×
جدبد!

تطبيق موسوعة بيان الإسلام

احصل عليه الآن!

محمد رسول الله صلى الله عليه وسلم (تايلندي)

إعداد: มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์

الوصف

هذه المقالة تُعرف بشكل موجز عن نبي الله محمد صلى الله عليه وسلم وزوجاته وأولاده وصحابته، وهي تتمة لمبحث الإيمان بالرسل عليهم الصلاة والسلام من كتاب «مختصر الفقه الإسلامي» للشيخ محمد بن إبراهيم التويجري أثابه الله.

- วงศ์ตระกูลและการถือกำเนิด

มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เป็นบุตรของอับดุลลอฮฺ บุตรของอับดุลมุฏเฏาะลิบ บุตรของฮาชิม มารดาของท่านชื่อ อามินะฮฺ บุตรีของวะฮ์บฺ

ท่านได้ถือกำเนิดที่เมืองมักกะฮฺในปีช้างซึ่งตรงกับคริสต์ศักราชที่ 570 บิดาของท่านได้เสียชีวิตในขณะที่อามินะฮฺได้ตั้งท้องท่าน หลังจากที่อามีนะห์ได้ให้กำเนิดท่านแล้ว ปู่ของท่านอับดุลมุฏเฏาะลิบรับไปอุปการะเลี้ยงดู และต่อมามารดาของท่านก็เสียชีวิตในขณะที่ท่านอายุได้ 6 ขวบ และเมื่อปู่ของท่านเสียชีวิตในเวลาต่อมา อบู ฏอลิบ ผู้เป็นลุงก็รับท่านไปอุปการะเลี้ยงดูต่อ

ท่านเป็นผู้มีกริยามารยาทและมีอุปนิสัยที่ดีงามจนได้รับสมญานามว่า อัล-อะมีน" คือผู้ที่ซื่อสัตย์ เมื่ออายุครบ 40 ปี ท่านได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นนบี(ผู้ได้รับวิวรณ์จากพระเจ้า) โดยที่อัลลอฮฺได้ประทานวะห์ยูในขณะที่ท่านพำนักอยู่ในถ้ำหิรออ์

ตั้งแต่นั้นมาท่านก็ได้เริ่มเชิญชวนผู้คนให้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและศาสนาทูตของพระองค์(รอซูล) ให้เคารพภักดี(อิบาดะฮฺ)ต่ออัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียว ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้ท่านถูกทำร้ายด้วยวิธีการต่างๆ นานา แต่ท่านก็ได้ยืนหยัดด้วยความอดทนจนอัลลอฮฺได้ทำให้ของศาสนาของพระองค์สูงส่งเด่นชัด และท่านได้อพยพไปยังเมืองมะดีนะฮฺ ณ สถานที่แห่งนี้บัญญัติต่างๆ ได้ถูกประทานลงมา ศาสนาอิสลามได้ยืนหยัดด้วยความยิ่งใหญ่ และศาสนาก็ได้ถึงขีดที่สมบูรณ์

- คุณสมบัติพิเศษของนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

คุณสมบัติพิเศษของนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม คือ ท่านเป็นนบีคนสุดท้าย เป็นผู้นำบรรดารอซูล เป็นผู้นำของบรรดาผู้ยำเกรง ท่านเป็นรอซูลสำหรับมวลมนุษย์และญิน ท่านได้ถูกส่งมาเพื่อความโปรดปรานและเมตตาธรรมแก่มนุษย์ทั้งมวล และท่านได้ถูกเลือกให้เดินทางไปยังบัยตุลมักดิส(อัล-กุดส์ หรือดินแดนปาเลสไตน์ที่ตั้งของมัสยิดอัล-อักศอ)และขึ้นไปยังฟากฟ้า(อัล-อิสรออ์ วะ อัล-มิอฺรอจญ์) และอัลลอฮฺได้เรียกท่านด้วยการเรียกขานของความเป็นนบีและรอซูลของท่าน

หะดีษที่รายงานจากญาบิร บิน อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ (ได้กล่าวว่า) ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«أُعْطِيتُ خَمْسًا لَمْ يُعْطَهُنَّ أَحَدٌ قَبْلِي : نُصِرْتُ بِالرُّعْبِ مَسِيرَةَ شَهْرٍ، وَجُعِلَتْ لِي الأَرْضُ مَسْجِدًا وَطَهُورًا، فَأَيُّمَا رَجُلٍ مِنْ أُمَّتِي أَدْرَكَتْهُ الصَّلاَةُ فَلْيُصَلِّ، وَأُحِلَّتْ لِي الْمَغَانِمُ وَلَمْ تَحِلَّ لأَحَدٍ قَبْلِي، وَأُعْطِيتُ الشَّفَاعَةَ، وَكَانَ النَّبِيُّ يُبْعَثُ إِلَى قَوْمِهِ خَاصَّةً وَبُعِثْتُ إِلَى النَّاسِ عَامَّةً» متفق عليه

ความว่า ได้ถูกประทานให้แก่ฉันห้าอย่าง ซึ่งไม่มีใครเคยได้รับในสิ่งเหล่านี้มาก่อนหน้าฉัน คือ 1) ฉันได้รับความช่วยเหลือด้วยการให้ศัตรูมีความขยาดและเกรงกลัว(ก่อนที่ฉันจะไปถึง)ในระยะเวลาเดินทางหนึ่งเดือน 2) สำหรับฉันแล้วผืนแผ่นดินทั้งหมดเป็นมัสยิดและสะอาด(คือสามารถใช้เป็นที่เคารพภักดีอัลลอฮฺได้ทุกแห่ง) เพราะฉะนั้นผู้ใดในหมู่ประชาชาติของฉันที่ถึงเวลาสำหรับการละหมาดก็จงทำการละหมาด (ณ ผืนแผ่นดินแห่งนั้น) 3) เป็นที่อนุมัติแก่ฉันในทรัพย์สินต่างๆที่ยึดได้มาจากการทำสงคราม ซึ่งสิ่งนี้ไม่ได้ถูกอนุมัติให้แก่ผู้ใดก่อนหน้าฉัน 4) ฉันยังได้สิทธิให้ความช่วยเหลือในวันกิยามะฮฺ(อัช-ชะฟาอะฮฺ) 5) และบรรดานบีก่อนหน้าฉันถูกส่งมาเพื่อกลุ่มชนของเขาเป็นการเฉพาะแต่ฉันถูกส่งมาเพื่อมนุษย์ทั้งมวล" (รายงานโดยอัล-บุคอรีย์ : 335 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน, มุสลิม : 521)

สิ่งที่อนุญาตเฉพาะแก่นบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เท่านั้นและไม่ได้อนุญาตสิ่งดังกล่าวนี้แก่ผู้อื่นใดในหมู่ประชาชาติของท่าน คือ การถือศีลอดต่อเนื่องกันโดยไม่มีการเปิดบวช การแต่งงานโดยไม่ต้องมีสินสอด การแต่งงานที่มากกว่าสี่คน ไม่ทานอาหารที่ได้มาจากการบริจาคทาน ท่านได้ยินในสิ่งที่ผู้อื่นไม่ได้ยินและเห็นในสิ่งที่ผู้อื่นไม่สามารถมองเห็น เช่นที่ท่านเห็นมลาอิกะฮฺญิบรีลในรูปกายเดิมที่อัลลอฮฺได้ทรงสร้างมา และทรัพย์สมบัติของท่านจะไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ผู้ใด

- วะห์ยูครั้งแรกที่ถูกประทานลงมาแก่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ได้กล่าวว่า :

«أَوَّلُ مَا بُدِئَ بِهِ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مِنْ الْوَحْيِ الرُّؤْيَا الصَّالِحَةُ فِي النَّوْمِ، فَكَانَ لاَ يَرَى رُؤْيَا إِلاَّ جَاءَتْ مِثْلَ فَلَقِ الصُّبْحِ، ثُمَّ حُبِّبَ إِلَيْهِ الْخَلاَءُ، وَكَانَ يَخْلُو بِغَارِ حِرَاءٍ فَيَتَحَنَّثُ فِيهِ ـ وَهُوَ التَّعَبُّدُ اللَّيَالِيَ ذَوَاتِ الْعَدَدِ قَبْلَ أَنْ يَنْزِعَ إِلَى أَهْلِهِ وَيَتَزَوَّدُ لِذَلِكَ ـ ثُمَّ يَرْجِعُ إِلَى خَدِيجَةَ فَيَتَزَوَّدُ لِمِثْلِهَا، حَتَّى جَاءَهُ الْحَقُّ وَهُوَ فِي غَارِ حِرَاءٍ، فَجَاءَهُ الْمَلَكُ فَقَالَ "اقْرَأْ" قَالَ : "مَا أَنَا بِقَارِئٍ" قَالَ : فَأَخَذَنِي فَغَطَّنِي حَتَّى بَلَغَ مِنِّي الْجَهْدَ ثُمَّ أَرْسَلَنِي، فَقَالَ : "اقْرَأْ" قُلْتُ : "مَا أَنَا بِقَارِئٍ" فَأَخَذَنِي فَغَطَّنِي الثَّانِيَةَ حَتَّى بَلَغَ مِنِّي الْجَهْدَ ثُمَّ أَرْسَلَنِي، فَقَالَ : "اقْرَأْ" فَقُلْتُ : "مَا أَنَا بِقَارِئٍ" فَأَخَذَنِي فَغَطَّنِي الثَّالِثَةَ ثُمَّ أَرْسَلَنِي، فَقَالَ "اقْرَأْ بِاسْمِ رَبِّكَ الَّذِي خَلَقَ، خَلَقَ الإِنْسَانَ مِنْ عَلَقٍ، اقْرَأْ وَرَبُّكَ الأَكْرَمُ" فَرَجَعَ بِهَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَرْجُفُ فُؤَادُهُ، فَدَخَلَ عَلَى خَدِيجَةَ بِنْتِ خُوَيْلِدٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهَا فَقَالَ : "زَمِّلُونِي، زَمِّلُونِي" فَزَمَّلُوهُ حَتَّى ذَهَبَ عَنْهُ الرَّوْعُ، فَقَالَ لِخَدِيجَةَ وَأَخْبَرَهَا الْخَبَرَ : "لَقَدْ خَشِيتُ عَلَى نَفْسِي" فَقَالَتْ خَدِيجَةُ : "كَلاَّ، وَاللَّهِ مَا يُخْزِيكَ اللَّهُ أَبَدًا، إِنَّكَ لَتَصِلُ الرَّحِمَ، وَتَحْمِلُ الْكَلَّ، وَتَكْسِبُ الْمَعْدُومَ، وَتَقْرِي الضَّيْفَ، وَتُعِينُ عَلَى نَوَائِبِ الْحَقِّ"، فَانْطَلَقَتْ بِهِ خَدِيجَةُ حَتَّى أَتَتْ بِهِ وَرَقَةَ بْنَ نَوْفَلِ بْنِ أَسَدِ بْنِ عَبْدِ الْعُزَّى ابْنَ عَمِّ خَدِيجَةَ، وَكَانَ امْرَأً قَدْ تَنَصَّرَ فِي الْجَاهِلِيَّةِ، وَكَانَ يَكْتُبُ الْكِتَابَ الْعِبْرَانِيَّ فَيَكْتُبُ مِنْ الإِنْجِيلِ بِالْعِبْرَانِيَّةِ مَا شَاءَ اللَّهُ أَنْ يَكْتُبَ، وَكَانَ شَيْخًا كَبِيرًا قَدْ عَمِيَ، فَقَالَتْ لَهُ خَدِيجَةُ : "يَا ابْنَ عَمِّ، اسْمَعْ مِنْ ابْنِ أَخِيكَ" فَقَالَ لَهُ وَرَقَةُ : "يَا ابْنَ أَخِي مَاذَا تَرَى؟"، فَأَخْبَرَهُ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ خَبَرَ مَا رَأَى، فَقَالَ لَهُ وَرَقَةُ : "هَذَا النَّامُوسُ الَّذِي نَزَّلَ اللَّهُ عَلَى مُوسَى، يَا لَيْتَنِي فِيهَا جَذَعًا، لَيْتَنِي أَكُونُ حَيًّا إِذْ يُخْرِجُكَ قَوْمُكَ" فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : "أَوَمُخْرِجِيَّ هُمْ؟" قَالَ : "نَعَمْ، لَمْ يَأْتِ رَجُلٌ قَطُّ بِمِثْلِ مَا جِئْتَ بِهِ إِلاَّ عُودِيَ، وَإِنْ يُدْرِكْنِي يَوْمُكَ أَنْصُرْكَ نَصْرًا مُؤَزَّرًا"، ثُمَّ لَمْ يَنْشَبْ وَرَقَةُ أَنْ تُوُفِّيَ وَفَتَرَ الْوَحْيُ». متفق عليه

ความว่า วะห์ยู(วิวรณ์)ที่ถูกประทานลงมาแก่รอซูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ครั้งแรกคือ การฝันอันเที่ยงธรรมในขณะนอนหลับ ท่านมิเห็นสิ่งใดในขณะที่ฝันเว้นแต่มันจะมาเหมือนดังแสงฟ้าในยามรุ่งอรุณ(คือชัดเจนยิ่ง) หลังจากนั้นอัลลอฮฺได้ประทานความรู้สึกให้ท่านอยากปลีกตัว และท่านได้ปลีกตัวไปอยู่ในถ้ำหิรออ์ - นั่นคือการปฏิบัติศาสนกิจ(ทำอิบาดะฮฺ)ในนั้นเป็นระยะเวลาหลายคืนก่อนที่จะได้กลับไปพบบรรดาญาติมิตรอีกครั้งเพื่อเตรียมสัมภาระต่างๆ ในการกลับไปบำเพ็ญตัวในถ้ำอีก - ท่านจะกลับไปหาเคาะดีญะฮฺ และนางก็จะเตรียมสัมภาระอย่างที่เคยจัดเตรียมในทุกๆ ครั้ง จนกระทั่งวะห์ยูถูกประทานลงมาในขณะท่านอยู่ในถ้ำหิรออ์ ซึ่งได้มีมลาอิกะฮฺ(ญิบรีล)มาพบท่านพร้อมกับกล่าวว่า จงอ่าน" ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ตอบว่า ฉันไม่ใช่ผู้ที่อ่านเป็น" ท่านบอกว่า เขา(ญิบรีล)ได้ดึงตัวฉันและกอดรัดตัวฉันจนฉันรู้สึกแน่นแทบทนไม่ไหวแล้วเขาก็ปล่อยฉันพร้อมกับได้กล่าวอีกครั้งว่า จงอ่าน" ฉันก็ได้ตอบไปอีกว่า ฉันไม่ใช่ผู้ที่อ่านเป็น" จากนั้นญิบรีลก็ได้ยึดตัวฉันและกอดรัดฉันอีกครั้งเป็นครั้งที่สองจนฉันรู้สึกอัดแน่น แล้วเขาก็ปล่อยฉันอีกครั้ง พร้อมกับได้กล่าว(อีกเป็นครั้งที่สาม) จงอ่าน" ฉันก็ตอบว่า ฉันไม่ใช่ผู้ที่อ่านเป็น" ญิบรีลได้ดึงตัวฉันและกอดรัดตัวฉันอีกเป็นครั้งที่สามและหลังจากนั้นก็ได้ปล่อยตัวฉันพร้อมกับกล่าวว่า

"اقْرَأْ بِاسْمِ رَبِّكَ الَّذِي خَلَقَ، خَلَقَ الإِنْسَانَ مِنْ عَلَقٍ، اقْرَأْ وَرَبُّكَ الأَكْرَمُ"

ความว่า จงอ่านด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงสร้าง ทรงสร้างมนุษย์จากก้อนเลือด จงอ่าน และพระผู้อภิบาลแห่งเจ้านั้นเป็นผู้ที่ทรงเปี่ยมยิ่งด้วยความใจบุญ"

แล้วรอซูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็กลับบ้านพร้อมกับวะห์ยูนั้นด้วยใจที่หวาดผวา ท่านรีบเข้าไปหาเคาะดีญะฮฺ บินติ คุวัยลิด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา พร้อมกับกล่าวแก่นางว่า ห่มผ้าให้ฉันหน่อย ห่มผ้าให้ฉันหน่อย" นางก็ได้ห่มผ้าให้ท่านจนความกลัวได้คลายลง แล้วท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นนี้แก่เคาะดีญะฮฺพร้อมกับกล่าวว่า ฉันกลัวว่าจะเกิดอะไรมิดีมิร้ายขึ้นกับตัวฉัน" เคาะดีญะฮฺก็กล่าวแก่ท่านว่า เป็นไปไม่ได้ ฉันขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ พระองค์จะไม่เย้ยหยันและดูแคลนท่านอย่างแน่นอน เพราะท่านเป็นผู้ที่สานสัมพันธ์ในหมู่ญาติพี่น้องและเพื่อนมิตร เป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือคนที่อ่อนแอ เป็นผู้อุปถัมภ์แก่ผู้ที่ยากไร้ เป็นผู้ที่ให้เกียรติแก่บรรดาแขกที่มาเยือน และท่านจะเป็นผู้คอยค้ำจุนในความถูกต้องเสมอ" แล้วเคาะดีญะฮฺก็พาท่านไปหา วะเราะเกาะฮฺ บิน เนาฟัล บิน อะสัด บิน อับดุลอุซซา ซึ่งมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องของนาง วะเราะเกาะฮฺได้นับถือศาสนาคริสต์ในสมัยญาฮิลียะห์ เขามีความสามารถในการเขียนภาษาอิบรอนีย์(ภาษาฮิบรู) เคยเขียนคัมภีร์อินญีลด้วยภาษาอิบรอนีย์ เท่าที่อัลลอฮฺประทานให้เขาสามารถเขียนได้ เขาเป็นชายชราซึ่งตาได้บอดแล้ว เคาะดีญะฮฺได้กล่าวกับเขาว่า โอ้ วะเราะเกาะฮฺ ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องของฉัน ขอท่านได้รับฟังคำบอกเล่าจากลูกชายของพี่น้องท่าน(ในเรื่องที่เกิดขึ้นกับเขา)ด้วยเถิด" ท่านวะเราะเกาะฮฺก็เอ่ยขึ้นว่า ลูกบ่าวเอ๋ย เจ้าได้เห็นอะไรมาเช่นใดเล่า?" ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ได้เล่าเรื่องทั้งหมดที่ท่านได้พบเห็น วะเราะเกาะฮฺได้ตอบว่า นั่น คือ อัน-นามูส(ทูตมลาอิกะฮฺ)ที่อัลลอฮฺได้เคยส่งมายังนบีมูซา โอ้ หากว่าฉันเป็นหนุ่มที่ยังแข็งแรงอยู่ และหากว่าฉันได้มีชีวิตในเวลาที่พรรคพวกของเจ้าได้ขับไล่เจ้า" ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวขึ้นว่า พวกเขาจะขับไล่ฉันกระนั้นหรือ ?" วะเราะเกาะฮฺได้ตอบว่า ใช่ ไม่มีผู้ใดที่ถูกส่งมาด้วยสิ่งที่เหมือนเช่นเดียวกันกับเจ้า นอกเสียจากจะต้องถูกต่อต้าน และถ้าฉันยังมีชีวิตถึงวันนั้น ฉันจะพิทักษ์ปกป้องเจ้าอย่างสุดความสามารถ" แต่อยู่มาไม่นาน วะเราะเกาะฮฺก็ถึงแก่กรรม และวะห์ยูก็หยุดชะงักชั่วระยะเวลาหนึ่ง" (รายงานโดยอัล-บุคอรีย์ : 3, สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน, มุสลิม : 160)

- บรรดาภรรยาของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

อุมมะฮาต อัล-มุอ์มินีน(เหล่ามารดาของบรรดาผู้ศรัทธา) คือ บรรดาภรรยาของท่านรอซูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ในโลกดุนยาและอาคิเราะฮฺ พวกนางทั้งหมดเป็นมุสลิมะฮฺที่มีความประเสริฐ บริสุทธิ์จากมลทิน ห่างไกลและปราศจากสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายที่อาจสร้างความเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ศรีของพวกนาง บรรดาภรรยาของรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม มีดังต่อไปนี้

เคาะดีญะฮฺ บินติ คุวัยลิด, อาอิชะฮฺ บินติ อบู บักรฺ, เซาดะฮฺ บินติ ซัมอะฮฺ, หัฟเศาะฮฺ บินติ อุมัร, ซัยนับ บินติ คุซัยมะฮฺ, อุมมุ สะละมะฮฺ, ซัยนับ บินติ ญะหฺช์, ญุวัยริยะฮฺ บินติ อัล-หาริษ, อุมมุ หะบีบะฮฺ บินติ อบี สุฟยาน, เศาะฟิยะฮฺ บินติ หุยัยย์ และ มัยมูนะฮฺ บินติ อัล-หาริษ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุนนะ (ขออัลออฮฺโปรดประทานความพอพระทัยแด่พวกนาง)

ภรรยาของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่เสียชีวิตคนแรกคือ เคาะดีญะฮฺ และต่อมาคือ ซัยนับ บินติ คุซัยมะฮฺ ส่วนภรรยาคนอื่นๆ นั้นเสียชีวิตหลังจากท่านได้เสียชีวิตแล้ว

ภรรยาของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่ประเสริฐที่สุดในบรรดาภรรยาทั้งหมด คือ เคาะดีญะฮฺและอาอิชะฮฺ

- บุตรของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

1. ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม มีบุตรชายทั้งหมด 3 คน คือ อัล-กอซิม, อับดุลลอฮฺ ทั้งสองคนนี้กำเนิดมาจากเคาะดีญะฮฺ อีกคนคืออิบรอฮีมซึ่งเป็นบุตรที่กำเนิดมาจากมารียะฮฺ ซึ่งเป็นทาสจากเผ่ากิบฏีย์ บรรดาบุตรชายทั้งสามได้เสียชีวิตตั้งแต่เยาว์วัย

2, บุตรีของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม มีทั้งหมด 4 คน คือซัยนับ, เราะกิยะฮฺ, อุมมุ กัลษูม และฟาฏิมะฮฺ ทั้งหมดได้กำเนิดมาจากเคาะดีญะฮฺ บุตรีสามคนแรกได้เสียชีวิตก่อนที่ท่านรอซูลจะเสียชีวิต เว้นแต่ฟาฏิมะฮฺที่เสียชีวิตหลังจากที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เสียชีวิตไปแล้ว พวกนางทั้งหมดเป็นมุสลิมะฮฺที่บริสุทธิ์ปราศจากมลทินใดๆ ทั้งปวง เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุนนะ อัญมะอีน (ขออัลลอฮฺประทานความพอพระทัยแด่พวกนางทั้งหมด)

- เศาะหาบะฮฺของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

ยุคสมัยเศาะหาบะฮฺ(สหาย, สาวก)ของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ประเสริฐที่สุด พวกเขามีความเป็นประเสริฐเหนือกว่าประชาชาติทั้งปวง อัลลอฮฺได้ทรงคัดเลือกพวกเขามาเป็นมิตรสหายของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม พวกเขามีความศรัทธาในอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ และพวกเขาได้ยืนหยัดในหนทางเพื่อช่วยเหลืออัลลอฮฺและรอซูล พวกเขาได้อพยพทิ้งถิ่นฐานของพวกเขาเพียงเพื่อศาสนา พวกเขาได้มีชีวิตอยู่เพื่อการค้ำชูและช่วยเหลือศาสนา พวกเขาได้ทุ่มเทและเสียสละด้วยทรัพย์สมบัติและร่างกายในหนทางของอัลลอฮฺ จนอัลลอฮฺได้ยอมรับพวกเขาอยู่ในความพอพระทัยของพระองค์และพวกเขาก็ยอมรับและพอใจในอัลลอฮฺ เศาะหาบะฮฺของท่านรอซูลที่ประเสริฐที่สุดในหมู่บรรดาพวกเขาทั้งหมด คือ เหล่าอัล-มุฮาญิรีน(บรรดาเศาะหาบะฮฺที่อพยพมาจากมักกะฮฺ) และถัดมาคือเหล่าอัล-อันศอรฺ(เศาะหาบะฮฺที่อาศัยอยู่ในเมืองมะดีนะห์ที่คอยช่วยเหลือท่านรอซูลและมุฮาญิรีน)

จากอับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«خَيْرُ النَّاسِ قَرْنِي، ثُمَّ الَّذِينَ يَلُونَهُمْ، ثُمَّ الَّذِينَ يَلُونَهُمْ، ثُمَّ يَجِيءُ أَقْوَامٌ تَسْبِقُ شَهَادَةُ أَحَدِهِمْ يَمِينَهُ وَيَمِينُهُ شَهَادَتَهُ» متفق عليه.

ความว่า ผู้คนที่ประเสริฐที่สุด คือ คนในศตวรรษของฉัน ถัดมาคือศตวรรษต่อจากนั้น ถัดมาก็คือศตวรรษต่อจากนั้นอีก จากนั้นจะมีบรรดากลุ่มพวกที่กำเนิดขึ้นมา พวกเขา(ไม่ให้ความสำคัญและทำเล่นๆ กับการสาบานและการยกอ้างอัลลอฮฺเป็นสักขีพยาน) บางครั้งก็ยกอ้าง(อัลลอฮฺ)ก่อนที่จะสาบานและบางครั้งก็สาบานก่อนจะยกอ้าง" (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ : 2652 สำนวนนี้เป็นของท่าน, มุสลิม : 2533)

- การให้ความรักแก่เศาะหาบะฮฺของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

วาญิบสำหรับผู้ศรัทธาทุกคนที่จะต้องรักบรรดาสหายของท่านรอซูลทุกท่านด้วยใจ ยกย่องพวกเขาด้วยคำพูด กล่าวขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺเพื่อประทานความเมตตาและการอภัยโทษแก่พวกเขา ไม่ข้องแวะในเรื่องความขัดแย้งไม่ลงรอยกันระหว่างพวกเขา และไม่สาปแช่งกล่าวร้ายและด่าทอพวกเขา เนื่องด้วยเพราะมีสิ่งที่ดีต่างๆ ในตัวพวกเขา ทั้งความประเสริฐ ความดีงามและการอุทิศเพื่อการทำดีที่มากมาย และด้วยการที่พวกเขาช่วยเหลืออัลลอฮฺและรอซูลในด้านการเคารพภักดีและต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ ได้เชิญชวนผู้คนสู่ศาสนาของอัลลอฮฺ ได้อพยพทิ้งถิ่นฐานเพื่ออัลลอฮฺ อุทิศและทุ่มเทกำลังทรัพย์และกำลังกายในหนทางของอัลลอฮฺเพื่อแสวงหาความโปรดปรานจากพระองค์ ด้วยเหตุดังกล่าวนั้นอัลลอฮฺจึงพอพระทัยพวกเขาทั้งหมด

1. อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า

« وَالسَّابِقُونَ الْأَوَّلُونَ مِنَ الْمُهَاجِرِينَ وَالْأَنْصَارِ وَالَّذِينَ اتَّبَعُوهُمْ بِإِحْسَانٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمْ وَرَضُوا عَنْهُ وَأَعَدَّ لَهُمْ جَنَّاتٍ تَجْرِي تَحْتَهَا الْأَنْهَارُ خَالِدِينَ فِيهَا أَبَداً ذَلِكَ الْفَوْزُ الْعَظِيمُ» (سورة التوبة: 100)

ความว่า บรรดาบรรพชนรุ่นแรกในหมู่ผู้อพยพ(ชาวมุฮาญิรีนจากมักกะฮฺ)และในหมู่ผู้ให้ความช่วยเหลือ(ชาวอันศอรฺจากมะดีนะฮฺ) และบรรดาผู้ดำเนินตามพวกเขาด้วยการกระทำดีนั้น อัลลอฮฺทรงพอพระทัยในพวกเขา และพวกเขาก็พอใจในพระองค์ด้วย และพระองค์ทรงเตรียมไว้ให้พวกเขาแล้วซึ่งบรรดาสวนสวรรค์ที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอยู่เบื้องล่าง พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล นั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง" (อัต-เตาบะฮฺ : 100)

2. อัลลอฮฺ ตะอะลา ได้ตรัสอีกว่า

«وَالَّذِينَ آمَنُوا وَهَاجَرُوا وَجَاهَدُوا فِي سَبِيلِ اللَّهِ وَالَّذِينَ آوَوْا وَنَصَرُوا أُولَئِكَ هُمُ الْمُؤْمِنُونَ حَقّاً لَهُمْ مَغْفِرَةٌ وَرِزْقٌ كَرِيمٌ» (سورة الأنفال: 74)

ความว่า และบรรดาผู้ศรัทธา ผู้อพยพ ผู้ที่ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ และบรรดาผู้ที่ให้ที่พักอาศัย และช่วยเหลือนั้น ชนเหล่านั้นแหละพวกเขาคือผู้ศรัทธาโดยแท้จริง ซึ่งพวกเขาจะได้รักการอภัยโทษ และเครื่องยังชีพที่ดีอันมากมาย" (อัล-อันฟาล : 74)

3. จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«لاَ تَسُبُّوا أَصْحَابِي، لاَ تَسُبُّوا أَصْحَابِي، فَوَالَّذِي نَفْسِي بِيَدِهِ، لَوْ أَنَّ أَحَدَكُمْ أَنْفَقَ مِثْلَ أُحُدٍ ذَهَبًا مَا أَدْرَكَ مُدَّ أَحَدِهِمْ وَلاَ نَصِيفَهُ» متفق عليه.

ความว่า พวกเจ้าทั้งหลายอย่าได้ด่าทอบรรดาสหายของฉัน พวกเจ้าทั้งหลายอย่าได้ด่าทอบรรดาสหายของฉัน ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ ผู้ซึ่งชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ ถ้าหากคนใดคนหนึ่งจากบรรดาพวกท่านทั้งหลายได้บริจาคทาน(ในหนทางของอัลลอฮฺ)เท่าภูเขาอุหุดก็ยังไม่สามารถเทียบเท่า(ความประเสริฐ)กำมือหนึ่งหรือครึ่งกำมือของพวกเขา" (รายงานโดยอัล-บุคอรีย์ : 3673, มุสลิม : 2540 สำนวนนี้เป็นรายงานของท่าน)

معلومات المادة باللغة الأصلية