×
جدبد!

تطبيق موسوعة بيان الإسلام

احصل عليه الآن!

القاديانية (تايلندي)

الوصف

القاديانية: مقالة مقتبسة من كتاب: «الموسوعة الميسرة في الأديان والمذاهب والأحزاب المعاصرة» تأليف الندوة العالمية للشباب الإسلامي، وفيه التعريف الموجز بالقاديانية، إحدى الفرق الضالة التي تنتسب إلى الإسلام، وأنه يجب على كل مسلم الحذر منها، وتحتوي على بيان مؤسسها والعلماء المنتسبين لها وبعض عقائدها.

تنزيل الكتاب

    กลุ่มลัทธิ อัล-ก็อดยานียะฮฺ

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    สภายุวมุสลิมโลก WAMY

    แปลโดย : อันวา สะอุ

    ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน

    2012 - 1433

    ﴿ القاديانية ﴾

    « باللغة التايلاندية »

    الندوة العالمية للشباب الإسلامي

    ترجمة: أنور إسماعيل

    مراجعة: صافي عثمان

    2012 - 1433

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    แนวคิดและการการเชื่อมั่นของ อัล-ก็อดยานียะฮฺ

    นิยาม

    อัล-ก็อดยานียะฮฺ คือ กลุ่มเคลื่อนไหวที่ก่อตั้งขึ้นมาในปี ค.ศ.1900 โดยการวางแผนของจักรวรรดินิยมอังกฤษในชมพูทวีป ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อให้ชาวมุสลิมห่างเหินจากศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะหลักคำสอนเกี่ยวกับอัล-ญิฮาด(การต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ) เพื่อสกัดกั้นไม่ให้ชาวมุสลิมต่อต้านการรุกรานของจักรวรรดินิยมอังกฤษในนามของศาสนาอิสลาม กลุ่มเคลื่อนไหวนี้มีกระบอกเสียงหลักคือวารสารอัล-อัดยาน ซึ่งตีพิมพ์ด้วยภาษาอังกฤษ

    การก่อตั้งและบุคคลสำคัญ

    มิรซา ฆุลาม อะหฺมัด อัล-ก็อดยานีย์ มีชีวิตระหว่างปี ค.ศ. 1839 - 1908 เป็นบุคคลหลักที่ได้จัดตั้งกลุ่มอัล-ก็อดยานียะฮฺ เขาเกิดที่ตำบลก็อดยาน แคว้นปัญจาบ ประเทศอินเดีย เมื่อปี ค.ศ. 1839 เขาเป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัวที่รู้จักกันว่าเป็นตระกูลที่ทรยศต่อศาสนาและปรเทศชาติ เขาเติบโตมาในสภาพของการสวามิภักดิ์ต่อจักรววรดินิยมในทุกสภาวการณ์ ดังนั้นเขาจึงถูกคัดเลือกเพื่อให้สวมบทบาทเป็นนบี ทั้งนี้เพื่อให้ชาวมุสลิมมาห้อมล้อมตัวเขาและหันเหจากการต่อสู้กับการยึดครองของผู้กดขี่ รัฐบาลของอังกฤษให้ความสำคัญกับกลุ่มนี้อย่างมาก จนกระทั้งกลุ่มนี้ได้แสดงความจงรักภักดีต่ออังกฤษอย่างเปิดเผย

    ฆุลาม อะหฺมัด เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่พวกพ้องเขาว่าเป็นผู้ที่มีปัญหาทางจิต มีโรคมากมายและติดยาเสพติด

    หนึ่งในบรรดานักวิชาการมุสลิมที่ลุกขึ้นมาต่อกรกับกลุ่มเคลื่อนไหวสกปรกนี้ คือ ชัยคฺ อบู อัล-วะฟาอ์ ษะนาอุลลอฮฺ อัล-อัมรฺตัสตุรีย์ ประธานสมาคมอะฮฺลุลหะดีษ ในประเทศอินเดีย โดยท่านได้ปะทะคารมกับฆุลาม อะหฺมัด และในที่สุดท่านชัยคฺ อบูอัล-วะฟาอ์ สามารถหักล้างหลักฐานของกลุ่มนี้ได้ โดยท่านได้เปิดโปงวัตถุประสงค์อันชั่วร้ายของกลุ่มนี้ ท่านได้อธิบายถึงความหลงผิดและเหตุผลการพ้นสภาพจากศาสนาอิสลามของกลุ่มนี้

    เมื่อฆุลาม อะหฺมัด ยืนกรานที่จะยึดมั่นในแนวคิดที่หลงทางนี้และไม่ยอมกลับตัว ชัยคฺ อบูอัล-วะฟาอ์ได้ทำการมุบาฮะละฮฺ (การสาบานตนต่อัลลอฮฺว่าผู้ใดที่พูดเท็จจากคู่กรณีทั้งสองฝ่ายก็ขอให้เสียชีวิต) หลังจากทั้งสองทำการมุบาฮะละฮฺอยู่ไม่กี่วัน ปรากฏว่า มิรซา ฆุลาม อะหฺมัด ได้เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1908 โดยได้ทิ้งงานเขียนไว้จำนวน 50 เล่ม นอกจากนี้ยังมีบทความและสิ่งพิมพ์อื่นๆ อีกด้วย ส่วนหนึ่งจากงานเขียนของ ฆุลาม อะหฺมัด คือ อิซาละฮฺ อัล-เอาฮาม, อิอฺญาซฺ อะหฺมะดีย์, บะรอฮีน อะหฺมะดียะฮฺ, อันวารุลอิสลาม, อิอฺญาซ อัล-มะสีหฺ, อัต-ตับลีฆฺ และ ตะญัลลิยาต อิลาฮิยะฮฺ

    บุคคลสำคัญของแนวคิดนี้

    1. นุรุดดีน เป็น เคาะลีฟะฮฺ(ผู้สืบทอด)แนวคิดอัลก็อดยานียะฮฺคนแรก (หลังจากการเสียชีวิตของฆุลาม อะหฺมัด) โดยทางการอังกฤษได้สวมมงกุฎผู้นำแนวคิดนี้บนศีรษะของเขา จากนั้นก็มีผู้ที่หลงเชื่อก็ทำตามเขา ส่วนหนึ่งจากงานเขียนของเขาคือ หนังสือฟัศลฺ อัล-คิฏอบ

    2. มุหัมมัด อะลีย์ และ เคาญะฮฺ กะมาลุดดีน เป็นผู้นำอัล-ก็อดยานียะฮฺ ในเมืองละฮอร์ ทั้งสองเป็นปราชญ์ของแนวคิด

    มุหัมมัด อะลีย์ ได้ทำการแปลอัลกุรอานเป็นภาษาอังกฤษโดยได้บิดเบือนความหมาย และได้แต่งหนังสืออื่นๆ อีก เช่น หะกีเกาะฮฺ อัล-อิคติลาฟ, อันนุบุวะฮฺ ฟี อัล-อิสลาม และอัดดีน อัล-อิสลามีย์

    ส่วน เคาญะฮฺ กะมาลุดดีน ได้แต่งหนังสือ อัล-มะษัล อัล-อะอฺลา ฟี อัล-อันบิยาอ์ และหนังสืออื่นๆ

    กลุ่มอัล-ก็อดยานียะฮฺ ในเมืองละฮอร์จะมอง ฆุลาม อะหมัด มิรซา ว่าเป็นผู้ฟื้นฟู(มุญัดดิด)เท่านั้น แต่ทั้งสองกลุ่มถือเป็นขบวนการเดียวกัน เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อกัน

    มุหัมมัด อะลีย์ เป็นผู้นำอัล-ก็อดยานียะฮฺ ในเมืองละฮอร์ อีกทั้งยังเป็นผู้สืบราชการลับให้แก่อังกฤษ และเป็นบรรณาธิการวารสารที่เป็นกระบอกเสียงของอัล-ก็อดยานียะฮฺอีกด้วย

    3. มุหัมหมัด ศอดิก ดำรงตำแหน่งเป็นมุฟตีย์ (ผู้ชี้ขาดปัญหาศาสนา) ของอัล-ก็อดยานียะฮฺ ส่วนหนึ่งจากงานเขียนของเขาคือ หนังสือ คอตัม อัน-นะบิยีน

    4. บะชีรฺ อะหฺมัด บิน อัล-ฆุลาม ส่วนหนึ่งจากงานเขียนของเขาคือ สีเราะฮฺ อัล-มะฮฺดีย์, กะลิมะฮฺ อัล-ฟัศลฺ

    5. มะหฺมูด อะหฺมัด บิน อัล-ฆุลาม และผู้นำก็อดยานียะฮฺ คนที่สอง ส่วนหนึ่งจากงานเขียนของเขาคือ อันวารฺ อัล-คิลาฟะฮฺ , ตุหฺฟะฮฺ อัล-มุลูก และ หะกีเกาะฮฺ อัน-นุบุวะฮฺ

    การที่รัฐบาลปากีสถานได้แต่งตั้งให้ นายซ็อฟรุลลอฮฺ คาน อัล-ก็อดยานีย์ ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของปากีสถานนั้น ทำให้กลุ่มแนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยทางกลุ่มได้รับการจัดสรรเนื้อที่กว้างใหญ่ในแคว้นปัญจาบเพื่อเป็นศูนย์กลางของกลุ่มอัล-ก็อดยานียะฮฺสากล พวกเขาได้เรียกเขตพื้นที่ดังกล่าวว่า ร็อบวะฮฺ โดยอ้างถึงอายะฮฺหนึ่งของอัลกุรอานว่า

    ﴿وَءَاوَيۡنَٰهُمَآ إِلَىٰ رَبۡوَةٖ ذَاتِ قَرَارٖ وَمَعِينٖ ٥٠﴾ [المؤمنون : ٥٠]

    ความว่า "และเรา(อัลลอฮฺ)ได้ให้ เขาทั้งสอง(อีซาและมารดา) ไปอยู่ทางร็อบวะฮฺ (ที่สูง) ที่มีความมั่นคงและตาน้ำ" (สูเราะฮฺ อัล-มุอ์มินูน : 50)

    แนวคิดและหลักการเชื่อมั่น

    แรกเริ่มนั้นฆุลาม อะหฺมัด ได้เคลื่อนไหวในฐานะนักเผยแพร่อิสลามจนมีสานุศิษย์มาห้อมล้อมมากมาย ต่อมาเขาได้อ้างตนว่าเป็นมุญัดดิด (นักฟื้นฟูศาสนา) และอ้างว่าตนได้รับการดลใจจากอัลลอฮฺ จากนั้นได้เลื่อนฐานะตนเองว่าเป็นอัล-มะฮฺดีย์ อัล-มุนตะซ็อรฺ (ผู้นำมุสลิมที่โลกรอคอย) และเป็นมัล-มะสีหฺ อัล-เมาอูด (นบีอีซา-ที่ถูกสัญญาจะลงมาบนโลกนี้อีกครั้ง) จนหนักเข้าได้อ้างตนว่าเป็นนบี และมีฐานะสูงส่งกว่าท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เสียอีก

    พวกอัล-ก็อดยานีย์ เชื่อว่า อัลลอฮฺนั้นทรงถือศีลอด ทรงละหมาด ทรงบรรทม ทรงตื่น ทรงเขียน สามารถทำผิด และร่วมสังวาส (มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮฺจากสิ่งที่พวกเขาได้กล่าว)

    พวกอัล-ก็อดยานีย์ เชื่อว่าพระเจ้าของเขามีสัญชาติอังกฤษ และตรัสด้วยภาษาอังกฤษ

    พวกอัล-ก็อดยานีย์ เชื่อว่า การเป็นนบีไม่ได้สิ้นสุดที่ ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แต่จะมีการแต่งตั้งนบีอย่างต่อเนื่องตามสถานการณ์ความจำเป็น และเชื่อว่า ฆุลาม อะหฺมัดนั้นเป็นนบีที่ประเสริฐกว่านบีท่านอื่นๆ ทั้งหมด

    พวกอัล-ก็อดยานีย์ เชื่อว่า มลาอิกะฮฺญิบรีล ได้ลงมาพบกับ ฆุลาม อะหฺมัด และได้ประทานวะหฺยู(วิวรณ์) แก่เขา และการดลใจต่างๆ ของเขานั้นเปรียบเสมือนอัลกุรอาน

    พวกอัล-ก็อดยานีย์ เชื่อว่า ไม่มีอัล-กุรอาน นอกจากคัมภีร์ที่อัล-มะสีหฺ (ฆุลาม อะหฺมัด )นำมาเสนอ ไม่มีหะดีษนอกจากคำสอนของเขา และไม่มีนบีนอกจากต้องอยู่ภายใต้การนำของฆุลาม อะหฺมัดเท่านั้น

    พวกอัล-ก็อดยานีย์เชื่อว่า คัมภีร์ที่ถูกประทานลงมาของพวกเขา มีชื่อว่า อัล-กีตาบ อัล-มุบีน ซึ่งไม่ใช่อัล-กุรอานุลกะรีม

    พวกอัล-ก็อดยานีย์ ถือว่าพวกเขาคือเจ้าของศาสนาใหม่ มีคำสอนและบทบัญญัติที่เป็นเอกเทศ และมิตรสหายของฆุลาม อะหฺมัด มีฐานะเทียบเท่าบรรดาเศาะหาบะฮฺของนบีมุหัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

    พวกอัล-ก็อดยานีย์ เชื่อว่า ตำบลก็อดยาน (แหล่งกำเนิดของแนวคิดนี้) เปรียบเสมือนนครมะดีนะฮฺและนครมักกะฮฺ และมีความประเสริฐกว่าเมืองทั้งสองเสียอีก พวกเขาเชื่อว่าตำบลก็อดยาน เป็นเขตหะรอม(หวงห้าม) ดังนั้นตำบลก็อดยานถือเป็นทิศกิบลัตและสถานที่ประกอบพิธีหัจญ์ของพวกอัล-ก็อดยานียะฮฺ

    พวกอัล-ก็อดยานียะฮฺเรียกร้อง ให้ยกเลิกคำสอนเกี่ยวกับอัล-ญิฮาด (การต่อสู้) นอกจากนั้นยังเรียกร้องให้ภักดีต่อรัฐบาลอังกฤษอย่างมืดบอด เพราะพวกเขาอ้างว่า อังกฤษเป็นผู้ปกครองอย่างชอบธรรมตามที่ระบุในคัมภีร์อัล-กุรอาน

    พวกอัล-ก็อดยานียะฮฺ เชื่อว่า มุสลิมทุกคน ในทัศนะของพวกเขาเป็นกาฟิรฺ จนกว่าจะได้ศรัทธาในแนวคิดอัล-ก็อดยานียะฮ์ เสียก่อนเท่านั้น นอกจากนั้นแล้วใครที่แต่งงานให้หรือแต่งงานกับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในอัล-ก็อดยานียะฮฺเขาผู้นั้นก็เป็นกาฟิรฺเช่นกัน

    พวกอัล-ก็อดยานียะฮฺ อนุญาตให้ ดื่มสุรา สูบฝิ่น เสพสารเสพติด และของมึนเมาได้

    รากเหง้าของแนวคิดและหลักการเชื่อมั่น

    ก่อนที่จะมีกลุ่มอัล-ก็อดยานียะฮฺนั้น ขบวนการเคลื่อนไหวของเซอร์ ซัยยิด อะหฺมัด คาน ผู้นิยมตะวันตกได้ปูทางให้กลุ่มอัล-ก็อดยานียะฮฺถือกำเนิดขึ้นและเผยแพร่หลักการที่หลงผิด

    พวกอังกฤษฉกฉวยโอกาสในสภาพเช่นนี้ พวกเขาได้อุปโลกน์ขบวนการ อัล-ก็อดยานียะฮฺ ขึ้นมา และเลือกผู้นำจากตระกูลคนที่รับใช้ต่างชาติอย่างมากมาเป็นผู้นำ

    ในปี ค.ศ.1953 ได้มีการลุกฮือขึ้นมาต่อต้านของประชาชนชาวปากีสถาน เรียกร้องให้ปลด นายซ็อฟรุลลอฮฺ คาน รัฐมนตรีต่างประเทศขณะนั้นออก และให้ถือว่า กลุ่ม อัล-ก็อดยานียะฮฺ เป็นชนกลุ่มน้อยที่ไม่ได้เป็นมุสลิม ซึ่งในการลุกฮือครั้งนั้นมีบรรดามุสลิมล้มตายถึงหนึ่งหมื่นกว่าคน และในที่สุดพวกเขาได้รับความสำเร็จในการปลดรัฐมนตรีที่ฝักใฝ่แนวคิดอัล-ก็อดยานียะฮฺ

    ในเดือนเราะบีอุลเอาวัล ฮ.ศ. 1394 ตรงกับเดือนเมษายน ค.ศ. 1974 สันนิบาตโลกมุสลิม (รอบิเฏาะฮฺ อัล-อาลัม อัล-อิสลามียฺ) ได้มีการจัดประชุมใหญ่ที่นครมักกะฮฺ โดยมีบรรดาตัวแทนขององค์กรมุสลิมต่างๆ เข้าร่วมจากทั่วทุกมุมโลก และที่ประชุมได้มีฉันทมติว่า อัล-ก็อดยานียะฮฺ เป็นกลุ่มกาฟิรฺ(ผู้ปฏิเสธศรัทธา) และพ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม และเรียกร้องให้บรรดามุสลิมต่อต้านภยันตรายจากกลุ่มนี้ ไม่คบค้าสมาคมกับกลุ่มอัล-ก็อดยานีย์ และไม่อนุญาตให้ฝังศพของพวกอัล-ก็อดยานียะฮฺร่วมสุสานของบรรดามุสลิม

    สภาประชาชนแห่งปากีสถาน (สภากลาง) ได้ทำการอภิปรายประเด็นเกี่ยวกับกลุ่มอัล-ก็อดยานียะฮฺ โดยมีผู้นำของกลุ่มอัล-ก็อดยานียะฮฺ คือมิรซา นาศิรฺ อะหมัด เข้าร่วมอภิปรายในครั้งนี้ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งที่ทำหน้าที่โต้กลับ ซึ่งนำโดย ฯพณฯ มุฟตีย์ (ผู้ชี้ขาดปัญหาศาสนา) ของปากีสถาน ชัยคฺ มะหมูด (ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่านด้วย) การอภิปรายดังกล่าวได้ดำเนินไปเป็นเวลาเกือบสามสิบชั่วโมง ในการอภิปรายครั้งนั้น มิรซา นาศิรฺ อะหมัด ไม่สามารถที่จะตอบคำถามต่างๆ ได้ และในที่สุดหน้ากากความเป็นกาฟิรฺที่ซ่อนอยู่ของกลุ่มนี้ได้เผยออกมาให้สาธารณชนเห็น สภาจึงได้ลงมติถือว่า อัล-ก็อดยานียะฮฺ เป็นชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่มุสลิม (คือเป็นกลุ่มกาฟิรฺ)

    เหตุผลที่ทำให้ มิรซา ฆุลาม อะหฺมัด กลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา มีดังต่อไปนี้

    - การอ้างว่าตัวเขาเป็นนบี

    - ได้ยกเลิกข้อกำหนดการต่อสู้ (อัล-ญิฮาด) ซึ่งเป็นการรับใช้จักรวรรดินิยม

    - ได้ยกเลิกการไปประกอบพิธีหัจญ์ที่นครมักกะฮฺ และเปลี่ยนไปประกอบที่ตำบลก็อดยานแทน

    - เปรียบเทียบอัลลอฮฺเหมือนกับมนุษย์

    - มีความเชื่อในเรื่องของการเวียนว่ายตายเกิด

    - อ้างว่าอัลลอฮฺมีบุตร และเขาเป็นบุตรของพระเจ้า

    - อ้างว่านบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ได้เป็นนบีท่านสุดท้าย และคนอื่นๆ ก็มีสิทธิเป็นนบีได้เช่นกัน

    อัล-ก็อดยานียะฮฺ มีความสัมพันธ์อันเหนียวแน่นกับรัฐบาลยิวอิสราเอล จนอิสราเอลได้เปิดศูนย์และโรงเรียนต่างๆ ให้แก่พวกเขา อนุญาตให้พวกเขาได้ตีพิมพ์เผยแพร่วารสาร พิมพ์หนังสือ ตำรา และสิ่งเผยแพร่ต่างๆแจกจ่ายไปทั่วโลก

    อัล-ก็อดยานียะฮฺ ได้รับอิทธิพลทางความคิดของพวกเขามาจากศาสนาคริสต์ ศาสนายูดาย และจากขบวนการศูฟีย์ อัล-บาฏินียะฮฺ อย่างชัดเจน ไม่ว่าในด้านหลักการเชื่อมั่น การประพฤติปฏิบัติของพวกเขา แม้ว่าเปลือกภายนอกพวกเขาจะแสดงความเป็นมุสลิมก็ตาม

    การแพร่หลายของแนวคิดและแหล่งอิทธิพลต่างๆ

    พวกอัล-ก็อดยานียะฮฺส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในอินเดีย ปากีสถาน จำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ในอิสราเอล และประเทศอาหรับ พวกเขาใช้ความพยายามอย่างยิ่งและด้วยการให้ความช่วยเหลือจากจักรวรรดินิยม เพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่งสำคัญๆ ในประเทศที่พวกเขาอาศัยอยู่

    พวกอัล-ก็อดยานียะฮฺ มีการเคลื่อนไหวมากในประเทศแอฟริกา และประเทศตะวันตกบางประเทศ เฉพาะในทวีปแอฟริกาอย่างเดียว กลุ่มอัล-ก็อดยานียะฮฺมีนักดาอีย์ (ผู้ทำหน้าที่ชี้แนะและเรียกร้องเชิญชวนผู้คน) ไปสู่แนวคิดอัล-ก็อดยานียะฮฺ ถึงห้าพันคน การเคลื่อนไหวที่มากมายขนาดนั้นชี้ให้เห็นว่ากลุ่มอัล-ก็อดยานียะฮฺ ได้รับการสนับสนุนแหล่งทุนจากจักรวรรดินิยม

    รัฐบาลอังกฤษได้ให้การโอบอุ้มแนวคิดนี้ และอำนวยความสะดวกให้สมาชิกของพวกเขา ได้มีตำแหน่งอยู่ในหน่วยงานรัฐบาลต่างๆ ของโลก ในการบริหารบริษัท และสถาบันต่างๆ และแต่งตั้งพวกเขาเป็นนายทหารระดับสูงในหน่วยสืบราชการลับอีกด้วย

    พวกอัล-ก็อดยานียะฮฺ มีความเคลื่อนไหวมาก ในการเรียกร้องเชิญชวน ไปสู่แนวความคิดของพวกเขา ด้วยกลวิธีต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านวัฒนธรรม พวกเขาส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีการศึกษาดี ซึ่งมีทั้งนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และแพทย์ ในอังกฤษมีสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่องหนึ่งเผยแพร่ออกอากาศโดยใช้ชื่อโทรทัศน์มุสลิม แต่บริหารจัดการสถานีโดยพวกอัล-ก็อดยานียะฮฺ

    สรุป

    อัล-ก็อดยานียะฮฺ นั้นเป็นลัทธิเรียกร้องไปสู่ความหลงผิด ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอิสลามแต่ประการใด หลักการเชื่อมั่นของอัล-ก็อดยานียะฮฺ ค้านกับอิสลามในทุกสิ่ง และควรเตือนให้บรรดามุสลิมทั้งหลาย พึงระวังกิจกรรมต่างๆ และการเคลื่อนไหวของพวกเขาในรูปแบบที่แอบแฝง หลังจากที่บรรดานักปราชญ์มุสลิมได้ชี้ขาดว่า พวกเขาเป็นกาฟิรฺ(ผู้ปฏิเสธศรัทธา)

    ที่มา http://www.saaid.net/feraq/mthahb/39.htm

    จากหนังสือ อัล-เมาสูอะฮฺ อัล-มุยัสสะเราะฮฺ ฟี อัล-อัดยาน วะ อัล-มะษาฮิบ โดยสภายุวมุสลิมโลก

    معلومات المادة باللغة الأصلية