×

فوائد من سورة العصر (تايلندي)

إعداد: อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

الوصف

مقالة مقتبسة من كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة، للشيخ أمين عبدالله الشقاوي، بيان الخصال الأربع التي هي سبب نجاة الإنسان من الخسران، والفوائد الأخرى الجليلة العظيمة المستنبطة من سورة العصر.

تنزيل الكتاب

    สูเราะฮฺ อัล-อัศรฺ

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

    แปลโดย :อิสมาน จารง

    ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน

    ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต
    อัล-มุลกอฮฺ

    2012 - 1433

    ﴿سورة العصر﴾

    « باللغة التايلاندية »

    د. أمين بن عبدالله الشقاوي

    ترجمة: عثمان جارونج

    مراجعة: صافي عثمان

    المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة

    2012 - 1433

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    เรื่อง ที่ 67

    สูเราะฮฺ อัล-อัศรฺ

    มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิของอัลลอฮฺ ขอการเจริญพรและความสันติมีแด่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ข้าขอปฏิญานว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์

    อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿ وَٱلۡعَصۡرِ ١ إِنَّ ٱلۡإِنسَٰنَ لَفِي خُسۡرٍ ٢ إِلَّا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَعَمِلُواْ ٱلصَّٰلِحَٰتِ وَتَوَاصَوۡاْ بِٱلۡحَقِّ وَتَوَاصَوۡاْ بِٱلصَّبۡرِ ٣ ﴾ [العصر: ١- ٣]

    ความว่า “ขอสาบานด้วยกาลเวลา แท้จริงมนุษย์นั้นอยู่ในการขาดทุน นอกจากบรรดาผู้ศรัทธาและปฏิบัติความดีทั้งหลาย และตักเตือนซึ่งกันและกันในสิ่งที่เป็นสัจธรรม และตักเตือนกันและกันให้มีความอดทน” (สูเราะฮฺ อัล-อัศรฺ)

    อัลลอฮฺได้สาบานด้วยกาลเวลา นั่นคือเวลาทั้งหมด และเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺที่จะสาบานด้วยสิ่งที่ถูกสร้างทั้งมวลตามที่พระองค์ประสงค์ ส่วนบ่าวหรือมนุษย์นั้นจะต้องสาบานด้วยพระองค์เท่านั้น การสาบานของอัลลอฮฺด้วยกาลเวลานั้นก็เนื่องด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นในกาลเวลาจากบรรดาเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เวลายังเป็นที่รวบรวมการงานที่ดีและชั่วต่างๆ ของมนุษย์ อัลลอฮฺได้สาบานเพื่อเป็นการเน้นย้ำว่ามนุษย์นั้นอยู่ในความขาดทุนแม้เขาจะมีทรัพย์สินและทายาทมากมายแค่ไหนก็ตาม หรือแม้ว่าเขาจะมีฐานันดรและเกียรติสูงส่งแค่ไหนก็ตาม ทุกคนล้วยขาดทุนยกเว้นเมื่อประกอบด้วยสี่คุณลักษณะต่อไปนี้

    คุณลักษณะแรก การมีศรัทธา คือ การกล่าวด้วยลิ้น เชื่อด้วยใจ และปฏิบัติด้วยร่างกาย

    คุณลักษณะที่สอง ปฏิบัติการงานที่ดี คือ ทุกคำพูดและการกระทำที่ทำให้ใกล้ชิดอัลลอฮฺ โดยที่ผู้ทำนั้นมีความบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ และปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม การกล่าวถึงการปฏิบัติการงานที่ดีหลังจากการมีศรัทธาทั้งๆ ที่มันเป็นส่วนหนึ่งการศรัทธานั้นก็เพื่อแสดงถึงความสำคัญและเน้นย้ำว่าการศรัทธาด้วยใจโดยไม่มีการปฏิบัติตามนั้นไม่มีประโยชน์

    คุณลักษณะที่สาม การตักเตือนกันและกันในสิ่งที่เป็นสัจธรรม นั่นคือการสั่งใช้กันและกันในการทำความดีและห้ามปรามกันในสิ่งที่ชั่ว การเชิญชวนสู่อัลลอฮฺด้วยความชัดเจนและมีหิกมะฮฺ(วิทยปัญญา) สั่งสอนผู้ที่ไม่รู้ให้ได้รู้ เตือนผู้ที่หลงลืมให้ระลึกได้ ไม่เป็นการเพียงพอที่เขาจะทำการเปลี่ยนแปลงตัวเองเท่านั้นให้เป็นคนดี หากแต่เขาจะต้องแก้ไขคนอื่นให้เป็นคนดีด้วย และนี่ก็แสดงถึงว่าเป็นการวาญิบที่จะต้องสั่งใช้กันและกันในการทำความดีและห้ามปรามกันในสิ่งที่ชั่ว ไม่ถือว่าเป็นการก้าวก่ายบุคคลอื่นอย่างที่บางคนคิด หากแต่บรรดาผู้ที่ทำการสั่งใช้กันและกันในการทำความดีและห้ามปรามกันในสิ่งที่ชั่วนั้น พวกเขามีความหวังดีและต้องการให้คนอื่นปลอดภัยจากการลงโทษของอัลลอฮฺ ด้วยคุณลักษณะนี้ทำให้ประชาชาตินี้เป็นประชาชาติที่ดีเลิศกว่าประชาชาติอื่น อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿كُنتُمۡ خَيۡرَ أُمَّةٍ أُخۡرِجَتۡ لِلنَّاسِ تَأۡمُرُونَ بِٱلۡمَعۡرُوفِ وَتَنۡهَوۡنَ عَنِ ٱلۡمُنكَرِ ﴾ [آل عمران: ١١٠]

    ความว่า “พวกเจ้านั้น เป็นประชาชาติที่ดียิ่งซึ่งถูกให้อุบัติขึ้นสำหรับมนุษยชาติ โดยที่พวกเจ้าใช้ให้ปฏิบัติสิ่งที่ชอบ และห้ามมิให้ปฏิบัติสิ่งที่มิชอบ” (อาล อิมรอน 110)

    คุณลักษณะที่สี่ ตักเตือนกันและกันให้มีความอดทน ในเมื่อผู้ที่เชิญชวนสู่อัลลอฮฺ ผู้ที่สั่งใช้กันและกันในการทำความดีและห้ามปรามกันในการปฏิบัติสิ่งที่ชั่วจำต้องเผชิญกับการรบกวนหรือการมุ่งร้ายจากผู้คน อัลลอฮฺจึงสั่งให้อดทนต่อการรบกวนและกลั่นแกล้งของผู้คนเหล่านั้นและแบกรับสิ่งที่ต้องเผชิญ จะเห็นได้ว่าในการสั่งเสียของท่านลุกมานแก่ลูกของท่านนั้นอัลลอฮฺตรัสถึงว่า

    ﴿ يَٰبُنَيَّ أَقِمِ ٱلصَّلَوٰةَ وَأۡمُرۡ بِٱلۡمَعۡرُوفِ وَٱنۡهَ عَنِ ٱلۡمُنكَرِ وَٱصۡبِرۡ عَلَىٰ مَآ أَصَابَكَۖ إِنَّ ذَٰلِكَ مِنۡ عَزۡمِ ٱلۡأُمُورِ ١٧ ﴾ [لقمان: ١٧]

    ความว่า “โอ้ลูกเอ๋ย เจ้าจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และจงสั่งใช้กันให้กระทำความดี และจงห้ามปรามกันให้ละเว้นการทำความชั่ว และจงอดทนต่อสิ่งที่ประสบกับเจ้า แท้จริง นั่นคือส่วนหนึ่งจากกิจการที่หนักแน่นมั่นคง” (ลุกมาน 17)

    และอัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿ ۞لَتُبۡلَوُنَّ فِيٓ أَمۡوَٰلِكُمۡ وَأَنفُسِكُمۡ وَلَتَسۡمَعُنَّ مِنَ ٱلَّذِينَ أُوتُواْ ٱلۡكِتَٰبَ مِن قَبۡلِكُمۡ وَمِنَ ٱلَّذِينَ أَشۡرَكُوٓاْ أَذٗى كَثِيرٗاۚ وَإِن تَصۡبِرُواْ وَتَتَّقُواْ فَإِنَّ ذَٰلِكَ مِنۡ عَزۡمِ ٱلۡأُمُورِ ١٨٦ ﴾ [آل عمران: ١٨٦]

    ความว่า “แน่นอนยิ่ง พวกเจ้าจะถูกทดสอบในทรัพย์สมบัติของพวกเจ้าและตัวของพวกเจ้า และแน่นอนยิ่งพวกเจ้าจะได้ยินจากบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์ก่อนหน้าพวกเจ้า และบรรดาผู้ที่ให้มีภาคีขึ้น(แก่อัลลอฮฺ)ซึ่งการก่อความเดือดร้อนอันมากมายและหากพวกเจ้าอดทนและยำเกรงแล้ว แท้จริงนั่นคือส่วนหนึ่งจากกิจการที่เด็ดเดี่ยว” (อาล อิมรอน 186)

    ท่านอิมาม อัช-ชาฟิอีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า หากอัลลอฮฺไม่ได้ประทานหลักฐานใดๆ นอกจากสูเราะฮฺนี้เท่านั้นก็ถือว่าเพียงพอสำหรับพวกมนุษย์แล้ว (ตัฟซีร อิบนุกะษีรฺ 4/547)

    สูเราะฮฺนี้แม้ประโยคของมันจะสั้น แต่มันได้รวบรวมปัจจัยที่จะทำให้พบกับความสุขทั้งหมดไว้ มันเป็นประโยคที่พอเพียงที่จะเป็นหลักฐานเหนือมนุษย์ และมันมีบทเรียนที่เป็นประโยชน์มากมาย ในที่นี้ขอกล่าวเพียงบางส่วนดังนี้

    บทเรียนแรก การที่อัลลอฮฺได้สาบานกับสิ่งหนึ่งมันแสดงถึงความสำคัญ ความยิ่งใหญ่ของสิ่งนั้น ในการสาบานนี้ อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ได้เตือนมนุษย์ถึงคุณค่าของเวลา และพวกเขาควรให้ความสำคัญกับมัน ดูแลเอาใจใส่มัน และอัลลอฮฺได้สาบานด้วยเวลาบางช่วงในหลายที่ในอัลกุรอาน เช่น

    อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿ وَٱلۡفَجۡرِ ١ وَلَيَالٍ عَشۡرٖ ٢ ﴾ [الفجر: ١-٢]

    ความว่า “ขอสาบานด้วยยามรุ่งอรุณ และด้วยค่ำคืนทั้งสิบ” (อัล-ฟัจญ์รฺ 1-2)

    อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿ وَٱلَّيۡلِ إِذَا يَغۡشَىٰ ١ وَٱلنَّهَارِ إِذَا تَجَلَّىٰ ٢ ﴾ [الليل: ١-٢]

    ความว่า “ขอสาบานด้วยเวลากลางคืนเมื่อมันปกคลุม และด้วยเวลากลางวันเมื่อมันประกายแสง” (อัล-ลัยลฺ 1-2)

    อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿ وَٱلضُّحَىٰ ١ وَٱلَّيۡلِ إِذَا سَجَىٰ ٢ ﴾ [الضحا: ١-2]

    ความว่า “ขอสาบานด้วยเวลาสาย และด้วยเวลากลางคืนเมื่อมันมืดและสงัดเงียบ” (อัฎ-ฎุฮา 1-2)

    พร้อมกันนั้นเวลายังเป็นการประทาน(นิอฺมัต)ที่ดียิ่งจากอัลลอฮฺสำหรับ(มนุษย์)บ่าวของพระองค์ รายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ บิน อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «نِعْمَتَانِ مَغْبُونٌ فِيهِمَا كَثِيرٌ مِنْ النَّاسِ الصِّحَّةُ وَالْفَرَاغُ» [رواه البخاري برقم 6412]

    ความว่า ความโปรดปราน(นิอฺมัต)สองประการที่มนุษย์ส่วนใหญ่มักจะขาดทุน(เพราะปล่อยให้สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์) นั่นคือ การมีสุขภาพที่ดีและการมีเวลาว่าง” (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ เล่มที่ 4 หน้าที่ 175 หะดีษหมายเลข 6412)

    บทเรียนที่สอง การสาบานของอัลลอฮฺแสดงถึงความสำคัญของสิ่งที่จะบอก ซึ่งก็คือคุณลักษณะสี่ประการดังกล่าว ที่ซึ่งบุคคลจะไม่สามารถจะพบความสำเร็จและชัยชนะได้นอกจากด้วยคุณลักษณะเหล่านั้น

    บทเรียนที่สาม ความประเสริฐของอีมาน(การศรัทธา)สถานะอันสูงส่งยิ่งของมัน โดยเป็นสิ่งแรกที่กล่าวถึงและสิ่งแรกที่วาญิบเหนือมนุษย์ รายงานจากท่าน อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «لَا تَدْخُلُوا الْجَنَّةَ حَتَّى تُؤْمِنُوا، وَلَا تُؤْمِنُوا حَتَّى تَحَابُّوا، أَوَلَا أَدُلُّكُمْ عَلَى شَيْءٍ إِذَا فَعَلْتُمُوهُ تَحَابَبْتُمْ، أَفْشُوا السَّلامَ بَيْنَكُمْ» [مسلم برقم 54]

    ความว่า “พวกท่านจะไม่ได้เข้าสวรรค์จนกว่าพวกท่านจะศรัทธา และพวกท่านจะไม่ศรัทธาจนกว่าพวกท่านจะรักซึ่งกันและกัน เอาหรือไม่ฉันจะแนะนำพวกท่านสิ่งหนึ่งเมื่อพวกท่านปฏิบัติแล้วพวกท่านจะมีความรักซึ่งกันและกัน (คือ)จงแพร่สลามระหว่างพวกท่าน (ให้สลามกันและกันให้แพร่หลาย) (เศาะฮีหฺ มุสลิม 1/74 หมายเลข 54)

    บทเรียนที่สี่ การศรัทธาเพียงในใจนั้นไม่เพียงพอ หากแต่จะต้องแสดงออกมาด้วยการปฏิบัติการงานที่ดี และนี่เป็นการโต้แย้งคำกล่าวที่ว่า “อีมานคือการศรัทธาด้วยใจเท่านั้น(ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติ) โดยที่กล่าวเช่นนั้นจะละทิ้งสิ่งที่เป็นฟัรฏู และกระทำในสิ่งที่ต้องห้ามต่างๆ ละเมิดขอบเขตของอัลลอฮฺ (ที่ถูกต้องก็คือศรัทธาด้วยใจพร้อมกับการปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺไปพร้อมกัน)

    บทเรียนที่ห้า การงานจะไม่ถูกตอบรับนอกจากเป็นการที่ดีที่ศอลิหฺ และการงานนั้นจะไม่ถือว่าเป็นการงานที่ดีที่ศอลิหฺ นอกจากผู้ทำจะต้องบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ และสอดคล้องกับแบบอย่าง การชี้นำของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม

    บทเรียนที่หก การตักเตือนซึ่งกันและกันนั้นจะต้องด้วยสัจธรรมเท่านั้นไม่ใช่สิ่งอื่น สัจธรรมในที่นี่คือการศรัทธาต่ออัลลอฮฺ การงานที่ดีที่ศอลิหฺต่างๆ และห่างไกลสิ่งที่ขัดกับทั้งสอง(การศรัทธาต่ออัลลอฮฺ การงานที่ดีที่ศอลิหฺ)

    บทเรียนที่เจ็ด คำว่า “นอกจาก” หรือ การยกเว้นในอายะฮฺดังกล่าว แสดงว่าคนที่มีลักษณะดังกล่าวนั้นมีจำนวนน้อยนิดเท่านั้น อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

    ﴿ٱعۡمَلُوٓاْ ءَالَ دَاوُۥدَ شُكۡرٗاۚ وَقَلِيلٞ مِّنۡ عِبَادِيَ ٱلشَّكُورُ ١٣ ﴾ [سبأ: ١٣]

    ความว่า “พวกเจ้าจงทำงานเถิด วงศ์วานของดาวูดเอ๋ย! เพื่อเป็นการขอบคุณ(ต่ออัลลอฮฺ) และส่วนน้อยในจำนวนบ่าวของเราที่เป็นผู้ขอบคุณ” (สะบะอ์ 13)

    และอัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿وَإِنَّ كَثِيرٗا مِّنَ ٱلۡخُلَطَآءِ لَيَبۡغِي بَعۡضُهُمۡ عَلَىٰ بَعۡضٍ إِلَّا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَعَمِلُواْ ٱلصَّٰلِحَٰتِ وَقَلِيلٞ مَّا هُمۡۗ ﴾ [ص: ٢٤]

    ความว่า “และแท้จริงส่วนมากของผู้มีหุ้นส่วนร่วมกัน บางคนในพวกเขามักละเมิดสิทธิของอีกคนหนึ่ง เว้นแต่บรรดาผู้ศรัทธาและประกอบความดีทั้งหลาย และคนอย่างพวกเขานี้มีน้อย” (ศอด 24)

    บทเรียนที่แปด คุณค่าของการอดทน โดยที่อัลลอฮฺให้เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่เป็นเหตุของการประสบกับความสำเร็จ (สวรรค์) อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ทำหน้าที่เชิญชวนสู่อัลลอฮฺตะอาลา แม้ว่าต้องเผชิญกับความยากลำบากและการก่อกวนสร้างความเดือดร้อนจากผู้อื่นก็ตาม

    รายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ บิน อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่าแท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «الْمُؤْمِنُ الَّذِي يُخَالِطُ النَّاسَ وَيَصْبِرُ عَلَى أَذَاهُمْ، أَعْظَمُ أَجْرًا، مِنْ الَّذِي لَا يُخَالِطُ النَّاسَ وَلَا يَصْبِرُ عَلَى أَذَاهُمْ» [سنن أبي داود برقم 4032]

    ความว่า “มุอ์มิน(ผู้ศรัทธา)ที่คลุกคลีกับเพื่อนมนุษย์ และมีความอดทนอดกลั้นต่อสิ่งที่ไม่ดีต่างๆ ที่พวกเขากระทำต่อเขา เขาจะได้รับผลบุญมากกว่าผู้ที่ไม่คบค้าคลุกคลีกับเพื่อนมนุษย์และไม่มีความอดทนอดกลั้นต่อการกระทำที่ไม่ดีต่างๆ ของพวกเขา” (สุนัน อบี ดาวูด 2/1338 หมายเลข 4032)

    والحمد لله رب العالمين ، وصلّى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.

    معلومات المادة باللغة الأصلية