Description
ท่านชัยคฺครับ อะไรคือหุก่มการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน ? ฟัตวาตอบโดยชัยคฺ มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน จากหนังสือ “ฟิกฮฺ อัล-อิบาดาต”
หุก่มการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน
حكم صيام رمضان
< تايلانديไทย – Thai - >
มุฮัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน
محمد بن صالح العثيمين
ผู้แปล: อัสรัน นิยมเดชา
ผู้ตรวจทาน: ซุฟอัม อุษมาน
ترجمة: عصران نيومديشا
مراجعة: صافي عثمان
หุก่มการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน
คำถามที่ 129:
ท่านชัยคฺครับ อะไรคือหุก่มการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน ?
คำตอบ:
การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนเป็นฟัรฎูวาญิบ ดังปรากฏหลักฐานจากอัลกุรอาน สุนนะฮฺ และความเห็นเป็นเอกฉันท์ของมุสลิมทั้งปวง (อิจญ์มาอฺ)
อัลลอฮฺตะอาลา ตรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ كُتِبَ عَلَيۡكُمُ ٱلصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى ٱلَّذِينَ مِن قَبۡلِكُمۡ لَعَلَّكُمۡ تَتَّقُونَ ١٨٣ ﴾
“ผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดนั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้า เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้คนก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้ว เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง"
จนถึงดำรัสที่ว่า
﴿ شَهۡرُ رَمَضَانَ ٱلَّذِيٓ أُنزِلَ فِيهِ ٱلۡقُرۡءَانُ هُدٗى لِّلنَّاسِ وَبَيِّنَٰتٖ مِّنَ ٱلۡهُدَىٰ وَٱلۡفُرۡقَانِۚ فَمَن شَهِدَ مِنكُمُ ٱلشَّهۡرَ فَلۡيَصُمۡهُۖ ﴾ [البقرة: ١٨٣-١٨٥]
“เดือนเราะมะฎอนนั้นเป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้นผู้ใดในหมู่สูเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น" (อัลบะเกาะเราะฮฺ: 183-185)
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« بُنِيَ الْإِسْلَامُ عَلَى خَمْسٍ، شَهَادة أَن لا إِلهَ إِلا الله وَأَنَّ محمدا رَسُولُ اللهِ، وَإِقَامِ الصَّلَاةِ، وَإِيتَاءِ الزَّكَاةِ، وَصَومِ رَمَضَانَ، وَحَجِّ بَيْتِ اللهِ الحَرَامِ »
“อิสลามนั้นวางอยู่บนพื้นฐานหลักห้าประการ คือการกล่าวปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดควรแก่การเคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺ การปฏิญาณว่ามุหัมมัดคือเราะสูลของอัลลอฮฺ การดำรงซึ่งการละหมาด การจ่ายซะกาต การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน และการทำหัจญ์ที่บัยตุลลอฮฺ" (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 8 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 16)
และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« إِذَا رَأَيْتُمُوهُ فَصُوْمُوا »
“เมื่อพวกท่านเห็นมัน (จันทร์เสี้ยว) ก็จงถือศีลอด" (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หะดีษเลขที่ 1900 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 1080)
ทั้งนี้มุสลิมทั้งปวงเห็นตรงกันเป็นเอกฉันท์ว่าการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนนั้นเป็นฟัรฎูวาญิบและเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลัก (รุก่น) ของศาสนาอิสลาม ดังนั้นผู้ใดปฏิเสธบทบัญญัติดังกล่าวนี้ก็ถือว่าเป็นการปฏิเสธศรัทธา เว้นแต่ว่าเขาจะไม่มีความรู้เกี่ยวกับบทบัญญัติศาสนาเพราะใช้ชีวิตอยู่ในสถานที่ห่างไกลกันดาร ในกรณีเช่นนี้ก็ถือเป็นข้อยกเว้น แต่ถ้าได้รับการอธิบายแจกแจงจนกระจ่างแล้วยังยืนกรานไม่รับหลักการข้อนี้ ก็จะถือเป็นการปฏิเสธศรัทธา
ส่วนผู้ที่ไม่ถือศีลอดเพราะความเกียจคร้านหรือไม่ให้ความสำคัญแต่ยังยอมรับว่าการถือศีลอดเป็นฟัรฎูวาญิบนั้น กรณีเช่นนี้ผู้รู้บางท่านเห็นว่าเป็นการปฏิเสธศรัทธาและตกมุรตัดออกจากศาสนา แต่ตามทัศนะที่ถูกต้องนั้นไม่ถือว่าเขาเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาหรือตกมุรตัด แต่ถือเป็นฟาสิก (คนเลว) ที่มีสถานะหมิ่นเหม่และน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง