×

مخالفات يقع فيها بعض الحجاج (تايلندي)

إعداد: อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

الوصف

مقالة مترجمة إلى اللغة التايلندية مقتبسة من كتاب «الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة» للشيخ الدكتور أمين بن عبدالله الشقاوي - حفظه الله -، ذكر بعض المخالفات التي قد يقع فيها بعض الحجاج مثل : إخراج الصلاة عن وقتها، واستقبال قبر النبي صلّى الله عليه وسلّم عند الدعاء، والتصوير، وتجاوز الميقات عند الإحرام، والإلزام بأدعية خاصة في الطواف، والبقاء خارج حدود عرفة حتى غروب الشمس، وعدم التأكد من حدود مزدلفة، وتوكيل الغير في رمي الجمرات، والتساهل في تقصير الشعر، وحلق اللحية عند التحلل.

تنزيل الكتاب

    ข้อผิดพลาดบางประการของผู้ทำหัจญ์

    ] ไทย – Thai – تايلاندي [

    ดร.อะมีน บิน อับดุลลอฮฺ อัช-ชะกอวีย์

    แปลโดย : อิสมาอีล ซุลก็อรนัยน์

    ตรวจทานโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ

    ที่มา : หนังสือ อัด-ดุรอร อัล-มุนตะกอฮฺ มิน อัล-กะลีมาต อัล-
    มุลกอฮฺ

    2014 - 1435

    ﴿مخالفات يقع فيها بعض الحجاج﴾

    « باللغة التايلاندية »

    د. أمين بن عبد الله الشقاوي

    ترجمة: إسماعيل ذوالقرنين

    مراجعة: يوسف أبوبكر

    المصدر: كتاب الدرر المنتقاة من الكلمات الملقاة

    2014 - 1435

    ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

    เรื่องที่ 76

    ข้อผิดพลาดบางประการของผู้ทำหัจญ์

    การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ การสดุดีและความศานติจงมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรได้รับการภักดีนอกจากอัลลอฮฺเพียงผู้เดียว โดยไม่มีภาคีหุ้นส่วนอันใดสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวของอัลลอฮฺและเป็นศาสนทูตของพระองค์...

    นับเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งแก่มุสลิมจะต้องพึงพากเพียรศึกษาให้การปฏิบัติศาสนกิจหัจญ์ของเขาตรงกับการปฏิบัติศาสนกิจหัจญ์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ดังหะดีษบันทึกโดยมุสลิม จากญาบิร เราะฎิยัลลอฮุ อันฮู ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวไว้

    «لِتَأْخُذُوا مَنَاسِكَكُمْ ، فَإِنِّي لا أَدْرِي لَعَلِّي لا أَحُجُّ بَعْدَ حَجَّتِي هَذِهِ» [رواه مسلم برقم 1297]

    ความว่า “เพื่อที่พวกเขาจะยึดเอารูปแบบการปฏิบัติศาสนกิจของพวกท่าน เพราะแท้จริงแล้วฉันเองก็ไม่รู้ว่าฉันอาจจะไม่ได้ทำหัจญ์หลังจากการทำหัจญ์ของฉันครั้งนี้” (บันทึกโดยมุสลิมเล่ม 2 หน้า 943 เลขที่ 1297)

    และนั่นก็ยังมีการฝ่าฝืนบทบัญญัติบางประการซึ่งผู้ประกอบศาสนกิจหัจญ์ยังคงยึดถือปฏิบัติอยู่ ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าใคร่ที่จะแนะนำสิ่งเหล่านั้น เพื่อที่จะได้ปฏิบัติตามหน้าที่ ตามสิทธิ์ที่ต้องมอบแด่อัลลอฮฺ และเนื่องจากต้องดำรงไว้ซึ่งหน้าที่ๆ จำเป็นในเรื่องของการตักเตือน

    ประการที่หนึ่ง : การละหมาดนอกเวลาที่ถูกกำหนดเอาไว้ อิมาม อิบนุ อัน-นะหาส ได้กล่าวระบุสิ่งผิดพลาดบางประการของผู้ประกอบศาสนกิจหัจญ์และหนึ่งในนั้นคือเรื่องที่ร้ายแรงที่สุดและมันเป็นภัยพิบัติอย่างมหันต์ในศาสนา และมีอย่างแพร่หลาย คือ การที่พวกเขาส่วนใหญ่ละเลยในเรื่องการละหมาดในขณะประกอบศาสนกิจหัจญ์ พวกเขาส่วนมากไม่ได้ละทิ้งละหมาดแต่จะปล่อยเวลาให้หมดไปแล้วค่อยรวมละหมาดโดยไม่มีเหตุจำเป็นตามที่บทบัญญัติได้กำหนดเอาไว้ การกระทำดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ศาสนาห้าม โดยมีความเห็นตรงกันของบรรดาปวงปราชญ์แห่งอิสลาม. (ตันบีฮุลฆอฟิลีน หน้า 284)

    อัลลอฮฺตรัสว่า

    ﴿إِنَّ ٱلصَّلَوٰةَ كَانَتۡ عَلَى ٱلۡمُؤۡمِنِينَ كِتَٰبٗا مَّوۡقُوتٗا﴾ [النساء : 103]

    ความหมาย “แท้จริงการละหมาดนั้นเป็นบัญญัติที่ถูกกำหนดเวลา ไว้แก่บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย”(สูเราะฮฺ อัน-นิสาอ์ อายะฮ์ที่ 103)

    ประการที่สอง : สิ่งที่ผู้ประกอบศาสนกิจหัจญ์บางท่านได้ปฏิบัติกัน คือการเยี่ยมกุโบร์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทั้งก่อนและหลังหัจญ์ โดยการหันหน้าไปทางกุโบร์ของท่าน ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และการขอดุอาอ์ต่อท่านให้ช่วยปลดเปลื้องทุกข์ภัยและสิ่งยังประโยชน์ การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการตั้งภาคีที่ขัดต่อหลักการให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺ และท่านรอสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เองก็ไม่พึงพอใจในเรื่องนี้ มิหนำซ้ำท่านเองก็ได้ห้ามและเตือนให้ระวังจากเรื่องดังกล่าว อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า

    ﴿وَأَنَّ ٱلۡمَسَٰجِدَ لِلَّهِ فَلَا تَدۡعُواْ مَعَ ٱللَّهِ أَحَدٗا﴾ [الجن : 18]

    ความหมาย “และแท้จริงบรรดามัสยิดนั้นเป็นของอัลลอฮฺ ดังนั้น พวกเจ้าอย่าวิงวอนขอผู้ใดเคียงคู่กับอัลลอฮฺ” (สูเราะฮฺญิน อายะฮฺที่ 18)

    และพระองค์อัลลอฮฺตะอาลา ได้ตรัสว่า

    ﴿وَلَقَدۡ أُوحِيَ إِلَيۡكَ وَإِلَى ٱلَّذِينَ مِن قَبۡلِكَ لَئِنۡ أَشۡرَكۡتَ لَيَحۡبَطَنَّ عَمَلُكَ وَلَتَكُونَنَّ مِنَ ٱلۡخَٰسِرِينَ﴾ [الزمر : 65]

    ความหมาย “และโดยแน่นอน ได้มีวะฮียฺมายังเจ้า (มุหัมมัด) และมายังบรรดานบีก่อนหน้าเจ้า หากเจ้าตั้งภาคี (กับอัลลอฮฺ) แน่นอนการงานของเจ้าก็จะไร้ผล และแน่นอนเจ้าจะอยู่ในกลุ่มของบรรดาผู้ขาดทุน” (สูเราะฮฺอัซ-ซุมัร อายะฮฺที่ 65)

    และท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :

    «لَعْنَةُ اللهِ عَلَى الْيَهُودِ والنَّصَارَى اتَّخَذُوْا قُبُوْرَ أَنْبِيَائِهِمْ مَسَاجِدَ» [رواه مسلم برقم 53]

    ความหมาย “การสาปแช่งของอัลลอฮฺประสบกับชาวยิวและชาวคริสต์ โดยที่พวกเขายึดเอาสุสานของบรรดานบีของพวกเขาเป็นสถานที่เคารพสักการะ” ( ส่วนหนึ่งจากหะดีษในเศาะฮีหฺมุสลิม หน้า 214 หะดีษเลขที่ 53 )

    และดังที่มีรายงานว่า

    قال النبي صلى الله عليه وسلم لرجل قال له ما شاء الله وشئت : «أَجَعَلْتَنِيْ واللهَ عَدْلًا، بَلْ مَا شَاءَ اللهُ وَحْدَهُ» [مسند الإمام أحمد 1/214]

    ความหมาย "ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวต่อชายคนหนึ่งที่กล่าวกับท่านว่า นี่คือสิ่งที่อัลลอฮฺและท่านทรงประสงค์ ท่านจะทำให้ฉันกับอัลลอฮฺเท่าเทียมกันกระนั้นหรือ? แต่จงกล่าวว่า นี่เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺทรงประสงค์แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น” ( มุสนัดอิมามอะหฺมัด เล่มที่ 1 หน้า 214 )

    ประการที่สาม : การถ่ายรูป เป็นอีกประการหนึ่งจากสิ่งที่ถูกต้องห้าม ที่ผู้ประกอบศาสนกิจหัจญ์จำนวนมากไม่ทราบถึงว่าเป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม) และแท้จริงท่านท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามการถ่ายรูป ดังมีปรากฏในหะดีษหลายบทด้วยกัน และได้สาปแช่งต่อผู้ที่กระทำ จากหะดีษอิบนุมัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮู ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «إِنَّ أَشَدَّ النَّاسِ عَذَابًا يَوْمَ القِيَامَةِ الْمُصَوِّرُوْنَ» [رواه مسلم برقم 2987]

    ความว่า “แท้จริงมนุษย์ที่ได้รับโทษทันต์ร้ายแรงที่สุดในวันกิยามะฮฺคือบรรดาผู้ถ่ายรูป” ( เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ เล่ม 4 หน้า 191 หะดีษเลขที่ 6499 , เศาะฮีหฺมุสลิม เล่มที่ 4 หน้า 2289 หะดีษเลขที่ 2987 )

    และจากหะดีษญุนดุบ แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «مَنْ سَمَّعَ سَمَّعَ اللَّهُ بِهِ وَمَنْ يُرَائِي يُرَائِي اللَّهُ بِهِ» [رواه البخاري برقم 5950، ومسلم برقم 2109]

    ความว่า “ผู้ใดที่ทำเพื่อให้ผู้อื่นได้ยิน (อยากให้ผู้คนกล่าวขานยกย่อง) อัลลอฮฺก็จะเปิดเผยสิ่งที่ไม่ดีอันนั้นของเขาให้ผู้อื่นได้ยิน และผู้ใดที่ทำเพื่อให้ผู้อื่นเห็น (โอ้อวด) อัลลอฮฺก็จะเปิดเผย (สิ่งไม่ดีอันนั้นของเขาให้ผู้อื่นได้เห็น) (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ เล่มที่ 4 หน้า 81 หะดีษเลขที่ 5950 , เศาะฮีหฺ มุสลิม เล่มที่ 3 หน้า 1670 หะดีษเลขที่ 2109)

    นี่คือเรื่องที่หนึ่ง ส่วนเรื่องที่สองคือ มีผู้ประกอบศาสนกิจหัจญ์บางท่านเก็บถ่ายรูปของตัวเองขณะครองชุดอิหฺรอมหรือขณะยกมืออ่านดุอาอ์ หรืออื่นจากนั้นที่เป็นรูปในอริยาบถของการปฏิบัติศาสนกิจ เพื่อให้ครอบครัวและบรรดาเครือญาติมิตรได้ดูเมื่อกลับภูมิลำเนา และในบางครั้งก็ทำสิ่งนี้ไปด้วยกับการโอ้อวดอันเป็นสิ่งต้องห้าม มิหนำซ้ำเกรงว่าการกระทำดังกล่าวอาจเป็นโมฆะโดยที่เขาไม่รู้สึกตัว

    ประการที่สี่ : ผู้ที่ประสงค์จะประกอบศาสนกิจหัจญ์หรือพิธีอุมเราะฮฺ เขาต้องครองชุดอิหฺรอมตั้งแต่มีกอต (เขตพื้นที่ ตามที่บัญญัติอิสลามที่ได้กำหนดเอาไว้) สำหรับผู้ประสงค์ศาสนกิจหัจญ์และอุมเราะฮฺไม่อนุญาตให้เดินทางเลยเขตดังกล่าวโดยไม่ได้ครองชุดอิหฺรอม มีรายงานจากอัล-บุคอรีย์และมุสลิม จากอิบนุอับบาส เราะฎิยัลลอฮฺอันฮู ว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «هُنَّ لَهُنّ وَلِمَنْ أَتَى عَلَيْهِنَّ مِنْ غَيْرِهِنَّ، مِمَّنْ أَرَادَ الْحَجَّ أَوْ الْعُمْرَةَ» [رواه البخاري برقم 1524، ومسلم برقم 1181]

    ความว่า “เขตพื้นที่ที่ต้องครองอิหฺรอมเหล่านั้น สำหรับบรรดาชาวเมืองนั้นๆ และผู้ที่มาทางนั้นที่ไม่ใช่ชาวเมืองของเขตพื้นที่นั้น จากผู้ประสงค์ประกอบศาสนกิจหัจญ์และอุมเราะฮฺ” ( อัล-บุคอรีย์ เล่มที่ 1 หน้าที่ 471 หะดีษเลขที่ 1524 , มุสลิม เล่มที่ 2 หน้า 839 หะดีษเลขที่ 1181 )

    ส่วนผู้ที่เดินทางมาด้วยเครื่องบิน หรือมาทางเรือ ดังนั้นสิ่งที่ควรกระทำเป็นอันดับแรกคือการที่เขาต้องครองชุดอิหฺรอมขณะอยูใกล้เขตพื้นที่ดังกล่าวหรือก่อนถึงเพียงเล็กน้อย เผื่อกันความผิดพลาด และเขาต้องไม่รอจนกระทั่งถึงเมืองญิดดะฮฺ เนื่องจากการกระทำที่ว่านี้มันจะค้านต่อสิ่งที่บรรดาปวงปราชญ์ของเราได้ให้คำตอบชี้แจงเอาไว้แล้ว อาทิเช่น ชัยคฺอิบนุ บาซ และชัยคฺ อิบนุ อุษัยมีน –ขออัลลอฮฺได้โปรดเมตตาท่านทั้งสองและบรรดาปวงปราชญ์ท่านอื่นๆ

    ประการที่ห้า : แท้จริงบรรดาผู้ประกอบพิธีหัจญ์จำนวนมากที่ยึดปฏิบัติอย่างต่อเนื่องในบทขอพรเฉพาะ ขณะเดินเฏาะวาฟ (วนรอบอัลกะอฺบะฮฺ) อ่านบทขอพรดังกล่าวจากหนังสือคู่มือการประกอบศาสนกิจหัจญ์ และพวกเขาบางกลุ่มคอยฟังจากคนอ่านนำหนึ่งคน แล้วอ่านตามประสานเสียงพร้อมเพรียงกัน และบทขอพร อัซการส่วนใหญ่ ไม่ได้มีหลักฐานปรากฏจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และการขอพรลักษณะดังที่กล่าวมานั้น ถือว่าเป็นการอุตริกรรม (บิดอะฮฺ) ในเรื่องของศาสนาขึ้นมาใหม่

    มีหะดีษอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «مَنْ أَحْدَثَ فِي أَمْرِنَا هَذَا مَا لَيْسَ مِنْهُ فَهُوَ رَدٌّ» [رواه البخاري برقم 2697، ومسلم برقم 1718]

    ความหมาย “ผู้ใดที่ได้อุตริสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นโดยที่ไม่ได้มีอยู่ในแนวทางของเรา สิ่งนั้นย่อมถูกปฏิเสธ” ( อัล-บุคอรีย์ เล่ม 2 หน้า 267 หะดีษเลขที่ 2697 และมุสลิม เล่ม 3 หน้า 1343 หะดีษเลขที่ 1718 )

    และการกระทำดังกล่าวยังเป็นการส่งเสียงรบกวนต่อผู้ประกอบศาสนกิจหัจญ์คนอื่นๆ อีกด้วย

    ประการที่หก : ส่วนหนึ่งจากข้อผิดพลาดอันใหญ่หลวงซึ่งเกี่ยวข้องกับวันอะเราะฟะฮฺ มีผู้ประกอบพิธีหัจญ์บางท่านอยู่นอกเขตทุ่งอะเราะฟะฮฺจนกระทั่งอาทิตย์ลับขอบฟ้า จากนั้นมุ่งหน้าสู่มุซดะลิฟะฮฺ โดยไม่ได้พำนักอยู่ในเขตทุ่งอะเราะฟะฮฺ (ในช่วงเวลาที่ศาสนาได้บัญญัติไว้) สิ่งนี้คือความผิดพลาดอันใหญ่หลวง เพราะการพำนัก ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺ เป็นหลักการหนึ่งที่การประกอบศาสนกิจหัจญ์จะไม่ถูกต้องนอกจากจะต้องพำนักที่นี่ ดังนั้นใครที่ไม่ได้หยุดพำนักที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺในเวลาที่จำเป็นต้องวุกูฟ (พำนัก) จะไม่นับว่าเป็นการประกอบศาสนกิจหัจญ์

    มีหะดีษจากอับดุรเราะหฺมาน บิน ยะอมุร ว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «الحَجُّ عَرَفَةُ، مَنْ جَاءَ لَيلة جَمْعٍ قَبْلَ طُلُوْعِ الْفَجْرِ فَقَدْ أَدْرَكَ الْحَجَّ» [رواه الترمذي برقم 889]

    ความว่า “หัจญ์คืออะเราะฟะฮฺ ผู้ใดที่มาในตอนกลางคืน (ที่ต้องค้างคืน ณ มุซดะลิฟะฮฺ ) ก่อนรุ่งอรุณ แน่แท้เขาได้รับหัจญ์” (สุนันอัต-ติรมิซีย์ เล่ม 3 หน้า 237 หมายเลข 889)

    ประการที่เจ็ด : บัญญัติที่เกี่ยวข้องกับมุซดะลิฟะฮฺ ผู้ประกอบศาสนกิจหัจญ์บางส่วนไม่มั่นใจในอาณาเขตของมุซดะลิฟะฮฺว่าอยู่แค่ไหน และค้างแรมนอกเขต และบางส่วนออกจากอาณาเขตก่อนเวลาเที่ยงคืน และไม่ได้ค้างแรมที่นั่น และผู้ใดที่ไม่ค้างแรมที่นั่นโดยไม่มีเหตุจำเป็น แท้จริงเขาได้ละทิ้งส่วนหนึ่งจากสิ่งจำเป็น (วาญิบ) ของการประกอบศาสนกิจหัจญ์และจำเป็นที่เขาต้องพลีสัตว์ (แพะ แกะ อูฐ หรือวัว) พร้อมกับการเตาบะฮฺ(การสารภาพผิด) และผู้รู้บางท่านเห็นว่าการค้างคืนและการละหมาดศุบฮฺที่มุซดะลิฟะฮฺถือว่าเป็นประการหนึ่งของการประกอบศาสนกิจหัจญ์ เช่นเดียวกับการพำนักอยู่ในทุ่งอะเราะฟะฮฺ เพราะอัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า

    ﴿فَإِذَآ أَفَضۡتُم مِّنۡ عَرَفَٰتٖ فَٱذۡكُرُواْ ٱللَّهَ عِندَ ٱلۡمَشۡعَرِ ٱلۡحَرَامِۖ ﴾ [البقرة: ١٩٨]

    ความว่า “ครั้นเมื่อพวกเจ้าได้หลั่งไหลกันออกจากอะเราะฟะฮฺแล้ว ก็จงกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ ณ อัลมัชอะริลฮะรอม (มุซดะลิฟะฮฺ) (อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺ 198 )

    และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทำให้มุซดะลิฟะฮฺเท่ากันกับทุ่งอะเราะฟะฮฺ เมื่อครั้งที่ท่านได้กล่าวว่า

    «وَجَمْعٌ كُلُّهَا مَوْقِفٌ» [الترمذي برقم 885]

    ความว่า “และทุ่งมุซดะลิฟะฮฺทั้งหมดนั้นคือสถานที่หยุดพำนัก” (สุนัน อัต-ติรมิซีย์ หน้า 163 หะดีษเลขที่ 885 – ดู อัช-ชัรหุล มุมติอฺ โดยเชค อิบนุ อุษัยมีน เราะหิมะฮุลลอฮฺ)

    และมีบันทึกโดยของอบูดาวุด จากหะดีษอุรวะฮฺ อัฏ-ฏออีย์ แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

    «مَنْ شَهِدَ صَلَاتَنَا هذِهِ ، وَوَقَفَ مَعَنَا حَتَّى نَدْفَعَ ، وَقَدَ وَقَفَ بِعَرَفَة قَبَلَ ذلِكَ لَيْلاً أَوْ نَهَاراً فَقَدْ أَتَمَّ حَجَّهُ ، وَقَضَى تَفَثَهُ» [الترمذي برقم 891]

    ความว่า “ผู้ใดได้ทำละหมาดนี้ของเรา ( ละหมาดศุบฮฺที่มุซดะลิฟะฮฺคืนวันที่เชือดสัตว์ ) และอยู่กับเราจนกระทั่งจะออกไป (สู่มินา) โดยที่ก่อนหน้านั้นเขาก็ได้พำนักอยู่ที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺทั้งกลางคืนและกลางวัน แท้จริงเขาได้ทำให้หัจญ์ของเขาสมบูรณ์แล้ว และเขาก็ชำระจากฝุ่นที่เปรอะเปื้อน (เมื่อเสร็จจากพิธีหัจญ์เป็นที่อนุญาตให้ตัดเล็บและชำระร่างกายตามปกติได้) ( สุนัน อัต-ติรมีซีย์ เล่ม 3 หน้า 239 หะดีษเลขที่ 891 )

    ประการที่แปด : มีผู้ประกอบศาสนกิจหัจญ์บางคนมอบหมายให้ผู้อื่นขว้างเสาหินแทนตนเอง ทั้งที่เขามีความสามารถทำได้ เพื่อให้รอดพ้นจากความหนาแน่น และเพื่อให้พ้นจากความยากลำบากในการปฏิบัติศาสนกิจดังกล่าว ลักษณะเยี่ยงนี่ถือว่าเป็นการฝ่าฝืน ดังดำรัสของพระองค์ที่ว่า

    ﴿ وَأَتِمُّواْ ٱلۡحَجَّ وَٱلۡعُمۡرَةَ لِلَّهِۚ ﴾ [البقرة: ١٩٦]

    ความว่า “และพวกเจ้าจงทำให้สมบูรณ์ซึ่งการทำหัจญ์ และการทำอุมเราะฮฺเพื่ออัลลอฮฺเถิด” ( อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺ 196 )

    ชัยคฺ อับดุลอะซีซ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้ถูกถามเกี่ยวกับการมอบหมายให้ทำแทนแก่ผู้ป่วย สตรีที่ไม่สามารถขว้างเสาหิน ดังเช่น หญิงมีครรภ์ คนอ้วน คนอ่อนแอ ท่านจึงตอบว่า “ อนุญาตให้ผู้อื่นทำแทนได้ “ ( ฟะตาวา อัล-หัจญ์และอุมเราะฮฺ หน้า 111-112 ) ส่วนสตรีที่แข็งแรงสามารถทำด้วยตัวเองได้ นางต้องขว้างเสาหินด้วยตัวเอง และผู้ใดไม่สามารถขว้างในตอนกลางวันได้ก็ให้ขว้างในตอนกลางคืน.

    ประการที่เก้า : มีบางส่วนจากผู้ประกอบพิธีหัจญ์ เมื่อต้องการตัดผม ก็ตัดเพียงไม่กี่เส้น หรือตัดข้างหนึ่งแล้วเว้นไว้อีกข้าง และที่ถูกต้องที่จำเป็น ( วาญิบ ) สำหรับผู้ประกอบพิธีหัจญ์ คือ สำหรับผู้ชายเขาจะต้องโกนทั้งศีรษะหรือไม่ก็ตัดให้สั้นทั้งศีรษะ ส่วนผู้หญิงก็ให้ขลิบผมเปียของนางปริมาณเท่ากับข้อนิ้วมือด้านบนสุดเพียงเท่านั้น .

    และที่ดีที่สุดสำหรับผู้ชาย คือ ให้โกนหรือตัดโดยเริ่มจากด้านขวาของศีรษะ

    ประการที่สิบ : มีบางส่วนจากผู้ประกอบพิธีหัจญ์ เมื่อถอดชุดอิหฺรอมครั้งแรก จากนั้นก็ได้โกนเคราหรือขลิบให้สั้น ชัยคฺนาศิรุดดีน อัล-อัลบานีย์ กล่าวในเรื่องนี้ว่า “การฝ่าฝืนลักษณะนี้นับเป็นที่แพร่หลายในบรรดามุสลิมยุคปัจจุบัน อันเนื่องจากบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา (กุฟฟาร) ส่วนใหญ่แล้วมีอำนาจเหนือประเทศมุสลิม และนำเอาพฤติกรรมนี้เข้าสู่ประเทศดังกล่าว ในขณะที่บรรดามุสลิมเองก็หลับหูหลับตาปฏิบัติตามพวกเขาด้วย ทั้งที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กำชับห้ามปรามเรื่องดังกล่าว ดังหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

    «خَالِفُوا الْمُشْرِكِيْنَ ، احْفُوْا الشَّوَارِبَ وَأْوَفُوْا اللِّحَى» [البخاري برقم 5892، ومسلم برقم 259]

    ความว่า : พวกท่านจงทำให้แตกต่างจากบรรดาผู้ตั้งภาคี พวกท่านจงขลิบหนวดและเลี้ยงเคราเถิด" (เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ หน้า 1148 หะดีษเลขที่ 5892, เศาะฮีหฺมุสลิม หน้า 129 หะดีษเลขที่ 259)

    และในพฤติกรรมอันน่าตำหนินี้แฝงไปด้วยการฝ่าฝืนอีกหลายประการ ดังต่อไปนี้

    หนึ่ง : เป็นการฝ่าฝืนต่อคำสั่งอันชัดเจนของท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ในคำสั่งที่กำชับให้เลี้ยงเครา

    สอง : เป็นการเลียนแบบต่อบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา

    สาม : ดัดแปลงการสรรค์สร้างของอัลลอฮฺ ซึ่งนับได้ว่าเป็นการปฏิบัติตามชัยฏอน ( มารร้าย ) ดังคำดำรัสของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ว่า

    ﴿ وَلَأٓمُرَنَّهُمۡ فَلَيُغَيِّرُنَّ خَلۡقَ ٱللَّهِۚ ﴾ [النساء : ١١٩]

    ความว่า ( ชัยฏอนได้กล่าวว่า) และแน่นอนยิ่งข้าพระองค์จะใช้พวกเขาแล้วแน่นอนพวกเขาก็จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่อัลลอฮฺทรงสร้าง” ( อัน-นิสาอ์ อายะฮฺที่ 119 )

    สี่ : เป็นการเลียนแบบผู้หญิง แท้จริงท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สาปแช่งผู้ที่มีพฤติกรรมดังกล่าว .

    และสิ่งที่ผู้เคร่งครัดเรื่องศาสนาได้เห็นประจักษ์ ก็คือ การที่ผู้ประกอบพิธีหัจญ์จำนวนมากเลี้ยงเคราอันเนื่องจากต้องครองชุดอิหฺรอม แต่เมื่อถึงเวลาต้องเปลื้องชุด แทนที่จะโกนศรีษะตามที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้กำชับไว้ พวกเขากลับโกนเคราซึ่งท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กำชับให้ปล่อยไว้ ดังนั้น “อินนา ลิลลาฮฺ วะอินนา อิลัยฮิ รอญิอูน” (คำกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ เมื่อเกิดการสูญเสีย)

    ขอจากอัลลอฮฺ ให้พระองค์ทรงตอบรับหัจญ์ของมวลมุสลิม รวมทั้งการงานของพวกเขา และให้พระองค์โปรดอนุมัติแก่พวกเขาในทุกๆ ความดีงามด้วยเทอญ.

    والحمد لله رب العالمين ،

    وصلى الله وسلم على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين .

    معلومات المادة باللغة الأصلية