Description
อธิบายคร่าวๆ เกี่ยวกับอายะฮฺอัลกุรอานในสูเราะฮฺ ฮูด 15-16 ที่กล่าวถึงการทำงานหรืออะมัลต่างๆ ของอาคิเราะฮฺโดยหวังผลแค่ในโลกดุนยาเท่านั้น กล่าวถึงประเภทต่างๆ ของคนเหล่านี้ และอะไรคือทางออกที่สามารถรวมกันได้ระหว่างการทำเพื่ออาคิเราะฮฺโดยไม่ได้เสียดุนยาไปด้วย เป็นบทความจากหนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-มุลกอฮฺ โดยเชคอะมีน อัช-ชะกอวีย์
การงานที่หวังผลทางโลก
อาจเข้าข่ายการตั้งภาคี
] ไทย – Thai – تايلاندي [
ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์
แปลโดย : อุศนา พ่วงศิริ
ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา
ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-
มุลกอฮฺ
2014 - 1435
إن من الشرك إرادة الإنسان بعمله الدنيا
« باللغة التايلاندية »
د. أمين بن عبد الله الشقاوي
ترجمة: حسنى فوانجسيري
مراجعة: عصران نيومديشا
المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة
2014 - 1435
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ
การงานที่หวังผลทางโลก
อาจเข้าข่ายการตั้งภาคี
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความสุขความจำเริญและความสันติจงประสบแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใด ๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ และเป็นศาสนทูตของพระองค์
อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า
﴿ مَن كَانَ يُرِيدُ ٱلۡحَيَوٰةَ ٱلدُّنۡيَا وَزِينَتَهَا نُوَفِّ إِلَيۡهِمۡ أَعۡمَٰلَهُمۡ فِيهَا وَهُمۡ فِيهَا لَا يُبۡخَسُونَ ١٥ أُوْلَٰٓئِكَ ٱلَّذِينَ لَيۡسَ لَهُمۡ فِي ٱلۡأٓخِرَةِ إِلَّا ٱلنَّارُۖ وَحَبِطَ مَا صَنَعُواْ فِيهَا وَبَٰطِلٞ مَّا كَانُواْ يَعۡمَلُونَ ١٦ ﴾ [هود: ١٥-١٦]
“ผู้ใดปรารถนาการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้และความเพริศแพร้วของมัน เราก็จะตอบแทนให้พวกเขาอย่างครบถ้วนซึ่งการงานของพวกเขาในโลกนี้เท่านั้น และพวกเขาจะไม่ถูกลิดรอนในการงานนั้นแต่อย่างใด ชนเหล่านั้นพวกเขาจะไม่ได้รับการตอบแทนอันใดในโลกอาคิเราะฮฺนอกจากไฟนรก และสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ในโลกดุนยาก็จะไร้ผลและสิ่งที่พวกเขาได้กระทำไว้ก็จะสูญเสียไป" (ฮูด: 15-16)
[1]
﴿ مَن كَانَ يُرِيدُ ٱلۡحَيَوٰةَ ٱلدُّنۡيَا وَزِينَتَهَا ﴾
“ผู้ใดปรารถนาการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้และความเพริศแพร้วของมัน"
กล่าวคือ ผู้ใดปฏิบัติการงานที่เป็นเรื่องอาคิเราะฮฺ แต่เขากลับมุ่งหวังที่จะได้รับผลตอบแทนและความสุขสบายในโลกดุนยา ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง อำนาจลาภผล ลูกหลานทายาท หรืออื่น ๆ ดังเช่นที่พระองค์ตรัสว่า
﴿ ٱلۡمَالُ وَٱلۡبَنُونَ زِينَةُ ٱلۡحَيَوٰةِ ٱلدُّنۡيَاۖ ﴾ [الكهف: ٤٦]
“ทรัพย์สมบัติและลูกหลาน คือเครื่องประดับแห่งการดำรงชีวิตในโลกนี้" (อัลกะฮฺฟ: 46)
[2]
﴿ نُوَفِّ إِلَيۡهِمۡ أَعۡمَٰلَهُمۡ فِيهَا وَهُمۡ فِيهَا لَا يُبۡخَسُونَ ١٥ ﴾
“เราก็จะตอบแทนให้พวกเขาอย่างครบถ้วนซึ่งการงานของพวกเขาในโลกนี้เท่านั้น"
กล่าวคือ เราก็จะให้ความสุขสบายในดุนยาตามที่เขาต้องการอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อประวิงเวลาให้เขาชะล่าใจ ดังที่พระองค์ตรัสในอีกอายะฮฺหนึ่งว่า
﴿ مَّن كَانَ يُرِيدُ ٱلۡعَاجِلَةَ عَجَّلۡنَا لَهُۥ فِيهَا مَا نَشَآءُ لِمَن نُّرِيدُ ﴾ [الإسراء: ١٨]
“ผู้ใดปรารถนาชีวิตชั่วคราว (ในโลกนี้) เราก็จะเร่งให้เขาได้รับมัน ตามที่เราประสงค์แก่ผู้ที่เราปรารถนา" (อัลอิสรออ์: 18)
[3]
﴿ أُوْلَٰٓئِكَ ٱلَّذِينَ لَيۡسَ لَهُمۡ فِي ٱلۡأٓخِرَةِ إِلَّا ٱلنَّارُۖ ﴾
“ชนเหล่านั้นพวกเขาจะไม่ได้รับการตอบแทนอันใดในโลกอาคิเราะฮฺนอกจากไฟนรก"
อายะฮฺนี้ได้กล่าวถึงจุดจบของพวกเขา หลังจากที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่าพวกเขาจะได้รับในสิ่งที่พวกเขาต้องการและแสวงหาในโลกดุนยา ส่วนในอาคิเราะฮฺนั้นจะไม่เหลือผลบุญใด ๆ สำหรับพวกเขาอีก เพราะพวกเขามิได้ปฏิบัติการงานเพื่ออาคิเราะฮฺ ดังที่พระองค์ตรัสว่า
﴿ وَمَنۡ أَرَادَ ٱلۡأٓخِرَةَ وَسَعَىٰ لَهَا سَعۡيَهَا وَهُوَ مُؤۡمِنٞ فَأُوْلَٰٓئِكَ كَانَ سَعۡيُهُم مَّشۡكُورٗا ١٩ ﴾ [الإسراء: ١٩]
“และผู้ใดปรารถนาปรโลก และขวนขวายเพื่อมันอย่างจริงจัง โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธา ชนเหล่านั้นการขวนขวายของพวกเขาจะได้รับการชมเชย" (อัลอิสรออ์: 19)
[4]
﴿ وَحَبِطَ مَا صَنَعُواْ فِيهَا وَبَٰطِلٞ مَّا كَانُواْ يَعۡمَلُونَ ١٦ ﴾
“และสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ในโลกดุนยาก็จะไร้ผลและสิ่งที่พวกเขาได้กระทำไว้ก็จะสูญเสียไป"
กล่าวคือ การงานของพวกเขาในโลกดุนยาจะเป็นโมฆะ เพราะพวกเขามิได้กระทำอย่างบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ
เกาะตาดะฮฺ เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “ผู้ใดที่การกระทำของเขานั้นมุ่งหวังและขวนขวายแต่เพียงโลกดุนยา อัลลอฮฺก็จะทรงตอบแทนความดีของเขาเฉพาะในดุนยาเท่านั้น เมื่อเขากลับสู่อาคิเราะฮฺจะไม่มีส่วนแบ่งความดีหลงเหลืออีกสำหรับพวกเขา ในขณะที่ผู้ศรัทธานั้นจะได้รับผลตอบแทนความดีทั้งในโลกดุนยาและอาคิเราะฮฺ" (อัลมิศบาหฺ อัลมุนีรฺ หน้า 632)
อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« إِنَّ أَوَّلَ النَّاسِ يُقْضَى يَوْمَ الْقِيَامَةِ عَلَيْهِ رَجُلٌ اسْتُشْهِدَ، فَأُتِيَ بِهِ فَعَرَّفَهُ نِعَمَهُ فَعَرَفَهَا، قَالَ: فَمَا عَمِلْتَ فِيهَا؟ قَالَ: قَاتَلْتُ فِيكَ حَتَّى اسْتُشْهِدْتُ، قَالَ: كَذَبْتَ، وَلَكِنَّكَ قَاتَلْتَ لِأَنْ يُقَالَ: جَرِيءٌ، فَقَدْ قِيلَ، ثُمَّ أُمِرَ بِهِ فَسُحِبَ عَلَى وَجْهِهِ حَتَّى أُلْقِيَ فِي النَّارِ،
وَرَجُلٌ تَعَلَّمَ الْعِلْمَ، وَعَلَّمَهُ وَقَرَأَ الْقُرْآنَ، فَأُتِيَ بِهِ فَعَرَّفَهُ نِعَمَهُ فَعَرَفَهَا، قَالَ: فَمَا عَمِلْتَ فِيهَا؟ قَالَ: تَعَلَّمْتُ الْعِلْمَ، وَعَلَّمْتُهُ وَقَرَأْتُ فِيكَ الْقُرْآنَ، قَالَ: كَذَبْتَ، وَلَكِنَّكَ تَعَلَّمْتَ الْعِلْمَ لِيُقَالَ: عَالِمٌ، وَقَرَأْتَ الْقُرْآنَ لِيُقَالَ: هُوَ قَارِئٌ، فَقَدْ قِيلَ، ثُمَّ أُمِرَ بِهِ فَسُحِبَ عَلَى وَجْهِهِ حَتَّى أُلْقِيَ فِي النَّارِ،
وَرَجُلٌ وَسَّعَ اللهُ عَلَيْهِ، وَأَعْطَاهُ مِنْ أَصْنَافِ الْمَالِ كُلِّهِ، فَأُتِيَ بِهِ فَعَرَّفَهُ نِعَمَهُ فَعَرَفَهَا، قَالَ: فَمَا عَمِلْتَ فِيهَا؟ قَالَ: مَا تَرَكْتُ مِنْ سَبِيلٍ تُحِبُّ أَنْ يُنْفَقَ فِيهَا إِلَّا أَنْفَقْتُ فِيهَا لَكَ، قَالَ: كَذَبْتَ، وَلَكِنَّكَ فَعَلْتَ لِيُقَالَ: هُوَ جَوَادٌ، فَقَدْ قِيلَ، ثُمَّ أُمِرَ بِهِ فَسُحِبَ عَلَى وَجْهِهِ، ثُمَّ أُلْقِيَ فِي النَّارِ » [رواه مسلم برقم 1905]
“มนุษย์กลุ่มแรกที่จะถูกพิพากษาในวันกิยามะฮฺ คือ (1) ผู้ที่ตายในสมรภูมิรบ ซึ่งเขาจะถูกนำตัวมา เมื่ออัลลอฮฺทรงแจกแจงความโปรดปรานต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงประทานให้ และเขาได้รับรู้สิ่งเหล่านั้นแล้ว พระองค์ก็จะตรัสถามเขาว่า 'แล้วเจ้าได้ทำสิ่งใดบ้างเกี่ยวกับความโปรดปรานเหล่านี้?' เขาตอบว่า 'ฉันได้ต่อสู้ในหนทางของพระองค์กระทั่งตายชะฮีด' อัลลอฮฺจึงตรัสว่า 'เจ้าโกหก ทว่าเจ้าต่อสู้เพื่อให้ผู้คนกล่าวสรรเสริญว่าเจ้าเป็นคนกล้าหาญ ซึ่งเจ้าก็ได้รับการสรรเสริญแล้ว' จากนั้นก็มีคำสั่งให้ลากเขาด้วยการคะมำหน้าลง จากนั้นเขาถูกจับโยนลงไปในนรก
(2) ผู้ที่แสวงหาวิชาความรู้ แล้วนำความรู้ดังกล่าวไปสอนแก่ผู้อื่น และได้อ่านอัลกุรอาน ซึ่งเขาจะถูกนำตัวมา เมื่ออัลลอฮฺทรงแจกแจงความโปรดปรานต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงประทานให้ และเขาได้รับรู้สิ่งเหล่านั้นแล้ว พระองค์ก็จะตรัสถามเขาว่า 'แล้วเจ้าได้ทำสิ่งใดบ้างเกี่ยวกับความโปรดปรานเหล่านี้?' เขาตอบว่า 'ฉันได้แสวงหาวิชาความรู้ แล้วฉันก็ได้สอนผู้อื่น และฉันยังได้อ่านอัลกุรอานเพื่อพระองค์' อัลลอฮฺจึงตรัสว่า 'เจ้าโกหก ทว่าเจ้าแสวงหาวิชาความรู้ เพื่อให้ผู้คนได้กล่าวยกย่องว่าเจ้าเป็นผู้รู้ และเจ้าได้อ่านอัลกุรอานเพื่อให้ผู้คนกล่าวว่า เจ้าเป็นนักอ่าน ซึ่งเจ้าก็ได้รับการกล่าวขานเช่นนั้นแล้ว' จากนั้นก็มีคำสั่งให้ลากเขาด้วยการคะมำหน้าลง จากนั้นเขาถูกจับโยนลงไปในนรก
(3) และผู้ที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานความร่ำรวย และทรัพย์สมบัติอันมากมายให้แก่เขา ซึ่งเขาจะถูกนำตัวมา เมื่ออัลลอฮฺทรงแจกแจงความโปรดปรานต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงประทานให้ และเขาได้รับรู้สิ่งเหล่านั้นแล้ว พระองค์ก็จะตรัสถามเขาว่า 'แล้วเจ้าได้ทำสิ่งใดบ้างเกี่ยวกับความโปรดปรานเหล่านี้?' เขาตอบว่า 'ฉันได้บริจาคใช้จ่ายทรัพย์สินไปในทุกหนทางที่พระองค์ทรงโปรดโดยหวังผลบุญจากพระองค์' อัลลอฮฺจึงตรัสว่า 'เจ้าโกหก ทว่าเจ้าได้ทำไปเพื่อที่จะให้ผู้คนแซ่ซ้องว่าเจ้าเป็นคนใจบุญ ซึ่งเจ้าก็ได้รับการกล่าวขานเช่นนั้นแล้ว' จากนั้นก็มีคำสั่งให้ลากเขาด้วยการคะมำหน้าลง จากนั้นเขาถูกจับโยนลงไปในนรก" (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 1905)
เมื่อมุอาวิยะฮฺได้ฟังหะดีษข้างต้น ท่านถึงกับร้องไห้อย่างมาก จนเมื่อท่านหายโศกเศร้าท่านก็กล่าวว่า “อัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์กล่าวถูกแล้ว" แล้วท่านก็อ่านอายะฮฺข้างต้น (ฮูด: 15-16) (บันทึกโดยอิบนุหิบบาน หะดีษเลขที่ 408)
บุคคลสามประเภทข้างต้นนี้เป็นมนุษย์กลุ่มแรกที่จะถูกไฟนรกแผดเผาในวันกิยามะฮฺ
อาจมีบางคนถามว่า อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างผู้ที่ปฏิบัติการงานใด ๆ โดยมุ่งหวังผลตอบแทนในดุนยา กับผู้ที่กระทำเพื่อโอ้อวด (ริยาอ์)? คำตอบคือ บุคคลทั้งสองประเภทนี้เหมือนกันตรงที่เขาทั้งสองมิได้กระทำความดีเพื่ออัลลอฮฺ และยังเป็นการตั้งภาคีแบบซ่อนเร้นอีกด้วย
ส่วนความแตกต่างนั้น คือผู้ที่ปฏิบัติเพื่อโอ้อวดนั้นต้องการความมีเกียรติและชื่อเสียง ส่วนผู้ที่ปฏิบัติเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในดุนยานั้นเป็นผู้ที่มีความละโมบอยากได้ผลตอบแทนอย่างทันท่วงที เช่น ผู้ที่ญิฮาดสู้รบเพียงเพื่อหวังให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินเงินทอง ซึ่งจะว่าไปแล้วผู้ที่ทำความดีโดยหวังในผลตอบแทนในดุนยานั้นก็ยังฉลาดกว่าผู้ที่กระทำเพื่อโอ้อวด เพราะผู้ที่โอ้อวดไม่ได้รับสิ่งใด ๆ เป็นการตอบแทน ส่วนผู้ที่กระทำเพื่อดุนยาอย่างน้อยเขายังได้รับผลประโยชน์จากสิ่งที่เขาทำ แม้จะได้แต่เพียงในดุนยาก็ตาม
เมื่อ ชัยคฺมุหัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ ถูกถามถึงอายะฮฺ
﴿ مَن كَانَ يُرِيدُ ٱلۡحَيَوٰةَ ٱلدُّنۡيَا وَزِينَتَهَا نُوَفِّ إِلَيۡهِمۡ أَعۡمَٰلَهُمۡ فِيهَا وَهُمۡ فِيهَا لَا يُبۡخَسُونَ ١٥ ﴾ [هود: ١٥]
“ผู้ใดปรารถนาการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้และความเพริศแพร้วของมัน เราก็จะตอบแทนให้พวกเขาอย่างครบถ้วนซึ่งการงานของพวกเขาในโลกนี้เท่านั้น และพวกเขาจะไม่ถูกลิดรอนในการงานนั้นแต่อย่างใด" (ฮูด: 15)
ท่านกล่าวอธิบายว่า อายะฮฺดังกล่าวนี้ครอบคลุมคนหลายประเภทดังนี้
ประเภทที่หนึ่ง ผู้ที่ตั้งภาคีและผู้ปฏิเสธศรัทธาซึ่งปฏิบัติคุณงามความดีเพียงในโลกดุนยาเท่านั้น เช่น แจกจ่ายอาหาร ให้เกียรติเพื่อนบ้าน ทำดีต่อบุพการี บริจาคทาน และความดีอื่น ๆ อีกมากมาย โดยเขาจะไม่ได้รับผลตอบแทนใด ๆ ในอาคิเราะฮฺ เพราะความดีเหล่านั้นมิได้วางอยู่บนพื้นฐานของการศรัทธา แต่จะถูกนับอยู่ในกลุ่มคนที่อัลลอฮฺตรัสถึงว่า
﴿ مَن كَانَ يُرِيدُ ٱلۡحَيَوٰةَ ٱلدُّنۡيَا وَزِينَتَهَا نُوَفِّ إِلَيۡهِمۡ أَعۡمَٰلَهُمۡ فِيهَا وَهُمۡ فِيهَا لَا يُبۡخَسُونَ ١٥ ﴾ [هود: ١٥]
“ผู้ใดปรารถนาการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้และความเพริศแพร้วของมัน เราก็จะตอบแทนให้พวกเขาอย่างครบถ้วนซึ่งการงานของพวกเขาในโลกนี้เท่านั้น และพวกเขาจะไม่ถูกลิดรอนในการงานนั้นแต่อย่างใด" (ฮูด: 15)
ดังนั้น เมื่อผู้ปฏิเสธศรัทธากระทำความดีใด ๆ เขาก็อาจจะได้รับผลตอบแทนนั้นในโลกดุนยา แต่จะไม่มีส่วนแบ่งผลตอบแทนใด ๆ จากอัลลอฮฺอีกในอาคิเราะฮฺ เพราะเขาขาดความศรัทธา และความบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์
ประเภทที่สอง ผู้ศรัทธาที่ปฏิบัติคุณงามความดีที่เป็นเรื่องอาคิเราะฮฺ แต่เขามิได้กระทำเพื่ออัลลอฮฺ ทว่ากลับทำเพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยทางดุนยา ดังเช่นผู้ที่ทำหัจญ์และอุมเราะฮฺแทนผู้อื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนเป็นทรัพย์สินเงินทอง หรือผู้ที่ศึกษาวิชาความรู้ศาสนา เพียงเพื่อต้องการตำแหน่งหน้าที่ในองค์กร คนเหล่านี้การงานของเขาถือเป็นโมฆะสูญเปล่าทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺ และยังเป็นการตั้งภาคีแบบเล็กอีกด้วย
ประเภทที่สาม ผู้ศรัทธาที่ปฏิบัติคุณงามความดีด้วยความบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ โดยมิได้ต้องการทรัพย์สินหรือผลตอบแทนใด ๆ ในดุนยา แต่เขาหวังเพียงให้พระองค์ตอบแทนด้วยการทำให้เขาหายจากโรคภัยไข้เจ็บ หรือปกป้องเขาให้พ้นจากสายตาพิฆาตริษยา (อัยนฺ) และคุ้มครองเขาจากเหล่าศัตรู แน่นอนว่าหากจุดประสงค์ของเขาต้องการเพียงสิ่งนี้ ย่อมถือเป็นความคิดที่เลวร้าย และอยู่ในกลุ่มที่พระองค์ตรัสว่า
﴿ مَن كَانَ يُرِيدُ ٱلۡحَيَوٰةَ ٱلدُّنۡيَا وَزِينَتَهَا نُوَفِّ إِلَيۡهِمۡ أَعۡمَٰلَهُمۡ فِيهَا وَهُمۡ فِيهَا لَا يُبۡخَسُونَ ١٥ ﴾ [هود: ١٥]
“ผู้ใดปรารถนาการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้และความเพริศแพร้วของมัน เราก็จะตอบแทนให้พวกเขาอย่างครบถ้วนซึ่งการงานของพวกเขาในโลกนี้เท่านั้น และพวกเขาจะไม่ถูกลิดรอนในการงานนั้นแต่อย่างใด" (ฮูด: 15)
ทั้งนี้ มุสลิมผู้ศรัทธานั้นควรที่จะหวังผลบุญในอาคิเราะฮฺ ซึ่งมีความสำคัญเหนือสิ่งใดในดุนยา และจำเป็นที่เขาจะต้องมีปณิธานความมุ่งมั่นอันสูงส่ง ซึ่งแน่นอนว่าผู้ใดหวังผลตอบแทนในอาคิเราะฮฺ อัลลอฮฺก็จะทรงให้ความช่วยเหลือ และให้ความง่ายดายแก่เขาในโลกดุนยา ดังที่พระองค์ตรัสว่า
﴿ وَمَن يَتَّقِ ٱللَّهَ يَجۡعَل لَّهُۥ مَخۡرَجٗا ٢ وَيَرۡزُقۡهُ مِنۡ حَيۡثُ لَا يَحۡتَسِبُۚ وَمَن يَتَوَكَّلۡ عَلَى ٱللَّهِ فَهُوَ حَسۡبُهُۥٓۚ ﴾ [الطلاق : ٢-٣]
“และผู้ใดยำเกรงอัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงหาทางออกให้แก่เขา และจะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่เขา จากที่ที่เขามิได้คาดคิด และผู้ใดมอบหมายแด่อัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงเป็นผู้พอเพียงแก่เขา" (อัฏเฏาะลาก: 2-3)
ประเภทที่สี่ ซึ่งร้ายแรงกว่าบุคคลทั้งสามประเภทข้างต้น คือผู้ที่กระทำความดีเพียงเพื่อโอ้อวดผู้คน มิได้หวังผลบุญใด ๆ ในอาคิเราะฮฺ
จากนั้นท่านกล่าวว่า ยังเหลือบุคคลอีกประเภทหนึ่ง คือผู้ที่ปฏิบัติละหมาดห้าเวลา จ่ายซะกาต ถือศีลอด และทำหัจญ์ เพื่ออัลลอฮฺ โดยหวังในผลบุญอาคิเราะฮฺ แต่หลังจากนั้นเขากลับปฏิบัติความดีเพื่อหวังผลในดุนยาด้วย เช่นผู้ที่ได้ทำหัจญ์ที่เป็นฟัรฎูโดยมีความบริสุทธิ์เพื่ออัลลอฮฺ หลังจากนั้นเขาก็กลับไปทำอีกครั้งเพื่อผลตอบแทนในดุนยา กรณีเช่นนี้ให้พิจารณาดูว่าเขาเน้นหนักในส่วนใดมากกว่า (ระหว่างส่วนที่ทำเพื่ออัลลอฮฺกับส่วนที่ทำเพื่อดุนยา) เขาก็จะได้รับการตอบแทนตามนั้น" (อัลอิสตินบาฏ หน้า 120-123 โดยอ้างจากฟัตหุลมะญีด หน้า 437-441)
ชัยคฺอับดุรเราะหฺมาน บิน สะอฺดีย์ ได้กล่าวถึงบุคคลประเภทที่สองข้างต้นว่า “เป็นผู้ที่ปฏิบัติคุณความดีเพียงเพื่อประโยชน์ในดุนยา เช่นผู้ที่ศึกษาหาความรู้เพื่อหน้าที่การงาน หรือทำอุมเราะฮฺแทนคนอื่นเพียงเพื่อทรัพย์สินเงินทองเท่านั้น ทั้งนี้ ผู้ที่ปฏิบัติการงานใด ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ทางดุนยานั้น หากเป้าประสงค์ทั้งหมดของเขาเพียงเพื่อสิ่งนี้ มิได้กระทำเพื่ออัลลอฮฺและผลบุญในโลกอาคิเราะฮฺเลย เขาก็จะไม่ได้รับการตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้นในอาคิเราะฮฺ ซึ่งลักษณะเช่นนี้ไม่อาจเกิดขึ้นกับผู้ศรัทธาได้ เพราะผู้ศรัทธานั้นแม้จะเป็นผู้ที่มีระดับความศรัทธาน้อยเพียงใดก็ตาม ก็ยังหวังอยู่บ้างที่จะได้รับผลบุญจากอัลลอฮฺและการตอบแทนในโลกหน้า
ส่วนผู้ที่ปฏิบัติทั้งเพื่ออัลลอฮฺและเพื่อดุนยาอย่างเท่าเทียมกันนั้น กรณีนี้หากเขาเป็นผู้ศรัทธา ก็ถือว่าความศรัทธาและความบริสุทธิ์ใจของเขานั้นมีความบกพร่อง การงานของเขาก็บกพร่องเช่นกัน เพราะขาดความบริสุทธิ์ใจที่สมบูรณ์
ส่วนผู้ที่ปฏิบัติความดีเพื่ออัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียวด้วยความบริสุทธิ์ใจอย่างแท้จริง ในขณะเดียวกันเขาก็รับค่าตอบแทนการทำงานของเขาเพื่อการดำรงชีพและดำรงศาสนาด้วย เช่น ผู้ที่รับเงินเดือน ค่าจ้างจากการทำงาน นักรบที่ได้รับส่วนแบ่งหลังการทำศึกสงคราม หรือผลประโยชน์จากวะกัฟ (การอุทิศทรัพย์สินเป็นสาธารณประโยชน์) ที่มอบให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติภารกิจเพื่อมัสยิด โรงเรียน หรืองานศาสนาอื่น ๆ กรณีเช่นนี้ผู้ที่รับค่าตอบแทนดังกล่าวไม่ถือว่าศรัทธาของเขามีความบกพร่องแต่ประการใด เพราะเขามิได้ทำเพื่อมุ่งหวังผลตอบแทนทางดุนยา แต่เขาทำเพื่อศาสนา และผลตอบแทนที่ได้รับก็เป็นเพียงปัจจัยที่ช่วยให้เขาดำรงศาสนาต่อไปได้ ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮฺจึงได้ทรงบัญญัติหลักศาสนาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเงินทองที่เป็นส่วนของผู้ที่รับหน้าที่ทางศาสนา หรือประกอบอาชีพที่เป็นประโยชน์ไว้เป็นส่วนสำคัญ เช่น ซะกาต ทรัพย์สินที่ได้จากการทำสงคราม และอื่น ๆ" (อัลเกาลฺ อัสสะดีด หน้า 187-189)
والحمد لله رب العالمين،
وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين.