الوصف
فتوى مترجمة إلى اللغة التايلاندية، عبارة عن سؤال أجاب عن فضيلة الشيخ محمد بن صالح العثيمين - رحمه الله -، ونصه : " ما المقصود بالصيام لغة وشرعا ؟ ".
ความหมายของการถือศีลอดทางภาษาและวิชาการ
المقصود بالصيام لغة وشرعا
< تايلانديไทย – Thai - >
มุฮัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน
محمد بن صالح العثيمين
ผู้แปล: อัสรัน นิยมเดชา
ผู้ตรวจทาน: ซุฟอัม อุษมาน
ترجمة: عصران نيومديشا
مراجعة: صافي عثمان
ความหมายของการถือศีลอดทางภาษาและวิชาการ
คำถามที่ 127:
ท่านชัยคฺครับ อยากทราบว่าอะไรคือความหมายของศิยาม (การถือศีลอด) ในเชิงภาษาและตามหลักวิชาการ ?
คำตอบ:
คำว่า 'ศิยาม' (الصيام) ในทางภาษานั้นหมายถึงการงดเว้น ซึ่งความหมายดังกล่าวนี้ปรากฏในดำรัสของอัลลอฮฺตะอาลาที่ว่า
﴿ فَإِمَّا تَرَيِنَّ مِنَ ٱلۡبَشَرِ أَحَدٗا فَقُولِيٓ إِنِّي نَذَرۡتُ لِلرَّحۡمَٰنِ صَوۡمٗا فَلَنۡ أُكَلِّمَ ٱلۡيَوۡمَ إِنسِيّٗا ٢٦ ﴾ [مريم: ٢٦]
“หากเธอเห็นมนุษย์คนใดก็จงกล่าวว่า ฉันได้บนการสงบนิ่งไว้ต่อพระผู้ทรงกรุณาปรานี ฉันจะไม่พูดกับผู้ใดเลยวันนี้" (มัรยัม: 26)
กล่าวคือฉันได้บนไว้ว่าจะงดเว้นจากการพูด โดยจะไม่เอ่ยปากสนทนากับผู้ใดเลยในวันนี้
และความหมายที่ปรากฏในบทกลอนที่ว่า
خَيلٌ صِيامٌ وَخَيلٌ غَيرُ صَائِمَة تحتَ العَجَاج وأُخرى تعلُكُ اللُّجُما
ม้ากลุ่มหนึ่งอยู่เฉยอีกกลุ่มอยู่ในสมรภูมิรบ ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งก็พร้อมออกศึก
ส่วนความหมายของศิยามตามหลักวิชาการนั้นหมายถึงการแสดงออกถึงการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ ด้วยการงดเว้นสิ่งที่ทำให้การถือศีลอดใช้ไม่ได้ โดยมีกำหนดเวลาตั้งแต่แสงอรุณระยะที่สองปรากฏขึ้นกระทั่งตะวันลับขอบฟ้า