×

การทำดีต่อบิดามารดา (ไทย)

สร้างโดย: รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลการีม

Description

บิดามารดานั้นมีสิทธิ์อันยิ่งใหญ่ต่อคนเรา อัลลอฮฺได้ทรงกล่าวไว้คู่กันกับสิทธิของอัลลอฮฺอันเป็นมูลเหตุให้อัลลอฮฺทรงสร้างญินและมนุษย์ขึ้นมา นั่นก็คือ การทำอิบาดะฮฺต่อพระองค์ และทรงสั่งใช้ให้ประพฤติดีและทำดีต่อท่านทั้งสอง นั่นก็เพราะบิดามารดา ต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างยิ่ง –โดยเฉพาะมารดา- ในการอบรมเลี้ยงดูและเอาใจใส่ลูกๆ เป็นบทความจากหนังสืออัด-ดุรูส อัล-เยามียะฮฺ มิน อัส-สุนัน วะ อัล-อะหกาม อัช-ชัรอียะฮฺ ของ ดร.รอชิด อัล-อับดุลกะรีม

Download Book

    การทำดีต่อบิดามารดา

    بر الوالدين

    < تايلاندية >

    ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

    د. راشد بن حسين العبد الكريم

    —™

    ผู้แปล: สะอัด วารีย์

    ผู้ตรวจทาน: ฟัยซอล อับดุลฮาดี

    ترجمة: سعد واري

    مراجعة: فيصل عبدالهادي

    การทำดีต่อบิดามารดา

    อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า

    ﴿ ۞وَقَضَىٰ رَبُّكَ أَلَّا تَعۡبُدُوٓاْ إِلَّآ إِيَّاهُ وَبِٱلۡوَٰلِدَيۡنِ إِحۡسَٰنًاۚ إِمَّا يَبۡلُغَنَّ عِندَكَ ٱلۡكِبَرَ أَحَدُهُمَآ أَوۡ كِلَاهُمَا فَلَا تَقُل لَّهُمَآ أُفّٖ وَلَا تَنۡهَرۡهُمَا وَقُل لَّهُمَا قَوۡلٗا كَرِيمٗا ٢٣ وَٱخۡفِضۡ لَهُمَا جَنَاحَ ٱلذُّلِّ مِنَ ٱلرَّحۡمَةِ وَقُل رَّبِّ ٱرۡحَمۡهُمَا كَمَا رَبَّيَانِي صَغِيرٗا ٢٤ ﴾ [الإسراء: ٢٣، ٢٤]

    "และพระเจ้าของเจ้าบัญชาว่า พวกเจ้าอย่าเคารพภักดีผู้ใดนอกจากพระองค์เท่านั้นและจงทำดีต่อบิดามารดา เมื่อผู้ใดในทั้งสองหรือทั้งสองบรรลุสู่วัยชราอยู่กับเจ้า ดังนั้นอย่ากล่าวแก่ทั้งสองว่า อุฟ ! และอย่าขู่เข็ญท่านทั้งสอง และจงพูดแก่ท่านทั้งสองด้วยถ้อยคำที่อ่อนโยน และจงนอบน้อมแก่ท่านทั้งสอง ซึ่งการถ่อมตนเนื่องจากความเมตตา และจงกล่าวว่า “ข้าแต่พระเจ้าของฉัน ทรงโปรดเมตตาแก่ท่านทั้งสองเช่นที่ทั้งสองได้เลี้ยงดูฉันเมื่อเยาว์วัย”" {อัล-อิสรออ์: 23-24}

    และทรงอีกตรัสว่า

    ﴿ وَوَصَّيۡنَا ٱلۡإِنسَٰنَ بِوَٰلِدَيۡهِ حُسۡنٗاۖ ﴾ [العنكبوت: ٩]

    "และเราได้สั่งเสียงมนุษย์ให้ทำดีต่อบิดามารดาของเขา" {อัล-อันกะบูต: 9}

    ท่านอิบนุมัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    « سَأَلْتُ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: أَيُّ الْأَعْمَالِ أَحَبُّ إِلَى اللهِ؟ قَالَ: «الصَّلَاةُ عَلَى وَقْتِهَا» قُلْتُ: ثُمَّ أَيٌّ؟ قَالَ: «ثُمَّ بِرُّ الْوَالِدَيْنِ» قُلْتُ: ثُمَّ أَيٌّ؟ قَالَ: «ثُمَّ الْجِهَادُ فِي سَبِيلِ اللهِ» » [متفق عليه]

    “ฉันได้ถามท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัมว่า “อะมัลใดที่อัลลอฮฺทรงรักมากที่สุด” ท่านตอบว่า “คือการละหมาดตามเวลาของมัน” ฉันก็ถามอีกว่า “อะไรอีกหลังจากนั้น” ท่านตอบว่า “หลังจากนั้นคือการทำดีต่อบุพการีทั้งสอง” ฉันก็ถามอีกว่า “อะไรอีกหลังจากนั้น” ท่านก็ตอบว่า “หลังจากนั้นคือการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ”” บันทึกโดยอัลบุคอรียฺและมุสลิม

    และท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    « جَاءَ رَجُلٌ إِلَى رَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَقَالَ: مَنْ أَحَقُّ النَّاسِ بِحُسْنِ صَحَابَتِي؟ قَالَ: «أُمُّكَ» قَالَ: ثُمَّ مَنْ؟ قَالَ: «ثُمَّ أُمُّكَ» قَالَ: " ثُمَّ مَنْ؟ قَالَ: «ثُمَّ أُمُّكَ» قَالَ: ثُمَّ مَنْ؟ قَالَ: «ثُمَّ أَبُوكَ» » [متفق عليه]

    “ชายคนหนึ่งมาหาท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม แล้วถามว่า “ผู้ใดคือคนที่มีสิทธิ์มากที่สุดที่ฉันจะต้องคบหาอย่างดี” ท่านตอบว่า “คือแม่ของท่าน” เขาถามต่ออีกว่า “ใครอีกหลังจากนั้น?” ท่านก็ตอบว่า “คือแม่ของท่าน” เขาก็ถามอีกว่า “ใครอีกหลังจากนั้น?” ท่านก็ตอบว่า “คือแม่ของท่าน” เขาก็ถามอีกว่า “ใครอีกหลังจากนั้น?” ท่านก็ตอบว่า “หลังจากนั้นก็คือพ่อของท่าน” บันทึกโดยอัลบุคอรียฺและมุสลิม

    และท่านอับดุลลอฮฺ บินอัมรฺ บินอัลอาศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

    « جَاءَ رَجُلٌ إِلَى النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، يَسْتَأْذِنُهُ فِي الْجِهَادِ فَقَالَ: «أَحَيٌّ وَالِدَاكَ؟» قَالَ: نَعَمْ، قَالَ: «فَفِيهِمَا فَجَاهِدْ» » [متفق عليه]

    “ฉันคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม เพื่อมาเขาอนุญาตท่านในการทำญิฮาด แล้วท่านก็ถามว่า “พ่อแม่ของท่านยังมีชีวิตอยู่ไหม?” เขาตอบว่า “ยังมีอยู่” ท่านก็ตอบว่า “เช่นนั้น กับท่านทั้งสองนี้แหล่ะ ที่ท่านจงทำญิฮาด(เพียรพยายามทำดี) บันทึกโดยอัลบุคอรียฺและมุสลิม

    และท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    « «رَغِمَ أَنْفُ، ثُمَّ رَغِمَ أَنْفُ، ثُمَّ رَغِمَ أَنْفُ مَنْ أَدْرَكَ أَبَوَيْهِ عِنْدَ الْكِبَرِ، أَحَدَهُمَا أَوْ كِلَيْهِمَا فَلَمْ يُغْفَر لَهُ» » [أخرجه مسلم]

    “ช่างน่าอัปยศ แล้วก็ช่างอัปยศ แล้วก็ช่างอัปยศ ผู้ที่ทันได้อยู่กับพ่อแม่คนหนึ่งคนใดหรือทั้งสองของเขาในตอนที่ท่านชรา แต่แล้วเขากลับไม่ได้รับการอภัยโทษ ” บันทึกโดยมุสลิม

    คำอธิบาย

    บิดามารดานั้นมีสิทธิ์อันยิ่งใหญ่ต่อคนเรา อัลลอฮฺได้ทรงกล่าวไว้คู่กันกับสิทธิของอัลลอฮฺอันเป็นมูลเหตุให้อัลลอฮฺทรงสร้างญินและมนุษย์ขึ้นมา นั่นก็คือ การทำอิบาดะฮฺต่อพระองค์ และทรงสั่งใช้ให้ประพฤติดีและทำดีต่อท่านทั้งสอง นั่นก็เพราะบิดามารดา ต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างยิ่ง –โดยเฉพาะมารดา- ในการอบรมเลี้ยงดูและเอาใจใส่ลูกๆ

    ประโยชน์ที่ได้รับ

    · ต้องทำดีต่อบิดามารดา และห้ามเนรคุณหรือทำร้ายท่านทั้งสอง แม้จะด้วยกับคำพูดที่เล็กน้อยที่สุดก็ตาม

    · การทำดีต่อท่านทั้งสองนั้นในหนึ่งในงานที่อัลลอฮฺทรงรักมากที่สุด และเป็นสาเหตุให้ได้รับการอภัยบาป และเข้าสวรรค์

    · สิทธิของมารดาที่เราต้องปฏิบัติดีด้วยนั้น มีมากกว่าและต้องมาก่อนสิทธิของบิดา ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะความอ่อนแอ และความจำเป็นของนาง และความหนักอึ้งที่นางต้องเจอในการเลี้ยงลูก

    · หนึ่งในสิทธิของท่านทั้งสองคือ เราต้องดุอาอ์ให้ได้ทั้งสองได้รับความเมตตา

    · ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ดุอาอ์ให้แก่ผู้ที่ไม่ทำดีต่อบิดามารดาในยามท่านชราให้ได้รับความตกต่ำ

    والحمد لله رب العالمين، وصلى الله وسلم على نبينا محمد، وعلى آله وصحبه أجمعين.

    معلومات المادة باللغة العربية