×
New!

Bayan Al Islam Encyclopedia Mobile Application

Get it now!

อธิบายพระนามของอัลลอฮฺ อัล-คอลิก อัล-มุเศาวิรฺ (ไทย)

สร้างโดย: อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

Description

อธิบายพระนามของอัลลอฮฺ อัล-คอลิก อัล-มุเศาวิรฺ กล่าวถึงความหมายของพระนามทั้งสองนี้ของอัลลอฮฺ โดยอ้างอิงถึงอายะฮฺอัลกุรอานต่างๆ ที่ได้กล่าวถึงพระนามอันงดงามนี้ สรุปบทเรียนและประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่ได้รับจากการศรัทธาต่อพระนามทั้งสอง ทั้งในด้านความเชื่อและการปฏิบัติ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Download Book

    พระนามของอัลลอฮฺ :

    อัล-คอลิก อัล-มุเศาวิรฺ

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

    แปลโดย : อุศนา พ่วงศิริ

    ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา

    ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต
    อัล-มุลกอฮฺ

    2012 - 1433

    شرح اسم الله الخالق والمصور

    « باللغة التايلاندية »

    د. أمين بن عبد الله الشقاوي

    ترجمة: حسنى فوانجسيري

    مراجعة: عصران نيومديشا

    المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة

    2012 - 1433

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    พระนามของอัลลอฮฺ

    อัล-คอลิก อัล-มุเศาวิรฺ

    มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความสุขความจำเริญและศานติจงประสบแด่ศาสนทูตของพระองค์ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวของอัลลอฮฺและเป็นศาสนทูตของพระองค์

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า:

    ﴿ وَلِلَّهِ ٱلۡأَسۡمَآءُ ٱلۡحُسۡنَىٰ فَٱدۡعُوهُ بِهَاۖ وَذَرُواْ ٱلَّذِينَ يُلۡحِدُونَ فِيٓ أَسۡمَٰٓئِهِۦۚ سَيُجۡزَوۡنَ مَا كَانُواْ يَعۡمَلُونَ ١٨٠ ﴾ [الأعراف : 180]

    ความว่า: “และอัลลอฮฺนั้นมีบรรดาพระนามอันวิจิตรไพเราะ ดังนั้นพวกเจ้าจงเรียกพระองค์ด้วยพระนามเหล่านั้นเถิด และจงปล่อยบรรดาผู้ที่ทำให้เฉในบรรดาพระนามของพระองค์เถิด พวกเขานั้นจะถูกตอบแทนในสิ่งที่พวกเขากระทำ” (อัล-อะอฺรอฟ: 180)

    ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:

    « للهِ تِسْعَةٌ وَتِسْعُوْنَ اِسْمًا مِئَةٌ إِلَّا وَاحِدًا ، لَا يَحْفَظُهَا أَحَدٌ إِلَّا دَخَلَ الجَنَّةَ ، وَهُوَ وَتْرٌ يُحِبُّ الوَتْرَ » [البخاري برقم 6410، ومسلم برقم 2677]

    ความว่า: “สำหรับอัลลอฮฺนั้นมีเก้าสิบเก้าพระนาม ขาดอีกหนึ่งจะครบร้อย ไม่มีผู้ใดท่องจำมันได้เว้นแต่เขาจะได้เข้าสวรรค์ พระองค์ทรงมีหนึ่งเดียว และพระองค์ทรงชอบจำนวนคี่” (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่: 6410 และมุสลิม หะดีษเลขที่: 2677) และในอีกสำนวนหนึ่งระบุว่า:

    « مَنْ أَحْصَاهَا دَخَلَ الجَنَّةَ » [البخاري برقم 7392]

    ความว่า: “ผู้ใดจดจำพระนามเหล่านั้นได้เขาจะได้เข้าสวรรค์" (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่: 7392)

    มีอายะฮฺอัลกุรอานมากมายที่กล่าวถึงพระนาม الخَالِق "อัล-คอลิก" (ผู้ทรงสร้าง) และ المُصَوِّر "อัล-มุเศาวิรฺ" (ผู้ทรงทำให้เป็นรูปร่าง) พระองค์ ตรัสว่า:

    ﴿ هُوَ ٱللَّهُ ٱلۡخَٰلِقُ ٱلۡبَارِئُ ٱلۡمُصَوِّرُۖ لَهُ ٱلۡأَسۡمَآءُ ٱلۡحُسۡنَىٰۚ ٢٤ ﴾ [الحشر : 24]

    ความว่า: “พระองค์คืออัลลอฮฺผู้ทรงสร้างผู้ทรงให้บังเกิดผู้ทรงทำให้เป็นรูปร่าง สำหรับพระองค์คือพระนามทั้งหลายอันวิจิตรไพเราะ” (อัล-หัชรฺ: 24)

    และตรัสอีกว่า:

    ﴿ هُوَ ٱلَّذِي يُصَوِّرُكُمۡ فِي ٱلۡأَرۡحَامِ كَيۡفَ يَشَآءُۚ ٦ ﴾ [آل عمران : 6]

    ความว่า: “พระองค์คือผู้ทรงทำให้พวกเจ้ามีรูปร่างขึ้นในมดลูก ตามที่พระองค์ทรงประสงค์” (อาล อิมรอน : 6)

    และตรัสอีกว่า:

    ﴿ ٱلَّذِي خَلَقَكَ فَسَوَّىٰكَ فَعَدَلَكَ ٧ فِيٓ أَيِّ صُورَةٖ مَّا شَآءَ رَكَّبَكَ ٨ ﴾ [الانفطار : 7-8]

    ความว่า: "ผู้ทรงบังเกิดเจ้าแล้วทรงทำให้เจ้าสมบูรณ์ แล้วก็ทรงทำให้เจ้าสมส่วน ในรูปใดที่พระองค์ทรงประสงค์ก็จะทรงประกอบเจ้าขึ้น” (อัล-อินฟิฏอรฺ: 7-8)

    นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า "อัล-มุเศาวิรฺ" คือผู้ทรงสรรค์สร้างสิ่งต่างๆในรูปแบบและรูปร่างที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของความสูงต่ำ ความสวยงามความน่ารังเกียจ เพศชายเพศหญิง โดยทุกๆสิ่งต่างมีรูปร่างลักษณะเฉพาะของตัวเอง ดังที่พระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสว่า:

    ﴿ فَتَبَارَكَ ٱللَّهُ أَحۡسَنُ ٱلۡخَٰلِقِينَ ١٤ ﴾ [المؤمنون : 14]

    ความว่า: “ดังนั้นอัลลอฮฺทรงจำเริญยิ่ง ผู้ทรงเลิศแห่งปวงผู้สร้าง” (อัล-มุอฺมินูน: 14)

    ส่วนหนึ่งจากประโยชน์ที่ได้จากการศรัทธาต่อพระนามทั้งสองของพระองค์อัลลอฮฺ คือ:

    ประการที่หนึ่ง: การตระหนักว่าพระองค์อัลลอฮฺคือพระผู้สร้างแต่เพียงพระองค์เดียว สิ่งอื่นจากพระองค์ล้วนเป็นสิ่งที่ถูกสร้างทั้งสิ้น พระองค์ได้ตรัสว่า:

    ﴿ قُلِ ٱللَّهُ خَٰلِقُ كُلِّ شَيۡءٖ وَهُوَ ٱلۡوَٰحِدُ ٱلۡقَهَّٰرُ ١٦ ﴾ [الرعد: 16]

    ความว่า: “จงกล่าวเถิด อัลลอฮฺคือผู้ทรงสร้างทุกสิ่ง และพระองค์คือผู้ทรงเอกะผู้ทรงพิชิต” (อัล-เราะอฺด์: 16)

    และตรัสว่า:

    ﴿ هَلۡ مِنۡ خَٰلِقٍ غَيۡرُ ٱللَّهِ ٣ ﴾ [فاطر : 3]

    ความว่า: “จะมีพระผู้สร้างอื่นใดจากอัลลอฮฺกระนั้นหรือ” (ฟาฏิร: 3)

    ดังนั้น สิ่งอื่นนอกเหนือจากพระองค์ล้วนเป็นสิ่งที่ถูกสร้างทั้งสิ้น และทุกสิ่งที่ถูกสร้างก็เกิดจากความไม่มีทั้งสิ้น พระองค์ได้ตรัสว่า:

    ﴿ هَلۡ أَتَىٰ عَلَى ٱلۡإِنسَٰنِ حِينٞ مِّنَ ٱلدَّهۡرِ لَمۡ يَكُن شَيۡ‍ٔٗا مَّذۡكُورًا ١ ﴾ [الإنسان : 1]

    ความว่า: “แน่นอนกาลเวลาที่ยาวนานได้เกิดขึ้นแก่มนุษย์ เมื่อเขามิได้เป็นสิ่งที่ถูกกล่าวถึงเลย” (อัล-อินสาน: 1)

    ประการที่สอง: พระองค์อัลลอฮฺยังคงเป็นผู้สร้าง อย่างไรและเมื่อไรก็ได้ที่พระองค์ทรงประสงค์ พระองค์ตรัสว่า:

    ﴿ يَخۡلُقُ ٱللَّهُ مَا يَشَآءُۚ ٤٥ ﴾ [النور : 45]

    ความว่า: “อัลลอฮฺทรงบังเกิดสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์" (อัน-นูร: 45)

    และตรัสว่า:

    ﴿ وَرَبُّكَ يَخۡلُقُ مَا يَشَآءُ وَيَخۡتَارُۗ ٦٨ ﴾ [القصص : 68]

    ความว่า: “และพระเจ้าของเจ้าทรงสร้างสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์และทรงเลือก” (อัล-เกาะศ็อศ: 68)

    และตรัสอีกว่า:

    ﴿ فَعَّالٞ لِّمَا يُرِيدُ ١٦ ﴾ [البروج : 16]

    ความว่า: “ผู้ทรงกระทำอย่างเด็ดขาดตามที่พระองค์ทรงประสงค์” (อัล-บุรูจญ์: 16)

    ประการที่สาม: อัลลอฮฺทรงเป็นผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง พระองค์ตรัสว่า:

    ﴿ ذَٰلِكُمُ ٱللَّهُ رَبُّكُمۡ خَٰلِقُ كُلِّ شَيۡءٖ لَّآ إِلَٰهَ إِلَّا هُوَۖ ﴾ [غافر : 62]

    ความว่า: “นั่นคืออัลลอฮฺพระเจ้าของพวกเจ้า ผู้ทรงสร้างทุกสิ่ง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์” (ฆอฟิร: 62)

    ประการที่สี่: การสร้างของอัลลอฮฺนั้นยิ่งใหญ่ โดยที่ไม่มีสิ่งถูกสร้างใดจะสามารถสร้างได้เหมือนหรือดีกว่าสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง พระองค์ตรัสว่า:

    ﴿ هَٰذَا خَلۡقُ ٱللَّهِ فَأَرُونِي مَاذَا خَلَقَ ٱلَّذِينَ مِن دُونِهِۦۚ بَلِ ٱلظَّٰلِمُونَ فِي ضَلَٰلٖ مُّبِينٖ ١١ ﴾ [لقمان : 11]

    ความว่า: “นี่คือการสร้างของอัลลอฮฺ ดังนั้นพวกเจ้าจงแสดงให้ข้า (อัลลอฮฺ) เห็นสิว่า อันใดเล่าที่เขาเหล่านั้นได้สร้างมันขึ้นมาอื่นจากพระองค์ แต่ว่าบรรดาผู้อธรรมต่างหากที่อยู่ในการหลงผิดอย่างชัดแจ้ง” (ลุกมาน: 11)

    ซึ่งดังกล่าวนี้เป็นการท้าทายสิ่งที่ถูกสร้างทั้งมวลไม่ว่าจะเป็นญิน มนุษย์ หรือสิ่งอื่นๆ

    นอกจากนี้ พระองค์ได้ทรงยืนยันถึงความอ่อนแอของพวกเขา โดยทรงระบุว่าพวกเขาไม่สามารถสร้างได้แม้แต่สิ่งเล็กๆเช่นแมลงวัน พระองค์ตรัสว่า:

    ﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلنَّاسُ ضُرِبَ مَثَلٞ فَٱسۡتَمِعُواْ لَهُۥٓۚ إِنَّ ٱلَّذِينَ تَدۡعُونَ مِن دُونِ ٱللَّهِ لَن يَخۡلُقُواْ ذُبَابٗا وَلَوِ ٱجۡتَمَعُواْ لَهُۥۖ وَإِن يَسۡلُبۡهُمُ ٱلذُّبَابُ شَيۡ‍ٔٗا لَّا يَسۡتَنقِذُوهُ مِنۡهُۚ ضَعُفَ ٱلطَّالِبُ وَٱلۡمَطۡلُوبُ ٧٣ ﴾ [الحج : 73]

    ความว่า: “โอ้มนุษย์เอ๋ย! อุทาหรณ์หนึ่งถูกยกมากล่าวไว้แล้ว ดังนั้นพวกเจ้าจงฟังมันให้ดี แท้จริงบรรดาสิ่งที่พวกเจ้าวิงวอนขอความช่วยเหลืออื่นจากอัลลอฮฺนั้น พวกมันไม่สามารถจะให้บังเกิดแม้แต่แมลงวันสักตัวหนึ่ง หากว่าพวกมันจะร่วมมือกันเพื่อการนั้นก็ตาม และถ้าแมลงวันพาสิ่งใดหนีไปจากพวกมัน พวกมันก็ไม่สามารถจะเอามันกลับคืนมาได้จากแมลงวัน ทั้งผู้ขอและผู้ถูกขออ่อนแอแท้ๆ” (อัล-หัจญ์: 73)

    ประการที่ห้า: พระองค์ทรงห้ามมิให้บ่าวของพระองค์ทำรูปปั้นหรือรูปภาพสิ่งที่มีวิญญาณ เพราะถือเป็นการเลียนแบบสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง ดังหะดีษที่รายงานโดยอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า: อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า:

    « وَمَنْ أَظْلَمُ مِمَّنْ ذَهَبَ يَخْلُقُ كَخَلْقِيْ ، فَلْيَخْلُقُوْا حَبَّةً وَلْيَخْلُقُوْا ذرَّةً » [البخاري برقم 5953، ومسلم برقم 2111]

    ความว่า: “ใครเล่าจะเป็นผู้ที่อธรรมยิ่งไปกว่าผู้ที่พยายามจะสร้างสิ่งที่เหมือนกับการสร้างของข้า หากพวกเขามีความสามารถก็ลองให้พวกเขาสร้างเมล็ดพืชขึ้นมาสักเมล็ดหนึ่งสิ หรือให้พวกเขาสร้างเมล็ดข้าวโพดขึ้นมาสักเมล็ดหนึ่งสิ” (อัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่: 5953 และมุสลิม หะดีษเลขที่: 2111)

    ท่านอับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:

    « إِنَّ أَشَدَّ النَّاسِ عَذَاباً عِنْدَ اللهِ يَوْمَ القِيَامَةِ المُصَوِّرُوْنَ » [البخاري برقم 5950، ومسلم برقم 2109]

    ความว่า: “แท้จริงผู้ที่จะได้รับการลงโทษจากอัลลอฮฺอย่างแสนเจ็บปวดที่สุดในวันกิยามะฮฺ คือบรรดาผู้ที่ทำรูปทั้งหลาย” (อัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่: 5950 และมุสลิม หะดีษเลขที่: 2109)

    และในอีกรายงานหนึ่ง:

    « يُقَالَ لَهُمْ: أَحْيُوْا مَا خَلَقْتُمْ » [البخاري برقم 5951، ومسلم برقم 2108]

    ความว่า: “จะมีเสียงกล่าวแก่พวกเขาว่า: จงให้ชีวิตแก่สิ่งที่พวกเจ้าได้สร้างมันขึ้นมาเถิด” (อัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่: 5951 และมุสลิม หะดีษเลขที่: 2108)

    และนี่คือหลักฐานว่าผู้ที่ทำรูปนั้นจะถูกลงโทษโดยถูกสั่งให้เป่าวิญญาณเข้าไปในสิ่งที่พวกเขาสร้าง แต่ทว่าพวกเขาก็ไม่สามารถกระทำได้ พวกเขาจึงถูกลงโทษเช่นนั้นอยู่เรื่อยไป

    ประการที่หก: ความยิ่งใหญ่ของสิ่งที่อัลลอฮฺทรงสร้าง โดยพระองค์ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน ซึ่งสองสิ่งนี้ยิ่งใหญ่กว่าการสร้างมนุษย์หลายเท่า พระองค์ตรัสว่า:

    ﴿ لَخَلۡقُ ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَٱلۡأَرۡضِ أَكۡبَرُ مِنۡ خَلۡقِ ٱلنَّاسِ وَلَٰكِنَّ أَكۡثَرَ ٱلنَّاسِ لَا يَعۡلَمُونَ ٥٧ ﴾ [غافر : 57]

    ความว่า: “แน่นอนการสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนั้นใหญ่ยิ่งกว่าการสร้างมนุษย์ แต่ว่าส่วนมากของมนุษย์ไม่รู้” (ฆอฟิร: 57)

    และอีกหนึ่งความยิ่งใหญ่ของสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง คือ "กุรสีย์" ซึ่งเป็นที่วางพระบาทของพระองค์ (ดังที่ท่านอิบนุอับบาสได้กล่าวไว้) นั้นกว้างยิ่งกว่าชั้นฟ้าและแผ่นดิน ส่วน "อัรชฺ" หรือบัลลังก์ของพระองค์นั้นใหญ่ยิ่งกว่า โดยพระองค์อัลลอฮฺตะอาลาทรงอยู่เหนือบัลลังก์ของพระองค์ ซึ่งพระองค์คือสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเหนือสิ่งใดในโลกนี้

    ประการที่เจ็ด: พระองค์อัลลอฮฺมิได้ทรงสร้างสิ่งใดโดยเปล่าประโยชน์ แต่พระองค์ทรงสร้างทุกสิ่งเพื่อเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ ดังที่พระองค์ตรัสว่า:

    ﴿ أَفَحَسِبۡتُمۡ أَنَّمَا خَلَقۡنَٰكُمۡ عَبَثٗا وَأَنَّكُمۡ إِلَيۡنَا لَا تُرۡجَعُونَ ١١٥ فَتَعَٰلَى ٱللَّهُ ٱلۡمَلِكُ ٱلۡحَقُّۖ لَآ إِلَٰهَ إِلَّا هُوَ رَبُّ ٱلۡعَرۡشِ ٱلۡكَرِيمِ ١١٦ ﴾ [المؤمنون : 115-116]

    ความว่า: “พวกเจ้าคิดว่าเราได้ให้พวกเจ้าบังเกิดมาโดยไร้ประโยชน์ และแท้จริงพวกเจ้าจะไม่กลับไปหาเรากระนั้นหรือ? อัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่ง ผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงสัจจะ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ พระเจ้าแห่งบัลลังก์อันทรงเกียรติ” (อัล-มุอ์มินูน: 115-116)

    และตรัสว่า:

    ﴿ وَمَا خَلَقۡنَا ٱلسَّمَآءَ وَٱلۡأَرۡضَ وَمَا بَيۡنَهُمَا لَٰعِبِينَ ١٦ لَوۡ أَرَدۡنَآ أَن نَّتَّخِذَ لَهۡوٗا لَّٱتَّخَذۡنَٰهُ مِن لَّدُنَّآ إِن كُنَّا فَٰعِلِينَ ١٧ بَلۡ نَقۡذِفُ بِٱلۡحَقِّ عَلَى ٱلۡبَٰطِلِ فَيَدۡمَغُهُۥ فَإِذَا هُوَ زَاهِقٞۚ وَلَكُمُ ٱلۡوَيۡلُ مِمَّا تَصِفُونَ ١٨ ﴾ [الأنبياء : 16-18]

    ความว่า: “และเรามิได้สร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน และสิ่งที่อยู่ในระหว่างทั้งสอง เพื่อการสนุกสนานอย่างไร้ประโยชน์หากเราปรารถนาที่จะเอาเป็นเครื่องเล่นสนุกสนาน เราก็จะเอามันจากที่มีอยู่ที่เรา หากเราปรารถนาจะกระทำเช่นนั้น แต่ว่าเราได้ให้ความจริงทำลายความเท็จแล้วเราก็ให้มันเสียหายไป แล้วมันก็จะมลายสิ้นไป และความหายนะจะประสบแก่พวกเจ้า ในสิ่งที่พวกเจ้ากล่าวเสกสรรปั้นแต่งต่ออัลลอฮฺ” (อัล-อันบิยาอ์: 16-18)

    ท่านอิบนุกะษีรกล่าวว่า: พระองค์ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินด้วยความยุติธรรม พระองค์ตรัสว่า:

    ﴿ لِيَجۡزِيَ ٱلَّذِينَ أَسَٰٓـُٔواْ بِمَا عَمِلُواْ وَيَجۡزِيَ ٱلَّذِينَ أَحۡسَنُواْ بِٱلۡحُسۡنَى ٣١ ﴾ [النجم : 31]

    ความว่า: “เพื่อพระองค์จะทรงตอบแทนบรรดาผู้กระทำความชั่วตามที่พวกเขาประพฤติ และจะทรงตอบแทนบรรดาผู้กระทำความดีด้วยความดี” (อัล-นัจญ์มุ: 31)

    และพระองค์มิทรงสร้างสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาเล่นๆโดยเปล่าประโยชน์ พระองค์ตรัสว่า:

    ﴿ وَمَا خَلَقۡنَا ٱلسَّمَآءَ وَٱلۡأَرۡضَ وَمَا بَيۡنَهُمَا بَٰطِلٗاۚ ذَٰلِكَ ظَنُّ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْۚ فَوَيۡلٞ لِّلَّذِينَ كَفَرُواْ مِنَ ٱلنَّارِ ٢٧ ﴾ [ص : 27]

    ความว่า “และเรามิได้สร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินรวมถึงสิ่งที่อยู่ระหว่างมันทั้งสองโดยเปล่าประโยชน์ นั่นเป็นเพียงการคาดเดาของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา ดังนั้น ความหายนะคือไฟนรกจงประสบแก่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา” (ศอด: 27) (ตัฟสีร อิบนุ กะษีร 9/395)

    และจากนั้นพระองค์ได้อธิบายเหตุผลในการสร้างของพระองค์ว่า:

    ﴿ وَمَا خَلَقۡتُ ٱلۡجِنَّ وَٱلۡإِنسَ إِلَّا لِيَعۡبُدُونِ ٥٦ مَآ أُرِيدُ مِنۡهُم مِّن رِّزۡقٖ وَمَآ أُرِيدُ أَن يُطۡعِمُونِ ٥٧ إِنَّ ٱللَّهَ هُوَ ٱلرَّزَّاقُ ذُو ٱلۡقُوَّةِ ٱلۡمَتِينُ ٥٨ ﴾ [الذاريات : 56-58]

    ความว่า: “และข้ามิได้สร้างญินและมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า ข้าไม่ต้องการปัจจัยยังชีพจากพวกเขา และข้าก็ไม่ต้องการให้พวกเขาให้อาหารแก่ข้าแท้จริงอัลลอฮฺคือผู้ประทานปัจจัยยังชีพอันมากหลาย ผู้ทรงพลัง ผู้ทรงมั่นคง” (อัซ-ซาริยาต: 56-58)

    والحمد لله رب العالمين،

    وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.

    معلومات المادة باللغة العربية