الوصف
مقالة مترجمة إلى اللغة التايلندية مقتبسة من كتاب: «الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة» للشيخ أمين بن عبد الله الشقاوي - حفظه الله – عرض فيها المؤلف شرحا موجزا لتفسير الآيات 196-198 من سورة آل عمران، وما فيه من الدروس العظيمة في حقيقة استمتاع الكفار في هذه الدنيا بأنواع النعم، وأنها نوع من الابتلاء والاستدراج، ولا ينبغي للمؤمنين الاغترار بما يرونه من تلك المظاهر الواهية، لأن الآخرة ستكون لهم حتما وليست للكافرين.
อย่าหลงกลความมั่งคั่งของกาฟิรฺ (จากสูเราะฮฺ อาล อิมรอน 196)
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย : อัสรัน นิยมเดชา
ตรวจทานโดย : ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ
2014 - 1435
دروس وعبر من قوله تعالى
﴿ لَا يَغُرَّنَّكَ تَقَلُّبُ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ فِي ٱلۡبِلَٰدِ ١٩٦ ﴾
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبدالله الشقاوي
ترجمة: عصران نيومديشا
مراجعة: صافي عثمان
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة
2014 - 1435
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
อย่าหลงกลความมั่งคั่งของกาฟิรฺ
(จากสูเราะฮฺ อาล อิมรอน 196)
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความสุขความจำเริญและความสันติจงประสบแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใด ๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวของอัลลอฮฺและเป็นศาสนทูตของพระองค์
อัลลอฮฺได้ทรงประทานคัมภีร์อัลกุรอานลงมาเพื่อให้เราได้ใคร่ครวญศึกษาและยึดถือเป็นธรรมนูญชีวิต พระองค์ตรัสว่า
﴿ كِتَٰبٌ أَنزَلۡنَٰهُ إِلَيۡكَ مُبَٰرَكٞ لِّيَدَّبَّرُوٓاْ ءَايَٰتِهِۦ وَلِيَتَذَكَّرَ أُوْلُواْ ٱلۡأَلۡبَٰبِ ٢٩ ﴾ [ص : ٢٩]
ความว่า "คัมภีร์ (อัลกุรอาน) เราได้ประทานลงมาให้แก่เจ้าซึ่งมีความจำเริญ เพื่อพวกเขาจะได้พินิจพิจารณาอายาตต่าง ๆ ของอัลกุรอาน และเพื่อปวงผู้มีสติปัญญาจะได้ใคร่ครวญ" (ศอด: 29)
และเพื่อเป็นการปฏิบัติตามแนวทางที่อายะฮฺนี้ได้วางไว้ ขอให้เราได้ลองสดับรับฟังอายะฮฺหนึ่งจากอัลกุรอาน แล้วลองใคร่ครวญถึงข้อคิดและบทเรียนที่ได้รับ พระองค์ตรัสว่า
﴿ لَا يَغُرَّنَّكَ تَقَلُّبُ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ فِي ٱلۡبِلَٰدِ ١٩٦ مَتَٰعٞ قَلِيلٞ ثُمَّ مَأۡوَىٰهُمۡ جَهَنَّمُۖ وَبِئۡسَ ٱلۡمِهَادُ ١٩٧ لَٰكِنِ ٱلَّذِينَ ٱتَّقَوۡاْ رَبَّهُمۡ لَهُمۡ جَنَّٰتٞ تَجۡرِي مِن تَحۡتِهَا ٱلۡأَنۡهَٰرُ خَٰلِدِينَ فِيهَا نُزُلٗا مِّنۡ عِندِ ٱللَّهِۗ وَمَا عِندَ ٱللَّهِ خَيۡرٞ لِّلۡأَبۡرَارِ ١٩٨ ﴾ [آل عمران: ١٩٦-١٩٨]
ความว่า "อย่าให้การเคลื่อนไหวของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาในเมือง ลวงเจ้าได้เป็นอันขาด มันเป็นสิ่งอำนวยประโยชน์เล็กน้อยเท่านั้น แล้วที่อยู่ของพวกเขานั้นคือญะฮันนัม และช่างเป็นที่พักนอนที่เลวร้ายจริง ๆ แต่บรรดาผู้ที่ยำเกรงพระเจ้าของพวกเขานั้น สำหรับพวกเขาคือบรรดาสวนสวรรค์ซึ่งมีแม่น้ำหลายสายไหลอยู่เบื้องล่างของสวนสวรรค์เหล่านั้น โดยที่พวกเขาจะพำนักอยู่ในสวนสวรรค์เหล่านั้นตลอดกาล ทั้งนี้เป็นสถานที่รับรองที่มาจากอัลลอฮฺ และสิ่งที่มีอยู่ ณ อัลลอฮฺนั้น คือสิ่งที่ดียิ่งสำหรับผู้ที่เป็นคนดีทั้งหลาย" (อาล อิมรอน: 196-198)
ชัยคฺ อับดุรฺเราะหฺมาน บิน สะอฺดีย์ กล่าวว่า “อายะฮฺนี้เป็นการปลอบประโลม ไม่ให้รู้สึกท้อใจเมื่อได้เห็นบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาใช้ชีวิตในโลกดุนยาอย่างสุขสำราญ มีธุรกิจการค้าที่ใหญ่โตสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ในบางยุคบางสมัยพวกเขายังครอบครองอำนาจและความยิ่งใหญ่ทั่วปฐพีอีกด้วย ทุกสิ่งที่กล่าวมานี้เป็นเพียงความสำราญชั่วคราวที่ไม่จีรังยั่งยืน โดยพวกเขาจะได้ลิ้มรสความสุขสบายเหล่านั้นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนที่จะถูกลงโทษอย่างสาหัสสากรรจ์
ที่กล่าวมาข้างต้นนี้คือสภาพของกาฟิรฺผู้ปฏิเสธศรัทธาที่มีความเป็นอยู่อย่างเลิศหรูในโลกดุนยา แต่จุดจบสุดท้ายก็เป็นอย่างที่ทราบ ส่วนผู้ศรัทธาที่มีความยำเกรงนั้น นอกจากพวกเขาจะมีชีวิตอยู่อย่างมีเกียรติและสุขสบายในโลกดุนยาแล้ว พวกเขายังจะได้รับสวนสวรรค์ซึ่งมีแม่น้ำลำธารไหลผ่านเบื้องล่างเป็นรางวัลตอบแทนอีกด้วย และถ้าหากว่าเขาได้ประสบกับความเดือดร้อนลำบากในโลกดุนยาบ้าง สิ่งนั้นก็ถือเป็นเรื่องเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับความสุขอันสถาพรและชีวิตที่ยืนยงในสวนสวรรค์ ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงตรัสว่า
﴿ وَمَا عِندَ ٱللَّهِ خَيۡرٞ لِّلۡأَبۡرَارِ ﴾
ความว่า “และสิ่งที่มีอยู่ ณ อัลลอฮฺนั้น คือสิ่งที่ดียิ่งสำหรับผู้ที่เป็นคนดีทั้งหลาย”
หมายถึงผู้ที่คำพูดและการกระทำของเขาล้วนแสดงออกถึงความดีงาม อัลลอฮฺผู้ทรงเปี่ยมเมตตาจึงทรงตอบแทนความดีของเขาด้วยผลบุญที่ยิ่งใหญ่มหาศาล และทรงประทานความสุขสบายที่ยั่งยืนชั่วนิรันดร” (ตัฟสีรฺ อิบนฺ สะอฺดีย์ หน้า 144)
ส่วนหนึ่งของประโยชน์ที่ได้รับจากอายะฮฺนี้ คือ
หนึ่ง ผู้ศรัทธาไม่ควรจะหลงใหลได้ปลื้มไปกับสภาพความเป็นอยู่ของเหล่าผู้ปฏิเสธศรัทธาอันเต็มไปด้วยความสุขความสำราญ และความรื่นเริงใจ เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงความสุขชั่วครู่ที่รอวันสิ้นสุด แล้วจึงถึงเวลาที่พวกเขาจะได้รับโทษอันเจ็บปวดสาสมชั่วกาลนาน อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ أَفَمَن وَعَدۡنَٰهُ وَعۡدًا حَسَنٗا فَهُوَ لَٰقِيهِ كَمَن مَّتَّعۡنَٰهُ مَتَٰعَ ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَا ثُمَّ هُوَ يَوۡمَ ٱلۡقِيَٰمَةِ مِنَ ٱلۡمُحۡضَرِينَ ٦١ ﴾ [القصص: ٦١]
ความว่า "ดังนั้น ผู้ใดที่เราได้ให้สัญญาแก่เขาซึ่งเป็นสัญญาอันดีงาม แล้วเขาก็จะเป็นผู้ได้พบมัน จะเหมือนกับผู้ที่เราได้ให้ปัจจัยแก่เขาซึ่งแห่งชีวิตของโลกนี้ แล้วในวันกิยามะฮฺเขาจะเป็นผู้หนึ่งในหมู่ผู้ถูกนำมาอยู่ต่อหน้า(เพื่อรับการลงโทษ)กระนั้นหรือ" (อัล-เกาะศ็อศ: 61)
และพระองค์ตรัสว่า
﴿ قُلۡ إِنَّ ٱلَّذِينَ يَفۡتَرُونَ عَلَى ٱللَّهِ ٱلۡكَذِبَ لَا يُفۡلِحُونَ ٦٩ مَتَٰعٞ فِي ٱلدُّنۡيَا ثُمَّ إِلَيۡنَا مَرۡجِعُهُمۡ ثُمَّ نُذِيقُهُمُ ٱلۡعَذَابَ ٱلشَّدِيدَ بِمَا كَانُواْ يَكۡفُرُونَ ٧٠ ﴾ [يونس : ٦٩-٧٠]
ความว่า "จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) แท้จริงบรรดาผู้กล่าวเท็จต่ออัลลอฮฺนั้น พวกเขาจะไม่ประสบความสำเร็จดอก เป็นเพียงความเพลิดเพลินในโลกนี้ แล้วพวกเขาก็กลับคืนมาสู่เรา แล้วเราจะให้พวกเขาลิ้มรสการลงโทษอย่างหนัก เพราะเหตุที่พวกเขาปฏิเสธศรัทธา" (ยูนุส: 69-70)
ท่านอนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« يُؤْتَى بِأَنْعَمِ أَهْلِ الدُّنْيَا مِنْ أَهْلِ النَّارِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ، فَيُصْبَغُ فِي النَّارِ صَبْغَةً، ثُمَّ يُقَالُ: يَا ابْنَ آدَمَ هَلْ رَأَيْتَ خَيْرًا قَطُّ؟ هَلْ مَرَّ بِكَ نَعِيمٌ قَطُّ؟ فَيَقُولُ: لَا، وَاللهِ يَا رَبِّ. وَيُؤْتَى بِأَشَدِّ النَّاسِ بُؤْسًا فِي الدُّنْيَا، مِنْ أَهْلِ الْجَنَّةِ، فَيُصْبَغُ صَبْغَةً فِي الْجَنَّةِ، فَيُقَالُ لَهُ: يَا ابْنَ آدَمَ هَلْ رَأَيْتَ بُؤْسًا قَطُّ؟ هَلْ مَرَّ بِكَ شِدَّةٌ قَطُّ؟ فَيَقُولُ: لَا، وَاللهِ يَا رَبِّ مَا مَرَّ بِي بُؤْسٌ قَطُّ، وَلَا رَأَيْتُ شِدَّةً قَطُّ » [رواه مسلم برقم 2807]
ความว่า "ในวันกิยามะฮฺ ชาวนรกที่เคยมีความเป็นอยู่สุขสบายมั่งคั่งที่สุดในโลกดุนยาจะถูกนำตัวมา จากนั้นก็จะถูกจุ่มลงไปในไฟนรกชั่วขณะหนึ่ง แล้วจึงมีเสียงกล่าวแก่เขาว่า มนุษย์เอ๋ย (ที่ผ่านมาในโลกดุนยาแต่ก่อน) เจ้าเคยประสบกับความดีงามบ้างไหม? เจ้าเคยได้รับความสุขสบายใด ๆ บ้างไหม? เขาก็จะตอบว่า ไม่เคยเลยสักนิด(เมื่อเอามาเทียบกับการโดนลงโทษในนรก) ข้าขอสาบานต่ออัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาล! จากนั้นชาวสวรรค์ซึ่งเคยมีความเป็นอยู่ที่ลำบากแร้นแค้นที่สุดในโลกดุนยาก็ถูกนำตัวมา และถูกโยนเข้าไปสวรรค์ชั่วขณะหนึ่ง แล้วจึงมีเสียงกล่าวแก่เขาว่า (ในดุนยา)เจ้าเคยได้ลิ้มรสความลำบากยากเข็ญมาบ้างไหม? เขาก็จะตอบว่า ไม่เลย ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ โอ้พระผู้ทรงอภิบาล ข้าพระองค์ไม่เคยได้รับความลำบากใด ๆ มาก่อนเลย ข้าพระองค์ไม่เคยรู้สึกถึงความเดือดร้อนใด ๆ เลยแม้แต่น้อย(เมื่อเทียบกับผลที่ได้รับเป็นความสุขในสวรรค์)" (บันทึกโดย มุสลิม หะดีษเลขที่ 2807)
สอง การที่อัลลอฮฺทรงประทานความสุขสบายและสิ่งอำนวยประโยชน์ต่าง ๆ แก่ผู้หนึ่งผู้ใดอย่างมากมายนั้น มิได้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความรักที่พระองค์ทรงมีต่อเขาแต่อย่างใด พระองค์ตรัสว่า
﴿ أَيَحۡسَبُونَ أَنَّمَا نُمِدُّهُم بِهِۦ مِن مَّالٖ وَبَنِينَ ٥٥ نُسَارِعُ لَهُمۡ فِي ٱلۡخَيۡرَٰتِۚ بَل لَّا يَشۡعُرُونَ ٥٦ ﴾ [المؤمنون : ٥٥-٥٦]
ความว่า "พวกเขาคิดหรือว่า สิ่งที่เราได้ให้แก่พวกเขา เช่น ทรัพย์สมบัติ และลูกหลานนั้น เราได้รีบเร่งให้ความดีต่าง ๆ แก่พวกเขากระนั้นหรือ เปล่าเลย แต่ทว่าพวกเขาไม่มีความรู้สึกหรอก" (อัล-มุอ์มินูน: 55-56)
มีรายงานหะดีษบันทึกในมุสนัดอะหฺมัด (หะดีษเลขที่ 17311) จากท่านอุกบะฮฺ บิน อามิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« إِذَا رَأَيْتَ اللَّهَ يُعْطِي الْعَبْدَ مِنَ الدُّنْيَا عَلَى مَعَاصِيهِ مَا يُحِبُّ، فَإِنَّمَا هُوَ اسْتِدْرَاجٌ » [مسند أحمد رقم 17311]
ความว่า "ถ้าท่านเห็นว่าอัลลอฮฺทรงประทานความสุขสบายในโลกดุนยาให้แก่คนใดคนหนึ่งอย่างมากมาย ทั้งที่เขาผู้นั้นจมปลักอยู่กับบาปความผิดและการฝ่าฝืน ก็พึงทราบเถิดว่าสิ่งนั้นเป็นเพียงการประวิงเวลาให้เขาชะล่าใจ"
แล้วท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็อ่านอายะฮฺต่อไปนี้
﴿ فَلَمَّا نَسُواْ مَا ذُكِّرُواْ بِهِۦ فَتَحۡنَا عَلَيۡهِمۡ أَبۡوَٰبَ كُلِّ شَيۡءٍ حَتَّىٰٓ إِذَا فَرِحُواْ بِمَآ أُوتُوٓاْ أَخَذۡنَٰهُم بَغۡتَةٗ فَإِذَا هُم مُّبۡلِسُونَ ٤٤ ﴾ [الأنعام: ٤٤]
ความว่า "ครั้นเมื่อพวกเขาลืมสิ่งที่พวกเขาถูกเตือนให้รำลึก เราก็ปิดให้แก่พวกเขาซึ่งบรรดาประตูของทุกสิ่ง จนกระทั่งเมื่อพวกเขาระเริงต่อสิ่งที่พวกเขาได้รับ เราก็ลงโทษพวกเขาโดยกะทันหัน แล้วทันใดนั้นพวกเขาก็หมดหวัง" (อัล-อันอาม: 44)
สาม การที่อัลลอฮฺทรงประวิงเวลาให้บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาได้เสวยสุขอย่างเพลิดเพลินใจและได้รับสิ่งอำนวยประโยชน์อันมากมายนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นการเพิ่มบาปและโทษทัณฑ์ที่พวกเขาจะได้รับในอาคิเราะฮฺ อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَلَا يَحۡسَبَنَّ ٱلَّذِينَ كَفَرُوٓاْ أَنَّمَا نُمۡلِي لَهُمۡ خَيۡرٞ لِّأَنفُسِهِمۡۚ إِنَّمَا نُمۡلِي لَهُمۡ لِيَزۡدَادُوٓاْ إِثۡمٗاۖ وَلَهُمۡ عَذَابٞ مُّهِينٞ ١٧٨ ﴾ [آل عمران: ١٧٨]
ความว่า "และบรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธานั้น จงอย่าได้คิดเป็นอันขาดว่า ที่เราประวิงให้แก่พวกเขานั้นเป็นการดีแก่ตัวของพวกเขา แท้ที่จริงที่เราประวิงให้แก่พวกเขานั้น เพื่อพวกเขาจะได้เพิ่มพูนซึ่งบาปกรรมเท่านั้น และสำหรับพวกเขานั้นคือการลงโทษอันต่ำช้า" (อาล อิมรอน: 178)
และพระองค์ตรัสว่า
﴿ فَلَا تُعْجِبْكَ أَمْوَلُهُمْ وَلَا أَوْلَدُهُمْۚ إِنَّمَا يُرِيدُ اللَّهُ لِيُعَذِّبَهُمْ بِهَا فِي الْحَيَوةِ الدُّنْيَا وَتَزْهَقَ أَنْفُسُهُمْ وَهُمْ كَفِرُونَ ١٧٨ ﴾ [التوبة: 55]
ความว่า "ดังนั้นจงอย่าให้ทรัพย์สมบัติของพวกเขาและอย่าให้ลูก ๆ ของพวกเขาเป็นที่พึงใจแก่เจ้า แท้จริงอัลลอฮฺทรงต้องการที่จะลงโทษพวกเขาด้วยสิ่งเหล่านั้นในชีวิตแห่งโลกนี้ และให้ชีวิตของพวกเขาออกจากร่างไป ขณะที่พวกเขาเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาเท่านั้น" (อัต-เตาบะฮฺ: 55)
สี่ การที่อัลลอฮฺทรงประทานความสุขสบายแก่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาในโลกดุนยานี้ ก็เพราะว่าความสุขสบายเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ไร้ซึ่งความสำคัญ ทั้งยังเป็นบททดสอบสำหรับพวกเขา ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ وَيَوۡمَ يُعۡرَضُ ٱلَّذِينَ كَفَرُواْ عَلَى ٱلنَّارِ أَذۡهَبۡتُمۡ طَيِّبَٰتِكُمۡ فِي حَيَاتِكُمُ ٱلدُّنۡيَا وَٱسۡتَمۡتَعۡتُم بِهَا فَٱلۡيَوۡمَ تُجۡزَوۡنَ عَذَابَ ٱلۡهُونِ بِمَا كُنتُمۡ تَسۡتَكۡبِرُونَ فِي ٱلۡأَرۡضِ بِغَيۡرِ ٱلۡحَقِّ وَبِمَا كُنتُمۡ تَفۡسُقُونَ ٢٠ ﴾ [الأحقاف: ٢٠]
ความว่า "และวันที่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาจะถูกนำมาอยู่ต่อหน้าไฟนรก (จะมีเสียงกล่าวแก่พวกเขาว่า) พวกเจ้าได้เอาสิ่งดีงามทั้งหลายของพวกเจ้า ในการดำรงชีวิตของพวกเจ้าในโลกดุนยาไปแล้ว และพวกเจ้าได้มีความสำราญกับมันแล้ว ฉะนั้นวันนี้พวกเจ้าจะได้รับการตอบแทนด้วยการลงโทษอันอัปยศ เนื่องด้วยพวกเจ้าหยิ่งยโสในแผ่นดินโดยไม่เป็นธรรม และเนื่องด้วยพวกเจ้าฝ่าฝืน" (อัล-อะหฺกอฟ: 20)
ท่านอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« إِنَّ اللهَ لَا يَظْلِمُ مُؤْمِنًا حَسَنَةً، يُعْطَى بِهَا فِي الدُّنْيَا وَيُجْزَى بِهَا فِي الْآخِرَةِ، وَأَمَّا الْكَافِرُ فَيُطْعَمُ بِحَسَنَاتِ مَا عَمِلَ بِهَا لِلَّهِ فِي الدُّنْيَا، حَتَّى إِذَا أَفْضَى إِلَى الْآخِرَةِ، لَمْ تَكُنْ لَهُ حَسَنَةٌ يُجْزَى بِهَا » [رواه مسلم برقم 2808]
ความว่า “อัลลอฮฺจะไม่ทรงอธรรมต่อผู้ศรัทธากับความดีใด ๆ ที่เขาได้กระทำไป โดยเขาจะได้รับผลของความดีนั้นในโลกดุนยา และยังจะได้รับผลบุญในอาคิเราะฮฺอีกด้วย ส่วนผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น คุณงามความดีใด ๆ ที่เขากระทำไปในโลกดุยา เขาก็จะได้รับสิ่งที่ดีงามตอบแทนในโลกดุนยานั้นทันที กระทั่งเมื่อเขาไปยังโลกอาคิเราะฮฺแล้ว จะไม่เหลือผลบุญความดีใด ๆ ให้เขาอีกต่อไป” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 2808)
และมีรายงานบันทึกไว้ว่า เมื่อท่านอุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ขึ้นไปหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ณ สถานที่ซึ่งท่านได้ปลีกตัวออกห่างจากบรรดาภริยาของท่านระยะหนึ่ง แล้วเห็นท่านนอนเอนตัวอยู่บนเสื่อสานจนสีข้างเป็นรอย ท่านอุมัรฺก็ร้องไห้น้ำตาซึมพร้อมกล่าวว่า “โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ในขณะที่
กิสรอ/คุสโร (กษัตริย์เปอร์เซีย) และก็อยศ็อรฺ (กษัตริย์โรม) ต่างเสวยสุขอย่างเต็มที่ แต่ท่านซึ่งเป็นผู้ที่อัลลอฮฺทรงคัดเลือกจากบรรดาบ่าวของพระองค์กลับมีสภาพความเป็นอยู่เช่นนี้หรือ?” เมื่อได้ยินเช่นนั้น ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งกำลังนอนเอนตัวอยู่ก็ลุกขึ้นนั่งและกล่าวว่า
« أَفِي شَكٍّ أَنْتَ يَا ابْنَ الْخَطَّابِ، أُولَئِكَ قَوْمٌ عُجِّلَتْ لَهُمْ طَيِّبَاتُهُمْ فِي الْحَيَاةِ الدُّنْيَا »
ความว่า “ท่านกำลังเคลือบแคลงสงสัยอยู่อย่างนั้นหรือ บุตรอัล-ค็อฏฏอบเอ๋ย พวกเขาเหล่านั้นเป็นกลุ่มชนที่ความสุขสบายต่าง ๆ ถูกประเคนให้พวกเขาเฉพาะขณะมีชีวิตอยู่ในโลกดุนยานี้เท่านั้น”
ในรายงานอีกกระแสหนึ่งท่านกล่าวว่า
« أَمَا تَرْضَى أَنْ تَكُونَ لَهُمُ الدُّنْيَا وَلَنَا الآخِرَةُ » [رواه البخاري برقم 4913 ومسلم برقم 1479]
ความว่า “ท่านไม่พอใจอย่างนั้นหรือ กับการที่พวกเขาได้ดุนยาไป ในขณะที่เราได้อาคิเราะฮฺ” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 4913 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1479)
ห้า ส่งเสริมให้มุ่งสู่อาคิเราะฮฺและให้มักน้อยในโลกดุนยา อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ وَلَا تَمُدَّنَّ عَيۡنَيۡكَ إِلَىٰ مَا مَتَّعۡنَا بِهِۦٓ أَزۡوَٰجٗا مِّنۡهُمۡ زَهۡرَةَ ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَا لِنَفۡتِنَهُمۡ فِيهِۚ وَرِزۡقُ رَبِّكَ خَيۡرٞ وَأَبۡقَىٰ ١٣١ ﴾ [طه: ١٣١]
ความว่า "และเจ้าจงอย่าทอดสายตาของเจ้าไปยังสิ่งที่เราได้ให้ความเพลิดเพลินแก่บุคคลประเภทต่าง ๆ ของพวกเขา(ที่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺ)ซึ่งความสุขสำราญในโลกดุนยา เพื่อเราจะได้ทดสอบพวกเขาในการนี้ และการตอบแทนของพระเจ้าของเจ้านั้นดียิ่งกว่าและจีรังยิ่งกว่า" (ฏอฮา: 131)
และพระองค์ตรัสว่า
﴿ وَزُخۡرُفٗاۚ وَإِن كُلُّ ذَٰلِكَ لَمَّا مَتَٰعُ ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَاۚ وَٱلۡأٓخِرَةُ عِندَ رَبِّكَ لِلۡمُتَّقِينَ ٣٥ ﴾ [الزخرف: ٣٥]
ความว่า "และเราจะให้เครื่องประดับแก่พวกเขา(ที่ทำด้วยทองคำ) แต่ทั้งหมดนั้นเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวแห่งชีวิตในโลกนี้เท่านั้น ส่วนในปรโลก ณ ที่พระเจ้าของเจ้านั้นถูกเตรียมไว้สำหรับบรรดาผู้ยำเกรง" (อัซ-ซุครุฟ: 35)
หก เน้นย้ำถึงความต่ำต้อยด้อยค่าของโลกดุนยา ณ อัลลอฮฺ ดังที่มีรายงานหะดีษจากท่านสะฮลฺ บิน สะอัด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« لَوْ كَانَتِ الدُّنْيَا تَعْدِلُ عِنْدَ اللَّهِ جَنَاحَ بَعُوضَةٍ مَا سَقَى كَافِرًا مِنْهَا شَرْبَةَ مَاءٍ» [رواه الترمذي برقم 2320]
ความว่า “หากว่าดุนยามีค่า ณ อัลลอฮฺแม้เท่าปีกยุง แน่นอนว่าพระองค์จะไม่ทรงปล่อยให้ผู้ปฏิเสธศรัทธาได้รับสิ่งใดจากดุนยาเลย แม้แต่การดื่มน้ำเพียงอึกเดียว” (บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ หะดีษเลขที่ 2320)
ในหะดีษอีกบทหนึ่งระบุว่า ท่านญาบิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم مَرَّ بِالسُّوقِ دَاخِلاً مِنْ بَعْضِ الْعَالِيَةِ وَالنَّاسُ كَنَفَتَهُ، فَمَرَّ بِجَدْىٍ أَسَكَّ مَيِّتٍ، فَتَنَاوَلَهُ فَأَخَذَ بِأُذُنِهِ، ثُمَّ قَالَ «أَيُّكُمْ يُحِبُّ أَنَّ هَذَا لَهُ بِدِرْهَمٍ ». فَقَالُوا: مَا نُحِبُّ أَنَّهُ لَنَا بِشَىْءٍ وَمَا نَصْنَعُ بِهِ؟، قَالَ «أَتُحِبُّونَ أَنَّهُ لَكُمْ». قَالُوا: وَاللَّهِ لَوْ كَانَ حَيًّا كَانَ عَيْبًا فِيهِ لأَنَّهُ أَسَكُّ، فَكَيْفَ وَهُوَ مَيِّتٌ، فَقَالَ: «فَوَاللَّهِ لَلدُّنْيَا أَهْوَنُ عَلَى اللَّهِ مِنْ هَذَا عَلَيْكُمْ». [رواه مسلم برقم 2956]
ความว่า ครั้งหนึ่งขณะที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เดินผ่านตลาดโดยที่ผู้คนต่างห้อมล้อมท่าน ท่านเห็นซากลูกแพะซึ่งมีหูเล็ก ท่านจึงหยิบมันขึ้นมาแล้วกล่าวขึ้นมาว่า “ผู้ใดสนใจจะซื้อลูกแพะตัวนี้ด้วยราคาหนึ่งดิรฮัมบ้าง?” พวกเขาต่างกล่าวตอบว่า “เราไม่สนใจจะซื้อมันหรอกครับ ไม่ว่าราคามันจะถูกแค่ไหนก็ตาม เราจะซื้อมันมาเพื่อประโยชน์อันใดหรือครับ” ท่านจึงถามต่อว่า “แล้วพวกท่านสนใจไหมถ้ามันจะเป็นของพวกท่าน” พวกเขาตอบว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ หากว่ามันยังมีชีวิตอยู่ มันก็มีตำหนิเพราะหูมันเล็ก ถ้าเป็นซากศพเช่นนี้ก็ยิ่งไม่ต้องพูดถึง” ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า “ถ้าเป็นเช่นนั้น ฉันก็ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ว่าดุนยานี้ไร้ค่า ณ อัลลอฮฺ ยิ่งกว่าความไร้ค่าของซากสัตว์ตัวนี้ในสายตาของพวกท่านเสียอีก” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 2956)
และมีรายงานจากมุสเตาริด เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« وَاللهِ مَا الدُّنْيَا فِي الْآخِرَةِ إِلَّا مِثْلُ مَا يَجْعَلُ أَحَدُكُمْ إِصْبَعَهُ هَذِهِ - وَأَشَارَ يَحْيَى بِالسَّبَّابَةِ - فِي الْيَمِّ، فَلْيَنْظُرْ بِمَ تَرْجِعُ؟ » [رواه مسلم برقم 2858]
ความว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ โลกดุนยานั้นเมื่อเทียบกับอาคิเราะฮฺแล้ว เปรียบได้กับการที่คนหนึ่งในหมู่พวกท่านจุ่มนิ้วของเขานี้ (นิ้วชี้) ลงไปในน้ำทะเล ก็ลองคิดดูแล้วกันว่าเมื่อเขายกนิ้วขึ้นมาแล้วจะมีอะไรติดมาบ้าง?” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 2858)
อบุล อะตาฮิยะฮฺ กล่าวบรรยายสภาพของดุนยาว่า
إِذَا أَبْقَتِ الدُّنْيا عَلَى المَرْءِ دِينَهُ فَمَا فَاتَهُ مِنْهَا فَلَيْسَ بِضَائِرِ
إِذَا كُنْتَ بِالدُّنْيَا بَصِيرًا فَإِنَّمَا بَلاغُكَ مِنْهَا مِثْلُ زَادِ المُسافِرِ
وَإِنَّ امْرأً يَبْتَاعُ دُنْيَا بِدِينِهِ لَمُنْقَلِبٌ مِنْهَا بِصَفْقَةِ خاسِر
أَلَمْ تَرَهَا تُرْقِيهِ حَتَّى إِذَا سَمَا فَرَتْ حَلْقَهُ مِنْهَا بِمُدْيَةِ جَازِرِ
وَلا تَعْدِلُ الدُّنْيَا جَنَاحَ بَعُوضَةٍ لَدَى اللهِ أَوْ مِعْشَارَ زُغْبَةِ طَائِرِ
ถ้ายังยืนหยัดในศาสนาได้ เรื่องดุนยาที่เสียไปก็ไม่สำคัญ
หากรู้จักดุนยาอย่างชัดแจ้ง คงหวังแค่เตรียมสัมภาระไว้เดินทาง
ผู้ใดขายศาสนาแลกกับดุนยา ย่อมตายไปในสภาพที่ขาดทุน
มันจะลวงล่อเขาให้หลงใหล แล้วจึงเชือดให้ตายอย่างทารุณ
ณ อัลลอฮฺดุนยาไร้ค่าแม้ปีกยุง หรือแม้แต่เศษเสี้ยวของขนนก
والحمد لله رب العالمين،
وصلى الله وسلم على نبينا محمد، وعلى آله وصحبه أجمعين.