×
New!

Bayan Al Islam Encyclopedia Mobile Application

Get it now!

อธิบายความหมายพระนาม อัล-ฟัตตาหฺ (ไทย)

สร้างโดย: อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

Description

กล่าวถึงความหมายที่แฝงเร้นอยู่ในพระนาม อัล-ฟัตตาห์ ซึ่งเป็นพระนามหนึ่งของอัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา ที่มีความหมายสองด้าน และกล่าวถึงสิ่งที่สามารถถอดเป็นบทเรียนในเชิงปฏิบัติจากพระนามอันวิจิตรนี้ อาทิ ความจำเป็นที่บ่าวจะต้องพึ่งพิงอัลลอฮฺ เนื่องจากพระองค์ทรงคุมกุญแจแห่งความดีงามทั้งหลายทั้งปวง การขอดุอาอ์จากอัลลอฮฺ เป็นต้น เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์

Download Book

    อธิบายความหมายพระนาม อัล-ฟัตตาหฺ

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

    แปลโดย : อุศนา พ่วงศิริ

    ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา

    ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต
    อัล-มุลกอฮฺ

    2012 - 1434

    شرح اسم الله الفتَّاح

    « باللغة التايلاندية »

    د. أمين بن عبد الله الشقاوي

    ترجمة: حسنى فوانجسيري

    مراجعة: عصران نيومديشا

    المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة

    2012 - 1434

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    อธิบายความหมายพระนามอัล-ฟัตตาหฺ

    มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอการยกย่องสดุดีและความศานติจงประสบแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวของอัลลอฮฺและเป็นศาสนทูตของพระองค์

    ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «إِنَّ للهِ تِسْعَةً وَتِسْعِيْنَ اسْمًا مِئَةً إِلَّا وَاحِدًا ، مَنْ أَحْصَاهَا دَخَلَ الجَنَّةَ » [البخاري برقم 2736، ومسلم برقم 2677]

    ความว่า “พระนามของอัลลอฮฺมีเก้าสิบเก้าพระนาม ผู้ใดสามารถจดจำพระนามเหล่านั้นได้ เขาจะได้เข้าสวรรค์” (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 2736 และมุสลิม 2677)

    และหนึ่งในพระนามของพระองค์อันวิจิตรที่พระองค์ได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานก็คือ "อัล-ฟัตตาหฺ" ซึ่งมีสองความหมายคือ

    ความหมายที่หนึ่ง คือผู้ที่ตัดสินชี้ขาดระหว่างบ่าวของพระองค์ พระองค์ทรงตัดสินพวกเขาด้วยบทบัญญัติของพระองค์ โดยทรงตอบแทนแก่ผู้ที่เคารพภักดีและเชื่อฟัง และลงโทษผู้ฝ่าฝืนทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ ดังที่พระองค์ตรัสว่า

    ﴿ قُلۡ يَجۡمَعُ بَيۡنَنَا رَبُّنَا ثُمَّ يَفۡتَحُ بَيۡنَنَا بِٱلۡحَقِّ وَهُوَ ٱلۡفَتَّاحُ ٱلۡعَلِيمُ ٢٦ ﴾ [سبأ : ٢٦]

    ความว่า “จงกล่าวเถิดมุหัมมัด พระเจ้าของเราจะทรงรวบรวมพวกเราทั้งหมด แล้วพระองค์จะทรงตัดสินระหว่างพวกเจ้าด้วยความจริงและพระองค์คือผู้ทรงตัดสินผู้ทรงรอบรู้” (สะบะอ์: 26)

    และตรัสอีกว่า

    ﴿ رَبَّنَا ٱفۡتَحۡ بَيۡنَنَا وَبَيۡنَ قَوۡمِنَا بِٱلۡحَقِّ وَأَنتَ خَيۡرُ ٱلۡفَٰتِحِينَ ٨٩ ﴾ [الأعراف: ٨٨]

    ความว่า “โอ้พระเจ้าของเรา โปรดชี้ขาดระหว่างพวกเราและประชาชาติของเราด้วยความจริงเถิด และพระองค์นั้นคือผู้ที่ดีเยี่ยมในหมู่ผู้ชี้ขาดทั้งหลาย” (อัล-อะอฺรอฟ: 89)

    อิบนุ กะษีรฺ กล่าวว่า "หมายถึง ขอพระองค์ทรงตัดสินระหว่างเราจากกลุ่มชนของเรา และขอทรงให้ชัยชนะแก่เรา"

    ﴿وَأَنتَ خَيۡرُ ٱلۡفَٰتِحِينَ﴾

    ความว่า “และพระองค์นั้นคือผู้ที่ดีเยี่ยมในหมู่ผู้ชี้ขาดทั้งหลาย”

    อิบนุกะษีรฺกล่าวว่า "หมายถึง พระองค์นั้นคือผู้ชี้ขาดตัดสินที่ดีที่สุด เพราะพระองค์คือผู้ทรงความยุติธรรม และมิทรงอธรรมต่อผู้ใดเป็นอันขาด" (ตัฟสีร อิบนุกะษีรฺ 6/350)

    อายะฮฺแรกคือการตัดสินบ่าวของพระองค์ในวันกิยามะฮฺ ส่วนอายะฮฺที่สองเป็นการตัดสินในโลกดุนยา ด้วยการที่พระองค์ทรงช่วยเหลือปกป้องผู้ศรัทธา และให้ความต่ำต้อยแก่บรรดาผู้ที่ฝ่าฝืนพร้อมทั้งลงโทษพวกเขาด้วย

    ความหมายที่สอง หมายถึง พระองค์ทรงเป็นผู้ประทานความดีและความจำเริญต่างๆ ดังที่พระองค์ตรัสว่า

    ﴿ مَّا يَفۡتَحِ ٱللَّهُ لِلنَّاسِ مِن رَّحۡمَةٖ فَلَا مُمۡسِكَ لَهَاۖ ﴾ [فاطر: ٢]

    ความว่า “สิ่งใดที่อัลลอฮฺทรงประทานให้จากความเมตตาแก่มนุษยชาติ ไม่มีผู้ยับยั้งมันได้” (ฟาฏิร: 2)

    พระองค์ทรงประทานแก่บ่าวของพระองค์ซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งในเรื่องดุนยาและเรื่องศาสนา พระองค์ทรงเปิดใจพวกเขาให้เป็นผู้ที่มีความคิด และเป็นผู้ศรัทธาที่มีความมั่นคง มีความรู้ความสามารถ ดำเนินชีวิตอยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง และทรงเปิดประตูริสกี และวิถีทางทำมาหาเลี้ยงชีพ พระองค์ทรงประทานริสกีแก่ผู้ที่มีความศรัทธายำเกรงโดยที่พวกเขาไม่เคยคาดคิด ทรงตอบรับผู้ที่มอบหมายการงานต่อพระองค์มากกว่าสิ่งที่พวกเขาขอและคาดหวัง พระองค์ทรงทำให้เรื่องยากของพวกเขาเป็นเรื่องง่ายดาย และทรงเปิดทางให้แก่พวกเขา (ฟัตหุรเราะฮีมิล มะลิกิลอัลลาม ของเชคสะอฺดีย์ หน้า 42)

    ตัวอย่างการประทานดังกล่าวนี้ ก็เช่นการที่พระองค์อัลลอฮฺทรงประทานบรรดาการสรรเสริญและความมีเกียรติแก่ท่านนบีของพระองค์ในวันกิยามะฮฺ ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «ثُمَّ يَفْتَحُ اللهُ عَلَيَّ وَيُلْهِمُنِيْ مِنْ مَحَامِدِهِ وَحُسْنِ الثَّنَاءِ عَلَيْهِ شَيْئًا لَمْ يَفْتَحْهُ لِأَحَدٍ قَبْلِي ، ثُمَّ يُقَالُ : يَا مُحَمَّدُ ارْفَعْ رَأْسَكَ ، سَلْ تُعْطَهُ ، اشْفَعْ تُشَفَّعْ» [البخاري برقم 194، ومسلم برقم 6565]

    ความว่า “แล้วพระองค์ก็จะทรงประทานให้แก่ฉัน ซึ่งส่วนหนึ่งจากมวลการสรรเสริญอันประเสริฐงดงามยิ่งที่เป็นสิ่งที่คู่ควรกับพระองค์ โดยที่ไม่มีผู้ใดเคยได้รับสิ่งนี้มาก่อนหน้าฉัน หลังจากนั้นก็จะมีเสียงเรียกว่า โอ้มุหัมมัด จงแหงนศีรษะของเจ้าขึ้น จงขอเถิด แล้วเจ้าจะได้ในสิ่งที่ขอ จงขอความช่วยเหลือ แล้วเจ้าก็จะได้รับความช่วยเหลือ” (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 194 และมุสลิม 6565)

    และพระองค์ยังทรงเปิดประตูแห่งการเตาบัตกลับตัว แก่บรรดาบ่าวของพระองค์ ดังหะดีษของท่านอบูมูซา เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «إِنَّ اللهَ عَزَّ وَجَلَّ يَبْسُطُ يَدُهُ بِاللَّيْلِ لِيَتُوْبَ مُسِيْءُ النَّهَارِ ، وَيَبْسُطُ يَدَهُ بِالنَّهَارِ لِيَتُوْبَ مُسِيْءُ اللَّيْلِ ، حَتَّى تَطْلُعَ الشَّمْسُ مِنْ مَغَارِبِهَا» [مسلم برقم 2759]

    ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺทรงแผ่พระหัตถ์ของพระองค์ในตอนกลางคืน เพื่อที่จะอภัยโทษแก่ผู้ที่ประพฤติชั่วในตอนกลางวัน และแผ่พระหัตถ์ในตอนกลางวันเพื่ออภัยโทษแก่ผู้ที่ประพฤติชั่วในตอนกลางคืน จนกระทั่งดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันตก” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 2759)

    และพระองค์ยังทรงเปิดประตูชั้นฟ้าเพื่อประทานความจำเริญต่างๆ และตอบรับการวิงวอนของบ่าวของพระองค์ ดังที่พระองค์ตรัสว่า

    ﴿ وَلَوۡ أَنَّ أَهۡلَ ٱلۡقُرَىٰٓ ءَامَنُواْ وَٱتَّقَوۡاْ لَفَتَحۡنَا عَلَيۡهِم بَرَكَٰتٖ مِّنَ ٱلسَّمَآءِ وَٱلۡأَرۡضِ وَلَٰكِن كَذَّبُواْ فَأَخَذۡنَٰهُم بِمَا كَانُواْ يَكۡسِبُونَ ٩٦ ﴾ [الأعراف: ٩٥]

    ความว่า “และหากว่าชาวเมืองนั้นได้ศรัทธากันและมีความยำเกรงแล้วไซร้ แน่นอนเราก็เปิดให้แก่พวกเขาแล้ว ซึ่งบรรดาความเพิ่มพูนจากฟากฟ้าและแผ่นดิน แต่ทว่าพวกเขาปฏิเสธ ดังนั้นเราจึงได้ลงโทษพวกเขา เนื่องด้วยสิ่งที่พวกเขาขวนขวายไว้” (อัล-อะอฺรอฟ: 96)

    ท่านอับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «إِذَا كاَنَ ثُلُثُ اللَّيْلِ البَاقِي ، يَهْبِطُ اللهُ عَزَّ وَجَلَّ إِلَى السَّمَاءِ الدُّنْيَا ، ثُمَّ تُفْتَحُ أَبْوَابُ السَّمَاءِ ، ثُمَّ يَبْسُطُ يَدَهُ فَيَقُوْلُ : هَلْ مِنْ سَائِلٍ يُعْطَى سُؤْلَهُ؟ فَلَا يَزَالُ كَذَلِكَ حَتَّى يَطْلُعَ الفَجْرُ» [أحمد برقم 3673]

    ความว่า “ในช่วงเวลาหนึ่งส่วนสามสุดท้ายของกลางคืน อัลลอฮฺจะทรงลงมายังชั้นฟ้าแห่งดุนยา ประตูแห่งชั้นฟ้าก็จะถูกเปิดออก หลังจากนั้นพระองค์ก็จะทรงแผ่พระหัตถ์ของพระองค์ และตรัสว่า มีผู้ใดจะวิงวอนขอหรือไม่ แล้วคำขอของเขาจะถูกตอบรับ? โดยจะยังคงเป็นเช่นนั้นเรื่อยไปจนกระทั่งได้เวลารุ่งอรุณ” (บันทึกโดยอิหม่ามอะหมัด หะดีษเลขที่ 3673)

    และพระองค์ยังทรงประทานแก่บ่าวผู้ศรัทธาของพระองค์ก่อนที่เขาจะเสียชีวิต ด้วยการดลใจให้ปฏิบัติคุณงามความดี ดังหะดีษของอบูอันบะฮฺ อัลเคาลานียฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «إِذَا أَرَادَ اللهُ بِعَبْدِهِ خَيْرًا عَسَلَهُ» قِيْلَ : وَ مَا عَسَلَهُ؟ قَالَ : «يَفْتَحُ اللهُ لَهُ عَمَلاً صَالِحًا قَبْلَ مَوْتِهِ ، ثُمَّ يَقْبِضُهُ عَلَيْهِ» [أحمد برقم 17784]

    ความว่า “หากอัลลอฮฺประสงค์จะให้บ่าวของพระองค์ทำความดี พระองค์ก็จะทรงทำให้การงานของเขานั้นมีความหอมหวาน” มีผู้ถามท่านว่า อะไรคือความหอมหวานหรือครับ? ท่านกล่าวว่า “คือการที่พระองค์ทรงให้บ่าวของพระองค์ได้มีโอกาสปฏิบัติคุณความดีก่อนที่เขาจะเสียชีวิต หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงเอาชีวิตเขากลับไป” (บันทึกโดยอะหฺมัด หะดีษเลขที่ 17784)

    ส่วนหนึ่งจากสิ่งที่ได้รับจากการศรัทธาในพระนามของพระองค์อัล-ฟัตตาหฺ:

    ประการที่หนึ่ง ความช่วยเหลือและชัยชนะใดๆ ล้วนมาจากพระองค์อัลลอฮฺทั้งสิ้น พระองค์คือผู้ทรงตัดสินระหว่างบ่าวของพระองค์ และทรงช่วยเหลือให้บ่าวของพระองค์คนใดได้รับชัยชนะก็ได้ ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ ในทำนองเดียวกัน พระองค์จะทรงให้ผู้ใดตกต่ำพ่ายแพ้ก็ได้ ทั้งนี้ พระองค์ได้ตรัสถึงพระองค์เองว่าคือผู้ทรงตัดสินชี้ขาดและผู้ทรงประทานชัยชนะ ก็เพื่อที่จะเตือนบ่าวของพระองค์ว่าไม่ควรวิงวอนขอสิ่งนี้จากผู้ใดนอกจากพระองค์ และก็เพื่อให้พวกเขาปฏิบัติตามและเชื่อฟังพระองค์ เพื่อที่พวกเขาจะได้รับชัยชนะเหนือศัตรูของพวกเขา พระองค์ตรัสว่า

    ﴿ إِنَّا فَتَحۡنَا لَكَ فَتۡحٗا مُّبِينٗا ١ ﴾ [الفتح: ١]

    ความว่า “แท้จริงเราได้ให้ชัยชนะแก่เจ้า ซึ่งเป็นชัยชนะอย่างชัดแจ้ง” (อัล-ฟัตหฺ: 1)

    และตรัสอีกว่า

    ﴿ فَعَسَى ٱللَّهُ أَن يَأۡتِيَ بِٱلۡفَتۡحِ أَوۡ أَمۡرٖ مِّنۡ عِندِهِۦ ﴾ [المائ‍دة: ٥٢]

    ความว่า “อาจเป็นไปได้ว่าอัลลอฮฺนั้นจะทรงนำมาซึ่งชัยชนะหรือไม่ก็นำพระบัญชาอย่างหนึ่งอย่างใดมาจากที่พระองค์” (อัล-มาอิดะฮฺ: 52)

    และตรัสอีกว่า

    ﴿ وَأُخۡرَىٰ تُحِبُّونَهَاۖ نَصۡرٞ مِّنَ ٱللَّهِ وَفَتۡحٞ قَرِيبٞۗ ﴾ [الصف: ١٣]

    ความว่า “และสิ่งอื่นๆ อีกที่พวกเจ้ารักชอบมัน การช่วยเหลือจากอัลลอฮฺและการพิชิตอันใกล้นี้” (อัศศ็อฟ: 13)

    ท่านสะฮฺล์ บิน สะอฺด์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวในวันสมรภูมิค็อยบัรว่า

    «لَأُعْطِيَنَّ هَذِهِ الرَّايَةَ رَجُلًا يَفْتَحُ اللهُ عَلَى يَدَيْهِ ، يُحِبُّ اللهَ وَرَسُوْلَهُ ، وَيُحِبُّهُ اللهُ وَرَسُوْلُهُ» [البخاري برقم 2942، ومسلم برقم 2406]

    ความว่า “ฉันจะมอบธงนี้ให้แก่บุคคลหนึ่งซึ่งพระองค์อัลลอฮฺจะทรงทำให้ชัยชนะอยู่ในมือของเขา ซึ่งเขานั้นรักพระองค์ และเราะสูลของพระองค์ และอัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ก็รักเขา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ หะดีษเลขที่ 2942 และมุสลิม 2406)

    ประการที่สอง การที่อัลลอฮฺทรงประทานความโปรดปรานทั้งหลายแก่บ่าวของพระองค์ อาจเป็นการลวงให้ตายใจ หากว่าพวกเขาเหล่านั้นละทิ้งสิ่งที่พระองค์ทรงสั่งใช้ และละเมิดสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม พระองค์ตรัสว่า

    ﴿ فَلَمَّا نَسُواْ مَا ذُكِّرُواْ بِهِۦ فَتَحۡنَا عَلَيۡهِمۡ أَبۡوَٰبَ كُلِّ شَيۡءٍ حَتَّىٰٓ إِذَا فَرِحُواْ بِمَآ أُوتُوٓاْ أَخَذۡنَٰهُم بَغۡتَةٗ فَإِذَا هُم مُّبۡلِسُونَ ٤٤ ﴾ [الأنعام: ٤٤]

    ความว่า “ครั้นเมื่อพวกเขาลืมสิ่งที่พวกเขาถูกเตือนให้รำลึกถึง เราก็เปิดให้แก่พวกเขาซึ่งบรรดาประตูของทุกสิ่ง จนกระทั่งเมื่อพวกเขาหลงระเริงต่อสิ่งที่พวกเขาได้รับ เราก็ลงโทษพวกเขาโดยกะทันหัน แล้วทันใดนั้นพวกเขาก็หมดหวัง” (อัล-อันอาม: 44)

    ท่านอุกบะฮฺ บิน อามิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่าท่าน นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «إِذَا رَأَيْتَ اللهَ يُعْطِي العَبْدَ مِنَ الدُّنْيَا عَلَى مَعَاصِيْهِ مَايُحِبُّ ، فَإِنَّمَا هُوَ اسْتِدْرَاجٌ» [أحمد 17311]

    ความว่า “หากท่านเห็นว่าอัลลอฮฺทรงประทานความสุขสบายในโลกดุนยาแก่บ่าวคนหนึ่งตามแต่ที่เขาต้องการ ทั้งที่เขาเป็นผู้ฝ่าฝืน ก็จงรู้ไว้เถิดว่าพระองค์ทรงปล่อยให้เขาตายใจไปก่อนเท่านั้นเอง” จากนั้นท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ได้อ่านคำตรัสของอัลลอฮฺที่ว่า

    ﴿ فَلَمَّا نَسُواْ مَا ذُكِّرُواْ بِهِۦ فَتَحۡنَا عَلَيۡهِمۡ أَبۡوَٰبَ كُلِّ شَيۡءٍ حَتَّىٰٓ إِذَا فَرِحُواْ بِمَآ أُوتُوٓاْ أَخَذۡنَٰهُم بَغۡتَةٗ فَإِذَا هُم مُّبۡلِسُونَ ٤٤ ﴾ [الانعام: ٤٤]

    ความว่า “ครั้นเมื่อพวกเขาลืมสิ่งที่พวกเขาถูกเตือนให้รำลึกถึง เราก็เปิดให้แก่พวกเขาซึ่งบรรดาประตูของทุกสิ่ง จนกระทั่งเมื่อพวกเขาหลงระเริงต่อสิ่งที่พวกเขาได้รับ เราก็ลงโทษพวกเขาโดยกะทันหัน แล้วทันใดนั้นพวกเขาก็หมดหวัง” (อัล-อันอาม: 44) (บันทึกโดยอะหฺมัด หะดีษเลขที่ 17311)

    ประการที่สาม อัลลอฮฺทรงประทานวิทยปัญญา (หิกมะฮฺ) ความรู้ และความเข้าใจในศาสนาแก่บ่าวของพระองค์ ตามระดับความยำเกรง ความบริสุทธิ์ใจ และความเชื่อมั่นศรัทธาของแต่ละคน พระองค์ตรัสว่า

    ﴿ وَٱتَّقُواْ ٱللَّهَۖ وَيُعَلِّمُكُمُ ٱللَّهُۗ وَٱللَّهُ بِكُلِّ شَيۡءٍ عَلِيمٞ ٢٨٢ ﴾ [البقرة: ٢٨٢]

    ความว่า “และพวกเจ้าจงพึงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด แล้วอัลลอฮฺจะทรงให้ความรู้แก่พวกเจ้า และอัลลอฮฺนั้นทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ: 282)

    และตรัสอีกว่า

    ﴿ أَفَمَن شَرَحَ ٱللَّهُ صَدۡرَهُۥ لِلۡإِسۡلَٰمِ فَهُوَ عَلَىٰ نُورٖ مِّن رَّبِّهِۦۚ فَوَيۡلٞ لِّلۡقَٰسِيَةِ قُلُوبُهُم مِّن ذِكۡرِ ٱللَّهِۚ أُوْلَٰٓئِكَ فِي ضَلَٰلٖ مُّبِينٍ ٢٢ ﴾ [الزمر: ٢٢]

    ความว่า “ผู้ใดที่อัลลอฮฺทรงเปิดอกของเขาเพื่ออิสลาม และเขาอยู่บนแสงสว่างจากพระเจ้าของเขา (จะเหมือนกับผู้ที่หัวใจบอดกระนั้นหรือ?) ดังนั้นความวิบัติจงประสบแด่ผู้ที่หัวใจของพวกเขาแข็งกระด้างต่อการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ชนเหล่านี้อยู่ในการหลงผิดอันชัดแจ้ง” (อัซ-ซุมัรฺ: 22)

    ประการที่สี่ สมควรที่มุอ์มินผู้ศรัทธาจะต้องวิงวอนขอต่อพระเจ้าให้ทรงประทานความเมตตาให้แก่เขา ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «إِذَا دَخَلَ أَحَدُكُمُ المَسْجِدَ فَلْيُسَلِّمْ عَلىَ النَّبِي صلى الله عليه وسلم ، وَلْيَقُلْ : اللهم افْتَحْ لِي أَبْوَابَ رَحْمَتِكَ ، وَإِذَا خَرَجَ فَلْيُسَلِّمْ عَلىَ النَّبِي صلى الله عليه وسلم ، وَلْيَقُلْ : اللهم اعْصِمْنِيْ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيْمِ» [ابن ماجه برقم 773]

    ความว่า “เมื่อผู้หนึ่งผู้ใดจะเข้ามัสยิด ก็จงให้สลามแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และจงกล่าวว่า โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงเปิดประตูแห่งความเมตตาของพระองค์แก่ฉันด้วยเถิด และเมื่อจะออกจากมัสยิด ก็จงสลามแก่ท่านนบี และจงกล่าวว่า โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงให้ฉันรอดพ้นจากชัยฏอนมารร้ายที่ถูกสาปแช่งด้วยเถิด” (บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หะดีษเลขที่ 773)

    ประการที่ห้า พระองค์อัลลอฮฺคือผู้ทรงกุมไว้ซึ่งกุญแจไขขุมทรัพย์ทั้งหลายในชั้นฟ้าและแผ่นดิน พระองค์ตรัสว่า

    ﴿ لَهُۥ مَقَالِيدُ ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَٱلۡأَرۡضِۖ يَبۡسُطُ ٱلرِّزۡقَ لِمَن يَشَآءُ وَيَقۡدِرُۚ إِنَّهُۥ بِكُلِّ شَيۡءٍ عَلِيمٞ ١٢ ﴾ [الشورى: ١٢]

    ความว่า “กุญแจ (การควบคุมกิจการ) แห่งชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินเป็นสิทธิ์ของพระองค์ พระองค์ทรงเพิ่มพูนปัจจัยยังชีพแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์และทรงให้คับแคบ” (อัชชูรอ: 12)

    สิ่งใดที่พระองค์ทรงเปิดให้แก่บ่าวของพระองค์ก็จะไม่มีผู้ใดปิดมันได้ และสิ่งใดที่ถูกปิดไว้ก็จะไม่มีผู้ใดสามารถเปิดมันได้เช่นกัน นอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว พระองค์ตรัสว่า

    ﴿ مَّا يَفۡتَحِ ٱللَّهُ لِلنَّاسِ مِن رَّحۡمَةٖ فَلَا مُمۡسِكَ لَهَاۖ وَمَا يُمۡسِكۡ فَلَا مُرۡسِلَ لَهُۥ مِنۢ بَعۡدِهِۦۚ وَهُوَ ٱلۡعَزِيزُ ٱلۡحَكِيمُ ٢ ﴾ [فاطر: ٢]

    ความว่า “สิ่งใดที่อัลลอฮฺทรงประทานให้จากความเมตตาแก่มนุษยชาติ จะไม่มีผู้ยับยั้งมันได้ และสิ่งใดที่พระองค์ทรงยับยั้งไว้ก็ไม่มีผู้ใดให้มันได้หลังจากการยับยั้งของพระองค์ และพระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงปรีชาญาณ” (ฟาฏิร: 2)

    ดังนั้นหากพระองค์ประทานสายฝนลงมา แน่นอนว่าไม่มีผู้ใดสามารถหยุดมันได้ แม้กระทั่งสายฝนนั้นจะทำให้พวกเขาจมอยู่ใต้น้ำก็ตาม เหมือนกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นสมัยนบีนูหฺ โดยน้ำนั้นสูงจนถึงยอดภูผา และก็เช่นเดียวกันหากพระองค์ประสงค์ให้ฝนแล้งเป็นเวลาหลายปี ก็ไม่มีผู้ใดสามารถที่จะทำให้ฝนตกลงมาได้ พระองค์ตรัสว่า

    ﴿ قُلۡ أَرَءَيۡتُمۡ إِنۡ أَصۡبَحَ مَآؤُكُمۡ غَوۡرٗا فَمَن يَأۡتِيكُم بِمَآءٖ مَّعِينِۢ ٣٠ ﴾ [الملك: ٣٠]

    ความว่า “จงกล่าวเถิดมุหัมมัด: พวกท่านจงบอกฉันสิว่า หากแหล่งน้ำของพวกท่านเหือดแห้งลง ดังนั้นผู้ใดเล่าจะนำน้ำที่ท่วมทันมาให้พวกท่าน” (อัลมุลก์: 30)

    และตรัสอีกว่า

    ﴿ وَإِن يَمۡسَسۡكَ ٱللَّهُ بِضُرّٖ فَلَا كَاشِفَ لَهُۥٓ إِلَّا هُوَۖ وَإِن يُرِدۡكَ بِخَيۡرٖ فَلَا رَآدَّ لِفَضۡلِهِۦ﴾ [يونس : ١٠٧]

    ความว่า “และหากอัลลอฮฺจะทรงให้ทุกข์ภัยประสบแก่เจ้าแล้ว ก็ไม่มีผู้ใดปลดเปลื้องมันได้นอกจากพระองค์ และหากพระองค์ทรงปรารถนาความดีแก่เจ้าแล้ว ก็จะไม่มีผู้ใดกีดกันความโปรดปรานของพระองค์ได้” (ยูนุส: 107)

    โดยสรุปก็คือ อัล-ฟัตตาหฺนั้นคือหนึ่งในพระนามที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์อัลลอฮฺตะอาลา และมีความหมายว่า: ผู้ทรงตัดสินชี้ขาดระหว่างบ่าวของพระองค์ด้วยบทบัญญัติของพระองค์ และคือผู้ทรงประทานความดีและความจำเริญทั้งหลาย จึงสมควรอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ศรัทธาจะต้องวิงวอนขอต่อพระองค์ด้วยพระนามนี้ เช่นกล่าวว่า ยาฟัตตาหฺ ทรงประทานความรู้แก่ฉันเถิด ยาฟัตตาหฺ ทรงประทานความเมตตาแก่ฉันเถิด ยาฟัตตาหฺ ทรงประทานริสกีแก่ฉันเถิด

    والحمد لله رب العالمين،

    وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.

    معلومات المادة باللغة العربية