×

شرح حديث: لا يؤمن أَحدكم حتى يحب لأخيه ما يحب لنفسه (تايلندي)

إعداد: อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

الوصف

شرح حديث: لاَ يُؤْمِنُ أَحَدُكُمْ حَتَّى يُحِبَّ لِأَخِيْهِ مَا يُحِبُّ لِنَفْسِهِ: مقالة مقتبسة ومترجمة من كتاب: «الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة» للشيخ أمين بن عبد الله الشقاوي - حفظه الله -، وفيه بيان أهمية حب الخير للآخرين وفضله وعظيم شأنه، وأنه من دلائل كمال الإيمان لدى العبد المسلم، مستدلا في ذلك بالأحاديث الواردة عن النبي صلّى الله عليه وسلّم.

تنزيل الكتاب

    การศรัทธาที่สมบูรณ์ คือการปรารถนาดีต่อผู้อื่น

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

    แปลโดย : ณัจญวา บุญมาเลิศ

    ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา

    ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ

    2012 - 1433

    شرح حديث

    «لاَ يُؤْمِنُ أَحَدُكُمْ حَتَّى يُحِبَّ لِأَخِيْهِ مَا يُحِبُّ لِنَفْسِهِ»

    « باللغة التايلاندية »

    د. أمين بن عبدالله الشقاوي

    ترجمة: نجوى بونماليرت

    مراجعة: عصران نيومديشا

    المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة

    2012 - 1433

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    การศรัทธาที่สมบูรณ์ คือการปรารถนาดีต่อผู้อื่น

    มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอการสดุดียกย่องและความสันติจงประสบแด่ท่านศาสนทูตของพระองค์ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียวเท่านั้น ไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามูฮำหมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์

    มีรายงานหะดีษซึ่งบันทึกโดยท่านอิมามอัล-บุคอรียฺและมุสลิม จากท่านอนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า:

    « لاَ يُؤْمِنُ أَحَدُكُمْ حَتَّى يُحِبَّ لأَخِيْهِ مَا يُحِبُّ لِنَفْسِهِ » [البخاري برقم 13، ومسلم برقم 45]

    ความว่า “คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านจะยังไม่มีศรัทธาอย่างแท้จริง จนกว่าเขาจะปรารถนาให้พี่น้องของเขาได้รับในสิ่งที่เขาปรารถนาจะให้ตนเองได้รับ” (บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 13 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 45)

    หะดีษอันทรงเกียรติบทนี้ เป็นหนึ่งในหะดีษที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและถือเป็นหัวใจหลักของศาสนา หากว่าเราได้ปฏิบัติตามแล้ว ย่อมสามารถขจัดความชั่วร้าต่างๆ และยุติข้อพิพาทระหว่างผู้คนได้ สังคมส่วนรวมก็จะถูกปกคลุมด้วยความปลอดภัย ความดีงาม และสันติสุข ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อหัวใจปราศจากการฉ้อฉล คดโกง และอิจฉาริษยา

    ทั้งนี้ เพราะการอิจฉาริษยาส่งผลให้ผู้อิจฉาเกลียดชิงชังผู้คนที่ทำดีเหนือกว่าหรือเทียบเท่ากับเขา โดยเขาปรารถนาที่จะให้ตนเองโดดเด่นแต่เพียงผู้เดียวเหนือผู้อื่นด้วยคุณงามความดีของเขา แต่การศรัทธานั้นจะส่งผลตรงกันข้าม กล่าวคือผู้ที่มีความศรัทธาจะหวังให้ผู้ศรัทธาทั้งมวลมีส่วนร่วมได้รับสิ่งดีๆ ที่อัลลอฮฺทรงประทานให้ โดยที่ไม่มีสิ่งใดขาดหายไปเลยแม้แต่น้อย (ญามิอุลอุลูม วัลหิกัม หน้า 147)

    ท่านมุอาซ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านได้ถามท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถึงการศรัทธาที่ประเสริฐที่สุด ซึ่งท่านตอบว่า:

    « أَفْضَلُ الإِيْمَانِ: أَنْ تُحِبَّ للهِ وَتُبْغِضَ فِي اللهِ ، وَتُعْمِلَ لِسَانَكَ فِي ذِكْرِ الله قَالَ: وماذا يا رسول الله ؟ قال: وَأَنْ تُحِبَّ لِلنَّاسِ مَا تُحِبُّ لِنَفْسِكَ ، وَ تَكْرَهَ لَهُمْ مَا تَكْرَهُ لِنَفْسِكَ ، وَأَنْ تَقُوْلُ خَيْرًا أَوْ تَصْمُتَ » أحمد برقم 22130]

    ความว่า “การศรัทธาที่ประเสริฐที่สุด คือ การที่ท่านรักเพื่ออัลลอฮฺ โกรธเพื่ออัลลอฮฺ และการที่ท่านใช้ลิ้นของท่านไปกับการรำลึกถึงอัลลอฮฺ" ท่านมุอาซได้ถามต่อว่า: แล้วมีอะไรอีกไหมครับท่านเราะสูลุลอฮฺ? ท่านตอบว่า: "การที่ท่านปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นได้รับในสิ่งที่ท่านปรารถนาให้ตนเองได้รับ และรังเกียจที่จะให้ผู้คนได้รับในสิ่งที่ท่านรังเกียจที่จะให้ตนเองได้รับ และการพูดในสิ่งที่ดีหรือไม่ก็เงียบเสีย” (บันทึกโดยอะหฺมัด หะดีษเลขที่ 22130)

    และนี่คือแขนงหนึ่งของการศรัทธาที่สำคัญยิ่ง ดังนั้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงได้ระบุว่าการปฏิบัติสิ่งนี้จะเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์ ดังปรากฏจากหะดีษของท่านยะซีด บิน อะสัด อัล-ก็อสรียฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวแก่ฉันว่า:

    « أَتُحِبُّ الْجَنَّةَ ؟ » قُلْتُ : نَعَمْ ، قَالَ :« فَأَحِبَّ لِأَخِيْكَ مَا تُحِبُّ لِنَفْسِكَ » [رواه أحمد برقم 16655]

    ความว่า “ท่านปรารถนาที่จะเข้าสวรรค์หรือไม่?” ฉันตอบว่า “ครับ” ท่านนบี ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า “ดังนั้น จงปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นได้รับเหมือนกับที่ท่านปรารถนาให้ตนเองได้รับ” (บันทึกโดยอะหฺมัด หะดีษเลขที่ 16655)

    มีหะดีษบันทึกจากท่านอับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ บิน อัล-อาศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:

    « فَمَنْ أَحَبَّ أَنْ يُزَحْزَحَ عَنِ النَّارِ وَ يُدْخَلَ الْجَنَّةَ ، فَلْتَأْتِهِ مَنِيَّتُهُ وَ هُوَ يُؤْمِنُ بِاللهِ وَ الْيَوْمِ الْآخِرِ ، وَلْيَأْتِ إِلَى النَّاسِ الَّذِيْ يُحِبُّ أَنْ يُؤْتَى إِلَيْهِ » [رواه مسلم برقم 1844]

    ความว่า “ผู้ใดปรารถนาที่จะได้รับการปลดปล่อยให้รอดพ้นจากไฟนรก และได้เข้าสรวงสวรรค์ ก็จงให้ความตายมาเยือนเขาขณะที่เขาดำรงสภาพเป็นผู้ศรัทธามั่นต่ออัลลอฮฺและวันสิ้นโลก และจงปฏิบัติต่อผู้คนในสิ่งที่เขาปรารถนาให้ผู้คนปฏิบัติต่อตัวเขาเอง” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 1844)

    จากท่านอบูซัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า:

    « يَا أَباَ ذَرٍّ إِنِّيْ أَرَاكَ ضَعِيْفًا ، وَإِنِّيْ أُحِبُّ لَكَ مَا أُحِبُّ لِنَفْسِيْ ، لَا تَأَمَّرَنَّ عَلَى اثْنَيْنِ ، وَلَا تَوَلَّيَنَّ مَالَ يَتِيْمٍ » [رواه مسلم برقم 1826]

    ความว่า “โอ้อบูซัรฺเอ๋ย ฉันเห็นว่าท่านนั้นเป็นผู้ที่อ่อนแอ และฉันก็ปรารถนาที่จะให้ท่านได้รับในสิ่งที่ฉันปรารถนาให้ตนเองได้รับ ดังนั้น ท่านจงอย่าได้เป็นผู้นำ และจงอย่าได้เป็นผู้พิทักษ์คุ้มครองทรัพย์สินของเด็กกำพร้าเลย” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 1826)

    การที่ท่านนบีได้ห้ามอบูซัรฺในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากท่านนบีเห็นความอ่อนแอในตัวเขา และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ต้องการห้ามผู้อ่อนแอทั้งหมดเช่นเดียวกัน อนึ่ง การที่ท่านนบีเป็นผู้ปกครองดูแลประชาชน ก็เพราะพระองค์อัลลอฮฺทรงมอบความเข้มแข็งให้แก่ท่าน และยังได้ทรงสั่งใช้ให้ท่านทำการเรียกร้องเชิญชวนผู้คนทั้งมวลไปสู่การเชื่อฟังพระองค์ โดยท่านนบียังเป็นผู้บริหารกิจการทางด้านศาสนาและทางโลกของเหล่าประชาชนอีกด้วย

    ท่านมุหัมมัด บิน วาสิอ์ ได้เคยขายลาตัวหนึ่ง แล้วก็มีชายคนหนึ่งกล่าวกับเขาว่า “ท่านพอใจที่จะให้ลาตัวนั้นแก่ฉันไหม?" เขาตอบว่า "หากฉันพอใจที่จะให้ท่าน ฉันคงไม่ขายมันไปหรอก" นี่เป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่าเขาจะไม่พึงใจให้พี่น้องของเขาได้รับสิ่งใดนอกจากสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เขาพึงใจเช่นกัน และทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อคิดเตือนใจแก่ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ซึ่งก็คือภาพรวมของศาสนา

    ท่านอบูอุมามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า:

    إِنَّ فَتًى شَابًّا أَتَى النَّبِيَّ صلى الله عليه وسلم فَقَالَ : يَا رَسُوْلُ اللهِ ائْذَنْ لِيْ بِالزِّنَا! فَأَقْبَلَ الْقَوْمُ عَلَيْهِ فَزَجَرُوْهُ وَقَالُوْا : مَهْ ، مَهْ ، فَقَالَ : « ادْنُهْ » ، فَدَنَا مِنْهُ قَرِيْبًا ، قَالَ : فَجَلَسَ ، قَالَ صلى الله عليه وسلم « أَتُحِبُّهُ لِأُمِّكَ ؟ » قَالَ : لَا وَاللهِ جَعَلَنِي اللهُ فِدَاءَكَ ، قَالَ :« وَلاَ النَّاسُ يُحِبُّوْنَهُ لِأُمَّهَاتِهِمْ » ؛ قَالَ صلى الله عليه وسلم : « أَفَتُحِبُّهُ لِابْنَتِكَ؟ » قَالَ : لاَ وَاللهِ يَا رَسُوْلُ اللهِ جَعَلَنِي اللهُ فِدَاءَكَ ، قَالَ : « وَلاَ النَّاسُ يُحِبُّوْنَهُ لِبَنَاتِهِمْ » ؛ قَالَ صلى الله عليه وسلم: « أَفَتُحِبُّهُ لِأُخْتِكَ؟ » قَالَ : لَا وَاللهِ جَعَلَنِي اللهُ فِدَاءَكَ ، قَالَ : « وَلاَ النَّاسُ يُحِبُّوْنَهُ لِأَخَوَاتِهِمْ » ؛ قَالَ صلى الله عليه وسلم: « أَ فَتُحِبُّهُ لِعَمَّتِكَ ؟ » قَالَ : لَا وَاللهِ جَعَلَنِي اللهُ فِدَاءَكَ ، قَالَ: « وَلاَ النَّاسُ يُحِبُّوْنَهُ لِعَمَّاتِهِمْ » ؛ قَالَ صلى الله عليه وسلم : « أَفَتُحِبُّهُ لِخَالَتِكَ؟ » قَالَ : لَا وَاللهِ جَعَلَنِي اللهُ فِدَاءَكَ ، قَالَ : « وَلاَ النَّاسُ يُحِبُّوْنَهُ لِخَالَاتِهِمْ » قَالَ: فَوَضَعَ يَدَهُ عَلَيْهِ ، وَقَالَ : « اللَّهُمَّ اغْفِرْ ذَنْبَهُ ، وَطَهِّرْ قَلْبَهُ ، وَحَصِّنْ فَرْجَهُ » ، قَالَ: فَلَمْ يَكُنْ بَعدَ ذَلِكَ الفَتَى يَلْتَفِتُ إِلَى شَيْءٍ . [رواه أحمد 22211]

    ความว่า: เด็กหนุ่มคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วกล่าวว่า “โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ โปรดอนุญาตให้ผมทำซินาด้วยเถิด” ผู้คนจึงต่างหันมาตำหนิดุว่าเขาและบอกให้เขาหยุดพูดเช่นนั้น ท่านนบีได้กล่าวกับเด็กหนุ่มคนนั้นว่า ”ไหนเข้ามาใกล้ๆสิ” เขาจึงขยับเข้าไปใกล้ท่านแล้วนั่งลง จากนั้นท่านก็กล่าวถามเขาว่า “ท่านปรารถนาให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับมารดาของท่านหรือ?” ชายคนนั้นตอบว่า “ไม่ครับ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่าน (เป็นสำนวนสาบาน) ท่านนบีจึงตอบไปว่า “คนอื่นเขาก็ไม่พึงปรารถนาให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับมารดาของพวกเขาเช่นกัน” ท่านนบีได้ถามต่อว่า “ท่านปรารถนาให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับบุตรสาวของท่านหรือ?” เขาตอบว่า “ไม่ครับ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่าน” ท่านนบีจึงตอบไปว่า “คนอื่นเขาก็ไม่พึงปรารถนาให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับบุตรสาวของพวกเขาเช่นกัน” ท่านนบีได้ถามต่อว่า “ท่านปรารถนาให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวของท่านหรือ?” เขาตอบว่า “ไม่ครับ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่าน” ท่านนบีจึงตอบไปว่า “คนอื่นเขาก็ไม่พึงปรารถนาให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวของพวกเขาเช่นกัน” ท่านนบีได้ถามต่อว่า “แล้วท่านปรารถนาให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวของบิดาท่านหรือ?” เขาตอบว่า “ไม่ครับ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่าน” ท่านนบีจึงตอบไปว่า “คนอื่นเขาก็ไม่พึงปรารถนาให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวบิดาของพวกเขาเช่นกัน” ท่านนบีได้ถามต่อว่า “แล้วท่านปรารถนาให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวของมารดาของท่านหรือ?” เขาตอบว่า “ไม่ครับ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ขอพระองค์ได้ให้ฉันเป็นสิ่งพลีแก่ท่าน” ท่านนบีจึงตอบไปว่า “ผู้คนก็ไปพึงปรารถนาให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับพี่สาวหรือน้องสาวของมารดาของพวกเขาเช่นกัน” แล้วท่านนบีก็ได้วางมือบนตัวชายหนุ่มคนนั้น และกล่าวว่า “โอ้อัลลอฮฺ โปรดอภัยในความผิดบาปของเขา โปรดชำระจิตใจของเขาให้สะอาด และโปรดรักษาอวัยวะเพศของเขาด้วยเถิด” จากนั้นชายหนุ่มคนนั้นก็ไม่มีท่าทีสนใจอะไรเช่นนั้นอีก (บันทึกโดย อะหฺมัด หะดีษเลขที่ 22211)

    ท่านอิบนุ เราะญับ กล่าวว่า: "สมควรอย่างยิ่งที่ผู้ศรัทธาจะแสดงความเสียใจที่เขาได้พลาดโอกาสทำคุณความดีในเรื่องศาสนา ด้วยเหตุนี้ ผู้ศรัทธาจึงถูกสั่งใช้ให้มองผู้ที่เหนือกว่าเขาในเรื่องศาสนา และแข่งขันกันในการแสวงหาความดีทางศาสนาด้วยความอุตสาหะและพยายาม ดังที่อัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่งได้ตรัสว่า:

    ﴿ وَفِي ذَٰلِكَ فَلۡيَتَنَافَسِ ٱلۡمُتَنَٰفِسُونَ ٢٦ ﴾ [المطففين: ٢٦]

    ความว่า “และในการนี้บรรดาผู้แข่งขัน จงแข่งขันกันเถิด” (อัล-มุฏ็อฟฟิฟีน: 26)

    และเขาต้องไม่ชิงชังหากจะมีผู้อื่นมาเข้าร่วมแข่งขันกับเขาในการทำความดี แต่ต้องพึงใจให้ผู้คนทั้งหมดเข้าร่วมการแข่งขันนี้ และส่งเสริมพวกเขา นี่เป็นข้อเตือนใจที่เต็มเปี่ยมยิ่งสำหรับพี่น้องมิตรสหาย โดยที่เมื่อใดผู้หนึ่งก้าวขึ้นไปอยู่เหนือเขาในเรื่องการทำความดีทางศาสนา เขาก็ต้องพยายามเร่งตามให้ทัน และเสียใจในความบกพร่องของตนเองที่ยังเดินตามหลังพวกแนวหน้า มิใช่อิจฉาพวกเขาในสิ่งที่อัลลอฮฺประทานให้ แต่ให้กวดขันและแสดงความยินดีกับพวกเขาพร้อมเสียใจต่อข้อบกพร่องของตนที่ยังล้าหลังจากกลุ่มแนวหน้า และสมควรที่ผู้ศรัทธาจะต้องมองตัวเองว่าบกพร่องอยู่เสมอ ยังไปไม่ถึงจุดสูงสุด เพื่อยังประโยชน์แก่เขาสองประการที่สำคัญ คือ หนึ่ง ความมุมานะในการแสวงหาคุณงามความดี และเพิ่มพูนอยู่เสมอ และสอง คือการที่ได้มองตนเองว่ายังไม่สมบูรณ์ สิ่งเหล่านี้จะส่งผลตามมาคือ เขาจะปรารถนาให้ผู้ศรัทธาคนอื่นเป็นคนดีมากกว่าเขา เพราะเขาไม่อยากให้ผู้อื่นมีสภาพเหมือนเขา ดั่งที่เขาไม่อยากให้ตัวเองมีสภาพเช่นนี้ ซึ่งเขาก็มุมานะที่จะปรับปรุงตัวเสมอ มุหัมมัด บิน วาสิอ์ ได้กล่าวแก่ลูกชายของท่านว่า: 'สำหรับบิดาของเจ้านั้น ขออัลลอฮฺทรงอย่าให้มีคนแบบเขามากมายในหมู่มุสลิมเลย'

    ดังนั้น ผู้ใดที่ไม่พอใจในสภาพของตนเอง แล้วเขาจะอยากให้มุสลิมคนอื่นเป็นเหมือนเขาได้อย่างไร! ตรงกันข้าม เขาต้องอยากให้มุสลิมคนอื่นมีสภาพที่ดีกว่าเขา และอยากให้ตนเองมีสภาพที่ดีกว่าเดิม” (ญามิอุลอุลูม วัลหิกัม หน้า 148-149)

    ท่านอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า “ฉันได้ผ่านอายะฮฺหนึ่งจากคัมภีร์ของอัลลอฮฺ และฉันปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะให้คนทุกคนรับรู้สิ่งที่อายะฮฺนั้นกล่าวถึงเสมือนกับที่ฉันได้รู้มา

    ท่านอิหม่ามชาฟิอียฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “ฉันปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้ผู้คนเรียนรู้ศาสตร์นี้ โดยที่พวกเขามิได้อ้างอิงใดๆ ถึงฉันเลย”

    والحمد لله رب العالمين،

    وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.

    معلومات المادة باللغة الأصلية