×
New!

Bayan Al Islam Encyclopedia Mobile Application

Get it now!

การหันหลังให้ศาสนา (ไทย)

สร้างโดย: อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

Description

กล่าวถึงพฤติกรรมการหันหลังให้กับศาสนาในรูปแบบต่างๆ พร้อมกับอธิบายข้อเสียร้ายแรงที่เป็นผลจากการหันหลังให้กับศาสนา พร้อมหลักฐานจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺ

Download Book

    การหันหลังให้ศาสนา

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

    แปลโดย : อุศนา พ่วงศิริ

    ตรวจทานโดย : อัสรัน นิยมเดชา

    ที่มา : หนังสือ อัด-ดุร็อรฺ อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-
    มุลกอฮฺ

    2015 - 1436


    الإعراض عن الدين

    « باللغة التايلاندية »

    د. أمين بن عبدالله الشقاوي

    ترجمة: حسنى فوانجسيري

    مراجعة: عصران نيومديشا

    المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة

    2015 - 1436

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    การหันหลังให้ศาสนา

    มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ขอความสุขความจำเริญและความสันติจงประสบแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงองค์เดียว ไม่มีภาคีใด ๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามุหัมมัดเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์

    อัลลอฮฺตะอาลา ตรัสว่า

    ﴿ وَمَنۡ أَظۡلَمُ مِمَّن ذُكِّرَ بِ‍َٔايَٰتِ رَبِّهِۦ فَأَعۡرَضَ عَنۡهَا وَنَسِيَ مَا قَدَّمَتۡ يَدَاهُۚ ٥٧﴾ [الكهف: ٥٧]

    “และผู้ใดจะอธรรมยิ่งไปกว่าผู้ที่ถูกตักเตือนให้รำลึกด้วยโองการทั้งหลายของพระผู้เป็นเจ้าของเขา แล้วเขาก็หันหลังห่างออกไป แล้วลืมสิ่งที่มือทั้งสองของเขาประกอบไว้” (อัลกะฮฺฟ: 57)

    อัชชันกีฏีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวอธิบายอายะฮฺนี้ว่า “หมายถึง ไม่มีผู้ใดจะอธรรมต่อตนเองยิ่งไปกว่าผู้ที่ถูกตักเตือนชี้แนะด้วยโองการทั้งหลายของพระผู้เป็นเจ้าของเขาซึ่งก็คืออัลกุรอาน แล้วเขาหันหลังห่างออกไปโดยไม่สนใจ ทั้งยังต่อต้านและลืมสิ่งที่มือทั้งสองของเขาประกอบไว้ ซึ่งก็คือบาปความผิดต่าง ๆ และการปฏิเสธศรัทธา ทั้งนี้ การหันหลังไม่สนใจที่จะรับเอาทางนำแห่งอัลกุรอานนั้น ถือเป็นการอธรรมที่ร้ายแรงที่สุดอย่างหนึ่ง และจะนำมาซึ่งผลเสียมากมาย ตามด้วยจุดจบที่น่าสะพรึงกลัว ส่วนหนึ่งจากผลเสียเหล่านั้นก็เช่น

    · การมีจิตใจที่มืดบอด จนไม่อาจรับสิ่งที่เป็นสัจธรรมได้ ซ้ำยังถูกปิดกั้นจากแนวทางที่ถูกต้อง ดังที่อัลลอฮฺ ตรัสว่า

    ﴿ إِنَّا جَعَلۡنَا عَلَىٰ قُلُوبِهِمۡ أَكِنَّةً أَن يَفۡقَهُوهُ وَفِيٓ ءَاذَانِهِمۡ وَقۡرٗاۖ وَإِن تَدۡعُهُمۡ إِلَى ٱلۡهُدَىٰ فَلَن يَهۡتَدُوٓاْ إِذًا أَبَدٗا ٥٧ ﴾ [الكهف: ٥٧]

    “แท้จริงเราได้ทำฝาปิดบนหัวใจของพวกเขาในการที่พวกเขาจะเข้าใจมัน และในหูของพวกเขานั้นหนวก และถ้าเจ้าเรียกร้องพวกเขาไปสู่แนวทางที่ถูกต้อง พวกเขาจะก็ไม่อยู่ในแนวทางที่ถูกต้องนั้นเลย” (อัลกะฮฺฟ: 57)

    · ผู้ที่หันหลังให้กับการตักเตือนนั้น จะถูกลงโทษจากอัลลอฮฺตะอาลา พระองค์ตรัสว่า

    ﴿ وَمَنۡ أَظۡلَمُ مِمَّن ذُكِّرَ بِ‍َٔايَٰتِ رَبِّهِۦ ثُمَّ أَعۡرَضَ عَنۡهَآۚ إِنَّا مِنَ ٱلۡمُجۡرِمِينَ مُنتَقِمُونَ ٢٢ ﴾ [السجدة : ٢٢]

    “และผู้ใดเล่าจะอธรรมยิ่งไปกว่าผู้ถูกเตือนให้รำลึกถึงอายาตทั้งหลายของพระเจ้าของเขา แล้วเขาก็หันหลังให้กับอายาตเหล่านั้น แท้จริงเราเป็นผู้ลงโทษบรรดาผู้กระทำผิด” (อัสสัจญฺดะฮฺ: 22)

    · ผู้ที่หันหลังให้กับศาสนาเปรียบได้ดั่งลาตัวหนึ่ง อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า

    ﴿ فَمَا لَهُمۡ عَنِ ٱلتَّذۡكِرَةِ مُعۡرِضِينَ ٤٩ كَأَنَّهُمۡ حُمُرٞ مُّسۡتَنفِرَةٞ ٥٠ فَرَّتۡ مِن قَسۡوَرَةِۢ ٥١ ﴾ [المدثر: ٤٩-٥١]

    “ดังนั้น เกิดอะไรขึ้นแก่พวกเขา ทำไมพวกเขาหันหลังออกห่างจากการเตือนสติ ประหนึ่งว่าพวกเขาเป็นลาเปรียวที่ตื่นตระหนกหนีจากเสือสิงห์” (อัลมุดดัษษิรฺ: 49-51)

    · พวกเขาอาจประสบกับหายนะ ดังหายนะที่เกิดขึ้นกับพวกอ๊าดและพวกษะมูด อัลลอฮฺ ตรัสว่า

    ﴿ فَإِنۡ أَعۡرَضُواْ فَقُلۡ أَنذَرۡتُكُمۡ صَٰعِقَةٗ مِّثۡلَ صَٰعِقَةِ عَادٖ وَثَمُودَ ١٣ ﴾ [فصلت: ١٣]

    “แต่ถ้าพวกเขาหันหลังให้ก็จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ว่าฉันขอเตือนพวกท่าน ให้ระลึกถึงความหายนะเยี่ยงความหายนะของพวกอ๊าดและพวกษะมูด” (ฟุศศิลัต: 13)

    · พวกเขาจะมีชีวิตอยู่อย่างคับแค้น ฝืดเคืองและมืดบอด อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า

    ﴿ وَمَنۡ أَعۡرَضَ عَن ذِكۡرِي فَإِنَّ لَهُۥ مَعِيشَةٗ ضَنكٗا وَنَحۡشُرُهُۥ يَوۡمَ ٱلۡقِيَٰمَةِ أَعۡمَىٰ ١٢٤ ﴾ [طه: ١٢٤]

    “และผู้ใดหันหลังจากการรำลึกถึงข้า แท้จริงสำหรับเขาคือการมีชีวิตอยู่อย่างคับแค้น และเราจะให้เขาฟื้นคืนชีพในวันกิยามะฮฺในสภาพของคนตาบอด” (ฏอฮา: 124)

    · พวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่างแสนสาหัส อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า

    ﴿ لِّنَفۡتِنَهُمۡ فِيهِۚ وَمَن يُعۡرِضۡ عَن ذِكۡرِ رَبِّهِۦ يَسۡلُكۡهُ عَذَابٗا صَعَدٗا ١٧ ﴾ [الجن: ١٧]

    “เพื่อเราจะทดสอบพวกเขาในเรื่องนี้ และผู้ใดหันห่างจากการรำลึกถึงพระเจ้าของเขา พระองค์จะให้เขาได้รับการลงโทษอันแสนสาหัส” (อัลญิน: 17)

    · พวกเขาจะมีสหายเป็นเหล่าชัยฏอนมารร้าย อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า

    ﴿ وَمَن يَعۡشُ عَن ذِكۡرِ ٱلرَّحۡمَٰنِ نُقَيِّضۡ لَهُۥ شَيۡطَٰنٗا فَهُوَ لَهُۥ قَرِينٞ ٣٦ ﴾ [الزخرف: ٣٦]

    “และผู้ใดหันหลังจากการรำลึกถึงพระผู้ทรงกรุณาปรานี เราจะให้ชัยฏอนตัวหนึ่งแก่เขา แล้วมันก็จะเป็นสหายของเขา” (อัซซุครุฟ: 36 )

    ที่กล่าวมาข้างต้นนี้คือส่วนหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้แล้วยังมีบทลงโทษอีกมากมายที่จะถูกเตรียมไว้สำหรับผู้ที่หันหลังและปฏิเสธศาสนา” (อัฎวาอุลบะยาน เล่ม 4 หน้า 181-183)

    ซึ่งการหันหลังที่อัลลอฮฺได้ทรงตำหนินั้น ก็คือการหันหลังของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาและพวกกลับกลอก จากการรับฟังอัลกุรอานและสุนนะฮฺ

    นักวิชาการได้กล่าวไว้ว่า หนึ่งในสิบข้อที่จะทำให้บ่าวคนหนึ่งหลุดออกจากแนวทางแห่งอิสลาม คือการหันหลังให้ศาสนาของอัลลอฮฺ โดยไม่คิดจะศึกษา และไม่ใส่ใจที่จะปฏิบัติตาม อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า

    ﴿ وَمَنۡ أَظۡلَمُ مِمَّن ذُكِّرَ بِ‍َٔايَٰتِ رَبِّهِۦ ثُمَّ أَعۡرَضَ عَنۡهَآۚ إِنَّا مِنَ ٱلۡمُجۡرِمِينَ مُنتَقِمُونَ ٢٢ ﴾ [السجدة : ٢٢]

    “และผู้ใดเล่าจะอธรรมยิ่งไปกว่าผู้ถูกเตือนให้รำลึกถึงอายาตทั้งหลายของพระเจ้าของเขา แล้วเขาก็หันหลังให้กับอายาตเหล่านั้น แท้จริงเราเป็นผู้จองเวรบรรดาผู้กระทำผิด” (อัสสัจญฺดะฮฺ: 22)

    ซึ่งความหมายของการหันหลังในที่นี้คือ การปฏิเสธที่จะศึกษาเรียนรู้พื้นฐานของศาสนา อันเป็นหน้าที่ซึ่งมุสลิมทุกคนพึงปฏิบัติ

    อิบนุลก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “การปฏิเสธศาสนามีห้าประเภท หนึ่งในนั้นคือการหันหลังให้ศาสนาด้วยการปฏิเสธที่จะรับฟังหรือทำความเข้าใจคำสอนของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แม้ว่าจะไม่กล่าวร้ายใด ๆ ต่อท่านก็ตาม ไม่ปฏิบัติตาม แต่ก็อาจจะไม่ได้คิดต่อต้าน หรืออาจจะไม่ได้ใส่ใจโดยสิ้นเชิง” (มะดาริจญ์ อัสสาลิกีน เล่ม 1 หน้า 366-367)

    ส่วนจำพวกอื่น ๆ ที่จะกล่าวต่อไปนี้นั้น อาจไม่ถึงขั้นปฏิเสธศรัทธา แต่ผู้ที่กระทำการดังกล่าวอาจเข้าข่ายเป็นผู้กระทำความผิด และมีลักษณะใกล้เคียงบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาและพวกมุนาฟิก ในการหันหลังให้กับการฟังเรื่องศาสนา

    ประเภทแรก คือ ผู้ที่หันหลังไม่ใส่ใจที่จะรับฟังคำตักเตือน การบรรยายศาสนธรรม คุฏบะฮฺ หรือช่องทางความรู้อื่น ๆ โดยที่คิดว่าการที่เขาไม่รับฟัง ไม่รับรู้นั้น จะเป็นข้อผ่อนปรนให้เขาไม่มีความผิด ความคิดเช่นนี้ถือเป็นความโง่เขลาซ้ำซ้อน เพราะการหันหลังไม่ยอมรับฟังนั้น เลวร้ายยิ่งกว่าการรับฟังแต่บกพร่องในด้านปฏิบัติเสียอีก

    ดังปรากฏในหะดีษซึ่งรายงานโดย อบูวากิด อัลหาริษ บิน เอาฟฺ เล่าว่า ในขณะที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กำลังนั่งอยู่ในมัสยิดพร้อม ๆ กับคนอื่นนั้น ได้มีชายสามคนเดินเข้ามา แล้วสองคนก็เดินเข้ามายังท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ส่วนอีกคนหนึ่งได้เดินออกไป สองคนนั้นหยุดตรงหน้าท่านเราะสูล และได้กล่าวสลามแก่ท่าน โดยคนหนึ่งเห็นว่ามีที่ว่างอยู่ในวงล้อมจึงนั่งลง ส่วนอีกคนหนึ่งนั่งลงทางด้านหลัง ในขณะที่อีกคนได้หันหลังจากไป ครั้นเมื่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เสร็จสิ้นจากภารกิจ ท่านก็ได้กล่าวว่า

    « أَلَا أُخْبِرُكُمْ عَنْ النَّفَرِ الثَّلَاثَةِ ؟ أَمَّا أَحَدُهُمْ فَأَوَى إِلَى اللَّهِ فَآوَاهُ اللهُ، وَأَمَّا الْآخَرُ فَاسْتَحْيَا فَاسْتَحْيَا اللَّهُ مِنْهُ، وَأَمَّا الْآخَرُ فَأَعْرَضَ فَأَعْرَضَ اللَّهُ عَنْهُ » [رواه البخاري برقم 64ومسلم برقم 2176]

    “ฉันจะบอกพวกท่านเกี่ยวกับชายสามคนนี้เอาไหม? คนหนึ่งได้เข้าหาอัลลอฮฺ อัลลอฮฺก็จะทรงโอบอ้อมคุ้มครองเขา อีกคนหนึ่ง มีความเขินอาย พระองค์ก็จะทรงอายต่อเขาเช่นกัน ส่วนอีกคนหนึ่งนั้น เขาได้หันหลังจากไป พระองค์ก็จะทรงเพิกเฉยต่อเขา” (อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 64 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 2176)

    ประเภทที่สอง คือ ผู้ที่ปฏิเสธการรับฟัง เพราะเข้าใจว่าสิ่งที่เขารู้นั้นมีมากจนเพียงพอแล้ว คนที่มีลักษณะเช่นนี้ช่างน่าสงสารยิ่งนัก เพราะในความเป็นจริงแล้วเขาไม่มีความรู้ใด ๆ เลย เป็นเพียงความหยิ่งผยองทระนง พวกเขาไม่รู้หรือว่า บรรดาอุละมาอ์สลัฟที่มีความรู้มากมายนั้น แม้แต่ในช่วงเวลาสุดท้ายก่อนเสียชีวิต พวกท่านยังหวังที่จะได้รับฟังหะดีษสักบทหนึ่ง เพื่อจะได้ศึกษาทำความเข้าใจและปฏิบัติตาม ก่อนจะกลับไปพบอัลลอฮฺ ตะอาลา

    ประเภทที่สาม คือ ผู้ที่หันหลังไม่ยอมรับฟังเพราะขาดความเข้าใจในความสำคัญของการเรียนรู้ศาสนา ทั้งนี้ ความรู้ศาสนานั้น เปรียบได้ดั่งอาหารของจิตใจ ท่านอิมามอะหฺมัด บิน ฮัมบัล เราะหิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่า “ความต้องการของมนุษย์ในการเรียนรู้ศาสนานั้น สำคัญกว่าความต้องการของพวกเขาในการกินและดื่มเสียอีก”

    อุกบะฮฺ บิน อามิรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ออกมายังพวกเรา ขณะที่พวกเราอยู่ที่อัศศุฟฟะฮฺ (ที่พักพิงของผู้ยากไร้ด้านหลังมัสยิดนบี) แล้วกล่าวว่า

    « أَيُّكُمْ يُحِبُّ أَنْ يَغْدُوَ كُلَّ يَوْمٍ إِلَى بُطْحَانَ، أَوْ إِلَى الْعَقِيقِ، فَيَأْتِيَ مِنْهُ بِنَاقَتَيْنِ كَوْمَاوَيْنِ فِي غَيْرِ إِثْمٍ، ولا قَطْعِ رَحِمٍ؟ »، فَقُلْنَا: يَا رَسُولَ اللهِ نُحِبُّ ذَلِكَ، قَالَ: «فلأن يَغْدُو أَحَدُكُمْ إِلَى الْمَسْجِدِ فَيَعْلَمُ، أَوْ يَقْرَأُ آيَتَيْنِ مِنْ كِتَابِ اللهِ عَزَّ وَجَلَّ، خَيْرٌ لَهُ مِنْ نَاقَتَيْنِ، وَثَلاثٌ خَيْرٌ لَهُ مِنْ ثَلَاثٍ، وَأَرْبَعٌ خَيْرٌ لَهُ مِنْ أَرْبَعٍ، وَمِنْ أَعْدَادِهِنَّ مِنَ الإبل » [رواه مسلم برقم 803]

    “มีผู้ใดในหมู่พวกท่านชอบที่จะออกไปยังบุฏฮาน หรืออัลอะกีก (ทุ่งแถบชานเมืองมะดีนะฮฺ) ทุก ๆ วัน แล้วกลับมาพร้อมกับบรรดาอูฐที่มีโหนกสูง (ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินมีค่าของชาวอาหรับ) โดยที่ไม่ได้ทำผิด หรือตัดขาดกับเครือญาติไหม?” พวกเรากล่าวว่า “โอ้ท่านเราะสูลุลอฮฺ พวกเราทุกคนต้องการเช่นนั้น” ท่านกล่าวว่า “แท้จริงการที่พวกท่านออกไปยังมัสยิด แล้วศึกษาเรียนรู้หรืออ่านอัลกุรอานสักสองอายะฮฺนั้น ดียิ่งกว่าการได้อูฐสองตัวมาครอบครองเสียอีก และสามอายะฮฺก็ดีกว่าอูฐสามตัว สี่อายะฮฺก็ดีกว่าอูฐสี่ตัว และอื่นจากจำนวนนี้ ก็ย่อมดีกว่าอูฐจำนวนนั้น ๆ” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 803)

    อบูดัรดาอ์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    « مَنْ سَلَكَ طَرِيقًا يَطْلُبُ فِيهِ عِلْمًا سَلَكَ اللَّهُ بِهِ طَرِيقًا إلى الْجَنَّةِ، وَإِنَّ الْمَلَائِكَةَ لَتَضَعُ أَجْنِحَتَهَا رِضًا لِطَالِبِ الْعِلْمِ، وَإِنَّه لَيَسْتَغْفِرُ للْعَالِمِ مَنْ فِي السَّمَوَاتِ وَالْأَرْضِ حتى الْحِيتَانُ فِي الْمَاءِ، وَفَضْلَ الْعَالِمِ عَلَى الْعَابِدِ كَفَضْلِ الْقَمَرِ عَلَى سَائِرِ الْكَوَاكِبِ، إِنَّ الْعُلَمَاءَ هم وَرَثَةُ الْأَنْبِيَاءِ، لَمْ يرثُوا دِينَارًا وَلَا دِرْهَمًا، وَإنما ورثُوا الْعِلْمَ، فَمَنْ أَخَذَهُ أَخَذَ بِحَظٍّ وَافِرٍ » [رواه أحمد برقم 21714]

    “ผู้ใดที่แสวงหาหนทางเพื่อให้ได้รับความรู้ อัลลอฮฺก็จะนำเขาไปสู่หนทางของสวนสวรรค์ และมลาอิกะฮฺจะกางปีกออกเพื่อแสดงความความยินดีต่อผู้แสวงหาวิชาความรู้ และสำหรับผู้รู้นั้นจะมีผู้ขออภัยโทษให้แก่เขาทั้งสิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้า และที่อยู่ในแผ่นดิน แม้กระทั่งบรรดาฝูงปลาในท้องทะเล แท้จริง ความประเสริฐของผู้ที่มีความรู้เหนือผู้ที่เคารพภักดีเพียงอย่างเดียวนั้น เปรียบเสมือนดวงจันทร์ที่มีความโดดเด่นเหนือบรรดาหมู่ดวงดาวทั้งหลาย และบรรดาผู้ที่มีความรู้นั้นเป็นทายาทของบรรดานบี โดยพวกเขามิได้รับมรดกเป็นดีนารฺหรือดิรฮัม (ทรัพย์สมบัติ) แต่ทว่าพวกเขาได้รับมรดกเป็นวิชาความรู้ ดังนั้น ผู้ใดที่ได้ครอบครองมันไว้ ถือว่าเขาได้ครอบครองส่วนที่ดีเลิศมากมายแล้ว” (อิหม่ามอะหฺมัด หะดีษเลขที่ 21714)

    والحمد لله رب العالمين،

    وصلى الله وسلم على نبينا محمد، وعلى آله وصحبه أجمعين.



    معلومات المادة باللغة العربية