×

شرح حديث: «يتبع الميتَ ثلاثة» (تايلندي)

إعداد: อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

الوصف

شرح حديث: «يتبع الميتَ ثلاثة»: مقالة مقتبسة ومترجمة من كتاب: «الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة» للشيخ أمين بن عبد الله الشقاوي - حفظه الله -، وفيها بيان أن العمل يتبعُ صاحبَه في دنياه، وقبره، وفي المحشر، وحين مروره على الصراط، وفي الجنة والنار، وأما أهله وماله فيرجِعان ولا يُصاحبانه. فليعمل العبدُ على قدر مُكثِه في الدنيا، كما يجبُ عليه أن يعملَ لآخرته على قدر مُكثِه في الآخرة.

تنزيل الكتاب

    สามสิ่งที่ตามคนตายไปสุสาน

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

    แปลโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ

    ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน

    2012 - 1433

    ﴿ شرح حديث: «يتبع الميتَ ثلاثة»

    « باللغة التايلاندية »

    د. أمين بن عبد الله الشقاوي

    ترجمة: يوسف أبو بكر

    مراجعة: صافي عثمان

    2012 - 1433

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    เรื่องที่ 78

    สามสิ่งที่ตามคนตายไปสุสาน

    การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ความเมตตาจำเริญและความศานติจงมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม รวมถึงบรรดาวงศาคณาญาติและบรรดาอัครสาวกของท่าน ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรได้รับการเคารพภักดีนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยไม่มีภาคีหุ้นส่วนอันใดสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์...

    มีรายงานจากอัล-บุคอรีย์และมุสลิมในเศาะฮีหฺของทั้งสองท่าน จากอนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮู กล่าวว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «يَتْبَعُ الْمَيِّتَ ثَلاَثَةٌ، فَيَرْجِعُ اثْنَانِ وَيَبْقَى وَاحِدٌ، يَتْبَعُهُ أَهْلُهُ وَمَالُهُ وَعَمَلُهُ، فَيَرْجِعُ أَهْلُهُ وَمَالُهُ، وَيَبْقَى عَمَلُهُ» [البخاري برقم 6514، ومسلم برقم 2960]

    ความหมาย “จะติดตามผู้เสียชีวิตไปสามประการ โดยที่สองประการจะกลับหลัง และอีกหนึ่งประการจะยังคงอยู่กับเขา สิ่งที่จะติดตามเขาไป สมาชิกในครอบครัวของเขา ทรัพย์สินของเขา และการงานของเขา ดังนั้นสมาชิกในครอบครัว ทรัพย์สินของเขาจะกลับหลัง และการงานจะคงอยู่กับเขา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ 6514 และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 2960)

    อัล-หาฟิซ อิบนุ เราะญับ อัล-หัมบะลีย์ ได้อธิบายหะดีษนี้ในสารฉบับหนึ่งอันทรงคุณค่าซึ่งฉันได้สรุปคำกล่าวของท่านด้วยความรีบเร่ง ดังนี้

    ท่านกล่าวว่า “และความหมายของหะดีษนี้ คือ แท้จริงลูกหลานอาดัม ในการมีชีวิตอยู่ในโลกดุนยาจำเป็นต้องมีภรรยาและลูกที่ใช้ชีวิตร่วมกัน และต้องมีทรัพย์สินเพื่อการดำเนินชีวิต ทั้งสองประการนี้ จะแยกจากเขาและเขาเองจะต้องแยกจากมันทั้งสอง ดังนั้นคนที่มีความสุขคือผู้ที่ได้นำมันมาเพื่อเป็นสิ่งที่ช่วยให้เขาได้รำลึกถึงอัลลอฮฺและเขาได้ใช้จ่ายมันไปเพื่อโลกอาคิเราะฮฺ ฉะนั้นเขาได้ใช้ทรัพย์สินเพื่อทำให้เขาบรรลุสู่โลกอาคิเราะฮฺ และเขาได้มีภรรยาที่ดีเพื่อช่วยเหลือเขาในเรื่องของการศรัทธา ส่วนผู้ที่ได้ทำให้สมาชิกในครอบครัวหรือทรัพย์สินเป็นสาเหตุทำให้พวกเขาหลงลืมอัลลอฮฺ เขาเป็นผู้ที่ขาดทุนอย่างแน่นอน ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสถึงเบดูอินกลุ่มหนึ่งว่า

    ﴿ شَغَلَتۡنَآ أَمۡوَٰلُنَا وَأَهۡلُونَا فَٱسۡتَغۡفِرۡ لَنَاۚ ١١ ﴾ [الفتح: ١١]

    ความหมาย “ทรัพย์สินของเราและครอบครัวของเราทำให้เรามีธุระยุ่งอยู่ ดังนั้นได้โปรดขออภัยให้แก่พวกเราด้วยเถิด” (อัล-ฟัตห์ 11)

    และพระองค์ได้ตรัสว่า

    ﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَا تُلۡهِكُمۡ أَمۡوَٰلُكُمۡ وَلَآ أَوۡلَٰدُكُمۡ عَن ذِكۡرِ ٱللَّهِۚ وَمَن يَفۡعَلۡ ذَٰلِكَ فَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلۡخَٰسِرُونَ ٩ ﴾ [المنافقون: ٩]

    ความหมาย “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย อย่าให้ทรัพย์สินของพวกเจ้าและลูกหลานของพวกเจ้าทำให้พวกเจ้าหันเหจากการรำลึกถึงอัลลอฮฺ และใครก็ตามที่กระทำเช่นนั้นพวกเขาคือผู้ที่ขาดทุน” (อัล-มุนาฟิกูน 9)

    ในบันทึกของอัล-หากิม รายงานจากสะฮ์ลฺ บิน สะอฺด์ กล่าวว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «جَاءَ جِبْرِيْلُ فَقَالَ: يَا مُحَمَّدُ عِشْ مَا شِئْتَ فَإِنَّكَ مَيِّتٌ، وَأَحْبِبْ مَنْ شِئْتَ فَإِنّكَ مُفَارِقُهُ، وَاعْمَلْ مَا شِئْتَ فَإِنَّكَ مَجْزِيٌّ بِهِ، ثُمَّ قَالَ: يَا مُحَمَّدُ شَرَفُ الْمُؤْمِنِ قِيَامُ اللَّيْلِ وَعِزُّهُ اسْتِغْنَاؤُهُ عَنِ النَّاسِ» [الحاكم في المستدرك 4/360-361، برقم 7921]

    ความหมาย “ญิบรีลได้มาหา แล้วกล่าวว่า โอ้มุหัมมัด จงใช้ชีวิตในโลกนี้ตามที่ท่านต้องการเถิด เพราะท่านจะต้องตาย และท่านจงรักกับบุคคลที่ท่านจะรักเถิด เพราะท่านจะต้องแยกจากเขา และจงทำในสิ่งที่ท่านต้องการเถิด เพราะท่านจะถูกตอบแทนในสิ่งที่กระทำ หลังจากนั้นก็กล่าวอีกว่า โอ้มุหัมมัด ความมีเกียรติของผู้ศรัทธาคือกิยามุลลัยล์(การละหมาดกลางคืน) และศักดิ์ศรีของผู้ศรัทธาคือความเพียงพอของเขาต่อการร้องขอจากผู้อื่น” (มุสตัดร็อก อัล-หากิม 4/360-361 หมายเลขหะดีษ 7921)

    ครั้นเมื่อลูกหลานอาดัมได้เสียชีวิตลงแล้วได้จากโลกนี้ไป สมาชิกในครอบครัวและทรัพย์สินจะไม่ยังประโยชน์อันใดแก่เขา นอกจากดุอาอ์ของสมาชิกในครอบครัวที่ขอให้กับเขา การขออภัยโทษของพวกเขา สิ่งอื่นๆ ที่ศาสนาได้บัญญัติไว้ และสิ่งที่เขาได้ใช้จ่ายไปเพื่อตัวของเขา

    อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿ يَوۡمَ لَا يَنفَعُ مَالٞ وَلَا بَنُونَ ٨٨ إِلَّا مَنۡ أَتَى ٱللَّهَ بِقَلۡبٖ سَلِيمٖ ٨٩ ﴾ [الشعراء : ٨٨-٨٩]

    ความหมาย “วันที่ทรัพย์สมบัติและลูกหลานจะไม่ยังประโยชน์อันใดเลย นอกจากผู้ที่กลับมายังอัลลอฮฺด้วยกับหัวใจอันบริสุทธิ์” (อัช-ชุอะรออ์ 88-89)

    และพระองค์ตรัสอีกว่า

    ﴿ وَلَقَدۡ جِئۡتُمُونَا فُرَٰدَىٰ كَمَا خَلَقۡنَٰكُمۡ أَوَّلَ مَرَّةٖ وَتَرَكۡتُم مَّا خَوَّلۡنَٰكُمۡ وَرَآءَ ظُهُورِكُمۡۖ ٩٤ ﴾ [الأنعام: ٩٤]

    ความหมาย “และแน่นอนพวกเจ้าได้มายังเราโดยลำพัง เฉกเช่นที่เราได้บังเกิดเจ้ามาในครั้งแรก และพวกเจ้าได้ละทิ้งสิ่งที่เราได้ให้แก่พวกเจ้าไว้เบื้องหลังของพวกเจ้า“ (อัล-อันอาม 94)

    มุสลิมได้บันทึกไว้ในหนังสือเศาะฮีหฺ จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮู กล่าวว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «إِذَا مَاتَ الإِنْسَانُ انْقَطَعَ عَنْهُ عَمَلُهُ إِلاَّ مِنْ ثَلاَثَةٍ: إِلاَّ مِنْ صَدَقَةٍ جَارِيَةٍ، أَوْ عِلْمٍ يُنْتَفَعُ بِهِ، أَوْ وَلَدٍ صَالِحٍ يَدْعُو لَهُ» [مسلم برقم 1631]

    ความหมาย “เมื่อมนุษย์ได้เสียชีวิตลง การงานของเขาจะถูกตัดขาด นอกจากการงานสาม ประการ หนึ่ง..การบริจาคทานที่ถาวร สอง..ความรู้ซึ่งเป็นประโยชน์ และสาม..ลูกที่ดีซึ่งขอดุอาอ์ให้กับเขา” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1631)

    กลุ่มที่หนึ่ง ได้แก่ สมาชิกในครอบครัว(ลูกหลานและภรรยา) พวกเขาจะไม่ยังประโยชน์อันใดกับผู้ตายนอกจากผู้ที่ขออภัยโทษให้กับเขา และได้วิงวอนขอดุอาอ์ให้เขาดังที่ได้กล่าวมาแล้ว และบางครั้งพวกเขาก็ไม่ได้กระทำการขอดุอาอ์ให้ด้วยซ้ำ และบางครั้งบุคคลอื่นนอกเหนือจากญาติยังให้ประโยชน์แก่ผู้ตายได้มากกว่าสมาชิกในครอบครัวเสียอีก มีคำพูดของคนศอลิห์บางท่านกล่าวว่า สมาชิกในครอบครัวได้แบ่งปันมรดกของท่าน โดยที่ได้ปล่อยให้ท่านเผชิญความเศร้าโศกแต่เพียงลำพัง เขาได้แค่ขอดุอาอ์ให้กับท่าน ในขณะที่ท่านถูกกลบดินอยู่ในหลุมฝังศพ ดังนั้นในบางครั้งสมาชิกในครอบครัวก็เป็นเฉกเช่นกับศัตรู ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    ﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُوٓاْ إِنَّ مِنۡ أَزۡوَٰجِكُمۡ وَأَوۡلَٰدِكُمۡ عَدُوّٗا لَّكُمۡ فَٱحۡذَرُوهُمۡۚ ﴾ [التغابن : ١٤]

    ความหมาย “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย แท้จริงบางส่วนจากคู่ครองของพวกเจ้าและลูกหลานของพวกเจ้านั้นมีบางคนที่เป็นศัตรูแก่พวกเจ้า ดังนั้นพวกเจ้าจงระวังต่อพวกเขา” (อัต-ตะฆอบุน 14)

    กลุ่มที่สอง ได้แก่ ทรัพย์สิน มันคือสิ่งแรกที่กลับและมันไม่ได้เข้าในหลุมพร้อมกับเขา คำว่า “มันกลับไป” เป็นการเปรียบเทียบว่ามันไม่ได้เป็นเพื่อนเขาและมันไม่ได้เข้าไปในสุสานพร้อมเขา

    อิมามมุสลิมได้บันทึกในหนังสือเศาะหีฮฺ รายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮู แท้จริงนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «يَقُولُ الْعَبْدُ: مَالِى، مَالِى، قَالَ وَهَلْ لَكَ يَا ابْنَ آدَمَ مِنْ مَالِكَ إِلاَّ مَا أَكَلْتَ فَأَفْنَيْتَ، أَوْ لَبِسْتَ فَأَبْلَيْتَ، أَوْ تَصَدَّقْتَ فَأَمْضَيْتَ، وَمَا سِوَى ذَلِكَ فَهُوَ ذَاهِبٌ وَتَارِكُهُ لِلنَّاسِ» [مسلم برقم 2958]

    ความหมาย “ลูกหลานอาดัมจะกล่าวว่า โอ้ทรัพย์สินของฉัน โอ้ทรัพย์สินของฉัน เขากล่าวว่า โอ้ลูกหลานอาดัมเอ๋ยท่านมีทรัพย์สินอื่นใดอีกเล่านอกจากสิ่งที่ท่านได้บริโภคมันไปแล้ว ท่านได้ใช้จ่ายมันแล้ว หรือท่านได้สวมใส่มันแล้ว ท่านได้ทำให้มันหมดไปแล้ว หรือท่านได้บริจาคมันผ่านไปแล้ว และสิ่งอื่นจากนั้นมันจะจากไป และมันจะเหลือทิ้งไว้ให้คนอื่นที่ไม่ใช่เจ้า” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 2958)

    และอัล-บุคอรีย์ได้บันทึกจากรายงานของอิบนิมัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮู ว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «أَيُّكُمْ مَالُ وَارِثِهِ أَحَبُّ إِلَيْهِ مِنْ مَالِهِ؟» قَالُوا: يَا رَسُولَ اللَّهِ مَا مِنَّا أَحَدٌ إِلَّا مَالُهُ أَحَبُّ إِلَيْهِ. قَالَ: «فَإِنَّ مَالَهُ مَا قَدَّمَ وَمَالُ وَارِثِهِ مَا أَخَّرَ» [البخاري برقم 6442]

    ความหมาย “คนใดจากพวกท่านที่ห่วงทรัพย์สินของทายาทมากกว่าทรัพย์สินของตัวเอง?” พวกเขากล่าวว่า โอ้ท่านรอสูลุลลอฮฺ ไม่มีใครในหมู่พวกเรานอกจากจะต้องรักทรัพย์สินของตัวเองมากกว่ากันทุกคน ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “แท้จริงทรัพย์สินของเขานั้นคือสิ่งที่เขาได้ใช้มันไปแล้ว และทรัพย์สินของทายาทเขาคือสิ่งที่เขาทิ้งไว้ข้างหลัง” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลขหะดีษ 6442)

    ฉะนั้น บ่าวคนหนึ่งจะไม่ได้รับประโยชน์อันใดจากทรัพย์สินของเขา นอกจากสิ่งที่เขาได้ใช้จ่ายไปเพื่อตัวของเขา และเขาได้ใช้จ่ายมันไปในหนทางของอัลลอฮฺ ส่วนสิ่งที่เขาได้บริโภคและได้สวมใส่มันก็ไม่เป็นบุญและบาปอันใดแก่เขานอกจากว่าเขาจะมีเจตนาที่ดีซึ่งจะทำให้เขาได้รับผลบุญ ในขณะที่อุละมาอ์บางคนมีความเห็นว่าเขาจะได้รับภาคผลบุญในทุกกรณี เคยมีพระราชาบางคนได้กล่าวกับอบู หาซิมผู้มีความสมถะว่า ทำไมพวกเราจึงเกลียดชังความตาย? เขากล่าวว่า พวกท่านให้ความสำคัญกับดุนยา ท่านได้ทำให้ทรัพย์สินของท่านอยู่ระหว่างตาทั้งสองข้างของท่าน ดังนั้นท่านก็เลยกลัวว่าจะจากมันไป และหากท่านได้มอบทรัพย์สินไว้ล่วงหน้ากับโลกอาคิเราะฮฺ แน่นอนท่านก็ย่อมรักที่จะติดตามมันไปเร็วๆ อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    ﴿ لَن تَنَالُواْ ٱلۡبِرَّ حَتَّىٰ تُنفِقُواْ مِمَّا تُحِبُّونَۚ وَمَا تُنفِقُواْ مِن شَيۡءٖ فَإِنَّ ٱللَّهَ بِهِۦ عَلِيمٞ ٩٢ ﴾ [آل عمران: ٩٢]

    ความหมาย “พวกเจ้าทั้งหลายจะไม่ได้รับความดีอันใดเลย จนกว่าพวกเจ้าจะบริจาคจากสิ่งที่พวกเจ้ารัก และไม่ว่าสิ่งใดที่พวกเจ้าได้บริจาคไป แท้จริงอัลลอฮฺทรงรู้ในสิ่งนั้นดี” (อาล-อิมรอน 92)

    มีรายงานว่า อิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา นั้น ไม่มีทรัพย์สมบัติใดที่ท่านชื่นชอบนอกเสียจากว่าท่านจะต้องบริจาคมันไปเพื่ออัลลอฮฺ จนกระทั่งมีอยู่วันหนึ่งท่านได้ขี่อูฐตัวหนึ่งครั้นแล้วมันก็ทำให้ท่านประทับใจ ดังนั้นท่านก็ได้ลงจากหลังของมันทันที และได้ผูกมันทิ้งไว้ แล้วได้ให้มันเป็นทานไปในแนวทางของอัลลอฮฺ

    กลุ่มที่สาม ได้แก่ การงานที่มนุษย์ได้ประกอบไว้ในดุนยา ซึ่งมันจะติดตามไปพร้อมกับเขาในหลุมฝังศพ และจะไปพร้อมกับเขาเมื่อฟื้นคืนชีพ ตามจุดต่างๆ ในวันกิยามะฮฺ บนสะพานศิรอฏ บนตาชั่ง และการงานนี่เองจะเป็นตัวจำแนกที่พำนักว่าจะอยู่ในสวนสวรรค์หรือนรก อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    ﴿ مَّنۡ عَمِلَ صَٰلِحٗا فَلِنَفۡسِهِۦۖ وَمَنۡ أَسَآءَ فَعَلَيۡهَاۗ وَمَا رَبُّكَ بِظَلَّٰمٖ لِّلۡعَبِيدِ ٤٦ ﴾ [فصلت: ٤٦]

    ความหมาย “ผู้ใดได้ปฏิบัติการงานที่ดีก็จะได้แก่ตัวเขา และผู้ใดได้กระทำความชั่วก็จะได้แก่ตัวของเขาเอง และพระเจ้าของเจ้านั้นมิทรงอธรรมต่อปวงบ่าวของพระองค์” (ฟุศศิลัต 46)

    และอัลลอฮฺตรัสอีกว่า

    ﴿ مَن كَفَرَ فَعَلَيۡهِ كُفۡرُهُۥۖ وَمَنۡ عَمِلَ صَٰلِحٗا فَلِأَنفُسِهِمۡ يَمۡهَدُونَ ٤٤ ﴾ [الروم: ٤٤]

    ความหมาย “ผู้ใดที่ปฏิเสธศรัทธาดังนั้นการปฏิเสธศรัทธาก็จะตกอยู่กับตัวของเขา และผู้ใดได้ปฏิบัติการงานที่ดีพวกเขาก็จะเตรียมที่พักไว้สำหรับตัวของพวกเขาเอง” (อัรรูม 44)

    ชาวสลัฟบางท่านได้อธิบายอายะฮฺที่ผ่านมาว่า พวกเขาได้ผูกเปลเพื่อตัวของพวกเขาในหลุมฝังศพ ดังนั้นการงานที่ดีในหลุมฝังศพจะเป็นเสมือนเปลของเขา ในขณะที่ทรัพย์สินในดุนยาของเขาไม่ได้เป็นทั้งเสื่อ หมอน หรือเปลแต่อย่างใด ทว่าผู้ประกอบกรรมความดีในดุนยาทุกคนจะเอาความดีความชั่วของตนเป็นดั่งเช่นเสื่อหรือหมอน ดังนั้น ผู้ที่มีสติสัมปชัญญะคือผู้ที่บูรณะบ้านที่เขาจะอาศัยอยู่เป็นระยะเวลายาวนาน ถึงแม้ว่าเขาจะบูรณะบ้านหลังดังกล่าว(อาคิเราะฮฺ)ด้วยความผุพังของบ้านชั่วคราว(ดุนยา)ซึ่งเขาจะจากมันไปในไม่ช้า เขาก็มิใช่เป็นคนที่ถูกหลอกหลอน แต่เขาจะเป็นผู้ที่มีกำไร

    และยังมีชาวสลัฟบางคนได้กล่าวว่า “จงทำงานเพื่อโลกดุนยาเท่ากับระยะเวลาที่ท่านจะอาศัยอยู่ในนั้น และจงทำงานเพื่อโลกอาคิเราะฮฺเท่ากับระยะเวลาที่ท่านจะอาศัยอยู่ในนั้น”

    ขณะที่อัล-หะสันได้กล่าวว่า “ชายคนหนึ่งได้ติดตามศพของพี่น้องมุสลิมของเขาไปยังสุสาน ครั้นเมื่อศพถูกวางลงในหลุม เขาก็กล่าวว่า ฉันไม่เห็นสิ่งใดเลยที่ติดตามท่านไปนอกจากผ้าสามผืน ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ แน่แท้ฉันได้ปล่อยให้บ้านของฉันมีทรัพย์สินมากมายเอาไว้ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ หากพระองค์ให้โอกาสฉันกลับถึงบ้าน(หลังจากนี้) แน่นอนฉันจะนำมันมากองไว้ต่อหน้าฉัน เขา(อัล-หะสัน)กล่าวว่า ดังนั้น เมื่อเขาได้กลับไปถึงบ้านเขาก็นำมากองวางไว้ต่อหน้าเขา(เพื่อบริจาคจนหมด) บรรดานักปราชญ์เล่ากันว่าชายผู้นั้นคือ อุมัรฺ บิน อับดุลอะซีซ”

    การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิของอัลลอฮฺ ความศานติสุขจงมีแด่ท่านนบีมุหัมมัดของเราและจงมีแด่เครือญาติวงศ์ตระกูลของท่านตลอดจนบรรดาอัครสาวกของท่านทั้งหมด

    والحمد لله رب العالمين ، وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين .

    معلومات المادة باللغة الأصلية