Description
อธิบายเนื้อหาโดยสรุปจากสูเราะฮฺ อัต-ตะกาษุรฺ และข้อคิดต่างๆ ที่สำคัญมากสำหรับมุสลิม เป็นบทเรียนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตในโลกนี้อย่างมีสติ และทบทวนตัวเองอยู่เสมอมิให้หลงลืมอาคิเราะฮฺเพราะมัวแต่ลุ่มหลงในความเพริศแพร้วของความสุขชั่วครู่ชั่วคราวในชีวิต เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ ของเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์
บทเรียนจากสูเราะฮฺ อัต-ตะกาษุรฺ
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย : อันวา สะอุ
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-
มุลกอฮฺ
2013 - 1434
سورة التكاثر
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبدالله الشقاوي
ترجمة: أنور إسماعيل
مراجعة: صافي عثمان
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة
2013 - 1434
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
บทเรียนจากสูเราะฮฺ อัต-ตะกาษุรฺ
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ การยกย่องสรรเสริญและความสันติจงประสบแด่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ข้าขอปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรเคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺพระองค์เดียวเท่านั้น โดยปราศจากการตั้งภาคีใดๆกับพระองค์ และขอปฏิญาณตนว่ามุหัมหมัดนั้นคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์
ในคัมภีร์อัลกุรอานมีสูเราะฮฺอยู่หนึ่งที่เรามักได้รับฟังอยู่บ่อยครั้ง คือ สูเราะฮฺ อัต-ตะกาษุรฺ ซึ่งเราควรที่จะต้องพิจารณาและใคร่ครวญถึงความหมายของสูเราะฮฺนี้เป็นอย่างยิ่ง
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
﴿أَلۡهَىٰكُمُ ٱلتَّكَاثُرُ ١ حَتَّىٰ زُرۡتُمُ ٱلۡمَقَابِرَ ٢ كَلَّا سَوۡفَ تَعۡلَمُونَ ٣ ثُمَّ كَلَّا سَوۡفَ تَعۡلَمُونَ ٤ كَلَّا لَوۡ تَعۡلَمُونَ عِلۡمَ ٱلۡيَقِينِ ٥ لَتَرَوُنَّ ٱلۡجَحِيمَ ٦ ثُمَّ لَتَرَوُنَّهَا عَيۡنَ ٱلۡيَقِينِ ٧ ثُمَّ لَتُسَۡٔلُنَّ يَوۡمَئِذٍ عَنِ ٱلنَّعِيمِ ٨﴾ [سورة التكاثر]
ความว่า "การสะสมทรัพย์สมบัติเพื่ออวดอ้างได้ทำให้พวกเจ้าเพลิดเพลิน จนกระทั่งพวกเจ้าได้เข้าไปเยือนหลุมฝังศพ เปล่าเลย พวกเจ้าจะได้รู้ แล้วก็เปล่าเลย พวกเจ้าจะได้รู้ มิใช่เช่นนั้น ถ้าพวกเจ้าได้รู้อย่างแท้จริง แล้วแน่นอน พวกเจ้าจะเห็นไฟที่ลุกโชน แล้วแน่นอนพวกเจ้าจะได้เห็นมันด้วยสายตาที่แน่ชัด แล้วในวันนั้นพวกเจ้าจะถูกสอบถามเกี่ยวกับความโปรดปราน ที่ได้รับ (ในโลกดุนยา)" (อัต-ตะกาษุรฺ)
คำดำรัสของอัลลอฮฺ (أَلۡهَىٰكُمُ ٱلتَّكَاثُرُ ) ความว่า “การสะสมทรัพย์สมบัติเพื่ออวดอ้างได้ทำให้พวกเจ้าเพลิดเพลิน ”
อิบนุ กะษีรฺ กล่าวว่า “อัลลอฮฺได้ตรัสว่า พวกเจ้านั้นเพลิดเพลินกับความรักที่มีต่อโลก ความสุขสบายและความเพริศแพร้วของมัน โดยลืมการแสวงหาเสบียงสำหรับวันอาคิเราะฮฺ พวกเจ้าอยู่ในภวังค์นั้นจนกระทั่งความตายได้มาหาพวกเจ้า แล้วในที่สุดพวกเจ้าได้ไปเยี่ยมหลุมฝังศพและในที่สุดก็กลายเป็นชาวสุสาน” (ตัฟสีรฺ อิบนุกะษีรฺ 4/44)
มีรายงานจากมุฏ็อรริฟฺ จากบิดาของเขา อับดุลลอฮฺ บิน อัช-ชิคคีรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า
أتيتُ النبيَّ صلَّى اللهُ عليهِ وسلَّمَ وهو يقرأُ : ﴿أَلۡهَىٰكُمُ ٱلتَّكَاثُرُ﴾ قال : «يقولُ ابنُ آدمَ : مَالِيْ . مَالِيْ ( قال ) وهَلْ لَكَ ، يا ابنَ آدمَ ! مِنْ مَالِكَ إِلَّا مَا أَكَلْتَ فَأَفْنَيْتَ ، أَوْ لَبِسْتَ فَأَبْلَيْتَ ، أَوْ تَصَدَّقْتَ فَأَمْضَيْتَ ؟ وفي رواية : وَمَا ذَلِكَ فَهُوَ ذَاهِبٌ وَتَارِكُهُ لِلنَّاسِ. (مسلم 4/2273 ، برقم : 2958)
ความว่า “ฉันได้ไปพบท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ท่านได้อ่านอายะฮฺ (أَلۡهَىٰكُمُ ٱلتَّكَاثُرُ) ท่านนบี กล่าวว่า ลูกหลานอาดัมมักจะกล่าวว่า "ทรัพย์สินของฉัน ! ทรัพย์สินของฉัน !" ท่านนบี กล่าวว่า "โอ้ลูกหลานอาดัมเอ๋ย ทรัพย์สินของเจ้ามิใช่สิ่งที่เจ้าได้บริโภคไปและมันก็สูญสิ้นดอกหรือ หรือสิ่งที่เจ้าได้สวมใส่และมันก็พุพังสลายไปดอกหรือ หรือสิ่งที่เจ้าได้ใช้จ่ายไปและมันก็หมดไปดอกหรือ” ในบางสายรายงานท่านนบีกล่าวว่า “ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นจะสูญสิ้น ส่วนทรัพย์สินที่เหลือจะถูกทิ้งไว้สำหรับคนอื่น(ครอบครองต่อไป)” (บันทึกโดยมุสลิม เล่มที่ 4 หน้า 2273 หมายเลขหะดีษ 2958 )
คำดำรัสของพระองค์ (حَتَّىٰ زُرۡتُمُ ٱلۡمَقَابِرَ) ความว่า "จนกระทั่งพวกเจ้าได้เข้าไปเยือนหลุมฝังศพ"
อิบนุล ก็อยยิม กล่าวว่า “การที่พระองค์ใช้คำว่า เยือนหลุมฝังศพ โดยไม่ใช่คำว่า ความตาย เป็นการชี้ว่า มนุษย์ทุกคนไม่มีใครพำนักอยู่ในสุสานอย่างนิจนิรันดร์ พวกเขาอยู่ในสุสานเสมือนแขกผู้มาเยือนเป็นครั้งคราวเท่านั้น ในที่สุดก็ต้องจากสถานที่แห่งนั้นไป เช่นเดียวกับชีวิตพวกเขาในโลกดุนยาก็เปรียบเสมือนผู้มาเยือนเช่นกัน เนื่องจากพวกเขามิได้พำนักอยู่บนโลกอย่างจีรัง แต่สถานที่พำนักอันนิรันดร์ คือ สวนสวรรค์ หรือขุมนรก” (ตัฟสีรฺ อิบนุลก็อยยิม หน้า 512)
คำดำรัสของพระองค์ (كَلَّا سَوۡفَ تَعۡلَمُونَ ٣ ثُمَّ كَلَّا سَوۡفَ تَعۡلَمُونَ) ความว่า "เปล่าเลย พวกเจ้าจะได้รู้ แล้วก็เปล่าเลย พวกเจ้าจะได้รู้"
คือ ทำไมพวกเจ้าถึงเพลิดเพลินกับการสะสมความมั่งคั่งบนโลกจนลืมการภักดีต่ออัลลอฮฺเช่นนี้ แล้วพวกเจ้าจะได้รู้ถึงผลลัพธ์ของการเพลิดเพลินกับการสะสมความมั่งคั่งบนโลก อัลลอฮฺได้กล่าวซ้ำประโยคนี้หลายครั้งเพื่อยืนยัน ดังที่นักอรรถาธิบายอัลกุรอานบางท่านได้กล่าว
อิบนุ อัล-ก็อยยิม กล่าวว่า “การทวนคำว่าเจ้าจะได้รู้ซ้ำกัน ไม่ใช่เพื่อการยืนยัน แต่การรู้ในอายะฮฺแรกหมายถึงการมองเห็นด้วยตาและตอนลงไปยังหลุมฝังศพ และการรู้ในอายะฮฺที่สองหมายถึงสภาพในหลุมฝังศพ ซึ่งเป็นทัศนะเดียวกันกับทัศนะของ อัล-หะสันและมุกอติล และเป็นสิ่งที่รายงานโดยอะฏออ์จากอิบนุอับบาส” (ตัฟสีรฺ อิบนุ อัล-ก็อยยิม หน้าที่ 515)
คำดำรัสของพระองค์ (كَلَّا لَوۡ تَعۡلَمُونَ عِلۡمَ ٱلۡيَقِينِ) ความว่า "มิใช่เช่นนั้น ถ้าพวกเจ้าได้รู้อย่างแท้จริง"
คือ หากพวกเจ้ารู้ในสิ่งที่พวกเจ้าจะประสบกับมันในวันข้างหน้าแน่นอนพวกเจ้าคงไม่เพลิดเพลินกับการสะสมความสุขสบายในโลกนี้ แต่พวกเจ้าจะหันไปประชันในการประกอบคุณงามความดี แต่ทว่า พวกเจ้าปราศจากความยังรู้ที่แท้จริง จึงทำให้พวกเจ้าทำในสิ่งที่พวกเจ้าเห็นอย่างผิวเผิน
และคำดำรัสของพระองค์ (لَتَرَوُنَّ ٱلۡجَحِيمَ ٦ ثُمَّ لَتَرَوُنَّهَا عَيۡنَ ٱلۡيَقِينِ) ความว่า “แล้วแน่นอน พวกเจ้าจะเห็นไฟที่ลุกโชน แล้วแน่นอนพวกเจ้าจะได้เห็นมันด้วยสายตาที่แน่ชัด”
นี่คือประโยคสาบานของอัลลอฮฺ ว่าแท้จริงบ่าวของพระองค์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้ศรัทธาหรือผู้ปฏิเสธศรัทธาจะต้องได้เห็นไฟนรกด้วยสายตาของพวกเขาเอง พระองค์ได้ยืนยันว่าเรื่องนี้จะต้องเกิดขึ้นแน่นอนซึ่งมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อนั้นพวกเขาได้แลเห็นไฟนรกด้วยสายตาจึงมั่นใจเต็มที่โดยไม่คลางแคลงใจอีกเลย แต่สำหรับผู้ศรัทธาอัลลอฮฺจะให้พวกเขารอดพ้นจากไฟนรกอันร้อนแรง และการที่พระองค์ให้ผู้ศรัทธาได้มองเห็นไฟนรกก็เพื่อจะให้พวกเขาสำนึกในพระกรุณาธิคุณอันล้นพ้นที่พระองค์ให้พวกเขารอดพ้นจากไฟนรกที่ลุกโชนได้
ดังที่พระองค์ได้ตรัสว่า
﴿وَإِن مِّنكُمۡ إِلَّا وَارِدُهَاۚ كَانَ عَلَىٰ رَبِّكَ حَتۡمٗا مَّقۡضِيّٗا ٧١ ثُمَّ نُنَجِّي ٱلَّذِينَ ٱتَّقَواْ وَّنَذَرُ ٱلظَّٰلِمِينَ فِيهَا جِثِيّٗا ٧٢﴾ [مريم 71-72]
ความว่า "และไม่มีผู้ใดในหมู่พวกเจ้า นอกจากจะเป็นผู้ผ่านเข้าไปในมัน มันเป็นสิ่งที่กำหนดไว้แน่นอนแล้วสำหรับพระเจ้าของเจ้า แล้วเราจะให้บรรดาผู้ยำเกรงรอดพ้น แล้วเราจะปล่อยให้บรรดาผู้อธรรมคุกเข่าอยู่ในนั้น" (มัรยัม : 71-72)
และคำดำรัสของพระองค์ (ثُمَّ لَتُسَٔلُنَّ يَوۡمَئِذٍ عَنِ ٱلنَّعِيمِ) ความว่า “แล้วในวันนั้นพวกเจ้าจะถูกสอบถามเกี่ยวกับความโปรดปรานที่ได้รับ (ในโลกดุนยา)"
หมายถึง อัลลอฮฺจะทรงสอบถามพวกเจ้าในวันกิยามะฮฺถึงนิอฺมะฮฺ (ความโปรดปรานที่อัลลอฮฺประทานให้) ทุกอย่าง อาทิเช่น ความปลอดภัย สุขภาพที่ดี การฟัง การมองเห็น ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ ตลอดจนถึงอาหารและเครื่องดื่มที่มวลมนุษย์บริโภค ว่าพวกเจ้าได้ขอบคุณโดยการมอบสิทธิต่างๆ ที่พึงมีต่ออัลลอฮฺ โดยไม่ประพฤติในสิ่งที่ฝ่าฝืนหรือเนรคุณต่อพระองค์หรือไม่ หรือว่าพวกเจ้าได้หลงระเริงในความสุขสบายที่ได้รับแล้วไม่สำนึกในพระกรุณาธิคุณของพระองค์ เมื่อเป็นเช่นนั้นพระองค์จะทรงลงโทษพวกเจ้าในสิ่งพวกเจ้าได้กระทำไว้
รายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า
خَرَجَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ذَاتَ يَوْمٍ أَوْ لَيْلَةٍ فَإِذَا هُوَ بِأَبِي بَكْرٍ وَعُمَرَ ، قَالَ : «مَا أَخْرَجَكُمَا مِنْ بُيُوتِكُمَا هَذِهِ السَّاعَةَ ؟» قَالا : الْجُوعُ يَا رَسُولَ اللَّهِ ، قَالَ : «أَمَّا أَنَا ، وَالَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ، لأَخْرَجَنِي الَّذِي أَخْرَجَكُمَا ، قُومُوا» . فَقَامُوا مَعَهُ ، فَأَتَى رَجُلا مِنَ الأَنْصَارِ ، فَإِذَا هُوَ لَيْسَ فِي بَيْتِهِ فَلَمَّا رَأَتْهُ الْمَرْأَةُ قَالَتْ : مَرْحَبًا وَأَهْلا ، فَقَالَ لَهَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ تَعَالَى عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «أَيْنَ فُلانٌ ؟» قَالَتْ : ذَهَبَ يَسْتَعْذِبُ لَنَا مِنَ الْمَاءِ ، إِذْ جَاءَ الأَنْصَارِيُّ , فَنَظَرَ إِلَى رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ تَعَالَى عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَصَاحِبَيْهِ ثُمَّ قَالَ : الْحَمْدُ لِلَّهِ، مَا أَجِدُ الْيَوْمَ أَكْرَمَ أَضْيَافًا مِنِّي ، فَانْطَلَقَ فَجَاءَهُمْ بِعِذْقٍ فِيهِ بُسْرٌ وَتَمْرٌ وَرُطَبٌ ، فَقَالَ : كُلُوا مِنْ هَذِهِ , وَأَخَذَ الْمُدْيَةَ , فَقَالَ لَهُ رَسُولُ اللَّهِ , صَلَّى اللَّهُ تَعَالَى عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «إِيَّاكَ وَالْحَلُوبَ» . فَذَبَحَ لَهُمْ فَأَكَلُوا مِنَ الشَّاةِ وَمِنْ ذَلِكَ الْعِذْقِ ، فَلَمَّا أَنْ شَبِعُوا وَرَوُوا ، قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ تَعَالَى عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لأَبِي بَكْرٍ وَعُمَرَ : «وَالَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ ، لَتُسْأَلُنَّ عَنْ هَذَا النَّعِيمِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ ، أَخْرَجَكُمْ مِنْ بُيُوتِكُمُ الْجُوعُ ثُمَّ لَمْ تَرْجِعُوا حَتَّى أَصَابَكُمْ هَذَا النَّعِيمُ» [أخرجه مسلم 3/1609 برقم : 2038]
ความว่า มีอยู่ในวันหนึ่งหรือในคืนหนึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุฮะลัยฮิวะสัลลัม ได้เดินออกจากบ้านของท่าน แล้วท่านได้พบกับอบู บักรฺ และอุมัรฺ ท่านนบี ได้ถามสหายของท่านทั้งสองว่า “เป็นเพราะเหตุใดที่ทำให้เจ้าต้องเดินออกนอกบ้านในเวลาเช่นนี้” ทั้งสองตอบว่า เพราะความหิว โอ้ท่านเราะสูล ท่านบีกล่าวว่า “และฉันขอสาบานด้วยผู้ซึ่งชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ แท้จริงเหตุที่ทำให้ฉันออกนอกบ้าน ก็เหมือนกับที่ท่านทั้งสองออกนอกบ้านเช่นกัน (คือความหิว) ดังนั้นพวกท่านทั้งสองจงลุกขึ้น” แล้วเขาทั้งสองได้ลุกขึ้นเดินพร้อมกับท่านนบีไปยังบ้านของชายชาวอันศอรฺคนหนึ่ง แต่ปรากฎว่าชายชาวอันศอรฺผู้นั้นไม่อยู่ที่บ้าน เมื่อภรรยาเจ้าของบ้านเห็นท่านนบี และสหายของท่านมาเยือน นางจึงกล่าวว่า ยินดีต้อนรับ ท่านนบีเลยถามว่า สามีของเธอไปไหน นางตอบว่า เขาไปตักน้ำ แล้วชายชาวอันศอรฺกลับมาถึงบ้าน เมื่อเขาเห็นท่านเราะสูลและสหายของท่าน เขากล่าวว่า มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ไม่มีวันใดที่เรามีแขกที่มีเกียรติมาเยือนเราจะเทียบเท่าได้เช่นวันนี้อีกแล้ว เขาจึงเดินไปเก็บอินทผลัมชนิดต่างๆ ให้ท่านนบีและสหายทั้งสองรับประทาน เขากล่าว พวกท่านจงรับประทานเถิด แล้วชายคนนั้นได้หยิบมีดเพื่อไปเชือดแพะ ท่านนบีกล่าวว่า “ท่านอย่าได้เชือดแพะตัวที่มีน้ำนมเยอะ” แล้วเขาได้เชือดแพะหนึ่งตัวให้ท่านบีและสหายของท่านได้รับประทาน เมื่อพวกเขาได้รับประทานจนอิ่มแล้ว ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวแก่ อบูบักรฺและอุมัรฺ ว่า “ฉันขอสาบานด้วยผู้ซึ่งชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ ในวันกิยามะฮฺพวกเจ้าจะถูกสอบถามเกี่ยวกับความโปรดปรานที่ได้รับ (ในโลกดุนยา) เนื่องจากพวกเจ้าออกจากบ้านด้วยความหิวและพวกเจ้ามิได้กลับไปยังบ้านของพวกเจ้าจนกว่าพวกเจ้าได้รับความโปรดปรานเหล่านี้” (มุสลิม หมายเลข 2038)
อิหม่าม อัน-นะวะวีย์ ได้อธิบายหะดีษบทนี้ว่า “การสอบสวนของอัลลอฮฺ ณ ที่นี้คือการถามเพื่อให้เกิดความสำนึกต่อพระกรุณาธิคุณที่พระองค์ประทานแก่ปวงบ่าว มิใช่เป็นคำถามเพื่อตำหนิ ประณาม หรือเพื่อชำระบัญชีแต่อย่างใด” (ดู ชัรหฺ อัน-นะวะวีย์ เล่มที่ 5 หน้า 214 )
ส่วนคำถามสำหรับผู้ปฏิเสธศรัทธาแล้วถือว่าเป็นคำถามเชิงตำหนิ ขู่สำทับ และเพื่อชำระบัญชีความบาป
รายงานจาก อบีบัรซะฮฺ อัล-อัสละมีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«لا تزولُ قَدَمَا عبدٍ يومَ القيامةِ حتَّى يُسألَ عن أربعٍ : عَن عُمُرِه فيما أفناهُ، وعَنْ جَسَدِهِ فيما أبلاهُ، وَعَنْ عِلمِهِ ماذا عَمِلَ فيهِ، وَعَنْ مالِهِ مِنْ أَيْنَ اكْتَسَبَهُ وفيما أنفقَهُ» [أخرجه الترمذي 4/612 برقم 2416 وقال: حديث حسن صحيح]
ความว่า "ในวันกิยามะฮฺบ่าวคนหนึ่งคนใดจะไม่ก้าวเท้าของเขาจนกว่าจะถูกสอบถามถึงสี่ประการ คือ จะถูกสอบถามถึงอายุขัยของเขาว่าใช้เวลาช่วงที่มีชีวิตหมดไปกับสิ่งใด จะถูกสอบถามถึงร่างกายของเขาว่าสูญเสียไปกับสิ่งใด จะถูกสอบถามถึงความรู้ที่เขาได้รับว่าเขาไปปฏิบัติเช่นใด และจะถูกสอบถามถึงทรัพย์สินว่าได้มาจากแหล่งใดและใช้จ่ายไปในหนทางใด" (บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ เล่มที่ 4 หน้าที่ 612 หมายเลขหะดีษ 2416 ท่านกล่าวว่า เป็นหะดีษ หะสัน เศาะฮีหฺ)
รายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในหะดีษที่เกี่ยวกับการมองเห็นอัลลอฮฺ ว่า
«إن الله تعالى يقول للعبد يوم القيامة ، أَلَمْ أُكْرِمْكَ وَأُسَوِّدْكَ ، وَأُزَوِّجْكَ ، وَأُسَخِّرْ لَكَ الْخَيْلَ وَالإِبِلَ ، وَأَذَرْكَ تَرْأَسُ وَتَرْبَعُ ؟ قَالَ : فَيَقُولُ : بَلَى ، أَيْ رَبِّ ، قَالَ : فَيَقُولُ : أَظَنَنْتَ أَنَّكَ مُلاقِيَّ ؟ فَيَقُولُ : لا ، فَيَقُولُ : إِنِّي الْيَوْمَ أَنْسَاكَ كَمَا نَسِيتَنِي» [مسلم 4/2279، برقم 2968]
ความว่า “ในวันกิยามะฮฺอัลลอฮฺจะตรัสแก่บ่าวของพระองค์ว่า โอ้บ่าว! ฉันเคยให้เจ้ามีเกียรติ มีอำนาจ และมีคู่สมรส มิใช่ดอกหรือ และฉันได้ให้บรรดาสรรพสัตว์อย่างม้าและอูฐต่างยอมสยบแก่เจ้ามิใช่หรือ และเจ้าสามารถบังคับพวกมันตามใจปรารถนามิใช่ดอกหรือ บ่าวผู้นั้นตอบว่า ถูกต้องแล้ว ข้าแต่พระองค์ แล้วพระองค์ถามบ่าวผู้นั้นอีกว่า แล้วเจ้าศรัทธาว่าสักวันเจ้าจะต้องมาพบกับข้าหรือไม่ บ่าวผู้นั้นตอบว่า ฉันไม่ได้ศรัทธา แล้วพระองค์ตรัสว่า ดังนั้น ในวันนี้ฉันจะลืมเจ้าดังที่เจ้าได้เคยลืมฉัน (ตอนที่มีชีวิตบนโลก)” (บันทึกโดยมุสลิม เล่มที่ 4 หน้าที่ 2279 หมายเลขหะดีษ 2968)
รายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
«ثُمَّ إِنَّ أَوَّلَ مَا يُحَاسَبُ عَلَيْهِ الْعَبْدُ يَوْمَ الْقِيَامَةِ أَن يَقُولُ لَهُ : أَلَمْ أُصِحَّ لَكَ جِسْمَكَ وَأَرْوِكَ مِنَ الْمَاءِ الْبَارِدِ» [الحاكم في المستدرك 4/154 برقم 7203، وصححه الألباني في السلسلة الصحيحة 2/76 برقم 539]
ความว่า “และสิ่งแรกที่บ่าวจะถูกชำระบัญชีในวันกิยามะฮฺ คือ เขาจะถูกถามว่า ฉันมิได้ให้เจ้ามีร่างกายแข็งแรงสุขภาพดีและให้เจ้าได้ดื่มน้ำเย็น ดอกหรือ?” (บันทึกโดยอัล-หากิม ในตำราอัล-มุสตัดร็อก 4/154 หมายเลขหะดีษ 7203 อัล-อัลบานีย์ได้ระบุว่าเป็นหะดีษ เศาะหี้หฺ ในหนังสือสิลสิละฮฺ อัศ-เศาะหี้หะฮฺ 2/76 หมายเลขหะดีษ 539)
อิบนุ อัล-ก็อยยิม กล่าวว่า “ช่างเป็นสูเราะฮฺของอัลลอฮฺที่ยิ่งใหญ่นัก ซึ่งบรรจุด้วยบทเรียน ข้อคิด ข้อตักเตือน เป็นสิ่งเตือนใจให้เรานึกถึงวันอาคิเราะฮฺ และมีความสมถะในการใช้ชีวิตบนโลกนี้ สูเราะฮฺนี้มีประโยคที่รวบรัดแต่ถ้อยคำถูกเรียบเรียงอย่างวิจิตรงดงาม ดังนั้นความประเสริฐจะประสบแก่ผู้กล่าวสูเราะฮฺนี้ด้วยสัจจริง และศาสนทูตของพระองค์ได้เผยแพร่สูเราะฮฺนี้แล้ว” (ตัฟสีรฺ อัล-ก็อยยิม หน้าที่ 523)
والحمد لله رب العالمين،
وصلى وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.