَمَا رَأَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بَعْدُ صَلَّى صَلَاةً إِلَّا تَعَوَّذَ مِنْ عَذَابِ الْقَبْرِ. [البخاري برقم 1372، ومسلم برقم 584]
ความว่า มีหญิงชาวยิวนางหนึ่งได้เข้ามาหานางและพูดถึงโทษทัณฑ์ในสุสาน และนางก็ได้กล่าวว่า ขออัลลอฮฺจงรักษาท่านให้พ้นจากไฟนรก แล้วท่านหญิงอาอิชะฮฺ ก็ได้ถามท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เกี่ยวกับโทษทัณฑ์ในสุสาน ท่านนบีได้ตอบว่า “ใช่แล้ว โทษทัณท์ในสุสานนั้นเป็นความสัจจริง” ท่านหญิงอาอิชะฮฺรายงานต่อว่า หลังจากนั้นฉันพบว่าท่าน เราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ว่าจะละหมาดๆ ใดก็ตาม ท่านจะกล่าวดุอาอ์ขอจากอัลลอฮฺให้พ้นจากโทษทัณฑ์ในสุสานทุกครั้ง (อัล-บุคอรีย์ เล่มที่ 1 หน้าที่ 422 หะดีษหมายเลข 1372 และมุสลิม เล่มที่ 1 หน้าที่ 410 หะดีษหมายเลข 584)
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เคยอธิบายลักษณะการลงโทษในสุสานให้แก่ประชาชาติของท่าน ดังเช่น หะดีษที่รายงานโดยท่าน อะนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«الْعَبْدُ إِذَا وُضِعَ فِي قَبْرِهِ وَتُوُلِّيَ وَذَهَبَ أَصْحَابُهُ، حَتَّى إِنَّهُ لَيَسْمَعُ قَرْعَ نِعَالِهِمْ، أَتَاهُ مَلَكَانِ فَأَقْعَدَاهُ فَيَقُولَانِ لَهُ : مَا كُنْتَ تَقُولُ فِي هَذَا الرَّجُلِ مُحَمَّدٍ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ؟ فَيَقُولُ أَشْهَدُ أَنَّهُ عَبْدُ اللَّهِ وَرَسُولُهُ، فَيُقَالُ انْظُرْ إِلَى مَقْعَدِكَ مِنْ النَّارِ أَبْدَلَكَ اللَّهُ بِهِ مَقْعَدًا مِنْ الْجَنَّةِ، قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : فَيَرَاهُمَا جَمِيعًا، وَأَمَّا الْكَافِرُ أَوْ الْمُنَافِقُ فَيَقُولُ : لَا أَدْرِي، كُنْتُ أَقُولُ مَا يَقُولُ النَّاسُ، فَيُقَالُ : لَا دَرَيْتَ وَلَا تَلَيْتَ، ثُمَّ يُضْرَبُ بِمِطْرَقَةٍ مِنْ حَدِيدٍ ضَرْبَةً بَيْنَ أُذُنَيْهِ، فَيَصِيحُ صَيْحَةً يَسْمَعُهَا مَنْ يَلِيهِ إِلَّا الثَّقَلَيْنِ» [البخاري برقم 1338، ومسلم برقم 2870]
ความว่า “มนุษย์คนหนึ่งเมื่อถูกวางลงในสุสานของเขา แล้วคนใกล้ชิดก็หันหลังกลับและแยกย้ายกันไป โดยที่เขา(คนตายที่ถูกฝัง)ยังได้ยินเสียงย่ำเท้าของพวกเขา ก็จะมีมะลาอิกะฮฺสองท่านมาหาเขา แล้วทั้งสองก็ยกเขาให้นั่ง แล้วถามเขาว่า ท่านเคยกล่าวถึงชายที่ชื่อมุหัมมัดว่าอย่างไร(ตอนที่ท่านมีชีวิตอยู่บนโลก)? เขาก็จะตอบว่า ฉันได้กล่าวปฏิญาณว่าเขาเป็นบ่าวและศาสนฑูตของอัลลอฮฺ เขาจะถูกกล่าวว่า จงดูที่อยู่เดิมของท่านในนรกที่อัลลอฮฺได้แทนที่ให้กับท่านด้วยคำปฏิญาณที่ได้กล่าวไว้นั้นด้วยที่อยู่ใหม่ในสวรรค์ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า แล้วเขาก็ได้เห็นที่อยู่ทั้งสองที่นั้นพร้อมกัน(คือทั้งนรกและสวรรค์) ส่วนคนกาฟิรฺหรือมุนาฟิก เขาจะกล่าวว่า ฉันไม่รู้ ฉันพูดตามสิ่งที่คนอื่นๆ พูด แล้วเขาจะถูกกล่าวว่า เจ้าไม่รู้ และเจ้าก็ไม่อ่าน แล้วเขาก็ถูกทุบด้วยค้อนเหล็กหนึ่งครั้งตรงกลางระหว่างหูทั้งสอง(กลางหน้า) แล้วเขาก็ส่งเสียงร้องดังลั่นโดยที่สิ่งอยู่ใกล้เคียงจะได้ยินทั้งหมดยกเว้นมนุษย์และญินเท่านั้นที่ไม่ได้ยิน” (อัล-บุคอรีย์ เล่มที่ 1 หน้าที่ 410 หะดีษหมายเลข 1338 และมุสลิม เล่มที่ 4 หน้าที่ 2201 หะดีษหมายเลข 2870)
รายงานจากท่านอัล-บัรรออ์ บิน อาซิบ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม อ่านอายะฮฺที่ว่า
﴿ يُثَبِّتُ ٱللَّهُ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ بِٱلۡقَوۡلِ ٱلثَّابِتِ﴾ [إبراهيم: ٢٧]
ความว่า “อัลลอฮฺทรงให้บรรดาผู้ศรัทธาหนักแน่นด้วยคำกล่าวที่มั่นคง” (อิบรอฮีม 27)
ท่านกล่าวว่า
«نَزَلَتْ فِى عَذَابِ الْقَبْرِ فَيُقَالُ لَهُ مَنْ رَبُّكَ؟ فَيَقُولُ : رَبِّىَ اللَّهُ وَنَبِيِّىْ مُحَمَّدٌ صلى الله عليه وسلم، فَذَلِكَ قَوْلُهُ عَزَّ وَجَلَّ : ﴿ يُثَبِّتُ ٱللَّهُ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ بِٱلۡقَوۡلِ ٱلثَّابِتِ فِي ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَا وَفِي ٱلۡأٓخِرَةِۖ وَيُضِلُّ ٱللَّهُ ٱلظَّٰلِمِينَۚ وَيَفۡعَلُ ٱللَّهُ مَا يَشَآءُ ٢٧ ﴾ [إبراهيم: ٢٧] » [مسلم برقم 2781]
ความว่า “อายะฮฺนี้ถูกประทานลงมาเกี่ยวข้องกับโทษทัณฑ์ในสุสาน โดยที่คนตายจะถูกถามว่า ใครคือผู้อภิบาลของท่าน เขาจะตอบว่า ผู้อภิบาลของฉันคืออัลลอฮฺ และนบีของฉันคือมุหัมมัด และนี่ก็คือคำดำรัสของอัลลอฮฺ ที่มีความว่า “อัลลอฮฺทรงให้บรรดาผู้ศรัทธาหนักแน่นด้วยคำกล่าวที่มั่นคง ในการมีชีวิตอยู่ทั้งในโลกนี้และในปรโลกและอัลลอฮฺทรงให้บรรดาผู้อธรรมหลงทาง และอัลลอฮฺทรงกระทำสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ (อิบรอฮีม 27)“ (มุสลิม เล่มที่ 4 หน้าที่ 2201 หะดีษหมายเลข 2781)
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้บัญญัติให้ประชาชาติของท่านขออภัยจากอัลลอฮฺให้แก่คนที่ตาย และขอให้เขาได้มีความยืนหยัดมั่นคง(ต่อบททดสอบในสุสาน) รายงานจากท่านอุษมาน บิน อัฟฟาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่าน นบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมนั้นเมื่อเสร็จจากการฝังศพ ท่านจะยืนขึ้นตรงสุสานนั้นแล้วจะกล่าวว่า
«اسْتَغْفِرُوا لِأَخِيكُمْ، وَسَلُوا لَهُ بِالتَّثْبِيتِ، فَإِنَّهُ الْآنَ يُسْأَلُ» [أبو داود برقم 3221، وصححه الحاكم]
ความว่า “พวกท่านจงขออภัยให้แก่เขา(คนตาย) และจงขอให้เขาได้มีความยืนหยัดมั่นคง เพราะแท้จริงแล้ว ตอนนี้เขากำลังถูกสอบสวนอยู่” (สุนัน อบี ดาวูด เล่มที่ 3 หน้าที่ 215 หะดีษหมายเลข 3221 และท่านอัล-หากิม กล่าวว่าเป็นหะดีษเศาะฮีหฺ)
แท้จริง ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั้นมักจะขอดุอาอ์ให้พ้นจากโทษทัณฑ์ในสุสานบ่อยๆ และท่านก็ได้สั่งใช้ บรรดาเศาะฮาบะฮฺของท่านด้วย รายงานจากท่านอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«هَذِهِ الأُمَّةَ تُبْتَلَى فِى قُبُورِهَا، فَلَوْلاَ أَنْ لاَ تَدَافَنُوا لَدَعَوْتُ اللَّهَ أَنْ يُسْمِعَكُمْ مِنْ عَذَابِ الْقَبْرِ الَّذِى أَسْمَعُ مِنْهُ». ثُمَّ أَقْبَلَ عَلَيْنَا بِوَجْهِهِ فَقَالَ : «تَعَوَّذُوا بِاللَّهِ مِنْ عَذَابِ النَّارِ». قَالُوا : نَعُوذُ بِاللَّهِ مِنْ عَذَابِ النَّارِ، فَقَالَ : «تَعَوَّذُوا بِاللَّهِ مِنْ عَذَابِ الْقَبْرِ». قَالُوا: نَعُوذُ بِاللَّهِ مِنْ عَذَابِ الْقَبْرِ. [مسلم برقم 2867]
ความว่า “ประชาชาตินี้จะถูกทดสอบในสุสานของพวกเขา ถ้าหากฉันไม่กลัวว่าพวกท่านจะไม่ยอมฝังคนตายกันแล้วละก็ ฉันจะขอดุอาอ์จากอัลลอฮฺให้พวกท่านได้ยินโทษทัณฑ์ในสุสานเหมือนกับที่ฉันได้ยิน” แล้วท่านนบีก็หันหน้าของท่านมายังพวกเรา แล้วกล่าวว่า “พวกท่านจงขอจากอัลลอฮฺให้พ้นจากไฟนรก” พวกเขา(บรรดาเศาะหาบะฮฺ)กล่าวว่า เราขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากไฟนรก แล้วท่านนบีก็กล่าวว่า “พวกท่านจงขอจากอัลลอฮฺให้พ้นจากการลงโทษในสุสาน” พวกเขาก็กล่าวเรา ขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากการลงโทษในสุสาน (มุสลิม เล่มที่ 4 หน้าที่ 2200 หะดีษหมายเลข 2867)
สุสานเป็นจุดพักแรกของโลกอาคิเราะฮฺ มีรายงานจากท่านอุษมาน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านนั้น เมื่อยืนอยู่หน้าสุสาน ท่านจะร้องไห้จนเคราของท่านเปียกชื้น มีคนกล่าวว่า ท่านได้ยินเรื่องสวรรค์และนรกไม่เห็นท่านร้องไห้ แต่ท่านร้องไห้ด้วยสิ่งนี้หรือ? ท่านอุษมานตอบว่า แท้จริง ฉันได้ยินเราะสูลุลลอฮ์ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إِنَّ الْقَبْرَ أَوَّلُ مَنْزِلٍ مِنْ مَنَازِلِ الْآخِرَةِ، فَإِنْ نَجَا مِنْهُ فَمَا بَعْدَهُ أَيْسَرُ مِنْهُ، وَإِنْ لَمْ يَنْجُ مِنْهُ فَمَا بَعْدَهُ أَشَدُّ مِنْهُ»، قَالَ : وَسَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ: «مَا رَأَيْتُ مَنْظَرًا قَطُّ إِلَّا الْقَبْرُ أَفْظَعُ مِنْهُ». [سنن الترمذي برقم 2308]
ความว่า “สุสานเป็นจุดพักพิงแรกของโลกอาคิเราะฮฺ หากเขารอดพ้น ดังนั้นสิ่งที่อยู่หลังจากนั้นจะง่ายกว่าสำหรับเขา และหากเขาไม่รอดพ้น แน่นอนสิ่งที่จะมาหลังจากนั้นจะรุนแรงกว่า” แล้วท่านกล่าวต่อไปว่า “ฉันได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ฉันไม่เคยเห็นภาพใดหน้ากลัวยิ่งกว่าภาพที่เห็นในสุสาน” (สุนัน อัต-ติรมิซีย์ เล่มที่ 4 หน้าที่ 553-554 หะดีษหมายเลข 2308)
และในสุสานนั้นจะมีการบีบ(ของแผ่นดิน)ที่ไม่ใครสามารถหลุดพ้นได้ มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ บินติ อบี บักรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่าท่าน นบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«إِنَّ لِلْقَبْرِ ضَغْطَةً، لَوْ كَانَ أَحَدٌ نَاجِيًا مِنْهَا لَنَجَا سَعْدُ بْنُ مُعَاذٍ» [مسند الإمام أحمد 6/98]
ความว่า “แท้จริงแล้วในสุสานนั้นมีการบีบ(ของแผ่นดิน) หากแม้นมีผู้ใดที่สามารถหลุดพ้นได้ แน่นอน สะอัด บิน มุอาซฺ ก็จะหลุดพ้น(หากแต่ไม่ผู้ใดหลุดพ้นได้)” (มุสนัด อิมาม อะห์มัดเล่มที่ 6 หน้าที่ 98)
เราทุกคนลองจินตนการตัวเองว่า ถูกแบกอยู่บนบ่าของคนหลายคน แล้วถูกนำไปใส่ในหลุมที่แคบและมืดมิด ไม่มีมิตร ไม่มีเพื่อนคุย ไม่มีทรัพย์ ไม่มีลูก สุสานกลายเป็นที่อยู่อาศัย ดินคือที่รองนอน หนอนคือเพื่อน ที่แห่งนั้นทรัพย์สิน ตำแหน่ง และเกียรติบัตรต่างๆ ไม่มีประโยชน์ใดๆ อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَمَآ أَمۡوَٰلُكُمۡ وَلَآ أَوۡلَٰدُكُم بِٱلَّتِي تُقَرِّبُكُمۡ عِندَنَا زُلۡفَىٰٓ إِلَّا مَنۡ ءَامَنَ وَعَمِلَ صَٰلِحٗا فَأُوْلَٰٓئِكَ لَهُمۡ جَزَآءُ ٱلضِّعۡفِ بِمَا عَمِلُواْ وَهُمۡ فِي ٱلۡغُرُفَٰتِ ءَامِنُونَ ٣٧ ﴾ [سبأ : ٣٧]
ความว่า “และมิใช่ทรัพย์สินของพวกเจ้าและมิใช่ลูกหลานของพวกเจ้า ที่จะทำให้พวกเจ้าใกล้ชิดสนิทกับเรา นอกจากผู้ศรัทธาและกระทำความดี ดังนั้น ชนเหล่านั้นสำหรับพวกเขาจะได้รับการตอบแทนเป็นสองเท่าตามที่พวกเขาได้กระทำไว้ และพวกเขาจะพำนักอยู่ในสวนสวรรค์อย่างผู้ปลอดภัย” (สะบะอ์ 37)
รายงานจากท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«يَتْبَعُ الْمَيِّتَ ثَلَاثَةٌ، فَيَرْجِعُ اثْنَانِ وَيَبْقَى مَعَهُ وَاحِدٌ، يَتْبَعُهُ أَهْلُهُ وَمَالُهُ وَعَمَلُهُ، فَيَرْجِعُ أَهْلُهُ وَمَالُهُ، وَيَبْقَى عَمَلُهُ» [البخاري برقم 6514، ومسلم برقم 2960]
ความว่า “สิ่งที่ตามผู้ตายไป(ที่หลุมศพ)นั้นมีสามสิ่ง สองสิ่งจะกลับมาและคงเหลือสิ่งเดียว(ที่อยู่กับผู้ตาย) ครอบครัว ทรัพย์สิน และการงาน(ที่ดีและชั่วที่เขาเคยปฏิบัติ)จะตามเขาไป แล้วครอบครัวและทรัพย์สินก็จะกลับมา เหลือเพียงการงาน(ที่อยู่กับเขาในหลุม)” (อัล-บุคอรีย์ เล่มที่ 4 หน้าที่ 194 หะดีษหมายเลข 6514 และมุสลิม เล่มที่ 4 หน้าที่ 2273 หะดีษหมายเลข 2960)
ดังนั้น มุสลิมควรที่จะหมั่นสำรวจตัวเองและรีบเร่งเตาบะฮฺกลับตัว ดำรงตนอยู่ในการภักดีต่ออัลลอฮฺและยำเกรงพระองค์ และเตรียมพร้อมเสมอที่จะกลับไปพบผู้อภิบาลของเขา นักกวีประพันธ์ไว้ว่า
يــا مـــن بــدنيـاه اشــتغل | وغَــــرّه طـــــول الأمـــــل | |
الــمـوت يـــأتـي بـــغـتــة | والـقـبــر صـــنـدوق الـــعمـل |
ความว่า โอ้ผู้ที่ยุ่งอยู่กับชีวิตดุนยาเอ๋ย
ความหวังที่ยาวไกลได้หลวงหลอก
ความตายนั้นเกิดขึ้นอย่างฉับพลันไม่ทันบอก
และหลุมศพนั้นก็เปรียบดังตู้ไว้สะสมซึ่งการงานที่ผ่านมา
والحمد لله رب العالمين
وصلّى الله وسلم على نبيّنا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.